ชาวสวนเกาะสมุยครวญ แมลงดำหนามบุกกัดกินยอดมะพร้าวยืนต้น

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวบนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากต้นมะพร้าวในพื้นที่ต.ตลิ่งงาม ได้เกิดการแพร่ระบาดของศรัตรูมะพร้าวคือ แมลงดำหนาม และหนอนหัวดำ ได้บุกเข้ากัดกินยอดใบอ่อนของต้นมะพร้าว ด้วยการกัดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อนของต้นมะพร้าวจนทำให้ใบอ่อนมะพร้าวแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลขาว โดยเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวเรียกว่ามะพร้าวหัวหงอก ยืนต้นตายแล้วเป็นจำนวนมาก

จากการสำรวจพบว่า ความเสียหายจากแมสงดำหนาม และหนอนหัวดำ ที่กัดกินยอดใบอ่อนของต้นมะพร้าวเป็นวงกว้างนับร้อยไร่ และมีลักษณะของทางมะพร้าวแห้งเป็นสีน้ำตาลห้อยลงมารอวันยืนต้นตายอีกจำนวนมากเช่นกัน

นางพรศรี ใจซื่อ อายุ 53 ปี เกษตรชาวสวนมะพร้าวบนเกาะสมุย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ต้นมะพร้าวเป็นพืชสัญลักษณ์ของเกาะสมุย ไม่อยากให้ต้นมะพร้าวตายจนหายไปจากเกาะสมุย โดยในพื้นที่ของบ้านพังกา ต.ตลิ่งงาม มีแมลงดำหนาม และหนอนหัวดำ บุกกัดกินยอดอ่อนใบมะพร้าว ทำให้ใบมะพร้าวเหี่ยวเฉายืนต้นรอวันตายเป็นบริเวณกว้างหลายร้อยไร่ จึงขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่แก้ปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวเกาะสมุยอย่างเร่งด่วน หากปล่อยไว้จะทำให้เกิดแพร่ระบาดลุกลามไปทั้งเกาะสมุยได้

สำหรับเกาะสมุยเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ต และเกาะช้าง ในอดีตเกาะสมุยเป็นเกาะที่มีมะพร้าวมากที่สุดในประเทศไทย สามารถขายผลมะพร้าว บางส่วนแปรรูปเป็นน้ำมันมะพร้าว ส่งขายให้คนไทยได้ใช้ทั่วทั้งประเทศมายาวนานกว่า 100 ปี จึงนับได้ว่ามะพร้าวของเกาะสมุยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และเป็นสัญลักษณ์คู่เกาะมาตลอด แต่ปัจจุปันการท่องเที่ยวได้เข้ามามีบทบาททำให้เกษตรกรบางส่วนหันไปประกอบธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทแทน ทำให้พื้นทีการปลูกมะพร้าวลดลงไปกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่บนเกาะ แต่ก็ยังมีเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวบนเกาะสมุยที่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเก็บผลมะพร้าวขาย จากปัญหาการแพร่ระบาดของศัตรูมะพร้าวเกษตรกรจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดลุกลามไปทั้งเกาะ

นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูกาลผลัดใบของต้นยางพารา ในพื้นที่ภาคใต้ถือเป็นช่วงปิดกรีดยาง เกษตรกรจึงควรให้ต้นยางหยุดพัก เนื่องจากเป็นช่วงที่ไม่มีใบ ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ หากยังฝืนกรีดในช่วงยางผลัดใบจะทำให้เกิดโรคหน้ายางแห้ง และเสี่ยงที่จะทำให้ต้นยางตายได้ โดยทั่วไปแล้วหลังจากที่ต้นยางผลิใบใหม่และเจริญเป็นใบแก่แล้วจึงเริ่มกรีดใหม่ จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 2 เดือน เนื่องจากการกรีดในช่วงนี้ จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะที่ต้นยางกำลังผลิใบใหม่ เพราะการกรีดติดต่อกันหลายวันจะทำให้ผลผลิตต่ำ ปริมาณเนื้อยางแห้งลดลง การสิ้นเปลืองสูง

