ชลประทาน “อุทัยธานี” เร่งยกประตูระบายน้ำ 3 บาน หวั่นน้ำอุทยาน

แม่วงก์ไหลบ่าเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศปริมาณน้ำในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี หลังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลสู่แม่น้ำตากแดด ด้านเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าที่ไหลผ่านพื้นที่ อ.สว่างอารมณ์ และพื้นที่ อ.ทัพทัน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากคำพยากรณ์อากาศจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอีก

รวมทั้งยังมีการคาดการว่าจะมีปริมาณน้ำจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ไหลบ่ามาสมทบอีก โดยเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้บริเวณเหนือเขื่อน และโครงการแก้มลิงโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นจำนวนมากแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสม

นายฐกร กาญจน์จิรเดช ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุทัยธานี เผยว่าขณะนี้ทางชลประทานได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดสรรน้ำเขื่อนวังร่มเกล้าทำการยกประตูระบายทั้ง 3 บานของเขื่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ยกประตูระบายน้ำเพียงบานเดียว เพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำตากแดด วังร่มเกล้า และจากโครงการแก้มลิงบางส่วน ลงสู่ท้ายเขื่อนวังร่มเกล้าไปตามลำแควตากแดดให้ไหลสู่แม่น้ำสะแกกรัง และแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยมีการระบาย 73.08 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อเป็นการรองรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่อาจไหลบ่ามาสมทบโดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งทางชลประทานได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากหากมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้น และปริมาณน้ำสูงขึ้นอีก จะมีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เหนือเขื่อน และท้ายเขื่อนวังร่มเกล้า

ถ้าฝนตกน้อยลงไม่มีปริมาณน้ำจากที่อื่นลงมาสมทบ ก็จะลดการระบายน้ำทันทีเพื่อรักษาระดับการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และอุปโภค บริโภค ในช่วงฝนทิ้งช่วง และฤดูแล้ง ต่อไป

ราคายางเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ยางแผ่นดิบที่ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่นอยู่ที่ กก.ละ 64.40 บาท น้ำยางสดหน้าโรงงาน กก.ละ 65 บาท ขณะที่ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยางแผนดิบอยู่ที่ กก.ละ 66.35 บาท และยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ กก.ละ 67.27 บาท แต่วันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ยางแผ่นดิบที่ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่นเหลือ กก.ละ 51.60 บาท น้ำยางสดเหลือ กก.ละ 53.50 บาท ราคาประมูลที่ตลาดกลาง อ.หาดใหญ่ ยางแผ่นดิบเหลือ กก.ละ 53.35 บาท และยางแผ่นรมควันเหลือ กก.ละ 57.07 บาท รวมระยะเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ ราคายางแผ่นดิบและน้ำยางสดลดลงค่อนข้างมากกว่า 10 บาท/กก. ในขณะที่ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งสามารถเก็บได้นานกว่าลดลงประมาณ กก.ละ 10 บาท

ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคายางลดลงอย่างรวดเร็วมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 23 เดือนที่ 33.95 บาทต่อเหรียญสหรัฐในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา แทนที่จะอ่อนค่าจากการคาดการณ์ว่าเฟดหรือธนาคารกลางของสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ ส่วนประเทศต่าง ๆ ในเอเชียล้วนแข็งค่าเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินวอนของเกาหลีใต้แข็งค่า 7.9% นับจากต้นปีที่ผ่านมา เงินเหรียญไต้หวัน 7.2% และรูเปียห์อินโดนีเซียแข็งค่า 5.3% และไทย 5% เหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียที่พึ่งพิงการส่งออก

ปัจจัยหนุนเงินเหรียญสหรัฐแข็งค่าลดลง เพราะนักการเงินกลับมาวิตกกังวลว่าเงินเหรียญจะอ่อนค่า จากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ตลอดจนความเสี่ยงจากการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ ปัจจัยต่อมาคือ ราคาน้ำมันที่มีทิศทางอ่อนตัวลง แม้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) และกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปกจะตกลงยืดระยะเวลาการจำกัดการผลิตน้ำมันไปจนถึงต้นปีหน้า แต่การเพิ่มการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานในสหรัฐก็ทำให้ตลาดวิตกเพิ่มขึ้น ซึ่งหากราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ย่อมทำให้ราคายางพาราคู่แข่งต้องลดลง เพราะยางสังเคราะห์ ถุงมือยางสังเคราะห์ที่ทำมาจากน้ำมันราคาจะลดลงไปด้วย

