ช่วงที่หยอดเมล็ดลงถุง หยอด 4-5 เมล็ดต่อถุงต้นจะงอกอย่างต่ำ

เมื่อนำลงปลูก ยามที่มีดอก ให้เลือกต้นกระเทยไว้เพียง 1 ต้นต่อหลุมเท่านั้น งานปลูกมะละกอเรื่องน้ำมีความสำคัญมาก น้ำดีมะละกอให้ผลผลิตดีปลูกใหม่ๆเจ้าของให้น้ำทุกวันๆละ 30-45 นาที สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือความชื้น หากฝนตก เวลาการให้น้ำก็ลดลง

ปลูกได้ 14 วัน ให้ปุ๋ย จากนั้นก็ให้ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน เป็นสูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 16-16-16 จำนวนครึ่งช้อนกินข้าว หว่านใต้ทรงพุ่ม เมื่อขณะที่เก็บผลผลิตอยู่ เห็นว่า มะละกอยอดยืดเกินไปก็ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 บ้าง ให้ยอดสั้นลง

ปุ๋ยคอก ใส่ขี้ไก่เนื้อหรือมูลสัตว์อย่างอื่น อาจจะใส่ให้ให้ทุก 3 เดือนหลังปลูก 40 วัน มะละกอเริ่มมีดอก นับจากปลูก 7 เดือนก็เริ่มเก็บผลผลิตได้อาจจะเก็บเป็นมะละกอส้มตำหรือมะละกอสุก

ราคาขายได้ราคาสูงสุด 15 บาท ต่ำสุด 4 บาท แต่เฉลี่ยแล้ว 8-10 บาท อายุการเก็บเกี่ยวมะละกอแขกดำหนองแหวนมีระยะเวลา 12 เดือน จากนั้นปริมาณผลผลิตที่ได้ จะไม่คุ้มกับปัจจัยการผลิต รวมระยะเวลาที่เจ้าของต้องดูแลมะละกอเป็นเวลา 20 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เพาะกล้า มะละกอแขกดำหนองแหวนให้ผลผลิตดก รายได้ต่อต้นในช่วงที่เขาให้ผลผลิต อยู่ที่ 1,000 บาท พื้นที่ 1 ไร่ มี 250 ต้น เจ้าของจะมีรายได้ 250,000 บาท ต่อระยะเวลา 20 เดือน ดูตัวเลขแล้วสูง แต่การลงทุนไม่ใช่น้อย ปัจจัยการผลิตต้องเต็มที่อย่างปุ๋ยให้ทุก 15 วัน น้ำต้องดี การตลาดต้องชัดเจน

มีผู้ปลูกมะละกอแขกดำหนองแหวน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี และสระแก้ว

ข้อมูลที่แนะนำมา เป็นการปลูกมะละกอแขดำหนองแหวนในหลายพื้นที่ ชาวบ้านตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่รู้จักกันว่า บ้านคีรีวง มีอาชีพหลัก คือการทำสวนผลไม้ผสม รวมกันหลายชนิดที่เรียกว่า “สวนสมรม” เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน สะตอ ฯลฯ อยู่บนพื้นที่ภูเขาหลวงที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งดิน น้ำ และอากาศ จึงทำให้ผลไม้ที่จากแหล่งนี้มีคุณภาพทั้งรสชาติและขนาด โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุน และเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ มีตลาดรองรับแน่นอนตลอดทั้งปี

นอกจากคุณภาพไม้ผลที่เป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาชิมกันอย่างคับคั่งในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูผลไม้เมืองใต้แล้ว การลำเลียงผลไม้จากบนภูเขาผ่านเส้นทางลัดเลาะ ขรุขระด้วยพาหนะอย่างมอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาใช้บรรทุกผลไม้ ถือเป็นเสน่ห์ของวิถีการทำสวนผลไม้ที่หาดูได้ยาก

คุณสมชาย ชำนิ อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ (084) 845-1634 มีอาชีพหลักคือการทำสวนผลไม้หลายชนิด ปลูกในพื้นที่เดียวกัน อาทิ ทุเรียนหมอนทอง มังคุด และลางสาดเล็กน้อย ใช้พื้นที่ 20 ไร่

