ฉีดปุ๋ยทางใบสับปะรด ทำได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา/เงินค่าปุ๋ย

เฟสบุ๊ค Montri Klakhai ให้แง่คิดการผลิตสับปะรด โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ย น่าสนใจมาก จึงขอนำมาถ่ายทอดต่อ

“เกือบจะสองรอบปี ที่ราคาผลผลิตเกษตรราคารูดต่ำมักมาก สับปะรดก็ไม่พ้นสงครามราคาที่ว่าต่ำนี้ ทางหนึ่งที่ชาวไร่ต้องกลับมาทบทวนถึงการปฎิบัติในแปลง ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม ไม่ใช้ปัจจัยการผลิตมากเกินจำเป็น เอาแค่เรื่องปุ๋ยก็ช่วยได้มาก วิธีการฉีดปุ๋ยทางใบทำได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา/เงินค่าปุ๋ย แรงงาน ฯลฯ ได้ทั้งน้ำและธาตุอาหารที่นำไปใช้ได้เร็วกว่า ไม่ธรรมดา 4 ช่องทาง – ปากใบ เนื้อเยื่ออ่อนล่างสุดของใบ รากโคนต้น/กาบใบ และรากในดิน …”

เกษตรกรนำลำไยและลิ้นจี่ เข้าไปปลูกในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี นานมาแล้ว ลำไยให้ผลผลิตบ้าง 2-3 ปีครั้งหนึ่ง ลิ้นจี่ก็เช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้พืชทั้งสองชนิดออกดอกติดผลคือ อากาศหนาวเย็น

ต่อมามีการค้นพบสารทำให้ลำไยออกดอกได้ตามที่ต้องการ พื้นที่ปลูกจึงเพิ่ม ถือได้ว่า อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี รวมถึงอำเภอวังสมบูรณ์และอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว เป็นแหล่งใหญ่ของการปลูกลำไยในประเทศไทย

ปัจจัยที่ทำให้ลำไยปลูกได้ผลดีเพราะภูมิอากาศ ปริมาณของน้ำฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งความชำนาญของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ เมื่อขับรถไปตามถนนสายรอง ในเขตพื้นที่ปลูกลำไย จึงมีล้งรับซื้อผลผลิตกระจายเต็มไปหมด

ลำไยเขตนี้ เป็นลำไยสั่งได้ จะเก็บผลผลิต วันที่ 1 มกราคม ให้ออก วันที่ 13 เมษายน ทำได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญคือ สารที่ราด และการดูแลเอาใจใส่นั่นเอง สำหรับลิ้นจี่ ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที เพราะไม่มีสารราดให้ออกดอก…อากาศหนาวเย็น นานปีจึงจะมาทีหนึ่ง

พบผู้ปลูกมืออาชีพ ทำจนเชี่ยวชาญ

คุณสมพงษ์ สุขเกษม และ คุณสง่า ไทยปิยะ สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 247 หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกลำไยมากที่สุดคนหนึ่ง พื้นที่การผลิตปัจจุบันมี 300 ไร่ ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นของตนเอง มีบางส่วนที่เช่าทำ

“อยู่ที่นี่มานานแล้ว เราทำอะไรทำมาก แฟนเขาปลูกมะเขือพวงที 80-90 ไร่ เคยขายได้ แต่ก็ไม่ดีเท่าที่ควร ข้าวโพดก็ปลูกกันมาก” คุณสง่า เล่า “ช่วงมะเขือพวงราคาไม่ดี นำไปขายไม่ได้ราคา บางทีต้องทิ้ง หากนำมาแกง ใช้วัวทั้งตัวแกงก็ใช้มะเขือพวงไม่หมด…มะละกอ ผมก็ปลูกมานะ ปลูกหลายหมื่นต้น เคยประสบปัญหาราคาไม่ดี ก็เลยเลิกปลูก ทุกวันนี้ปลูกลำไย มีตลาดแน่นอน ผลผลิตเก็บได้กลางเดือนกันยายน 2560 เขามาซื้อก่อนหน้านี้ ตกลงกัน กิโลกรัมละ 40 บาท” คุณสมพงษ์ เล่าบ้าง

