ชาวนาธาตุพนมเมินข้าวราคาตก แปรรูปข้าวเม่าขายรับทรัพย์วันละ

5 หมื่น หน้าหนาวยิ่งรับไม่อั้น วันที่ 1 พฤศจิกายน แม้จะมีปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำ แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับเกษตรกรในพื้นที่ ต.ฝั่งแดง และ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เพราะเป็นช่วงโอกาสทองของเกษตรกรชาว ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ถือเป็นพื้นที่แห่งเดียวของ จ.นครพนม ที่สืบทอดอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำข้าวเม่ามานานกว่า 30 ปี โดยชาวบ้านจะเริ่มลงมือปลูกข้าวเม่า หรือข้าวพันธุ์ กข. 15 และ กข. 10 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมของทุกปี ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึงช่วงใกล้ออกพรรษา เดือน กันยายน-ตุลาคม ไปถึงเทศกาลปีใหม่ จะเป็นช่วงที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวมาทำข้าวเม่า โดยจะใช้ข้าวที่อยู่ระหว่างตั้งท้องออกรวง

ที่เป็นเมล็ดข้าวน้ำนม ตามต้นตำรับภูมิปัญญาชาวบ้าน นำมาแปรรูป คั่วให้สุก ก่อนนำไปสีกะเทาะเปลือกออกมาเป็นข้าวเม่า และนำไปตำด้วยครกกระเดื่องให้เกิดความนุ่ม เพื่อให้ได้ข้าวเม่าที่มีความนุ่ม หอมอร่อย เป็นข้าวเม่าแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ นำส่งขายตลาดในช่วงประเพณีบุญออกพรรษาที่ตลาดมีความต้องการสูง สร้างรายได้หมุนเวียนปีละกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งจะขายในราคากิโลกรัมละประมาณ 80-100 บาท ถือเป็นการแปรรูปข้าวนำไปขายในราคาดี แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำอีกด้วย ทำให้ทุกปีมีพ่อค้า แม่ค้า มาสั่งซื้อจนผลิตไม่ทัน กลายเป็นผลผลิตจากอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้านที่สร้างรายได้เป็นอย่างดี

นายสว่าง คำมุก อายุ 54 ปี ผู้ใหญ่บ้านแก่งโพธิ์ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม กล่าวว่า สำหรับข้าวเม่าถือเป็นอาชีพของชาวบ้าน สืบทอดกันมาแต่โบราณ ที่นิยมนำข้าวน้ำนม มาทำเป็นข้าวเม่า เพื่อนำไปถวายพระทำบุญ และรับประทานตามงานบุญประเพณีต่างๆ เนื่องจากช่วงออกพรรษา ไปถึงเทศกาลปีใหม่ จะเป็นช่วงที่ชาวอีสานมีงานบุญประเพณีมากมาย ทำให้ข้าวเม่าเป็นเมนูภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับความนิยม เพราะสามารถนำไปปรุงเป็นของหวานได้ เนื่องจากมีรสชาติอร่อยหอม สร้างรายได้แต่ละปีมีเงินหมุนเวียนในหมู่บ้านปีละกว่า 10 ล้านบาท ทำให้เกษตรในพื้นที่ส่วนใหญ่ จะทำนาเก็บผลผลิตมาทำข้าวเม่า มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งในรอบ 1 ปี จะสามารถทำนาได้ถึง 3 ครั้ง เพราะมีโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทำให้มีน้ำทำนาตลอดหน้าแล้ง ไม่เพียงสร้างรายได้แก่คนที่มีอาชีพทำข้าวเม่าเท่านั้น ยังส่งผลดีต่อชาวบ้านที่เป็นแรงงานเก็บเกี่ยว จนถึงแรงงานแปรรูป ได้ค้าจ้าง 300 บาทต่อวัน ทำให้ชาวบ้านมีงานมีรายได้เสริมอีกทาง แก้ไขปัญหาราคาข้าวตกต่ำได้เป็นอย่างดี

กล้วยไข่ เป็นอีกไม้ผลที่ไม่เพียงมียอดจำหน่ายในประเทศสูง ขณะเดียวกัน ในกลุ่มตลาดผลไม้ที่ไทยส่งออกต่างประเทศถือว่ากล้วยไข่มียอดสูงในระดับที่น่าพอใจด้วยเช่นกัน

ปัญหาประการหนึ่งของกล้วยไข่คือคุณภาพ ที่ผ่านมาพบว่าคุณภาพกล้วยไข่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าคุณภาพกล้วยไข่จะไม่ได้สร้างปัญหาต่อตลาดในประเทศก็ตาม แต่คงเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าชาวสวนปลูกกล้วยไข่ได้คุณภาพส่งขายต่างประเทศเพื่อจะได้ราคาสูง

“กำแพงเพชร” เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องกล้วยไข่มาช้านาน เนื่องจากชาวบ้านปลูกกันมาตั้งแต่ปี 2465 ตลอดเวลานับแต่อดีตคุณภาพกล้วยไข่ของกำแพงเพชรสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัด จนพูดกันติดปากว่า “กล้วยไข่กำแพง” แล้วที่สำคัญผลไม้ประจำถิ่นชนิดนี้ยังผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นคือ งานเทศกาลสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2424 เป็นต้นมา

เมื่อปี 2556 ทีมงานเทคโนฯ ลงพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อจัดทำสกู๊ปพิเศษกล้วยไข่ ในคราวนั้นได้พูดคุยกับนักวิชาการเกษตรของจังหวัดพบว่า แต่เดิมมีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่นับหลายหมื่นไร่ แต่มาประสบปัญหาภัยธรรมชาติกับโรคพืชจึงทำให้พื้นที่การปลูกลดลงหลักพันไร่ จนทำให้ผลผลิตตกลงอย่างน่าใจหาย

