ชาวโพนเมืองน้อย อำนาจเจริญ รวมกลุ่ม ผลิตข้าวอินทรีย์ส่งขาย

โรงแรม 5 ดาว-ศูนย์ประชุม หลักประกันจากกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่นคง มียอดการสั่งเพิ่มขึ้นทุกปี จึงทำวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้มีรายได้จำนวนมาก สามารถสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่สมาชิกทั้งเงินขายข้าว พร้อมกับสวัสดิการด้านต่างๆ จึงนับเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่เข้มแข็งระดับจังหวัด

นอกจากนั้นแล้ว ยังนำรายได้ไปเป็นเงินลงทุนซื้อเครื่องจักร สร้างโรงสี สร้างโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จึงทำให้มีกำลังการสีข้าว ซึ่งถ้าเป็นข้าวกล้องสามารถสีได้วันละประมาณ 2 ตัน ส่วนข้าวขาววันละประมาณ 1 ตัน โดยมียอดขายทั้งข้าวกระสอบและบรรจุแพ็กในแต่ละเดือนรวมกันมากกว่า 10 ตัน แล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คุณประมวล เผยว่า ถึงตอนนี้ผู้บริโภคต่างให้ความสนใจกับสุขภาพเพิ่มมาก หันมาบริโภคข้าวอินทรีย์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากตลาดยังเปิดรับอย่างต่อเนื่องผู้ผลิตสามารถกำหนดแผนการปลูกที่ชัดเจนได้ ขณะเดียวกัน ชาวนาก็สามารถรู้ล่วงหน้าว่าตัวเองจะมีรายได้แน่นอน

สำหรับลูกค้าที่สนใจสั่งซื้อข้าวจะมาสั่งโดยตรงกับผู้ผลิตโดยไม่ผ่านคนกลาง ทำให้ตกลงซื้อ-ขายในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ขณะเดียวกัน ลูกค้าก็มีความสบายใจเมื่อมาพบว่าทางกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์จริง ไม่ได้หลอกลวง อีกทั้งยังทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง

ข้าวอินทรีย์ของกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนร่วมใจโนนค้อทุ่ง” จะปลูกกันปีละครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วชาวบ้านที่เป็นสมาชิกกลุ่มจะไถกลบตอซัง หว่านถั่วเขียว ปลูกแตงโม ซึ่งพืชเหล่านี้ใช้น้ำน้อย แล้วยังขายมีรายได้อย่างต่อเนื่องจากข้าว ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่ปล่อยนาทิ้งไว้เปล่าประโยชน์

“อยากให้เกษตรกรชาวนาหันมาปลูกข้าวอินทรีย์กันมากๆ เพราะประโยชน์ที่แท้จริงจะเกิดกับผู้ผลิตที่ไม่ต้องยุ่งกับสารเคมีและดีต่อสุขภาพระยะยาวด้วย ขณะเดียวกัน ขอฝากผู้บริโภคให้ช่วยกันอุดหนุนข้าวอินทรีย์เพราะมิใช่ทำให้ท่านมีสุขภาพยืนยาวเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่พี่น้องชาวนาทั่วประเทศด้วย” ประธานกลุ่ม กล่าว

มะพร้าว เป็นพืชที่มีประโยชน์ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นราก ลำต้น กะลา ใบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะนำมาใช้ประโยชน์อะไร แต่ส่วนที่สำคัญของมะพร้าว ที่ใช้ประโยชน์และขายดีนั้นก็คือ เนื้อ กับน้ำมะพร้าว ซึ่งวันนี้เราจะเล่าถึงมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวที่นิยมปลูกเพื่อขายผลอ่อน

คุณอนันต์ กอเจริญ อยู่ที่ 94 หมู่ที่ 3 ตำบลประสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เจ้าของสวนมะพร้าวน้ำหอม พื้นที่กว่า 20 ไร่ เดิมทำสวนละมุด แล้วทยอยแบ่งแปลงหันมาทำสวนมะพร้าว เพื่อที่จะได้มีผลผลิตผลัดกันในช่วงที่ละมุดยังไม่ออกผล สาเหตุที่เลือกทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ก็เพราะว่ามะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดอยู่ คือมะพร้าวน้ำหอมดำเนิน บวกกับชาวบ้านบริเวณนั้นได้หันมาทำสวนมะพร้าวกันเยอะ เพราะทางการเกษตรเข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านมีการปลูกมะพร้าว และการทำสวนตามมาตราฐาน GAP เป็นแนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและกระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

มีการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยรดน้ำ ยิ่งในช่วงหน้าร้อนก็จะรดน้ำบ่อยหน่อย เพื่อไม่ให้ขาดน้ำ กิ่งทางของต้นจะไม่มีการตัดออก จะปล่อยให้ร่วงเอง เพราะถ้าหากตัดจะทำให้ต้นเฉาได้

การใส่ปุ๋ย จะใส่ 3-4 เดือน 1 ครั้ง ที่สวนของคุณอนันต์จะมีการวิเคราะห์ดินเพื่อหาค่าปุ๋ยที่จะต้องใส่ทุกครั้ง การวัดค่าดินจะวัดโดยใช้ชุดตรวจดินของกลุ่ม เพื่อที่จะหาค่า N-P-K ที่เป็นค่าปุ๋ย ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เมื่อได้ค่าปุ๋ยทางกลุ่มก็จะมาดูว่าในสูตร จะต้องใส่ปุ๋ยกี่กิโลกรัม ต่อ 1 ต้น ปุ๋ยที่ใส่ก็จะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยผสม ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยคอก

การกำจัดศัตรู

เมื่อมีการปลูก ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ก็ย่อมมีศัตรูพวกแมลง หนอน มาคอยกวนใจเกษตรกรผู้ปลูกอยู่เรื่อย และศัตรูที่มักจะพบในสวนมะพร้าวก็มีพวกแมลง ด้วงกินยอดอ่อน กินใบ มีวิธีการรักษาโดยใช้เชื้อราเมตาไรเซียม สามารถขอได้ที่ทางการเกษตร ใช้โดยการทำกองล่อ ล่อด้วง ที่มาไข่ เมื่อตัวอ่อนโดนเชื้อราเมตาไรเซียม จะทำให้ตัวอ่อนตาย ถ้าเป็นหนอนหัวดำ จะใช้แตนเบียน ปล่อยออกมาเพื่อกำจัดหนอนหัวดำ ซึ่งแตนเบียนที่ใช้จะทำกันเองภายในกลุ่มชาวบ้าน นอกจากนี้ ยังมีสารชีวภัณฑ์ที่ใช้ฉีดที่ใบ จะทำให้หนอนที่มากินใบตาย เป็นเชื้อบีที เป็นสารชีวภัณฑ์ปลอดภัย

ผลผลิตและรายได้

เมื่อเริ่มปลูก 3 ปี มะพร้าวก็สามารถเก็บผลขายได้ เพราะเป็นมะพร้าวน้ำหอม กินผลอ่อน จึงใช้เวลาปลูกไม่นาน ใน 1 ทะลาย มีผลเฉลี่ย 10-20 ผล พื้นที่ จำนวน 20 ไร่ ตัด 1 ครั้ง ได้ผลผลิต 2,000-4,000 ลูก มะพร้าวที่สวนของคุณอนันต์ สามารถตัดได้ทุก 20 วัน

รายได้ในแต่ละครั้งมาจากแม่ค้าเจ้าประจำจะมาตัดเองที่สวน คุณอนันต์มีหน้าที่นับลูกมะพร้าวที่แม่ค้าตัด ซึ่งมะพร้าวจะออกผลเยอะในช่วงหน้าฝน ก็จะได้ราคา ผลละ 8-9 บาท แต่พอถึงหน้าร้อน มะพร้าวจะขาดตลาด ทำให้ขายได้ราคา ผลละ 20-30 บาท

คุณอนันต์ ทำเกษตรอินทรีย์ใช้สารชีวภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อบีที เชื้อบิวเวอเรีย แล้วก็แตนเบียน ที่เริ่มทำมาได้ 2-3 ปี เพราะครั้งก่อนเคยใช้สารเคมี และได้เข้าร่วมกับเกษตรกร young smart farmer จึงทำให้รู้ว่า สารชีวภัณฑ์ ที่ไม่ใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีขึ้น เพราะถ้าหากใช้เคมีจะทำให้สารพิษตกค้างในเลือดเยอะ พอหลังจากหันมาใช้สารชีวภัณฑ์ ไปตรวจเลือดพบว่าค่าสารพิษตกค้างลดลง ทำให้สุขภาพร่างกายก็ดีขึ้น