คุณสมพงษ์ เล่าว่า ลำไยที่ปลูกเป็นพันธุ์อีดอก้านอ่อน ขนาดผลผลิตโดยเฉลี่ย 36 ผล ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่ราดสาร จนกระทั่งเก็บผลผลิต ใช้เวลา 6 เดือน กับ 15 วัน

ถามว่า ทำไมไม่ปลูกพันธุ์อื่น เกษตรกรบอกว่า เขาไม่ซื้อ ลำไยพันธุ์นี้มีคนมาซื้อส่งไปยังต่างประเทศ

วิธีการปลูกนั้น คุณสมพงษ์ ปลูกลำไยด้วยกิ่งตอน ระยะระหว่างต้นระหว่างแถวที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 8 คูณ 8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 25 ต้น หากปลูกระยะ 6 คูณ 6 พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 44 ต้น แต่ปลูกไประยะหนึ่งต้องตัดต้นเว้นต้น

“8 คูณ 8 ดีกว่า เพราะทรงพุ่มไม่ชิดกันเร็ว หลังปลูกไป 3 ปี ก็ราดสารได้ บางคน 2 ปี ก็ราดสารได้แล้ว อยู่ที่การดูแลรักษา และขนาดของทรงพุ่ม” คุณสง่า บอก

คุณสมพงษ์ บอกว่า ปัจจัยการผลิตที่สำคัญมากนั้นคือ เรื่องน้ำ การทำลำไยนอกฤดู โดยการราดสารนั้น น้ำจำเป็น เพราะต้องให้ต้นเจริญเติบโตมสมบูรณ์แข็งแรง ถึงแม้เขตอำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาวฝนดีพอสมควร แต่ช่วงแล้ง ต้องให้น้ำ

ผสมผสาน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

คุณสมพงษ์ เล่าว่า หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย เจ้าของตัดแต่งกิ่งให้ราว 20 เปอร์เซ็นต์ งานตัดแต่งกิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อเก็บผลผลิต แรงงานใช้มือหักปลายกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งครั้งต่อมา ดูความเรียบร้อย กิ่งที่ฉีกขาด

หลังตัดแต่งกิ่ง เจ้าของใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ให้ต้นละ 1 กิโลกรัม

จากนั้นต้นลำไยจะแตกใบอ่อน เจ้าของต้องระวังเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย รวมทั้งแมลงหวี่ขาว การรักษาใบสำคัญอย่างยิ่ง หากใบไม่สมบูรณ์ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ

เจ้าของรอให้ลำไยใบแตกออกมา 2 ชุด จึงเริ่มราดสารโพแทสเซียมคลอเรต 1 ครั้ง และพ่นสารโพแทสเซียมคลอเรตและไทโอยูเรียทางใบให้ สารที่ใช้ทุกวันนี้มีความปลอดภัย เพราะเขาผสมและเจือจางมาแล้ว

โดยเฉลี่ยแล้ว หลังเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่ง หากดูแลดี 3-4 เดือน เจ้าของก็จะราดสารได้

หลังราดสาร 6 เดือน กับอีก 15 วัน จึงเก็บผลผลิตได้ ดังนั้น หากต้องการเก็บผลผลิต วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 เจ้าของต้องราดสาร วันที่ 1 สิงหาคม 2560

งานขายผลผลิตของคุณสมพงษ์และคุณสง่า เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนราดสาร ส่วนใหญ่การซื้อขายก็จะเป็นอย่างนี้ พ่อค้าจะตระเวนตามสวน ดูต้นดูใบแล้วก็ตกลงราคาซื้อขายกัน

สิ่งหนึ่งที่สวนแห่งนี้ดูแลรักษาเป็นพิเศษคือ การใส่ปุ๋ยอินทรีย์เบกรีนให้กับลำไยช่วงติดผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว จำนวน 5 กิโลกรัม ต่อต้น “สาเหตุที่ไม่ใส่ช่วงแต่งกิ่ง กลัวว่าต้นจะงามเกินไป งามมากจะทำให้ออกดอกยาก” คุณสมพงษ์ บอก

“ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เห็นความแตกต่างชัดเจน ผลผลิตต่อต้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก เปลือกลำไยแข็งแรงไม่แตกง่าย รสชาติที่ได้หวาน ปริมาณผลผลิตไซซ์ใหญ่มีมาก สม่ำเสมอ เนื่องจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีเพิ่มขึ้น จึงลดปุ๋ยเคมีลงได้ในฤดูกาลต่อๆ มา…ดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วนซุยขึ้น มีไส้เดือนมาอยู่ ปกติแล้วหายไปนาน… ปีหนึ่งๆ เราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ราว 20 ตัน” คุณสง่า เล่า

คุณพัชรินทร์ พรมนิกร ผู้ชำนาญการด้านการตลาด บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตปุ๋ยเบกรีน เล่าว่า เครือเบทาโกรทำเกษตรอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร เริ่มตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มที่เป็นระบบปิดเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ผู้บริหารที่เป็นเจ้าของ มีแนวคิดทำอาหารแล้ว ต้องทำครบวงจรเพื่อผู้บริโภค ก็เลยทำปุ๋ยอินทรีย์ยี่ห้อเบกรีนออกมา โดยใช้วัตถุดิบจากเครือเบทาโกรทั้งหมด เริ่มต้นจากขี้ไก่พันธุ์ มูลสุกรที่มีไนโตรเจนสูง มีโรงซุปที่เป็นซุปกระดูกหมู กระดูกไก่ กระดูกที่เหลือนำมาทำปุ๋ยด้วยก็จะเป็นแหล่งของแคลเซียม ฟอสฟอรัส แหล่งวัตถุดิบมีมาตรฐาน เรามีการตรวจสอบคุณภาพทุกถุงที่ออกจากโรงงานก่อนที่จะส่งถึงมือผู้ใช้

คุณเซน ยศปัญญา ผู้แทนขาย บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด เล่าว่า ในไม้ผลมีใช้ปุ๋ยเบกรีนในลำไย ทุเรียน ในภาคตะวันออกและภาคอื่นๆ ช่วงที่นิยมใช้เป็นหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว…ลำไยต้นที่ทรงพุ่ม 3 เมตร ใส่ 3 กิโลกรัม…ลักษณะปุ๋ยเป็นปั้นเม็ด ขนาด 3-5 มิลลิเมตร ข้อดีคือ ใส่กับปุ๋ยเคมีได้ดี ขนาดกระสอบละ 40 กิโลกรัม ไม้ผลอย่างอื่นมีเงาะ มังคุด ปาล์มน้ำมัน พืชผัก ปัจจุบัน แบรนด์ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะโฆษณาในสื่อ เกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจนิยมใช้กัน

“จะซื้อใช้ เรามีเพจปุ๋ยอินทรีย์ เบกรีนติดตามความเคลื่อนไหวได้…ตามจังหวัดต่างๆ มีร้านตัวแทนจำหน่าย…ปัจจุบัน โครงสร้างดินแย่ลง ดินเป็นกรด อยากแนะนำปุ๋ยอินทรีย์ อาจจะเป็นของเราหรือทั่วๆ ไป…ปุ๋ยอินทรีย์ที่เราผลิตขึ้นมีธาตุหลัก ธาตุอาหารรองที่จำเป็น” คุณเซน กล่าว

คุณสง่า บอกว่า ก่อนเก็บผลผลิต มีการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตด้วยปุ๋ย สูตร 15-5-20 จำนวน 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ทั้งนี้ดูปริมาณผลผลิตบนต้นในการตัดสินใจ

