ชันโรงตัวผู้ มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับชันโรงนางพญาอย่างเดียว

เหมือนกับผึ้งตัวผู้ การสร้างชันโรงเพศผู้ของรัง จะสร้างเฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อชันโรงตัวผู้บินออกจากรังไปแล้วจะไม่กลับเข้ารังอีก เนื่องจากชันโรงงานที่ทำหน้าที่รักษารังไม่ยอมให้ชันโรงตัวผู้กลับเข้ารัง

ชันโรงงาน เป็นวรรณะที่มีมากที่สุดภายในรัง ทำหน้าที่ซ่อมแซมรัง คอยทำความสะอาดรังและเป็นพี่เลี้ยงช่วงนางพญาวางไข่ ตลอดจนหาอาหารนำมาเลี้ยงสมาชิกในรัง โดยเก็บเกสรและน้ำหวาน

วิธีการแยกขยายชันโรง

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการขยายรังชันโรง ได้แก่ รังที่จะแยกขยาย เหล็กงัดรังชนิดเดียวที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้ง หมวกตาข่าย เครื่องพ่นควัน กระบอกพ่นน้ำชนิดพ่นฝอย
คัดเลือกรังชันโรงที่สมบูรณ์แข็งแรง มีประชากรชันโรงหนาแน่นมีการสะสมอาหารและน้ำหวานไว้ภายในรังจำนวนมาก มีการสร้างเซลล์นางพญาและเซลล์ตัวอ่อน
ตัดแบ่งกระเปาะเกสร กระเปาะน้ำหวาน กระเปาะตัวอ่อน ประมาณ 1 ใน 3 ของรังเดิม ถ้าพบเซลล์นางพญาให้ตัดมาด้วยและให้มีตัวเต็มวัยของชันโรงติดมาด้วย เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ในรังที่แยกใหม่

ควรตรวจเช็กส่วนที่แยกใส่รังใหม่ให้แน่ใจว่าไม่มีนางพญาชันโรงตัวเดิมติดมาด้วย
หลังจากนั้นจะเกิดขบวนการสร้างนางพญาชันโรงตัวใหม่ขึ้นตามธรรมชาติ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการแยกขยายรังชันโรง
ช่วงเวลาที่แยกขยายรังชันโรงคือ ช่วงฤดูดอกไม้บาน มีการสะสมอาหารไว้ภายในรังเป็นจำนวนมาก และภายในรังได้มีการสร้างชันโรงตัวผู้จำนวนมากสำหรับการผสมพันธุ์กับนางพญาชันโรงตัวใหม่

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว (Stingless bee) เป็นแมลงที่อยู่รวมกันเป็นสังคม มีการสร้างรวงรัง โดยแบ่งเป็นสัดส่วน เป็นเซลล์หรือกระเปาะ ได้แก่ กระเปาะเก็บเกสร กระเปาะเก็บน้ำหวานและกระเปาะสำหรับวางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อน ชันโรงเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรพืชทุกชนิด ทั้งพืชป่า พืชพื้นบ้าน และพืชสมุนไพร จึงทำให้น้ำผึ้งชันโรงเป็นน้ำผึ้งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและยามากกว่าน้ำหวานจากผึ้งทั่วไป รวมทั้งเข้มข้นกว่า แต่น้ำผึ้งชันโรงจะมีปริมาณจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำผึ้งจากผึ้งทั่วไป ทำให้มีราคาแพงกว่า (ประมาณ ขวดละ 1,500-2,000 บาท) เนื่องจากชันโรงจะมีนิสัยเก็บเกสร 80% เก็บน้ำหวาน 20% รวมทั้งเก็บยางไม้หรือชันผึ้ง (propolis) ที่มากกว่าผึ้งทั่วไป เพราะจะใช้สร้างรัง อุดรอยรั่ว ทำทางเข้าออกรังและใช้ป้องกันศัตรูบุกรุก