ทำให้ระยะเวลาการกรีดถึงเปลือกงอกใหม่น้อยลง เปลือกงอกใหม่บาง กระทบต่อการกรีดซ้ำและต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิตในระยะยาว การกรีดถี่ทำให้อายุการกรีดสั้นลง เกษตรกรจึงต้องโค่นต้นยางในระยะเวลาเร็วขึ้น ทำให้ได้รับผลผลิตน้ำยางและปริมาณไม้ลดลงตามลำดับ การหยุดพักกรีดในช่วงฤดูผลัดใบช่วยให้ต้นยางได้สะสมธาตุอาหารเพื่อสร้างความเจริญเติบโต มีความสมบูรณ์ และให้ผลผลิตสูง สำหรับการกรีดยางในช่วงที่ยางผลัดใบจะทำให้น้ำยางออกน้อย เพราะฉะนั้น เกษตรกรก็ต้องรอให้ยางผลิใบใหม่สามารถผลิตน้ำยางได้เติมที่จึงเปิดกรีดยาง จึงควรที่จะอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ด้วยการรอให้ใบยางที่ออกใหม่เริ่มแก่เสียก่อนจึงจะกรีดยางกันอีกครั้ง ซึ่งในช่วงว่างเว้นการกรีดยางนี้ เกษตรกรควรใช้เวลาในการบำรุงดูแลสวนยางพาราเพื่อให้มีความสมบูรณ์ จะทำให้สามารถกรีดยางได้ในระยะยาว

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา โทรศัพท์ 0 7648 1467 และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ เกษตรจังหวัดพังงา รณรงค์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผล หลังพบว่าแนวโน้มตลาดราคาสูงขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมั่นคง ยั่งยืน นอกจากยางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก

นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่า ในรอบปี 2559 จังหวัดพังงามีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วย มังคุด พื้นที่ปลูก 12,670 ไร่ ผลผลิต 5,943 ตัน ทุเรียน พื้นที่ปลูก 7,306 ไร่ ผลผลิต 2,702 ตัน ประกอบกับในปีที่ผ่านมาเกษตรกรสามารถจำหน่ายไม้ผลเหล่านี้ได้ราคาสูง และมีลู่ทางการตลาด เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีผู้บริโภคจำนวนมาก และได้เปรียบในเรื่องของการขนส่งซึ่งผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการสูง ได้แก่ มังคุดและทุเรียนสาลิกา ซึ่งเป็นทุเรียนที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดพังงา อีกทั้งขณะนี้ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเดินทางมาเที่ยวที่จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต ปีละหลายแสนคน จึงเกิดตลาดผลไม้สองฝั่งถนนในอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวดังกล่าว

จังหวัดพังงา ได้รณรงค์ให้เกษตรกรผลิตไม้ผลให้มีคุณภาพ โดยมีการบริหารจัดการตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ก็ให้เกษตรกรดำเนินการตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ การกำจัดวัชพืช การคลุมโคนด้วยเศษ-ซากพืช การเตรียมการให้ไม้ผลแตกใบอ่อน การเร่งตาดอก การดูแลรักษาช่วงไม้ผลออกดอก การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งช่อดอก เพื่อควบคุมปริมาณผลผลิตให้เหมาะสมกับความสมบูรณ์ของต้น โดยเน้นหนักเรื่องของการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 416,000 บาท เพื่อให้การผลิตไม้ผลของจังหวัดพังงามีความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค หากสามารถดำเนินการดังกล่าวได้ จะทำให้ไม้ผลมีคุณภาพและเกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาสูง

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา

โทรศัพท์ 0 7648 1467 และสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ วันที่ 1 มีนาคม 2560 นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม นำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายปกครองท้องที่,ท้องถิ่น, เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงแขกกำจัดหนอนหัวดำ ใน ต.บางนางลี่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อนำร่องการลดพื้นที่การระบาดและควบคุมหนอนหัวดำไม่ให้เพิ่มขึ้น อีกทั้งเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวได้เรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำ ด้วยวิธีแบบผสมผสาน ตลอดจนชุมชนมีส่วนร่วมในการลดการระบาดของหนอนหัวดำส่งผลให้การจัดการศัตรูมะพร้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรยังสามารถนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันกำจัดมะพร้าวได้ด้วยตนเอง