อาชีพเก่ายังไม่ลืม

ไม่เพียงแต่สนใจปลูกมะพร้าวจนลืมสวนละมุด ที่เติบโตมาด้วยตั้งแต่เด็ก ละมุดที่สวนคุณอนันต์ จะเป็นพันธุ์หวานสุกดั้งเดิม ปลูกมาได้ 30-40 ปี ดูแลโดยการรดน้ำใส่ปุ๋ย ซึ่งปุ๋ยที่จะให้ ก็ต้องมีการวัดค่าวิเคราะห์ดินทุกครั้ง เพื่อไม่ให้สารอาหารในปุ๋ยขาดเกิน ใน 1 ปี จะมีการใส่ปุ๋ย 1-2 กิโลกรัม ต่อ 1 ต้น

หลังจากต้นละมุดเริ่มออกดอก จะเก็บผลได้ต้องใช้เวลา 7-8 เดือน ใน 1 ปี ละมุดสามารถเก็บผลผลิตได้หลายครั้ง ช่วงที่เก็บได้ ก็จะเป็นเดือนกรกฎาคมยาวไปจนถึงเดือนมีนาคม พอเข้าเดือนเมษายนก็จะเป็นช่วงเลี้ยงต้น รอดอก ออกผล เพื่อที่จะเก็บในรอบหน้า

ศัตรูของต้นละมุด ก็มีพวกหนอน กำจัดโดยใช้เชื้อบีที บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ฉีดคลุมใบ ใช้เวลาฉีด 7-10 วัน เมื่อฉีดแล้วสารจะไปเคลือบใบ ทำให้หนอนที่กินใบโดนสารที่เคลือบทำให้ตาย คุณอนันต์ เล่าว่า เมื่อก่อนตอนที่ใช้สารเคมี พอห่างยา หนอนก็จะกัดกินใบอ่อนจนเสียหมด แล้วตอนฉีดสารเคมี ใช้เวลาประมาณ 7 วัน หรือ 15 วัน

ผลละมุดที่เน่าเสีย จะนำไปทำปุ๋ยและเอาไปให้ไส้เดือนกิน เพราะที่กลุ่มมีการเพราะเลี้ยงไส้เดือน หรือผลใหญ่ๆ ที่สุกแล้วแต่เสีย ในผลจะมีแมลงวันทอง ที่ฝังไข่ไว้ในผล เรากำจัดโดยการนำไปฝังกลบดิน หรือนำไปทำน้ำหมักจุลินทรีย์ จะทำให้หนอนในแมลงวันทองตาย จะได้ไม่แพร่ขยายออกไปทำลายลูกอื่นอีก

คุณอนันต์ จะนำละมุดไปขายให้แม่ค้าที่ตลาดศรีเมือง ในตัวเมืองจังหวัดราชบุรี ราคากิโลกรัมละ 20 บาท เพราะที่สวนเก็บ 1 ครั้ง ได้เป็นร้อยลัง ปัจจุบันคนปลูกละมุดหวานสุกลดน้อยลง เพราะส่วนใหญ่หันมาทำสวนมะพร้าวและปลูกละมุดมาเลย์แทน

คุณอนันต์ ฝากถึงคนที่จะเริ่มต้นทำเกษตรว่า ต้องช่วยกันทำเกษตรที่ปลอดภัย ถ้ามีปัญหาสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชประจำจังหวัด ที่จะช่วยในการทำเกษตร และสารต่างๆ ก็สามารถขอได้ เพราะทางศูนย์สนับสนุนในการทำเกษตรปลอดภัย

“เครื่องผสมปุ๋ยชีวภาพ” ผลงานนวัตกรรมจากโครงการ “Learning Express” โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี (RMUTT) และ Singapore Polytechnic (SP) ประเทศสิงคโปร์ อีกหนึ่งโครงการของกองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้การดูแลของ รศ.ดร. ณฐา คุปตัษเฐียร ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาและคณาจารย์ด้วยการสร้างประโยชน์ให้กับคนในชุมชนด้วยความถนัดตามสาขาวิชาเอกของตนเอง