ประเด็นต่อมาคือ ฝนที่กลับมาตกต่อเนื่องในไทยเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ฝนมาเร็วและฝนตกในทุกภาค เดือน พ.ค.เพิ่มขึ้นถึง 36% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่ผ่านมา รวมทั้งในเดือน มิ.ย.ด้วย ทำให้ชาวสวนยางกลับมาเปิดกรีดยางย่อมออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งในฤดูการกรีดยางปกติของไทยจะมีการส่งออกยางไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3-3.5 แสนตัน

อีกประเด็นคือ หากราคายางพาราตกต่ำลง ทางรัฐบาลไทยยากที่จะนำมาตรการแทรกแซงประกันราคารับซื้อกลับมาใช้อีก เพราะการแทรกแซงในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา กว่า 3 แสนตัน ราคายางกลับถดถอยลงตลอดตั้งแต่เริ่มรับซื้อราคา กก.ละ 110 บาทจนลงมาถึง กก.ละ 60 บาท แต่เมื่อรัฐบาลจะขายยางในสต๊อก กลับมีเสียงคัดค้านตลอด นักเก็งกำไรทั่วโลกก็มองเห็น จึงกดราคาลดลงมาอย่างรวดเร็ว

ทางออกในการแก้ปัญหายางราคาตกต่ำ เหลือเพียงไม่กี่ทางออก นั่นคือ การจัดประชุมร่วม 3 ชาติผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จำกัดการส่งออกในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 6 แสนตันเหมือนปีที่ผ่านมา หรืออาจจะมากกว่านี้ หากไม่ทำให้ตลาดค้ายางโลกเสียหายมากจนเกินไป รวมทั้งรัฐบาลไทยต้องงัดมาตรการทำถนนลาดยางแอสฟัลต์ ต้องผสมเนื้อยางพาราไม่ต่ำกว่า 10% แน่นอนว่าราคายางต้องขึ้นอย่างแน่นอน

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในที่ราบลุ่ม ที่ลาดเชิงเขาบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนลดลง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนได้เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศอินเดียตอนบนและบังคลาเทศแล้ว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนและประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง

อนึ่ง เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (12 มิ.ย.60) พายุโซนร้อน “เมอร์บก” ( Merbok ) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางหรือที่ละติจูด 19.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 115.4 องศาตะวันออก มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็ว 22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 12-13 มิถุนายน 2560 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย

ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร และสุโขทัย

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย

บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ และขอนแก่น

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี

ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง

จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร

อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

จังหวัดระนองขึ้นไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรc

จังหวัดภูเก็ตลงมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม.

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันที่ 13 มิถุนายนนี้ กระทรวงเกษตรฯ เตรียม 4 มาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางพารา ตามมติของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ประกอบด้วยมาตรการขยายเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อ วงเงิน 10,000 ล้านบาท อีก 1 ปี สิ้นสุด 31 มีนาคม 2561 มาตรการขยายระยะเวลาโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง (เพิ่มเติม) ออกไปอีก 90 วัน รองรับเกษตรกรตกค้าง 11,460 หมื่นครัวเรือน

อีก 2 มาตรการ คือ ขยายระยะเวลาโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตร เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และ โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ออกไปถึงเดือนพฤษาคม 2563 และมาตรการขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม 2560- เมษายน 2562 โดยรัฐบาลช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารในอัตราไม่เกิน 3% โดยใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท

นางจินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ราคายางเริ่มปรับตัวสูงขึ้นแล้ว และแนวโน้มยังสูงขึ้นอีก ซึ่งเดือนมิถุนายน ราคายางร่วง มาจากปัจจัยค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันผันผวน นโยบายสหรัฐฯต้องการลดการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน ส่งผลให้ทางผู้ส่งออกจีนต้องเร่งปรับตัว และเร่งระบายสินค้าเข้าสู่สหรัฐโดยเร็ว จึงต้องนำยางพาราในสต็อกกว่า 1 แสนตันออกสู่ตลาด