โดยการกำจัดหนอนหัวดำครั้งนี้มีทั้งการตัดทางใบมะพร้าว ตัดต้นที่ถูกหนอนหัวดำเผาทำลาย เพื่อกำจัดในระยะไข่ ระยะหนอน และระยะดักแด้, การฉีดพ่นเชื้อบีที(บิวเวอร์เรี่ย)ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้และผู้บริโภครวมทั้งพืชผล สามารถทำให้หนอนหัวดำเคลื่อนไหวช้า หยุดกินอาหาร และตายภายใน 3 – 7 วัน, การใช้สารเคมี ฟลูเบนไดเอไมด์ 20 เปอร์เซ็นต์ WG กรณีมะพร้าวที่มีความสูงน้อยกว่า 12 เมตร และการฉีดสารเคมี อีมาเม็กตินเบนโซเอต 1.92 เปอร์เซ็นต์อีซี อัตรา 30 ซีซี/ต้น เข้าต้นเฉพาะต้นมะพร้าวที่มีความสูงกว่า 12 เมตรขึ้นไป เพื่อลดระดับความรุนแรงของหนอนหัวดำ,และการปล่อยแตนเบียนบราคอน เพื่อควบคุมไม่ให้หนอนหัวดำระบาดต่อไป โดยนายคันฉัตรกำชับให้จะต้องดำเนินการกวาดล้างหนอนหัวดำให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน

สำหรับจังหวัดสมุทรสงครามถือเป็นแหล่งผลิตด้านการเกษตรที่มีคุณภาพ และมีพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกไม้ผลและพืชผัก โดยอาชีพหลักของประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาคราม คือ การปลูกมะพร้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีพื้นที่เพาะปลูกกว่า 70,000 ไร่ แต่ปัจจุบันได้เกิดการระบาดของหนอนหัวดำ ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียใต้คือประเทศศรีลังกา ก่อความเสียหายแก่สวนมะพร้าวในพื้นที่ รวม 16 ตำบล 55 หมู่บ้าน รวมความเสียหาย 554 ราย 1,092 ไร่ จำนวน 27,300 ต้น เป็นมะพร้าวแกง 117 ไร่ 2,917 ต้น มะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวตาล 975 ไร่ 24,383 ต้น

วันที่ 1 มีนาคม 2560 นายเชาวฤทธิ์ แสนปรางค์ อายุ 46 ปี อยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ 2 บ้านมะค่า อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ตนเองทำงานเป็นพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า มักใช้เวลาว่างจับหนูนาที่อาศัยตามธรรมชาติมาขายและทำเป็นอาหาร โดยพื้นที่ตำบลมะค่าเป็นพื้นที่ที่ติดน้ำชีและมีพื้นที่การทำนามาก จึงมีหนูนาหรือที่ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกกันว่า “หนูพุก”มาหาอาหาร ซึ่งหนูนา ถือเป็นศัตรูของข้าว มักจะกัดกินต้นข้าวรวมถึงผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรได้รับความเสียหาย ตนจึงได้ออกหาหนูนามาทำกินเป็นอาหาร ส่วนที่เหลือก็นำออกขาย

นายเชาวฤทธิ์ กล่าววว่า ช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวในปีที่ผ่านมาตนเองไปดักหนูนามาได้ทีละ 20-30 ตัว จึงนำไปขาย โดยลูกค้ามักจะเลือกซื้อตัวใหญ่ไป เหลือตัวเล็กกลับมาบ้าน จึงลองนำมาปล่อยใส่บ่อซีเมนต์ที่เคยเลี้ยงจิ้งหรีด หวังเลี้ยงให้ตัวโตก่อนนำไปขายอีกครั้ง ต่อมาเห็นหนูนาตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จึงลองจับหนูนาตามธรรมชาติมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น พร้อมกับทดลองคัดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาเลี้ยงเป็นคู่เพื่อหวังให้แพร่พันธุ์ต่อ จนในที่สุดจึงประสบความสำเร็จมีลูกหนูเพิ่มจำนวนขึ้น จึงได้เลิกเลี้ยงจิ้งหรีดแล้วขยายพื้นที่ มุ่งเลี้ยงหนูนาเพียงอย่างเดียว ด้วยการนำท่อซีเมนต์สองท่อมาต่อให้สูงประมาณ 1 เมตร เป็นบ่อเลี้ยงหนูนาซึ่งล่าสุดมีจำนวน 9 บ่อ