ต้น 8 ปี ผลผลิต 70-80 กิโลกรัม ต่อต้น

งานผลิตลำไยที่อำเภอโป่งน้ำร้อนและอำเภอสอยดาวทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ผลผลิตมีหมุนเวียนทั้งปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้ สร้างงานทำเงินอย่างต่อเนื่อง นอกจากคนในประเทศมีงานทำแล้ว แรงงานจากต่างชาติก็มีรายได้ดี

อาชีพหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ทำสวนลำไยให้เขาเช่า

บางคนมีสวนเก่า ลำไยต้นสูงใหญ่ ให้คนอื่นเช่าก็มีรายได้ดี

ผลผลิตลำไยในถิ่นนี้ ต้นใหญ่ๆ บางสวนมีผลผลิตมากถึง 500 กิโลกรัม ต่อต้น ที่สวนคุณสมพงษ์ คุณสง่า ต้นอายุ 8 ปี ผลผลิตที่เก็บได้ครั้งหนึ่ง 70-80 กิโลกรัม ต่อต้น นั่นหมายถึง สร้างรายได้ให้กับเจ้าของ 2,800-3,200 บาท ต่อต้น

ต้นอายุมากขึ้น ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

เจ้าของจะแบ่งพื้นที่การผลิตเป็นแปลงๆ บางแปลง 50 ไร่ บางแปลง 80 ไร่ ทำให้มีงานหมุนเวียน ไม่เร่งรีบเกินไป

เนื่องจากขายผลผลิตล่วงหน้าไปแล้ว การเก็บผลผลิตจึงเป็นหน้าที่ของคนซื้อ วันที่ไปสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณสมพงษ์และคุณสง่า คนซื้อนำแรงงานมาเก็บ จำนวน 130 คน คาดว่าจะเป็นราว 4-5 วัน จำนวนลำไยทั้งสิ้น 80 ตัน

แรงงาน 1 คน เก็บลำไยได้ราว 120 กิโลกรัม ต่อวัน ขั้นตอนการเก็บ ใช้มือหักปลายกิ่งลำไยที่มีผลผลิต จากนั้นคัดใส่ตะกร้าพลาสติก ใส่เบอร์ 1-4 ในตะกร้าเดียวกัน ตกเกรดหรือที่ชาวสวนเรียก “ก๊อกแก๊ก” แยกไปอบแห้ง

ผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของผลผลิต นำลำไยในตะกร้าไปอบฆ่าศัตรูพืช แล้วส่งออกไปต่างประเทศ ดูแล้วขั้นตอนไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเกษตรกรผู้ปลูกดูแลผลผลิตเริ่มต้นดีนั่นเอง

“เคยขายได้ 80 บาท ต่อกิโลกรัม นานแล้ว บางคนได้ 100 บาท ปีนี้ขายได้ 40 บาท ยังดี ทางภาคอื่นสวยๆ ขายกันกิโลกรัมละ 20 บาท ตั้งแต่ทำมาถือว่า ดีกว่าอย่างอื่น” คุณสง่า บอก

“ผมทำมามาก อย่าง ข้าวโพด มันสำปะหลัง หากแล้งขาดทุน มาทำลำไยดีกว่าอย่างอื่น ที่อื่นหากมีน้ำปลูกได้ ญาติอยู่ลพบุรีทำได้ผล สำคัญที่ขาย สอยดาวคนปลูกมาก มีคนมารับซื้อ ไม่ต้องไปขายที่ไหน” คุณสมพงษ์ ยืนยัน

ปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน จากผลงานวิจัยของสถาบันการศึกษาต่างๆ พบว่า มีประสิทธิภาพดี ลดต้นทุนการผลิตในภาคการเกษตร ประหยัดทรัพยากร แรงงาน และค่าใช้จ่าย เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้เชื้อเพลิงที่สามารถใช้หมุนเวียนได้อย่างไม่มีวันหมดไป