ชันโรง เป็นแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ปัจจุบันสามารถเลี้ยงเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมได้ เพราะผลิตภัณฑ์จากชันโรงทั้งน้ำหวานและชันผึ้ง ตลาดมีความต้องการสูงเ พื่อใช้ในทางการแพทย์ การผลิตอาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง อีกทั้งชาวสวนได้มีการเช่าชันโรง เพื่อวางในสวนผลไม้เพื่อช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิต คิดราคา 30-50 บาท/วัน/รัง ในพื้นที่สวนลำไย 5 ไร่ ได้ทดลองวางชันโรง 2 รัง ในช่วงออกดอก สามารถช่วยผสมเกสรทำให้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ดังนั้น ชันโรง เป็นสุดยอดแมลงช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตและเป็นแมลง

ผู้ที่สนใจเลี้ยงชันโรง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือศึกษาเรียนรู้ได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ 428 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 โทร. 053-431-262 : ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตนางพญาชันโรงได้ และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟัง คุณส่งศักดิ์ คำชัยลึก และ คุณปริวรรต ปัญจะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายความรู้เรื่องการเลี้ยงชันโรง ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางการเกษตรแก่เกษตรกร นึกไม่ถึงเลยว่าแมลงพื้นบ้านธรรมดา ที่เดิมชาวบ้านใช้ประโยชน์จากชันเพื่ออุดรอยรั่วต่างๆ และใช้อุดใต้ฐานพระนั้น จะมีคุณค่าอนันต์มากมาย

ผึ้งที่ว่าผสมเกสรเก่งแล้ว ยังไม่เท่าชันโรง เพราะผึ้งเมื่อเก็บเกสรจากดอกไม้แล้วจะปล่อยฟีโรโมนหรือกลิ่นตัวของมัน ทำให้ผึ้งตัวต่อไปไม่มาตอมหรือเก็บเกสร แต่ชันโรงไม่สนใจถึงใครจะดอมดมเก็บเกสรแล้ว มันยังคงเข้าเก็บเกสรทุกดอกทุกรวง เพราะนิสัยของชันโรงชอบเก็บเกสรเข้ารังถึง 80% ทำให้สามารถช่วยผสมเกสรให้กับพืชต่างๆ ได้ดีสุดยอด

ในส่วนการเก็บน้ำหวาน จะเก็บเข้ารังเพียง 20% จึงทำให้มีราคาสูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป 10-20 เท่าตัว ซึ่งน้ำผึ้งชันโรงนั้น จะมีชันผึ้งละลายปะปนอยู่ สีจึงค่อนข้างดำหรือสีเข้ม มีความเป็นกรดค่อนข้างสูง จึงมีรสเปรี้ยว ที่สำคัญมีคุณสมบัติเป็นสารยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารปฏิชีวนะในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อโรค ล้างไขมัน บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา บำรุงประสาท ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง เบาหวาน ความดัน รักษาอาการเจ็บคอและอื่นๆ อีกมากมาย

จากผลการวิจัยของสำนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ ในประเทศไทย พบว่า น้ำผึ้งและชันจากชันโรง มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 6 สารไนอะซิน สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค เพิ่มภูมิคุ้มกัน ตลอดจนสารยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ผิวหนัง

