ชาวไทยภูเขา เผ่าลีซู ปลูกกาแฟ แซมแปลงอะโวกาโด้ ให้ผล

ลงทุนน้อย ราคาสูง ตลาดแน่นอนตอบแทนเร็ว ความเหมาะสมและได้เปรียบทางด้านภูมิประเทศจากสภาพความเป็นภูเขาและป่า จึงเป็นโอกาสให้ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดตากหลายแห่งประสบความสำเร็จ สามารถปลูกพืช ผักหลายชนิด รวมทั้ง อะโวกาโด ได้อย่างมีคุณภาพ

การเปลี่ยนจากพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกอะโวกาโดแทน เนื่องจากพืชชนิดนี้มีจุดเด่นตรงให้ผลตอบแทนเร็ว ลงทุนน้อย มีราคาสูง แล้วยังมีตลาดแน่นอน จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากการปลูกที่ขาดคุณภาพอาจส่งผลในทางตรงกันข้ามได้เช่นเดียวกัน

คุณธนากร โปทิกำชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สังกัดศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตาก (เกษตรที่สูง) ชี้ว่า แม้ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่อำเภอพบพระหลายแห่งมีการปลูกอะโวกาโดสร้างรายได้

แต่พบว่าส่วนมากเป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่ไม่ตรงตามความต้องการของตลาด จึงทำให้ไม่ได้ราคาสูงเมื่อเทียบกับการปลูกอะโวกาโดพันธุ์การค้า แล้วนี่เองจึงเป็นเหตุผลให้นักวิชาการท่านนี้พยายามผลักดันให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากอะโวกาโดพันธุ์เดิมมาเป็นพันธุ์ทางการค้า เพื่อให้พวกเขามีส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น

คุณธนากร พาไปดูสวนของ คุณรุ่งโรจน์ เลาย้าง ที่ตำบลคีรีราษฎร์ เขาบอกว่า เกษตรกรรายนี้มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และมีเป้าหมายในการปลูกอะโวกาโดจนประสบผลสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ กระทั่งเป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่เกษตร

ชาวไทยภูเขา ปลูก อะโวกาโด พันธุ์พื้นเมือง มีคุณภาพ

สวนของคุณรุ่งโรจน์ ตั้งอยู่เลขที่ 99/1 หมู่ที่ 13 ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีเนื้อที่ 15 ไร่ มีลักษณะพื้นที่ทั้งเป็นที่ราบและเนินสูง จึงทำให้คุณรุ่งโรจน์วางผังการปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ปลูกได้อย่างลงตัว

คุณรุ่งโรจน์ เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู เข้ามายึดอาชีพทำสวนเกษตรบนที่ดินแปลงนี้ด้วยการได้รับจัดสรรจากภาครัฐให้เมื่อปี 2531 ในช่วงแรกที่มาอยู่ได้ปลูกลิ้นจี่ แล้วนำไปขายที่ตลาด ลิ้นจี่มีราคาดีมาก แต่ปลูกยากเนื่องจากอากาศไม่เหมาะสม ต่อมาปลูกมะม่วงแก้วเพิ่มอีก แต่ไม่ค่อยได้ผล เลยตัดสินใจปลูกอะโวกาโดพันธุ์พื้นเมือง โดยไปหาพันธุ์มาจากชาวบ้านละแวกนั้นที่ปลูกไว้ตามบ้าน หลังละ 1-2 ต้น ขอมาบ้าง ซื้อมาบ้าง ครั้งแรกปลูกอยู่ 20 กว่าต้น เมื่อเห็นว่าปลูกและดูแลไม่ยุ่งยาก จึงขยายพันธุ์แล้วทยอยปลูกเพิ่มอีก โดยใช้ระยะปลูก 6 คูณ 6 เมตร

คุณรุ่งโรจน์ ไม่เคยรู้วิธีปลูกอะโวกาโดมาก่อน เขาแสวงหาความรู้ด้วยการถามชาวบ้านบ้าง สังเกตดูบ้าง แล้วเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่สิ่งที่เห็นว่าเป็นพืชน่าสนใจเพราะปลูกง่าย ต้นทุนน้อย และไม่เปลืองน้ำ ปุ๋ยยาไม่ต้องใช้มาก เพียงใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง พอเข้าปีที่ 2-3 จะใส่ปุ๋ยคอก ใส่ต้นละ 1-2 กระสอบ ต่อปี

เขาบอกต่ออีกว่า ในปีที่ 3-4 เริ่มมีผลผลิตเก็บขายได้ แต่เนื่องจากทยอยปลูกเป็นรุ่น เลยทำให้ได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ผลผลิตจะเริ่มทยอยออกนับจากเดือนพฤษภาคมไปตลอด ในรุ่นแรกที่เก็บได้ ต้นละกว่า 100 กิโลกรัม แล้วขายให้กับคนมารับซื้อในสวน ราคากิโลกรัมละ 30 บาท แล้วบอกว่าปีนี้ (2559) ขายอะโวกาโดได้ ประมาณ 50,000-60,000 บาท ส่วนปีที่แล้ว (2558) ขายได้เงินใกล้เคียงกัน