ประเทศไทย มีภูมิประเทศที่มี หนอง บึง ลำคลอง และแม่น้ำ เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีความหนาแน่นของผักตบชวาสูง เนื่องจากผักตบชวาเป็นพืชที่สามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ขัดขวางการสัญจรทางน้ำ ปิดกั้นทางระบายน้ำของคลองส่งน้ำ ลำน้ำตื้นเขิน ทำให้ออกซิเจนในน้ำน้อยลง ทำให้เกิดน้ำเสียและส่งผลกระทบต่อประชาชนไม่สามารถนำน้ำมาอุปโภคบริโภคได้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในน้ำ เสียความสมดุลของระบบนิเวศ อีกทั้งยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและพาหะของพยาธิอีกด้วย

ปัจจุบัน วิธีการกำจัดผักตบชวาส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน ซึ่งทำให้มีต้นทุนด้านงบประมาณ ด้านกำลังคน และด้านเวลาที่สูง หากเป็นแม่น้ำ ลำคลอง หรือบึงขนาดใหญ่ที่มีผักตบชวาหนาแน่นมาก การใช้แรงงานคนทำได้ไม่สะดวก และไม่ได้ผลเท่าที่ควร อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์น้ำ เช่น งู ปลิง และการกำจัดผักตบชวาโดยใช้สารเคมีพ่นหรือฉีดนั้นจะไม่นิยมทำ เพราะสารเคมีทำให้น้ำเสีย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งประชาชนที่ต้องอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำ

ส่วนเครื่องจักรกลเก็บผักตบชวาที่ใช้อยู่มีบางหน่วยงานเท่านั้น เครื่องจักรกลเหล่านั้นต้องซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงมากและต้องใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน ซึ่งไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีบางหน่วยงานในประเทศไทยที่พยายามกำจัดผักตบชวา โดยใช้เครื่องตัดย่อยผักตบชวาในน้ำ โดยให้เศษผักตบชวาที่ถูกตัดย่อยไหลไปตามกระแสน้ำ ซึ่งการกำจัดผักตบชวาวิธีนี้ทำให้ผักตบชวาสามารถขยายพันธุ์กระจายไปในแม่น้ำลำคลองเล็กๆ ทั่วไป

การกำจัดผักตบชวาทำได้ยาก เนื่องจากมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็ว และโครงสร้างของเส้นใยที่มีความเหนียว หลายหน่วยงานจึงพยายามศึกษาแนวทางผลิตพลังงานทดแทนจากผักตบชวา เช่น การนำมาผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง การผลิตน้ำมันชีวภาพจากกระบวนการไพโรไลซิล การนำผักตบชวามาหมักด้วยยีสต์เพื่อผลิตเอทานอล และการผลิตแก๊สชีวภาพจากผักตบชวาร่วมกับมูลสุกร เป็นต้น

เรือไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ สำหรับเก็บผักตบชวา

ผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใช้ระยะเวลาศึกษาวิจัยนาน 1 ปีเต็ม จึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาเรือไฟฟ้าโซลาร์เซลล์สำหรับเก็บผักตบชวา ที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนในการเก็บผักตบชวาได้อย่างดีเยี่ยม

อาจารย์วิมล พรหมแช่ม อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ “เรือไฟฟ้าโซลาร์เซลล์สำหรับเก็บผักตบชวา” ได้จำลองผลงานวิจัยไปจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017) วันที่ 23-27 สิงหาคม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ซึ่งมี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานและเยี่ยมชมบู๊ธผลงานนิทรรศการของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีด้วย

อาจารย์วิมล กล่าวว่า ผมตั้งใจพัฒนาเรือเก็บผักตบชวาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำพลังงานทดแทนที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์มาใช้ประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่าย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและช่วยให้เกษตรกรมีอาชีพและรายได้มากขึ้น ผักตบชวาที่เก็บได้ สามารถนำไปทำประโยชน์ต่อเกษตรกรในการทำอาหารสัตว์ การเพาะเห็ด บรรจุภัณฑ์จากผักตบชวา และยังสามารถใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สชีวภาพจากผักตบชวา

