ชี้ขี้เลื่อยยางพาราเหมาะเพาะเห็ดผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลสำนัก

ขาม อำเภอสะเดาจังหวัดสงขลา ประธานกลุ่มเพาะเห็ดโคนน้อยตามโครงการ “สัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เผยว่า ใช้วัสดุหลักเป็นขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา ซึ่งดีกว่าขี้เลื่อยจากไม้อื่น

สูตรการทำใช้ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม รำข้าว 8 กิโลกรัม ยิปซัม ปูนขาว ภูไมท์ ยูเรีย อย่างละ 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 200 กรัม นำน้ำมาผสมให้เข้ากัน แล้วนำน้ำที่ผสมดีเกลือกับยูเรียค่อยๆ รดลงไป คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้ 1-2 วัน นำส่วนผสมที่ได้มาใส่ถุงพลาสติกอัดให้แน่น ถุงละ 1 กิโลกรัม มัดปากถุง โดยใช้จุกพลาสติก จะได้ 120 ถุง

นำไปนึ่งในถังเพื่อฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 90 องศา 2 ชั่วโมง รอให้ก้อนเห็ดเย็นแล้วหยอดเชื้อเห็ด นำไปบ่มเชื้อในที่ร่ม 7 วัน เมื่อมีเส้นขาวๆ ตามก้อนให้แกะจุกปากถุงออกแล้วนำไปวางในโรงเรือน พ่นน้ำเป็นฝอยๆ ให้ชุ่มแล้วคลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิด 10-15 วันก็เก็บขายได้ วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น ราคาขายกิโลกรัมละ 180-200 บาท ขณะนี้มีพ่อค้าแม่ค้ามาเลเซียซื้อไปขาย

นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ผจก.เพชรล้านนาฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้การเกษตรอินทรีย์ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง กล่าวว่า ศูนย์บริหารจัดการน้ำชุมชนบ้านแม่สุก เป็น 1 ใน 5 สถานีตรวจวัดระดับน้ำ และเป็น 1 ใน 19 สถานีตรวจวัดผลสภาพ อากาศของจังหวัดลำปาง ปัจจุบันได้นำข้อมูลน้ำและสภาพภูมิอากาศมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรในหลายๆ ด้าน อาทิ ปริมาณน้ำฝน ได้นำมาใช้ในการวางแผนการเพาะปลูก เช่น การทำนาข้าว ช่วยในการบอกปริมาณน้ำว่ามีเพียงพอหรือไม่ที่จะเพาะกล้าเพื่อเตรียมลงแปลงทำการดำนา หรือบอกปริมาณน้ำฝนที่จะตก ช่วยให้เตรียมการให้ปุ๋ยแก่พืชผักผลไม้ได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ยังช่วยให้ข้อมูลเรื่องของอากาศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ทำปศุสัตว์ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ หากอุณหภูมิลดต่ำมากสัตว์เลี้ยงจะมีอัตราการตายสูง ทำให้เตรียมการป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้าได้ ตลอดจนยังช่วยบอกความชื้นของอากาศที่จะเป็นประโยชน์กับฟาร์มที่เป็นแบบระบบปิดที่ต้องใช้ระบบน้ำหยดในการควบคุมอุณหภูมิ
หากความชื้นสูงสัตว์เลี้ยงมักจะป่วย เมื่อเกษตรกรรู้สถานการณ์ก่อน และหยุดเปิดระบบน้ำหยด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการลดต้นทุนการผลิตทั้งค่ายา ค่าวัคซีน และค่าปุ๋ย

ครม.ไฟเขียวอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ 13 สินค้า และ 4 ภาคบริการ เปลี่ยนการเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานหรือราคาสำแดงนำเข้า มาเป็นราคาปลีกแนะนำ เหลือแค่ ยาสูบ สุรา และไพ่ ชงเสนอเห็นชอบอีกครั้งก่อนกฎหมายบังคับใช้ 16 กันยายนนี้
กรมสรรพสามิตรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมนี้ เห็นชอบอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่จำนวน 13 สินค้า และ 4 ภาคบริการ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะเริ่มใช้วันที่ 16 กันยายน 2560 นี้ โดยมีการเปลี่ยนการเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานหรือราคาสำแดงนำเข้า มาเป็นราคาปลีกแนะนำ ทำให้ต้องมีการกำหนดอัตราภาษี เพื่อไม่ให้ภาระภาษีของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและผลักภาระไปให้ผู้บริโภค