ชันโรง เป็นแมลงจำพวกผึ้งชนิดหนึ่งที่ไม่มีเหล็กไน จึงไม่ต่อยแต่กัดได้ พบโดยทั่วไปในเขตร้อน ตลอดจนบริเวณใกล้เคียงที่ติดกับเขตร้อนและมีอยู่ในท้องถิ่นทั่วไปในประเทศไทยมานานแล้ว ภาคเหนือเรียกชันโรงตัวเล็กว่า “ขี้ตังนี หรือ ขี้ตึง” ถ้าตัวใหญ่เรียกว่า ขี้ย้าดำ ถ้าเป็นชันโรงยักษ์เรียกว่า ขี้ย้าแดง ภาคใต้เรียก แมลงอุ่ง ภาคตะวันออก เรียกว่า ตัวชำมะโรง หรือ อีโลม ภาคอีสานเรียกว่า ขี้สูด ภาคตะวันตก เรียก ตัวตุ้งติ่ง หรือ ติ้ง ชันโรงจัดเป็นแมลงสังคมชั้นสูง ภายในรังประกอบด้วยวรรณะ 3 วรรณะ คือ วรรณะนางพญา (Queen) วรรณะชันโรงงาน (Worker) วรรณะเพศผู้ (Drone) โดยแต่ละวรรณะทำหน้าที่แตกต่างกันภายในรัง และชันโรงมีวงจรชีวิตเช่นเดียวกับผึ้ง คือ ระยะไข่ (6-7 วัน) ระยะตัวอ่อน/หนอน (6-7 วัน) ระยะดักแด้ (26 วัน) และระยะตัวเต็มวัย (210 วัน)

ชันโรงนางพญา เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว มีหน้าที่หลักคือ วางไข่และดูแลชันโรงทุกตัวภายในรังให้อยู่ด้วยความเรียบร้อย นางพญาจะผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิต โดยชันโรงงานภายในรังจะพยายามกันชันโรงตัวผู้ที่เป็นเครือญาติเดียวกัน ไม่ให้ผสมกับนางพญา แต่จะนำชันโรงตัวผู้ที่อยู่รังอื่นเข้ามาผสมพันธุ์กับนางพญา เป็นวิธีการป้องกันเลือดชิดหรือจะผสมพันธุ์กับชันโรงตัวผู้รังอื่นๆ ระหว่างนางพญาบินไปหารังใหม่ ซึ่งอีกประมาณ 2 สัปดาห์ นางพญาชันโรงจะวางไข่ในรังใหม่ต่อไป
นางพญาจะวางตัวอ่อนในหลอดรวง โดยมีชันโรงงานคอยปิดผนึกไข่จนพัฒนาเป็นดักแด้และตัวเต็มวัยในที่สุด ไข่จะพัฒนาไปเป็นชันโรงวรรณะใด ขึ้นอยู่กับการได้รับการผสมจากน้ำเชื้อหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับการผสม ก็จะพัฒนาเป็นชันโรงตัวผู้ แต่ถ้าได้รับการผสม ก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศเมีย คือวรรณะชันโรงงานและนางพญา การพัฒนาจะเป็นชันโรงงานหรือนางพญา ขึ้นอยู่กับขนาดของรวงรังและปริมาณอาหาร รวงรังของตัวอ่อนที่จะเจริญเป็นนางพญาจะต้องมีขนาดใหญ่และได้รับอาหารที่มากกว่า

ชันโรงตัวผู้ มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับชันโรงนางพญาอย่างเดียว เหมือนกับผึ้งตัวผู้ การสร้างชันโรงเพศผู้ของรัง จะสร้างเฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อชันโรงตัวผู้บินออกจากรังไปแล้วจะไม่กลับเข้ารังอีก เนื่องจากชันโรงงานที่ทำหน้าที่รักษารังไม่ยอมให้ชันโรงตัวผู้กลับเข้ารัง
ชันโรงงาน เป็นวรรณะที่มีมากที่สุดภายในรัง ทำหน้าที่ซ่อมแซมรัง คอยทำความสะอาดรังและเป็นพี่เลี้ยงช่วงนางพญาวางไข่ ตลอดจนหาอาหารนำมาเลี้ยงสมาชิกในรัง โดยเก็บเกสรและน้ำหวาน

