“ชญาน์วัต” บอกว่า เมื่อตัดสินใจมาทำเกษตรก็ต้องเริ่มใหม่หมด

โดยเริ่มเดินตามหลักการทำเกษตรตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเริ่มต้นจากการทำฟาร์มแพะเล็ก ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ดูแลไม่ยาก ลงทุนไม่สูง ประกอบกับตลาดนมแพะเติบโตขึ้นต่อเนื่อง เพราะจำนวนผู้แพ้นมวัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนมแพะก็กลายเป็นนมทางเลือกที่กำลังเติบโต ตามด้วยการปลูกพืชต่าง ๆ เพื่อนำพืชเหล่านั้นมาเป็นอาหารให้แก่แพะที่เลี้ยง

ส่วนผลผลิตที่เหลือก็นำมาแปรรูป เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนให้แก่ฟาร์ม ยกตัวอย่างว่า กล้วย เมื่อผลผลิตมีจำนวนมากเกินความต้องการ ก็นำมาแปรรูปเป็นขนมกล้วย กล้วยตาก ข้าวต้มมัด

หรือว่านหางจระเข้ ที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร ก็นำมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มว่านหางจระเข้ผสมใบเตยให้ดื่มง่าย นำไปจำหน่ายตามตลาดนัดต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในตลาดหลักที่วางจำหน่ายต่อเนื่อง คือ “วีมาร์เก็ต” (We Market) ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่จัดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง เท่ากับว่าฟาร์มจะมีรายได้ตลอดเวลา คือ มีรายได้รายวันจากการขายนมเเพะดิบ มีรายได้รายสัปดาห์สำหรับการขายนมแพะแปรรูป และมีรายได้รายเดือนสำหรับการนำผลผลิตต่าง ๆ มาแปรรูปแล้วขายตามตลาดนัดเมื่อทุกอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

“ชญาน์วัต” บอกว่า ก็เริ่มแปรรูปวัตถุดิบ ด้วยการนำน้ำนมดิบจากแพะมาผลิตสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น โลชั่นน้ำนมแพะ สบู่ ลิปสติก เป็นต้น โดยสินค้าเหล่านี้แปรรูปง่าย ๆ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำให้สินค้ามีข้อจำกัดเรื่องของการเก็บรักษาและอายุการใช้งานสั้นเพียง 3 เดือน วางราคาที่ 150 บาท เจาะกลุ่มคนเมือง เน้นจำหน่ายผ่านเฟซบุ๊กเป็นหลัก

“เราเริ่มจากการเป็นฟาร์มเล็ก ๆ ใช้วัตถุดิบที่ได้มาต่อยอดเป็นสินค้า โดยผลิตเอง ทำให้ได้จำนวนน้อย หาแหล่งจัดจำหน่ายเอง เพื่อลดต้นทุนทุก ๆ ด้าน เพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด”

เป้าหมายหลักที่วางไว้คือ ต้องการให้ “บุญบูรณ์ โฮม” เป็นต้นแบบสำหรับเกษตรกรทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ในการทำเกษตรที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีการวางระบบบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

“ชญาน์วัต” กล่าวว่า วันนี้ บุญบูรณ์ โฮม เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และทิศทางจากนี้ไป จะเดินหน้าการสร้างเครือข่ายเกษตรกรภายในจังหวัดลำปางมากขึ้น อาจจะเป็นเครือข่ายเล็ก ๆ แต่จะเป็นเครือข่ายที่แข็งแรง เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเผยแพร่องค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยน แปรรูปสินค้าทางการเกษตร เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนเกษตรกรได้ในระยะยาว

ขณะเดียวกันอีก 1-2 ปีข้างหน้า เตรียมลงทุนห้องแปรรูปสินค้าให้มีมาตรฐานตามหลักสากล ซึ่งอาจจะค่อย ๆ พัฒนาเป็นสเต็ป ๆ อย่างไรก็ตาม คาดว่าต้นปี 2561 เตรียมจะเปิดให้บริการโฮมสเตย์ เพื่อรองรับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ ๆ และต่อยอดธุรกิจสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ฟาร์มด้วย หวังผลักดันให้ บุญบูรณ์ โฮม เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และโรงเรียนแปรรูปสินค้าเกษตรในอนาคต ด้วยระยะเพียง 2 ปี จากการเริ่มต้นในวันแรกด้วย

กระบวนการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตอนนี้ “บุญบูรณ์ โฮม” กำลังขยับไปอีกขั้น จากการผลิตพืชเพื่อดูแลตัวเอง สู่การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่า จำหน่าย และสร้างรายได้หมุนเวียนให้แก่ตัวเอง และเป็นอีกต้นแบบของเกษตรกรไทยยุคใหม่

นายกฯขอทุกคนปรับตัวปรับเปลี่ยนลดพื้นที่ปลูกยาง หันปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น ไม่แก้ตัวปัญหาน้ำท่วม เพียงแต่ต้องแก้ให้มีปัญหาน้อยที่สุด ลั่นที่สั่งเตรียมพร้อมรับมือต้องทำ

วันที่ 3 พฤศจิกายน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา พร้อมพบปะให้กำลังใจผู้ประสบอุทกภัย

โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับประชาชน ข้าราชการ ชาวปากพนัง ช่วงหนึ่งว่า ทั้งใน 3 ประเทศที่ปลูกยางเขาปรับหมดแล้ว มีแต่ของเราที่ยังปลูกยางในพื้นที่เท่าเดิม มากกว่าเดิมไปเรื่อยๆ ต้องปรับตัว เพราะเราเจรจาไม่รู้กี่รอบแล้ว ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น ที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่มาก ต้องคิดถึงต้นทุนผลิต และในการแปรรูปด้วย

อย่ามองว่ากำไรมาก กำไรน้อย ถ้าสมมุติพื้นที่ไหนได้คุณภาพไม่เท่ากัน มีการรวมกลุ่มแล้วไปโรงงานแล้วหารเฉลี่ยออกมา ฝากไว้เป็นแนวคิด ต้องศึกษารอบบ้านเราด้วย อย่างเวียดนาม มาเลเซีย อย่างจีนก็ปลูกมากขึ้นมา 7 ปีแล้ว ดังนั้นอย่าไปหลงเชื่ออะไรทั้งสิ้น เอาข้อมูลที่ตนพูดเพราะพิสูจน์ได้ ไม่ใช่พูดแต่ปากอย่างเดียวไม่ได้

วันนี้จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำอย่างไรเอาศักยภาพมาใช้เต็มที่ เป็นจังหวัดที่มีรายได้สูงลำดับที่ 20 ของประเทศ เกินครึ่งปลูกยางพารา ภาคอีสานปลูกเข้าไปอีก แล้ววันหน้าจะแข่งกันอย่างไร ต้นทุนเขาถูกกว่าไหม เกิดช่องว่างระหว่างการขายกับต้นทุน จะแข่งกันอย่างไร ต้องลดลงให้ได้ และต้องมีแผนสำรองปลูกผลไม้เพิ่มในสวนยาง หรือไปเลี้ยงแกะ เลี้ยงแพะ

นี่คือสิ่งที่รัฐบาลคิด แต่ไปบังคับท่านไม่ได้ ท่านต้องสมัครใจ ทั้งเรื่องพืชเศรษฐกิจ ยาง ปาล์ม ไม้ผล ทุเรียน มังคุค เงาะ ต้องวางวงจรการผลิตแต่ละปี และถ้ารอพืชเศรษฐกิจอย่างเดียว อย่างเช่นปลูกข้าวไว้รอขาย ราคาก็ได้เท่านี้ ต้องปลูกพืชที่ขายได้ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี นี้คือศาสตร์พระราชา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ตนถือมาเยี่ยมเยือนก่อนเกิดเหตุการณ์ ในช่วงที่ผ่านมาเดือนที่แล้วเกิดเหตุมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ตนได้ไปเยี่ยมมาแล้วหลังการปรับปรุงแก้ไข แต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีน้ำมากลงมา