รศ.ดร. ณฐา คุปตัษเฐียร ผู้ช่วยอธิการบดี เปิดเผยว่า โครงการ Learning Express : RMUTT-SP ดำเนินการมาแล้ว 5 รุ่น เป็นโครงการที่ร่วมพัฒนากระบวนการคิด สร้างประสบการณ์การเรียนรู้โดยตรงผ่านการลงมือทำให้กับนักศึกษาไทยและนักศึกษาสิงคโปร์อย่างเต็มที่ ดำเนินกิจกรรมเป็นทีมสหวิชาการ (Multi-disciplinary) ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Social Innovation) ผ่านกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นทักษะในการคิดเพื่อฝึกให้นักศึกษาช่วยแก้ปัญหาในชุมชนต่างๆ ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์ของผู้อยู่ในชุมชน การระดมสมอง การคิดร่วมกับชุมชน ภายใต้การดูแลและแนะนำของ Facilitator ประจำแต่ละกลุ่ม

โดย “เครื่องผสมปุ๋ยชีวภาพ” เกิดจากการลงพื้นที่ Learning Express 2 ที่นำนักศึกษาของทั้งสองสถาบัน เข้าศึกษาเรียนรู้กระบวนการทำงานและวิถีชีวิตของเกษตรกร ณ โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา ชุมชนโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร. สานิตย์ดา เตียวต๋อย และ อาจารย์เดชรัชต์ ใจถวิล เพื่อให้นักศึกษาทั้งสองสถาบันสำรวจความต้องการของชาวบ้านในชุมชนโคกขาม ร่วมกันศึกษาหาแนวทางและวิธีแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน พบว่า ชาวบ้านในชุมชนโคกขามต้องการกระบวนการทำปุ๋ยชีวภาพจากขี้แดดนาเกลือให้สะดวกรวดเร็วและได้ปริมาณมาก เนื่องจากที่ผ่านมานั้นชาวบ้านใช้วิธีการผสมด้วยมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร ทำให้ใช้แรงงานและ

เวลาในการทำปุ๋ยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีการผลิตน้อย

จากปัญหาดังกล่าว ที่นักศึกษาจากโครงการได้ร่วมกันแก้ปัญหา คิดค้น และออกแบบเครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพตัวต้นแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้านชุมชนโคกขามแล้ว กลุ่มนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ นายธิติภัทร หาพรต นายพิษณุ มีมุข และ นายบดินทร์ สว่างศรี จึงได้ต่อยอดการออกแบบและสร้างเครื่องผสมปุ๋ยชีวภาพดังกล่าวให้เป็นเครื่องผลิตปุ๋ยจริงขึ้นมา โดยมี รศ.ดร. ณฐา คุปตัษเฐียร และ ผศ.ดร. ศิริชัย ต่อสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นที่ปรึกษา

ผศ.ดร. ศิริชัย ต่อสกุล เล่าว่า เครื่องผลิตปุ๋ยชีวภาพเครื่องนี้ สามารถผสมปุ๋ยจากขี้แดดนาเกลือได้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังทำให้ส่วนผสมต่างๆ เข้ากันได้เป็นอย่างดี ช่วยลดระยะเวลาและเป็นเครื่องทุ่นแรงให้แก่เกษตรกร การทำงานของเครื่องผลิตปุ๋ยนี้ใช้มอเตอร์ ขนาด 3 แรงม้า เป็นเครื่องต้นกำลังเพื่อไปขับชุดเกียร์ทดเพื่อส่งกำลังไปยังใบกวน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสามารถผสมปุ๋ยจากขี้แดดนาเกลือได้ ครั้งละ 50 กิโลกรัม ซึ่งมีกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัม ต่อวัน สามารถลดคนงานในการผสมปุ๋ยชีวภาพได้ถึง 2 คน และเพิ่มปริมาณการผสมปุ๋ยชีวภาพให้กับชาวบ้านได้ 130 กิโลกรัม ต่อวัน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Learning Express ตอบโจทย์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน นักศึกษาของทั้งสองสถาบันการพัฒนาตนเองในการสื่อสารจนเกิดความเข้าใจ ประสบการณ์ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชนพัฒนาทักษะการคิด การทำงานเป็นทีม สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนด้วยวิชาชีพของตนเอง

การเพาะเห็ด ต้องมีโรงเรือนเปิดดอกเห็ดเป็นปัจจัยสำคัญ โดยทั่วไปโรงเรือนจะมีขนาดใหญ่ ทั้งความกว้าง ยาว และสูงเพื่อให้ผู้เพาะเข้าไปทำงานภายในโรงเรือนได้สะดวก แต่ราคาสร้างโรงเรือนค่อนข้างแพง