วิธีการแยกขยายชันโรง

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการขยายรังชันโรง ได้แก่ รังที่จะแยกขยาย เหล็กงัดรังชนิดเดียวที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้ง หมวกตาข่าย เครื่องพ่นควัน กระบอกพ่นน้ำชนิดพ่นฝอย
คัดเลือกรังชันโรงที่สมบูรณ์แข็งแรง มีประชากรชันโรงหนาแน่นมีการสะสมอาหารและน้ำหวานไว้ภายในรังจำนวนมาก มีการสร้างเซลล์นางพญาและเซลล์ตัวอ่อน
ตัดแบ่งกระเปาะเกสร กระเปาะน้ำหวาน กระเปาะตัวอ่อน ประมาณ 1 ใน 3 ของรังเดิม ถ้าพบเซลล์นางพญาให้ตัดมาด้วยและให้มีตัวเต็มวัยของชันโรงติดมาด้วย เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ในรังที่แยกใหม่
ควรตรวจเช็กส่วนที่แยกใส่รังใหม่ให้แน่ใจว่าไม่มีนางพญาชันโรงตัวเดิมติดมาด้วย

หลังจากนั้นจะเกิดขบวนการสร้างนางพญาชันโรงตัวใหม่ขึ้นตามธรรมชาติ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในการแยกขยายรังชันโรง
ช่วงเวลาที่แยกขยายรังชันโรงคือ ช่วงฤดูดอกไม้บาน มีการสะสมอาหารไว้ภายในรังเป็นจำนวนมาก และภายในรังได้มีการสร้างชันโรงตัวผู้จำนวนมากสำหรับการผสมพันธุ์กับนางพญาชันโรงตัวใหม่

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว (Stingless bee) เป็นแมลงที่อยู่รวมกันเป็นสังคม มีการสร้างรวงรัง โดยแบ่งเป็นสัดส่วน เป็นเซลล์หรือกระเปาะ ได้แก่ กระเปาะเก็บเกสร กระเปาะเก็บน้ำหวานและกระเปาะสำหรับวางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อน ชันโรงเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรพืชทุกชนิด ทั้งพืชป่า พืชพื้นบ้าน และพืชสมุนไพร จึงทำให้น้ำผึ้งชันโรงเป็นน้ำผึ้งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารและยามากกว่าน้ำหวานจากผึ้งทั่วไป รวมทั้งเข้มข้นกว่า แต่น้ำผึ้งชันโรงจะมีปริมาณจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำผึ้งจากผึ้งทั่วไป ทำให้มีราคาแพงกว่า (ประมาณ ขวดละ 1,500-2,000 บาท) เนื่องจากชันโรงจะมีนิสัยเก็บเกสร 80% เก็บน้ำหวาน 20% รวมทั้งเก็บยางไม้หรือชันผึ้ง (propolis) ที่มากกว่าผึ้งทั่วไป เพราะจะใช้สร้างรัง อุดรอยรั่ว ทำทางเข้าออกรังและใช้ป้องกันศัตรูบุกรุก

ชันโรง เป็นแมลงเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ปัจจุบันสามารถเลี้ยงเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมได้ เพราะผลิตภัณฑ์จากชันโรงทั้งน้ำหวานและชันผึ้ง ตลาดมีความต้องการสูงเ พื่อใช้ในทางการแพทย์ การผลิตอาหารสุขภาพและเครื่องสำอาง อีกทั้งชาวสวนได้มีการเช่าชันโรง เพื่อวางในสวนผลไม้เพื่อช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิต คิดราคา 30-50 บาท/วัน/รัง ในพื้นที่สวนลำไย 5 ไร่ ได้ทดลองวางชันโรง 2 รัง ในช่วงออกดอก สามารถช่วยผสมเกสรทำให้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ดังนั้น ชันโรง เป็นสุดยอดแมลงช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตและเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สร้างรายได้