สำหรับสินค้าที่เหลืออีก 3 รายการ คือ ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไพ่ จะเสนออัตราภาษีใหม่ให้ ครม. เห็นชอบสัปดาห์สุดท้าย ก่อนวันที่ 16 กันยายน 2560 ที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว เกรงว่าจะเกิดการกักตุนเพื่อเก็งกำไร
ข่าวแจ้งว่า ในส่วนของภาษีน้ำหวานในภาพรวมของอัตราใหม่อัตราภาษีเพิ่มขึ้นประมาณ 2% อย่างไรก็ตาม กฎหมายจะให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว 2 ปี ซึ่งหากมีการลดความหวานลง ก็อาจจะเสียภาษีในอัตราเท่าเดิมหรือลดลงก็ได้ ซึ่งหากทำได้ก่อน 2 ปี ก็สามารถเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าได้ทันที ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้ประกอบการจะปรับเพิ่มราคาสินค้าในช่วง 2 ปีนี้

ด้านอัตราภาษีสินค้าบริการเช่น ไนต์คลับ อาบอบนวด และสนามกอล์ฟ อัตราภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อความเหมาะ แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากตามนโยบายของ ครม.
นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง จะแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราภาษีใหม่สรรพสามิต ที่ได้รับการเห็นชอบจากครม. เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อราคาสินค้าและบริการ กรมสรรพสามิตยืนยันว่าอัตราภาษีใหม่ไม่มีผลทำให้ภาระภาษีและราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตามนโยบายของรัฐบาลที่เน้นย้ำเรื่องนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ภาษีใหม่

นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ได้จัดเวทีการประชุมพบปะผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน เพื่อชี้แจงกฎหมายใหม่ของกรมศุลกากรที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้ นำระบบไอทีเข้ามาช่วยให้เกิดความรวดเร็ว

นายบุญฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวการเป็นประธานเปิดงาน 50 ปีอาเซียน ภายใต้แนวคิด “เดินหน้าสู่ AEC 2025” ว่า การสำรวจความคิดเห็นเรื่องอาเซียน พบว่าคนไทยมีความรู้เรื่องอาเซียนน้อยกว่าคนกัมพูชา ซึ่งการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนมี 3 ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่คุ้นเคยมากที่สุดคือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ภายในอีก 8 ปี ข้างหน้า หรือปี 2568 ตามแผนพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint 2025) จะทำให้อาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าโลก สนับสนุนให้อาเซียนตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของโลก ยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของภูมิภาค
ส่วนการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ การค้าออนไลน์ ด้านนวัตกรรม มองว่าในอนาคตนี้การค้าของโลกจะไม่กระจุกตัวอยู่ที่แค่ประเทศหลักๆ อย่าง จีน สหรัฐ ญี่ปุ่น แต่จะกระจายไปยังประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน มีประชากรกว่า 630 ล้านคน

จังหวัดนราธิวาสทุ่มงบประมาณ 36.9 ล้านบาท ปรับปรุงโครงการตลาดกลางการเกษตรส่งออก ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ ดันเป็นศูนย์กลางการรวบรวม กระจาย และแปรรูปผลไม้ ส่งออกมาเลเซีย อินโดฯ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ด้านรองผู้ว่าฯ เผยกำหนดแล้วเสร็จเต็มรูปแบบปี 2561 ขณะที่บริษัท ซัน โฟรเซ่น ฟรุ้ต เอกชนรายแรกเข้าตั้งโรงงานแปรรูปส่งออกผลไม้แช่แข็งปีละ 2.5 พันตัน

นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า การพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้มีบริบทที่แตกต่างกัน สำหรับนราธิวาสเป็นทั้งพื้นที่ประกาศความมั่นคง เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการยกระดับเมืองต้นแบบการค้าชายแดน ทำให้ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ นราธิวาสใช้บริบทพื้นที่ชายแดนในการส่งออกลองกอง ผลไม้เด่นของจังหวัด โดยใช้ตลาดกลางการเกษตรเพื่อการส่งออกจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่รวบรวมเพื่อกระจายสินค้าทั้งเกษตร และปศุสัตว์ อย่างไรก็ตามเพื่อการพัฒนาให้สินค้ามีคุณภาพมากขึ้น จังหวัดได้รับงบประมาณ 36.9 ล้านบาท ในโครงการปรับปรุงตลาด เพิ่มเติมอาคารตลาดซื้อขายโค กระบือ และแพะ 4 หลัง งานระบบไฟฟ้า และระบบสุขาภิบาล โดยจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมีนาคม 2561 นอกจากนี้ ยังครบครันทั้งอาคารรองรับสินค้า ห้องแช่เย็น โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งหมดเป็นการบริหารจัดการคู่กันระหว่างภาครัฐและเอกชน

ทั้งนี้ พื้นที่ตลาดตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์ ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส จากพื้นที่ทั้งหมด 320 กว่าไร่ ได้รับอนุมัติจากจังหวัดให้นำมาใช้ 35 ไร่ วัตถุประสงค์หลักใช้เป็นจุดรวบรวมสินค้า เพื่อกระจายสินค้า สร้างการแข่งขันในพื้นที่ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีเอกชนเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานแปรรูป 1 ราย ได้แก่ บริษัท ซัน โฟรเซ่น ฟรุ้ต จำกัด

สำหรับจังหวัดนราธิวาสมีไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน และลองกอง พื้นที่ปลูก 1.3 แสนไร่ โดยปี 2560 คาดการณ์ว่าผลผลิตรวมทั้งหมด 14,188 ตัน ลดลงจากปี 2559 ร้อยละ 47 ที่มีผลผลิตรวม 27,065 ตัน ขณะที่ปริมาณทุเรียนรวม 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีผลผลิตราว 4 หมื่นตัน จึงเป็นโอกาสที่จะเปิดให้ลูกค้านอกพื้นที่ โดยเฉพาะจีนเข้ามาซื้อผลผลิต โดยปี 2559 ที่ผ่านมา มีการกระจายสินค้าส่งไปยังท็อปส์ บิ๊กซีสาขาต่างๆ

นอกจากนี้ มีกลุ่มพ่อค้าจากจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช ชุมพร เข้ามาที่ตลาดขนผลไม้รอบละ 10 กว่าตัน อีกทั้งภาคราชการหลายหน่วยงานที่รับกระจายสินค้า เช่น มูลนิธิปิดทองหลังพระ ชุมนุมสหกรณ์ ธ.ก.ส. โดยอนาคตเอกชนมาช่วยดูแลพัฒนาการแปรรูป เช่น ทุเรียนแช่แข็ง ลองกองแช่แข็ง เป็นการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในพื้นที่สำหรับผลไม้ที่ตกเกรด ส่วนช่วงที่ไม่มีผลไม้ตามฤดูกาล จะมีการนำผลผลิตจากภาคต่างๆ มาแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มะม่วงที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากจากประเทศมาเลเซีย

“ต่อไปผู้ประกอบการข้างนอกจะต้องมาจุดนี้ สินค้าจะมารวมที่นี่ เราจะช่วยอำนวยความสะดวกดูแลความปลอดภัย จะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่รวบรวมผลผลิต 3 จังหวัดใต้ ถือว่าตอบโจทย์วิถีชีวิตของชาวบ้านมาก เพราะคนได้ทำงาน และมูลค่าเพิ่มเกิดในพื้นที่ ส่วนเรื่องปศุสัตว์ได้เตรียมแผนเปิดตลาดประมูลวัวไว้แล้ว อย่างไรก็ตามเรื่องรายได้ทางเศรษฐกิจยอมรับว่ารูปแบบการค้าของเราใช้ตัวเลขวัดสู้ไม่ได้ แต่ระดับเศรษฐกิจเราถือว่าไปแบบหน้ากระดาน”