เกษตรกรรายนี้ปลูกอะโวกาโดมาเป็นเวลา 10 กว่าปี ศัตรูพืชที่พบคือ แมลงเข้าทำลายต้น ส่วนอีกอย่างคือ บุ้ง มักชอบกินใบ ถ้าเป็นโรคมักเป็นเชื้อรา โดยจะพบในช่วงหน้าฝน ส่วนวิธีป้องกันคือ การบริหารจัดการสวนให้มีคุณภาพ ลดการใช้สารเคมี และใช้พืชกลุ่มสมุนไพรในการป้องกันแทน

ยึดแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงเป็นต้นแบบ

การประกอบอาชีพเกษตรกรรมของคุณรุ่งโรจน์ได้ยึดแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่-เศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นกรอบในการดำรงชีพ โดยใช้แนวทางการปลูกพืชผสมผสาน ด้วยความคิดว่า “ปลูกพืชทุกอย่างที่กิน แล้วกินพืชทุกอย่างที่ปลูก ถ้ามีเหลือจึงแบ่งปัน”

จึงทำให้ คุณรุ่งโรจน์ มีแนวคิดที่จะหาพืชอื่นมาปลูกด้วยการนำพันธุ์กาแฟอราบิก้าที่ได้มาจากสำนักงานเกษตรดอยมูเซอ ซึ่งในครั้งแรกปลูกบริเวณรอบบ้านก่อน เมื่อเห็นว่าปลูกสำเร็จจึงค่อยขยายพันธุ์ แล้วนำไปปลูกระหว่างต้นอะโวกาโด ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระหว่างแถว 2 เมตร กาแฟที่ปลูกต้นที่แก่สุดมีอายุ 3 ปี ยังเก็บผลผลิตได้ไม่เต็มที่

สำหรับต้นกาแฟรุ่นใหม่จะปลูกทุกปี จนในเวลานี้มีต้นกาแฟจำนวนกว่า 2,000 ต้น ปลูกไว้หลายรุ่น ปลูกทุกปี ทั้งนี้ผลผลิตรุ่นแรกเก็บได้ประมาณ 400-500 กิโลกรัม ส่งไปเข้าโรงงานกาแฟดอยช้าง ที่เชียงราย ในราคาขาย กิโลกรัมละ 110 บาท

นอกจากนั้น ยังปลูกพืชสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นกระชายดำและข่า คุณรุ่งโรจน์ ชี้ว่าพืชสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ไม่ได้ปลูกเป็นแปลง แต่จะปลูกตามจุดต่างๆ รอบสวน แต่เมื่อรวมพื้นที่แล้วน่าจะประมาณ ชนิดละ 1 ไร่ ทั้งนี้ พบว่ากระชายดำมีราคาขายในตลาด กิโลกรัมละ 100 กว่าบาท เหตุผลที่ปลูกพืชผักสวนครัวและสมุนไพร เพราะเป็นคนที่ชอบพืชเหล่านี้ เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร แล้วถ้ามีเหลือจึงแจกจ่ายเพื่อนบ้าน

ในด้านแหล่งน้ำ คุณรุ่งโรจน์ ได้สร้างบ่อซีเมนต์เพื่อกักเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ไหลมาจากภูเขา จากนั้นได้ปล่อยให้น้ำบางส่วนไหลลงบ่อดินที่ขุดไว้ ขณะเดียวกันจัดทำเป็นระบบสปริงเกลอร์ไว้รดพันธุ์ไม้ต่างๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้เองในสวนของคุณรุ่งโรจน์จึงหมดปัญหาการขาดแคลนน้ำ มีเพียงบางคราว อย่างเมื่อ ปี 2558 ที่มีน้ำน้อยกว่าปกติเท่านั้น

ด้วยวัย 63 ปี ดังนั้น งานในสวนทั้งหมดจึงต้องว่าจ้างแรงงานเข้ามาทำเฉพาะเรื่องที่จำเป็น คุณรุ่งโรจน์ บอกว่าทุกวันนี้มีรายจ่ายประจำ ได้แก่ ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน และเบ็ดเตล็ด รวมทั้งหมดแล้วปีละประมาณ 20,000-30,000 บาท ส่วนรายได้ที่เกิดจากการทำสวนเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ได้ประมาณปีละ 50,000 กว่าบาท จะเก็บไว้ลงทุน ทั้งนี้รายได้หลักคือ อะโวกาโด เป็นการขายผลและต้นกล้า สำหรับเงินที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ได้จากเงินเดือนลูก

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง ให้ต้นพันธุ์มาปลูก ใช้ขยายพันธุ์ในอนาคต

การปลูกพืชไม้ผลอย่างมีคุณภาพจนประสบความสำเร็จของคุณรุ่งโรจน์ จึงทำให้คุณธนากรเลือกสวนของเขาสำหรับนำต้นพันธุ์อะโวกาโดทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นแฮสลูกผสม ปิเตอร์สัน หรือบัคคาเนียร์ ที่เพาะในถุงมาปลูก โดยตั้งใจว่าในอนาคตต้นพันธุ์เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการขยายพันธุ์ต่อไป

คุณธนากร บอกว่า คุณรุ่งโรจน์ นับเป็นเกษตรกรที่มีความขยัน รับฟังการแนะนำ ยอมรับและเปิดกว้างในสิ่งใหม่ๆ ดังนั้น ที่ผ่านมาผลผลิตหลายชนิดในสวนของเขาจึงประสบความสำเร็จและมีคุณภาพดีมาก

