ฉีดพ่นโดยห้ามใส่อาหารเสริม จำพวกสาหร่าย-สกัดหรือจิ๊บ

โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีปริมาณใบอ่อนออกมามาก จากนั้นเว้น 3 วัน แล้วซ้ำด้วย สูตรที่ 2 หลังฉีด ครั้งที่ 2 เราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตาใบอย่างชัดเจน ใบจะหยุดนิ่งแล้วเริ่มเปลี่ยนเป็นตาดอก สูตรนี้เกษตรกรจำนวนมากใช้แล้วได้ผลดี แต่ต้องดูว่าความยาวของตาใบ ต้องไม่เกิน 1 เซนติเมตร จะได้ผลดีที่สุด

การดูแลต้นมะม่วง กรณีออกดอกพร้อมกัน
จำไว้ว่า ใบอ่อนเสมอ ดอกจะเสมอ การดูแลจะง่าย เมื่อเราเห็นช่อดอกเริ่มแทงออกมา ให้ดูแลตามขั้นตอน ดังนี้ ระยะเดือยไก่ เป็นระยะแรกของการออกดอก เราจะสังเกตเห็นตาดอกที่ออกมาเริ่มแตกและบิดเป็นเหมือนเดือยของไก่ แต่ถ้ายอดแตกออกมาเป็นทรงหอกหรือตั้งชู นั่นคือ อาการแตกใบอ่อน ไม่ใช่ออกดอก จำไว้ ต้องแทงแล้วบิดถึงจะเป็นช่อดอก การดูแลระยะเดือยไก่ การให้น้ำ ระยะนี้ถ้าฝนตกปกติ ไม่ต้องเปิดน้ำให้ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงจะต้องรดน้ำเพื่อให้ดอกออกมาสมบูรณ์และยาวมากขึ้น

การให้ปุ๋ย ทางดินจะใส่ปุ๋ย สูตร 9-25-25 หรือ 8-24-24 อัตรา ต้นละ 1 กิโลกรัม ถ้าเป็นพื้นที่ดินเหนียว อาจใช้สูตร 12-24-12 ก็ได้

การให้ปุ๋ยทางดิน จะทำให้ดอกสมบูรณ์ติดผลง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ใส่จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องเร่งให้ช่อดอกสมบูรณ์ที่สุดจึงจำเป็นต้องให้อาหารที่เพิ่มพลังการติดผล ตัวหลักๆ เลยก็คือ ปุ๋ยสูตร 10-52-17 เป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตรดั้งเดิมที่เป็นที่นิยมของเกษตรกรทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปุ๋ยสูตรนี้หาซื้อง่าย มีขายตามร้านเคมีเกษตรทั่วไป อัตราการใช้ 25-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10 วัน หรือจนกว่าดอกจะโรย สำหรับเกษตรกรยุคใหม่ อาจเลือกใช้ปุ๋ยบำรุงดอกสูตรใหม่ๆ ที่ผลิตโดยบริษัทเคมีเกษตรชั้นนำก็ได้ ปุ๋ยบำรุงดอกที่สามารถเลือกใช้แทนปุ๋ยสูตร 10-52-17 ก็อย่าง เช่น ปุ๋ยเฟอร์ติไจเซอร์ (3-16-36) ปุ๋ยซุปเปอร์เค (6-12-24)

ฮอร์โมนที่นิยมใช้ช่วงเดือยไก่ ได้แก่ โปรดั๊กทีฟ ฮอร์โมนช่วยเพิ่มปริมาณดอก ดอกสมบูรณ์ ก้านดอกยาว เพิ่มเปอร์เซ็นต์การติดผล ป้องกันดอกและผลอ่อนร่วง แนะนำให้ใช้ 3 ระยะ คือ เดือยไก่ ก้างปลา และดอกโรย เอ็นเอเอ (NAA) เช่น บิ๊กเอ เป็นฮอร์โมนที่ช่วยเพิ่มจำนวนดอกสมบูรณ์เพศ เหมาะมากสำหรับแปลงมะม่วงที่ออกดอกช่วงฤดูหนาว หรือออกดอกเต็มต้น บางครั้งเราจะพบว่าแม้มะม่วงจะออกดอกทั้งต้น แต่ก็ไม่ติดผล ซึ่งเกิดจากสภาพอากาศทำให้ดอกมะม่วงแปรผัน การฉีดพ่น NAA จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องเพศของมะม่วงได้เป็นอย่างดี การใช้ NAA ที่ถูกต้อง ให้ฉีดพ่นช่วงเดือยไก่ ความยาวช่อดอก 2-3 เซนติเมตร และฉีดพ่นเพียงครั้งเดียวจะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณดอกสมบูรณ์เพศได้มากกว่าต้นที่ไม่ได้พ่น 4-5 เท่าตัว จิบเบอเรลลิน ห้ามใช้ช่วงก่อนดอกบาน