นางพาตีเมาะ ยอมรับว่า สำหรับสถานการณ์ความรุนแรงถือเป็นปัญหาเดียวที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ อย่างไรก็ตามได้รับการบูรณาการจากฝ่ายปกครอง โดยนายอำเภอยี่งอได้ให้ความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของเส้นทาง โดยในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้คาดว่าตลาดจะคึกคัก มีพ่อค้า ชาวบ้าน มาซื้อขายกันมากขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ผลไม้ออกมาก
“มองว่าตลาดในอนาคตต้องโตทีละนิด เพราะเราอยู่ในพื้นที่พิเศษ” รองผู้ว่าฯ นราธิวาสกล่าวย้ำ

ด้าน นายเจตน์ มาหามะ ประธานกรรมการบริษัท ซัน โฟรเซ่น ฟรุ้ต จำกัด เอกชนรายเดียวที่มาลงทุนตั้งโรงงานแปรรูปผลไม้ในตลาดกลาง กล่าวว่า บริษัทได้ทำสัญญาขอเช่าพื้นที่เป็นเวลา 10 ปี โดยลงทุนโรงงานแปรรูปประมาณ 10 ล้านบาท ใน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. รวบรวม 2. แปรรูป และ 3. รวบรวมจากการแปรรูป โดยพยายามจะทำทุกสินค้าในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง สะตอ ชะอม ตะไคร้ พืชผักผลไม้ต่างๆ โดยนำมาแปรรูปด้วยการแช่แข็ง มีสัดส่วนการส่งออก 90% ไปที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย และอีก 10% จำหน่ายในประเทศ

นายเจตน์ บอกว่า ปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิต 2,500 ตัน/ปี เป็นลองกอง 300 ตัน มังคุด 600 ตัน ที่เหลือเป็นผักผลไม้ชนิดอื่นๆ ขณะที่ทุเรียนผลผลิตรวม 3 จังหวัด ประมาณ 4 หมื่นตัน แต่เราแปรรูปเพียง 10% ของผลผลิตทั้งหมดเท่านั้น มองว่ายังมีโอกาสของนักลงทุนอีกมาก เพราะพื้นที่มีจุดแข็งเรื่องวัตถุดิบ และแรงงานที่มีความพร้อม ที่สำคัญอยู่ใกล้ชายแดน 4-5 แห่ง
ทั้งจังหวัดนราธิวาส และสงขลา มองว่าหากนักลงทุนสนใจก็จะเป็นโอกาส เพราะตลาดยังต้องการสูง เช่น มาเลเซียที่มีศักยภาพไปถึงประเทศตะวันออกกลาง อาหรับ อินเดีย ขณะที่สิงคโปร์สามารถกระจายต่อไปทั่วโลก

นักวิชาการเกษตรสงขลาชี้ทิศทางกาแฟดี ตลาดต้องการสูง ด้านรองประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยเผยในประเทศบริโภคถึง 8 หมื่นตัน ขณะที่มีผลผลิตกาแฟไทย 2.5 หมื่นตันเท่านั้น คาดปี’60 จะมีเงินหมุนสะพัดไม่ต่ำกว่า 1,700 ล้านบาท
นายหวน ทนงาน นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดสงขลา (สสก.ที่ 5) ภาคใต้ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันทิศทางเศรษฐกิจการเกษตรมีหลายตัวเลือกเพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวสวนยาง โดยเฉพาะกาแฟที่สามารถปลูกร่วมกับยางพาราได้อย่างกลมกลืน ที่ผ่านมาในอดีต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เคยเป็นพื้นที่ปลูกสวนกาแฟร่วมยาง หรือที่เรียกกันว่าป่ายาง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงภูเขา หรือควน กาแฟจะขึ้นงอกงามมาก แต่เนื่องจากนโยบายสวนยางเชิงเดี่ยว ทำให้กาแฟถดถอยไปตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกาแฟเป็นที่ต้องการของตลาดสูง แต่ผลผลิตไม่เพียงพอ ทำให้เมล็ดกาแฟได้ราคาสูง และมีเสถียรภาพมาหลายปีแล้ว จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจระดับเป็นอาชีพหลักแทนสวนยางพาราได้เลย สำหรับพื้นที่ภาคใต้ปัจจุบันปลูกมาก คือ จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
สำหรับภาคใต้สายพันธุ์กาแฟ คือ โรบัสต้า สามารถปลูกได้ทุกจังหวัด อายุประมาณ 2 ปี และ 3 ปี ก็ให้ผลผลิต โดยเฉพาะพื้นที่เป็นเชิงลาดริมภูเขา และควน ขณะที่ภาคเหนือ จะเป็นสายพันธุ์อราบิก้า