นายเชาวฤทธิ์กล่าวต่อว่า หนูนาเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย เมื่อจับมาแล้วเพียงปล่อยลงไปรวมกันในบ่อ โดย 1 บ่อจะใส่หนูนาไปเลี้ยงรวมกันประมาณ 5 – 10 ตัว ส่วนอาหารจะให้วันละ 1 ครั้ง โดยให้กินมันสำปะหลังสับ หญ้ามอส ข้าวปลาย ข้าวเปลือก ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติสลับกันไป เปลี่ยนน้ำสะอาดให้หนูกินสองวันครั้ง และทำความสะอาดบ่อหนูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันความสกปรก ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ตัวโตเต็มที่น้ำหนักตัว 400 – 600 กรัม บางตัวอาจถึง 1 กิโลกรัม โดยหนูนาจะนำไปขายตามตลาดชุมชน ขายอยู่ที่ตัวละ 70 – 100 บาท มีลูกค้าประจำมาเหมาซื้อไปประกอบอาหาร ซึ่งเมนูเด็ดคือเมนูย่างหนูและแกงอ่อมหนู หากตัวใหญ่หรือพ่อพันธุ์จะมีลูกค้าทั้งจากจังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียงมาจองและรับซื้อถึงที่ ขายอยู่ที่ตัวละ 200 บาท ถือเป็นการลงทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวเพิ่มจากงานประจำถึงเดือนละ 10,000 – 15,000 บาท

วันที่ 1 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจเหนือพื้นที่ริมคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท พบว่าเกษตรกรในพื้นที่มีการทำนาต่อเนื่องหลายพันไร่ ที่ข้าวกำลังเขียวขจีและบางส่วนกำลังตั้งท้อง ทำให้ต้องตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อส่งน้ำเข้าเลี้ยงต้นข้าวไม่ให้ขาดน้ำแห้งตาย จากสภาพความแห้งแล้งที่กำลังขยายวงกว้าง โดยเฉพาะคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง เส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงพื้นที่ 3 อำเภอ 2 จังหวัด คือ อ.วัดสิงห์ อ.หันคา จ.ชัยนาท และ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ที่กำลังลดระดับต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวนากลัวว่าหลังจากนี้น้ำอาจจะแห้งคลองจนไม่เหลือเลี้ยงต้นข้าว จึงต้องเร่งสูบน้ำเข้าไปเก็บไว้ในนาข้าวก่อนที่ภัยแล้งจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน

นายสมควร ชาวนา ต.มะขามเฒ่า กล่าวว่า ในฤดูนี้ทำนาไว้ 15 ไร่ จากปกติ 40 ไร่ เพราะเริ่มไม่มั่นใจว่าในปีนี้สถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงแค่ใหน จึงจำเป็นต้องลดจำนวนพื้นที่นาข้าวลง ประกอบกับทางราชการประกาศก่อนหน้านี้ที่จะไม่มีการจัดสรรน้ำให้ทำนานอกฤดู ชาวนาส่วนใหญ่จึงกลัวว่าข้าวจะเสียหาย แต่ถ้าจะให้งดทำนาเลยก็จะขาดรายได้ จึงต้องปรับตัว ทั้งลดพื้นที่และเร่งสูบน้ำกักเก็บ เพราะในปี 2559 ที่ผ่านมาสถานการณ์ภัยแล้งทำให้ลำคลองสายนี้แห้งขอด จนทางราชการต้องนำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่มาสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเข้าคลองเพื่อช่วยชุมชนปลายคลองนำไปผลิตน้ำประปา ซึ่งในปีนี้หากภัยแล้งรุนแรงเหมือนปี’59 ข้าวในนาบางส่วนคงจะต้องได้รับความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทางราชการบอกว่าน้ำในคลองจำเป็นต้องสงวนไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก

ผู้สื่อข่าวรายงานจากการตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจนกระทั่งเวลานี้ โดยเฉพาะเวลาเย็น ถึงพลบค่ำเวลาประมาณ 1 ทุ่ม จะมีแมงเม่าบินออกมาเล่นไฟจำนวนมาก ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ สร้างความรำคาญใจให้กับผู้พบเจอ โดยเฉพาะสถานที่ไหนที่เปิดไฟสว่างจ้า นอกจากแมงเม่ามาเล่นไฟแล้ว ยังบินซอกแซกตอม และเข้าไปในเสื้อผ้าของคนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว สร้างความรำคาญแก่ผู้คนที่ต้องพบเจอกับภาวะดังกล่าวอย่างมาก ทั้งนี้มีการสันนิษฐานกันไปต่างๆนานา เกี่ยวกับปรากฏการณ์เช่นนี้ เช่น อาจจะเกิดฝนตกหนัก หรือมีอากาศแปรปรวน

