ชาวบ้านภาคใต้นิยมมีผ้าขาวม้าไว้ประจำตัวสำหรับใช้งานอเนก

ประสงค์ทั้งเป็นผ้าห่มและผ้าห้อยไหล่ ทำให้ “ผ้าขาวม้าลายราชวัตร” ของชุมชนแห่งนี้ขายดีตลอดทั้งปี ผ้าขาวม้าลายราชวัตรของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใครเพราะเป็นผ้าฝ้ายทอมือที่มีขนาดใหญ่กว่าผ้าขาวม้าทั่วไป ส่วนกลางผืนจะทอสลับสีเป็นลายราชวัตรที่ละเอียดประณีต มีลายยกสลับเป็นเชิงคั่นก่อนถึงชายหรือเชิงผ้าซึ่งทอเป็นริ้ว ขอบริมผ้ามีสีแดง

ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรี นับเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตรัง เพราะเป็นของขวัญของฝากที่มีชื่อเสียงของตรัง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าโอท็อป 5 ดาว ของจังหวัด ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

กรมหม่อนไหมรักษาต่อยอด
“ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี”

กรมหม่อนไหมเดินหน้าสืบสาน รักษา ต่อยอด “ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี” เมืองตรังอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน เร่งปั้นเด็กรุ่นใหม่เป็น “ทายาท” เพื่อสืบทอดการทอผ้านาหมื่นศรี ในปี 2562 เร่งตรวจสอบรับรองยกระดับมาตรฐานเป็นตรานกยูงพระราชทาน หวังผลักดันให้เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

คุณศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ปัจจุบันผ้าทอนาหมื่นศรีมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านมาตรฐานในตลาดอย่างกว้างขวางและเป็นผ้าทอที่มีการอนุรักษ์สืบทอดลวดลายผ้ามาตั้งแต่โบราณกว่า 400 ปีอยู่อย่างยาวนานและยั่งยืน ปัจจุบันผ้าทอนาหมื่นศรีได้มีการอนุรักษ์ พัฒนาและยกระดับคุณภาพ จนได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทาน) 2 ประเภท คือ ตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน (Thai Silk) ประเภทผ้าถุง ชนิดผ้ายก ประเภทลายประยุกต์ และตรานกยูงพระราชทานสีเขียว (Thai Silk Blend) ประเภทผ้าคลุมไหล่ ชนิดผ้า ผ้ายก ประเภทลาย ลายประยุกต์ ชื่อลาย แก้วชิงดวง นอกจากนี้ กลุ่มยังอยู่ระหว่างการขอรับการรับรองตรานกยูงพระราชทานสีเงิน (Classic Thai Silk)

กรมหม่อนไหมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการให้การรับรอง ตรานกยูงพระราชทาน ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทยให้เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ซึ่งเรียกว่า “ตรานกยูงพระราชทาน” พระราชทานให้เป็นสัญลักษณ์รับรองคุณภาพผ้าไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ในปี 2562 นี้กรมหม่อนไหมมีแผนที่จะส่งเสริมให้มีการผลิตผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวางขึ้นเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด และสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์และคุ้มครองไหมไทยไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

ปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้ส่งเสริมการใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทานให้แพร่หลายทั่วโลกโดยได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานในต่างประเทศอีก 35 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จำนวน 27 ประเทศ จีน นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง รวมทั้งส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ้าไหมไทยตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมของเกษตรกรให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง

คุณศิริพร กล่าวถึงแผนส่งเสริมการตลาดและจำหน่ายผ้าทอนาหมื่นศรีด้วยว่า นอกจากมีตลาดหลักในชุมชนแล้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้านาหมื่นศรีได้มีการทำสัญญาซื้อขายกับบริษัท FILA เพื่อเปิดไอเดีย เพิ่มความแปลกใหม่ของดีไซน์ในรูปแบบความเป็นไทย ด้วยผ้าขาวม้าไทย ฝีมือคนไทย ชาวจังหวัดตรัง จากชุมชนผ้านาหมื่นศรี FILA มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยสร้างอาชีพและพัฒนาชุมชนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทยและด้วยความที่ FILA เป็นแบรนด์แฟชั่นจึงเล็งเห็นความสำคัญของ “ผ้าไทย” และอยากร่วมอนุรักษ์การทอผ้าด้วยกี่ต่อไปร่วมสนับสนุนความเป็นไทยให้ไปไกลระดับโลก ซึ่งมีสถานที่จำหน่าย อาทิ ซุปเปอร์สปอร์ต เซ็นทรัลลาดพร้าว เซ็นทรัลพระราม 9 เซ็นทรัลพัทยาบีช เซ็นทรัลภูเก็ตเฟติวัล เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลชิดลม และ Supersports Online ทั้งนี้ บริษัท FILA สั่งทอผ้าลวดลายดังกล่าว จำนวน 3,000 หลา เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อีกด้วย

นอกจากนี้ กรมหม่อนไหมได้มอบหมายให้สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 5 จังหวัดชุมพรขับเคลื่อนโครงการสร้างทายาทหม่อนไหมให้แก่ลูกหลานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีและเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในการทอผ้า เพื่อสร้างคนรุ่นให้เป็นทายาทในการทอผ้านาหมื่นศรี ซึ่งปัจจุบันมีเด็กรุ่นใหม่ที่ทอผ้า อยู่จำนวน 18 ราย จะทอผ้าพื้นผ้าขาวม้า และผ้ายกดอก ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีรายได้จากการทอผ้าเฉลี่ยรายละ 2,500-3,000 บาท

นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลในการเข้ามาร่วมปรับปรุงอาคารสถานที่ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ อาคารจัดแสดง พิพิธภัณฑ์ผ้าซึ่งแสดงความเป็นมาของผ้านาหมื่นศรี การบริหารจัดการสินค้า และการประชาสัมพันธ์สินค้าของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีให้มีความเข้มแข็งด้านตลาดอีกด้วย

สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาด้านหม่อนไหมในพื้นที่จังหวัดตรังนั้น นอกจากกรมหม่อนไหมมีแผนในการส่งเสริม พัฒนาและอนุรักษ์และสืบทอดผ้าทอโบราณนาหมื่นศรีแล้ว ปัจจุบันยังได้ส่งเสริมอาชีพการเกษตรการปลูกมัลเบอร์รี่ให้แก่เกษตรกรบ้านนาเมร่ ตำบลนาโยงเหนือ และพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย

ปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีมีสมาชิกจำนวน 25 คน ถือเป็นเกษตรกรกลุ่มแรก และยังเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรังที่ได้ปลูกหม่อนผลสดหรือมัลเบอร์รี่มาปลูกในพื้นที่มีปริมาณผลผลิตประมาณ 1,350 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี จำหน่ายในกิโลกรัมละ 150 บาท ทำให้กลุ่มมีรายได้สุทธิต่อปีจากการขายผลสดอยู่ที่ 142,800 บาท ต่อปี

นอกจากนี้ วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรียังได้มีการวางแผนการจัดการภายในแปลงตามหลักวิชาการและได้รับรองมาตรฐาน GAP และกลุ่มยังใช้วิธีการดูแลแบบธรรมชาติเพื่อให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพดี และปลอดสารพิษ 100% และได้นำผลผลิตมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาทิ มัลเบอร์รี่พร้อมดื่ม แยมมัลเบอร์รี่ ข้าวเกรียบมัลเบอร์รี่ มัลเบอร์รี่กวน สบู่มัลเบอร์รี่ และมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามและมีมาตรฐาน

ขณะเดียวกัน วิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีมีการตอนกิ่งจำหน่ายเป็นรายได้เสริม และกำลังดำเนินการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผ่านมาตรฐาน อย. และ มาตรฐานฮาลาลและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรักสุขภาพที่ต้องการประโยชน์ด้านการบำรุงสมองและร่างกาย ส่งผลให้สินค้าหม่อนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีแหล่งจำหน่ายที่กลุ่ม การจำหน่ายในโรงพยาบาลและโรงเรียน เป็นหลัก