“ขณะเดียวกันยังเป็นแปลงปลูกอะโวกาโดพันธุ์พื้นเมืองได้จำนวนมากแล้วมีคุณภาพ ดังนั้น จึงเป็นจุดแข็งที่เหมาะกับการต่อยอดเพื่อปลูกพันธุ์ทางการค้าต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงเลือกสวนของคุณรุ่งโรจน์เพื่อนำต้นกล้าพันธุ์ทางการค้าบางชนิดมาปลูกเพื่อให้เติบโตเป็นต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพในอนาคต”

ในท้ายนี้ คุณรุ่งโรจน์ บอกว่า การยึดอาชีพเกษตรกรรมควรปลูกหลายอย่างรวมกัน อย่าปลูกเพียง 1-2 อย่าง อีกทั้งควรเป็นพืชที่ใช้กินได้และขายได้ด้วย เพราะไม่ได้ต้องการเป็นสวนสร้างเงินอย่างเดียว ควรเป็นสวนที่ใช้เลี้ยงชีวิตครอบครัวด้วย

“คราวใดที่เกิดความเดือดร้อน ข้าวยากหมากแพง ยังสามารถนำสิ่งที่ปลูกเหล่านี้มาบริโภคแทนการหาซื้อที่ลำบากแล้วยังมีราคาแพงด้วย ควรทำเกษตรกรรมแบบอย่างที่ในหลวงท่านทรงสอนไว้ ด้วยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะประสบด้วยตัวเองแล้วว่าเป็นความยั่งยืนอย่างแท้จริง”

ในสังคมทุนนิยมสุดขั้วอย่าง อเมริกา เขามีกลุ่มชนที่มีขนบปฏิบัติสวนกระแสเข้มแบบไม่สนใครอยู่ ปะปนเป็นพลเมืองร่วมกับคนอื่นแหละ แต่ก็แยกตัวเองออกด้วยขนบปฏิบัติที่ไม่เหมือนใคร

Amish หรือ อามิช เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อเรื่องการพึ่งพาตนเอง เกี่ยวข้องกับโลกภายนอกน้อยที่สุด พึ่งพาเทคโนโลยีน้อยที่สุด เป็นคริสเตียนในแบบของตนเอง นับถือพระเจ้า แต่มีวิธีเข้าหาพระเจ้าต่างจากคริสเตียนสายอื่น

เทียบกับของไทยที่ใกล้ที่สุด คงเป็นกลุ่มสันติอโศก แต่อามิชเก่าแก่กว่ามาก

เทือกเถาเหล่ากอเขามาจากสวิตเซอร์แลนด์เมื่อสี่ร้อยกว่าปีโน่นแล้ว ขยับไปเยอรมัน ใช้ภาษาเยอรมันคุยกัน ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 เขาก็อพยพมาอเมริกา บางส่วนไปแคนาดา สาเหตุการอพยพคือ ปัญหาความขัดแย้งเรื่องศาสนา ถูกกดขี่บีฑาจากคริสเตียนกระแสหลัก

ที่อเมริกานี่เขาพากันปักหลักที่รัฐเพนซิลวาเนียก่อน ต่อมาขยายไปเมืองอื่นด้วย ตอนนี้ก็อยู่แถวไปรัฐของฉันคือวิสคอนซินก็เคยเห็น แต่ถิ่นย่านอามิชเก่าแก่ และกลายเป็นเมืองอามิชจนถึงปัจจุบันก็อยู่ในเพนซิลวาเนีย

เขายังใช้ภาษาของเขาเอง คือ ภาษาเยอรมัน แต่คงดัดแปลงกันมาบ้าง ฉันฟังไม่รู้เรื่อง แต่เขาก็พูดภาษาอังกฤษได้นะ

คนอามิชไม่ยอมเกณฑ์ทหาร ไม่ซื้อประกันชีวิต ไม่สมัครประกันสังคมใดๆ ทั้งสิ้น เด็กจะเรียนในโรงเรียนตามกฎหมายถึงแค่เกรดแปด หลังจากนั้นจะเรียนวิชาชีพ สอนโดยพ่อแม่และคนในสังคมเอง เขาจะเรียนถึงแค่อายุ 16 จากนั้นก็ออกมาทำงานมีครอบครัว คนอามิชจึงไม่ได้เรียนหนังสือสูง มีหลายคนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

เขาทำนา เลี้ยงสัตว์ รีดนมวัว ไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีใดๆ เสื้อผ้าใช้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ก่อนนี้เขาใช้ผ้าย้อมด้วยมือเลยทีเดียว เดี๋ยวนี้ใช้ผ้าที่มีขายทั่วไป แต่ใช้สีพื้น เช่น สีดำ สีน้ำเงิน สีน้ำตาล ไม่ใส่สีฉูดฉาด

แต่พักหลังก็เห็นสาวๆ นุ่งสีสันเหมือนกันนะ แต่เฉพาะในงานพิเศษ งานรื่นเริงอะไรแบบนั้น และต้องเป็นงานใหญ่จริงๆ จึงจะทำได้ และที่สำคัญต้องได้รับอนุญาตจากผู้คุมกฎของเขา

ตอนหลังนี่เขาใช้เครื่องซักผ้าบ้างแล้ว ไม่ซักด้วยมือดังก่อนเก่า แต่ก็ยังตากผ้าแทนการอบเหมือนคนอเมริกันทั่วไป

