ช่วงที่เริ่มปลูกอะโวกาโด จะปลูกต้นอะโวกาโดที่มีความต้านทาน

โรคไว้ประมาณ 6 เดือน แล้วนำยอดพันธุ์ที่ทางโครงการหลวงส่งเสริมมาเสียบยอด หลังจากการเสียบยอดแล้ว ประมาณ 3 ปี ต้นอะโวกาโดจะให้ผลผลิตเพื่อจำหน่ายได้ ส่วนพืชผักที่ปลูก มียอดซาโยเต ถั่วฝักยาว มะเขือพวง ชะอม มะนาว สมุนไพรไทย เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ พริก ใช้สารชีวภาพที่ผลิตเองในการดูแลพืชผัก นอกจากนี้ ยังได้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ และเลี้ยงปลาในบ่อ ถือได้ว่าเป็นผลไม้ พืชผักอินทรีย์ และสัตว์เลี้ยงอินทรีย์ โดยได้รับรองจากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และ AVA ประเทศสิงคโปร์ ส่วนผลผลิตอะโวกาโด จะส่งให้กับร้านโครงการหลวง พืชผักอินทรีย์ และสัตว์เลี้ยง ปลูกไว้บริโภคเอง ที่เหลือจำหน่ายให้กับตลาดภายในหมู่บ้าน”

สำหรับทางโครงการหลวงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยมี 2 วิธี วิธีแรกมีการปลูกต้นตอต้นอะโวกาโดที่มีความทนทานต่อโรคไว้ประมาณ 6 เดือน แล้วนำกิ่งพันธุ์มาเสียบ และอีกวิธี นำต้นกล้าพันธุ์ที่ต้องการปลูกมาลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ที่มีความกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 80 เซนติเมตร และสูง 80 เซนติเมตร แต่ละต้นห่างกันประมาณ 8 เมตร ผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมาแล้วใส่ลงไปในหลุม ให้รอยต่อกิ่งหรือรอยแผลติดตาอยู่เหนือระดับดิน กลบดินรอบๆ โคนต้นให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม แล้วคลุมผิวหน้าดินด้วยวัตถุคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อรักษาความชื้น ปักไม้หลักผูกเชือกยึดติดไว้ป้องกันลมโยก รดน้ำให้สม่ำเสมอจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้

การให้น้ำแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 ลิตร ต่อต้น ทุก 3-4 วัน ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนแรก สำหรับในช่วงฤดูฝนของปีแรกหลังจากฤดูฝนแล้วจะให้น้ำต้นอะโวกาโดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 40-60 ลิตร ต่อต้น จนกว่าต้นอะโวกาโดจะมีอายุ 1 ปี หลังจากปลูก ในช่วงที่ต้นอะโวกาโดออกดอกจะงดให้น้ำ พออะโวกาโดเกิดตาดอกที่ยอด และช่อดอกเริ่มออกให้น้ำใหม่ โดยช่วงดอกออกประมาณเดือนธันวาคม หลังจากนั้นประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เริ่มติดผลเล็ก ช่วงระยะเวลาตั้งแต่การติดดอกจนถึงฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณ 7-10 เดือน

การเก็บเกี่ยวผลผลิต จะมีการตรวจสอบก่อนว่า ผลแก่พอเก็บได้ โดยใช้วิธีการเก็บผลอะโวกาโด ระดับที่ต่างกันบนต้นมาผ่าดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมดสามารถเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ ยังต้องสังเกตลักษณะภายนอกของผลโดยการเปลี่ยนแปลงของสีผล การเก็บเกี่ยวผลอะโวกาโดจะไม่ให้ขั้วผลหลุด เพราะจะทำให้ผลเสียหายได้ง่ายขณะบ่มให้สุก

สำหรับผู้สนใจซื้ออะโวกาโดได้ที่ร้านค้าโครงการหลวง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มะพร้าวทับสะแก เป็นมะพร้าวที่นิยมเอามาใช้ทำกะทิแกงมาก เพราะว่ามีขนาดของผลใหญ่ให้เนื้อที่เยอะกว่ามะพร้าวทั่วไป เลยทำให้มะพร้าวทับสะแกเป็นที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย

ใครเดินทางลงภาคใต้ เมื่อออกจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ สองข้างทางเต็มไปด้วยแปลงปลูกมะพร้าวต้นสูงๆ ถึงแม้จะเผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาก็ยังเห็นต้นมะพร้าวอยู่ เรื่อยไปจนเข้าสู่พื้นที่จังหวัดชุมพร

มะพร้าวทับสะแก มีชื่อเสียงมานานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีงานเกี่ยวข้องกับมะพร้าวมากมาย นอกจากมีการซื้อขายผลมะพร้าวแล้ว ยังมีงานแปรรูปมะพร้าวเป็นน้ำมัน งานแปรรูปเส้นใย ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ตลอดจนไม้แปรรูปมะพร้าวสำหรับงานก่อสร้าง

คุณกรวสา ชามภูวราช อยู่บ้านเลขที่ 1/22 หมู่ที่ 4 ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นคนที่โตมาพร้อมกับสวน จากนั้นย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ เพื่อทำงานบริษัทและเลี้ยงลูก จนส่งลูกเรียนจบ ก็กลับมาทำสวนที่บ้านต่อ เธอบอกว่า ที่จริงแล้วแต่เดิมที่บ้านทำสวนกล้วยไข่มาก่อน หลังจากนั้นก็มาปลูกสับปะรดเป็นเจ้าแรกๆ ของทับสะแก เดิมทำอยู่ประมาณกว่า 100 ไร่ พอหลังจากปลูกกล้วยไข่ ปลูกสับประรด ก็นำมะพร้าวมาปลูกตาม เพื่อต้องการจะให้มาเป็นพืชยืนต้นหลักของสวน และตอนนี้ก็ทำไม้ป่า ไม้โบราณ สับปะรด และทำสวนมะพร้าวแกงด้วย

คุณกรวสา บอกว่า เดิมทีแล้วที่ปลูกมะพร้าวทับสะแกเพื่อต้องการให้เป็นพืชหลักของสวนเลย เพราะว่าพอโตเต็มที่แล้ว ก็สามารถเก็บได้ตลอดทั้งปีและต่อเนื่องนาน ตอนนี้ที่สวนก็มีปลูกอยู่ประมาณ 30 ไร่

“พันธุ์…ไม่แน่ใจว่าเอามาจากไหน เพราะว่าเตี่ยเป็นคนนำมาปลูกไว้ตั้งนานแล้ว มะพร้าวทับสะแกนั้นก็ไม่รู้ว่าที่มันอร่อย เป็นเพราะพื้นดินดีหรือว่าอะไร แต่เป็นมะพร้าวแกงที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเรา ดูได้จากลูกจะใหญ่กว่าลูกมะพร้าวทั่วไป ส่วนการที่เราปลูกต้นไม้อื่นแซมไปด้วยนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ไม่เป็นการปล่อยให้พื้นที่รกร้าง พืชที่นิยมปลูกแซมกันคือ สับปะรด” คุณกรวสา บอก

พืชแซมในมะพร้าว ทำได้ต่อเนื่อง ต่างจากพืชอื่น ตัวอย่าง พืชแซมในยางพารา อาจจะปลูกได้ 1-3 ปี ช่วงยางพาราอายุยังน้อย แต่โตขึ้นต้องหยุดแล้วหาทางปลูกพืชร่วมแทน ต่างจากมะพร้าว เนื่องจากระยะระหว่างต้นระหว่างแถวห่าง ประกอบกับทรงต้นมะพร้าวสูง จึงปลูกพืชแซมอย่างสับปะรดได้ต่อเนื่อง ข้อดีของพืชแซม นอกจากขายผลผลิตได้โดยตรงแล้ว เวลาให้ปุ๋ยสับปะรด ต้นมะพร้าวยังได้กินปุ๋ยอีกด้วย

