ชาวยางตลาดผุดอาชีพใหม่หน้าแล้ง บดต้นมันสำปะหลัง

โกยเงินเดือนละ 3 หมื่น วันที่ 27 เมษายน 2560 จากการติดตามบรรยากาศการประกอบอาชีพในช่วงฤดูแล้ง ของชาวบ้านในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ พบว่าที่บ้านคำเจริญ หมู่ 9 ต.เว่อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ได้มีหลายครอบครัวประกอบอาชีพบดลำต้นและใบมันสำปะหลัง เพื่อส่งขายให้กับฟาร์มเลี้ยงวัว มองเห็นอนาคตที่สดใส ก่อนที่จะรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน

นายบัวศรี หินศิลา อายุ 55 ปี ประชาชนในบ้านคำเจริญ หมู่ 9 ต.เว่อ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ได้เริ่มหาลำต้นมันสำปะหลังมาทำการบดแล้วตากแห้ง เพื่อบรรจุกระสอบนำส่งขายให้กับฟาร์มเลี้ยงวัวเมื่อปี 2557 โดยได้แนวทางและวิธีการจากญาติชาว จ.อุดรธานี เริ่มแรกซื้อเครื่องบดมือสอง ราคา 25,000 บาท นำลำต้นมันสำปะซึ่งมีส่วนของใบติดมาด้วย มาเข้าเครื่องบดผสมกัน แล้วผึ่งแดดให้แห้ง รองด้วยแผ่นพลาสติกเพื่อง่ายในการจัดเก็บ ผึ่งเพียง 2 แดดก็แห้ง บรรจุกระสอบๆละประมาณ 15 กก. จำหน่ายราคากระสอบละ 50-70 บาท โดยเจ้าของฟาร์มวัวจะรับซื้อเป็นอาหารเสริมให้กับวัว ซึ่งลำต้นมันสำปะหลังบดดังกล่าว ให้คุณค่าอาหารด้านเพิ่มเนื้อ เพิ่มไขมันและเพิ่มน้ำนม

นายบัวศรีกล่าวอีกว่า ช่วงแรกๆก็นำลำต้นมันสำปะหลังของตนที่ถึงอายุเก็บผลผลิตมาบด พอยอดสั่งซื้อมากขึ้น ลำต้นมันสำปะหลังของตนไม่เพียงพอ ก็ต้องไปให้ติดต่อขอซื้อกับเจ้าของรายอื่นบ้าง หรือจ้างแรงงานไปช่วยบ้าง จึงมีรายจ่ายเพิ่มเข้ามาเฉลี่ยวันละ 600 บาท แต่ก็ถือว่าคุ้ม เพราะทำง่าย ขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน สามารถทำสองคนผัวเมียได้ ที่สำคัญทำได้ตลอดปี จากที่เคยทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และเวลาส่วนมากจะว่างงาน พอได้อาชีพใหม่โดยทำการบดลำมันสำปะหลัง ก็จึงยึดเป็นอาชีพหลัก ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาไม่เคยว่างงานเลย ที่สำคัญทำง่าย ขายง่าย มีตลาดรองรับแน่นนอน โดยมีฟาร์มรับซื้อตอนนี้ 6 แห่ง ในเขต จ.กาฬสินธุ์และใกล้เคียง จัดส่งเดือนละประมาณ 5 เที่ยว รายได้เที่ยวละ 6,000 บาท เฉลี่ยมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท

ทั้งนี้ จากการที่ตนมีอาชีพใหม่ ที่ทำแล้วมีรายได้ ไม่ยุ่งยาก ก็มีญาติๆและเพื่อนบ้านหลายครอบครัวทำตามตน ก่อนที่จะรวมตัวกัน 7 ครัวเรือนไปขอยื่นจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบดลำต้นมันสำปะหลังกับสำนักงานเกษตรอำเภอ ยางตลาด ซึ่งจะเป็นหลักประกันที่มั่นคงให้กับอาชีพบดลำต้นมันสำปะหลัง เพื่อเป็นอาหารเสริมเลี้ยงวัวต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ได้หยุดเล่นน้ำสงกรานต์หลายวัน ทั้งรดน้ำ ขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ มีลูกหลานมาเยี่ยมยาม และไปทำบุญที่วัด จึงไม่ได้บดลำมันสำปะหลังตากแห้ง ขณะที่มีออร์เดอร์เข้ามามาก จึงได้เร่งผลิตกันยกใหญ่ เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า

พาไปรู้จักงานนวัตกรรมใหม่ในครัวเรือนกับถังขยะใส่เศษอาหารที่มีฟังก์ชั่นแปรสภาพเป็นปุ๋ยธรรมชาติโดยใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า Zera Food Recycler เป็นงานจากกลุ่ม WLabs ของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าเวิร์ลพูล เพียงเราทิ้งขยะเศษอาหารที่สามารถย่อยสลายได้ เช่น เปลือกผลไม้ หรือเศษกับข้าวลงไปในถัง ซึ่งภายในถึงบรรจุคาร์บอนฟิลเตอร์ ที่ช่วยในการย่อยสลายให้หมักให้เป็นปุ๋ยไว้ใช้กับพืชสวนในสวนครัวเล็กๆได้ ซึ่งการทำงานจะดำเนินการสั่งการผ่านแอปพลิเคชั่น โดยงานนี้ยังเป็นโปรเจ็กต์ระดมทุนผ่านผู้สนใจบนเว็บไซต์ Indiegogo ที่ตั้งใจจะผลิตมาขายเครื่องละ 1,199 เหรียญสหรัฐ

“โรคราแป้ง และโรคแอนแทรคโนส” สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่ สำหรับโรคราแป้ง จะพบเชื้อรามีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้งขึ้นกระจัดกระจายตามส่วนต่างๆ ของพืช เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้เกิดแผลใต้ใบสตรอเบอรี่เปลี่ยนเป็นสีม่วง และใบบิดม้วนขึ้น ถ้าเป็นที่ผลจะทำให้ผลมีขนาดเล็กและสีไม่สม่ำเสมอกัน

กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ คอยบำรุงรักษาต้นสตรอเบอรี่ให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ และควรหมั่นตรวจตรากำจัดวัชพืชในแปลงปลูก หากพบโรคราแป้งให้รีบเก็บใบหรือส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช สารเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน

ส่วนโรคแอนแทรคโนส มักพบอาการบนไหล จะมีแผลเล็กสีม่วงแดงขยายลุกลามตามความยาวสายไหล ต่อมาแผลที่ขยายยาวจะเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาล ทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล ไหลจะแห้งและตายในที่สุด อาการบนผล พบแผลฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เนื้อเยื่อรอบขอบแผลสีซีด แผลยุบตัวลง หากอาการรุนแรง แผลจะขยายใหญ่จนทำให้ผลเน่า และในสภาพที่มีอากาศชื้นอาจพบกลุ่มสปอร์สีส้มของเชื้อราอยู่บริเวณแผล และยังสามารถพบอาการของโรคได้ที่ใบ ก้านใบ โคนต้น และราก ได้อีกด้วย

สำหรับแนวทางการป้องกันกำจัด เกษตรกรต้องตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช สารฟลูโอไพแรม+สารไตรฟลอกซีสโตรบิน 25%+25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร กรณีพบโรคเริ่มระบาดให้งดการให้น้ำแบบพ่นฝอย ควรให้แบบระบบน้ำหยด และหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตสตรอเบอรี่แล้ว ให้เก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และเลือกใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค

เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดสัมมนาเสนอผลงานวิจัยข้าวภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมีพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนา

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ปัจจุบันไทยสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งอย่างเวียดนาม เนื่องจากคุณภาพของข้าวของไทยลดลง จนทำให้ประเทศคู่แข่งพัฒนาข้าวให้มีคุณภาพใกล้เคียงเรา ประกอบกับค่าแรงงานของเขาถูกกว่า นอกจากนี้เรายังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ “งานวิจัย” คือ ทางออกของข้าวไทยภายใต้ความท้าทาย Thailand 4.0 ที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ผ่านการคิดค้นเทคโนโลยีที่จะให้เกษตรกรทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตอบสนองความต้องการของตลาด ตลอดจนการค้นคว้านวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยเหตุนี้ เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ประกอบด้วย วช. สกว. สวก. สวรส. สวทช. สวทน . และ สกอ. จึงร่วมมือกันผลักดันและขับเคลื่อนให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันและยั่งยืนได้ในตลาดโลก ทั้งในเรื่องของการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว คิดค้นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนออกแบบสร้างสรค์นวัตกรรมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์จากข้าว อาทิ อาหาร เครื่องสำอางค์ อุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น

ปัจจุบัน คอบช โดย วช. ได้จัดสรรงบประมาณการวิจัยให้กับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. รับผิดชอบในการบริหารเงินอุดหนุนการวิจัยเรื่องข้าวตั้งแต่ปี 2555 จนได้ผลงานวิจัย 287 โครงการ ภายในงบประมาณกว่า 800 ล้านบาท ซึ่งผลงานทั้งหมดเป็นความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม รวมทั้งมีผลงานที่ภาคเอกชนนำไปขยายผลต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ผลงานวิจัยทั้งหมดที่รัฐบาลสนับสนุนไปแล้วนั้นจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อ มีการนำผลวิจัยมาใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมการสัมมนาเสนอผลงานวิจัยเรื่องข้าวครั้งนี้ มีหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งนักธุรกิจ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องสนใจนำผลงานวิจัยไปขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ เพื่อไม่ปล่อยให้ผลงานวิจัยวางไว้บนหิ้งอย่างในอดีต

บัณฑิตสาวคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทายาทเจ้าของโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์พรีเมี่ยม ตราปลามังกร จังหวัดกาญจนบุรี ไอเดียเก๋ สร้างโรงเพาะเห็ดไซซ์มินิ ขนาดกว้าง 1.70 เมตร ยาว 1.70 เมตร สูง 2.10 เมตร โครงสร้างทำด้วยเหล็กทาสีกันสนิม หลังคาผ้าใบเต็นท์ ด้านข้างคลุมด้วยสแลนกันแดด โยกย้ายเคลื่อนที่ได้สะดวกสบาย อายุการใช้งาน 4 – 5 ปี 1 โรงสามารถเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานดำได้ 504 ก้อน หลังเห็ดเปิดดอกเพียง 3 วัน ก็สามารถทำเงินได้ยาวๆ สนนราคาโรงละ 10,000 บาท

คุณสาธนี สกุลวัฒนะ หรือคุณนุ่น หญิงสาวอัธยาศัยดีวัย 26 ปี พี่สาวคนโตในบบรดาพี่น้อง 3 คน ทายาทเจ้าของบริษัท ปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรไทย หรือเคทีเอฟ จำกัด และเจ้าของออแกนิก แลนด์ ริม ถ.กำแพงแสน-พระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ซึ่งคุณนุ่น คือ เจ้าของไอเดีย โรงเพาะเห็ดมินิ หรือ บ้านเห็ด

คุณนุ่น เล่ากับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า จบคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทางครอบครัว ทำธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์พรีเมี่ยม มานานกว่า 20 ปี จำหน่ายตามสหกรณ์ และร้านค้าทั่วไป จุดเด่น มีแร่ธาตุอาหารสูง ใช้ได้กับทุกพืช ผัก ผลไม้ และต้นไม้ทุกชนิด มีส่วนผสมของไม้ยางยูคาลิปตัส ทะลายปาล์ม เศษปาล์มหมัก ได้รับตรารับรอง IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