อามิชถือว่ามีลูกมากยิ่งดี (สังคมเกษตรย่อมต้องดิ้นรนอยู่แล้ว) ถือว่าครอบครัวใหญ่เป็นพรของพระเจ้า พ่อแม่คู่หนึ่งมีลูก 4-5 คน เป็นปกติ เขาไม่คุมกำเนิด ดังนั้น จำนวนอามิชซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆ หลักแสนจึงขยายตัวสูงมาก อัตราเฉลี่ยของประชากรอเมริกัน ช่วงปี ค.ศ. 1992-2013 ขยายตัว ร้อยละ 23 แต่ประชากรอามิชขยายตัว ร้อยละ 120 ตอนนี้มีอยู่ราว 300,000 คน ทั่วอเมริกา

อามิชจะแยกสังกัดโบสถ์แต่ละแห่ง และจะแต่งงานกันภายในสมาชิกโบสถ์เท่านั้น แต่ละโบสถ์มีสมาชิก 20-30ครอบครัว ดังนั้น ก็คือแต่งงานกันภายในคนกลุ่มนี้แหละ และที่เรียกว่าโบสถ์นี่คือ กลุ่มกระทำพิธีทางศาสนาร่วมกัน มีบาทหลวงมีศาสนาจารย์เหมือนกัน เพียงแต่ไม่มีตัวโบสถ์ เขาจะย้ายไปประกอบพิธีตามบ้านของสมาชิกแต่ละราย อาทิตย์เว้นอาทิตย์

กฎของสังคมหรือกฎของโบสถ์ เรียกว่า Ordnung เป็นภาษาเยอรมัน แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า order จะครอบคลุมการใช้ชีวิตทั้งหมด ทั้งการแต่งกาย แต่ได้แค่ไหนอย่างไร จะใช้เครื่องไฟฟ้าได้หรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน ใช้รถได้ไหม ใช้โทรศัพท์ได้ไหม แต่ละโบสถ์แต่ละสังคมแตกต่างกันไป

เขาบอกว่าใครที่ออกจากชุมชนไป เมื่อตายแล้วจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ แนวคิดของอามิชคือ เชื่อฟังคนสั่งสอนที่สืบเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน เคารพกฎของสังคม และเชื่อฟังผู้อาวุโส การตัดสินเรื่องราวส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมอามิช ใช้ผู้เฒ่าผู้แก่เป็นคนตัดสิน ใครไม่เชื่อก็ถือว่านอกคอก มีวิธีลงโทษที่ผู้เฒ่าผู้แก่อีกนั่นแหละเป็นผู้กำหนด เช่น ไม่ให้ใครคบค้าสมาคมด้วย หรือจับตัดหนวดตัดเครา เป็นการลงโทษที่น่าหัวร่อ แต่รุนแรง เพราะไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

เขามีความเชื่อว่า คนออกไปนอกสังคมอามิชแล้ว จะ “แปดเปื้อน” แต่ที่จริงฉันว่าขู่กันไม่ให้คนกล้าออกไปมากกว่า

คนหนุ่มสาวอามิชออกมาจากสังคมไปมากต่อมาก หลายต่อหลายคนไม่กลับไปอีก ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร อามิชยังใช้รถม้าเป็นพาหนะเดินทางในเมืองและถ้าไปต่างเมือง อย่างมากเขาจะขึ้นรถไฟ น้อยมากที่จะขึ้นเครื่องบิน ไปไหนมาไหนก็หอบหิ้วกันเป็นโขยง

สาวอามิชคนหนึ่งที่ฉันรู้จักนั่งเครื่องบินครั้งแรก อายุ 19 ตกใจแทบสิ้นสติเมื่อเห็นเครื่องบินลำเบ้อเร่อขึ้นไปลอยบนท้องฟ้าได้

แต่คนอามิชที่ยังอยู่ในสังคมของเขาก็ยืนยันว่าตนเองมีความสุข และหลักการพึ่งพาตนเองและจับกลุ่มกันไว้ให้แน่นนั้นดีแล้ว

อามิชเป็นชนกลุ่มน้อยยิ่งกว่าน้อย ทั้งวิถีชีวิตยังสวนกระแสสุดขั้ว แต่ประเทศทุนนิยมสุดขั้ว อย่าง อเมริกา ก็เคารพในหลักการของพวกเขา ไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการแต่อย่างใด รถม้าของคนอามิชยังวิ่งเตาะแตะๆ บนถนนพร้อมกับรถยนต์ทั่วไปโดยไม่มีใครมาสั่งให้ออกไปจากถนนได้

ทั้งหมดคือ สิ่งที่เราเรียกว่า เคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน ใครที่ด่าอเมริกาว่าหยาบ จงเทียบตัวเองดูว่าเราเคารพความเป็นมนุษย์เท่าเขาไหม ประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกในฤดูฝน จึงเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 8.3 ล้านล้านบาท เป็น 9.5 ล้านล้านบาท ก็ตาม แต่เมื่อมองลึกลงไปในภาคการเกษตร จีดีพี กลับลดลงที่ระดับ 6.2 แสนล้านบาท เนื่องมาจากมีปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวม เริ่มจาก ข้าว

พืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ในแต่ละปีส่งออกนำเงินตราเข้าประเทศ มีมูลค่า 1.5-1.7 แสนล้านบาท จากปริมาณการผลิต 21-22 ล้านตันข้าวสาร ในจำนวนนี้ใช้บริโภคภายในประเทศ 9.8 ล้านตัน และส่งออกอีก จำนวน 10.0 ล้านตัน ในรอบปีที่ผ่านมาประเทศคู่ค้าของไทยผลิตข้าวได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ก็ตาม และขณะเดียวกันประเทศเวียดนาม พม่า และอินเดีย มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย สามารถส่งออกได้ราคาถูกกว่า ตันละ 900-1,000 บาท ทำให้ประเทศคู่ค้าหันไปซื้อข้าวที่มีราคาถูกกว่า ข้าวไทยจึงเกิดปัญหาในเรื่องราคา

ยางพารา ไทยเคยส่งออก 3 ล้านตัน แต่ที่ผ่านมาสหภาพยุโรปเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จีนก็มีปัญหาคล้ายคลึงกัน ส่วนญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัวจากผลของสึนามิถล่ม ความต้องการนำเข้ายางธรรมชาติน้อยลงไป มีผลทำให้ราคายางในประเทศตกต่ำมาหลายปีติดต่อกัน

มันสำปะหลัง ในแต่ละปีไทยผลิตมันสำปะหลังได้ 30 ล้านตัน ในรอบหลายปีที่ผ่านมาข้าวสาลีมีราคาตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ทำให้เกษตรกรนำข้าวสาลีไปเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ ขาดแคลนมันสำปะหลังมากขึ้นแน่นอน ปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนต่อการส่งออกมันสำปะหลังไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้าวโพด เคยผลิตได้ 4.6-4.8 ล้านตัน แต่ปีที่ผ่านมาประสบภาวะแห้งแล้งในต้นปี ทำให้ผลผลิตลดลงไม่เพียงพอสำหรับนำมาผลิตอาหารสัตว์ สิ่งสำคัญการปลูกข้าวโพดของไทยมีผลต่อการทำลายป่าไม้ รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาบริหารจัดการอย่างเหมาะสม

ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตเฉลี่ยแต่ละปี 10-12 ล้านตันทะลายสด การเกิดสภาวะแห้งแล้งทำให้ผลผลิตลดลง ในปีที่ผ่านมาไทยต้องนำเข้าน้ำมันปาล์ม จำนวน 50,000 ตัน เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการบริโภค และทำไบโอดีเซลคู่ขนานกันไป

ผลไม้และผลิตภัณฑ์ นำเงินตราเข้าประเทศ ประมาณ 1.0 แสนล้านบาท การบริโภคภายในประเทศและการส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้น 10.7 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะสับปะรด ลำไย และทุเรียน เป็นตัวนำตามมาด้วย มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ และกล้วยหอม

น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ มีมูลค่าเฉลี่ยทุกปี 9.8 หมื่นล้านบาท มีอัตราการบริโภคและส่งออกเพิ่มขึ้น 3.0 เปอร์เซ็นต์

ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา นำเงินตราเข้าประเทศ 1 แสนล้านบาท หลังจากมีการกีดกันการค้าและการใช้แรงงานต่างด้าว ทำให้การส่งออกลดลง 9.0 เปอร์เซ็นต์

เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ทำเงินในแต่ละปี ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ในปีนี้มีอัตราส่งออกเพิ่มขึ้น 9.7 เปอร์เซ็นต์

สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ข้าวสาลี นำเข้ามาใช้เป็นพืชอาหาร มูลค่า 6.9 หมื่นล้านบาท มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้น 49.0 เปอร์เซ็นต์

ถั่วเหลืองเมล็ด เพื่อใช้บริโภค มูลค่านำเข้า 4.1 หมื่นล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น 9.7 เปอร์เซ็นต์

กากถั่วเหลือง ใช้ผลิตอาหารสัตว์ มูลค่า 6.3 หมื่นล้านบาท มีอัตราลดลง 15 เปอร์เซ็นต์

ฝ้ายและเส้นใยฝ้าย นำเข้ามูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์

แอปเปิ้ล องุ่น และผลไม้เมืองหนาวอื่นๆ มูลค่านำเข้า 3.3 หมื่นล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์

นมและผลิตภัณฑ์นม มีมูลค่าการนำเข้า 1.9 ล้านบาท และต้องการในปริมาณคงที่

สรุปโดยรวม แม้ว่าสินค้าเกษตรของไทยหลายชนิดจะมีปัญหา แต่อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมา สินค้าเกษตรไทยก็ยังเกินดุลย์มาอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รัฐบาลต้องทุ่มเทการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในโอกาสนี้ ผมขอฝากการบ้านให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งวิจัยว่า เกษตรกรในแต่ละภูมิภาคควรมีรายได้ขั้นต่ำเป็นเท่าใด แนวคิดและวิธีปฏิบัติดังกล่าว ผมใช้มาแล้วเมื่อ 30 ปีก่อนโดยมิได้ลอกเลียนแนวคิดของเจ้าสัวคนดังของไทยแต่อย่างใด แล้วเร่งวิจัยหาขนาดไร่นาที่เหมาะสมกับเกษตรกรในการถือครอง ญี่ปุ่นเขากำหนดให้เกษตรกรแต่ละราย 6.25 ไร่ ส่วนเวียดนาม กำหนดให้ใช้ที่ดิน รายละ 12 ไร่ แต่ที่ดินยังเป็นของรัฐ เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด

คุณอาธัญฤทธิ์ สีท้าว เจ้าของสวนพริกไทย ไร่ธัญฤทธิ์ (ศูนย์จำหน่ายพันธุ์และถ่ายทอดความรู้เกษตรผสมผสาน) เลขที่ 98/9 หมู่ที่ 5 ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โทร. (097) 924-9993, (056) 000-579