คุณสมชายให้ข้อมูลว่า ไม้ผลที่ตัวเองและชาวบ้านแถวนี้ปลูกมีวิธีคิดเหมือนกัน คือไม่ได้เน้นขายเชิงพาณิชย์ พื้นที่ปลูกมีลักษณะเป็นภูเขาที่มีป่าล้อมรอบ อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ดังนั้น ความจำเป็นเรื่องการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์จึงน้อยลง เพราะธรรมชาติดูแลกันเอง ศัตรูทางธรรมชาติแทบจะไม่มี จึงเห็นได้ว่าคุณภาพของผลไม้จากแหล่งนี้มีความสมบูรณ์อย่างมากทั้งรสชาติและขนาด

คุณสมชายปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองมีจำนวน 20 ต้น มีอายุต้นไม่เท่ากัน เพราะต้องปลูกทดแทน แต่ส่วนมากอายุเฉลี่ย 10-25 ปี ต้นพันธุ์มีทั้งซื้อมาจากสุราษฎร์ธานี หรืออาจขยายพันธุ์เองด้วยต้นพันธุ์เป็นทุเรียนพื้นบ้านแล้วใช้ยอดหมอนทองมาเสียบ เนื่องจากทุเรียนพื้นบ้านแข็งแรง ทนทาน

“ควรสำรวจพื้นที่บริเวณที่จะขุดหลุมปลูกก่อนว่าเป็นเส้นทางของมด ปลวก หรือแมลงอะไรที่มารบกวนหรือไม่ เพราะดินที่ติดมากับต้นพันธุ์เป็นขุยมะพร้าว ขี้แกลบ ซึ่งมดชอบแล้วจึงขุดหลุมปลูกขนาด 30 หรือ 50 เซนติเมตร ลึกเล็กน้อยเพราะต้องการให้โคนต้นโผล่พ้นปากหลุมเพื่อจะใช้ดินกลบโคนคล้ายหลังเต่าป้องกันไม่ให้น้ำท่วม ส่วนระยะต้น 9 คูณ 9 เมตร แล้วใช้พื้นที่ระหว่างต้นทุเรียนแซมด้วยมังคุด เพราะเป็นระยะที่ทรงพุ่มไม่เบียดกัน”

ช่วงที่รอใบอ่อนแตกระยะ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพียงช้อนกาแฟต่อต้น ให้ใส่ 2-3 เดือน ต่อครั้ง โดยในช่วงใบอ่อนแตกถือว่าสำคัญเพราะจะเกิดเพลี้ยไก่แจ้ที่มีจุดขาวเป็นกลุ่ม ให้ใช้ยาฉีดพ่นเล็กน้อย อีกทั้งยังอาจเจอเพลี้ยไฟหรือโรคราน้ำค้างเข้าทำลายใบจึงควรเด็ดใบทิ้งไม่ต้องใช้ยา

ในช่วงทุเรียนมีอายุ 2-3 ปี ก็ยังใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพียงแต่ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็น 2 กิโลกรัม ต่อต้น แต่ถ้าใช้อินทรียวัตถุใส่ 3-4 กิโลกรัม ต่อต้น โดยใส่ปีละ 1-2 ครั้ง สำหรับคุณสมชายเลือกใส่อินทรียวัตถุ เพราะต้องการปรับค่าความเป็นกรด/ด่างในดินเพื่อให้ดินมีความสมดุลของแร่ธาตุแล้วยังตัดเศษใบไม้หรือหญ้าหมักเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดด้วย

คุณสมชาย บอกว่า ถ้าใส่ใจให้ปุ๋ยเต็มที่ ดูแลเรื่องน้ำและวัชพืชต่างๆ อย่างดีจะให้ผลผลิตในเวลา 5 ปีจากเริ่มมีดอก แต่ยังไม่เก็บเพราะต้นยังอายุน้อยไป แต่จะปล่อยให้ทุเรียนสะสมอาหารให้เต็มที่เสียก่อนจนถึงเวลาประมาณ 8 ปี จึงเริ่มทำผล โดยรุ่นแรกๆ มักจะเก็บไว้ไม่เกิน 15 ผล ต่อต้น น้ำหนักต่อผลประมาณ 4 กิโลกรัม