ข้อควรระวัง เกษตรกรหลายท่านเข้าใจผิดในการใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ว่าฉีดแล้วทำให้ช่อยาว ติดผลดี ความเข้าใจนี้คลาดเคลื่อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้จิ๊บในมะม่วงให้ฉีดช่วงดอกใกล้โรย หรือช่วงติดผลเล็กๆ เท่านั้น ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินจะไปช่วยขยายขนาดผล ลดการหลุดร่วงของผลอ่อน แต่หากใช้ฉีดพ่นในระยะก่อนดอกบาน จะทำให้ช่อมะม่วงมีดอกตัวผู้มากขึ้น การติดผลจะยากขึ้น

อาหารเสริมที่จำเป็นช่วงดอก “มะม่วงเล่นยาก ให้ฉีดฮอร์โมนอาหารเสริมให้ตาย ถ้าอากาศไม่อำนวยก็ไม่ติดนะ แต่ถ้าอากาศดี ไม่ต้องฉีดอะไรก็ติดเองได้” คำพูดเหล่านี้มักได้ยินจากปากของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเสมอๆ เป็นคำพูดที่มีส่วนจริงและไม่จริง เพราะเมื่อสอบถามบรรดาเซียนๆ มะม่วง ต่างพูดเหมือนกันว่า “จะต้องบำรุงช่วงช่อดอกให้ดี มีฮอร์โมนอาหารเสริมเท่าไร ใส่ไม่อั้น เพราะเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้เลยว่า ต่อไปเมื่อถึงช่วงดอกมะม่วงเราจะบาน สภาพอากาศจะเป็นอย่างไร ฉะนั้น เราจะคอยแต่พึ่งอากาศไม่ได้ ต้องเตรียมความสมบูรณ์ให้ช่อดอกมะม่วงก่อน”

อาหารเสริมที่นิยมใช้ ได้แก่ แคลเซียม-โบรอน มีประโยชน์ในด้านการติดผลดี ดอกสมบูรณ์ ไม่หักร่วงง่าย เกษตรกรจะเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆ สาหร่าย-สกัด ช่วยให้ช่อสมบูรณ์ ยาวเร็ว สดใส ช่วยเพิ่มขนาดของผลอ่อน สังกะสี ช่วยเร่งความเขียว เร่งการติดผล แมกนีเซียม ช่อสด แข็งแรง เร่งการติดผล การใช้อาหารเสริมเกษตรกรต้องศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้ดี เพราะบางครั้งเราซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มา 5-6 ขวด เวลาเอามาดูจริงๆ กลับเป็นอาหารเสริมชนิดเดียวกัน เกษตรกรต้องดูให้ดี อย่าเชื่อแต่คำโฆษณาเชิญชวน เพราะจะทำให้เราสูญเงินโดยใช่เหตุ

ช่วงช่อดอกดูแลเต็มที่ ในช่วงช่อดอกมะม่วงจะต้องการอาหารมาก ดังนั้น ในช่วงนี้ คุณจรัญจะเน้นอาหารเสริมทางใบเป็นหลัก ตัวที่ใช้ประจำก็คือ สารโกรแคล อัตรา 1 ลิตร ผสมกับสารโปรดั๊กทีฟ อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง และให้สังเกตดูที่ก้านช่อว่าสมบูรณ์หรือไม่ (ก้านช่อที่สมบูรณ์จะต้องมีสีแดงเข้ม ถ้าขาวซีดต้องเร่งอาหารเสริม) ในช่วงช่อดอกจะต้องดูแลให้ดี เพราะศัตรูทั้งหลายจะมารุมทำลายช่วงนี้ และจะทำให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งศัตรูที่พบมากที่สุดก็คือ เพลี้ยไฟ และโรคแอนแทรกโนส

เพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่ทำความเสียหายแก่ดอกและผลอ่อน หากระบาดมาก ดอกมะม่วงจะแห้งไม่ติดผล หรือหากทำลายในระยะผลอ่อนก็จะทำให้ผลลาย ขายไม่ได้ราคา ยาที่กำจัดเพลี้ยไฟได้ดีมีอยู่หลายตัว แต่จะต้องฉีดสลับกัน เพื่อป้องกันการดื้อยา คุณจรัญจะเลือกจับกลุ่มยาหลายชนิด แล้วฉีดสลับกัน เช่น ใช้ยาเมโทมิล กับโปรวาโด สลับกับยาไซฮาโลทริน หรือใช้ยาคาร์โบซัลแฟน (เช่น โกลไฟท์) สลับกับ สารฟิโพรนิล เป็นต้น เมื่อคุมเพลี้ยไฟจนผลอ่อนมีขนาดเท่านิ้วมือก็ปลอดภัย

โรคแอนแทรกโนส เป็นโรคที่ทำลายรุนแรง หลายคนเรียกว่า โรคช่อดำ คุณจรัญจะเน้นการป้องกันโดยใช้ยา 2 ตัว บวกกัน คือ ฟลิ้นท์ อัตรา 200 กรัม ผสมกับ แอนทราโคล อัตรา 2 กิโลกรัม ฉีดพ่นสลับกับสารเอ็นทรัส อัตรา 500 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือ สารเมอร์แพน อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นจนถึงระยะผลอ่อน

“การใช้ยาในช่วงดอกถือว่าสำคัญมาก เจ้าของสวนจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและจะต้องดูให้ออกว่า ช่วงนี้ศัตรูอะไรลงทำลาย หรือต้องพยากรณ์ว่า ช่วงนี้เราจะต้องฉีดยาอะไร ถ้าเราดูศัตรูผิดหรือจัดยาไม่ถูกกับโรค ฉีดพ่นกี่ครั้งก็ยังเสียหาย ไม่สามารถขายผลผลิตได้ ยิ่งถ้าสวนไหนผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกจะต้องรู้ถึงระยะเวลาในการฉีด ต้องซื่อสัตย์และควบคุมให้ดี เพราะนอกจากจะต้องทำผลผลิตให้สวยมีคุณภาพแล้ว จะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย” คุณจรัญ กล่าวเสริม

เมื่อถามถึงรายได้ในการผลิตมะม่วงในแต่ละปี คุณจรัญ อยู่คำ เจ้าของ “สวนโชคอำนวย” บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 1 ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร โทร. (099) 271-1303 กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี แม้จะมีความเสี่ยงในเรื่องของสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติก็ตาม ราคาซื้อขายในแต่ละปีที่มีปัจจัยแตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่ในภาพรวมการปลูกและผลิตมะม่วงยังถือว่าเป็นอาชีพเกษตรกรรมที่ยังสร้างรายได้ดี แต่การเลือกปลูกมะม่วงสายพันธุ์ต่างๆ ก็สร้างรายได้แตกต่างกัน ยกตัวอย่าง พื้นที่ปลูกมะม่วง 1 ไร่ (อายุต้น 4 ปีขึ้นไป) จะให้ผลผลิตราว 1,500-2,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งที่ผ่านมาจะขายมะม่วงได้ดังนี้

ถ้าเป็นมะม่วงมัน เช่น ฟ้าลั่น จะขายได้ราคาเฉลี่ย 18-25 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ ประมาณ 27,000-50,000 บาทต่อไร่ มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 จะขายได้เฉลี่ย 25-40 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ประมาณ 37,500-80,000 บาท ต่อไร่ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จะขายได้ราคาเฉลี่ย 25-60 บาท ต่อกิโลกรัม จะมีรายได้ประมาณ 37,500-120,000 บาท ต่อไร่ ซึ่งสำหรับราคาขายมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองอาจจะมีราคาสูงมากกว่านี้ ซึ่งในบางปีราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 100 บาท ทีเดียว

