ชาวไร่เฮ!!!รายได้เพิ่มหลังผลผลิตอ้อย-หีบน้ำตาลทรายช่วง

นายรังสิต เฮียงราช เลขานุการคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวถึงความคืบหน้าการหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2559/60 ของโรงงานน้ำตาลว่า หลังเปิดหีบอ้อยเป็นระยะเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันเปิดหีบ 6 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณอ้อยเข้าหีบจำนวน 75.24 ล้านตันอ้อย เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 71.89 ล้านตันอ้อย ซึ่งเป็นผลมาจากโรงงานน้ำตาลได้เพิ่มประสิทธิภาพการหีบอ้อยที่สามารถรองรับผลผลิตได้สูงขึ้น ทำให้เฉลี่ยต่อวันมีปริมาณอ้อยเข้าหีบของโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 54 แห่งมากกว่า 1 ล้านตัน

ขณะที่ผลผลิตต่อตันอ้อยก็ดีขึ้น โดยผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อย (ยิลด์) เพิ่มขึ้นเป็น 104.92 กิโลกรัม เทียบกับระยะเวลาเท่ากันในฤดูหีบอ้อยก่อนหน้าที่มียิลด์อยู่ที่ 98.41 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 6.51 กิโลกรัม/ตันอ้อย ส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายได้แล้ว 78.95 ล้านกระสอบ เทียบกับปีก่อนที่ผลิตน้ำตาลทรายได้เพียง 70.74 ล้านกระสอบ ส่วนค่าความหวานเฉลี่ยในอ้อยเฉลี่ยใกล้เคียงกับปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 12.10 ซี.ซี.เอส. จากปีก่อนที่มี 11.51 ซี.ซี.เอส.

“ผลจากยิลด์ผลิตน้ำตาลทรายปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี สามารถผลผลิตน้ำตาลทรายได้ดีกว่าปีก่อน ทำให้ชาวไร่มีรายได้ดีขึ้นและจากราคาน้ำตาลทรายที่ยังอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ปีนี้ถือเป็นปีที่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น” นายรังสิตกล่าว

วันที่ 9 มีนาคม 2560 ถนนมิตรภาพสายเก่าได้โผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นระยะทางยาวหลายกิโลเมตรภายในเขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาแล้ว ซึ่งถนนมิตรภาพสายเก่าดังกล่าว เป็นถนนสายเดิมที่ประชาชนใช้สัญจรในอดีต ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนลำตะคองขึ้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อมีการเริ่มการก่อสร้างเขื่อนลำตะคอง ก็ได้มีการก่อสร้างถนนมิตรภาพสายใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ขึ้นมาพร้อมกันด้วย แต่จากสถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองที่ลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีปริมาณน้ำที่ใช้การได้เพียง 69 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 22% จากความจุเขื่อนทั้งหมด 314 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ลดลงดังกล่าว ทำให้ประชาชนสามารถขับรถยนต์ลงไปวิ่งบนถนนมิตรภาพสายเก่าที่โผล่ขึ้นมาภายในเขื่อนลำตะคองได้

นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาลำตะคอง เปิดเผยว่า ถนนมิตรภาพสายเก่าที่โผล่ขึ้นมาให้เห็นอยู่ภายในเขื่อนลำตะคองในช่วงระยะนี้นั้นถือเป็นเรื่องปกติ และเกิดขึ้นทุกครั้งในช่วงที่ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองลดน้อยลง ซึ่งการที่ถนนมิตรภาพสายเก่าโผล่ขึ้นมาให้เห็นในเขื่อนลำตะคองเป็นระยะทางยาวเช่นนี้นั้นถือเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าสู่ฤดูแล้ง ให้ประชาชนทุกคนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด

สำหรับเขื่อนลำตะคอง เป็นเขื่อนหลักที่ผลิตน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน 5 ในพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เฉลิมพระเกียรติ และอำเภอเมืองนครราชสีมา และขณะนี้ใช้แผนบริหารจัดการน้ำ โดยให้เขื่อนลำตะคองปล่อยน้ำออกจากเขื่อนได้ไม่เกินวันละ 432,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ในลำตะคองเท่านั้น พร้อมกับให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังกว่า 150,000 ไร่ในพื้นที่ชลประทาน เนื่องจากไม่มีน้ำให้ใช้เพื่อทำการเกษตรจนกว่าจะเข้าสู่ในช่วงฤดูฝน