ด้าน นายนัด ดวงใส รองประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย และเกษตรกรเจ้าของสวนกาแฟ เปิดเผยว่า สถานการณ์เกษตรทางด้านสวนกาแฟอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาระยะหลายปี และราคาได้ขยับขึ้นและมีเสถียรภาพโดยเฉพาะระยะ 4 ปีมานี้ เริ่มตั้งแต่ราคา 70 บาท จนถึงราคาอยู่ที่ 87-88 บาท/กิโลกรัม และแนวโน้มปี’60 จะขยับได้ถึง 90 บาท/กิโลกรัม

ปัจจุบัน กาแฟในภาคใต้ปลูกมากที่จังหวัดชุมพร และระนอง ส่วนจังหวัดอื่นๆ ปลูกกันประปรายตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ส่วนที่จังหวัดกระบี่ สตูล และสงขลา เริ่มปลูกกันเมื่อปีที่แล้ว ส่วนมากเป็นรายใหม่ที่เริ่มปลูกทดแทนยางพารา โดยภาพรวมมีพื้นที่ปลูกกว่า 100,000 ไร่ สามารถแปรรูปเป็นสารกาแฟ หรือกาแฟแห้ง ได้ประมาณ 23,000-25,000 ตัน/ปี โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 200 กิโลกรัม/ปี/ไร่ ทั้งนี้เป็นกาแฟที่ปลูกแซมตามสวนต่างๆ ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นไร่กาแฟเชิงเดี่ยว แต่ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศฝนตกยาวทำให้ดอกร่วงและเน่า ผลผลิตตกต่ำลงเหลือประมาณ 20,000 ตัน เท่านั้น

นายนัด กล่าวอีกว่า ในปี 2560 นี้ englishdefenceleague.org คาดการณ์จะมีเงินหมุนสะพัดไม่ต่ำกว่า 1,700 ล้านบาท/ปี จากผลิตกาแฟ 20,000 ตัน ยังไม่นับรวมถึงสายพันธุ์กาแฟอราบิก้า ที่ปลูกทางภาคเหนือ ที่ผลิตได้ประมาณ 3,000 ตัน/ปี ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือว่ายังขาดตลาดอยู่ เพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องการบริโภคกาแฟ ประมาณ 80,000 ตัน/ปี โดยภาพรวมเป็นเม็ดเงินมูลค่าสะพัดไม่ต่ำกว่าประมาณ 6,800 ล้านบาท/ปี จึงต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งเวียดนาม และ สปป.ลาว ดังนั้นเราสามารถขยายพื้นที่ปลูกได้ถึง 300,000 ไร่

สำหรับภาคใต้ ปลูกกาแฟได้ทุกพื้นที่ แต่จะเป็นสายพันธุ์โรบัสต้า เพราะอยู่กับอากาศร้อนชื้น และสำหรับการตลาดไม่ต้องหวั่นวิตก สหกรณ์กาแฟที่ จังหวัดชุมพร สามารถรับซื้อทั้งหมด อย่างไรก็ตามนอกจากสภาพอากาศแล้ว อาจมีปัจจัยที่จะเป็นตัวแปรสำคัญ คือ ผลผลิตกาแฟประเทศเวียดนาม และบราซิล
นายนัด กล่าวว่า การปลูกกาแฟรัฐจะต้องลงมาส่งเสริม แนะนำ และทำแปลงสาธิต เพราะประเทศอื่นก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะรูปแบบของประเทศเวียดนามที่ปลูกกาแฟเชิงเดี่ยว ขนาด 5 ศอก คูณ 5 ศอก ได้กว่า 300 ต้น/ไร่ โดยให้ผลผลิตถึง 700-800 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมากที่ราชการไม่นำเอามาศึกษาเป็นตัวอย่าง และแนะนำ ส่งเสริมให้เกษตรกร

“ปลาทะเล กุ้ง ปู” ราคาพุ่งกระฉูดสวนกระแสกำลังซื้อซบ เหตุเรือประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้านอ่วมกฎเหล็กไอยูยู-ปัญหาแรงงาน-มรสุม ออกทำประมงไม่ได้ ปริมาณสัตว์น้ำทะเลลดฮวบ บางจังหวัดเริ่มขาดแคลน ปลาทูไทยแท้หายากจ่อสูญพันธุ์ ขณะที่ปลาทูอินเดีย ปากีสถาน มาเลย์ กัมพูชา เวียดนามยึดตลาดเบ็ดเสร็จ ด้านอุตสาหกรรมแปรรูป-โรงงานน้ำปลาเร่งปรับตัวหนีตาย หันนำเข้าวัตถุดิบทดแทน ดันต้นทุนพุ่งเท่าตัว
คนกินสัตว์น้ำทะเลแพงไม่รู้ตัว

นายสุรพงษ์ อินทรประเสริฐ ที่ปรึกษาสมาคมประมงจังหวัดตราด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การบังคับใช้ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 และคำสั่ง คสช.ที่ 10/2558 เรื่องการแก้ไขปัญหาทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ประมาณ 2 ปีเศษ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน และเรือประมงพาณิชย์กว่า 30% ต้องจอดหยุดทำการประมง และบางรายเลิกอาชีพประมง ประกอบกับช่วงฤดูมรสุมด้วย ส่งผลให้ปริมาณปลาออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาอาหารทะเลปรับราคาสูงขึ้นทั้งปลาสดและวัตถุดิบแปรรูป
รง.หมักน้ำปลา-ผลิตน้ำปลาอ่วม

นายวิบูลย์ เครือลอย ผู้จัดการ บริษัท เทพพรชัย อุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดตราด เจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำปลาแท้ตราสามกระต่าย เปิดเผยว่า ปัญหาเรือประมงพาณิชย์และแรงงานที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เรือประมงปลากะตักของไทยต้องนำเรือไปขึ้นที่ท่าเทียบเรือในเกาะกง กัมพูชา และบรรทุกปลากะตักเข้ามาส่งโรงงานใน จังหวัดตราด ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเป็น 10,000 บาท/เที่ยวรถบรรทุกสิบล้อ และราคาปลากะตักเพิ่มขึ้นจาก 4-5 บาท/กิโลกรัม เป็น 10 บาท/กิโลกรัม ขณะนี้โรงงานหมักน้ำปลาปรับราคาขึ้น 10-15% ขณะที่โรงงานผลิตน้ำปลาก็จำเป็นต้องปรับราคาตามไปด้วย และเร็ว ๆ นี้โรงงานหมักน้ำปลาแจ้งว่าจะปรับราคาอีกครั้ง

“หากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้อีกประมาณ 5 ปี เรืออวนล้อมปลากะตักจะอยู่ไม่ได้ ต้องหยุดกิจการไป ส่วนโรงงานแปรรูปก็จะไม่สามารถผลิตน้ำปลาดีๆ มีคุณภาพได้ เพราะปลากะตักเป็นปลาชั้นดี มีกลิ่นหอม” นายวิบูลย์ กล่าว
ด้าน นางวิรันทา อักษรหรั่ง แม่ค้าปลาในตลาดเทศบาลเมืองตราด กล่าวว่า หลังจากมีกฎหมายประมงใหม่ๆ ออกมาเข้มงวดกับเรือประมง ทำให้เรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้านออกทำประมงไม่ได้ ปริมาณปลาในตลาดมีน้อยและราคาแพง เช่น ปลากระบอกขนาดกลางเดิมกิโลกรัมละ 120-130 บาท ตอนนี้อยู่ที่ 150-160 บาท หรือปลากระบอกแดดเดียวจาก 200 บาท/กิโลกรัม เพิ่มเป็น 250 บาท ปลานวลจันทร์กิโลกรัมละ 120-130 บาท ปลาสาก 150 บาท ปลากุเลา 200-220 บาท ปลาโฉมงาม 150 บาท ปลาอังเก่ย 220-230 ปลาอินทรีขนาดใหญ่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป 280-300 บาท/กิโลกรัม