การเป็นผู้ผลิตปุ๋ยถือเป็นธุรกิจต้นน้ำ คุณนุ่น บอกต่อว่า ต่อยอดสู่ธุรกิจกลางน้ำ นั่นคือ ทำแปลงสาธิตปลูกข้าว ปลูกผัก อาทิ ผักสลัด ผักสวนครัว บนพื้นที่ 2 ไร่ ทั้งหมดใช้ปุ๋ยที่ผลิตเอง และเมื่อ 2 ปีที่แล้วเปิดร้านอาหาร ถือเป็นธุรกิจปลายน้ำ นำผลผลิตที่ได้จากแปลงสาธิตไปเป็นวัตถุดิบหลักปรุงอาหารเสิร์ฟลูกค้า เมนูต่างๆ มากมาย

สำหรับที่มาของโรงเพาะเห็ดมินิ ทายาทเจ้าของโรงงานผลิตปุ๋ย เผยว่า ตั้งแต่เข้ามาช่วยธุรกิจครอบครัวได้ทราบว่า เกษตรกรที่ซื้อปุ๋ยจะมีรายได้เป็นฤดูกาล กล่าวคือ ถ้าไม่มีผลผลิตไปขาย เกษตรกรก็ไม่มีรายได้ ขณะเดียวกันมีรายจ่ายทุกวัน ประกอบกับได้รู้จักกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านเชี่ยวชาญเรื่องการเพาะเห็ดมาให้ความรู้เรื่องการเพาะเชื้อก้อนเห็ด ธุรกิจเพาะเชื้อก้อนเห็ดจึงเริ่มต้นก่อน

“อาจารย์ที่มหิดลเข้ามาให้ความรู้เรื่องการเพาะเชื้อก้อนเห็ดโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ อาทิ ขี้เลื่อย ปุ๋ย ในเบื้องต้นทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฐานเอาไว้กินเอง และขายเป็นรายได้เสริม หลังจากนั้นเริ่มมีลูกค้าสนใจมากขึ้น บางคนอยากจะเพาะเห็ดไว้กินเอง บางคนอยากได้โรงเรือนเพาะเห็ด ในที่สุดได้ออกแบบโรงเพาะเห็ดขนาดเล็กขึ้นมา สามารถเคลื่อนย้ายได้ สะดวกในการเก็บเห็ดไว้กิน หรือเพาะเห็ดไว้ขายได้“

รายละเอียดโรงเพาะเห็ดมินิ ขนาดกว้าง 1.70 เมตร ยาว 1.70 เมตร สูง 2.10 เมตร ตัวโครงเป็นเหล็ก ทาสีกันสนิม ตัวหลังคาใช้ผ้าใบเต็นท์ เวลาฝนตก น้ำไม่ค้างบนหลังคา ด้านข้าง 4 ด้าน คลุมด้วยสแลนกันแดด เพื่อความสะดวกในการเปิด-ปิด เข้าไปเก็บเห็ด

1 โรงเรือนสามารถบรรจุก้อนเห็ดได้ 504 ก้อน นำก้อนเห็ดมาแขวนกับคานโรงเรือนในแนวดิ่ง เพื่อให้ก้อนเห็ดลอยอยู่เหนือพื้น โรงเรือน 4 ด้าน แขวนก้อนเชื้อเห็ดได้ 42 แถว แถวละ 12 ก้อน โยกย้ายเคลื่อนที่ได้สะดวกสบาย อายุการใช้งาน 4 – 5 ปี

หลังจากเปิดจุกก้อนเห็ด ประมาณ 1–2 สัปดาห์ เห็ดจะเริ่มมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยว 2-3 วันแรก เก็บเห็ดได้เฉลี่ยวันละ4-5 กิโลกรัม หลังจากวันที่ 5 เป็นต้นไป จะเก็บเห็ดได้เฉลี่ยวันละ 8 ขีด – 1 กิโลกรัม ก้อนเห็ดมีอายุให้เก็บได้ถึง 4 เดือน