ต้องเข้าใจตรงนี้ ไม่ใช่ใครเก่ง ใครผิด ใครถูก ไม่ใช่เลย ซึ่งบอกให้ทราบเหตุผลแล้วว่าคืออะไร แก้ตัวไม่ได้ ต้องแก้ไขไปให้ปัญหาน้อยที่สุด วันนี้ส่ิ่งที่เราเตรียมความพร้อมมีหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อม แผนเผชิญเหตุ แผนในพื้นที่ การอพยพ ทั้งสัตว์ทั้งคนไปอยู่ที่ไหน ฝากไว้ด้วยนะนายอำเภอ ท้องถิ่นเขาแจ้งมาเตรียมพื้นที่ไว้ตรงไหน ถ้าเรากระจายไปไม่ได้หรอก เพราะพื้นที่ตั้งเท่าไหร่ ต้องรู้ไว้ก่อน ไม่ใช่พอถึงเวลาไม่รู้เรื่อง ถ้าตนสั่งแล้วต้องทำ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการเตรียมการในพื้นที่ในแผนต่างๆ ทั้งมหาดไทย ปภ. กระทรวงเกษตรฯ คสช. ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ เขาแบ่งความรับผิดชอบหมดแล้วในพื้นที่ คมนาคมเตรียมหมดในเรื่องของเส้นทาง ระบบเตือนภัย โดยเฉพาะพื้นที่น้ำป่าไหลหลาก

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวเราต้องทำให้มีคนท่องเที่ยวมากกว่าเดิม ไม่ใช่รวยแล้วเลิก ท้องถิ่นต้องพร้อม จัดระเบียบในสถานที่ท่องเที่ยวประเภทต่างๆ งบประมาณส่วนหนึ่งลงไป และงบประมาณหนึ่งขอขึ้นมา ต้องเติมให้เต็มทั้งหมด ต้องเป็นแบบนี้

และต้องเป็นการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกันในแต่ละจังหวัด รวมถึงโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อย่าให้ใครมาบิดเบือน ถ้าเราไม่คิดแบบนี้ มันไปไม่ได้ เอาเงินมาทุ่มข้างล่างอย่างเดียวไม่ได้ แต่ข้างบนไม่เกิดอะไร มันก็ทรงตัวไปเรื่อยๆ

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน (ชป.) กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) กรมวิชาการเกษตร (วก.) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กรมการข้าว (กข.) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) หรือจีสด้า ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการบริหารจัดการเกษตรเชิงพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการข้อมูลพื้นฐาน เพื่อรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม ฝนแล้ง และประเมินความเสียหายที่รัฐบาลต้องชดเชยให้เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาข้อมูลของจีสด้าในการสำรวจภาพถ่ายทางดาวเทียม พบว่าผลการสำรวจคลาดเคลื่อนประมาณ 15% แต่เมื่อมีการศึกษาเรื่องของพื้นที่ปลูกข้าวร่วมกับกระทรวงเกษตร มีการปรับปรุงข้อมูลขณะนี้ จึงเชื่อว่ามีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลประมาณ 10% เท่านั้น ถือว่าดีขึ้น

โดยล่าสุดการสำรวจพื้นที่ปลูกข้าว จีสด้าระบุว่าผลความเสียหายจากน้ำท่วมต่อพื้นที่ปลูกข้าว ระบุว่าภาคกลางเสียหายมากสุด ประมาณ 3 ล้านไร่ จากพื้นที่เพาะปลูก 59 ล้านไร่ ซึ่งถือว่าเสียหายไม่มากนัก โดยความร่วมมือครั้งนี้ได้ขยายสำรวจข้อมูลผลผลิตและพื้นที่ปลูกพืชมันสำปะหลังเพิ่มจากข้าวอย่างเดียว และข้อมูลจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการด้านการเกษตร สนับสนุนและวางแผน วิเคราะห์ ตลอดจนแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน อีกทั้งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

นายสรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า วัตถุประสงค์การลงนามครั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาการเกษตรของไทยมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ อาทิ การติดตามพื้นที่เพาะปลูกพืช การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ภัยแล้ง หรือภัยพิบัติน้ำท่วม เป็นต้น พร้อมกันนี้ร่วมมือพัฒนาศักยภาพบุคลากรของหน่วยงาน และจัดทำแอพลิเคชั่นด้านการบริหารจัดการเกษตรเชิงพื้นที่และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ด้วยคำว่า “สังคมสูงวัย” ทำให้หลายๆ หน่วยงานให้ความสนใจกับการทำกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ

เล่น“ซูโดกุ” สิ เป็นอีกคำแนะนำ ว่ากันว่าช่วยให้สมองชราภาพช้าลง หรืออีกทฤษฎีก่อนหน้านี้ที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างบ่อยๆ คือ เล่นดัมมี่ ไพ่ผ่อง ฯลฯ ฝึกให้สมองได้บวกลบตัวเลข ความจำจะเลิศ ล่าสุด จดหมายข่าวหอภาพยนตร์ ประชาสัมพันธ์ถึงกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 รวม 13 ครั้ง โดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์ฝึกสมอง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย และบริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด จัดโครงการภาพยนตร์กับผู้สูงอายุ มีการฉายภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดสรรแล้วว่าเหมาะแก่ผู้สูงอายุ พร้อมกับการเสวนาหลังชมภาพยนตร์จบ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างวิทยากรและผู้ชม

ยืนยันว่า ภาพยนตร์ให้ประโยชน์มากกว่าความบันเทิง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายถกเถียง เรียนรู้ชีวิตร่วมกัน ภาพยนตร์เป็นดั่งยาบำรุงผู้สูงอายุ ทั้งนี้ จากการสรุปบทเรียนสุดท้ายโดยการจัดงานเสวนา “ภาพยนตร์ ยาบำรุงผู้สูงอายุ” ในวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ศูนย์ฝึกสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุจากหลากหลายหน่วยงานโดยรอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ นิศานาถ ไทรทองคำ เจ้าของบทความ “ภาพยนตร์ ยาบำรุงผู้สูงอายุ” เล่าว่า มาจาก คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ผู้ที่เป็นทั้งผู้สูงอายุ และชื่นชอบการชมภาพยนตร์ เชื่อมั่นว่าการชมภาพยนตร์จะเป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุ โดยได้รับสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้อำนวยการศูนย์ฝึกสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย

“สิ่งหนึ่งที่ภาพยนตร์ถูกนำมาใช้งานในการสื่อสารกับผู้ป่วยได้ดี นั่นคือ ภาพยนตร์ได้ตั้งโจทย์ให้มีปมและบอกวิธีแก้ไข เชื่อว่าภาพยนตร์มีพลังเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อว่ากระบวนการชมภาพยนตร์ถ้าดูเพียงลำพังจะไม่ได้เรียนรู้มากเท่ากับการชมภาพยนตร์แล้วมีการร่วมวิเคราะห์พูดคุยกับผู้อื่น จึงเห็นด้วยและสนับสนุนให้เกิดโครงการนี้” ผศ.นพ.สุขเจริญบอก

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะภาพยนตร์ทุกเรื่องจะเหมาะกับผู้สูงอายุทุกคน

แม้ว่าภาพยนตร์นั้นๆ ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยตรง จะเป็นเรื่องของคนหนุ่มสาว หรือการ์ตูนแอนิเมชั่นก็ได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์สำคัญบางประการ เช่น ต้องเป็นภาพยนตร์ที่กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดปัญญา เกิดการเรียนรู้

ตัวอย่าง เช่น เรื่องThe Theory of Everything ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของ สตีเฟน ฮอว์คิง ที่เป็นเรื่องราวความรักของคนหนุ่มสาว และการเผชิญหน้ากับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ก็ให้ประเด็นในการขบคิดถกเถียงอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตในภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอย การมองคุณค่าของความรัก แม้กระทั่งความเข้าใจในอัตตาของมนุษย์ หรือภาพยนตร์แอนิเมชั่น Inside Out ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ผู้สูงอายุได้อภิปรายถึงการทำงานของสมองและความรู้สึกภายในตัวเรา