ทั้งนี้ ราคายาง ณ วันที่ 9 มิถุนายน ราคายางแผ่นดิบ ณ ตลาดท้องถิ่น เพิ่มขึ้น 1 บาทต่อกก. อยู่ที่ 52.60 บาทต่อกก. ราคายางแผนดิบ ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ เพิ่มขึ้น 1.29 บาทต่อกก. อยู่ที่ 56.07 บาทต่อกก. ยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ณ ตลาดกลางยางพาราฯ เพิ่มขึ้น 1.35 บาทต่อกก. อยู่ที่ 58.95 บาทต่อกก. และยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ณ ตลาดส่งออก ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ (เอฟโอบี) เพิ่มขึ้น 1.35 บาทต่อกก. อยู่ที่ 63.05 บาทต่อกก.

ที่บริเวณลานเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกันเป็นประธานงานแต่งงานควายพันธุ์ไทย ระหว่างควายเจ้าบ่าวคือ เบิ้ม พันล้าน ควายไทยเพศผู้อายุ 5 ปี จากจังหวัดมหาสารคาม น้ำหนักตัว 1,300 กิโลกรัม เจ้าของแชมป์ประกวดควายไทยหลายสนาม ราคาค่าตัว 5 ล้านบาท กับควายเจ้าสาวคือ บัวบาน ควายไทยเพศเมียอายุ 3 ปี จากจังหวัดนครราชสีมา น้ำหนักตัว 800 กิโลกรัม ราคาค่าตัว 7 แสนบาท โดยมีสินสอดเป็นน้ำเชื้อ 100 ล้านตัว และหญ้าเนเปียร์ 20 กิโลกรัม

โดยขบวนแห่ขันหมากของควายเจ้าบ่าวได้เริ่มขึ้นที่บริเวณด้านหน้าอาคารสุรนิทัศน์ โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นเถ้าแก่ให้กับควายเจ้าบ่าวด้วย ซึ่งขบวนแห่ขันหมากได้เดินถึงภายในบริเวณงานและกำลังเดินลอดซุ้มประตูดอกไม้เพื่อจะไปพบกับควายเจ้าสาวก็ต้องผ่านประตูเงินประตูทองกั้นโดยญาติฝ่ายควายเจ้าสาว ซึ่งทางฝ่ายควายเจ้าบ่าวก็ได้ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นค่าผ่านประตูเงินประตูทอง จากนั้นเมื่อควายเจ้าบ่าวและควายเจ้าสาวได้เจอหน้ากัน ควายทั้งสองตัวก็ได้โผเข้าคลอเคลีย หอมและจูบกันอย่างดูดดื่ม ท่ามกลางเสียงปรบมือดีใจของแขกที่เดินทางไปเป็นสักขีพยานรักเป็นจำนวนมาก

สำหรับการจัดงานแต่งงานควายในครั้งนี้เป็นการขยายและอนุรักษ์พันธุ์ควายไทยเพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ เป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดงานมหกรรมปศุสัตว์นครชัยบุรินทร์ โดยมีเกษตรกรจาก จ.นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และสุรินทร์ นำสัตว์เลี้ยงมาร่วมประกวดประเภทสัตว์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยงานมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน นายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักงานสำนักชลประทานที่ 12 ชัยนาท เปิดเผยว่า เช้าวันนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาผ่านจุดวัดน้ำค่ายจิรประวัติ อ.เมืองนครสวรรค์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยวัดได้ 1,109 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาพื้นที่ อ.มโนรมย์มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น ขณะที่ระดับน้ำที่จุดวัดน้ำเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท เช้าวันนี้ เหนือเขื่อนวัดได้ 16.51 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลดลง 7 เซนติเมตร โดยเขื่อนเจ้าพระยาคงอัตราการระบายน้ำไว้ที่ 699 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีต่อเนื่องเป็นวันที่10 ส่วนระดับน้ำท้ายเขื่อนยังทรงตัวอยู่ที่ 10.42เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งจะทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตั้งแต่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาทลงไปถึง จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะทรงตัวและลดลงได้ได้5-10เซนติเมตร