ด้านราคาโรงเพาะเห็ดมินิ คุณนุ่น บอกว่า โรงเพาะเห็ดแบบถอดประกอบ หรือเคลื่อนย้านได้ ราคา 13,000 บาท ส่วนโรงเพาะเห็ดที่ไม่สามารถถอดประกอบได้ 10,000 บาท

ปัจจุบัน หญิงสาวขายก้อนเห็ด ราคาก้อนละ 10 บาท มีออเดอร์ 100,000 ก้อนต่อเดือน

คุณนุ่น ทิ้งท้ายว่า การเพาะเห็ดในโรงเพาะเห็ดเคลื่อนที่ได้ ไซซ์มินิ หลังจากที่เอาก้อนเห็ดไปวางแล้ว เเละเห็ดเปิดจุก ใช้เวลา 2-3 วัน เห็ดจะออกดอก สามารถเก็บได้นานถึง 4 เดือน เห็ดเเต่ละรุ่น จะได้ผลผลิตราว 250-300 กิโลกรัม

วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ มีหลายทางเลือกคือ พักผ่อน มีความสุขอยู่กับลูกหลานเหลน หรือทำงานเบาๆ เช่น ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักหรือปลูกไม้ผล แบบสวนหลังบ้าน เพื่อให้มีผลผลิตเก็บกินหรือแบ่งปันเพื่อนบ้าน

วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ ไม่ควรลงทุน ไม่ว่าจะเป็นงานใดก็ตาม เพราะมีความเสี่ยงสูง ยิ่งถ้าไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ทันการณ์ ซ้ำยังส่งผลให้บั้นปลายมีวิถีชีวิตไม่มั่นคง

วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณด้วยการ การสร้างสวนไม้ผล ก่อนเกษียณ 5 ปี หรือมากกว่า เพื่อให้มีโอกาสปฏิบัติงานจริง ได้ลองผิดลองถูก รู้ข้อดี ข้อด้อย วิธีการแก้ปัญหา ได้พัฒนาการทำงานให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ และเมื่อถึงวันที่เกษียณจริงก็สามารถทำงานต่อยอดได้ทันที เป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

จากประเด็นดังกล่าว เราจึงขอนำเสนอเรื่องของ ครูเอกชัย…กับสวนไม้ผล งานใหม่หลังเกษียณเพื่อวิถีมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณเอกชัย ตองอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนนาแก้ววิทยา ผู้ปลูกสร้างสวนไม้ผลเล่าให้ฟังว่า โดยพื้นฐานแล้วคุณพ่อ-คุณแม่เป็นชาวไร่ชาวนา เมื่อครั้งเป็นเด็กได้ช่วยท่านทำงานในไร่นา จึงซึมซับความรู้ ประสบการณ์ไว้พอสมควร

ด้านการเรียนก็เรียนจบปริญญาทางด้านการศึกษา ได้เข้ารับราชการเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนนาแก้ววิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งหวังของคุณพ่อ-คุณแม่ที่ต้องการให้ช่วยเหลือสังคม

เมื่อคิดถึงวันเวลาที่ต้องปลดระวางตัวเองจากการเป็นครูเพื่อเปลี่ยนเข้าสู่วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ จึงนำเรื่องนี้ไปพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวแล้วก็ได้ข้อสรุปว่า การปลูกสร้างสวนไม้ผลน่าจะเป็นทางเลือกที่ได้ผลดี

เพราะสภาพภูมิอากาศพื้นที่อำเภอขุนหาญมีความเหมาะสม และยังพบว่าเกษตรกรที่นี่ปลูกสร้างสวนไม้ผลประสบความสำเร็จ เมื่อพิจารณาข้อดีข้อด้อยในด้านต่างๆ แล้ว จึงตัดสินใจปลูกสร้างสวนไม้ผล แต่มีเงื่อนไขว่าต้องปลูกสร้างสวนไม้ผลให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นอาชีพใหม่ไว้รองรับเมื่อเกษียณ

จากนั้นจึงได้จัดการวางแผนการปลูกและผลิต จัดการใช้ที่ดิน เลือกชนิดของไม้ผลที่ปลูก การปลูก ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาหรือเก็บเกี่ยว โดยแบ่งงานทำเป็น 2 ส่วนคือ วันจันทร์-ศุกร์ ภรรยาหรือคุณเบญจลักษณ์ ตองอบ เป็นผู้ทำงานภาคสนาม พร้อมกับจ้างแรงงาน 3-5 คน มาช่วยทำงาน มีทั้งจ้างประจำและครั้งคราว ส่วนตนเองเป็นฝ่ายค้นหาความรู้จากแหล่งวิชาการ หรือจากผู้ที่ประสบความสำเร็จเพื่อนำมาสนับสนุนในการผลิต ได้ช่วยทำงานก่อนไปและหลังกลับมาจากโรงเรียน และทำหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาสวนไม้ผลเป็นประจำในทุกวันหยุด

พื้นที่แห่งนี้เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน เป็นพื้นที่อยู่ในเขตภูเขาไฟเก่า ดินมีอินทรียวัตถุสูง เมื่อขุดลึกลงไปในดิน 50 เซนติเมตร จะเป็นดินภูเขาไฟที่แข็ง หน้าดินเป็นดินทราย ปลูกไม้ผลทุกชนิดได้คุณภาพดี

กรณีตัวอย่างการปลูกทุเรียน

เมื่อเตรียมดินแล้ว ได้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึกด้านละ 30-50 เซนติเมตร ปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถว 8×8 เมตร นำต้นพันธุ์ทุเรียนลงปลูกเกลี่ยดินกลบ ให้น้ำแต่พอชุ่ม

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา ปีที่ 1-7 ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เดือนละครั้งรอบทรงพุ่ม ช่วงต้นฝนได้ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง 1 ครั้งต่อปี ช่วงหลังดอกบานหรือ 8 สัปดาห์ หรือช่วงติดผลขนาด 1.5 กิโลกรัมได้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ใน

อัตรา ½ กิโลกรัมต่อต้นทุก 15 วัน เพื่อช่วยเพิ่มขนาดและความหวาน และหยุดใส่ปุ๋ยก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน การให้น้ำ ทุเรียนต้องได้รับน้ำเพียงพอจึงจะเจริญเติบโตได้ดี ปีที่ 1-7 ได้ให้น้ำ 1 วัน เว้น 2 วัน เมื่อเริ่มติดผล ได้ให้น้ำวันเว้นวันไปจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว การให้น้ำทุกครั้งจะพิจารณาถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย

การตัดแต่งดอก หลังจากดอกบาน 1 เดือน ได้เลือกตัดดอกที่มีจำนวนมากออก เพื่อให้การติดผลบริเวณกิ่งมีจำนวนที่เหมาะสม เช่น ใน 1 กิ่งมี 10 ช่อ ดอกก็อาจตัดแต่งให้เหลือไว้ 5 ดอก หรือได้ 5 ผล วิธีนี้จะช่วยทำให้กิ่งไม่ต้องรับน้ำหนักของผลทุเรียนมากเกินไป ได้ผลทุเรียนมีขนาดเหมาะสม และเนื้อภายในผลดีมีคุณภาพ

ครูเอกชัย ตองอบ ผู้ปลูกสร้างสวนไม้ผลเล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า การเก็บเกี่ยวจะใช้วิธีนับวันคือ เมื่อดอกบานถึงวันที่ผลทุเรียนแก่สุกพอดี ให้เก็บเกี่ยวได้ จะมีอายุ 100-130 วัน วิธีการเก็บ ได้จ้างผู้ที่มีความชำนาญมาตัดเก็บ จ่ายค่าจ้างด้วยการคิดตามน้ำหนักของผลผลิตที่ตัดเก็บลงมาคือ ตันละ 1,000 บาท และใช้วิธีทยอยตัดเก็บ

การตัดเก็บผลทุเรียนที่แก่สุกพอดี จะได้เนื้อทุเรียนแน่น นุ่ม มีกลิ่นหอม หวานกลมกล่อม อร่อย จึงเป็นที่พึงพอใจตลาดผู้บริโภค ผลทุเรียนดีมีคุณภาพส่วนหนึ่งได้วางแผนทำข้อตกลงขายให้กับห้างแมคโคร อีกส่วนจะมีพ่อค้าท้องถิ่นเข้ามารับไปขายต่อ หรือไปเปิดท้ายรถยนต์ขายเองที่ตลาดในอำเภอ ราคาซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับฤดูกาล

เนื่องจากเป็นการปลูกสร้างไม้ผลแบบสวนผสม จึงได้จัดการปลูกเงาะ ลองกอง มังคุด สะตอและปาล์มตามสัดส่วนพื้นที่ มีการทยอยปลูกแบบต่อเนื่อง และมีผลผลิตให้ทยอยเก็บได้บ้างแล้ว ทำให้มีรายได้นำมาเป็นทุนหมุนเวียนในการจัดการสวน ทั้งค่าจ้างแรงงาน จัดซื้อปัจจัยการผลิต หรือค่าซ่อมบำรุงเครื่องมือการเกษตร และได้จัดการให้สวนไม้ผลแห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับท่านที่เกษียณอายุหรือทุกท่านที่สนใจ

การที่ได้เตรียมและสร้างสวนไม้ผลมาถึงเวลานี้ทำให้มั่นใจว่า วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณด้วยอาชีพทางเลือกใหม่จะช่วยทำให้ครอบครัวมีวิถีที่มั่นคงยั่งยืน

แล้วท่านที่จะเกษียณมีอาชีพใหม่พร้อมให้เลือกทำหรือยัง?

คุณทวี มาสขาว เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า ประชากรที่นี่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตรราว 4 ล้านกว่าไร่ ใช้เป็นพื้นที่เพื่อการทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์หรือทำประมง สำหรับพื้นที่ปลูกและผลิตไม้ผลเชิงธุรกิจมีประมาณ 7,128 ไร่ และมีเกษตรกรปลูกไม้ผลประมาณ 1,309 ครัวเรือน

การปลูกไม้ผลทำได้ 2 วิธีคือ วิธีที่หนึ่งปลูกแบบหัวไร่ปลายนาหรือสวนหลังบ้านเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือแบ่งปัน และวิธีที่สองเป็นการปลูกในเชิงธุรกิจ ขายผลผลิตเป็นรายได้หลักเพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคง

ไม้ผล เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่มีการปลูกและผลิตได้ดีมีคุณภาพ มีแหล่งปลูกมากอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอคือ กันทรลักษ์ ศรีรัตนะ ขุนหาญ และอำเภอภูสิงห์ ไม้ผลที่ปลูกได้แก่ เงาะ ทุเรียน ลำไย ลองกอง และมังคุด นอกจากนี้ยังมีการปลูกลิ้นจี่ สะตอ สละหรือฝรั่ง และพืชผัก เป็นพืชเสริมแบบผสมผสานในพื้นเดียวกันด้วย

ทุเรียน มีพื้นที่ปลูก 2,485 ไร่ เกษตรกร 496 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 803.9 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 1,613.56 ตัน ราคาเฉลี่ย 56.67 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 91.44 ล้านบาท

เงาะ มีพื้นที่ปลูก 1,878 ไร่ เกษตรกร 340 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,927 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม

31,815 ตัน ราคาเฉลี่ย 18 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 31.03 ล้านบาท

ลำไย มีพื้นที่ปลูก 1,730 ไร่ เกษตรกร 212 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 919 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 11,076 ตัน ราคาเฉลี่ย 22 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 49.30 ล้านบาท