วันที่ 1 มีนาคม นายวัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า ช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น จากฤดูฝน ไปฤดูร้อน หรือ พื้นที่ที่มีความชื้นมากๆ หรือความกดอากาศเปลี่ยนไป พวกแมงเม่า ซึ่งเป็นตัวเต็มวัยของปลวกก็จะออกมาจากรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เสร็จแล้วก็จะสลัดปีก แล้วมุดเข้าไปวางไข่ตามที่ต่างๆ เช่น ใต้ดิน ตามฝ้าเพดานบ้าน บริเวณซอกหลืบ หรือบริเวณที่มีความชื้น อับทึบ มีกระดาษเยอะๆ เป็นที่โปรดปรานของแมงเม่า สำหรับการสร้างรัง วางไข่

“แมงเม่าจะออกมาจากรังช่วงพลบค่ำ โดยจะบินเข้าหาแสงไฟ เพราะแมลงทุกชนิดจะถูกดึงดูดโดยแสงสีเหลือง มันก็จะบินไปบินมา เพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อสำเร็จแล้วก็จะเข้ารังหรือไปหาที่สร้างรังใหม่ พวกมันมีความสามารถในการชอนไช เพื่อมุดเข้าไปตามซอกหลืบเล็กๆต่างๆภายในบ้านได้ดีมาก จึงไม่แปลกเลย ที่เราอาจจะเจอรังปลวกอยู่ตามฝ้าเพดาน อยู่ในสมุดหนังสือ ที่ถูกวางไว้ในที่อับชื้น ไม่ถูกขยับเขยื้อนเป็นเวลานานๆ บ้านไหน หรือพื้นที่ใดที่มีแมงเม่าออกมาบินเยอะๆก็อาจจะต้องกังวลด้วยว่า ในบ้านมีรังปลวงมากหรือไม่ อาจจะต้องเข้าไปตรวจสอบตามซอกหลืบต่างๆดู”นายวัฒนา กล่าว

เมื่อถามว่า มีวิธีป้องกันไม่ให้แมงเม่าเข้าบ้านได้อย่างไร นักกีฏวิทยา กรมอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า ต้องปิดไฟ และปิดประตูหน้าต่างบริเวณบ้าน และบริเวณซอกหลืบต่างๆให้มิดชิด แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด เพราะโดยธรรมชาติแล้ว แมงเม่าเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์สำหรับการย่อยสลายเซลลูโลสของวัตถุต่างๆ เช่น ไม้ กระดาษ ทั้งนี้แมงเม่าจะมีช่วงเวลาที่ออกมาบินหาคู่ผสมพันธุ์แค่ 1-2 ชั่วโมง หรือแค่ชวงหัวค่ำเท่านั้น หลังช่วงเวลานั้นไปแล้ว มันก็จะสลัดปีก กลับเข้ารังไปหมด

เมื่อถามอีกว่า หากปล่อยให้แมงเม่าหลุดเข้ามาในบ้าน แสดงว่า โอกาสที่จะเกิดปลวกในบ้านตามมาใช่หรือไม่ นายวัฒนา กล่าวว่า ขึ้นกับว่า มันได้ผสมพันธุ์กันแล้วหรือยังด้วย แต่ก็ถือว่ามีโอกาสสูง หรือไม่ ในบ้านหลังนั้นก็มีปลวกทำรังอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาปลวกเหล่านั้นเปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัย หรือแมงเม่าก็บินออกมาหาคู่ผสมพันธุ์ตามวัฏในธรรมชาติ