ขณะเดียวกัน ก็มี ประเด็นที่พึงระวังในการเลือกภาพยนตร์ เช่น ความเปราะบางในบางประเด็น บางเรื่องกับผู้ชมบางคน ที่อาจเกิดความรู้สึกห่อเหี่ยวหลังชมภาพยนตร์จบ เพราะชีวิตของเขาตรงกับเนื้อหาในภาพยนตร์

ดังนั้น ภาพยนตร์ที่นำมาฉายจึงควรเป็นภาพยนตร์ที่มีคำตอบในตอนจบของเรื่อง มีการคลี่คลายปมเหล่านั้นเสมอ เพราะหากภาพยนตร์ที่ผู้สูงอายุรับชมแล้วไม่มีคำตอบ ไม่มีการคลายปมให้ผู้ชม อาจจะกลายเป็นการสร้างความรู้สึกไม่ดีค้างคาอยู่ในจิตใจผู้ชม

ที่สำคัญอีกประการคือ หากภาพยนตร์นั้นมีประเด็นที่อ่อนไหว หรือประเด็นที่ค่อนข้างยาก ผู้จัดควรจะให้ข้อมูลเสริมกับผู้ชมด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจประเด็นดังกล่าว มีหนังสือ “ภาพยนตร์ ยาบำรุงผู้สูงอายุ” ซึ่งรวบรวมการถอดบทสนทนาหลังการจัดฉายภาพยนตร์ใน 10 ครั้งแรกของโครงการนี้เพื่อเป็นตัวอย่างกิจกรรม วางจำหน่ายแล้วราคาเล่มละ 150 บาท ที่ร้านมายาพาณิชย์

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 4 เรื่อง “พายุ “ด็อมเร็ย” (DAMREY) และฝนตกหนักถึงหนักมาก และคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560)”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า 1. เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 4 พ.ย. 60พายุไต้ฝุ่น “ด็อมเร็ย” (Damrey) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 12.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.6 องศาตะวันออก ห่างประมาณ 200 กิโลเมตรทางด้านตะวันออกของกรุงโฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่างในวันนี้(วันที่ 4 พ.ย. 60) และจะอ่อนกำลังลงก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศกัมพูชาต่อไป

2. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และลมกระโชกแรง
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้

บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังคลื่นซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในระยะนี้

ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น. บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

ในปัจจุบันที่กระแสโลกได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคโลกใหม่แบบ Knowledge-Based และเข้าสู่ยุค Digital Economy อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) นับเป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการทำธุรกิจมากขึ้น ล่าสุดโดรนถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลาและแรงงานคน โดยสามารถพ่นยา/ปุ๋ย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

คาดว่าในปี 2563 มูลค่าตลาดโดรนเชิงพาณิชย์ของโลกอาจอยู่ที่ราว 127,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.4 ล้านล้านบาท

โดยโดรนเพื่อการเกษตรคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดโดรนสูงเป็นอันดับ 2 ที่ราว 32,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน โดรนเพื่อการเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในลักษณะของการทำการเกษตรแบบแม่นยำ เช่น

-การรดน้ำ การให้ฮอร์โมน การให้ปุ๋ยทางใบ

-การถ่ายภาพวิเคราะห์/ตรวจโรคพืช ทำให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด ประเมินว่า หากไทยมีการนำเทคโนโลยีการเกษตรอย่าง โดรนเพื่อการเกษตรเข้ามาประยุกต์ใช้ตามนโยบายนาแปลงใหญ่ของภาครัฐในปี 2560 จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รวมราว 1,100 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 6,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า

โดยการประมาณการดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานของพื้นที่เป้าหมายนาแปลงใหญ่ที่ 1,512 แปลงในปี 2560 และ 7,000 แปลงในปี 2564 และยังคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้โดรนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทางการเกษตรมากขึ้นอย่างแน่นอน

แม้ปัจจุบันการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในไทยจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่คาดว่าในอนาคตราคาโดรนเพื่อการเกษตรจะถูกลง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตโดรนมีการแข่งขันกันหลายบริษัท