ตัวเรือดังกล่าว ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ สามารถจัดหาได้ง่ายในประเทศไทย และใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่ไม่มีวันหมด อีกทั้งอนุรักษ์ธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเก็บผักตบชวาจาก แหล่งน้ำต่างๆ ตามธรรมชาติ ที่มีวัชพืชและผักตบชวาได้อย่างกว้างขวาง ผักตบชวาจะถูกใบมีดตัดขาดเป็นท่อนๆ ก่อนที่สายพานลำเลียง 2 ชุด จะทำหน้าที่ลำเลียงผักตบชวาที่ถูกตัดขึ้นมาไว้บนลำเรือ

อาจารย์วิมล กล่าวว่า ตัวเรือใช้ทุ่นเหล็กลอยน้ำทรงกระบอก ความยาว 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จำนวน 2 ท่อน เป็นโครงสร้างเรือ ด้านหน้าติดตั้งชุดตัดผักตบชวาในตำแหน่งระหว่างกลางของทุ่นเหล็กทั้งสอง สามารถปรับระยะสูงต่ำและมุมก้มเงยได้ ด้านล่างติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 3,000 วัตต์ เพื่อขับแกนหมุนของใบมีด ปรับความเร็วการหมุนใบมีดได้ด้วยชุดควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ด้านบนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 16 แผง ทำหน้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ น้ำหนักลำเรือ ประมาณ 5,000 กิโลกรัม

ปัจจุบัน ผลงานชิ้นนี้มีความเร็วของเรือสูงสุดมากกว่า 1 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง สามารถเก็บผักตบชวาได้ไม่น้อยกว่า 1 ตัน ต่อชั่วโมง และสามารถปฏิบัติงานแต่ละครั้งได้ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ต่อวัน ซึ่งอัตราการเก็บผักตบชวานั้น ยังเกี่ยวข้องกับปริมาณแสงแดดแต่ละวัน ดังนั้น หากมีปริมาณแสงแดดมากและระยะเวลายาวนานขึ้น ส่งผลให้เรือสามารถปฏิบัติงานได้ยาวนานขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจารย์วิมลวางแผนพัฒนาเรือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นปรับปรุงชุดใบมีดตัดผักตบชวาและชุดสายพานลำเลียงให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

“ไผ่” พืชพลังงาน อนาคตสดใส

“ไผ่” นับเป็นพืชมหัศจรรย์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก เนื่องจากไม้ไผ่เป็นพืชพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ตอบโจทย์ในเรื่องพลังงานทดแทนได้อย่างดี แค่ปลูกไผ่สัก 5 ล้านไร่ ประเทศไทยจะไม่ขาดแคลนไฟฟ้า แถมยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

รองศาสตราจารย์ ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก ประธานชมรมคนรักไผ่ กล่าวว่า ปัจจุบันไผ่หลายสายพันธุ์ ที่มีศักยภาพในด้านพืชพลังงาน โดยใช้ลำไผ่ทำพลังงานชีวมวล เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง (ตงอินโด) ไผ่กิมซุ่ง (ไผ่ไต้หวัน หรือไผ่เขียวเขาสมิง) ไผ่แม่ตะวอ ไผ่รวก และไผ่ซางนวล นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่กิมซุ่ง ยังแปรรูปในลักษณะเพียวเล็ต(pellet) ทำถ่านไม้ไผ่ได้ แต่ไผ่ทั้งสองชนิดนี้ควรปลูกในบริเวณที่มีน้ำสมบูรณ์ “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” ยังสามารถแปรรูปเป็นถ่านแกลบ เรียกว่า ไบโอชาร์ ใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วยังได้ปุ๋ยอีกด้วย

ถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูงที่ได้จากการเผา ที่อุณหภูมิ 1,000 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ด้วยเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพ จะมีความสามารถสูงในการดูดซับกลิ่น ความชื้น สารพิษ สารเคมี ช่วยฟอกอากาศ กำจัดแบคทีเรีย ช่วยปลดปล่อยประจุลบ และอินฟราเรดคลื่นยาว ช่วยดูดซับรังสี ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น มีผลให้จิตใจแจ่มใส เบิกบาน ใช้ทำผลิตภัณฑ์สุขภาพนานาชนิด