“มีคนถามว่าแมงเม่าเยอะแบบนี้แสดงว่าจะเกิดความผิดปกติของสภาพอากาศ เช่น ฝนจะตกหนักหรือไม่ ในส่วนตัวผมแล้วมองว่า ตอนนี้ก็ยังไม่เห็นความผิดปกติอะไร ช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีที่ผ่านมา ก็เป็นแบบนี้ไม่ได้มีแมงเม่ามากเป็นพิเศษแต่อย่างใด หรือบางคนบอกว่า มีแมงเม่าออกมามาก แต่ไม่เห็นมีฝนตกเลย การที่แมงเม่าออกมานั้น ไม่จำเป็นว่าฝนจะต้องตก หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอากาศบริเวณนั้น แต่อาจจะมีฝนตก หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของอากาศในพื้นที่ข้างเคียงก็ได้ นอกจากนี้ในบ้านใดที่พบว่ามีแมงเม่าบินออกมามาก ก็อาจจะต้องตรวจสอบว่ามีรังปลวกที่อาจจะกัดกินทำลายเนื้อไม้และสิ่งของต่างๆในบ้านมากก็ได้ ซึ่งต้องหาทางแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป”นายวัฒนา กล่าว

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม นางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดสวนสิรินธราพฤกษาพรรณ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 เขตบางกอกน้อย โดยมีพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหาร กทม. และประชาชนเฝ้าฯ รับเสด็จ หลังเปิดสวนสาธารณะแห่งนี้แล้ว จะทำให้ กทม.มีสวนสาธารณะทั้งสิ้น 34 แห่ง จากนั้นในเดือนเมษายนนี้ กทม.จะเปิดสวนสาธารณะเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ สวนราษฎร์ภิรมย์ เขตหนองจอก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ

“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนามอบที่ดินที่นายอุ๋ย จันทร์เฉลิม น้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 3 ไร่ 16 ตารางวา บริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 25 เขตบางกอกน้อย ให้ กทม.จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะ โดยทรงให้อนุรักษ์สภาพภูมิทัศน์เดิมไว้ให้มากที่สุด รวมถึงให้อนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดิมที่เป็นพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 60 ชนิด จำนวนไม่น้อยกว่า 200 ต้น อาทิ จันทน์กระพ้อ จัน ละมุดสีดา รวงผึ้ง สารภี กระทิง แก้วเจ้าจอม มะหวด จำปา จำปี สาเก มะตูม ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนแห่งนี้ว่า สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ” นางสุวรรณา กล่าว

นายธนิต จันทร์ประทีป ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 เปิดเผยว่า ตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจในการประสานความร่วมมือป้องกันการฟอกเงินผ่านกิจกรรมสหกรณ์ เพื่อป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดใช้สหกรณ์เป็นเครื่องมือในการฟอกเงินหรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สหกรณ์จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างเคร่งครัด

ซึ่งในปัจจุบันจากการเข้าไปตรวจการสหกรณ์ของคณะตรวจการสหกรณ์ พบว่า สหกรณ์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้สหกรณ์ทราบและถือปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วย

นายธนิต กล่าวอีกว่า ทางสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน” ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีผู้แทนสหกรณ์และบุคลากรของสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 200 คน ณ โรงแรมมารวยการ์เด้นส์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้สหกรณ์ได้มีความรู้และปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

วันที่ 2 มีนาคม 2560 ในงานมหกรรมกินกุ้งใหญ่ กินไข่นกกระทา สมัครรอยัลออนไลน์ กินผักปลาปลอดสารพิษ ที่บริเวณหน้าศาลกลางจังหวัดอ่างทอง โดยการแข่งขันไข่ ลงรู แบ่งเป็นทีมๆละ3คน โดยทีมแรก ประกอบด้วย นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายรณชัย จิตรวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง และนายประสิทธิ์ พวงทอง ปศุสัตว์จังหวัดอ่างทอง เข้าร่วมการแข่งขันทีมแรก โดยกฎกติกา ให้เวลาแข่งขัน 2 นาที นำไข่นกกระทาที่ต้มสุกแล้วปล่อยไปให้ไหล ไปตามรางที่ทำจากท่อพีวีซีสองท่อนยาว2 เมตร ให้ไหลมาตามรางแล้วตกลงไปในกระป๋องที่ถืออยู่ด้านล่างปลายท่อพีวีซี ใครได้ไข่นกกระทามากที่สุดเป็นผู้ชนะ