นักวิชาการ ชี้ว่า ปัญหาแรกและเป็นปัญหาหลักสำคัญคือ ลมพายุ ซึ่งภายใน 1 ปี จะเกิดขึ้น 2 ช่วง ที่จะพัดเข้ามาทางจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงแรก เป็นลมพายุช่วงฤดูแล้ง จะพัดผ่านมาประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังเจริญเติบโต ความรุนแรงของลมทำให้ต้นกล้วยไข่หักและโค่นล้ม

ช่วงที่สอง เป็นลมพายุช่วงฤดูฝน จะพัดเข้ามาราวเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยในช่วงนั้นกล้วยไข่กำลังตกเครือ ขณะเดียวกัน เป็นช่วงที่ราคากล้วยไข่มีราคาสูง พอมีลมพายุพัดเข้ามา กล้วยไข่ได้รับความเสียหาย ฉะนั้น เหตุการณ์ทั้งสองช่วงจึงทำให้เกษตรกรชาวสวนเกิดความท้อแท้

ปัญหาประการต่อมาคือเรื่องโรคกล้วยไข่ ที่พบมากคือ โรคใบไหม้ เมื่อโรคนี้เกิดมีการระบาดมาก ขณะเดียวกัน เกษตรกรนำพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูกต่ออีก จึงมีการแพร่ระบาดอย่างหนักขึ้น

และปัญหาประการสุดท้ายคือ เรื่องแรงงาน เพราะกล้วยไข่เป็นไม้ผลที่ต้องเอาใจใส่มากในทุกกระบวนการปลูก ไม่ว่าจะเป็นการตัดแต่งหน่อ ทางใบ การดูแลเรื่องน้ำ เรื่องดิน และการบริหารจัดการในสวน ดังนั้น หากเกษตรกรมีจำนวนคนดูแลเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไปแล้วไม่สอดคล้องกับเนื้อที่ปลูก ก็จะส่งผลต่อการปลูกและผลผลิตที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เกิดวิกฤตกล้วยไข่กำแพงเพชร มีบางจังหวัด อย่างจันทบุรี ชุมพร เพชรบุรี สามารถปลูกกล้วยไข่ได้อย่างมีคุณภาพ เป็นแหล่งที่ต้องยอมรับว่าปลูกกล้วยไข่ที่เน้นคุณภาพเพื่อการส่งออก แต่ถึงกระนั้นด้วยความมีเสน่ห์ในรสชาติของกล้วยไข่กำแพงเพชรที่มีความหวาน หอม เนื้อละเอียด เปลือกบาง มีขนาดผลที่พอเหมาะต่อการรับประทาน จึงทำให้กล้วยไข่กำแพงเพชรยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วประเทศอย่างไม่เสื่อมคลาย

สิงหาคม 2559 ทีมงานลงพื้นที่กำแพงเพชรอีกเพื่อติดตามดูสถานการณ์กล้วยไข่ แล้วพบว่าคนในจังหวัดกำแพงเพชรมีความเคลื่อนไหวรวมตัวกันเป็นกลุ่ม หาทางแก้ปัญหาเพื่อหวังจะกลับมาทวงแชมป์คุณภาพกล้วยไข่อีกคราว

หนึ่งในกลุ่มที่ขับเคลื่อนการพัฒนาและอนุรักษ์กล้วยไข่ของจังหวัด มีชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนฟื้นฟูกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร” โดยมี คุณนพพล เทพประถม อยู่บ้านเลขที่ 108/1 หมู่ที่ 2 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร รับหน้าที่เป็นประธาน

คุณนพพล เทพประถม ประธานกลุ่ม (ขวาสุด) กับคุณป้าพิมพ์ คุณลุงไพริน และสมาชิกกลุ่ม
คุณนพพล เทพประถม ประธานกลุ่ม (ขวาสุด) กับคุณป้าพิมพ์ คุณลุงไพริน และสมาชิกกลุ่ม
คุณนพพล กล่าวถึงภาพรวมกล้วยไข่กำแพงเพชรขณะนี้ว่า มีการรณรงค์ให้ชาวบ้านกลับมาปลูกกล้วยไข่กันใหม่ ทั้งนี้ เพราะตลาดผู้บริโภคหลายแห่งติดใจรสชาติกล้วยไข่กำแพงเพชร แล้วต้องการให้มีปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม จากนั้นทางจังหวัดจึงมีการส่งเสริมจัดทำเป็นโครงการเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นกล้วย GI หรือชูให้เป็นไม้ผลประจำถิ่น แล้วพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกันเพิ่มขึ้น

ประธานกลุ่มเผยถึงแนวทางการอนุรักษ์กล้วยไข่กำแพงเพชร ได้วางแผนพร้อมลงมือปฏิบัติกันมาเป็นเวลา 15 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นทำกันอยู่ในกลุ่มเล็กจำนวน 20 กว่าราย แล้วค่อยๆ ขับเคลื่อนจนกระทั่งได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2554

“วิสาหกิจชุมชนฟื้นฟูกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร” ถือเป็นกลุ่มแรกที่บุกเบิกการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ของจังหวัด โดยมีการแบ่งซอยออกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้มีการทำงานแบบครบวงจร

คุณนพพลชี้ถึงสาเหตุที่เป็นตัวแปรสำคัญทำให้ผลผลิตกล้วยไข่กำแพงเพชรขาดความคงที่คือ เกิดจากภัยธรรมชาติ และรองลงมาคือ โรคใบไหม้ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดที่จะต้องมีลมพายุพัดเข้ามาในช่วงที่กล้วยกำลังมีผลผลิตหรือเป็นกล้วยสาวในทุกปี เป็นช่วงต้นฝน

โรคใบไหม้เกือบทั้งสวน
โรคใบไหม้เกือบทั้งสวน
ส่วนโรคใบไหม้ที่เกิดขึ้น ขณะนี้ทางเกษตรจังหวัดกำลังแก้ไขปัญหา ซึ่งมีชาวบ้านหลายคนชี้ว่าควรย้ายแปลงปลูกไปที่อื่น ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม แต่ในความเป็นจริงคงทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะแต่ละครัวเรือนมีที่ดินน้อย จำต้องปลูกอยู่ที่เดิม ดังนั้น ชาวบ้านจึงแก้ปัญหาตัวเองด้วยการเลิกปลูกกล้วยไข่แล้วหันไปปลูกพืชไม้ผลอื่นแทน