ถ่านกัมมันต์ (activated carbon) เป็นวัสดุคาร์บอนที่มีพื้นที่ผิวสูงมาก เนื่องจากมีรูพรุนจำนวนมหาศาล มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนและไนโตรเจนได้สูงมาก ผงคาร์บอนที่ผลิตได้จากถ่านไม้ไผ่เมื่อนำมาผสมกับดิน ช่วยปรับปรุงบำรุงดินแล้ว ยังมีความสามารถในการดูดซับไนตรัสออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ไปทำลายชั้นโอโซนที่เป็นเกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตของโลกมากที่สุดอีกด้วย นอกจากนี้ ถ่านไม้ไผ่ยังถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมยา-เครื่องสำอาง ใช้ทำไส้กรองน้ำ ไส้กรองอากาศ ใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีความต้องการใช้ “ถ่านกัมมันต์จากไม้ไผ่” อย่างแพร่หลาย เพราะถ่านกัมมันต์จากไม้ไผ่มีคุณสมบัติเด่นในหลายด้าน สามารถนำไปแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เป็นจำนวนมาก สามารถส่งออกสร้างรายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด สายพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสำหรับผลิตถ่านกัมมันต์ ได้แก่ ไผ่พันธุ์กิมซุ่ง พันธุ์ซางหม่น ฯลฯ

การปลูกไผ่ ส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม เพราะไผ่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีขนาดลำต้นใหญ่โต ให้น้ำหนักชีวมวลต่อไร่ในระยะเวลาที่เท่ากันสูงกว่าพืชชนิดอื่น เป็นพืชที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ไผ่ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการปลูกเป็นพืชพลังงานทดแทนของโลกต่อไปในอนาคต เพราะทุกส่วนของต้นไผ่ประกอบด้วยเซลลูโลส เหมาะสำหรับใช้เป็นพลังงานชีวมวล สำหรับพันธุ์ไผ่ที่ให้ปริมาณชีวมวลในปริมาณมาก ได้แก่ พันธุ์กิมซุ่ง ตงลืมแล้ง ซางหม่น และวะโซ่ ฯลฯ ไผ่กลุ่มนี้เหมาะสำหรับผลิตเชื้อเพลิงพลังงานทดแทน เช่น สกัดเป็นน้ำมันดิบ นำต้นไผ่สดบดเป็นผงเพื่อนำไปหมักจะได้ก๊าซชีวภาพ (มีเทน) ที่มีค่าพลังงานสูงมาก ผลิตเม็ดพลังงานแห้งซึ่งโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการสูง รวมทั้งแปรรูปเป็นถ่านไม้ไผ่ที่มีคุณภาพสูง เป็นต้น

รองศาสตราจารย์ ธัญพิสิษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเชื้อเพลิงจากธรรมชาติใต้ดินมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก และเชื้อเพลิงจากแหล่งอื่นๆ มีต้นทุนที่สูงยากต่อการลงทุน ดังนั้น เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด จากพืชกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเป็นอย่างมาก นิยมใช้ผลิตความร้อนตามบ้านเรือนในประเทศเขตหนาว ใช้ในการผลิตไฟฟ้า สำหรับโรงไฟฟ้า หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ความร้อนสูงกว่าชีวมวลอย่างอื่น ขนส่งได้สะดวกเนื่องจากมีความหนาแน่นมาก มีเถ้าน้อย รวมทั้งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก โดยเฉพาะเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่ผลิตจากไม้ไผ่ เพราะไผ่เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้อย่างดี อีกทั้งมีพันธุ์ไผ่จำนวนมากมาย สามารถเลือกให้เหมาะสมกับในแต่ละสภาพพื้นที่ได้