8 มิถุนายน 2562 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการทดสอบเทคโนโลยี 5G กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ 40 หน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายพัฒนาและสนับสนุนการทดสอบเทคโนโลยี 5G ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี

ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะมุ่งเน้นการทดสอบการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G (5G Use Cases) และการพัฒนาศูนย์การทดสอบเทคโนโลยี 5G บนพื้นที่ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่พร้อมรองรับการลงทุนด้าน ดิจิทัล ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันบนหลักการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ผลักดันให้เกิดการทดสอบการใช้งานบนสัญญาณ 5G ทั้ง แบบ indoor และ outdoor ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ทางด้าน ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการจิสด้า กล่าวเพิ่มเติมว่า จิสด้าในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศ ประสานและเชื่อมโยง ให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานนั้นได้นำเอาระบบดาวเทียมระบุตำแหน่งรายละเอียดสูง (GNSS) และเทคโนโลยี 5 g เข้าร่วมทดสอบการใช้งานให้รองรับภาคการเกษตร ภาคธุรกิจและคมนาคมขนส่ง ในพื้นที่ EEC เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพ การพัฒนาสังคมดิจิทัลคู่ขนานกับนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง

ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะ กลุ่ม startup เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่กับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง บนฐานการดำเนินงานตามภารกิจของจิสด้า เหมือนที่ผ่านมา เช่น การ ส่งเสริมและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ การประดิษฐ์เครื่องจักรกลต้นแบบทางการเกษตร การพัฒนา แอพพลิเคชั่น ประยุกต์ใช้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็นฐานการพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศได้ต่อไป

เมื่อระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2562 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดสัมมนาผู้นำสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระยะเริ่มต้น พัฒนา ก้าวหน้า ณ โรงแรมวีวิช จังหวัดขอนแก่น มุ่งผลักดันสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสาน สู่บทบาทผู้ค้ายางก้อนถ้วยที่ผลิตยางดี มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต ย้ำ โรงงาน-ตลาดกลางยางฯ ของ กยท. พร้อมรับซื้อวัตถุดิบยางในราคาที่เหมาะสมชี้นำตลาด

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า แนวทางการรักษาเสถียรภาพราคายางอีกหนึ่งแนวทาง คือการควบคุมปริมาณผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเกษตรกรต้องผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อ และต้องรวมกลุ่มขายยางเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในตลาด จะทำให้เกษตรกรขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น ทั้งนี้ กยท. โดยกองจัดการโรงงาน 5 และตลาดกลางยางพารา จังหวัดหนองคาย จะรับซื้อยางก้อนถ้วยและเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างบริษัทเอกชนแปรรูปยางกับเกษตรกรชาวสวนยาง

“กยท. เองก็จะรับซื้อยางในราคาที่เหมาะสมชี้นำตลาด และพร้อมให้การสนับสนุนเงินแก่สถาบันเกษตรกร สำหรับนำไปปรับปรุงการผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพยางให้ดีขึ้น เช่น การขอเงินสนับสนุนเพื่อนำไปซื้อเครื่องจักรแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางเครป ซึ่งสามารถนำมาขายให้โรงงานของ กยท. แปรรูปเป็นยางแท่ง STR20 ต่อไป”

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในงานสัมมนาครั้งนี้ กยท.ได้ลงนามความร่วมมือกับผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 4 สถาบัน ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางน้ำยืน จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางศรีอุบล จำกัด สหกรณ์กองทุนสวนยางแคนดง จำกัด และสหกรณ์บุญทันยางพาราการเกษตร จำกัด เพื่อเป็นช่องทางในการซื้อขายผลผลิตยางของสถาบันเกษตรกรฯ ผ่านตลาดยางพาราและโรงงานรับซื้อยางของ กยท. ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยใช้กลไกตลาด นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางในการพบปะ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิต ผลิตภัณฑ์ยาง สร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับมาตรฐานคุณภาพให้ตรงตามความต้องการของตลาด