แนวคิด ที่จะยืดเวลาการผลิตขนุนให้ยาวนานขึ้น ด้วยวิธีบังคับให้ออกนอกฤดูนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลกับขนุนนั้น เคยเกิดความเสียหายมาแล้ว ขอเล่าย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้พบเห็นสิ่งที่แปลกน่าฉงน

มีเกษตรกรท่านหนึ่ง ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ราดให้กับต้นมะม่วงเพื่อบังคับให้ออกนอกฤดู แต่ในสวนดังกล่าวเกษตรกรปลูกแซมด้วยต้นขนุน ซึ่งมีผลกระทบเมื่อขนุนแตกใบอ่อนออกมาใหม่ ใบเกิดมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับมือของมนุษย์ที่แบคว่ำลง ที่ใต้ใบมีผลขนุนขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือติดอยู่ตามแฉกของใบเต็มไปหมด ในที่สุดเกษตรกรต้องตัดต้นขนุนทิ้งไปหลายต้น

แพคโคลบิวทราโซล เป็นสารที่มีความสามารถในการยับยั้ง การผลิตฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน ที่ทำหน้าที่ยืดความยาวของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตทางลำต้น รวมทั้งกิ่งและใบ แต่กลับไปกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอกได้ในชั่วระยะหนึ่งกับต้นไม้บางชนิด ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ต้นมะม่วง ปัจจุบัน มีการนำมาใช้กับมะนาวกันบ้างแล้ว แต่สำหรับขนุนเป็นสารต้องห้ามอย่างยิ่งยวด

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ เกษตรกรหน้าใหม่-หน้าเก่า จำนวนไม่น้อยในบ้านเราหันมาปลูกเมล่อนกัน สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะได้ราคาดี เฉลี่ยแล้วขายกิโลกรัมละ 100 บาท บางแห่งที่ปลูกแบบอินทรีย์สามารถทำราคาได้มากกว่านั้นอีก คุณจันทร์จีรา บุญศิริ อายุ 43 ปี ก็เป็นอดีตมนุษย์เงินเดือนอีกคนที่หันมาทำอาชีพเกษตรกรรม และเลือกปลูกเมล่อนที่บ้านเกิด ในตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร เนื้อที่ 30 ไร่ โดยปลูกในโรงเรือน ชื่อสวนเมตตา หรือฟาร์มสดใส 2 ซึ่งได้รับเครื่องหมายมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (GAP) ด้วย

คุณจันทร์จีรา บุญศิริ เล่าว่า หลังเรียนจบปริญญาตรี สาขาโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก็ทำงานเป็นวิศวกร ทำงานด้านโทรคมนาคมมานาน 20 กว่าปี ผ่านงานวางแผนงานโครงข่ายและดูแลปรับปรุงสัญญาณ 3G 4G ให้คงคุณภาพเสียง สัญญาณ และความเร็ว ให้แก่ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคม จากเงินเดือนหลักหมื่นจนมาเป็นหลักแสน สุดท้าย ตัดสินใจมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว เมื่อปี2562 โดยทำเป็นสวนเมล่อน พร้อมเสริมด้วยการเลี้ยงปลาดุก ปลานิล วัว แพะ เพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับคุณแม่ที่อายุมากถึง 78 ปีแล้ว

ด้วยความที่เป็นเกษตรกรมือใหม่ ไม่มีพื้นฐานทางด้านนี้มาก่อน จึงเริ่มด้วยการปลูกองุ่น แต่ด้วยความรู้ ความสามารถ และไม่มีเวลาดูแลที่พอเพียง ทำให้เสียเวลาในการลองผิดลองถูกไป 3 ปี แต่กลับไม่ได้ผลผลิตออกมาอย่างที่คิด