“อย่างไรก็ตาม เคยอ่านงานวิจัยศึกษาโรคใบไหม้ว่า โรคชนิดนี้จะอยู่กับดินเดิมเป็นเวลานานถึง 3 ปี หากยังคงปลูกพืชชนิดเดิมอยู่ แต่ถ้าหยุดหรือเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนบ้างโรคนี้ก็จะหายไป แล้วก็สามารถกลับมาปลูกกล้วยไข่ได้อีกต่อไปในพื้นที่เดิม ดังนั้น แนวทางแก้ไขคือพยายามชักชวนผู้ปลูกรายใหม่ที่สนใจปลูกกล้วยไข่และใช้พื้นที่จำนวนไม่เกิน 1 ไร่

แนวทางการอนุรักษ์ที่เป็นรูปธรรมวางไว้อย่างไร?

ถ้ามองในเรื่องความคุ้มค่าในตัวเงินแล้ว การปลูกกล้วยไข่ถือว่าคุ้มค่า ขณะเดียวกัน ยังเป็นการรักษาชื่อเสียงของจังหวัดไว้ด้วย ดังนั้น ถ้าช่วยกันปลูกเพิ่มขึ้นทีละต้นหรือสองต้นถือว่ามีความหมายในทางที่ดี รวมทั้งยังถือว่าประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ โดยไม่ต้องไปหวังว่าจะต้องปลูกเพิ่มขึ้นจำนวน 100-200 ไร่ หรือแม้แต่การคิดหวังไปถึงการส่งออกต่างประเทศก็ยังไม่จำเป็นต้องคิด

“ตอนนี้ เพียงแค่หวังไว้อย่างเดียวว่าทำอย่างไรให้ชาวบ้านกลับมาปลูกกล้วยไข่เพิ่มขึ้น หรือบางคนที่เลิกปลูกก็ให้หันกลับมาปลูกใหม่ แล้วไม่ต้องไปปลูกมาก ขอให้ใช้พื้นที่ปลูกขนาดเล็กแล้วปลูกแบบมีคุณภาพเต็มที่ จากนั้นให้แต่ละแปลงรวบรวมผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาด”

ประธานกลุ่ม บอกว่า ผลจากการที่กลุ่มได้สร้างคุณภาพผลผลิตตามแผนงานที่วางไว้ ทำให้ที่ผ่านมาเริ่มเห็นรูปธรรมที่ชัดเจน จนในขณะนี้หลายหน่วยงานได้เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มที่ มีการสนับสนุนงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ แต่ต้องเข้าใจว่าเวลานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และอย่าหวังเรื่องผลผลิตที่สูง คงต้องใช้เวลาค่อยๆ เพิ่มจำนวนไปทีละขั้นตอน

การวางแผนช่องทางการตลาด

มีการกำหนดผู้ปลูกออกเป็น 2 กลุ่มที่ชัดเจน กลุ่มแรกอาจเป็นผู้ปลูกที่มีเนื้อที่จำนวนมาก มีการบริหารจัดการที่ดี เน้นการสร้างคุณภาพเต็มที่ ดังนั้น กลุ่มนี้จะมีพ่อค้าจากตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ที่เป็นขาประจำวิ่งเข้าไปรับซื้อที่สวน อีกกลุ่มเป็นผู้ปลูกรายเล็กก็จะมีคนมารับซื้อไปวางขายตามแผงริมทาง หรืออาจนำไปขายบริเวณตลาดมอกล้วยไข่

ในช่วงแรกถ้าจำนวนผลผลิตทั้งหมดยังมีไม่มากพอ คงวางจำหน่ายเฉพาะภายในพื้นที่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี S/P, แม็คโคร ที่แจ้งความต้องการขอรับซื้อผลผลิต แต่คงต้องชะลอไปก่อนเนื่องจากยังไม่สามารถจัดหากล้วยตามฤดูกาลได้ รวมถึงยังต้องมาจัดให้เข้าเป็นระเบียบระบบเสียก่อน ตั้งแต่การปลูก การดูแล การเก็บผลผลิต เนื่องจากผู้รับซื้อรายใหญ่จะมีเงื่อนไขรายละเอียดที่เคร่งครัดมาก

รูปแบบการขาย

คุณนพพล เผยว่า แต่เดิมการขายกล้วยของชาวบ้านใช้วิธีนับตั้ง และผู้รับซื้อแต่ละรายก็ไม่มีมาตรฐานในการกำหนดหวี ในแต่ละเครือบ้างกำหนดเป็น 3 หวี บ้างกำหนดเป็น 4 หวี ส่วนหวีขนาดเล็กหรือไม่สวยก็มักแถมไป ทั้งนี้ มักกำหนดราคารับซื้อหวีละ 20 บาท จึงทำให้ชาวบ้านมีรายได้ 60-80 บาท ต่อเครือ ฉะนั้น จึงมองว่าการกำหนดราคาขายเช่นนี้ไม่เกิดมาตรฐานและไม่ยุติธรรมดีพอ

“แต่การกำหนดวิธีขายแบบใหม่ที่ผ่านการตกลงของกลุ่มมาแล้ว เห็นว่าควรมีการกำหนดราคาขายแบบชั่งเป็นกิโล ทั้งนี้ เนื่องจากไม้ผลพืชทั่วไปล้วนใช้หลักการชั่งเป็นกิโลทั้งนั้น และกล้วยไข่ควรใช้แนวทางเดียวกัน เพราะแนวทางนี้มีมาตรฐานที่กิโลซึ่งมีจำนวน 10 ขีดเท่ากันทุกแห่ง จึงไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ และเท่าที่ทราบหลายแห่งได้ใช้วิธีเช่นนี้มานานแล้ว”