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีดอกจนเก็บผลผลิตประมาณ 120 วัน คุณสมชายชี้ว่า ตอนผลอ่อนต้องระวังหนอนเจาะกินเมล็ดใน แล้วยังมาวางไข่ หรือหนอนที่ชอบชอนไชผิวทุเรียนหรือผีเสื้อกลางคืน อาจป้องกันด้วยสารเคมีจางๆ ผสมน้ำในอัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดที่ทรงพุ่ม ผสมไปกับปุ๋ยเกล็ดเพื่อบำรุงใบ

ส่วนแหล่งน้ำมาจากน้ำตกแล้วต่อท่อเข้ามาใช้ในสวน ที่ผ่านมาไม่เคยประสบปัญหาขาดน้ำ แต่ถ้าเป็นช่วงกำลังเปลี่ยนจากดอกเป็นผลหรือช่วงหางแย้จะต้องรดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ขาด มิเช่นนั้นผลอ่อนจะลีบแห้งเสียหาย

ทุเรียนหมอนทองมีน้ำหนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อผล จะตัดขายประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เปลือกบาง หวานมัน ขนาดเมล็ดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับรูปทรงและขนาด หนามสีน้ำตาลไม่เขียวเหมือนแถวชุมพร เพราะเติมแคลเซียมโบรอน จึงเป็นจุดเด่นของทุเรียนหมอนทองคีรีวง

ที่ผ่านมา ได้ผลผลิตทุเรียนรวมกว่า 1 ตัน ราคาขายส่งหน้าสวนกิโลกรัมละ 70 บาท โดยมีพ่อค้ามาตีราคาที่สวนก่อน ขณะเดียวกัน เจ้าของสวนจะเลือกพ่อค้ารายที่ให้ราคาพอใจที่สุดจึงตกลง ทั้งนี้ การขายจะคละขนาดเหมาสวน แล้วตกลงให้ผู้ซื้อทำหน้าที่เก็บจากต้น ส่วนเจ้าของสวนมีหน้าที่ลำเลียงทุเรียนบรรทุกใส่รถมอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาลงไปที่ลาน ส่งให้พ่อค้านำไปขายที่ตลาดกลางชุมพร

ปลูกมังคุด

มังคุดเป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม ใช้วิธีขยายพันธุ์จากเมล็ด หรือถ้าเป็นต้นอ่อนที่เกิดจากเมล็ดร่วงจะแซะมาปลูก จำนวนต้นมังคุดประมาณ 200 ต้น มีหลายรุ่นอายุเฉลี่ย 30 ปี การปลูกมังคุดจะดูความเหมาะสมว่าบริเวณใดควรปลูก ถ้ามีพื้นที่ว่างก็จะปลูกแซม อย่างไรก็ตาม การปลูกไม้ผลแต่ละชนิดของคุณสมชายเป็นแนวทางแบบชาวบ้านที่มักดูความเหมาะสมของไม้ผลแต่ละชนิดว่าสมควรปลูกตรงไหน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากแสงแดดและน้ำ อีกทั้งยังเพื่อช่วยให้การดูแลจัดการเป็นไปได้ง่าย ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

เมล็ดปลูกใช้เวลาประมาณ 4 ปี จึงเริ่มแตกกิ่ง ใบ จากนั้นนำลงดิน โดยต้องปลูกให้เสมอผิวดิน ส่วนวิธีปลูกมังคุดทั้งเรื่องใส่ปุ๋ย ดูแลเหมือนกับทุเรียน อย่างไรก็ตาม มังคุดเป็นไม้ผลที่มีความแข็งแรง ทนทานกว่าทุเรียน ไม่ค่อยพบโรค ไม่จำเป็นต้องใส่ยาประเภทใดทั้งสิ้น มังคุดใช้เวลา 6 ปีจึงเก็บผลได้

ช่วงที่มังคุดแถบคีรีวงออกพร้อมกันคือเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงตุลาคม ช่วงเริ่มมีผลผลิตใหม่ๆ ราคาสูง ผ่านไปเล็กน้อยราคาลดลงอย่างรวดเร็วเพราะทุกสวนได้ผลผลิตพร้อมกัน สวนคุณสมชายเก็บผลมังคุดเมื่อปี 2561ได้ปริมาณตันกว่า มีรายได้จากการขายมังคุดแสนกว่าบาท