ต่อมา ในปี 2561 สามีเริ่มทำโครงการปลูกเห็ดถั่งเช่า และทำสวนเมล่อน ที่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (ฟาร์มสดใส) และมีโอกาสได้ไปเรียนการปลูกเมล่อนจากครูบอลแห่งเทพมงคลฟาร์ม ปรากฏว่าผลผลิตและผลประกอบการดีเกินคาด ตัดสินใจปรับแต่งสวนองุ่นมาเป็นสวนเมล่อน ที่ อำเภอโคกศรีสุพรรณ เริ่มต้นช่วยกันทำเองเป็นกิจการภายในครอบครัว และใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9

ในการลงทุนทำสวนเมล่อนนั้น คุณจันทร์จีราแจกแจงว่า ช่วงแรกค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะต้องเสียค่าปลูกสร้างโรงเรือน ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ตกประมาณ 100,000 บาท ต่อ 1 โรงเรือน ขนาด 6.2 เมตร คูณ 15 เมตร จำนวน 15 โรงเรือน และตอนนี้กำลังขยายโรงเรือนเพื่อปลูกให้ได้ต่อเนื่องทุกเดือน เดือนละ 4 โรงเรือน จะได้เพียงพอสำหรับออเดอร์ในปีนี้ ซึ่งที่สวนปลูกสายพันธุ์หลักๆ คือ

1. ไข่มังกร
2. จันทร์ฉาย
3. สารคามสวีท
สายพันธุ์เหล่านี้ได้พัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะกับการปลูกในสภาพภูมิอากาศเขตเมืองร้อนอย่างประเทศไทยได้

สำหรับการปลูกในโรงเรือน ใช้ระบบน้ำหยด ซึ่งเมล่อนเป็นพืชที่อ่อนแอ ไวต่อโรค ต้องดูแลตั้งแต่รากจนถึงยอด จึงต้องใช้คนที่มีประสบการณ์ มีระเบียบและความรับผิดชอบในการดูแลรายละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมเพาะปลูกถึงการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงการแพ็กและส่งของจนถึงมือลูกค้า

คุณจันทร์จีรา เล่าถึงขั้นตอนวิธีปลูกว่า เริ่มจาก

1. เตรียมเบี้ยเพาะเมล็ดพันธุ์ โดยแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 70 องศาเซลเซียส 1 ชั่วโมง ห่อด้วยผ้าขาวเก็บไว้ในที่มิดชิด 24 ชั่วโมง และนำเมล็ดที่เตรียมเพาะลงถาดเพาะที่มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับเมล็ดพันธุ์ เพาะไว้เป็นเวลา 12-14 วัน
2. เตรียมโรงเรือน ต้องเป็นโรงเรือนแบบปิดเพื่อป้องกันเชื้อโรคและแมลงที่จะทำลายผลผลิตได้
3. การเตรียมดิน ต้องตีดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยหมัก สารปรับปรุงดิน เพื่อที่จะให้เมล่อนได้รับสารอาหารที่เพียงพอตั้งแต่แรก เตรียมแปลงเป็นแนว และปูพลาสติกคลุมดิน

เทคนิคผสมเกสร

ทั้งนี้ เมื่อเพาะเมล็ดพันธุ์ครบจำนวนวันแล้ว ก็นำมาลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ส่วนช่วงผสมเกสร เมื่อปลูกลงดินครบ 22-24 วัน ให้ผสมเกสรได้เลย และหลังผสมเกสรครบ 35-45 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

อย่างที่คุณจันทร์จีราบอกไปแล้วว่า เมล่อน เป็นพืชที่อ่อนแอ ฉะนั้น ในแต่ละฤดูกาลจึงต้องดูแลเอาใจใส่ค่อนข้างเยอะ เช่น ในหน้าร้อน จะเจอปัญหาเพลี้ยไฟ โรคยืนต้นตาย เนื่องจากอากาศร้อนจัด หน้าฝน จะเป็นโรคเน่าคอดิน ลูกแตก เนื่องจากน้ำเยอะ ความชื้นเยอะ ขณะที่หน้าหนาวมักพบโรคราต่างๆ เพาะเมล็ดยาก โตช้า เนื่องจากอากาศหนาว