ไผ่ ที่ตัดนำไปใช้ประโยชน์ ควรเลือกลำไผ่แก่ อายุ 2-3 ปี ส่วนลำอ่อนและหน่อไม้ที่เกิดใหม่จะปล่อยไว้เลี้ยงกอต่อไป สามารถตัดหมุนเวียนได้ทุกปีตลอดไปจนกว่าต้นไผ่จะออกดอกตายขุย อีกทั้งไผ่ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยชะลอการกัดเซาะพังทลายของหน้าดินและตลิ่งริมน้ำได้อีกด้วย

ขณะเดียวกัน ไผ่ จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าสีเขียวเป็นมิตรของธรรมชาติ (Eco-friendly) เพราะไผ่ให้ออกซิเจนในปริมาณสูงมากกว่าต้นไม้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ใช้เพียงปุ๋ยและน้ำ ไผ่จะจัดสมดุลออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ดีที่สุด

ทุกวันนี้ กระแสความนิยมรณรงค์ให้ใช้สินค้าสีเขียวจากธรรมชาติมาแรงมาก ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดีย มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไผ่เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมเส้นใย เพราะไม้ไผ่ให้เส้นใยที่มีคุณสมบัติดีเด่นที่สุดในโลก รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ลำไผ่เป็นเชื้อเพลิง เพราะลำไม้ไผ่แก่มีถ่าน 22% แก๊ส 21% และไบโอออยล์ 57% พื้นที่ 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) ผลิตไผ่แห้งได้ 10 ตัน ให้น้ำมัน 4,600 ลิตร ถ่านแท่ง 2,200 กิโลกรัม มีคุณค่าทดแทนน้ำมันจากธรรมชาติ 2,000 ลิตร (ประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดการผลผลิตได้สูงสุด 50-100 ตัน ต่อไร่)

ผู้สนใจเรื่องไผ่ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รองศาสตราจารย์ ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ (02) 564-4488 กด 0 และ (086) 655-2762

ข้าวเป็นเมล็ดธัญพืชที่มีคุณค่าอเนกอนันต์คู่กับสังคมไทยมายาวนาน และพบว่าอุดมด้วยสารอาหาร ได้แก่ วิตามินอีในข้าวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด สมอง หัวใจ บำรุงตับ ช่วยระบบสืบพันธุ์เซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ ทำให้ผิวพรรณสดใส ลดริ้วรอย และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น เป็นต้น

เบต้าแคโรทีน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ เว็บเล่นไพ่ออนไลน์ หลังจากดูดซึมเข้าสู่ร่างกายช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ มีมากในข้าวกล้องข้าวเหนียวก่ำเปลือกดำ ควรบริโภคข้าวก่ำร่วมกับผักพื้นบ้าน เช่น ยอดแค กระถิน ตำลึง ขี้เหล็ก ชะอม ช่วยเพิ่มวิตามินเอให้กับร่างกาย

ธาตุเหล็ก พบมากในข้าวหอมมะลิแดง หอมมะลิทั่วไป ทองแดง มีมากในข้าวหอมมะลิแดง ช่วยในการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย การกำจัดอนุมูลอิสระ การสร้างความยืดหยุ่นของผิวหนัง การขาดทองแดง ก่อให้เกิดภาวะซีดจากโรคโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวมีมาก เม็ดเลือดแดงลดลง คอเลสเตอรอลสูง และการเต้นของหัวใจผิดปกติ เบต้าแคโรทีนวิตามินอี เป็นสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว เป็นต้น

โดยข้าวฮางจะมีสารอาหารที่จะไปบำรุงสมองส่วนกลาง ทำให้มีความจำดี บำรุงร่างกาย ในปัจจุบันนิยมนำสารกาบ้ามาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับประสาทหลายโรค เช่น โรควิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคลมชัก ถ้ารับประทานติดต่อกัน 8 สัปดาห์ จะช่วยลดความดันโลหิตช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ข้าวฮางมีวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา ธาตุเหล็กป้องกันโรคโลหิตจาง มีโปรตีนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีเกลือแร่และวิตามิน วิตามินอี ในจมูกข้าวช่วยให้ไม่แก่เร็ว และมีซีลีเนียม ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและเบาหวาน