ชาวบ้านนิยมปลูกขมิ้นแปลงใหญ่บนที่ราบเชิงเขา บางรายปลูกขมิ้น

แซมในสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจะไถพรวนเตรียมดิน โดยไถยกร่อง เก็บวัชพืชออกก่อน ขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 1 หน้าจอบ ระยะปลูกในระยะห่าง 30-40 เซนติเมตร โดยเริ่มปลูกขมิ้นประมาณช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม โดยทั่วไปต้นขมิ้นสามารถเติบโตได้ในสภาพดินทุกชนิด สำหรับมือใหม่ที่สนใจปลูกขมิ้น ควรปลูกในแหล่งดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง หากปลูกในดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ตัน ต่อไร่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินก่อนปลูก โดยทั่วไปพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกขมิ้นได้ประมาณ 10,000 กอ

ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ นิยมปลูกขมิ้นสายพันธุ์พื้นเมือง ปลูกโดยใช้แกนขมิ้นที่เรียกว่า “แม่หัวขมิ้น” อายุ 1 ปี เป็นแม่พันธุ์ ก่อนปลูกจะนำแม่หัวขมิ้นไปแช่ยากันรา ยาฆ่าเพลี้ย เพื่อป้องกันโรคหัวเน่าและกำจัดเพลี้ย หลังจากนั้น จะนำท่อนพันธุ์มาใส่ก้นหลุมแล้วกลบดินทับพอประมาณ ปลูกท่อนละหลุม โดยทั่วไป หากปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ ใช้หัวแม่ และใช้แง่ง หากปลูกด้วยหัวแม่จะให้ผลผลิตประมาณ 3,300 กิโลกรัม ต่อไร่ หากปลูกด้วยแง่ง จะให้ผลผลิตประมาณ 2,800 กิโลกรัม ต่อไร่

หลังการปลูกขมิ้นไปได้ 40-45 วัน เกษตรกรจะทำการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกโดยใช้จอบดายหญ้าและพรวนดินไปพร้อมกัน บริเวณโคนต้นจะใช้มือถอนวัชพืชแทน เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้ มีสภาพดินอุดมสมบูรณ์ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม ระยะแรกที่ปลูก ขมิ้นไม่เจอปัญหาโรคและแมลงรบกวน แต่ระยะหลังที่มีการปลูกขิงเพิ่มในท้องถิ่น ปรากฏว่าต้นขมิ้นเจอปัญหาโรคแง่งเน่า ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับพันธุ์ขิง จึงต้องคอยดูแลเป็นพิเศษมากขึ้น

หลังปลูกขมิ้นไปได้ 7-8 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วงฤดูหนาว ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่หัวขมิ้นแห้งสนิท สังเกตได้จากใบขมิ้นมีอาการใบเหี่ยวแห้ง โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้กอละ 1 กิโลกรัม หรือไร่ละ 2,500 กิโลกรัม หากขุดผลผลิตขึ้นมาไม่หมด สามารถเก็บไว้ขุดใหม่ได้ในปีถัดไป หลังเก็บเกี่ยว ให้รวบรวมผลผลิตไปล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ เพื่อล้างเศษดินออกให้หมด ก่อนทำการตัดแต่งขมิ้น เพื่อขายหัวสด และแบ่งบางส่วนนำมาแปรรูปเป็นขมิ้นผง เพราะให้ผลตอบแทนดีกว่าการขายหัวขมิ้นสด

การแปรรูปขมิ้นผง

หัวขมิ้นสด น้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม สามารถแปรรูปเป็นขมิ้นผงได้ 1 กิโลกรัม ขั้นตอนการแปรรูป เริ่มจากนำหัวขมิ้นอายุ 1 ปี มาล้างตัดแต่งทำความสะอาด ตากแดด 1 วันก่อนนำไปหั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดอีก 3-4 วัน จนขมิ้นแห้งกรอบ เก็บใส่ถุงมิดชิดก่อนจึงค่อยนำไปบดเป็นผง ร่อนจนได้ขมิ้นผงเนื้อละเอียด นำไปบรรจุหีบห่อหรือใส่แคปซูล เพื่อรอการจำหน่าย

ใครสนใจอยากเรียนรู้เรื่องการปลูกขมิ้นเชิงพาณิชย์ สามารถแวะเข้ามาเรียนรู้ได้ที่ชุมชนแห่งนี้ เพราะที่นี่เป็น “หมู่บ้านต้นแบบสมุนไพรแปรรูป” โดยเฉพาะการปลูกและแปรรูปขมิ้น หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ คุณปรีดา ทวีรส ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเขาตำหนอน โทร. (081) 476-7441

ขมิ้น พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

“ขมิ้น” เป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เพราะขมิ้นเป็นทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร คนไทยในพื้นที่ภาคใต้แทบทุกครัวเรือน นิยมใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบ เพิ่มรสชาติความอร่อยในเมนูอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ต้ม ทอด และเครื่องแกง

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ออกดอกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลือง มีชื่อท้องถิ่นเรียกแตกต่างกันไป เช่น ขมิ้นหัว ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ขมิ้น (ภาคกลาง) สำหรับภาคใต้เรียก ขี้มิ้น ทั้งนี้พบว่า ทั่วโลกมีขมิ้นชันคุณภาพดีมากกว่า 50 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นขมิ้นชันที่พบในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยสามารถปลูกขมิ้นได้ทั่วไปโดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ที่นิยมปลูกขมิ้นกันอย่างแพร่หลาย

ฤดูมะยงชิดมาถึงแล้ว (เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม) … คนรักผลไม้ต้องห้ามพลาด มาเลือกซื้อ เลือกชม และชิมมะยงชิด มะปรางหวาน ผลไม้ขึ้นชื่อ ของดีเมืองนครนายกกันได้ถึงแหล่งผลิต เก็บสดๆ จากสวนมาชิมกันได้ รสชาติถูกปาก ถูกใจ ค่อยควักกระเป๋าซื้อติดมือกลับบ้าน แค่เดินทางจากกรุงเทพฯ มาง่ายๆ วันเดียวก็เที่ยวได้หลายสวน

คุณปิยภัทร เจียรนัย หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ และ คุณถาวร ชูพูล หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก ได้กรุณาสละเวลาพาทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านไปเยี่ยมชม “สวนตาจรูญ” หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “สวนตายาย” แหล่งผลิตมะยงชิดเลื่องชื่อของจังหวัดนครนายก

“สวนตายาย” ของ ลุงจรูญ และ คุณป้าจริยา จวนเจริญ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โทรศัพท์ 086-139-6446 ที่นี่ปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน ประมาณ 300 ต้น มีผลผลิตเฉลี่ยปีละ 2 ตัน สวนตายายได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาช็อป ชม ชิม มะยงชิด มะปรางหวาน กระท้อนห่อ พันธุ์อีล่า และพันธุ์ปุยฝ้าย ที่ปลูกภายในสวนแห่งนี้ตลอดทั้งปี

เดิมทีลุงจรูญทำนาเป็นอาชีพหลักมาก่อน แต่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ในปี 2538 ทำให้นาข้าวเสียหายอย่างหนัก ต่อมาลุงจรูญได้เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างระบบการผลิตการเกษตร (คปร.) กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และสำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก ได้กู้เงิน ธ.ก.ส. จำนวน 130,000 บาท มาใช้ปรับพื้นที่นา 10 ไร่ เป็นพื้นที่สวน ปลูกไม้ผล เช่น มะยงชิด มะปรางหวาน แบบยกร่อง ปรากฏว่า อาชีพทำสวนถูกโฉลกกับลุงจรูญ สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทำให้ครอบครัวมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง จึงปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน เป็นรายได้หลักจนถึงทุกวันนี้

คุณปิยภัทร และ คุณถาวร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สวนตายาย เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่วางแผนใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม ประกอบด้วย พื้นที่อยู่อาศัย จำนวน 1 ไร่ พื้นที่ทำนา จำนวน 12 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ผลมะยงชิด จำนวน 9 ไร่ ที่เหลือ 10 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกกระท้อน และไม้ผลอื่นๆ เช่น มะม่วง มะพร้าว ส้มโอ ฯลฯ

ลุงจรูญ นับเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่มีผลงานโดดเด่นหลายด้าน เช่น การประดิษฐ์เครื่องห่อกระท้อนแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การขยายพันธุ์พืชประเภทมะยงชิด และกระท้อน การผลิตน้ำหมักชีวภาพและฮอร์โมนบำรุงพืช เลี้ยงปลาเบญจพรรณในร่องสวน ฯลฯ เนื่องจากสวนแห่งนี้อยู่ในเขตพื้นที่ชลประทาน จึงมีน้ำสำหรับใช้เพื่อทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

สวนตายาย ปลูกมะยงชิดแบบยกร่อง สามารถควบคุมความชื้นได้ดี โดยช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคม เมื่อถึงต้นฤดูหนาว ก็ระบายน้ำในร่องออกเพื่อให้ดินแห้งเร็ว ตัดหญ้ากำจัดวัชพืช ทำให้พื้นดินแห้งเมื่อกระทบกับอากาศหนาว มะยงชิดจะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น โดยทั่วไปตั้งแต่วันดอกบานจนถึงมะยงชิดผลสุกเก็บเกี่ยวได้ จะใช้เวลาปลูกดูแลประมาณ 75 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นเป็นหลัก

ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี หลังจากเปลี่ยนอาชีพการทำนา มาทำสวนเกษตรผสมผสาน ลุงจรูญตั้งใจทำสวน จนประสบความสำเร็จ ในเส้นทางอาชีพ สามารถพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้ตามที่ตลาดต้องการ และประสบความสำเร็จทางการตลาด แถมมีจิตสาธารณะแบ่งปันความรู้ด้านการเกษตรแก่ผู้สนใจแบบไม่หวงวิชา ทำให้ลุงจรูญได้รับการคัดเลือกให้เป็น เกษตรกรดีเด่นภาคตะวันออก และเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2552

โดยธรรมชาติแล้ว มะยงชิด เป็นไม้ผลที่มีอายุเก็บเกี่ยวยาวนาน 100 ปี ชอบอากาศเย็น ดินร่วนซุย น้ำพอดี มีแสงแดดส่องถึง หลังปลูก ต้องดูแลต้นมะยงชิดเป็นพิเศษในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้น คอยดูแลตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อรับแสงแดดอย่างเหมาะสม ดูแลให้ปุ๋ย ให้น้ำตามช่วงเวลา ต้นมะยงชิดก็จะเจริญเติบโต ผลิดอก ออกผลในช่วงฤดูเป็นประจำทุกปี

ในแต่ละปี สวนตายาย แบ่งการดูแลต้นมะยงชิดเป็น 3 ระยะ ระยะละ 4 เดือน ได้แก่ ระยะที่ 1 หลังช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณเดือนเมษายน-เดือนกรกฎาคม จะเร่งบำรุงต้นมะยงชิดให้สมบูรณ์ด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้วัว เสริมรากด้วยปุ๋ย สูตร 16-16-16 และปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพ

ระยะที่ 2 ช่วงต้นมะยงชิดสะสมอาหารก่อนออกดอก เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม-เดือนพฤศจิกายน ระยะเวลา 4 เดือน ต้องให้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 เสริมด้วยปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพจากไข่หอยเชอรี่ ฉีดให้ทางใบเพื่อเป็นฮอร์โมนให้พลังงานก่อนออกดอก

ระยะที่ 3 ช่วงติดดอกติดผล เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม เก็บผลผลิตขายหมด ใช้ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยคอก เสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 จะทำให้ได้มะยงชิดผลใหญ่ คุณภาพด

25 ปี อาชีพทำสวนมะยงชิด ประสบการณ์ตรงจากการทำสวนมะยงชิดมานานกว่า 25 ปี ทำให้ลุงจรูญเรียนรู้ว่า ช่วงเดือนตุลาคม หากอากาศเริ่มเปลี่ยน อุณหภูมิลดลงถึง 20-21 องศาเซลเซียส เมื่อไร อีกประมาณ 10-15 วัน อากาศเย็นหายไป เปลี่ยนเป็นอากาศอุ่น ต้นมะยงชิดจะเริ่มแทงช่อดอกออกมาทันที จังหวะนี้ต้องใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรฮอร์โมนฉีดพ่นเป็นอาหารเสริมทางใบ เพื่อบำรุงดอก เสริมด้วยปุ๋ยเกล็ดทางใบ สูตรตัวกลางสูงบ้าง ฉีดประมาณ 2 ครั้ง ระยะฉีด 7-10 วัน ต่อครั้ง เมื่อมะยงชิดเริ่มแทงช่อดอกออกมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร ต้องระวังแมลงปากดูดประเภทเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ไรแดง แมลงหวี่ขาว เข้ามาดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้ง ลุงจรูญใช้สารสะเดาฉีดพ่นแมลงศัตรูพืชเหล่านี้

ช่วงที่ต้นมะยงชิดแทงช่อดอก แบ่งการพัฒนาออกเป็น 6 ระยะ ได้แก่

แทงช่อติดเป็นเดือยไก่ ประมาณ 1-2 เซนติเมตร จังหวะนี้ หากอากาศหนาวกำลังดี ไม่หนาวจัดเกินไป ควรบำรุงฮอร์โมนเพื่อช่วยต้นมะยงชิดให้ผลผลิตที่ดี
ระยะเหยียดต้นหนู ช่อดอกจะเหยียดกางออก
ระยะแย้มบาน ดอกจะทยอยบานทั้งต้น ระยะนี้ห้ามฉีดยาใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้ต้นมะยงชิดได้ผสมเกสรอย่างเต็มที่
กลีบดอก จังหวะนี้ ควรฉีดยาไล่แมลงศัตรูพืช
กลีบดอกจะร่วง ให้ฉีดฮอร์โมนบำรุง
กลีบดอกร่วงหมด หากยังร่วงไม่หมด ต้องใช้น้ำฉีดให้กลีบดอกร่วง จากนั้นดอกจะพัฒนาเป็นผลผลิตที่สมบูรณ์พร้อมเก็บเกี่ยว
ช่วงที่ต้นมะยงชิดแทงช่อดอก ตั้งแต่ระยะ 1-6 จะใช้ระยะเวลาพัฒนาดอก 25 วัน จึงเริ่มติดผลขนาดเล็ก เกษตรกรควรบำรุงด้วยฮอร์โมนทางดิน ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ บำรุงน้ำให้เต็มที่ พอได้เวลา 35 วัน ผลที่ไม่สมบูรณ์จะร่วงหรือไม่ก็แห้งคาขั้ว เป็นช่วงทิ้งผลระยะแรก จากนั้นเรื่อยไปอีกเข้าสู่ 55 วัน ผลจะร่วงเป็นชุดที่สอง เป็นการทิ้งผลอีกครั้ง หากเจอผลร่วงมากๆ ถือเป็นธรรมชาติ เพราะต้นมะยงชิดจะเก็บลูกไว้เท่าที่พอมีกำลังเลี้ยงได้ ไม่ต้องตกใจ คอยบำรุงปุ๋ยให้น้ำเต็มที่ก็พอแล้ว เมื่อต้นมะยงชิดเติบโตสมบูรณ์ จะสลัดผลน้อยลง

หลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว ลุงจรูญจะตัดแต่งกิ่งภายในให้โปร่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ บำรุงต้นอย่างเต็มที่ โดยใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เสริมด้วยปุ๋ยขี้วัว เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อนสัก 3 ครั้ง ก่อนเข้าสู่ช่วงการเตรียมต้น ซึ่งตรงกับช่วงปลายฝนต้นหนาวพอดี มะยงชิดจะติดดอกในฤดูต่อไป