โดยความสนุกเฮฮา เริ่มจาก นายวีร์รวุทธ์ เป็นคนปล่อยไข่นกกระทา และมีรองผู้ว่าฯ เป็นคนถือท่อพีวีซีสองท่อน คอยประคองไข่นกกระทา และท่านปศุสัตว์จังหวัดถืออยู่ปลายท่อพีวีซีคอยกะจังหวะให้ไข่นกกระทาที่ไหลมาตามรางตกลงสู่กระป๋อง เมื่อสัญญาณการแข่งขันเริ่มขึ้น ท่านผู้ว่าฯก็ปล่อยไข่นกกระทา ลงมาตามรางท่อพีวีซีอย่างไว ซึ่งท่านรองผู้ว่าฯก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ต้องคอยประคองไข่นกกระทาไห้ไหลไปตามรางเพื่อลงรู แต่ที่ปลายท่อพีวีซี มีท่านปศุสัตว์จังหวัด กะจังหวะพลาดทำให้ไข่นกกระทาตกลงพื้นไปหลายฟอง และมีไข่นกกระทาลงไปอยู่ในกระป๋องเพียง 6ฟอง เมื่อจบการแข่งขันขัน

นายวีร์รวุทธ์ เปิดเผยออกมาแบบขำๆว่า ที่การแข่งขันครั้งนี้ได้ไข่นกกระทา เพียง 6 ฟอง จึงแบ่งให้ลูกทีมกันคนละ2 ฟองเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่ได้ไข่นกกระทาน้อยนั้นเกิดจาก รางท่อพีวีซีมันอ่อนและไข่นกกระทามันแข็งแก่วงไปมาทำให้ตกรางก่อนลงรู สร้างสีสันความสนุกเฮฮาในการแข่งขันครั้งนี้ต่อไป

วันที่ 2 มีนาคม นายวุฒิชัย โรจน์ทิพย์รัก ประธานกลุ่ม LIMEC เพชรบูรณ์ และประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า จากมติที่ในที่ประชุมคณะกรรมการระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย (LIMEC Committee) ครั้งที่ 1 ที่ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบในหลักการและแนวทาง ที่คณะทำงาน LIMEC เพชรบูรณ์ ได้นำเสนอถึงการจัดการประชุมนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง อินโดจีน เมาะลำไย ครั้งที่ 3 (The 3rd LIMEC International Conference) โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2560 ที่ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนราว 300 คน จากประเทศลาว ประเทศเมียนมา ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศจีน และประเทศไทย

“สำหรับการประชุมดังกล่าวจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การประชุมใหญ่ การประชุมกลุ่มย่อย โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร -Agro-Industry และ ท่องเที่ยวรักษ์สิ่งแวดล้อม – Green Tourism ขณะเดียวกันยังมีการแสดงสินค้าจากแต่ละประเทศของ LIMEC โดยการประชุมและการแสดงสินค้าจะจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ นอกจากนั้นทีมงานการจัดการประชุมนานาชาติ LIMEC ครั้งที่ 3 ได้นำเสนอ LIMEC Solution Center – ศูนย์ให้บริการครบวงจร LIMEC ซึ่งจะเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมครั้งนี้” นายวุฒิชัยกล่าว

นายวุฒิชัยยังกล่าวอีกว่า หลังจากทาง LIMEC Committee ขอให้กลุ่ม LIMEC เพชรบูรณ์ ช่วยจัดโปรแกรมทัวร์พาศึกษาศักยภาพเส้นทางเพชรบูรณ์-ด่านนากระเซ็ง-แก่นท้าว-ไชยะบุรี-หลวงพระบาง ซึ่งเป็น “Third Gateway” ประตูที่ 3 ด่านนากระเซ็ง หลังจากได้ผนวกเส้นทางนี้เพิ่มในแผนที่ LIMEC ใหม่พร้อมประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ทางคณะทำงาน LIMEC เพชรบูรณ์ได้ตอบรับไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะใช้โอกาสในการออกเทียบเชิญทาง สปป.ลาว เข้าร่วมประชุมนานาชาติฯครั้งที่ 3 ซึ่ง จ.เพชรบูรณ์เป็นเจ้าภาพ พร้อมพาคณะ LIMEC ในกลุ่ม 5 จังหวัดใช้เส้นทางนี้ เดินทางไปที่ไชยะบุรีและหลวงพระบาง ส่วนวันเวลานั้นทางทีมเพชรบูรณ์อยู่ระหว่างหารือกันอีกครั้ง ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าคงไม่เกินปลายเดือนมีนาคมนี้