อย่างไรก็ตาม ผลจากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักกล้วย 1 ตั้ง จะอยู่ประมาณ 9-11 กิโลกรัม เมื่อคำนวณต้นทุนแล้วจึงกำหนดราคาขายไว้ที่กิโลกรัมละ 18 บาท (25 สิงหาคม 2559) คุณนพพล ชี้ว่า วิธีการนี้เพิ่งนำมาใช้ และยังไม่ทั่วทุกแห่งในจังหวัด แต่จะค่อยๆ ปรับให้เป็นแนวทางเดียวกัน

สำหรับราคาขายในกรุงเทพฯ ประมาณหวีละ 70 บาท (25 สิงหาคม 2559) ราคานี้วางจำหน่ายทั่วไป แต่ในกรณีที่วางตามห้างหรือเป็นกล้วยไข่ออร์แกนิกจะวางขายในราคาหวีละ 100 บาท ส่วนราคาที่ส่งออกจากสวนเพียงหวีละ 20 กว่าบาทเท่านั้น

ความไม่แน่นอนเรื่องจำนวนผลผลิตกับคุณภาพผลผลิตในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สมาชิกกลุ่มมองเห็นว่ายังไม่ควรตั้งราคาขายให้สูงเกินไป ควรรอให้ทุกอย่างนิ่งเสียก่อน แต่ในอนาคตถ้าทุกอย่างปรับปรุงอย่างได้มาตรฐานในทางที่ดีขึ้นแล้ว เห็นว่าคงต้องขยับราคาเพื่อให้ชาวบ้านมีแรงจูงใจในการปลูกเพิ่มมากขึ้นด้วย

ปรับคุณภาพการผลิตเข้าสู่ระบบ GAP แล้ว

ประธานกลุ่ม เผยว่า จังหวัดอื่นที่ปลูกกล้วยไข่ อย่างจันทบุรี ชุมพร เพชรบุรี เป็นแหล่งที่ต้องยอมรับว่าปลูกกล้วยไข่ที่เน้นคุณภาพเพื่อการส่งออก ขณะเดียวกัน ทางกำแพงเพชรก็ได้มีการไปศึกษาดูงานเพื่อกลับมาวางรูปแบบให้มีมาตรฐานเช่นนั้น แล้วคิดว่าในอนาคตหากกลุ่มมีการสร้างความเข้มแข็งได้อย่างสมบูรณ์ อาจผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออกบ้าง เพราะหลายหน่วยงานในจังหวัดเริ่มเห็นความสำคัญและได้ยื่นมือเข้ามาสนับสนุนแล้ว

จึงทำให้ทางกลุ่มได้เร่งพัฒนาคุณภาพผลผลิตกระทั่งสามารถสู่ระบบการผลิตแบบ GAP เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ มีสมาชิกกลุ่มที่ผ่านมาตรฐานแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทางกลุ่มมีจำนวนสมาชิกกว่า 50 ราย มีพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ทั้งหมดประมาณ 300 ไร่ เฉลี่ยรายละ 3-5 ไร่ มีรายใหญ่ขนาด 70 ไร่ อยู่จำนวน 2 ราย

ส่วนแนวทางอนุรักษ์กำหนดไว้ว่าจะส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้พันธุ์ดั้งเดิมของท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งอาจกระทบปัญหาว่าขณะนี้เหลือคนที่ปลูกกล้วยไข่อย่างจริงจังน้อยมาก ผลผลิตยังไม่นิ่งทั้งคุณภาพและปริมาณ ดังนั้น หากจะบุกตลาดตอนนี้ยังคงไม่ได้เพราะพ่อค้าเองก็ยังไม่มั่นใจและไม่กล้าเสี่ยง

“ฉะนั้น ทุกอย่างจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาสายพันธุ์ ปรับปรุงวิธีปลูก แก้ปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติกับโรคให้ได้ก่อน แล้วจึงเริ่มปรับองค์กรให้เข้าสู่ระบบตามหลักสากล ไม่ว่าจะเป็นสหกรณ์หรืออะไรก็ตาม เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของมวลสมาชิกทุกคน รวมถึงยังวางแผนว่าโอกาสต่อไปจะสร้างพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ผูกพันกับกล้วยไข่มาช้านาน เพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นพืชประจำถิ่น”

คุณนพพล ชี้ว่า ความผูกพันของชาวบ้านกำแพงเพชรกับกล้วยไข่ดูเหมือนจะแยกกันไม่ออก ถึงแม้บางปีจะเกิดปัญหาหรืออุปสรรคกับการปลูก ทั้งภัยทางธรรมชาติและโรคพืช จนสร้างความเสียหายที่เกิดจากขาดทุน แต่พวกเขาก็ยังยืนหยัดที่จะปลูกต่อไปด้วยความเชื่อมั่นที่ว่าความเป็นพืชไม้ผลประจำถิ่น ซึ่งขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากในจังหวัดมีการจัดตั้งกลุ่มการผลิตกล้วยไข่คุณภาพแยกกันหลายกลุ่ม แต่ละพื้นที่ต่างมีแนวทางวิธีการต่างกัน แต่ทุกแห่งมีเป้าหมายเดียวกันคือ การสร้างคุณภาพกล้วยไข่กำแพงเพชรให้ดีที่สุด

“พยายามผลักดันคนรุ่นใหม่ให้เป็น SMART FARMER เพื่อเตรียมวางรากฐานขยายตลาดในอนาคต เพราะคนรุ่นใหม่มีแนวคิดและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ดังนั้น ถ้าพวกเขาเดินเข้ามาสู่กระบวนการปลูก ก็จะสร้างความมั่นคงให้แข็งแรงต่อไป” ประธานกลุ่ม กล่าว

ไปดูสวนกล้วยไข่คุณภาพ

จากนั้นทีมงานได้ลงพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของสมาชิกกลุ่ม อย่าง คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร เป็นเจ้าของสวน อยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โทรศัพท์ (063) 750-9275 ปลูกกล้วยไข่มานานกว่า 30 ปี ใช้เนื้อที่ปลูก 12 ไร่ จำนวน 2,000 กว่าต้น เป็นพันธุ์กล้วยไข่ดั้งเดิมของกำแพงเพชร