ผู้ที่สนใจเลี้ยงชันโรง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือศึกษาเรียนรู้ได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ 428 หมู่ที่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 โทร. 053-431-262 : ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตนางพญาชันโรงได้ และพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรชั้นดี สรรพคุณทางยามากมาย ทั้งช่วยรักษาแผล หรือสมานแผล ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนของแผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ว่านหางจระเข้ก็ช่วยได้ และนอกจากเป็นสมุนไพรรักษาแผลที่ดีแล้ว ด้วยในปัจจุบันนวัตกรรมที่ก้าวไกล มีผู้คิดค้นวิจัยนำว่านหางจระเข้มาทำเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผิวกาย มากมาย ทำให้ปริมาณความต้องการว่านหางจระเข้มีมากขึ้น ส่งผลดีต่อรายได้ของเกษตรกรในประเทศไทยเป็นอย่างดี ซึ่งแหล่งปลูกสำคัญอยู่ทางภาคตะวันตกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปลูกว่านหางจระเข้ส่งโรงงาน ถือเป็นอาชีพสร้างรายได้ดีให้กับเกษตรกรแถวนั้นมานานกว่า 30 ปี และปัจจุบันนี้ได้สืบทอดมาถึงรุ่นลูก ตลาดก็ยังสดใสอยู่

คุณธนัชญาน์ มีสวัสดิ์ หรือ คุณจูน อยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 10 ตำบลบ่อนอก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรสาวผู้สืบทอดงานเกษตรกรรมจากครอบครัว เล่าว่า ครอบครัวของตนทำไร่ปลูกว่านหางจระเข้ส่งโรงงานมานานมากกว่า 30 ปี ทำมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อเริ่มปลูก เพราะตอนนั้นมีนายทุนมาแนะนำพันธุ์ให้ปลูกและรับซื้อ จึงเริ่มปลูกมาตั้งแต่นั้น แต่ก่อนที่คุณจูนจะหันมาสานต่องานของครอบครัว คุณจูนได้ทำงานในตำแหน่งฝ่ายบุคคล ที่โรงงานแห่งหนึ่งมาก่อน เมื่อรู้สึกอิ่มตัวกับงานที่ทำ ประกอบกับที่บ้านคนไม่พอ จึงลาออกจากงานเพื่อมาช่วยที่บ้านอย่างเต็มตัว

คุณจูน เริ่มต้นเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวมาเป็นเวลากว่า 4 ปี โดยพื้นที่แถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพืชหลักๆ อยู่ 2 ชนิด คือ ว่านหางจระเข้ และสับปะรด สาเหตุที่เลือกปลูกว่านหางจระเข้ เพราะที่บ้านเราทำมาก่อน และอีกอย่างคือ ว่านหางจระเข้ เป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย สารเคมีแทบไม่ต้องใช้ และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียวถือว่าเหมาะมากกับพื้นที่ของเรา

ว่านหางจระเข้ ปลูกไม่ยาก
ปลูกครั้งเดียวเก็บขายได้นาน 10 ปี
การปลูกว่านหางจระเข้ปลูกง่าย ใช้น้ำน้อย พันธุ์ที่ปลูกคือ พันธุ์บาบาเดนซิส ลักษณะเด่นคือ กาบใหญ่ เนื้อเยอะ มีสรรพคุณทางยามากมาย วิธีการปลูก
ปลูกโดยการใช้หน่อ หากเป็นมือใหม่อาจต้องมีต้นทุนในการซื้อหน่อมาปลูก หน่อก็มีหลายราคาให้เลือก ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อ เริ่มต้นตั้งแต่ 10-100 บาท ถ้าหน่อใหญ่ระยะเวลาการปลูกให้ผลผลิตก็จะเร็วขึ้น

ตอนนี้ที่ไร่ปลูกว่านหางจระเข้ประมาณ 25-30 ไร่ การปลูกไม่ยาก มีการไถดินสองรอบ รอบแรกไถดะ รอบที่สองไถแปร หากพื้นที่ตรงไหนมีน้ำขังให้ชักร่องปลูกให้น้ำไหลออก เพราะว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำ หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังรากจะเน่า

ควรเว้นระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร ระหว่างต้น 1 ศอก ระยะนี้ถือเป็นระยะที่เหมาะสม เพราะถ้าปลูกถี่เกินไปเมื่อต้นโตกาบจะชนกัน ส่งผลทำให้การเจริญเติบไม่ดีเท่าที่ควร และหมั่นทำความสะอาดแปลง กำจัดวัชพืชอย่าให้ขึ้นสูง