งานมะยงชิด มะปรางหวาน ของดีนครนายก

ปัจจุบัน “จังหวัดนครนายก” เป็นแหล่งปลูกมะยงชิดที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมะยงชิด-มะปรางหวาน ประมาณ 8,000 ไร่ มีผลผลิตแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 1,500-2,000 ตัน สร้างรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นมากกว่า 500 ล้านบาท ต่อปี มะยงชิดนครนายกมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ ผลใหญ่ รูปไข่ มีสีเหลืองส้ม เนื้อแน่น กรอบ มีกลิ่นหอม เมล็ดลีบสีน้ำตาลอ่อน รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีค่าความหวาน 18-22 องศาบิกซ์ จึงได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งผลิตสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ชมรมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก ร่วมกับจังหวัดนครนายก โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก จัด “งานมะยงชิด มะปรางหวาน ของดีนครนายก” ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตมะยงชิด มะปรางหวานคุณภาพ รสชาติอร่อย ให้เป็นที่รู้จัก ทั้งส่งเสริมการตลาดเพื่อสร้างอาชีพและรายได้สู่ท้องถิ่น ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ ชมการประกวดมะยงชิด มะปรางหวาน มะปรางยักษ์ กิ่งพันธุ์คุณภาพ การประกวดธิดามะปรางหวาน เลือกซื้อมะยงชิด มะปรางหวาน และกิ่งพันธุ์คุณภาพจากชาวสวนโดยตรง เลือกซื้อของดี สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดนครนายก

ผู้สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมชาวสวนมะปรางจังหวัดนครนายก คุณประวิทย์ แขนงาม กรรมการกลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกมะนาวบ้านยอด ตำบลยอด อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบันผลผลิตมะนาวตาฮิติของบ้านยอดที่ส่งไปขายยัง บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด มีปริมาณเกินความต้องการ จึงได้เริ่มทดลองแปรรูปมะนาว เนื่องจากทางกลุ่มเพิ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการไทยนิยมยั่งยืนของรัฐบาลมาจัดซื้อเครื่องอบจำนวน 2 เครื่อง

ปัจจุบัน กำลังฝึกให้สมาชิกทดลองทำมะนาวอบแห้งอยู่ หากสามารถทำได้ดี จะประสานกับทางสยามแม็คโครให้รับซื้อมะนาวอบแห้งอีกรายการหนึ่ง ส่วนมะนาวที่เหลือจากการส่งขายสยามแม็คโครและแปรรูปแล้ว ทางกลุ่มก็จะขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อที่โรงคัดมะนาวเท่านั้น โดยจะไม่อนุญาตให้สมาชิกขายให้พ่อค้าคนกลางโดยตรง หากใครไม่ปฏิบัติตามกฎกติกา จะถูกตัดออกจากสมาชิก ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจผู้ปลูกมะนาวบ้านยอดเกิดความยั่งยืน

“ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มมีความต้องการที่อยากจะหาแหล่งศึกษาดูงาน ต้องการหาตลาดเพิ่ม และอยากให้มีวิทยากรเก่งๆ เข้ามาช่วยแนะนำการแปรรูปมะนาว เป็นมะนาวดอง มะนาวแช่อิ่ม น้ำมะนาวขวด เพราะพวกเราต้องการต่อยอด เนื่องจากในพื้นที่มีมะนาวเยอะอยู่แล้ว มะนาวเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้คนที่นี่ได้มาก เมื่อก่อนตอนยังไม่มีการรวมกลุ่มกัน ผมปลูกข้าวโพด ต้นทุนเยอะ เกือบ 30,000 บาท ปีหนึ่งขายดีสุดได้ กิโลกรัมละ 8.50 บาท ขายได้ 50,000 บาท เหลือเงินเก็บแค่ 20,000 บาท เมื่อมีการทำระบบน้ำ และให้องค์ความรู้การทำเกษตรผสมผสาน ทำให้เหลือเงินเก็บปีละ 30,000-40,000 บาท โดยเฉพาะปีนี้ได้รายได้จากมะนาวอย่างเดียวก็ 30,000 บาท การตั้งเป็นกลุ่ม ทำให้มีตลาดแน่นอน ขายได้ราคาดี ทุกคนมีหุ้น มีเงินปันผล มีเงินเก็บ” คุณประวิทย์ กล่าว

ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับดินฟ้าอากาศรวมทั้งเรื่องน้ำ ระบุว่า ปีนี้ไทยจะประสบภัยแล้งมากที่สุดในรอบ 40 ปี…บ้านเรา ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งต้องพึ่งพาน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ หากน้ำไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม

ในฐานะที่ใกล้ชิดกับเกษตรกรทุกตำบล หมู่บ้าน กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีแนวทางแก้ไขภัยแล้งที่น่าสนใจไม่น้อย คุณทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มาบอกเล่าสถานการณ์ รวมทั้งแนะนำการผลิตสินค้าเกษตรในช่วงฤดูแล้งนี้

สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ ปริมาณน้ำมีน้อย น้ำต้นทุนมีน้อย โดยเฉพาะปริมาณน้ำในเขื่อน ซึ่งมีน้อยเพราะเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอ มีการวางแผนในลักษณะที่จะต้องใช้น้ำประหยัด ใช้น้ำอย่างมีคุณค่า อย่างมีคุณภาพมากที่สุด ได้กำหนดเป้าหมายว่าในการส่งเสริมปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำเยอะๆ ต้องลดลง โดยเฉพาะเรื่องการทำนารอบที่ 2 หรือการทำนาปรัง เพราะการทำนาปรังของประเทศไทยโดยปกติแล้วจะไม่ต่ำกว่า 12-13 ล้านไร่ แต่ในปีนี้เรามากำหนดในพื้นที่เป้าหมายในเขตชลประทาน กำหนดเป้าหมายนอกเขตชลประทาน

ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำที่พอปลูกได้กำหนดที่ 4.5 ล้านไร่ แต่ว่าสถานการณ์ตอนนี้พื้นที่ปลูกก็ปรากฏว่า ข้าวนาปรังนั้นมีอยู่ 4.7 ล้านไร่ ก็เกินเป้าหมายไป 2 แสนกว่าไร่ แต่ในข้อเท็จจริงหมายความว่า ถ้าเทียบดูแล้วทางพื้นที่โดยเฉพาะเกษตรตำบล เกษตรอำเภอ ก็ไปขอความร่วมมือสร้างการรับรู้สร้างความเข้าใจให้พี่น้องเกษตรกรว่าสถานการณ์เป็นแบบนี้ ก็ขอความร่วมมือให้งดการทำนาปรัง ลดพื้นที่นาปรังลง ไม่ให้มีการปลูกแล้วก็ให้หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย จากเดิมที่เคยปลูก 13 ล้านไร่ ลดลงมาเหลือแค่ 4.7 ล้านไร่

สถานการณ์ตอนนี้สอดคล้องกันอยู่ 2-3 ประเด็น คือ 1. ประเด็นสถานการณ์น้ำ น้ำนั้นน้อยกว่าทุกๆ รอบ แต่ว่าทุกครั้งที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีน้อยแต่ก็พอที่จะดึงน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ เลยต้องขอความร่วมมือ แต่ว่าปีนี้สถานการณ์น้ำต้นทุนเรามีน้อย ส่วนในประเด็นที่ 2 เรื่องสถานการณ์ที่ให้ความรู้ให้ข้อมูล หันไปปลูกพืชที่มีผลตอบแทนที่สูงกว่ามากกว่าแต่ใช้น้ำน้อยกว่าหรือไปทำกิจกรรมการเกษตรที่มันเพิ่มมูลค่ามากกว่าการทำนา อาจจะไปทำมูลค่าการแปรรูปหรือปลูกพืชที่ใช้ความชื้นในดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว

พืชที่ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้แนวทางเป็นหลักคือ 1. เป็นพืชที่ใช้ในน้ำน้อย 2. เป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า เช่น การปลูกข้าวนาปรังก็รณรงค์ส่งเสริมไม่ให้ปลูกข้าวนาปรังแล้วหันมาปลูกพืชอย่างอื่นที่เพิ่มมูลค่ามากกว่า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พวกนี้จะใช้น้ำน้อยหรือพืชตระกูลถั่วซึ่งใช้น้ำน้อยกว่าข้าวเยอะ ก็เลยให้ปลูกพวกถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือถั่วลิสง ที่มันเป็นพืชตระกูลถั่วแล้วพืชเหล่านี้ให้ผลตอบแทนให้ราคาให้มูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูง เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ถ้าเทียบแล้วก็จะให้ผลตอบแทนที่เป็นรายได้หรือมากกว่าการทำนาถึงไร่ละ 4-5 พันบาท

การวางแผนก็มีอยู่ในทุกภาค ทุกจังหวัด ที่ทำได้ผลดีในลักษณะแบบนี้ก็จะมีภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก รวมทั้งภาคใต้ เพราะฉะนั้น แนวทางในการพัฒนาการส่งเสริมก็จะเน้นให้มีการทำเกษตรในลักษณะที่มีผลตอบแทนสูงกว่า ให้สอดรับกับสถานการณ์น้ำที่ค่อนข้างจำกัด

ตอนนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เว็บบอลออนไลน์ ท่านปลัดกระทรวง ท่านอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร คุณเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ก็ให้แนวทางหลักในการเข้าไปให้ความเข้าใจกับเกษตรกร ก็จัดชุดลงไปเหมือนเอกซเรย์ ในสถานการณ์แบบนี้มีการเตรียมความพร้อมในแล้งนี้ ถ้าสมมุติว่าถ้าพี่น้องจะปลูกก็ให้ปลูกพืชที่กรมวางเป้าไว้ก็คือ พืชที่ใช้น้ำน้อยที่สุด ให้ผลตอบแทนที่ดีสุด หรือถ้าปลูกไปแล้วจะต้องไม่ได้รับความเสียหายก็ต้องแนะนำ…ให้ข้อมูลข่าวสารสร้างการรับรู้ในทุกพื้นที่เพื่อไม่ให้เขาตระหนกในเรื่องของผลกระทบ ในขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งทีมไม่ว่าจะเป็นในทีมหมู่บ้าน ทีมเกษตรตำบล ทีมอำเภอ ประสานกับท่านนายอำเภอในระดับจังหวัดก็จะมีการประสานกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในการที่จะวางมาตรการในการแก้ปัญหาเร่งด่วน รวมทั้งประสานความร่วมมือกับกรมชลประทาน ทางกรมพัฒนาที่ดินด้วย ถ้าเจอสถานการณ์ที่มันเกิดผลกระทบจะต้องวางแผนร่วมกันและก็สามารถหาน้ำดึงน้ำหรือมาวางแผนให้ทันท่วงที

นวัตกรรม…ช่วยให้ใช้น้ำมีประสิทธิภาพ

ในช่วงระยะยาวก็มีการวางแผนในเรื่องของดึงน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดและทำสถานที่หรือทำชลประทานทำแหล่งน้ำตั้งแต่ระดับเล็กๆ ไปจนถึงขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ในการที่จะปรับปรุงแหล่งน้ำ เตรียมน้ำไว้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่ต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ดึงน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งก็เป็นนโยบายที่จะต้องใช้นวัตกรรมใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตรแล้วก็ดึงทรัพยากรทางธรรมชาติขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในขณะเดียวกัน พวกเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่จะต้องใช้น้ำให้ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ทำการเกษตรในลักษณะแม่นยำก็จะถูกดึงขึ้นให้มาปรับใช้ ไม่ให้ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย เช่น น้ำในระบบท่อ น้ำระบบหยด หรือน้ำในที่มีการควบคุมให้เกิดมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็จะถูกวางแผนใช้ในการเกษตรมากที่สุดก็จะเป็นแผนระยะยาว ซึ่งมันก็จะไปสอดรับกันทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการส่งเสริมการเกษตรในระยะยาวเหมือนกัน การนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าให้พี่น้องเกษตรกรให้เขาได้มีรายได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น