คุณอาธัญฤทธิ์ สีท้าว ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่สนใจการเกษตร โดยปลูกพริกไทยพันธุ์ซีลอน (ยอดขาว) ซึ่งพันธุ์ซีลอนยอดขาว เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาว โดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่าคือส่วนยอด ช่อผลจะยาว การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัก ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัก นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง กำลังเป็นที่นิยมปลูก เนื่องจากสามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบหรืออากาศร้อน เพียงแต่จะต้องมีสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มีการพรางแสงช่วย

ขั้นตอนการเตรียมดิน

สำหรับการเตรียมดินนั้น เราจะใช้ดินในส่วนแรก หน้าดิน จำนวน 70% ผสมขุยมะพร้าว จำนวน 10% ผสมปุ๋ยคอกเก่า จำนวน 10% ผสมพวกเศษวัสดุการเกษตร เช่น เปลือกถั่วต่างๆ ใบก้ามปู ใบไผ่ จำนวน 10% เคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน โดยเรียงลำดับชั้น โดยแต่ละชั้นจะราดน้ำยาช่วยย่อยสลายพวกปุ๋ยน้ำหมักจุลินทรีย์ลงไปเพื่อให้เกิดการย่อยสลายที่เร็วขึ้น และหมักทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และค่อยนำมาลงหลุมปลูก หรือบางท่านอาจจะมีส่วนผสมไม่พอตามที่ระบุไว้ อาจใช้แค่ซากพืชและพรวนดินพร้อมใช้น้ำยาช่วยย่อยสลายก็ได้เช่นกัน

ขั้นตอนการปรับพื้นที่ดิน เพื่อให้พื้นที่มีความลาดเอียงและระบายน้ำได้ดี โดยอาจจะปรับพื้นที่ให้สูงจากด้านใดด้านหนึ่งหรือการยกร่อง เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพริกไทย ซึ่งการเตรียมพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วมขัง หรือน้ำขังแฉะจะมีความสำคัญมาก เนื่องจากต้นพริกไทยชอบน้ำ แต่กลัวน้ำขังแฉะ ส่วนมากมักเป็นแปลงปลูกที่เป็นดินเหนียวที่มักจะเจอปัญหาน้ำขังและแห้งช้า อาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย

สำหรับแปลงดินร่วนปนทรายจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำขัง เพราะระบายน้ำได้ดี แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าร้อนอาจทำให้เปลืองน้ำและพื้นดินร้อนระอุเก็บน้ำไม่อยู่ อาจจะต้องใช้ฟางคลุมรอบต้นพริกไทยและรดน้ำช่วยเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น สำหรับแปลงดินลูกรังหรือดินกรวดแข็งบริเวณหลุมปลูกพริกไทย อาจจะต้องขุดหลุมกว้างเพิ่มขึ้น ประมาณ 50 เซนติเมตร และลึก 30 เซนติเมตร และนำดินที่หมักไว้ในขั้นตอนแรกผสมลงไป เพราะการที่เราทำให้ระบบรากของพริกไทยนั้นเดินได้ดี จะต้องมีการปรุงดินเพื่อให้ร่วนซุย เพื่อให้มีปุ๋ยรองอยู่ที่พื้นดินและสามารถให้คุณค่าทางอาหารกับพืชได้นาน

การวางระบบโครงสร้าง

เราจะมาเริ่มลงเสาโดยเสาปูน ที่ทางภาคกลางใช้จะเป็นเสาปูน มีทั้งหมด 2 ชนิด เสาปูนแบบธรรมดา
เสาปูนแบบแรงอัด เสาปูนกับเสาแรงอัด มีความแตกต่างระหว่างเสาปูนกับเสาแรงอัด คือจะมีความแข็งแรงมากกว่า เพราะเสาหล่อปูนธรรมดานั้นจะค่อนข้างที่จะแตกหักง่าย มีราคาถูก แต่สำหรับเสาปูนแรงอัดราคาค่อนข้างสูง และหาซื้อได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น ระยะห่างการปลูก อยู่ที่ 2×2 ถึง 2.5×2.5 เมตร

สำหรับแปลงที่ใช้เสาปูนหล่อธรรมดา จะต้องแยกระหว่างเสาปูนและเสาซาแรน เพราะว่าหากกรณีที่เกิดลมพายุพัดแรง จะทำให้เสาซาแรน ที่มีพริกไทยอยู่นั้นหักลงได้ จึงต้องแยกกัน เพราะเวลาที่มีลมเกิดขึ้นนั้นตัวซาแรนบังแดดจะพับและโยกค่อนข้างที่จะแรง เนื่องจากจะต้องขึงยาวตามแนวเสา จึงต้องแยกระหว่างเสาปลูกและเสาซาแรน ทำให้ป้องกันการหักในส่วนของเสาพริกในตรงนี้ได้