เพื่อก้าวไปสู่วิถีใหม่ที่มั่นคง วันนี้จึงนำรูปแบบ โรงเรือนเปิดดอกเห็ดแบบบ้านบ้าน สร้างง่าย ราคาถูก เพื่อวิถีที่มั่นคง เป็นโรงเรือนขนาดเล็ก ผู้เพาะเห็ดทำงานภายนอกโรงเรือน เป็นโรงเรือนต้นแบบ ราคาถูก ผลงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลาที่น่าสนใจ จึงนำมาบอกเล่าสู่กัน

คุณวิชิต ตรีพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา เล่าให้ฟังว่า เห็ด (Mushroom) มีโปรตีนที่ให้คุณค่าทางโภชนาการกับผู้บริโภค เห็ดมีสารที่ช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง หรือโรคกระเพาะ จึงนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เห็ดมีให้เลือกบริโภคได้ทั้งที่เป็นเห็ดสดหรือเห็ดตากแห้ง

เห็ดมีหลายสายพันธุ์ พอจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

เห็ดรับประทานได้ นิยมนำมาทำอาหารบริโภคเพื่อเสริมสุขภาพ เช่น เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเข็มทอง หรือเห็ดนางรม
2. เห็ดที่ใช้เป็นยาสมุนไพร ซึ่งจะมีสรรพคุณทางยา เช่น เห็ดหลินจือ หรือเห็ดหอม
3. เห็ดพิษ เป็นเห็ดอันตราย ห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะจะเป็นอันตรายถึงแก่เสียชีวิต เช่น เห็ดจิก เห็ดสน หรือเห็ดระโงกหิน
การเพาะเห็ด มี 2 ทางเลือก คือ

ทางเลือกที่ 1 การเพาะเห็ดเพื่อเก็บผลผลิตบริโภคในครัวเรือน

ทางเลือกที่ 2 การเพาะเห็ดในเชิงธุรกิจที่ต้องการผลกำไร

แต่ทั้ง 2 ทางเลือก จำเป็นจะต้องมีโรงเรือนเปิดดอกเห็ดเหมือนกัน และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา ได้สร้างต้นแบบโรงเรือนเปิดดอกเห็ดราคาถูก ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับโรงเรือนขนาดใหญ่ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป โรงเรือนต้นแบบนี้ได้เปิดให้ประชาชนหรือเกษตรกรที่สนใจเข้ามาเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์ เพื่อนำกลับไปปรับใช้ลดต้นทุนการเพาะเห็ด

จัดหายางรถยนต์เก่ามาจัดทำเป็นฐานรองในการจัดทำชั้นวาง โดยเลือกยาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-27 นิ้ว 5-6 เส้นเพื่อให้ได้จำนวนชั้นตามที่ต้องการ
2. จัดทำแผงไม้ไผ่วงกลม เพื่อให้เป็นพื้นที่วางก้อนเห็ด ด้วยการจัดหาไม้ไผ่ที่มีในท้องถิ่นนำมาผ่าซีก ให้ได้ขนาดกว้าง 5-2 นิ้ว เหลาและลบเหลี่ยมเอาเสี้ยนไม้ออกให้หมด แล้วจักสานให้เป็นแผงไม้ไผ่วงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 นิ้ว 5-6 อันมัดทุกจุดที่เชื่อมต่อกันให้แน่น
3. จัดทำกระโจมหรือโดมไม้ไผ่ ด้วยการนำไม้ไผ่มาจักสานให้เป็นกระโจม 1 อัน เพื่อนำไปปิดด้านบนโรงเรือน
4. จัดทำเสาโรงเรือน ด้วยการนำลำไม้ไผ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-2 นิ้ว มาตัดให้เป็นท่อน ยาว 1.8-2 เมตร 6-8 อัน และ5. จัดหากระสอบป่านและผ้าพลาสติกเพื่อนำมาใช้ปิดคลุมรอบโรงเรือน
หมายเหตุ ผู้สร้างโรงเรือนเปิดดอกเห็ดสามารถเลือกใช้วัสดุชนิดอื่นได้ตามความเหมาะสม