ขณะที่การบริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อน กรมชลประทานได้ผันน้ำเหนือเขื่อนเข้าคลองส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรทั้ง2ฝั่งเพื่อลดภาระของเขื่อนเจ้าพระยาและพื้นที่ท้ายเขื่อน โดยฝั่งซ้ายระบายเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองมหาราช รวมอัตรา175ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และฝั่งขวาระบายเข้าคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อยรวมอัตรา132ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีซึ่งจะเหลิอปริมาณน้ำที่มาถึงเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ800ลูกบาศก์เมตร

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของสหกรณ์เมืองลับแล จำกัด ผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ การบริหารจัดการแปลงใหญ่ข้าว และสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะเยี่ยมชมนิทรรศการและตลาดสินค้าเกษตร ณ สหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

พลเอกฉัตรชัย เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายให้เป็นตลาดถาวร มีสถานที่ตั้งที่แน่นอนและเปิดให้บริการทุกวัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า ให้เกษตรกรหมุนเวียนจัดหาสินค้าที่ตนเองผลิตมาวางจำหน่าย และยังเป็นการรองรับสินค้าสำหรับพี่น้องเกษตรกรในแปลงใหญ่ เกษตรกรทฤษฎีใหม่ วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรทั่วไป เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่นได้มีแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอน สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้มีคุณภาพและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค

การจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ และมีการส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด ให้เป็นตลาดถาวรและเปิดจำหน่ายได้ทุกวันนั้น จะทำให้เป็นช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอลับแลมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตในท้องถิ่น สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างเป็นระบบ โดยได้มีการรวบรวมพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอลับแล ได้แก่ ทุเรียน ลางสาด ลองกอง มังคุด ข้าว หอมแดง และพริก มีการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP ผลไม้ตามฤดูกาลซึ่งเป็นสินค้าเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น ทุเรียน มะปราง โดยตลาดสินค้ากลางสินค้าเกษตรอำเภอลับแล จะเป็นตลาดที่ช่วยแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ป้องกันปัญหาความไม่เที่ยงตรงของการชั่งน้ำหนัก ลดการถูกกดราคารับซื้อจากพ่อค้า การเปิดตลาดสินค้าเกษตรครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย เช่น สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, หอการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

“การดำเนินงานของตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล ufabets.co.uk จำกัด ในปัจจุบันประชากรในอำเภอลับแล 17,579 ครัวเรือน เป็นสมาชิกสหกรณ์ 8,000 ครัวเรือน จากการทีได้ทำการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ของสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด ทางตลาดมีการเปิดจำหน่ายสินค้าของพี่น้องเกษตรกรทุกวัน สินค้าที่มีจำหน่ายในตลาดสินค้าเกษตร อาทิเช่น ข้าวสารของโรงสีสหกรณ์และโรงสีเครือข่าย รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่ออกตามฤดูกาล เช่น ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนหลง – หลินลับแล มังคุด ผัก และปลาสด ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรในสหกรณ์ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ผลิตในพื้นที่อำเภอลับแล สามารถร่วมกันวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตในท้องถิ่น และสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ต้นทุนการตลาดลดลงสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด มีสถานที่จัดเก็บผลผลิตทางการเกษตร ทำให้สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าเพื่อรอการจำหน่ายได้” พลเอกฉัตรชัย กล่าว

ทั้งนี้ เป้าหมายการดำเนินงานของตลาดสินค้าเกษตรของสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด ในระยะต่อไปเมื่อตลาดได้รับการตอบรับและเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น ก็อาจจะมีการพัฒนาเป็นตลาดกลางขนาดใหญ่เพื่อรองรับการกระจายสินค้าในระดับจังหวัดและภูมิภาค และจะพัฒนาให้เป็นตลาดกลางสินค้าเกษตรของจังหวัดได้ในอนาคต และพัฒนาให้เป็นสถานที่จำหน่ายข้าวสารของโรงสีเครือข่ายสหกรณ์และศูนย์จำหน่ายสินค้าจากสหกรณ์ในภาคต่าง ๆ ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมสมาชิกรวมกลุ่มเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยที่มีคุณภาพ ปรับปรุงอุปกรณ์ทางการตลาดให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเป็นสถานที่เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยการแปรรูป โดยเป้าหมายการดำเนินงาน เกษตรกรมีรายได้จากการนำสินค้าเกษตรมาจำหน่ายได้ปีละ 10,400,000 บาท