ระบบน้ำ… ว่านหางจระเข้ เป็นพืชทนแล้ง ไม่ต้องการน้ำมาก 1 สัปดาห์ รดน้ำสัก 1 ครั้ง โดยการติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์เปิดรดช่วงตอนเย็น เพราะอากาศเย็นว่านหางจระเข้จะรับน้ำได้อย่างเต็มที่ หากรดช่วงที่อากาศร้อนจะทำให้ว่านหางจระเข้รากเน่า ระยะเวลาในการรดน้ำ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง

ปุ๋ย… ไม่ต้องใส่มาก ในระยะ 1-2 ปีแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะว่าช่วงปีแรกๆ ว่านหางจระเข้จะสมบูรณ์มาก ถ้าใส่ไปอาจทำให้เน่า แนะนำให้เริ่มใส่ปุ๋ยช่วงปีที่ 3 ใส่เพียงปีละครั้ง ใส่สูตร 21-0-0

แมลงศัตรูพืช…มีบ้าง แต่ไม่มีผลกับว่านหางจระเข้ อาจมีรอยที่ใบบ้าง แต่ไม่มีผลต่อเนื้อข้างใน ระยะเวลานาน ในการให้ผลผลิต
ว่านหางจระเข้ ถือเป็นพืชที่ลงทุนน้อยแต่ผลตอบแทนมาก เพราะปลูกเพียงครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตขายได้ทุกเดือน นานถึง 10 ปี แต่การปลูกครั้งแรกต้องรอนาน 8-9 เดือน และหลังจากนั้นสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ทุกเดือน โดยระยะในการปลูกครั้งแรก ประมาณ 8-9 เดือน หลังจากนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ทุกเดือน ในสมัยรุ่นพ่อปลูกครั้งหนึ่งเก็บได้นานเป็น 10 ปี แต่พอมาถึงรุ่นคุณจูนลดลงมาเหลือแค่ 5-6 ปี แล้วไถทิ้งปลูกใหม่ ด้วยเหตุผลที่ว่าเอาไว้นานมากกาบจะเล็ก แต่ถ้าหากตลาดรับซื้อไม่เกี่ยงขนาด ก็สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี

ผลผลิตต่อไร่ …ระยะเวลาการตัดแล้วแต่เกษตรกรบางรายนะ ตัดแบบ 20 วัน ตัดครั้งหนึ่ง หรือ 1 เดือน ตัดครั้ง ถ้าทิ้งไว้ 1 เดือน จะได้กาบที่ใหญ่และน้ำหนักดี ผลผลิต 3.5-4 ตัน ต่อไร่ ต่อเดือน ส่งขายได้ กิโลกรัมละ 2.5-3 บาท ถือว่าสร้างรายได้ดีมาก

ต้นทุนการผลิตหลักหมื่น เก็บขายได้หลักแสน เจ้าของบอกว่า ที่ไร่ไม่มีต้นทุนค่าหน่อ เพราะเราคัดหน่อจากไร่เราเอง แต่ถ้าเกษตรกรมือใหม่รวมต้นทุนค่าหน่อ ค่าอุปกรณ์ ค่าคนงาน ทุกอย่างแล้วตกไร่ละไม่เกิน 20,000 บาท หน่อที่ขายมีหลายราคาให้เลือก ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อเริ่มต้นตั้งแต่ 10-100 บาท ถ้าหน่อใหญ่ระยะเวลาการปลูกให้ผลผลิตก็จะเร็วขึ้น ยิ่งถ้าทำกันเองเป็นครอบครัวต้นทุนก็จะลดลง และคุ้มมากในระยะยาว