คุณป้าพิมพ์ บอกว่า การปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรนับเป็นเรื่องยาก ต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาดในแปลงปลูก อย่าให้รก ปุ๋ยที่ใช้ในตอนเริ่มปลูกใช้สูตรเสมอ 15-15-15 พอตกเครือจะใช้ปุ๋ยน้ำตาลสูตร 21-0-0 ใส่เพื่อเร่งผล

คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร
คุณป้าพิมพ์ และ คุณลุงไพริน คำพวงวิจิตร
ส่วนปัญหาที่เกิดเป็นประจำคือ โรคใบไหม้ แล้วยังต้องเผชิญกับภัยจากพายุลมแรงที่พัดจนต้นกล้วยหักโค่นเสียหาย ซึ่งลมพายุดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงที่กำลังมีผลผลิต แล้วสังเกตทุกปีมักเกิดขึ้นหลังจากเข้าหน้าฝน ทั้งนี้ ถ้าตกเครือก็ยังช่วยให้ปลอดภัย แต่ถ้าเกิดในช่วงต้นขนาดเล็กตายอย่างเดียว ฉะนั้น เพียงแก้ไขในเรื่องโรคใบไหม้ได้ ก็จะทำให้กล้วยมีคุณภาพดีกว่าเดิม แล้วมีผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา คุณลุงไพริน ชี้ว่า จากที่สมัยก่อนเคยเก็บหน่อไว้ถึงตอที่ 2-3 ได้ แต่ภายหลังทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะคอยจะขึ้นเหง้า ดังนั้น ในทุกปีจะต้องมีการขุดออกแล้วปลูกเป็นกล้วยรุ่นใหม่

คุณลุงไพรินเผยตัวเลขผลผลิตที่เกิดจากการปลูกกล้วยไข่ที่กำแพงเพชรในแต่ละปีคงไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปรสำคัญ แต่ภายหลังที่มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจึงตกลงมีการซื้อ-ขายผลผลิตกันเป็นกิโลกรัม แต่พื้นที่แถวสามเงาจะมีราคาขายกิโลกรัมละ 25 บาท สูงกว่าที่กำแพงเพชรที่มีราคาขายประมาณกิโลกรัมละ 18 บาท

การสะสมประสบการณ์ที่ยาวนานของคุณป้าพิมพ์และคุณลุงไพริน จนเกิดทักษะความชำนาญการปลูกกล้วยไข่ จึงทำให้สวนของพวกเขาได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ และถือเป็นจำนวนผลผลิตที่สูงได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นเช่นนี้ทุกปี

ความจริงแล้วกล้วยไข่กำแพงเพชรมีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่น มีชาวบ้านหลายรายพยายามนำหน่อกล้วยในพื้นที่ออกไปปลูกยังแหล่งอื่นที่ใกล้เคียงจังหวัดกำแพงเพชร แต่พบว่ารสชาติอร่อยน้อยกว่า แม้จะใช้หน่อเดิม ทั้งนี้ คุณลุงไพริน ชี้ว่า น่าจะเกิดจากคุณภาพดินของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะในเขตเมือง ซึ่งถ้าพ้นออกไปแล้ว รสชาติตลอดจนลักษณะผลมักเปลี่ยน

แวะแหล่งขายกล้วยไข่ริมทาง

ก่อนเดินทางกลับทีมงานแวะเยี่ยมเยียนแผงขายกล้วยไข่ที่ตั้งเรียงรายตลอดสองข้างทางถนนสายกำแพงเพชร-พิจิตร ซึ่งผู้ขายมีทั้งแบบมีสวนกล้วยตัวเองแล้วนำผลผลิตมาวางขาย กับอีกแบบคือไปรับซื้อกล้วยจากสวนโดยตรงเพื่อนำมาวางขาย

คุณวิน บุนนาค เจ้าของแผงขายกล้วยไข่รายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า มีสวนกล้วยไข่ของตัวเองขนาด 3 ไร่ และทำอาชีพนี้มานานกว่า 30 ปี นอกจากนั้น ยังรับซื้อกล้วยไข่จากสวนของชาวบ้านที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง อย่างที่ ลำมะโกรก นครชุม และโพธิ์สวัสดิ์ อีกหลายราย

ตลอดเวลากว่า 30 ปี กับการคลุกคลีกล้วยไข่ คุณวินพบว่าเป็นไม้ผลที่ปลูกและดูแลยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะหลังสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก ก็ยิ่งทวีความยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปีนี้ (2559) ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งที่มาเยือนตั้งแต่ต้นปี เลยทำให้ได้ผลผลิตน้อย ราคาจึงสูงกว่าปกติ

อีกทั้งยังพบว่าผลกระทบเช่นนี้จึงส่งผลต่อการขายกล้วยไข่ ซึ่งโดยปกติระยะทาง 10 กิโลเมตร ตั้งแต่ทางแยกจะมีร้านขายกล้วยไข่ตั้งเรียงรายมาตลอด แต่ปีนี้หายไปเกินครึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านกำแพงเพชรบางรายสู้ไม่ถอยแล้วคิดจะปลูกต่อไป

หลายคนที่คุ้นกับลักษณะประจำของกล้วยไข่กำแพงเพชรมักทราบว่ามี รสหวานหอม เนื้อแน่น เปลือกบาง ตลอดจนขนาดผลมีความพอดี ซึ่งจุดเด่นเช่นนี้จึงเป็นเสน่ห์ของกล้วยไข่กำแพงที่ทำให้คนทั้งประเทศติดใจ แล้วมักแวะเวียนมาหาซื้อในช่วงที่มีผลผลิตซึ่งมักตรงกับเทศกาลสาร์ทไทย คุณวิน บอกว่า เคยรับกล้วยไข่จากแหล่งอื่นมาขายร่วมกับกล้วยไข่กำแพงเพชร ปรากฏว่าลูกค้าชิมแล้วชอบกล้วยไข่กำแพงเพชรมากกว่าเพราะมีรสหวาน หอม