“ดูฟู้ด” ที่ปรึกษาคณะกรรมการประชารัฐ ตั้ง 2 โรงงานรับผลผลิตกล้วยจากเกษตรกร จ.เลย-จ.ตากแปรรูปแบรนด์ “CHIMP CHIPS” ส่งผ่านเซเว่นอีเลฟเว่น พร้อมเปิดตัวแกงกะทิผลไม้ Curry Pop แถมอาศัยช่องทางนำทุเรียนสดตกไซซ์มาทำ “ฟรีซดราย” จับกลุ่มลูกค้าจีนขายผ่านช่องทางดิวตี้ฟรี

นายเดวิด เล้า ชิไว ประธานกรรมการ บริษัท ดูฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาโครงการประชารัฐในพื้นที่ จ.เลย และ จ.ตาก ทางบริษัทได้ไปลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามนโยบายประชารัฐใน พื้นที่ 2 จังหวัดเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อประกันราคารับซื้อผลผลิตกล้วยจากเกษตรกรนำมาแปรรูปและทำการตลาด โดยขณะนี้โรงงานในส่วนของ จ.เลยสามารถผลิตสินค้ากล้วยฉาบปรุงรส จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “CHIMP CHIPS” จะเริ่มส่งเข้าไปจำหน่ายผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทั่วประเทศ 9,800 สาขาในเดือนสิงหาคมนี้ ราคาจำหน่ายขนาด 27 กรัม ถุงละ 10 บาท

“เกษตรกรไทยยังขาดเทคโนโลยีที่จะมาถนอมอาหาร การทำบรรจุภัณฑ์ การทำตลาด รวมถึงมีปัญหาเรื่องโลจิสติกส์ ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องรอพ่อค้าคนกลางเข้าไปรับซื้อผลผลิตในพื้นที่ เพราะระยะทางที่ปลูกห่างไกลจากตลาดรับซื้อ เช่น ปลูกที่ อ.แม่สอดต้องส่งมากรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทาง 7-8 ชั่วโมง ดังนั้น บริษัทจึงเริ่มลงไปส่งเสริมการเพาะปลูกพันธุ์กล้วยให้เกษตรกร 100 กว่าครัวเรือน ปลูกต้นกล้วยได้ 1 แสนต้น จากนั้นได้ประกันราคาให้เกษตรกรในพื้นที่ 50 กิโลเมตรรอบโรงงาน กำหนดราคากลางเท่ากันทั้งปีไม่ว่าราคาตลาดจะสูงขึ้นหรืออยู่ในช่วงฤดูการ เก็บเกี่ยวราคาลดลง เรารับซื้อในราคาเท่าเดิม จ่ายเงินสดให้เลย หลังจากนั้น แปรรูปเป็นกล้วยฉาบทันที ทำให้กล้วย 10 ตัน เหลือน้ำหนักแค่ 2 ตัน จากนั้นส่งเข้ากรุงเทพฯจะช่วยประหยัดค่าขนส่งไปประมาณ 80% แล้วจึงนำไปปรุงรส เช่น รสบาร์บีคิว ปาปริก้า และกล้วยหอม ใส่แพ็กแบรนด์ เราไม่ขายแพง กำไรแค่ 3-5% พอให้ธุรกิจหมุนเวียนเพื่อช่วยเกษตรกร ให้ทุกตำบลมีโรงงานแปรรูปวัตถุดิบส่งเข้าสู่ส่วนกลาง และวางแผนจะส่งออกเป็น OEM ตอนนี้กำลังผลิต 1 แสนซองต่อวัน ต้องการให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจนต้องทำอย่างนี้”