และสำหรับเสาแรงอัด เราสามารถที่จะใช้โครงสร้างเหล็กหรือไม้ยึดติดกับด้านบนของเสาได้เลย เพราะค่อนข้างแข็งแรงบริเวณหัวเสาจะมีเหล็กโผล่ขึ้นมา จำนวน 2 ถึง 4 เส้น ไว้สำหรับพาดยอดไหลของพริกไทย โดยในส่วนของโครงสร้างซาแรนบังแดดอาจจะใช้เป็นไม้หรือโครงเหล็กก็ได้ แล้วแต่งบประมาณของเกษตรกร และการขึงซาแรนบังแดดนั้น จะขึงบังแสง โดยให้ต้นพริกไทยอยู่กึ่งกลางของซาแรน และแต่ละผืนจะมีระยะห่างกันอยู่ที่ 30-50 เซนติเมตร เพื่อให้มีแสงลอดผ่านบ้าง โดย เบอร์ 60-70% ซาแรนที่ใช้กรองแสงจะใช้เฉพาะสีดำเท่านั้น ซึ่งมีความเหมาะสมกว่าซาแรนสีอื่น

หลังจากนั้น เราจะเริ่มวางระบบน้ำโดยจะใช้เป็นน้ำหยดหัวเสา นั่นคือ จะมีสาย พีอี ขนาด 1 นิ้ว เป็นสายเมนหลัก และจะใช้ท่อไมโคร ต่อเข้าไปกับท่อ พีอี ขนาด 1 นิ้ว และโยงขึ้นไปบนหัวเสาพริกไทยบริเวณส่วนกลางเพื่อให้น้ำนั้นไหลได้ทั้ง 4 ทิศทางของเสา โดยระบบน้ำหยดไหลหัวเสานี้จะช่วยในการประหยัดน้ำได้อย่างดีมาก และวิธีการต่อจะใช้วิธีการต่อแบบประสานกัน ก็คือ หัวทุกหัวจะเชื่อมต่อถึงกันหมด เพื่อให้น้ำไหลพร้อมกันทุกหัว ทำให้ไม่เปลืองน้ำและได้รับน้ำสม่ำเสมอกัน

หลังจากนั้น เราก็เตรียมพื้นที่ปลูกโดยวิธีการปลูก จะใช้ได้ทั้งแบบตุ้มตอนและถุงชำ ความลึกของการปลูกนั้นจะลงไปแค่ครึ่งถึง 1 ฝ่ามือ เท่านั้น จะลงไม่ลึกมาก เพราะว่าในช่วงแรกก็ได้พริกไทยต้องการขยายราก หากปลูกลึกเกินไปจะเกิดปัญหารากเดินได้น้อย จึงต้องปลูกสูงขึ้นมาจากหลุมขุดหรือไม่ก็ต้องพรวนดินให้โปร่งเหมาะสำหรับการเดินของราก

การเลือกกิ่งพันธุ์ปลูก

กิ่งพันธุ์ที่ดีและแข็งแรงนั้นจะนิยมเลือกกันที่ต้นพันธุ์อายุ 10 เดือน ถึง 2 ปีเท่านั้น เพราะหากมากกว่านั้นต้นพันธุ์จะไม่แข็งแรง เนื่องจากให้ผลผลิตมามากถึง 2 รุ่นแล้ว หากอยากได้กิ่งพันธุ์ที่ดีต้องศึกษาว่าต้นพันธุ์ที่ได้มานั้นอายุกี่ปี ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกแล้วตาย หรือเป็นโรคสาเหตุหลักจะมาจากต้นพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ โดยการขยายพันธุ์ของพริกไทยนั้นจะมีด้วยกันหลายวิธี แต่ที่นิยมคือ ตอน ปักชำ และตอนแล้วนำมาปักชำ ซึ่งอธิบายคร่าวๆ ดังนี้

แบบตอน หรือตุ้มตอน เราสามารถนำมาแกะถุงลงปลูกได้เลย โดยจะใช้ตุ้มตอนที่ออกรากค่อนข้างมากแล้วเท่านั้น โดยจะใช้เวลาที่จะแตกยอดใหม่หลังจาก 2 สัปดาห์ ขึ้นไป

แบบปักชำ คือนำกิ่งที่ตัดมาจากต้นมาปักชำลงในถุงชำ หรือปลูกลงไปในดินเลย และรอให้รากเดิน ซึ่งการปักชำนี้ตัวกิ่งชำจะต้องชุบน้ำยากันเชื้อรา เพราะมีโอกาสติดเชื้อราได้ง่าย เพราะตัดออกมาจากต้นเลย จะง่ายและรวดเร็ว แต่การรอดและสมบูรณ์ของต้นจะน้อย ตัวกิ่งพันธุ์ต้องแก่และแข็งแรงถึงจะดี บางพื้นที่จะนำกิ่งชำไปควบแน่น เพื่อเร่งสร้างยอดและราก ซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่จะทำเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและจำหน่ายพันธุ์

แบบตอนแล้วนำไปชำ วิธีการนี้จะค่อนข้างได้ผลดีมากกว่าทั้ง 2 วิธี และเปอร์เซ็นต์ต้นที่สมบูรณ์ค่อนข้างสูง เพราะจะนำตุ้มตอนที่ออกรากจนดีแล้วมาชำลงในถุง เพื่อให้เกิดการขยายรากเพิ่มในถุงอีก 1 ชั้น จะมีระบบราก 2 ชั้น และพอปลูกไปแล้ว โอกาสที่จะเติบโตเร็วมาก แต่ราคาค่อนข้างจะสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ปลูกและความสะดวกในการบริหารจัดการ