“จำนวนมังคุด 7-8 ผล ต่อกิโลกรัม อันนี้คละขนาด แต่ถ้าคัดเฉพาะผลใหญ่ได้ 5 ผล ต่อกิโลกรัม เป็นมังคุดท้องถิ่นของคีรีวงที่มีชื่อว่า มังคุดภูเขา ที่มีลักษณะผลใหญ่กว่ามังคุดที่อื่น สีชมพู เปลือกหนา เพราะเกิดจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขา มีความชื้น ปลูกร่วมกับป่าตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารเคมีเร่งหรือกระตุ้น”

อาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างบรรทุกผลไม้ เอกลักษณ์ที่หาดูยาก

จุดเด่นที่คีรีวงคงไม่เพียงคุณภาพผลไม้ แต่ที่เลื่องชื่อแล้วดูน่าสนใจคงเป็นเรื่องวิธีเก็บผลไม้ของชาวบ้านที่ปลูกบนเขา มีเส้นทางคดเคี้ยวแคบ บางจุดสูงชัน มีระยะทางไกล ทำให้รถกระบะไม่สามารถสัญจรได้ จึงมักว่าจ้างคนในหมู่บ้านบรรทุกผลไม้ชนิดต่างๆ ลงมาจากภูเขาด้วยการใช้มอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาใช้บรรทุกผลไม้ เกิดอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างเฉพาะกิจ โดยใช้ระยะทางเป็นตัวกำหนดราคา ถ้าสวนอยู่ลึกไกลมากจะมีค่าใช้จ่ายมากหน่อย ทั้งนี้ แต่ละสวนจะมีทีมงานที่เคยว่าจ้างกันเป็นประจำ

หมู่บ้านคีรีวงถือเป็นแหล่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา ป่าไม้และสายน้ำ จนเป็นที่ขึ้นชื่อว่า “หมู่บ้านที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทย” ชาวบ้านทุกครัวเรือนมีวิถีชีวิตที่สงบช่วยเหลือพึ่งพากันจนเกิดเป็นสังคมแบบเครือญาติ ทั้งยังเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบชาวสวนอยู่กับธรรมชาติ

ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ถือเป็นช่วงหน้าผลไม้กำลังออกชุก ทั้งทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด จำปาดะ สะตอ แถมยังได้ชมวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ชิมอาหารและขนมพื้นบ้านแสนอร่อย พร้อมกับที่พักในแบบธรรมชาติ จึงเป็นที่ถูกใจของนักท่องเที่ยวแนวนิยมไพรต่างปักหมุดไปที่หมู่บ้านคีรีวงกันอย่างคึกคัก…แล้วท่านจะมัวรอทำไม

เห็ด เป็นอาหารโปรตีนพื้นบ้านที่นิยมกินกันมาก โดยเฉพาะบริเวณที่มีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ พอเริ่มเข้าหน้าฝนเห็ดนานาชนิดมีให้กินกันอย่างสำราญ บางชนิดก็เหลือเฟือขนาดเก็บมาขายจนเป็นอาชีพเสริมได้ในหน้าฝน ได้เงินกันเป็นล่ำเป็นสัน เพราะสนนราคาสิ่งจูงใจ เห็ดที่เก็บจากป่าเกือบทุกชนิดมีราคาแพงกว่าหมูกว่าไก่ ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในท้องตลาด

เห็ดเยื่อไผ่ เกิดในธรรมชาติ ชาวจีนนิยมบริโภคเห็ดเยื่อไผ่ตั้งแต่ก่อนสร้างกำแพงเมืองจีน เพราะเห็ดเยื่อไผ่เป็นหนึ่งในยาบำรุงร่างกายของจิ๋นซีฮ่องเต้และบรรดาขุนนางชั้นสูงของจีน เมื่อปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลอเมริกาได้ส่ง นายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาไปเจรจาการค้าที่ประเทศจีน จึงมีโอกาสกินเห็ดเยื่อไผ่กับประธานเหมาและนายโจเอินไหล นายเฮนรี่ พูดถึงความอร่อยของเห็ดเยื่อไผ่ ต่อมาอีกไม่นานนายเฮนรี่ได้ไปเยือนจีนอีกครั้ง ก็ได้รับการต้อนรับด้วยเมนูเห็ดเยื่อไผ่ที่ปรุงขึ้นเป็นพิเศษตามความชอบของท่าน เห็ดเยื่อไผ่จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