ลองกอง มีพื้นที่ปลูก 524 ไร่ เกษตรกร 134 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 419.2 ตัน ราคาเฉลี่ย 45 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 18.86 ล้านบาท

มังคุด มีพื้นที่ปลูก 511 ไร่ เกษตรกร 127 ครัวเรือน ได้ผลผลิตเฉลี่ย 750 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 383.25 ตัน ราคาเฉลี่ย 18 บาทต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ย 35 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าผลผลิตรวม 13.41 ล้านบาท

การส่งเสริมการผลิต ได้ส่งเสริมให้ปลูกสร้างสวนไม้ผลแบบผสมผสานที่ก่อให้เกิดการเกื้อกูลกันในการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุน มีการใส่ปุ๋ยและรอน้ำอย่างเพียงพอ ส่งเสริมให้ปลูกพืชอายุสั้นหลังการปลูกสร้างสวนไม้ผลเพื่อให้มีรายได้ระหว่างรอให้ไม้ผลเจริญเติบโต และส่งเสริมการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมหรือ GAP =Good Agricultural Practice เพื่อให้ได้ผลไม้ดีมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค

คุณทวี มาสขาว เกษตรจังหวัดศรีสะเกษเล่าให้ฟังว่า ท่านที่เกษียณจากการทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีข้อแนะนำว่า วิถีการดำรงชีพหลังเกษียณ เมื่อสุขภาพแข็งแรง ไม่ควรใช้ชีวิตอยู่เฉยๆ ปล่อยให้เวลาผ่านไป

ท่านที่มีความรู้ความสามารถ สมัครยูฟ่าเบท ไม่ว่าจะสาขาใดก็ตาม เมื่อมีความพร้อมควรใช้โอกาสเข้าไปช่วยเหลือพัฒนาชุมชนหรือสังคม ด้วยการเป็นที่ปรึกษา หรือวิทยากรถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน หรือทำงานง่ายๆ ได้ด้วยการทำการเกษตรแบบพอเพียง หรือแบบครัวเรือน เช่น ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือขยายพันธุ์พืชด้วยการตอนกิ่ง ปักชำ เสียบยอด เพื่อใช้เป็นพันธุ์ปลูก แบ่งปัน ขายเป็นรายได้เสริม หรือทำการแปรรูปผลผลิตการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์อื่นก็ได้เช่นกัน

หรือถ้ามีความพร้อมก็ทำในเชิงการค้าได้ก็จะเป็นหนึ่งวิถีการใช้ชีวิตที่มีคุณค่า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดำรงชีพอยู่ได้แบบพอเพียงและมั่นคงยั่งยืน

และนี่คือเรื่องของครูเอกชัย…กับสวนไม้ผล งานใหม่หลังเกษียณเพื่อวิถีมั่นคง ผู้สร้างสวนไม้ผลเตรียมไว้ให้พร้อม เมื่อเกษียณจะได้มีงานทำ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก มีลำตัวยาว 1-2 มิลลิเมตร ตัวอ่อนสีเหลือง ตัวแก่สีน้ำตาลปนเหลืองปีกมีขนเป็นแผง เพลี้ยไฟมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

ลักษณะการทำลาย

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากเจาะและดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตาใบ ช่อดอก โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วของผลอ่อน ทำให้เซลล์บริเวณนั้นถูกทำลาย นอกจากนี้ยังพบว่าใบแตกใหม่แคระแกร็น ขอบใบและปลายใบไหม้ ใบอาจร่วงตั้งแต่ยังเล็กๆ สำหรับใบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เพลี้ยไฟจะทำลายตามขอบใบ ใบม้วนงอ ปลายใบไหม้ ส่วนยอดแห้งไม่แทงช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผลหรือติลผลน้อยและเจริญเติบโตเป็นผลที่ไม่สมบูรณ์