การปลูกและดูแลต้นพริกไทย

หลังจากที่ได้เตรียมระบบโครงสร้างและดินแล้ว คราวนี้เราจะเริ่มการปลูกและขั้นตอนดูแลจนถึงออกผลผลิต ก่อนปลูกแนะนำให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งจะเป็นธาตุอาหารที่จะใช้ในการเติบโตระยะยาว และค่อยเทดินที่เราหมักไว้ลงไป หลังจากนั้นจึงขุดหลุมให้ขนาดพอดีกับถุงชำ หรือตุ้มตอน ลึกลงไปประมาณ 1 ฝ่ามือ และกลบดินให้มิดโคนต้นและรดน้ำตามทันที ระวังอย่าให้ดินปลูกแห้งหรือแฉะน้ำมากเกินไป หลังจากนั้นต้องรดน้ำเช้า-เย็น 5-10 นาที ตามความเหมาะสม หรือถ้ากรณีมีฝนตกน้ำชุ่มอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องรดก็ได้ และทำเช่นนี้จนกระทั่งครบ 3 เดือน จึงจะเริ่มให้ปุ๋ย สูตร 24-7-7 หลุมละ 1 กำมือ เดือนละ 1 ครั้ง และใส่ปุ๋ยมูลวัว หลุมละ 10 กิโลกรัม 3 เดือนครั้ง ตั้งแต่ 3-10 เดือน

สำหรับฮอร์โมนบำรุงใบ จะใช้ประเภทที่มีส่วนผสมของแคลเซียม สังกะสี สาหร่ายสกัด ปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 18-6-6, 30-20-10 เป็นต้น เดือนละ 1-2 ครั้ง จะใช้เป็นฮอร์โมนสำหรับบำรุงการเติบโตของพืชประเภทเถาเลื้อย จนกระทั่งอายุได้ 10-12 เดือน ถ้าต้นสมบูรณ์ดีและยอดพริกไทยสุดเสาปูนแล้วเตรียมเปิดตาดอก โดยตัดยอดไหลของพริกไทยที่บริเวณหัวเสา และทาด้วยปูนแดง จากนั้นใช้ฮอร์โมนสำหรับเร่งเปิดตาดอก และปุ๋ยสูตร 8-24-24 หลุมละครึ่งกิโล 1 ครั้ง หากเกิดเชื้อราประเภทต่างๆ ให้แก้ตามอาการ หากดอกเริ่มบานและเกสรร่วง ให้ฉีดฮอร์โมนกลุ่มแคลเซียมโบรอน เพื่อเพิ่มเมล็ดและฉีดฮอร์โมนเร่งเต่ง+ขั้วเหนียว ทุก 10-15 วัน จนกว่าจะเก็บผลผลิต

โรคและศัตรูพืชที่พบบ่อย

โรคเชื้อรา รากเน่า โคนเน่า เน่าเข้าไส้ ใช้ยากลุ่มคาร์เบนดาซิม หรือกลุ่มฟอสอีทิลอะลูมิเนียม ในการยับยั้งหรือฉีดป้องกัน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่มีความชื้นสะสมค่อนข้างสูงในแปลงปลูก ศัตรูพืช เพลี้ยแป้ง ใช้สารกำจัดเพลี้ยชนิดเดียวกับที่ฉีดในนาข้าว และแตงโม ส่วน หอยทาก ใช้สารกำจัดหอยเชอรี่ชนิดเม็ดโรยรอบโคนต้น ห่างจากพริกไทย 1 ฟุต หรือจะนำทรายไปโรยไว้รอบๆ โคนก็ได้ โดยปกติแล้วพริกไทยหากต้นพันธุ์แข็งแรงจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะจะมีภูมิต้านทานสูง ดังนั้น หากผู้ที่สนใจปลูกพริกไทย ต้องศึกษาหาข้อมูลและตรวจสอบแปลงของแหล่งพันธุ์ว่าเหมาะกับการทำพันธุ์หรือไม่ จะทำให้ประสบความสำเร็จจากพริกไทยได้ง่าย และจะลดปัญหาการซื้อเพื่อปลูกซ่อมอีกด้วยครับ

การจัดตั้งกลุ่มเพื่อทำเกษตรแบบรวมกลุ่ม สล็อตออนไลน์ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เรื่องการปลูกพริกไทย โดยคุณอาธัญฤทธิ์ เล่าว่า ตอนนี้ได้จัดตั้งรวมกลุ่มเพื่อนๆ เกษตรกรที่ปลูกพริกไทย โดยใช้ชื่อ “กลุ่มพริกไทยเกษตรอินเตอร์” ซึ่งหลายๆ ท่านเคยรู้เรื่องของพริกไทยมาบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วต้องคิดว่ามันปลูกได้เฉพาะบางจังหวัดหรือบางพื้นที่เท่านั้น เช่น มักจะเข้าใจว่า พริกไทย ต้องปลูกในพื้นที่บริเวณภูเขาที่มีอากาศค่อนข้างเย็น ถึงจะเจริญเติบโตดี หรือเคยมีผู้ทดลองปลูกพริกไทยในพื้นที่ราบเขตอากาศร้อน ปรากฏว่าต้นพริกไทยไม่โต หรืออาจตายเลยก็มี แต่เนื่องจากสมัยนี้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มีราคาที่ถูกลงเนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี เราจึงหาซื้อวัสดุที่มาช่วยในการจำลองอากาศลดความร้อนให้พริกไทยเหมือนอยู่บนเขาได้ นั่นคือ ใช้ซาแรนพรางแสงบังแดดช่วยพรางแสง