ผลที่เกิดจากความแห้งแล้งจึงทำให้ในช่วงผลผลิตมีจำนวนกล้วยไข่ไม่มาก โดยมีการกำหนดราคาขายหน้าร้านอยู่ระหว่าง 30-50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ ส่วนแบบขายยกเครือราคาตั้งแต่ 120-250 บาท คุณวิน ชี้ว่า ปีนี้ราคากล้วยไข่สูงกว่าที่เคยพบมาก่อน และคิดว่าราคานี้คงไม่ลดลงแล้วจนสิ้นฤดู เพราะผลผลิตจะทยอยออกมาตลอด จนทำให้ไม่ล้นตลาดจนต้องลดราคา

ชื่อของ “กำปงสปือ” จังหวัดทางตะวันตกของพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา อาจเคยคุ้นหูคนไทยมาบ้าง ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ไกลจากประเทศไทยนัก มีพื้นที่ติดกับ 2 จังหวัดที่มีชายแดนติดกับจังหวัดตราด ประเทศไทย คือ จังหวัดโพธิสัตว์และจังหวัดเกาะกง แต่สิ่งที่โดดเด่นขณะนี้ กำปงสปือกลายเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งปลูกมะม่วงแก้วขมิ้นมากที่สุดในกัมพูชาถึง 60% พื้นที่ปลูก 243,750 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 600,000-700,000 ตัน ส่งออกมาประเทศไทย 30% และเวียดนาม 70%

ที่ผ่านมาเส้นทางการค้ามะม่วงแก้วขมิ้นจะผ่านเข้ามาประเทศไทยทางจังหวัดจันทบุรี แต่ภายหลังจากกรมวิชาการเกษตรได้ประกาศให้สามารถนำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นได้ตลอดชายแดนกัมพูชาตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาทำให้มีการนำสินค้าผ่านจุดผ่านแดนอื่นๆอย่างคึกคักโดยเฉพาะจุดผ่านแดนถาวรด่านบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งติดกับจังหวัดเกาะกง ถูกหมายตาจากบรรดาผู้นำเข้ามะม่วงแก้วขมิ้นทั้งในจังหวัดตราดและที่อื่น ๆ มากขึ้น เนื่องจากเส้นทางนี้ขนส่งสะดวกสบายที่สุด เนื่องจากเป็นถนนลาดยางตลอดทางจากเกาะกงไปจนถึงกำปงสปือ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ติดตามคณะ “ดร.ประธาน สุรกิจบวร” รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่ได้นำขบวนตัวแทนภาครัฐและเอกชน ไปสำรวจเส้นทางขนส่งมะม่วงแก้วขมิ้น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา

การเดินทางเริ่มต้นจากถนนหมายเลข 48 จากเกาะกงแยกเข้าสู่ถนนหมายเลข 4 ก่อนถึงพนมเปญ 48 กิโลเมตร ถึงกำปงสปือรวมระยะทางเพียง 230 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง ถือว่าสะดวกและรวดเร็วมากเมื่อเทียบกับเส้นทางการค้าเดิมทางจังหวัดจันทบุรีที่มีระยะทางถึง 500-600 กิโลเมตร

นอกจากสำรวจเส้นทางแล้ว การบุกเมืองกำปงสปือแหล่งผลิตมะม่วงแก้วขมิ้นแหล่งใหญ่ที่สุดในกัมพูชาในครั้งนี้ ยังได้พบปะตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูก และจัดจำหน่ายมะม่วง พร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนกับประธานพาณิชย์กัมพูชาในคราวเดียวกันด้วย

กัมพูชาแจงส่งออกไทย 30%

“เนียน แซมโป” (Nhel Sambo) ประธานพาณิชย์กำปงสปือ อธิบายถึงเรื่องการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช จากองค์กรอารักขาพืช (National Plant Protection Organization) หรือ “NPPO” และใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D) จากกระทรวงพาณิชย์นั้น ขณะนี้ดำเนินการได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนการซื้อขายต้องทำข้อตกลงกับสหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตมะม่วงจังหวัดกำปงสปือที่มีเพียงแห่งเดียวล่วงหน้า โดยทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างจังหวัดตราดและจังหวัดกำปงสปือ กำหนดราคาซื้อขายที่หน้าสวน หรือราคาขนส่งมาชายแดนหน้าด่านจังหวัดตราด เพราะผลผลิตมะม่วงสดต้องส่งตลาดอย่างช้าไม่เกิน 20 วัน

ด้าน “อุน ไชวาน” (In Chayvan) ประธานสมาคมมะม่วงกำปงสปือ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ส่งมะม่วงเข้าทางจังหวัดจันทบุรี มีระยะทาง 500-700 กิโลเมตร ประมาณ 70% เป็นมะม่วงเบอร์ 2-4 จากกำปงสปือ แต่ถือเป็นการดีที่ต่อไปสามารถส่งไปยังจังหวัดตราดระยะทางใกล้ขึ้น การขนส่งสะดวกสบายขึ้น สอดคล้องกับพื้นที่ปลูกมะม่วงจะมากขึ้น เบื้องต้นสามารถเจรจาซื้อขายกันก่อน และต้องชัดเจนเรื่องพื้นที่ขนถ่ายสินค้า เรื่องการอนุญาตให้รถบรรทุกเข้าไปในพื้นที่ประเทศไทย ขณะที่เรื่องใหม่อย่างเอกสารใบรับรองนำเข้าจากกัมพูชายังต้องศึกษาก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาเราค้าขายแบบมิตรภาพ ซึ่งการค้ากับเวียดนามก็ไม่มีเอกสารแต่อย่างใด