กยท. ได้วางแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางลดต้นทุนการผลิต โดยการปลูกยางในพื้นที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ลดพื้นที่ปลูกยางด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นทดแทน เป้าหมายปีละ 400,000 ไร่ สำรวจพันธุ์ยางดีและนำมาปลูกทดแทนพันธุ์ยางเก่า เพื่อให้ได้น้ำยางที่มีคุณภาพ รวมถึงการจัดการภายในสวนยางที่ถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกวิธี ลดการใช้สารเคมีและสารกำจัดวัชพืช ตลอดจนดูแลสภาพแวดล้อมในสวนยาง นายเยี่ยม กล่าวทิ้งท้าย

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ กยท. ให้ความรู้แก่สถาบันเกษตรกรในเรื่องการบริหารจัดการสวนยาง การผลิต และการจัดจำหน่ายจนถึงกระบวนการขนส่ง โดยเน้นการผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ตลอดจนสร้างความเข้าใจการดำเนินงานด้านธุรกิจของ กยท. และแผนธุรกิจ Long term contract ของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่ทำร่วมกับหน่วยธุรกิจ (BU) ซึ่ง กยท. คาดหวังให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรฯ ต่อไป

เมื่อเร็วๆนี้ ฯพณฯ นายอูก ซอร์พวน (Mr. Ouk Sorphorn) เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เดินทางมาพบปะและให้กำลังใจแรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานในโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ครบวงจร จังหวัดนครราชสีมา ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มั่นใจแรงงานทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเสมอภาคตามมาตรฐานแรงงานสากล

ฯพณฯ ซอร์พวน กล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับประชาชนกัมพูชาที่ทำงานในต่างประเทศมาก เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมจากการจ้างงาน มีการจัดการและบริหารแรงงานตามมาตรฐานแรงงานสากล ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดี ไม่มีการเลือกปฏิบัติ

“วันนี้ ได้พบปะพี่น้องแรงงานกัมพูชาที่โรงงานของซีพีเอฟ แล้ว รู้สึกดีใจและมั่นใจที่ได้เห็นพวกเราทุกคนได้รับการปฏิบัติและดูแลอย่างดี เป็นธรรมและเท่าเทียมกันตามกฎหมายแรงงานไทยและมาตรฐานสากล ซึ่งสถานทูตฯ จะส่งต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและความสุขในการทำงานระหว่างที่พักพิงในประเทศไทยไปยังครอบครัวของแรงงานได้รับทราบ ขอขอบคุณที่ซีพีเอฟดูแลชาวกัมพูชาอย่างอบอุ่น เปรียบเหมือนเป็นบ้านที่สองของพี่น้องชาวกัมพูชา” เอกอัครราชทูตฯซอร์พวน กล่าว

เอกอัครราชทูตฯ ซอร์พวน กล่าวย้ำว่า ชาวกัมพูชาที่ทำงานในต่างประเทศ มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของกัมพูชาและอาเซียน รวมถึงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของครอบครัวชาวกัมพูชาให้ดีขึ้น สถานทูตอยากเห็นความร่วมมือของทุกฝ่ายและภาคเอกชนไทยที่เป็นนายจ้างช่วยกันดูแลชาวกัมพูชาที่ทำงานและอาศัยอยู่ในเมืองไทยได้อย่างมีความสุข

ด้าน ว่าที่ร้อยตรี นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า แรงงานต่างชาติมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยสู่การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน และขอชื่นชมซีพีเอฟ ที่ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ดูแลแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทยและสากล

นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ ช่วยสร้างกำลังใจที่ดีต่อชาวกัมพูชาที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับครอบครัวของแรงงานทุกคนว่าได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านแรงงานและหลักสิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) และนโยบายด้านการจ้างแรงงานของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานทุกคนในห่วงโซ่การผลิตของซีพีเอฟ ปราศจากการใช้แรงงานบังคับและแรงงานผิดกฎหมายทุกรูปแบบ ทั้งยังได้รับการพัฒนาทักษะเพิ่มขีดความสามารถและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Rights Promotion Network: LPN) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานต่างชาติในประเทศไทย จัดตั้งศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน “ศูนย์ Labour Voices Hotline by LPN” ให้เป็นองค์กรกลางในการให้คำปรึกษา รับข้อร้องเรียนและความช่วยเหลือแรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงาน รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กฎหมายแรงงานไทย สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่แรงงาน

นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ยังได้ร่วมมือกับ ซีพีเอฟ ในการทวนสอบย้อนกลับกระบวนการจัดหาแรงงานตั้งแต่ประเทศต้นทางจนถึงประเทศปลายทาง เพื่อตอกย้ำความโปร่งใสด้านการจัดหาแรงงานของบริษัทฯดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ ปราศจากแรงงานบังคับ แรงงานทาส และการจัดจ้างที่ผิดกฎหมายทุกรูปแบบ 100%

ปัจจุบัน ซีพีเอฟมีการจัดจ้างแรงงานชาวกัมพูชา 5,800 คน ชาวเมียนมา 3,500 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ของพนักงานระดับแรงงาน โดยที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่นครราชสีมา มีการจ้างแรงงานกัมพูชาจำนวน 2,900 คน ซึ่งทุกคนเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ ตามนโยบายการจัดจ้างแรงงานโดยตรง ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายและนโยบายการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยของบริษัทฯ รวมถึงมีโอกาสเติบโตในสายงานตามความสามารถโดยไม่เลือกปฏิบัติ

ปัจจุบัน อาหารเสริมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก ซึ่ง กระเทียม เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมสูง เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบของตำรายาไทย เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ช่วยต้านจุลชีพ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมัน ลดการอักเสบ ฯลฯ

ดังนั้น ศาสตราจารย์ ดร. นงนุช เหมืองสิน ดร. อุฬาริกา ลือสกุล และ ดร. ศักดิ์ชัย หลักสี แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดที่จะสกัดและถนอมปริมาณสารสำคัญในกระเทียม เพื่อนำมาเป็นอาหารเสริม เรียกว่า “การ์ลิคอัพ” ที่มีลักษณะเด่นคือ กระเทียมไร้กลิ่น ที่มีปริมาณอัลลิอินสูง กรณีกระเทียมมีกลิ่นลดลงจากการยับยั้งการทำงานเอนไซม์อัลลิอิน ด้วยกระบวนการทรีตเม้นท์และได้ปริมาณสารอัลลิอินที่มีปริมาณสูง พบว่ามีปริมาณอัลลิอินเท่ากับ 8-10 mg/g ประโยชน์ของสารอัลลิอินในกระเทียมจะให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี รวมถึงยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ อัลลิอิน ยังถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วกว่าอัลลิซินที่มักพบในผลิตภัณฑ์กระเทียมตามท้องตลาด หลังจากอัลลิอินถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและไปออกฤทธิ์แล้ว อัลลิอินจะถูกขับออกจากร่างกายเร็วกว่าอัลลิซิน

ที่ผ่านมาผลงาน “การ์ลิคอัพ” ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ จากงาน 2017 Taipei Int’L Invention Show & Technomart ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน และได้รับรางวัลพิเศษ งานเวที Korea Invention promotion Association นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2562 รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เนื่องจาก กระเทียม เป็นอาหารเสริมสมุนไพรไทยที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ผลงาน “การ์ลิคอัพ” ทำให้ผู้บริโภคที่ไม่ชอบกินกระเทียม สามารถกินกระเทียมได้ง่ายขึ้น เป็นที่นิยมของคนไทยและต่างชาติ ทั้งนี้ ผู้สนใจผลงาน “การ์ลิคอัพ” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 02-218-4195-7 ต่อ 109

วันนี้ ได้รับเชิญจาก คุณชาวิช จันทร์เกษ ประธานสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนครร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเกษตรเพื่ออาหารและการท่องเที่ยว โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ young smart farmer เป็นแกนนำเนื่องจากเป็นคนหนุ่มไฟแรงมีแนวความคิดหัวก้าวหน้าทันต่อโลกในสถานการปัจจุบัน ให้มาร่วมงานเปิด สถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ที่ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือกลุ่มผสมผสานและเทคโนโลยี กลุ่ม Young Smart Farmer สกลนคร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นของ คุณสิทธิ์ศักดิ์ พุ้ยมอม อยู่ที่บ้านดอนเชียงบาน หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

อาศัยติดรถร่วมกับ ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิชัย บุระเนตร รักษาการสหกรณ์จังหวัดสกลนคร มารับ และออกจากตัวเมืองสกลนคร มุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือราว 30 กม. ผ่านทางเข้า เข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเลยไปอีกราว 3 กม. ก็ถึงบ้านดอนเชียงบาน เป็นสามแยก ไปทางอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เลี้ยวซ้ายไปตามถนนดอนเชียงบาน-นาหว้า ราว 2 กม. ก็จะพบกับพื้นที่ของการเปิดงาน “สถาบันพัฒนาเกษตรกร”

วันนี้ทราบจากคณะมาร่วมเดินทางว่า ได้มีการเชิญกลุ่มเครือข่าย ตลอดจนผู้ที่ต้องการศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม มาร่วมฟังด้วย โดยมี พล.อ. วิบูลย์พงษ์ กลั่นเสนาะ ผู้บริหารโรงแรมอิมพิเรียล เข้าเชื่อมโยงด้านการตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ผอ.อดิศร เชื้อไทย ตัวแทนเกษตรจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีเปิดสถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) ว่าที่ ร.ต. ประสิทธิชัย บุระเนตร รักษาการสหกรณ์จังหวัดสกลนครร่วมพิธีเปิดสถาบันเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ผอ.สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประธานเปิดสถาบันพัฒนาเกษตรกร (มหาวิทยาลัยชาวนาสกลนคร) เข้าร่วมเป็นวิทยากรและให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมด้วย

ก่อนที่จะมาเป็น มหาวิทยาลัยชาวนา

คุณสิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม อายุ 43 ปี อยู่ที่ 282 หมู่ที่ 3 บ้านดอนเชียงบาน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เล่าว่า หลังจากเข้าเรียนและได้รับประกาศนียบัตรบุณฑิตวิชาชีพครูก็ไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แขนงเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม แล้วออกมาหาประสบการณ์ชีวิต

ประวัติการทำงานในบริษัทอุตสาหกรรม ปี 2528-2539 อยู่บริษัท เกษตรรุ่งเรือง ปี 2539-2540 บริษัท ซับไมครอน จำกัด มหาชน ปี 2540-2553 บริษัท ฮานาเซมิคอนดักเตอร์ จำกัด (มหาชน) ปี 2553-2557 บริษัท ฟาบริเนท จำกัด (มหาชน)

ปี 2557จนถึงปัจจุบัน ได้หันกลับมาทำการเกษตร โดยการพัฒนาในแนวคิดที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนา เป็นโครงการวิศวกรรมการเกษตร สกลนคร ทำการเกษตรในพื้นที่ 12 ไร่ ซึ่งที่ดินดังกล่าวคุณแม่ทิ้งไว้ให้ แบ่งเป็น 2 เฟส…เฟส 1 ทำการปลูกป่าแบบผสมผสาน ระหว่างต้นไม้ยืนต้น และพืชผักผลไม้ เฟส 2 ทำการเกษตรปลูกกล้วยน้ำว้า ผสมผสาน ข่า ตะไคร้ และพืชผักสวนครัว

คุณสิทธิศักดิ์ บอกว่า อันนี้คงมาจาก ได้มองเห็นครอบครัว ชีวิตเกษตรกรในชุมชนของตนเองและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนที่เคยไปเยี่ยมชมมาหลายสถานที่ที่ทำการเกษตรมีความยากลำบาก ในเรื่องของการจัดการระบบการให้น้ำ ระบบการจัดการเรื่องบำรุงดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร ที่ผ่านมาคนในชุมชนส่วนใหญ่ให้น้ำต้นไม้ใช้สายยางรดน้ำต้นไม้และให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการบำรุงต้นพืช เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป

จึงเป็นมูลเหตุทำให้ตัดสินใจอยากนำความสามารถและความรู้ที่ตัวเองมีอยู่นำมาประดิษฐ์และพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทำการเกษตร ให้เข้าถึงและใช้งานง่าย สิ่งสำคัญของเกษตรกร