เก็บผลผลิตส่งโรงงาน และทำตลาดออนไลน์เอง
ผลผลิตมีเยอะเท่าไร ก็ไม่พอขาย
ปัจจุบันนี้ คุณจูน ปลูกว่านหางจระเข้ส่งทั้งหมด 5 โรงงาน ส่งโรงงานละ 3 ตัน และยังทำตลาดออนไลน์ขายเองอีกช่องทางหนึ่ง โดยการตลาดที่ทำส่งโรงงาน คุณจูน บอกว่า ตนโชคดีที่มีครอบครัวเริ่มต้นการตลาดมาให้แล้วระดับหนึ่ง เพราะคุณพ่อสร้างมาตรฐานโควต้าส่งโรงงานไว้ได้ดี ผลจึงส่งมาถึงตนในปัจจุบันนี้ ตัวเกษตรกรเองก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ทางโรงงานก็จะสั่งออเดอร์มาเรื่อยๆ

อย่างช่วงที่ออกมาเยอะ เราก็ไม่เดือดร้อน ไม่มีปัญหาล้นตลาด เพราะเรารักษามาตรฐานมาตลอด อย่างถ้าช่วงไหนผลผลิตหายาก ทางโรงงานก็จะโทร.มาให้ช่วยหา เราก็หาส่งให้เขาตลอด จะมีมากมีน้อยก็ส่ง เราจะไม่ปฏิเสธลูกค้า โดยมาตรฐานการรับซื้อทั้ง 9 โรงงาน จะแตกต่างกันออกไป บางโรงงานส่งใบเล็ก ได้น้ำหนักต่อกาบ 3-4 ขีด บางโรงงานตั้งมาตรฐาน ต้องน้ำหนัก 5 ขีดขึ้นไป ต่อกาบ ถ้าสมมุติผลผลิตเราตรงต่อความต้องการมาตลอด ทางโรงงานก็จะคัดให้เราอยู่ในผู้ส่งชั้นดี ดังนั้น เมื่อมีโควต้ามา ทางโรงงานก็จะกันไว้ให้เราเป็นอันดับต้นๆ

สำหรับการตลาดออนไลน์…นอกจากจะทำส่งทั้ง 5 โรงงานแล้ว คุณจูน ยังหาช่องทางการตลาดเพิ่ม คือเปิดทางเฟซบุ๊ก ไลน์ ด้วยเหตุผลที่ว่าลองหาตลาดเล่นๆ ได้เงินเป็นรายสัปดาห์มาไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ส่วนรายได้ที่ส่งโรงงานก็ถือเป็นเงินเก็บ การเปิดรับออเดอร์ทางเฟซบุ๊กและไลน์ 1 สัปดาห์ คุณจูน จะเปิดรับและส่งของทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี มีลูกค้าเข้ามาทุกสัปดาห์ มีเจ้าประจำหลายราย สั่งครั้งละ 20-30 กิโลกรัม ขายเป็นกาบสด ตัดมาไม่ให้เข้าเนื้อ แล้วนำมาเช็ดทำความสะอาด ราคาขายทางออนไลน์ กิโลกรัมละ 20-30 บาท ถือว่าสร้างรายได้ดีอีกทางหนึ่ง

และนอกเหนือจากการขายกาบสด ก็ยังมีการแปรรูปขายสร้างมูลค่า โดยการนำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกเป็นเนื้อใสๆ แล้วนำมาทำความสะอาด ล้างเมือกด้วยน้ำเปล่า 6 ครั้ง ส่งขาย ครั้งละ 1 ตัน ถือว่ามีรายได้ที่คุ้มมาก เพราะการปอกเปลือกขายต้องใช้ว่านห่างจระเข้ 3 ตัน เมื่อปอกเปลือกจะเหลือ 1 ตัน เทียบราคาหากขายแบบกาบสด เราจะได้เงินเพียง 9,000 บาท แต่เมื่อปอกเปลือกขาย เราขายได้กิโลกรัมละ 60 บาท คิดเป็นเงิน 60,000 บาท ต่อ 1 ตัน หักต้นทุนค่าแรงงาน ค่าปอกล้างน้ำแล้ว ยังเหลือกำไร 40,000 บาท