ขณะที่ “พลัม พอลลา” รองประธานสหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตมะม่วง กำปงสปือ เล่าว่าสหกรณ์กลุ่มผู้ผลิตมะม่วงมีสมาชิกประมาณ 300 ราย มาจากแหล่งปลูกมะม่วงหลายแห่ง อาทิ กำปงสปือ กำปงชนัง กำปงธม กำปอต โดยมะม่วงจะออกไม่พร้อมกัน และมีปริมาณต่างกัน แต่ละรายจะปลูกมะม่วงแก้วขมิ้นเฉลี่ยรายละ 300-400 ไร่ ใช้ปุ๋ย 2 ชนิด คือ ปุ๋ยขี้ไก่และปุ๋ยเคมี ส่วนการซื้อขายต้องผ่านกลุ่มสหกรณ์ เกษตรกรเป็นผู้ผลิต โดยการขายจะคัดไซซ์ตามขนาดและความสวยงาม แบ่งเป็น 4 เกรด คือ เบอร์ 1-4 โดยปริมาณมะม่วงที่เก็บแต่ละวัน แบ่งเป็นเบอร์ 1 วันละ 300 ตัน เบอร์ 2-3 วันละ 200 ตัน และเบอร์ 4 วันละ 100 ตัน

สำหรับการซื้อขายกับประเทศเวียดนามนั้น จะทำข้อตกลงกับกลุ่มสหกรณ์ และจ่ายเงินล่วงหน้าส่วนหนึ่งให้เกษตรกรไปก่อนเพื่อซื้อปุ๋ย ดูแลสวน เสมือนเป็นการผูกมัด เมื่อผลผลิตออกต้องขายให้เวียดนาม

“มะม่วงเบอร์ 1 นั้น จะซื้อขายกับประเทศเวียดนาม 70% โดยทำข้อตกลงกับกลุ่มสหกรณ์ ใช้วิธีจ่ายเงินล่วงหน้าส่วนหนึ่งให้เกษตรกรไปซื้อปุ๋ย ดูแลสวน เหมือนเป็นการผูกมัดว่าหากผลผลิตออกต้องขายให้เวียดนาม ซึ่งเวียดนามจะขายส่งไปให้ชาวจีน เกาหลี เพื่อบริโภคผลสุก ส่วนมะม่วงเบอร์ 2-4 จะส่งตลาดประเทศไทยอีก 30%”

ไทยรุกคืบแปรรูปอบแห้งส่งจีน

ด้าน “วุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์” ประธานสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออก จังหวัดตราด จำกัด ประธานกรรมการสหกรณ์แปรรูปจังหวัดตราด กล่าวว่า แนวโน้มตลาดมะม่วงแก้วขมิ้นมีโอกาสเติบโตมาก และช่องทางนำเข้าทางจังหวัดตราดสะดวกมากขึ้น ขณะนี้โรงงานได้เตรียมติดตั้งเครื่องอบปรับตัวแปรรูปมะม่วงอบแห้งเพื่อส่งตลาดจีน ที่มีความต้องการสูงและไม่กำหนดสเป็กยุ่งยาก ที่สำคัญมีออร์เดอร์ไม่อั้น โดยจะเป็นสินค้าที่มาทดแทนทุเรียนในช่วงที่หมดฤดูกาล ซึ่งขณะนี้เป็นโอกาสเหมาะที่จะนำเข้าวัตถุดิบได้จำนวนมากอย่างสะดวก มองว่าอนาคตถ้าพัฒนาคุณภาพได้ เรายังมีช่องทางตลาดต่างประเทศ อย่างเกาหลี ญี่ปุ่นที่ยังเปิดกว้าง

“ตราดอยู่ใกล้ตลาดแรงงาน ขนส่งสะดวก มีไม้ฟืนที่เป็นพลังงานราคาถูก เชื่อว่าผู้ประกอบการโรงงานขนาดใหญ่ภาคอื่น ๆ จับจ้องการนำเข้าช่องทางชายแดนด้านจังหวัดตราดเช่นกัน ขณะเดียวกันโรงงานในจังหวัดตราด 2-3 แห่งที่นำเข้ามาผลิตอยู่แล้วควรจะเตรียมโรงงานรองรับ เพราะมีวัตถุดิบ ตลาดพร้อม” นายวุฒิพงศ์กล่าว

ตอกย้ำความนิยมของมะม่วงแก้วขมิ้น ที่ไม่เพียงการบริโภคผลสดเท่านั้น วันนี้ผู้ประกอบการไทยยังได้หมายมั่นปั้นมือให้มะม่วงแปรรูปเป็นเศรษฐกิจตัวใหม่ของจังหวัดตราดอีกด้วย

เมื่อเอ่ยถึง จังหวัดนครปฐม สิ่งสำคัญทางพุทธศาสนาที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี แล้วมักแวะเวียนไปนมัสการคือ องค์พระปฐมเจดีย์ นอกจากนั้นแล้ว ของหวานอย่าง ข้าวหลาม และผลไม้ประจำถิ่น อย่างส้มโอ ยังนับเป็นของรับประทานที่ขึ้นชื่อในจังหวัดนี้ด้วย

ส้มโอนครปฐม เป็นไม้ผลประจำถิ่นที่ชาวบ้านปลูกกันมากในอำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล แล้วมักเรียกกันโดยรวมว่า ส้มโอนครชัยศรี

ส้มโอนครชัยศรี ที่นิยมปลูกและบริโภค มีอยู่ 5 สายพันธุ์ ได้แก่

ส้มโอพันธุ์ทองดี มีรสหวานนำอมเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่ขมและซ่า มีเนื้อสีขาวอมชมพูฉ่ำ เปลือกผิวบาง มีเนื้อสีคล้ายทับทิม จึงทำให้ชาวจีนนิยมนำไปไหว้เจ้า

ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อสีขาวอมเหลืองเล็กน้อยคล้ายสีน้ำผึ้ง เปลือกผิวบาง เนื้อแน่น น้ำหนักดี ไม่ขมและซ่า ผลแก่จัดเนื้อแห้งถูกคอคนไทย และชาวต่างชาติ