วิธีสร้างโรงเรือนเปิดดอกเห็ด ควรเลือกพื้นที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง ปรับพื้นที่ให้ราบเสมอกันและสะอาด จากนั้นจัดวางยางรถยนต์เก่า 1 เส้น เพื่อเป็นฐานหลัก นำแผงไม้ไผ่วงกลมวางด้านบนยางรถยนต์เก่า ที่ขอบแผงไม้ไผ่ให้ผูกยึดกับเสาไม้ไผ่ให้แน่นทุกมุม ก็จะได้ ชั้นวางที่ 1 จากนั้นนำยางรถยนต์เก่า เส้นที่ 2 วางบนกึ่งกลางแผงไม้ไผ่วงกลมแล้วนำแผงไม้ไผ่วงกลมวางทับลงไปผูกยึดกับเสาไม้ไผ่ให้แน่นทุกมุม ก็จะได้ ชั้นวางที่ 2 ทำเช่นนี้ไปให้ได้ 5-6 ชั้น ตามที่ต้องการ ต่อจากชั้นบนสุดวางแผงกระโจมไม้ไผ่แล้วผูกยึดกับเสาให้แน่น นำกระสอบป่านปิดคลุมโรงเรือนทั้งหมด ส่วนด้านข้างปิดคลุมให้เปิด-ปิด ได้ ซึ่งแต่ละชั้นของแผงไม้ไผ่วงกลมจะเป็นพื้นที่วางก้อนเห็ด

คุณวิชิต ตรีพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา เล่าให้ฟังอีกว่า โรงเรือนเปิดดอกเห็ดแบบนี้สามารถใช้เพาะเห็ดได้หลายชนิด เช่น เห็ดหูหนู เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดเป๋าฮื้อ หรือเห็ดนางรม

วัสดุและอุปกรณ์เพาะเห็ด ที่ต้องเตรียม ได้แก่

1. อาหารเพาะเห็ด
2. หัวเชื้อเห็ด
3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7×11 นิ้ว หรือ 9×13 นิ้ว
4. คอและฝาครอบพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้ว
5. สำลี ตะเกียงแอลกอฮอล์ และยางรัด
6. ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
7. โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใยและเปิดดอกเห็ด
การเตรียมอาหาร มีส่วนผสมโดยเฉลี่ย ดังนี้

1. ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง 100 กิโลกรัม
2. รำละเอียด 5 กิโลกรัม
3. ดีเกลือ 2 กิโลกรัม
4. ปูนขาว (CaCO3) หรือเติมน้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม ใส่น้ำลงไปผสมให้มีความชื้น 60-70 เปอร์เซ็นต์ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วบรรจุถุงพลาสติกทนร้อนทันที กดให้แน่น สูง 2 ใน 3 ของถุง จะได้น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม รวบปากถุงไล่อากาศออก สวมคอพลาสติกแล้วพับปากถุงพาดลงมา ยางรัดให้แน่น อุดด้วยสำลี และหุ้มทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบพลาสติก นำไปนึ่งฆ่าเชื้อในถังนึ่งไม่อัดความดัน ที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง แล้วพักปล่อยให้เย็น ดึงจุกสำลีออกแล้วลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟ เทหัวเชื้อลงในถุง 15-20 เม็ด นำถุงที่ใส่เชื้อเห็ดไปวางบ่มเส้นใย ที่อุณหภูมิ 25-32 องศาเซลเซียส ไม่จำเป็นต้องมีแสง ไม่ต้องให้น้ำที่ถุงเชื้อ และเมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มถุงก็นำเข้าไปวางในโรงเรือนเปิดดอกเห็ดแบบบ้านบ้าน…เพื่อให้เห็ดออกดอก

การปฏิบัติดูแลรักษา เมื่อนำก้อนเชื้อไปวางในโรงเรือนเพื่อเปิดดอก ต้องรักษาอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ การถ่ายเทอากาศตามสภาพที่เห็ดต้องการ ปรับความชื้นภายในโรงเรือนให้เหมาะสม ไม่ควรให้มีน้ำขังอยู่ภายในก้อนเชื้อเห็ด และไม่ควรให้น้ำถูกดอกเห็ดโดยตรง ถ้าจำเป็นควรให้น้ำแบบฝอยละออง หากปฏิบัติดูแลรักษาที่ดีได้ตามแนวทางนี้ก็จะทำให้ได้ดอกเห็ดดีมีคุณภาพ

คุณวิชิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า เมื่อดอกเห็ดบานเหมาะสม ขอบหมวกยังไม่ยกขอบขึ้นหรือบานจนย้วย ให้เก็บดอกเห็ดในช่อดอกเดียวกันให้หมด อย่าให้มีเศษดอกเห็ดเหลือติดค้างอยู่กับก้อนเชื้อเพราะจะทำให้เน่า เชื้อโรคและแมลงจะเข้าไปทำลายได้ จากนั้นนำผลผลิตไปบริโภคหรือรวบรวมนำส่งขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อ