คนไทยเพิ่งจะรู้จักกินเห็ดเยื่อไผ่เมื่อไม่กี่สิบปีนี้ ในตอนแรกๆ เห็ดเยื่อไผ่มีราคาแพง เป็นเมนูอาหารขายในภัตตาคารหรือเสิร์ฟบนโต๊ะจีนในราคาค่อนข้างแพง ต่อมาเมนูอาหารเห็ดเยื่อไผ่จึงแพร่หลายไปตามร้านขายอาหารต่างๆ สนนราคาถ้วยละประมาณ 50 บาท ในร้านขายติ่มซำอาหารเช้ามักจะมีเมนูเห็ดเยื่อไผ่ตุ๋นยาจีน และเห็ดเยื่อไผ่น้ำแดงขายให้แก่ผู้สนใจ

สรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่ ที่คนทั่วไปรู้จักคือ เป็นยาโด๊ป เพราะเห็ดเยื่อไผ่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโปรตีน 15-18 เปอร์เซ็นต์ มีกรดอะมิโนถึง 16 ชนิด จากกรดอะมิโนทั้งหมด 20 ชนิด ที่ร่างกายต้องการ และกรดอะมิโนทั้ง 16 ชนิดที่ว่านี้ เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ถึง 7 ชนิด

จากการสกัดสารจากเห็ดเยื่อไผ่พบสารสำคัญ 2 ชนิดที่เป็นตัวช่วยปกป้องระบบประสาทไม่ให้เกิดการทำลายของสารพิษ ทั้งกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทและสมองได้ นอกจากนี้ ยังมีสารอัลลันโทอินที่มักพบในเมือกหอยทาก ซึ่งเห็ดเยื่อไผ่มีสารอัลลันโทอินมากกว่าเมือกหอยทากหลายเท่าตัว ซึ่งสารชนิดนี้ ออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบและการระคายเคืองของผิว ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ลดริ้วรอยและเร่งการผลิตเซลล์ผิวใหม่ สารอัลลันโทอินจึงถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางหลากหลายชนิด

คุณปราณี เพชรสวัสดิ์ เจ้าของกิจการ “ปราณีฟาร์มเห็ดเยื่อไผ่” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 119 หมู่ที่ 14 ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (095) 462-8982 เล่าให้ฟังว่า ฟาร์มแห่งนี้เพาะเห็ดเยื่อไผ่มาหลายปีแล้ว โดยศึกษาหาความรู้จาก ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ปรมาจารย์ด้านเห็ด

การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ขั้นแรกต้องทำเชื้อก่อน สูตรที่ใช้ในการเขี่ยเชื้อ เป็นสูตร RDA คือ ใช้มันฝรั่ง 200 กรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร กลูโคส 20 กรัม ผสมกันแล้วต้มให้มันฝรั่งเปื่อย ใส่ขวดแก้วทิ้งไว้ให้เย็น นำหมวกเห็ดมาเขี่ยสปอร์เชื้อเห็ดใส่ วางไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิ 22-25 องศาเซลเซียส ประมาณ 30 วัน หากอากาศหนาว เชื้อเดินค่อนข้างช้ากว่าปกติ เมื่อเชื้อเดินดีแล้ว ให้นำมาเขี่ยใส่ขวดเพาะเชื้อ โดยใช้สูตร ข้าวฟ่างนึ่ง จนสุกดีแล้วนำมาผึ่งให้คลายร้อน แล้วบรรจุขวดเพียงครึ่งขวด รอให้เชื้อเดินจนเต็มที่

คุณปราณีใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 94 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียด 5 เปอร์เซ็นต์ ปูนขาว 0.8 เปอร์เซ็นต์ ดีเกลือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาบรรจุถุง ขนาดของถุงที่บรรจุเชื้อเห็ดปกติแต่ใส่ในปริมาณแค่ 60 เปอร์เซ็นต์ คือประมาณ 500-600 กรัม ซึ่งถ้าใส่วัสดุจนเต็ม เชื้อเห็ดจะเดินช้ากว่าปกติ และมีโอกาสเป็นเชื้อราดำได้มาก เมื่อบรรจุถุงเสร็จแล้ว นำมาเก็บในอุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนสามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เพราะก้อนเห็ดที่เชื้อเดินเต็มแล้วจะไม่มีรารบกวน