ผนวกกับความนิยมใช้โดรนของเกษตรกร/ผู้ประกอบการที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง รวมทั้งเทรนด์ของสินค้าจำพวกเทคโนโลยีที่มักจะมีราคาลดลงอย่างรวดเร็วตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565) ราคาโดรนเพื่อการเกษตรอาจลดลงราว 20-25% ต่อปี อยู่ที่ 67,000-106,000 บาท จากราคาเปิดตัวในปี 2558 ที่ราว 300,000-500,000 บาท

เอพีรายงานวันที่ 3 พ.ย. ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลรัสเซียเร่งตรวจสอบสาเหตุการตายของแมวน้ำไบคาล กว่า 141 ตัว ว่ามาจากการอดอยากจนตายหรือไม่ หลังจากซากแมวน้ำเหล่านี้ถูกคลื่นซัดมาเกยฝั่งชายหาดของทะเลสาบที่ลึกที่สุดในโลกที่แคว้นไซบีเรีย

จากการสำรวจซากแมวน้ำพบว่าส่วนใหญ่เป็นตัวเมียที่ตั้งท้องอยู่ lebron-james-shoes.us เริ่มปรากฏซากตามชายฝั่งทะเลสาบไบคาลตั้งแต่สุดสัปดาห์ แมวน้ำทะเลสาบไบคาล เรียกว่า เนอร์ปา คาดว่ามีอยู่ราว 130,000 ตัวในทะเลสาบไบคาลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัสเซีย ใกล้กับชายแดนมองโกเลีย เป็นประชากรแมวน้ำที่มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของแมวน้ำน้ำจืดในโลก ทะเลสาบแห่งนี้ยังเป็นที่อยู่ของสัตว์และพืชที่ไม่มีในพื้นที่อื่นของโลกมากกว่า 1,500 ชนิด

อเล็กซี คาลินิน อัยการไบคาลตะวันตกซึ่งติดตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อม กล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ ว่าสาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคืออาหารขาดแคลนเนื่องจากประชากรแมวน้ำเพิ่มขึ้น “ดูจากสภาพตัวที่มันตายแล้ว แต่ละตัวหิวโหย ไม่มีอาหารเลยในกระเพาะพวกมัน” คาลินินกล่าว

ขณะเดียวกัน เหล่าเจ้าหน้าที่ตัดทิ้งประเด็นเชื้อโรคระบาดไปแล้ว เพราะผลตรวจในห้องแล็บไม่แสดงเลยว่าอะไรเป็นตัวฆ่าแมวน้ำเหล่านี้

ประชากรแมวน้ำในทะเลสาบไบคาลเพิ่มขึ้นตั้งแต่มีการออกกฎหมายให้การล่าผิดกฎหมายในปี 2542 แต่ต่อมานักวิทยาศาสตร์และผู้นำในท้องถิ่นเรียกร้องให้ผ่อนปรนกฎนี้เพื่อช่วยควบคุมประชากรของแมวน้ำที่เพิ่มขึ้นด้วย

นายภัทรพนธ์ รัตนพิเชฏฐชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล แจ้งเตือนประชาชน เรื่องสภาวะอากาศ โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล ได้ติดตามสภาวะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเรื่องพายุ ด็อมเร็ย และฝนตกหนักถึงหนักมาก คลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้มีผลกระทบถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 04 พฤศจิกายน 2560 โดยเมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (4 พ.ย. 60) พายุไต้ฝุ่น “ด็อมเร็ย” (Damrey) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ได้เคลื่อนตัวขึ้นสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางแล้ว และเมื่อเวลา 10.00 น. พายุนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 12.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.6 องศาตะวันออก ห่างประมาณ 250 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองโฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปรสชันก่อนเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศกัมพูชาในคืนนี้

ทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และลมกระโชกแรง

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังคลื่นซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล
พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง และในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ให้รายงานสถานการณ์ และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น และรายงานให้ทางจังหวัดทราบโดยด่วน ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 074 – 732121 หรือ 074 722296