“เมล่อน เป็นพืชที่ต้องการความใส่ใจในการดูแลรักษา ปัญหามีตั้งแต่เรื่องดิน น้ำ โรคต่างๆ สภาพแวดล้อมโดยรอบทุกอย่างคืออุปสรรค แต่ทุกอย่างย่อมมีทางแก้ไข หากใส่ใจที่จะเรียนรู้และหาทางแก้ไขปัญหา”

เจ้าของฟาร์มสดใส 2 บอกว่า ก่อนหน้านี้ปลูกเมล่อนหลากหลายสายพันธุ์ สุดท้าย เหลือแค่ 3 สายพันธุ์ ตามที่ลูกค้าชอบ โดยแต่ละพันธุ์มีจุดเด่นดังนี้

พันธุ์ไข่มังกร ผลเป็นลูกสีเขียว รูปร่างทรงรีเหมือนไข่มังกร ลายตาข่าย ลักษณะเนื้อส้ม (สีไม่เข้มมาก) หวาน กรอบ ละมุน ฉ่ำ พันธุ์จันทร์ฉาย ลายเกลี้ยง ทรงกลม เนื้อส้ม หวาน กรอบ หอม ผลสีทอง เหลืองอร่าม และ

พันธุ์สารคามสวีท ลายตาข่าย ทรงกลม เนื้อส้ม หวาน กรอบ ผลสีเขียว ลายตาข่าย

สำหรับการผสมเกสร คุณจันทร์จีรา ระบุว่า ควรทำในช่วงแดดอ่อนๆ เวลาที่เหมาะสม ประมาณ 07.00-10.00 น. เริ่มต้นด้วยการเด็ดดอกตัวผู้ที่อยู่บนสุดของต้น เด็ดส่วนที่เป็นดอกออก เหลือแต่เกสร แล้วนำเกสรตัวผู้ไปผสมกับเกสรตัวเมีย ใน ข้อที่ 9 11 และ 13 โดยให้หมุนเป็นวงกลมภายในเกสรตัวเมีย ซึ่งต้องผสมไว้เผื่อคัดลูก

ปัญหาและอุปสรรคของการผสมเกสรที่พบคือ หากครบรอบที่ต้องผสมเกสรแล้วแต่ไม่มีแดดออกเลยนั้น เกสรที่ผสมจะฝ่อใช้ไม่ได้ หรือถ้าติดผล ผลที่ออกมาอาจไม่สมบูรณ์ ต้องผสมเกสรใหม่ อีสาน ปลูกเมล่อนได้ดี

หลายคนอาจสงสัยว่า ภาคอีสาน ที่ได้ชื่อว่าแห้งแล้งนั้น จะปลูกเมล่อนได้หรือไม่นั้น ประเด็นนี้ขอแจกแจงว่า เมล่อนต้องการน้ำในวันเพียง 1 ลิตร ต่อต้น และเหมือนพืชผักอื่นๆ คือต้องการน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติดีที่สุด และทางสวนก็มีบ่อปลาขนาดใหญ่อยู่ 10 บ่อ และติดแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดทั้งปี

“คนส่วนใหญ่คิดว่า อีสานแล้ง ไม่มีน้ำ จะปลูกเมล่อนได้หรือ คำตอบคือ ภาคอีสานปลูกเมล่อนได้ดีและมีคุณภาพเพราะ เมล่อน เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำเยอะ
เมล่อนชอบแดด ทนร้อนได้ดี และจะมีรสชาติที่หวานมากหากช่วงที่เก็บเกี่ยวขาดน้ำ”
สวนแห่งนี้ขายทั้งหน้าสวนและออนไลน์ให้แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้าประจำ ซึ่งส่งขายทั่วประเทศไทยและลาว ทุกสายพันธุ์ ขายราคากิโลกรัมละ 100 บาท ไม่รวมค่าส่ง ที่ผ่านมาลูกค้าตอบรับดีมาก และกรณีถ้าเมล่อนที่ส่งไปมีปัญหาทางสวนก็จะส่งสินค้าไปให้ใหม่ด้วย