โรงเรือนเปิดดอกเห็ดแบบบ้านบ้านนี้ เป็นต้นแบบที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จัดหาได้ในท้องถิ่น ใช้ต้นทุนต่ำ ใช้งานได้ทนนาน ประชาชนหรือเกษตรกรที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้เสริมสร้างประสบการณ์เพื่อนำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสม เป็นหนึ่งวิธีการเพื่อก้าวไปสู่วิถีใหม่ที่พอเพียงและมั่นคง

จากเรื่องราว รูปแบบ โรงเรือนเปิดดอกเห็ดแบบบ้านบ้าน สร้างง่าย ราคาถูก เพื่อวิถีที่มั่นคง เป็นทางเลือก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเป็นการยกระดับรายได้สู่วิถีที่พอเพียงและมั่นคง สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณวิชิต ตรีพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โทร. (073) 274-451 หรือ โทร. (081) 373-0961 ก็ได้

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะถึงแม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถอยู่ร่วมโรคบนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข ตราบใดที่เรายังสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ตามเกณฑ์ ย้ำว่า…สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เหมือนคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเลย ถ้าสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ตามเกณฑ์ นี่คือเป้าหมายที่สำคัญค่ะ อ่านมาถึงตอนนี้แล้ว หลายๆ คนก็อาจจะสงสัยขึ้นมาในใจแล้วใช่ไหมว่า…เกณฑ์คือเท่าไร แล้วต้องทำยังไงถึงจะถึงจะบรรลุเป้าหมาย แล้วถ้าไม่สามารถคุมน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ โรคนี้จะมีผลเสียอะไรบ้าง

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกันก่อนค่ะว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โรคเบาหวานเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ หรือสร้างออกมาแล้วทำงานได้ไม่ดีพอ การทำงานของอินซูลิน คือทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อสร้างพลังงาน ดังนั้น ถ้าร่างกายผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ ควรเจาะตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีเกณฑ์ว่าถ้าเจาะหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง แล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือสุ่มเจาะน้ำตาลในเลือดโดยที่ไม่ได้อดอาหาร แล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ก็จะถือว่าคนผู้นี้เป็นเบาหวาน แต่สำหรับคนที่ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง อยู่ในช่วง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือสุ่มเจาะน้ำตาลในเลือดโดยที่ไม่ได้อดอาหาร แล้วพบว่าน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่าคนผู้นี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน แพทย์อาจยังไม่เริ่มยา แต่ผู้ป่วยควรควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

ทั้งคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานและเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน จะต้องควบคุมการรับประทานอาหารโดยลดการรับประทานของหวานลง รวมถึงอาหารจุกจิก ขนมนมเนย และไม่รับประทานมากกว่าที่ใช้พลังงาน เพราะพลังงานที่เหลือใช้จากการรับประทานอาหารมากเกินไป ก็สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและไขมันในร่างกายได้ ในคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้ยารักษา ซึ่งการรับประทานยาต่อเนื่องและมีการติดตามผลกับแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ ควบคู่การควบคุมอาหาร และออกกำลังกายด้วยก็จะทำให้เราควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย โดยเป้าหมายการรักษาเบาหวานจะถือว่าได้ผลดีต่อเมื่อ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อยู่ระหว่าง 70-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อเจาะระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง หรือไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

เมื่อสุ่มเจาะน้ำตาลในเลือดโดยที่ไม่ได้อดอาหาร หรือเมื่อเจาะค่าน้ำตาลสะสมหรือที่เรียกว่าค่า HbA1c แล้วได้ค่าไม่เกิน 7% ซึ่งโดยปกติแล้วค่าน้ำตาลสะสม แพทย์มักจะเจาะตรวจทุก 3-6 เดือน เพื่อดูว่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยระหว่างวันที่ไม่ได้มาพบแพทย์นั้นสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีทุกวันสม่ำเสมอหรือไม่ ค่า HbA1c เป็นค่าที่ค่อนข้างแม่นยำ เพราะแสดงถึงน้ำตาลที่เกาะบนเม็ดเลือดแดง ซึ่งเม็ดเลือดแดงของคนเราก็จะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 120 วัน ค่า HbA1c จึงสะท้อนถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดตลอดช่วงประมาณ 4-12 สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ค่อนข้างดี เพราะมีผู้ป่วยบางคนเวลาแพทย์นัดเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จะอดอาหารก่อนมาพบแพทย์ตามนัดล่วงหน้า 2-3 วัน ค่าน้ำตาลในเลือดก็สามารถลดลงมาได้ เหมือนทำให้ตัวเลขน้ำตาลดูดีขึ้นมาเพียงผิวเผิน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าไม่เคยควบคุมการรับประทานอาหารเลย แต่ถ้าลองมาเจาะค่า HbA1C ก็จะพบว่ามีค่าสูง (นี่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของผู้ป่วยที่ชอบหลอกหมอ)

หากผู้ป่วยสามารถคุมค่าน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายแล้ว ผลดีที่จะเกิดขึ้นก็คือ สุขภาพที่แข็งแรงค่ะ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนที่มักพบตามมาในโรคเบาหวาน เพราะโรคเบาหวานเป็นเพชรฆาตเงียบค่ะ เหมือนจะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่หากผู้ป่วยหลงระเริงปล่อยปละละเลยไม่สนใจ ยาก็รับประทานบ้าง ลืมบ้าง อาหารก็ไม่คุม เพราะคิดว่าไม่เป็นไร โรคนี้ก็จะค่อยๆ ชักชวนเพื่อนโรคอื่นๆ เข้ามากล้ำกราย เช่น โรคต้อกระจก โรคไต โรคชาปลายมือปลายเท้า โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรือเวลาเกิดบาดแผล แผลก็จะติดเชื้อหายช้ามาก บางคนถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะ เช่น ตัดขา เพราะเกิดแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย เพราะฉะนั้น ไม่คุ้มกันเลยนะคะที่จะปล่อยให้โรคต่างๆ แบบนี้เกิดขึ้นกับตัวเรา ทั้งๆ ที่เราสามารถที่จะป้องกันได้ เริ่มตั้งแต่วันนี้ด้วยการคุมน้ำตาลให้อยู่ในค่าเป้าหมายแค่นั้นเอง

ที่ต้องอธิบายเกี่ยวกับโรคเบาหวานมายืดยาว สมัคร Royal Online ก็เพราะว่าผู้ป่วยบางคนขาดความเข้าใจถึงความร้ายแรง หรือผลเสียของโรค ทำให้ละเลยการปฏิบัติดูแลตนเอง สำหรับใครที่สนใจจะรับประทานสมุนไพรเพื่อรักษาเบาหวานก็ขอแนะนำว่าสมุนไพรเหล่านี้เป็นเพียงทางเลือกเสริม โดยเฉพาะในคนที่รับประทานยาแผนปัจจุบันแล้วยังไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลงมาอยู่ในค่าเป้าหมายได้ การติดตามผลน้ำตาลและโรคแทรกซ้อน โดยการไปพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น รวมถึงการแจ้งแพทย์เกี่ยวกับสมุนไพรที่เราเลือกใช้เสริมเข้ามา เพราะแพทย์จะได้พิจารณาปรับยาให้ผู้ป่วยให้ได้อย่างเหมาะสม

4 อภินิหาร ผักฆ่าน้ำตาล

เป็นผักที่มีงานวิจัยสนับสนุนว่าช่วยในการลดน้ำตาลได้ จึงมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานควบคู่กับการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นพืชผักที่รับประทานกันอยู่แล้ว หาได้ง่าย และมีความปลอดภัยสูง โดยผู้ป่วยอาจเลือกใช้ผักเหล่านี้ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยอาจใช้สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ในคนที่คุมน้ำตาลได้ดีอยู่แล้วด้วยยาของแพทย์ อาจรับประทานเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดตกมากเกินไป

มะระขี้นก มีผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ยับยั้งการสร้างกลูโคส ทำให้มีผลลดน้ำตาลในเลือดได้ วิธีใช้คือ คั้นน้ำจากผลสดมื้อละ 2-3 ผล โดยเอาเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม 3 เวลา ก่อนอาหาร หรือนำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ 1-2 ชิ้น ต่อน้ำ 1 ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ 1-2 ถ้วย วันละ 3 เวลา ก่อนอาหาร

หรือรับประทานในรูปแบบแคปซูลครั้งละ 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน วิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ จะทำให้ความขมลดลง มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ ดังนั้น ควรรับประทานผลอ่อน ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็ก และคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรรับประทาน และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เพราะความขมจัดของมะระขี้นก อาจทำให้ตับทำงานหนักขึ้น