ส้มโอพันธุ์ขาวพวง รสชาติเปรี้ยวอมหวาน ถ้าแก่จัดรสหวานมากกว่าเปรี้ยว ด้วยลักษณะลูกหัวจุกยาว (คล้ายลูกน้ำเต้า) จึงเป็นอีกพันธุ์ที่ชาวจีนนิยมนำไปไหว้เจ้า

ส้มโอพันธุ์ขาวแป้น รสชาติหวานอมเปรี้ยว ลักษณะผลคล้ายพันธุ์ทองดี เนื้อสีขาว ไม่ค่อยได้รับความนิยม และ

ส้มโอพันธุ์ขาวหอม มีรสเปรี้ยวนำ ลักษณะผลใหญ่ เปลือกบาง น้ำหนักดี นำ ทองดี และ ขาวน้ำผึ้ง จด “ผลไม้บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หรือ GI

ปัจจุบัน กรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกสิทธิบัตรให้ส้มโอนครชัยศรี เป็น “ผลไม้บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หรือ GI โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มโอพันธุ์ทองดีและขาวน้ำผึ้ง เพื่อประโยชน์สำหรับใช้เป็นการค้า

คุณประวิทย์ บุญมี ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี กล่าวว่า กลุ่มนี้ตั้งมาประมาณ ปี 2548 ปัจจุบัน มีสมาชิก จำนวน 122 ราย ส่วนความจำเป็นที่ต้องนำส้มโอมณฑลนครชัยศรีไปขึ้นทะเบียน GI เพราะพบว่าในพื้นที่มีร้านค้าหลายแห่งนำส้มโอจากแหล่งอื่นมาวางขายร่วมกับส้มโอนครชัยศรี แล้วอาจเกิดความเข้าใจผิดพลาดของลูกค้าเมื่อซื้อไปบริโภค หากได้ส้มโอที่ขาดคุณภาพไปรับประทาน

สำหรับพันธุ์ส้มโอที่นำไปจดขึ้นทะเบียน GI คือ ขาวน้ำผึ้ง กับ ทองดี เนื่องจากพบว่าลักษณะเด่นของพันธุ์ทั้งสองมีคุณสมบัติที่ดีทางการค้า โดยขาวน้ำผึ้งมีเนื้อที่มีสีคล้ายน้ำผึ้ง รสหวาน กรอบ ติดเปรี้ยวเล็กน้อย ส่วนทองดีจะหวานฉ่ำเนื้อมีสีส้มผสมชมพู ซึ่งนอกจากลูกค้าจะซื้อไปบริโภคแล้ว ยังนิยมซื้อเพื่อนำไปใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาอีกด้วย

ประธานวิสาหกิจฯ เผยว่า เดิมทีเนื้อที่ปลูกส้มโอก่อนน้ำท่วมใหญ่ มีพื้นที่ปลูกรวม ประมาณ 7,000 ไร่ แต่หลังน้ำท่วม เหลืออยู่พันไร่ จากนั้นชาวบ้านได้ร่วมมือกันฟื้นฟูอนุรักษ์การปลูกส้มโอท้องถิ่นขึ้นมา จนทำให้ตอนนี้มีพื้นที่ปลูกส้มโอในพื้นที่เกาะลัดอีแท่น อยู่จำนวน 5,000 ไร่ เพราะพื้นที่ปลูกบริเวณดังกล่าวมีลักษณะดินดำ น้ำฉ่ำ หรือน้ำไหล ทรายมูล มีแม่น้ำล้อมรอบ ทำให้เกิดแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อพืช จึงทำให้ได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ จนทำให้ชื่อเสียงเอกลักษณ์ของส้มโอนครชัยศรีที่มีรสอร่อย และมีเนื้อแน่น

คุณประวิทย์ บอกว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดจีนเข้ามาซื้อส้มโอในพื้นที่กันเป็นจำนวนมาก โดยใช้วิธีเข้าถึงสวน และที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าต่อไปหากจีนเข้ามามีบทบาทต่อวงการผลไม้ไทยชนิดผูกขาดแล้วหยุดซื้อหรือชะลอซื้อก็จะทำให้ชาวสวนได้รับความเดือดร้อนทันที ดังนั้น แนวทางคือ ตอนนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังหาทางเปิดตลาดใหม่เพื่อรองรับการขายให้มีการกระจายไปทั่ว เพื่อป้องกันการผูกขาดของจีน

เคยปลูกแต่ส้มปี พอตลาดราคาดี ปรับเพิ่มเป็นปลูกส้มทะวาย

สมัยก่อนชาวสวนปลูกแต่ส้มปี Royal Online V2 แต่ในระยะหลังพบว่า ราคาส้มมีทิศทางปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งไปขายต่างประเทศที่ได้ราคาดีมาก อีกทั้งมีเทศกาลสำคัญอย่างสารทจีนหรือตรุษจีน ซึ่งมักหาส้มยาก ทำให้ชาวสวนเริ่มปรับเปลี่ยนมาปลูกส้มทะวายร่วมกับส้มปีในพื้นที่เดียวกัน จึงทำให้สามารถบริหารจัดการให้มีส้มขายได้ตลอดทั้งปีในราคาที่น่าพอใจ

ในปัจจุบัน ตลาดต่างประเทศที่ส่งขายประจำ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีจำนวนรวมประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งหมด แล้วยังมีไม่เพียงพอกับตลาด จนทำให้ต้องไปหาส้มจากจังหวัดอื่นมาด้วย อย่าง ขาวน้ำผึ้ง ราคาส่งออกไปจีน ลูกละ 100-150 บาท ที่เป็นขนาดผลใหญ่ น้ำหนัก 1.5-2 กิโลกรัม ส่วนทองดี ราคาขายส่ง ผลละ 80-120 บาท อย่างไรก็ตาม ส้มที่ขายในพื้นที่คุณภาพ อาจลดลงมาตามราคา แต่เนื้อและรสชาติยังดีเช่นเดิม