“มะพร้าวที่ปลูก คนที่นี่เรียกว่า พันธุ์ทับสะแก มะพร้าวทับสะแกมีคุณสมบัติอย่างไร…เริ่มเก็บผลได้ตั้งแต่ 7 ปีหลังปลูก ต้นที่โตเต็มที่จะออกผลได้เยอะ ส่วนต้นที่ยังไม่โตเต็มที่จะให้ผลน้อย ปีหนึ่งก็จะได้ประมาณ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี…ปีหนึ่งเก็บ 12 ครั้ง เก็บเดือนละครั้ง ต้นหนึ่งอยู่ได้นานประมาณ 150 ปี มีเปลือกที่บางไม่หนาปอกง่าย ลูกมีขนาดที่ใหญ่กว่ามะพร้าวทั่วไป เนื้อเยอะกว่า…จุดเด่น คือความมัน ความหวาน เพราะในความมันจะมีความหวานติดอยู่ที่ปลายลิ้น” เจ้าของมะพร้าวบอก

มีคำแนะนำจากทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ระบุว่า มะพร้าวแกงทับสะแก มีปลูกสืบทอดกันมายาวนาน เกษตรกรจะคัดเลือกผลที่ใหญ่สุด จากต้นดีที่สุดปลูกไว้

ยกตัวอย่าง เกษตรกรปลูกมะพร้าวไว้ 100 ต้น อาจจะมีต้นที่แตกต่างจากต้นอื่น 2-3 ต้น แตกต่างตรงที่ให้ผลผลิตดก สม่ำเสมอ ผลขนาดใหญ่ เนื้อหนา ทนทานต่อสภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะความแห้งแล้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ เกษตรกรผู้เป็นเจ้าของก็จะนำผลผลิตจาก 2-3 ต้น มาทำพันธุ์ เมื่อจะปลูกครั้งต่อๆ ไป จึงทำให้ได้ลักษณะของมะพร้าวที่ดียิ่งขึ้น

มะพร้าว ถือว่าเป็นพืชพรรณล้ำค่า เป็นพืชที่คู่ครัวคนไทย เมื่อมีมะพร้าว สามารถทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งคาวและหวานที่เห็นมะพร้าวยืนต้นสวยงามนั้น เกษตรกรไม่มีระบบน้ำให้

เริ่มแรกปลูกมะพร้าวต้นฝน พอผ่านไปปีหนึ่งก็อยู่ได้สบาย

เจ้าของแนะนำการดูแลรักษาว่า ใส่ปุ๋ยปีละ 1 ครั้ง ปุ๋ยที่ใส่ก็แล้วแต่ว่าจะเป็นอินทรีย์หรือเคมี ถ้าเคมีก็จะเป็นปุ๋ยทั่วไปที่เขาใส่กัน ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ก็จะเป็นปุ๋ยคอกถ้าทำผลผลิตเป็นมะพร้าวอินทรีย์จะราคาดีกว่า

บางช่วง ราคามะพร้าวเหลืออยู่ ผลละ 5 บาท แต่ถ้าเป็นผลผลิตอินทรีย์ จะอยู่ที่ ผลละ 11 บาท

เคยขายได้สูงสุด 25 บาท แต่หากผลผลิตอินทรีย์ ได้ผลละ 32 บาท

ราคามะพร้าวมีขึ้นมีลง บางช่วงราคาดีอยู่นาน เกษตรกรก็ยิ้มได้ เนื่องจากมะพร้าวอายุยืน ปลูกแล้วอยู่ได้นาน เกษตรกรจะรักษาสิ่งที่ตนเองมีอยู่ไว้อย่างดี หากราคาผลผลิตถูก ก็รอเวลา ซึ่งก็มีหมุนเวียนให้มีรายได้มากบ้างน้อยบ้าง ถือเป็นพืชที่ปลูกแล้วเลี้ยงเจ้าของได้ เข้าทำนอง…“คนปลูกเลี้ยงมะพร้าว มะพร้าวก็เลี้ยงคน”

ใครสนใจพันธุ์ เจ้าของบอกว่า ต้องสั่งจองและพูดคุยรายละเอียด สอบถามได้ที่ โทรศัพท์ กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เตรียมวางแผนการตลาดเพื่อควบคุมปริมาณสินค้าลองกองชายแดนใต้ ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ลองกอง เป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ มีแหล่งผลิตในภาคใต้ของประเทศไทย โดยในปี 2561 ได้ประมาณการผลผลิตลองกองของภาคใต้ไว้ จำนวน 70,383 ตัน มากกว่าผลผลิตปี 2560 ประมาณร้อยละ 613.82 (ปี 2560 ผลผลิต 9,860 ตัน) โดยจังหวัดที่มีผลผลิตมากและต้องเฝ้าระวัง คือ 4 จังหวัดชายแดนใต้ อย่าง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา มีผลผลิตรวม 35,649 ตัน คิดเป็นร้อยละ 50.65 ของปริมาณผลผลิตลองกองใต้ทั้งหมด

ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตลองกองไปแล้ว 30,326 ตัน คิดเป็นร้อยละ 43 ของผลผลิตลองกอง 14 จังหวัดภาคใต้ คงเหลือผลผลิตประมาณ 4 หมื่นตัน หรือร้อยละ 60 ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต แต่จากการติดตามสถานการณ์ผลผลิตลองกองในขณะนี้เปรียบเทียบกับข้อมูลที่คาดการณ์ไว้ พบว่า ผลผลิตลองกองของภาคใต้ลดลงมากกว่า ร้อยละ 50 หรือประมาณ 2 หมื่นตัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน มีฝนตกชุก ทำให้ลองกองผลแตก หลุดร่วงเป็นจำนวนมาก

เดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่ต้นลองกองออกผลมากที่สุด แต่ในช่วงดังกล่าวมีฝนตกเป็นระยะๆ ทำให้มีความชื้นอากาศสูง ทำให้เกิดโรคและการระบาดของเชื้อราได้ง่าย โดยมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อรา Phomopsis sp. ถ้าไม่มีการดูแลที่ดีอาจทำให้ผลผลิตลองกองเสียหายทั้งช่อ ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหาย ถ้าพบการระบาดเกษตรกรควรป้องกัน ดังนี้

1.หากพบการระบาด ควรเก็บผลที่เป็นโรคไปทำลาย หรือถ้ามีการร่วงหล่นอยู่ใต้ต้นให้เก็บไปทิ้งบริเวณนอกสวน
ควรหมั่นตัดแต่งทรงพุ่มต้นลองกองให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและแสงแดดส่องได้ ตลอดจนตัดแต่งช่อผลลองกอง ปลิดผลด้อยคุณภาพออก เพื่อให้ผลที่เหลือมีขนาดใหญ่ ได้ช่อสวย ขนาดใหญ่ ขายได้ราคาดี ซึ่งสอดคล้องตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ผลคุณภาพดี และระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรตั้งแต่ต้นฤดูกาลแล้ว

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชไม้ผล พวกผีเสื้อมวนหวาน แมลงวันผลไม้ และแมลงหวี่ ที่เป็นตัวทำลายผลลองกองให้เกิดแผล ส่งผลให้เชื้อราระบาดได้ง่าย โดยใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล ไธเบนดาโซล ฉีดพ่นตามอัตราที่ฉลากแนะนำและเมื่อเก็บเกี่ยวลองกองจากต้นแล้ว ควรจัดเรียงผลผลิตลองกองวางลงในภาชนะ เช่น ตะกร้า เข่ง ให้เป็นระเบียบ ไม่อัดแน่นจนเกินไป และควรจัดหาวัสดุรองก้นภาชนะเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนในการขนย้าย เพราะถ้าหากช้ำอาจจะทำให้เสียหายทั้งช่อ

ผมต้องการซื้อพันธุ์เห็ดบริสุทธิ์ ที่เลี้ยงในอาหารวุ้น ผมจะได้นำไปขยายเชื้อเอง จึงขอเรียนถามว่า แหล่งเชื้อพันธุ์เห็ดบริสุทธิ์ดังกล่าว ผมต้องไปติดต่อขอซื้อได้ที่ไหนที่ดีที่สุด และเชื่อถือได้ แล้วมีวิธีการติดต่ออย่างไร ผมขอคำแนะนำด้วยครับ ผมจะติดตามอ่านคำตอบในคอลัมน์หมอเกษตรครับ