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เปิดเผยถึงผลการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject ปี 2017 ซึ่งได้ประกาศผลในวันที่ 8 มีนาคม 2560 โดยจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกแยกตามสาขาวิชาทั้งสิ้น 46 สาขาวิชา ใน 5 กลุ่มวิชา ผลปรากฏว่า มก.ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งแผ่นดินนั้น ติดอันดับที่ 29 ของโลก อันดับ 4 ของเอเซีย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยโดยตลอดตั้งแต่มีการจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject ในสาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์) จากเดิมปี 2016 อยู่ในอันดับโลกที่ 47 โดยเป็นการไต่อันดับโลกขึ้นมา 18 อันดับอย่างก้าวกระโดด นับเป็นสาขาที่มีความสำคัญพื้นฐานของประเทศไทยและเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่สามารถสร้างชื่อเสียงเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และยังคงครองแชมป์อันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับ 4 ของเอเซีย ติดต่อกัน 5 ปีซ้อน ในกลุ่มสาขาวิชา Agriculture & Forestry อีกด้วย

ดร.จงรัก กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีอีก 3 สาขาวิชาที่ติดอันดับโลก คือ Environmental Sciences (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) อยู่ในอันดับโลกที่ 201 – 250 อันดับที่ 3 ของไทย สาขา Chemistry Sciences (วิทยาศาสตร์เคมี) อยู่ในอันดับโลกที่ 451 – 500 อันดับที่ 3 ของไทยและสาขา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีววิทยา) อยู่ในอันดับโลกที่ 401 – 450 อันดับที่ 4 ของไทย โดยเกณฑ์การจัดอันดับแยกตามรายวิชาประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 4 ตัว ได้แก่ Academic reputation, Employer reputation, Citations per paper และ H – Index

วันที่ 9 มีนาคม 2559 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่12 เรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน “
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. 2560 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นโดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ซึ่งจะมีผลกระทบดังนี้

ภาคเหนือบริเวณจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดเลย นครพนม สกลนคร กาฬสินธ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลางบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และ สระบุรี

ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และใกล้ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปทำให้เกิดพายุฤดูร้อนได้

ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น. นส.สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ทช. มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทยมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเต่าทะเล แม้ว่าจะพบการแพร่กระจายของเต่าทะเลในประเทศไทยจำนวน 5 ชนิด แต่พบการวางไข่ของเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด ได้แก่ เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า ซึ่งพบวางไข่เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ของฝั่งตะวันตกของประเทศไทย สำหรับเต่าตนุ และเต่ากระ มักพบวางไข่บนชายหาดของเกาะต่าง ๆ ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญมีเหลือเพียง 10 แห่ง โดยมีแหล่งวางไข่ใหญ่ที่สุดที่บริเวณหมู่เกาะคราม รองลงมาเป็นหมู่เกาะสิมิลัน เต่าทะเลวางไข่ทุก ๆ 1-3 ปี ในแต่ละฤดูกาลเต่าทะเลสามารถขึ้นวางไข่มากถึง 10 ครั้ง ทุก ๆ 12 วัน โดยวางไข่เฉลี่ย 100 ฟองต่อครั้ง สถิติการวางไข่ในปี พ.ศ. 2559 พบรวม 329 ครั้ง จำนวนพ่อแม่เต่าทะเลโดยประมาณ 354 ตัว เป็นเต่าตนุ 187 ตัว เต่ากระ 158 ตัว เต่าหญ้า 3 ตัว และเต่ามะเฟือง 8 ตัว ในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมฯ ดำเนินการร่วมกับกองทัพเรือ โดยทำการรวบรวมไข่เต่าตนุและเต่ากระจากพื้นที่เกาะครามมาอนุบาลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (เกาะมันใน) และปล่อยคืนธรรมชาติในลำดับต่อไป

นส.สุทธิลักษณ์ กล่าวว่า ด้านการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น ทช.ได้ตั้งศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ บุคลากร และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงบ่อพักฟื้น และรถช่วยชีวิต โดยกรมฯ ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น และหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น ให้กับเจ้าหน้าที่และเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2559 จัดการฝึกอบรมไปทั้งสิ้น 8 รุ่น มีผู้เข้าร่วมฯ จำนวน 293 คน และในปีงบประมาณ 2560 มีแผนการจัดฝึกอบรมอีก จำนวน 8 รุ่น ๆ ละ 35 คน นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมในระดับนานาชาติ โดยทช. ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทัพเรือ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เครือข่ายการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7-13 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี

“แม้ว่าเต่าทะเลในประเทศไทยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2535 แต่สถิติการลดลงของเต่าทะเลก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสาเหตุหลักจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ ปัญหาการลักลอบเก็บไข่เต่า พื้นที่วางไข่และหากินของเต่าทะเลที่ลดลงจากการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่ง สถิติการวางไข่เต่าทะเลลดลงเหลือเพียง 1 ใน 5 ส่วน ภายในระยะเวลา 60 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2559 พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นรวม 3,105 ตัว คิดเป็นค่าเฉลี่ยปีละ 190 บวกลบ 112 ตัว ในจำนวนนี้ประกอบด้วยเต่าทะเลถึงร้อยละ 57 ค่าเฉลี่ยการเกยตื้นต่อปีของเต่าทะเล 127 บวกลบ 75 ตัวต่อปี โดยในแต่ละปีมีแนวโน้มของการเกยตื้นเพิ่มสูงขึ้นทั้งนี้เป็นเพราะการแจ้งข่าวสารการเกยตื้นที่สะดวกและความตระหนักในการรับรู้ของชุมชนชายฝั่งที่เพิ่มมากขึ้น สาเหตุของการเกยตื้นสำหรับเต่าทะเลส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 74-89 เกิดจากเครื่องมือประมง โดยเฉพาะเครื่องมือประมงชายฝั่ง ได้แก่ อวนลอย ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง นอกจากนี้ ขยะทะเลนับเป็นสาเหตุของการเกยตื้นซึ่งมีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าเฉลี่ยของเต่าทะเลที่กลืนขยะและเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหารมีร้อยละ 2-3 แต่หากนับจำนวนของการเกยตื้นที่มีขยะทะเลเกี่ยวพันภายนอก โดยเฉพาะขยะจำพวกอวน ซึ่งพบมากในเต่าทะเลจะมีเปอร์เซ็นต์การเกยตื้นจากสาเหตุขยะสูงถึง 20-40% “อธิบดีทช.กล่าว

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าผลการดำเนินงานตามมาตรการและโครงการภายใต้แผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ปี 2559/60นั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งดำเนินการ 6 มาตรการ 29 โครงการ คือ 1.มาตรการส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้ง ซึ่งมีโครงการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานในเกษตรกรรายย่อย ขณะนี้ได้ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรแล้ว 8,870 ราย ใน 12 จังหวัด 2.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ประกอบด้วย โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด งบประมาณ 383.49 ล้านบาท เป้าหมาย 200,000 ไร่ 19 จังหวัด ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว 12,513 ราย พื้นที่ 195,289 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการไถเตรียมดิน 171,690 ไร่ โครงการปรับเปลี่ยนการปลูกข้าวไปปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง ปี 2560 งบประมาณ 636.25 ล้านบาท เป้าหมาย 300,000 ไร่ ครอบคลุม 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้ดำเนินการปลูกแล้ว 194,474 ไร่ เกษตรกร 40,115 ราย คิดเป็น 64.82 %

นายธีรภัทร กล่าวว่า 3.มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน โครงการก่อสร้าง ขุดลอก/ปรับปรุงแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน งบประมาณ 125.92 ล้านบาท เป้าหมาย 113 แห่ง 33 จังหวัด ดำเนินการแล้วเสร็จ 57 แห่ง 20 จังหวัด คิดเป็น 59.29 % โครงการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน งบประมาณ 752.40 ล้านบาท เป้าหมาย 44,000 บ่อ ใน 60 จังหวัด ดำเนินการแล้วเสร็จ 34,867 บ่อ คิดเป็น 79.25 % อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 9,133 บ่อ 4. มาตรการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย โครงการเพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกร กิจกรรมหน่วยบริการชาวนาแบบเคลื่อนที่ งบประมาณ 8.30 ล้านบาท จัดตั้งศูนย์ฯแล้ว 51 ศูนย์ อบรมเกษตรกรไปแล้ว 2,091 ราย โครงการสำรองเมล็ดพันธุ์พืชไร่เพื่อเตรียมสนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้ง งบประมาณ 2.55 ลบ. เป้าหมาย 51 ตัน ขณะนี้ดำเนินการสำรองเมล็ดพันธุ์แล้ว 40 ตัน คิดเป็น 78.43 % 5.มาตรการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ และ 6.มาตรการจัดทำแผนความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง

นายธีรภัทร กล่าวว่า นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังมุ่งเน้นสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้สาธารณชนได้รับทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานมาตรการต่าง ๆ เพื่อเป็นการเตรียมตัว ป้องกัน และลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ในส่วนมาตรการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้แล้วเสร็จก่อนสถานการณ์ภัยแล้งจะมาถึงอีกด้วย

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวดีขึ้น ทำให้ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าหัตถกรรมของไทยและคาดว่าจะขยายตัวได้ 5-10% จากปี 2559 ที่มีมูลค่า 59,000 ล้านบาท และติดลบ 0.37% จากปี 2558

ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักที่มีการส่งออกสูงเป็นอันดับแรก คือ กลุ่มเครื่องเงินและทอง มูลค่า 44,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.32% ตามด้วยกลุ่มผ้าทอมือ มูลค่า 7,520 ล้านบาท ลดลง 4.99% ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม มูลค่า 6,639 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.87% และเซรามิก มูลค่า 888 ล้านบาท ลดลง 2.62% โดยตลาดหลัก คือ สหรัฐฯ ฮ่องกง และเยอรมัน เป็นสัดส่วนรวม 41.72% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดกลุ่มสินค้าหัตถกรรม

สำหรับการจัดงานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ 2560 ครั้งที่ 6 หรือ International Innovative Craft Fair 2017 ระหว่างวันที่ 23 – 26 มีนาคม 2560 ที่ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค ซึ่งปีนี้จะมีร้านค้า 350 ราย นำสินค้าหัตถกรรมและสินค้านวัตกรรม มาจัดแสดง ตามใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าถึงความต้องการ ทันสมัย และตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวัน

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เปิดเผยถึงผลการจัดอันดับ QS World University Rankings by Subject ปี 2017 ซึ่งได้ประกาศผลในวันที่ 8 มีนาคม 2560 โดยจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกแยกตามสาขาวิชาทั้งสิ้น 46 สาขาวิชา ใน 5 กลุ่มวิชา ผลปรากฏว่า มก.ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งแผ่นดินนั้น ติดอันดับที่ 29 ของโลก อันดับ 4 ของเอเซีย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยโดยตลอดตั้งแต่มีการจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject ในสาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์) จากเดิมปี 2016 อยู่ในอันดับโลกที่ 47 โดยเป็นการไต่อันดับโลกขึ้นมา 18 อันดับอย่างก้าวกระโดด นับเป็นสาขาที่มีความสำคัญพื้นฐานของประเทศไทยและเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่สามารถสร้างชื่อเสียงเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และยังคงครองแชมป์อันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับ 4 ของเอเซีย ติดต่อกัน 5 ปีซ้อน ในกลุ่มสาขาวิชา Agriculture & Forestry อีกด้วย

ดร.จงรัก กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีอีก 3 สาขาวิชาที่ติดอันดับโลก คือ Environmental Sciences (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) อยู่ในอันดับโลกที่ 201 – 250 อันดับที่ 3 ของไทย สาขา Chemistry Sciences (วิทยาศาสตร์เคมี) อยู่ในอันดับโลกที่ 451 – 500 อันดับที่ 3 ของไทยและสาขา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีววิทยา) อยู่ในอันดับโลกที่ 401 – 450 อันดับที่ 4 ของไทย โดยเกณฑ์การจัดอันดับแยกตามรายวิชาประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 4 ตัว ได้แก่ Academic reputation, Employer reputation, Citations per paper และ H – Index

วันที่ 9 มีนาคม 2559 กรมอุตุนิยมวิทยา hi-techitaly.com ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่12 เรื่อง “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน “
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า ในช่วงวันที่ 9-10 มี.ค. 2560 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นโดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ซึ่งจะมีผลกระทบดังนี้

ภาคเหนือบริเวณจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจังหวัดเลย นครพนม สกลนคร กาฬสินธ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลางบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี และ สระบุรี

ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และใกล้ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปทำให้เกิดพายุฤดูร้อนได้

ประกาศ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น. นส.สุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ทช. มอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ดำเนินการสำรวจและประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทยมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเต่าทะเล แม้ว่าจะพบการแพร่กระจายของเต่าทะเลในประเทศไทยจำนวน 5 ชนิด แต่พบการวางไข่ของเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด ได้แก่ เต่ามะเฟือง และเต่าหญ้า ซึ่งพบวางไข่เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ของฝั่งตะวันตกของประเทศไทย สำหรับเต่าตนุ และเต่ากระ มักพบวางไข่บนชายหาดของเกาะต่าง ๆ ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

แหล่งวางไข่เต่าทะเลที่สำคัญมีเหลือเพียง 10 แห่ง โดยมีแหล่งวางไข่ใหญ่ที่สุดที่บริเวณหมู่เกาะคราม รองลงมาเป็นหมู่เกาะสิมิลัน เต่าทะเลวางไข่ทุก ๆ 1-3 ปี ในแต่ละฤดูกาลเต่าทะเลสามารถขึ้นวางไข่มากถึง 10 ครั้ง ทุก ๆ 12 วัน โดยวางไข่เฉลี่ย 100 ฟองต่อครั้ง สถิติการวางไข่ในปี พ.ศ. 2559 พบรวม 329 ครั้ง จำนวนพ่อแม่เต่าทะเลโดยประมาณ 354 ตัว เป็นเต่าตนุ 187 ตัว เต่ากระ 158 ตัว เต่าหญ้า 3 ตัว และเต่ามะเฟือง 8 ตัว ในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมฯ ดำเนินการร่วมกับกองทัพเรือ โดยทำการรวบรวมไข่เต่าตนุและเต่ากระจากพื้นที่เกาะครามมาอนุบาลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (เกาะมันใน) และปล่อยคืนธรรมชาติในลำดับต่อไป