ตลาดสดใส ตั้งแต่รุ่นพ่อสู่รุ่นลูก
คุณจูน บอกว่า ตลาดยังไปได้ ไม่น่าห่วง สมัครเว็บจีคลับ เพราะทำดีมีมาตรฐาน และมีช่องทางการกระจายสินค้าได้มาก หากราคาตกก็ตกในระดับที่เกษตรกรยังอยู่ได้ คุณจูน บอกว่า ที่บอกแบบนี้ไม่ได้จะให้ทุกคนมองโลกสวย เพราะกว่าที่คุณจูนและครอบครัวจะมีวันนี้ ก็ต้องผ่านอะไรมามากมาย แต่ต้องยอมรับว่า ว่านหางจระเข้ ถือเป็นพืชที่ดูแลง่าย หากวันไหนสินค้าล้นตลาด เกษตรกรสามารถเก็บไว้ ไม่ต้องเก็บเกี่ยวได้ โดยที่ไม่มีต้นทุนการดูแลเพิ่มเติม ซึ่งหากเทียบกับพืชชนิดอื่นแล้วไม่สามารถทำได้

แต่อุปสรรคก็มีบ้างในเรื่องของฝน ถ้าน้ำท่วมมาก็ต้องรีบแก้ปัญหาให้เร็ว แต่ที่ผ่านมาถือว่าการปลูกว่านหางจระเข้เป็นอาชีพสร้างรายได้ดีมาตลอด ราคารับซื้อก็อยู่ในระดับที่รับได้ อาจมีดีดมาสูงบ้างถึงกิโลกรัมละ 10 บาท แต่ก็อย่าเห่อตามกระแส

หนุ่มตะพงเมืองระยอง วัย 28 ปี จบ ปวส. ช่างยนต์ หันมาทำสวนผลไม้ประสบความสำเร็จ

นายธนิต บุญสินธุ์ คนหนุ่มไฟแรงด้านการเกษตร หมู่ 11 ต.ตะพง อ.เมืองระยอง ซึ่งกำลังพาคนงานตัดแต่งกิ่งมะม่วงในสวน จึงเข้าไปพูดคุยความรู้สึกของคนหนุ่มวัยทำงานตามโรงงานหรือทำงานบริษัท แต่กลับมาทำการเกษตร

นายธนิต บุญสินธุ์ หนุ่มวัย 28 ปี พื้นเพเป็นคนตะพง เปิดเผยว่า หลังเรียนจบ ปวส. แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ก็เข้าทำงาน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ทำงานได้เงินเดือนรวมแล้วตกเดือนละ 20,000 บาท ทำงานได้ 3 ปี ปัจจุบันลาออกจากบริษัทมาได้เกือบ 4 ปี ก็ไปบริหารจัดการบุกเบิกทำสวนผลไม้ของบิดา บนพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ (รวมพื้นที่เช่า) สวนผลไม้แบบผสมผสาน

โดยการซื้อกิ่งมะม่วง พันธุ์ “ไขแตก” ชื่อดังของ จ. ฉะเชิงเทรา นำมาทาบกิ่งมะม่วงพันธุ์อกร่อง ได้ประมาณ 2 ปี แต่ยังไม่เต็มที่เริ่มให้ผลผลิตได้ประมาณ 1 ตันครึ่ง มะม่วง “พันธุ์ไข” แตกเมืองแปดริ้ว แต่คนระยองเรียกพันธุ์ “ขายตึก หรือตกตึก” เป็นมะม่วงพันธุ์ใหม่ของระยอง มี 3 รส หวาน มัน เปรี้ยว และกรอบ ส่วนทางเหนือจะเรียกชื่อว่า “เหลืองอำไพ” นอกนั้นจะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ฟ้าลั่น โชคอนันต์ เดือนเก้า และเขียวเสวย รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,300 ต้น นอกนั้นจะปลูกมะปรางพันธุ์หลวงสิน 160 ต้น มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ จำนวน 2,000 ต้น กล้วยหอมทอง กล้วยหักมุกและกล้วยไข่ จำนวน 6,000 ต้น และทุเรียน 700 ต้น