แหล่งผลิต และจำหน่าย ที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน คือ กลุ่มวิจัยและพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์และจุลินทรีย์ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ (ตึกโภชากร) กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. (02) 579-0147 เชื้อเห็ดบริสุทธิ์ที่มีจำหน่าย ดังนี้ เห็ดฟาง เห็ดแชมปิญอง เห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดยานาหงิ เห็ดหลินจือ เห็ดเข็มเงิน เห็ดเข็มทอง เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง หรือเห็ดบด หรือเห็ดลม และเห็ดแครง โดยเชื้อเห็ดบริสุทธิ์อยู่ในรูปเส้นใยบนอาหารวุ้น บรรจุขวดแบนขนาดเล็ก ใช้สำหรับเป็นแม่พันธุ์ที่จะเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง นึ่ง อบ ฆ่าเชื้อ บรรจุในขวดแบนแม่โขง สำหรับขั้นตอนการจัดซื้อทำได้ ดังนี้

การสั่งซื้อ ให้ติดต่อโทรศัพท์ หมายเลข (02) 579-0147 แจ้งชื่อเห็ดที่ต้องการ และจำนวนที่ต้องการ พร้อมทั้งระบุชื่อและที่อยู่ของผู้สั่งซื้อให้ชัดเจน

การรับเชื้อเห็ด ทำได้ทั้งมารับด้วยตนเอง โดยคิดราคาเชื้อพันธุ์ ขวดละ 50 บาท ทุกพันธุ์ และการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ จะสามารถรับเชื้อเห็ดได้ภายใน 5-7 วัน โดยคิดค่าจัดส่ง 1-3 ขวด เป็นเงิน 29 บาท ทั้งนี้ ไม่รวมค่าเชื้อเห็ด ค่าจัดส่งจำนวน 4-10 ขวด เป็นเงิน 49 บาท และ 11-20 ขวด เป็นเงิน 66 บาท

เมื่อได้รับเชื้อพันธุ์แล้วให้ตรวจสอบดูว่า ขวดบรรจุเชื้อเห็ดแตกชำรุด หรือมีเชื้อโรคอื่นปนเปื้อนมาหรือไม่ หากเกิดการแตกชำรุดเกิดขึ้น ให้รีบแจ้งกลับมายังสำนักงานทันที แล้วสำนักงานจะจัดส่งทดแทนให้

การเก็บรักษาขวดเชื้อเห็ด ให้เก็บในที่สะอาด ไม่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ถ้าต้องการยืดอายุเชื้อเห็ด ควรเก็บไว้ในช่องผักของตู้เย็น สำหรับการต่อเชื้อทำได้ไม่เกิน 3 รุ่น

ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยพัฒนาธนาคารเชื้อพันธุ์พืชและจุลินทรีย์ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. (02) 579-0147 ในวัน และเวลาราชการ

สหกรณ์สวนยางภาคใต้ 3 แห่ง ได้รับใบรับรองมาตรฐานมอก. จากกระทรวงอุตสาหกรรม หลังจากแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนได้มาตรฐาน เป็นใบเบิกทางเพื่อร่วมงานกับโครงการภาครัฐในอนาคต

นายมนุชาธิป วรกาญจนานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสงขลา กรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า สหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ จำกัด จังหวัดสงขลา สหกรณ์กองทุนสวนยางอุไดเจริญ จำกัด จังหวัดสตูล และกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางและผลิตภัณฑ์ยางตาชี จังหวัดยะลา ได้รับมอบใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จาก นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นต้นแบบของสหกรณ์สวนยางพารา ที่ได้มีการรวมกลุ่มกันแปรรูปยางพาราจนได้มาตรฐาน สามารถสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางพาราได้มากขึ้น

ทั้งนี้ ในการดำเนินงานของทั้ง 3 สหกรณ์นั้น ที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมยางพาราจากกลุ่มเกษตรกร ชาวสวนยางในพื้นที่ ก่อนจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ จำกัด และกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางและผลิตภัณฑ์ยางตาชี ได้มีการแปรรูปยางพาราเป็นยางปูพื้นสนามกีฬาที่มีมาตรฐาน ส่วนสหกรณ์กองทุนสวนยางอุไดเจริญ ได้แปรรูปยางพาราเป็นหมอนยางพารา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวได้ช่วยสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนยางได้มากขึ้นหลายเท่าตัว จากปกติที่เกษตรกรจะขายเพียงน้ำยางพาราเท่านั้น

“ที่ผ่านมากรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่ม พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณมาช่วยดำเนินการแปรรูปผลผลิตยางพาราให้มีมูลค่าเพิ่ม และยังมีความร่วมมือจากโครงการรัฐบาล ทั้ง งบประมาณจังหวัด และกลุ่มจังหวัดเข้ามาร่วมกันสนับสนุนในการช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยส่งเสริมให้สหกรณ์มีการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตยางพารา จนในที่สุดก็ได้มาตรฐาน มอก.”