วัสดุที่เตรียมเพาะเห็ดคือ มะพร้าวสับแช่น้ำให้ชุ่ม อย่างน้อย 24 ชั่วโมง โรยชั้นล่างสุดของตะกร้า ขนาด 40 คูณ 50 เซนติเมตร โรยสูงประมาณ 1 นิ้ว ส่วนชั้นที่สอง โรยด้วยไม้ไผ่สับชิ้นเล็กๆ หรือเป็นขี้เลื้อยไม้เก่าก็ได้ แต่ก่อนนำมาใช้ต้องแช่ด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หรือน้ำหมักจาวปลวก 7 วัน นำมาโรยเป็นชั้นที่สอง หนาประมาณ 1 นิ้ว

ส่วนชั้นสุดท้ายเป็นหน้าดินหมัก โรยหนาประมาณ 2 นิ้ว หน้าดินหมักมีส่วนผสมตามสูตรคือ หน้าดินทั่วไป จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านการตากแดดจัด อย่างน้อย 5 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงหรือสัตว์ที่กัดกินเห็ดให้ตายให้หมด ขุยมะพร้าว 30 เปอร์เซ็นต์ ขี้วัว 20 เปอร์เซ็นต์ หมักน้ำจุลินทรีย์หรือใส่จุลินทรีย์ พด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน หมั่นกลับกองทุกวันจนไม่มีความร้อนจึงนำมาใช้ได้

เมื่อโรยวัสดุในการเพาะเห็ดครบหมดแล้วก็รดน้ำให้ชุ่ม เอาเชื้อเห็ดตัดเป็นท่อนๆ ตามขวาง วางบนตะกร้า ตะกร้าละ 6 แว่น นำผ้าพลาสติกคลุม หรือถ้าเป็นตะกร้าก็ให้สวมด้วยถุงขยะดำ วางไว้ในที่ร่ม หรือใต้ซาแรน 80 เปอร์เซ็นต์ และควรอยู่ในหลังคา ในระหว่างนี้ไม่ต้องรดน้ำ เพราะความชื้นที่รดไว้มีเพียงพอ ใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน แล้วแต่สภาพอากาศ เส้นใยเห็ดจะเริ่มเดินกระจายไปทั่วตะกร้า เอาถุงดำหรือพลาสติกที่คลุมออก วางไว้ในที่ร่ม ในตอนนี้รดน้ำเช้า-เย็น ด้วยหัวพ่นฝอยจะดีกว่ารดด้วยมือหรือสปริงเกลอร์ ในช่วงนี้อาจโรยแกลบดิบหรือฟางข้าวเพื่อรักษาความชื้นบนหน้าดิน ในหน้าฝนให้โรยแค่บางๆ ส่วนหน้าร้อน ควรใส่มากหน่อย

ในอุณหภูมิปกติจะใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน หลังจากนี้ จะเกิดเป็นตุ่มเห็ดขนาดเท่าไข่จิ้งจก ผ่านไปอีก 15 วัน มีขนาดโตเท่าไข่ไก่ เนื้อข้างในจะเป็นชั้นๆ เหมือนเห็ดตูมทั่วไป เห็ดที่มีขนาดเท่าไข่ไก่นี้สามารถทำเป็นอาหารได้หลายอย่างเหมือนกับเห็ดฟาง เก็บในตู้เย็นได้ไม่กี่วัน แต่เห็ดเยื่อไผ่ในขั้นตอนนี้ไม่มีการจำหน่ายโดยทั่วไป เนื่องจากยากแก่การขนส่ง แต่สรรพคุณในช่วงนี้เยอะมาก เป็นที่น่าเสียดายที่ปกติจะไม่มีโอกาสลิ้มรส

ขั้นตอนการทำเห็ดเยื่อไผ่ไม่ได้จบแค่นี้ เพราะต้องรออีกประมาณ 7-12 วัน เห็ดจะเจริญเติบโตไปเรื่อย จนหัวเห็ดดันหมวกเห็ดออกมาและโผล่ลำต้นที่เป็นร่างแหออกมา จึงเด็ดออกมาจากตะกร้า ในช่วงเวลานี้ เห็ดสดสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดเช่นกัน เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้วก็ นำไปตากแดดธรรมดา 1 แดด เพื่อลดความชื้นลง ก่อนนำไปใส่ตู้อบอีกครั้ง เพื่อให้เห็ดแห้งเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน ขั้นตอนการอบ ทางฟาร์มเห็ดไม่ได้ใช้กำมะถันรมเพื่อให้มีสีขาวเหมือนสินค้าที่ผลิตจากต่างประเทศ เพราะการรมกำมะถันเป็นอันตรายต่อการบริโภค ยกเว้นต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง เห็ดเยื่อไผ่ของฟาร์มแห่งนี้ จึงมีสีคล้ำกว่าเห็ดที่นำเข้าจากต่างประเทศ คุณปราณีบอกว่า ถึงเห็ดเยื่อไผ่จะมีสีคล้ำ เมื่อล้างและแช่น้ำแล้วก็จะขาวเหมือนปกติ

การเก็บเอาวุ้นของเห็ด ต้องเก็บจากเห็ดก่อนที่เห็ดจะดันขึ้นมาจนเปลือกนอกแตก เพราะวุ้นจะเกิดระหว่างเปลือกชั้นแรกกับตัวดอก มีน้ำหนัก 1 ใน 3 ของน้ำหนักดอกสด ในธรรมชาติวุ้นจะทำหน้าที่เก็บความชื้นและป้องกันไม่ให้แมลงมากินดอก การเก็บ แนะนำให้เอามือค่อยๆ แกะเปลือกออก แล้วเอาช้อนขูดจนถึงเนื้อสีเหลืองก่อนนำไปแช่ช่องแช่แข็งรวบรวมไว้ วุ้นนี้แหละจะนำไปทำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีราคาค่อนข้างแพง เพราะมีสรรพคุณทางยามากมาย ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ทำจากวุ้นของเยื่อไผ่ เช่น เซรั่มเห็ดเยื่อไผ่ มีสรรพคุณป้องกันสิวฝ้า ผิวหน้าใสกระชับ สบู่ น้ำแร่เห็ดเยื่อไผ่ เจลทำความสะอาดเครื่องสำอาง เป็นต้น

คุณสมบัติของเห็ดเยื่อไผ่มีมากมายเหมาะสมกับราคา ปัจจุบันนี้มีเห็ดแห้งที่เราสามารถนำมาทำเองได้หรือไม่ก็สั่งเป็นเมนูตามร้านอาหารทั่วไปด้วยสนนราคาไม่แพงแล้ว ถ้ายังไม่เคยชิมก็ลองดูได้ครับ

“น้อยหน่า” เป็นไม้ผลที่มีรสชาติอร่อย ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตไว ที่สำคัญไม่กลัวแล้ง เกษตรกรไทยจึงนิยมปลูกไม้ผลชนิดนี้แพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ ปัจจุบัน “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นน้อยหน่าลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรจำนวนมาก เพราะให้ผลดก อร่อยถูกปากคนซื้อ ผลสุกเก็บได้นาน ถูกใจแม่ค้า “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นน้อยหน่าพันธุ์ลูกผสม ที่เกิดจากพ่อแม่คือ น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่องกับฝ้ายเขียวเกษตร 1 ประชาชนทั่วไปเริ่มรู้จัก น้อยหน่า “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นครั้งแรก ในงานเกษตรแฟร์ 2558 “ฝ้ายเขียวเกษตร 2” เป็นผลงานของ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด รศ. ฉลองชัย แบบประเสริฐ และ คุณกวิศร์ วานิชกุล นักวิจัยของสถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ้ายเขียวเกษตร 2 เป็นไม้ผลที่มีศักยภาพทางการค้า UFA SLOT เพราะเป็นพันธุ์น้อยหน่าที่ปลูกง่าย ทนแล้ง ให้ผลผลิตเร็ว บังคับให้ออกดอกติดผลได้ง่าย และต้นทุนการผลิตต่ำ กล่าวได้ว่า ฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีอัตราการเจริญเติบโตของลำต้นดี ให้ผลผลิตสูง และมีลักษณะเด่นแตกต่างจากพันธุ์การค้าเดิม เพราะฝ้ายเขียวเกษตร 2 มีกลิ่นหอม หวาน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของน้อยหน่าพันธุ์ฝ้าย มีเนื้อเนียนนุ่ม ติดผลง่าย ให้ผลดก ขนาดผลปานกลาง ซึ่งเป็นไซซ์ที่ตลาดต้องการ เปลือกหนาติดกันเป็นแผ่นไม่แยกตา ปริมาณเนื้อมากเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค

การปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ใช้หลักการเดียวกับการปลูกน้อยหน่าทั่วไป เริ่มจากไถพรวนดินก่อน ปล่อยให้ดินแห้งสัก 1 สัปดาห์ จากนั้นไถเพื่อให้ดินร่วนซุย ตอนปลูกควรเว้นระยะห่างตามสภาพดิน หากปลูกในแหล่งดินดี ควรปลูกในระยะห่าง 4×4 เมตร หากปลูกในแหล่งดินไม่สู้ดีนัก ควรปลูกในระยะห่าง 3×3 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวก็ใช้หลักเดียวกัน เพื่อให้ลำต้นกิ่งก้านของต้นน้อยหน่าได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

อย่างที่เกริ่นตอนแรก น้อยหน่าเป็นไม้ผลที่ทนแล้ง ปลูกได้ทุกฤดู แต่หากเป็นไปได้ขอแนะนำให้ปลูกต้นน้อยหน่าในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม เพื่อความสะดวกในการดูแลเรื่องน้ำ ทั้งนี้ เกษตรกรหลายรายนิยมปลูกต้นสนทะเล ไผ่รวก ยูคาลิปตัส ขนุน มะม่วง เป็นกำแพงบังลมแรงในสวนน้อยหน่า อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยให้พืชเหล่านั้น แผ่ร่มเงากว้างปกคลุมแปลงปลูกน้อยหน่า เพราะอาจแย่งอาหาร ทำให้ต้นน้อยหน่าไม่งอกงามได้

เนื่องจากน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 ติดผลง่าย ให้ผลดกมาก มักติดผลเป็นพวง หากไม่คอยตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ออกไป จะทำให้มีผลดกมากจนกิ่งหักได้ ควรดูแลตัดแต่งกิ่งต้นน้อยหน่าเป็นระยะ เพื่อไม่ให้กิ่งก้านรกทึบ กิ่งก้านเบียดกันระหว่างต้น ทำให้รากแย่งอาหารกันเอง และทำให้เก็บเกี่ยวได้ลำบาก นับจากวันที่ต้นน้อยหน่าผลิดอกถึงวันเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 110-120 วัน ควรเก็บผลด้วยมือ ถ้าสูงก็ใช้ไม้ง่ามสอย หรือทำเป็นตะกร้อเก็บใส่เข่งที่กรุด้วยใบตอง แล้วคัดแยกผลใหญ่เล็กออกจากกัน

ตลาดต้องการสูง ทั้งในประเทศและส่งออก

คุณสมเกียรติ บุตรบำรุง โทร. (081) 494-0823 ประธานชมรมผู้ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร อำเภอปากช่อง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 98/1 หมู่ที่ 4 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คุณ สมเกียรติเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่บุกเบิกการปลูกน้อยหน่าพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 หลังจากสถานีวิจัยปากช่องได้เปิดตัวน้อยหน่าพันธุ์นี้ เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน ปัจจุบันคุณสมเกียรติมีพื้นที่ปลูกน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ในเชิงการค้ามากที่สุดในขณะนี้

หลังจากคุณสมเกียรติได้ชิมรสชาติน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ที่ปลูกภายในสถานีวิจัยปากช่อง เมื่อ 2 ปีก่อน ก็รู้สึกประทับใจในรสชาติความอร่อยของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร 2 ซึ่งเป็นน้อยหน่าเนื้อร่วน ที่รักษารสชาติความอร่อยของน้อยหน่าฝ้ายเขียวเกษตร และเพชรปากช่องได้อย่างครบถ้วน คุณสมเกียรติจึงขอซื้อกิ่งพันธุ์ฝ้ายเขียวเกษตร 2 จำนวน 300 กิ่ง ที่เกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อ และนำมาเสียบยอดของสถานีวิจัยปากช่อง ในราคากิ่งละ 500 บาท