คุณจันทร์จีรา ให้คำแนะนำสำหรับผู้สนใจจะปลูกว่า เมล่อน เป็นพืชล้มลุกที่ค่อนข้างอ่อนแอ ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างดีและสม่ำเสมอ หากสนใจปลูกต้องประเมินเวลา ความรู้ ความสามารถ ความใส่ใจ ของผู้ที่จะทำ และควรทดลองทำเองก่อนจ้างลูกจ้าง เพื่อจะได้เรียนรู้การผลิตและโรคพืชในแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญคือ เรื่องการตลาด ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นควรจะลองปลูกก่อน เพียงแค่ 1 โรงเรือน เพื่อทดลองหาตลาดว่ากลุ่มลูกค้าชอบแนวไหน จากนั้นจึงค่อยขยายโรงเรือน

ในสวนของคุณจันทร์จีรา สมัครเล่นคาสิโน นอกจากจะปลูกเมล่อนเป็นหลักแล้ว ยังปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆ ด้วย อาทิ ข้าวโพด และฟักทองบัตเตอร์นัทเพื่อพักโรงเรือน โดยที่พืชตระกูลฟักทองนั้นจะล้างดิน กินปุ๋ยตกค้างในดิน ให้รากชอนไชระเบิดโครงสร้างดิน ซึ่งอนาคตวางแผนจะทำเป็นไอศกรีมเมล่อน เมล่อนฟรุตสลัด และน้ำเมล่อนปั่น เพิ่มมูลค่า สนใจเมล่อนของสวนเมตตา ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร. 095-662-5535

นับเป็นเกษตรกรหน้าใหม่อีกรายที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ แม้จะเพิ่งทำได้ไม่นาน ปัจจัยหนึ่งเพราะเลือกผลไม้ที่ได้ราคาและมีตลาดรองรับ โดยเน้นขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งถ้าส่งไปถึงมือลูกค้าแล้ว เมล่อนลูกนั้นๆ มีปัญหา ทางสวนจะรับผิดชอบส่งลูกใหม่ไปให้

การเพาะเมล็ดอินทผลัมกินผล นอกจากได้ต้นที่ไม่ทราบเพศชัดเจนแล้ว ยังพบว่า หลังปลูกมีการกลายพันธุ์ เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์บาฮี ลูกที่ออกมาจะไม่เหมือนบาฮี พบลักษณะที่ด้อยกว่า โอกาสที่จะพบต้นเหมือนหรือเด่นกว่าแทบไม่มี

การปลูกอินทผลัมกินผลเป็นการค้า โดยใช้ต้นจากเพาะเมล็ดในช่วงหลังจึงไม่มี แต่ที่นำข้อมูลมาเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา

อินทผลัม พืชตระกูลปาล์ม ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง โดยเฉพาะอินทผลัมกินผลสด เกษตรกรให้ความสนใจเพาะปลูกกันมากขึ้นเนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย เก็บผลผลิตได้ในระยะเวลานาน ให้ผลตอบแทนสูง และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง

ต้นอินทผลัม มีลำต้นมีความสูงประมาณ 30 เมตร ขนาดของลำต้น 30-50 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นแบบขนนกยาวแหลมติดอยู่บนต้นประมาณ 40-60 ก้าน แต่ละใบมีทางยาวประมาณ 3-4 เมตร ใบย่อยจะพุ่งออกแบบหลากหลายทิศทาง และดอกจะออกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณโคนกาบใบ และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหน่อจากต้นใหญ่ตัวเมีย

ผลของอินทผลัม จะมีลักษณะเป็นผลทรงกลมรี ออกเป็นช่อ มีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีรสหวานฉ่ำ สามารถรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก โดยผลอินทผลัมสดจะมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม และเมื่อแก่จัดผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และพัฒนาการของผลอินทผลัมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะผลดิบ ระยะสมบูรณ์ ระยะสุกแก่ ระยะผลแห้ง โดยผลอินทผลัมดิบจะให้เนื้อสัมผัสหวานฉ่ำ กรอบอร่อยมีเอกลักษณ์เฉพาะ และผลอินทผลัมสุกเราสามารถนำไปตากแห้งเก็บไว้รับประทานได้หลายปี และจะมีรสชาติหวานจัด เหมือนกับการนำไปเชื่อมด้วยน้ำตาลเลยก็ว่าได้