นายมนุชาธิป กล่าวว่า หลังจากที่ทางสหกรณ์ตัวอย่างทั้ง 3 แห่ง ได้รับใบรับรองมาตรฐานมอก.ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปจะมีการขยายผลการส่งเสริมไปยังสหกรณ์อื่นๆ ในภาคใต้ เพื่อให้เรียนรู้วิธีการจัดการที่เป็นระบบ จนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีมาตรฐาน เพราะถ้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานแล้ว สหกรณ์ก็จะสามารถเข้าร่วมเสนอราคาในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีและเชิดชูเกียรติ มอบรางวัลเข็ม พระพิรุณทองคำ “เกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง” รุ่นที่ 17 แก่นิสิตเก่ามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ผู้ประสบความสำเร็จ ก้าวหน้าในชีวิตและหน้าที่การงาน จำนวน 17 ราย รางวัลเข็มพระพิรุณทองคำ “เกษตรกล้า” รุ่นที่ 1 เป็นครั้งแรกให้แก่นิสิตเก่าผู้รอบรู้ทางการเกษตรและมีความกล้าหาญ ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ จำนวน 2 ราย

พร้อมทั้งมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่นิสิตเก่าผู้เคยได้รับรางวัลเกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง ซึ่งปัจจุบันได้รับตำแหน่งบริหารงานใหม่ อีกจำนวน 7 ราย โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 เป็นต้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาคมได้รับรู้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีงามของนิสิตและบุคคลในสังคมไทย โดยมี ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธี

ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 75 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สร้างผลงานและผลิตบัณฑิตออกไปทำงานรับใช้สังคมในหลากหลายสาขา โดยบัณฑิตของ มก.ได้รับการยอมรับในความรู้ความสามารถ ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่มี ผลงานดีเด่น มีความก้าวหน้าในทุกวิชาชีพทั้งในด้านการเกษตร

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านสังคมศาสตร์ สมดังเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติ สำหรับการมอบรางวัลเข็มพระพิรุณทองคำ “เกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง” ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดขึ้นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2547 โดยการริเริ่มของอธิการบดีในสมัยนั้น คือ รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์ และจัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีผู้ได้รับรางวัลเกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่องไปแล้ว จำนวน 240 คน สำหรับในปีนี้ ได้มีการพิจารณามอบรางวัลเข็มพระพิรุณทองคำ “เกษตรกล้า” เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งรางวัลเป็นครั้งแรก

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินิสิตเก่าผู้รอบรู้ทางการเกษตรและมีความกล้าหาญยิ่ง เป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นผู้ที่มีมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อตรง ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ซึ่งปฏิบัติภารกิจเป็นผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ช่วยเหลือทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมีและผู้ฝึกสอน รวม 13 คน ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง

ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อย่างกล้าหาญยิ่ง และ นายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี กรณีจับกุมผู้ล่าสัตว์ป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี อย่างกล้าหาญยิ่ง

ผู้ได้รับรางวัลเข็มพระพิรุณทองคำ “เกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง” รุ่นที่ 17 มีจำนวน 17 ราย ดังนี้

นางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ KU 37 เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ KU 38 เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ KU 39 ปลัดกระทรวงคมนาคม
นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ KU 39 อธิบดีกรมทางหลวง
นางพรเพ็ญ วรวิลาวัณย์ KU 39 ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา KU 39 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
นางดวงตา ตันโช KU 40 ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ
นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร KU 41 ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต KU 41 อธิบดีกรมปศุสัตว์
นายเรืองศักดิ์ สุวารี KU 41ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
นางชุติมา หาญเผชิญ KU 43 รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ KU 44 เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน
นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
Dr. Bounmy Phonesavanh อธิการบดีมหาวิทยาลัยจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว