ช่วงนี้ระมัดระวัง หากมีฝนตกบ่อยๆ อาจทำให้ต้นเงาะแตกใบอ่อน

นั่นส่งสัญญาณว่าทั้งดอกและผลอาจจะร่วงหล่นหรือผลแตก (เงาะยิ้ม) ต้องฉีดพ่นแคลเซียม-โบรอน ไว้ด้วย

– ระยะที่เงาะเข้าเนื้อ ขยายผลจนถึงวันที่เก็บผลเงาะ

– ระยะนี้ผลเงาะจะขยายผลเร็วมาก จะตัดแต่งช่อผล เอาผลเล็ก เงาะขี้ครอกออก แล้วให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพียงพอ เพื่อป้องกันเงาะผลเล็กและผลลีบ

– ก่อนเก็บผลเงาะ 2 สัปดาห์ งดให้น้ำ ไม่ฉีดพ่นสารใดๆ

– เก็บผลเงาะโดยเลือกเก็บเงาะที่มีผลสีแดงสด หากเงาะไม่แดงทั้งช่อ ให้เลือกเก็บเฉพาะผลสีแดง ขนยังสีเขียวอยู่เสียก่อน หรืออาจใช้วิธีคำนวณระยะเวลาก็ได้ คือตั้งแต่ดอกเงาะบานหมดจนถึงผลเงาะแก่ ใช้เวลา 5 เดือน

ให้ใช้วัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันการกระแทกของผลเงาะ

นำผลเงาะไปล้างน้ำสะอาด 2 ครั้ง แล้วคัดแยกขนาด คุณภาพ

ตรวจสอบน้ำหนักผล เงาะที่สวนของผู้เขียนก็จัดอยู่ในเงาะพอดีคำ ชั่งน้ำหนักเงาะ 42 ผล จึงจะได้ 1 กิโลกรัม

ที่นำเสนอไปเป็นการปฏิบัติดูแลเงาะให้ได้ผลผลิต เพราะ 1 ปี เงาะให้ผลผลิตเพียงครั้งเดียว หากปีนี้ผลิตเงาะไม่ได้ผล เสียทั้งเวลา เงินทุน แรงกาย ต้องรอแก้ตัวใหม่ปีหน้าเลยทีเดียว ต้องใช้ความพยายาม ความเพียร ความอดทน ดูแลเอาใจใส่ แต่ถ้าเงาะให้ผลผลิตที่ดีก็เป็นความภาคภูมิใจ มีกำลังใจ พร้อมที่จะผลิตเงาะในปีต่อๆ ไป

ปีนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยส่งผลให้เงาะที่สวนของผู้เขียนติดผลมาก ตามบันทึกข้อมูลตั้งแต่เงาะติดผล จนเข้าเนื้อ เปลี่ยนสีผิว มีฝนตกเป็นระยะ 1 วัน เว้นไป 2-3 วัน ตกอีก ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าว

ลักษณะเด่นของเงาะที่สวนคือ ผลเงาะจะกลม สีผิวแดง แต่ขนเงาะมีสีเขียว เมื่อแกะผลเนื้อจะแห้ง ไม่มีน้ำภายในผล เนื้อหนา เมล็ดเล็ก กินแล้วรู้สึกกรอบ หวาน เนื้อล่อน อร่อย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้ซื้อ มีผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยที่ซื้อเงาะครั้งละหลายกิโลกรัม แล้วกลับมาซื้ออีกเป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3

การตลาดเงาะ

ผลผลิตเงาะที่สวนของผู้เขียนจะมีในเดือนกรกฎาคม ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด เพราะขายเงาะภายในท้องถิ่น ใช้สถานที่หน้าบ้านอยู่ในเขตเทศบาลห้วยอ้อ ขายทุกวันช่วงที่มีผลผลิตเงาะ ราคาขายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 25 บาท

เมื่อสรุปรายได้-ค่าใช้จ่าย จากที่ทำบัญชีฟาร์ม ยังมีส่วนต่างเหลือพอที่จะนำไปผลิตเงาะในปีหน้า

ผู้เขียนยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็นประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการพัฒนา ติดต่อที่อยู่ บ้านเลขที่ 55 หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

ในยุคปัจจุบัน คนไทยเริ่มหันมาให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ กำลังได้รับความนิยมกับกลุ่มคนที่รักสุขภาพ และได้หันมาให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร “ข้าวอินทรีย์” จึงเป็นทางเลือกทางหนึ่ง ในยุคนี้เวลานี้

คุณภาณุสิทธิ์ มั่นคง ชาวนาในตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เจ้าของรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติประจำปีนี้ สาขาอาชีพทำนา ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยเริ่มต้นใน ปี พ.ศ. 2553 จากการได้เห็นเกษตรกรรายอื่นในชุมชนที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร และต่อมาเกษตรกรรายนั้นได้เสียชีวิตลง จึงเกิดความรู้สึกว่า อาชีพชาวนา นอกจากความยากลำบากแล้ว ยังมีความเสี่ยงจากการรับสารพิษสะสมเข้าสู่ร่างกาย เขาจึงศึกษาค้นคว้าและน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) มาปรับใช้ในการทำนา เพื่อต้องการให้ชาวนาหรือเกษตรกรมีศักยภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า การผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เขาเลือก โดยปรับเปลี่ยนการทำนาแบบเดิมมาเป็นนาเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีลง

ในพื้นที่นา 24 ไร่ คุณภาณุสิทธิ์ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยในแต่ละที่นานั้นจะมีแปลงสระน้ำเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตร เลี้ยงปลา และแหนแดงไว้ใช้ในนาข้าว ส่วนบริเวณขอบสระจะปลูกกล้วย ผัก ไม้ยืนต้น และเลือกนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น การปรับปรุงดินโดยไถกลบตอซัง ใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ แก้ปัญหาโรคแมลงศัตรูข้าว โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรียและเชื้อราไตรโคเดอร์มา การปลูกพืชคลุมดิน หรือการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดิน การใช้เครื่องจักรกลมาช่วยในการทำนา ได้แก่ ใช้เครื่องพ่นเมล็ดข้าวแห้ง รถปักดำ รถเก็บเกี่ยว เป็นต้น

คุณภาณุสิทธิ์ มีแนวคิดในการทำงานนอกเหนือจากการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อยู่ 3 ประการ คือ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต และเพิ่มมูลค่าผลผลิต หากทำได้ครบ 3 ข้อนี้ เขามั่นใจว่า ศักยภาพชาวนาจะต้องดีขึ้น และก็เป็นจริงเหมือนที่ได้คาดการณ์ไว้ เพราะผลผลิตต่อไร่ที่ได้รับจากการทำอินทรีย์ของคุณภาณุสิทธิ์นั้นมีค่าเฉลี่ยที่มากกว่าเกษตรกรรายอื่นในชุมชน โดยข้าวขาวดอกมะลิ 105 ค่าเฉลี่ยของชาวนารายอื่นในพื้นที่เดียวกัน อยู่ที่ 500 กิโลกรัม/ไร่ แต่การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ของคุณภาณุสิทธิ์ ได้ผลผลิต 600 กิโลกรัม/ไร่ และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้ 575 กิโลกรัม/ไร่ ของคุณภาณุสิทธิ์ได้ 680 กิโลกรัม/ไร่

สำหรับการทำนาในปี 2559 ที่ผ่านมา มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 7,780 บาท/ไร่ มีรายได้ 31,650 บาท โดยเจ้าตัวมีการบริหารจัดการการผลิตและการตลาดโดยผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์จำหน่ายและบางส่วนเก็บไว้ใช้เอง และนำสินค้าแปรรูปที่ผลิตได้ไปวางจำหน่ายในชุมชน นอกชุมชน ร้านขายของฝาก ตลาดออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายสำหรับจำหน่ายผลผลิตประจำ เกิดเป็นความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพการทำนา และมีแนวโน้มการขยายพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้น จากความสำเร็จที่ได้รับ ทำให้เกษตรกรในชุมชนสนใจและเข้ามาขอคำปรึกษา คำแนะนำ และนำไปปฏิบัติ ทำให้การทำนาอินทรีย์เริ่มแพร่หลายในชุมชนมากยิ่งขึ้น

ถือได้ว่า คุณภาณุสิทธิ์ เป็นผู้นำด้านการทำนาอินทรีย์ในชุมชน ซึ่งนอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการผลิตข้าวอินทรีย์ และเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในองค์กรต่างๆ เช่น เป็นประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน กรรมการศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กรรมการตรวจสอบมาตรฐานภายในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ศูนย์ข้าวชุมชน และเพราะได้ดำเนินการผลิตที่ถูกหลักการเกษตร จึงทำให้ได้รับใบรับรอง GAP และใบรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ จากกรมการข้าว และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยการเป็นผู้ประสานงานกลุ่มผู้ตรวจประเมินแปลงผลิตข้าว GAP และข้าวอินทรีย์ กรมการข้าว และเป็นแหล่งเรียนรู้การทำนาอินทรีย์

การทำนาอินทรีย์ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับชาวนายุคใหม่ โดยคุณภาณุสิทธิ์ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการหันกลับมาทำนาอินทรีย์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก และนอกจากจะได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกทางหนึ่ง และสนับสนุนให้เกิดการทำเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งชาวนาสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วย สำหรับผู้สนใจการทำนาอินทรีย์สามารถติดต่อสอบถามจาก คุณภาณุสิทธิ์ มั่นคง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2560 ได้ที่ เลขที่ 209 หมู่ที่ 3 ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

“มะพร้าว” เป็นอีกหนึ่งไม้ผลที่เมื่อลืมตาบนประเทศนี้ก็ได้พบเห็นทันที แล้วที่คุ้นและชอบกันมากตั้งแต่เด็กจนโตคือน้ำมะพร้าวอ่อนที่มีรสหวาน หอม ดับกระหาย ชื่นใจ

แต่เดิมมะพร้าวนำมาใช้ในวงจำกัด เช่น มะพร้าวแกงในอุตสาหกรรมกะทิ หรือดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน จนเมื่อมีงานวิจัยแพร่กระจายออกไปถึงคุณค่าและประโยชน์ของน้ำมะพร้าว รวมถึงผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่มีต่อร่างกายนับไม่ถ้วน จึงทำให้ผู้คนทั่วไปหรืออาจจะเกือบทั่วโลก เริ่มหันมาบริโภคมะพร้าวกันอย่างตื่นตัว

โดยเฉพาะเมื่อมีพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมเกิดขึ้น จึงสร้างความคึกคักต่อวงการตลาดมะพร้าวอีกหลายเท่า มีกลุ่มต่างๆ หันมาจับธุรกิจผลิตน้ำมะพร้าวในรูปแบบต่างๆ ออกมาวางขาย ขณะที่น้ำกะทิก็เพิ่มจำนวนการผลิตส่งขายตลาดในและต่างประเทศตามไปด้วย ปัจจัยเหล่านี้ผลักดันให้ราคามะพร้าวเพิ่มสูงขึ้น

มีชาวบ้านหลายพื้นที่ปรับเปลี่ยนจากพืชชนิดเดิมมาปลูกมะพร้าวแทน หรืออาจปลูกเป็นพืชแซม ซึ่งบางรายก็ประสบความสำเร็จ ขณะที่บางรายผลผลิตที่ได้ยังไม่ดีเท่าที่ควร แล้วบางรายโชคร้ายประสบปัญหาศัตรูเข้าทำลายต้นมะพร้าวสร้างความเสียหายหมดเนื้อหมดตัวไปก็มี

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักสำหรับผู้อยู่ในวงการมะพร้าวในตอนนี้คือมีความพร้อมเพื่อจะรับมือมากแค่ไหน มีความเข้าใจพันธุ์มะพร้าวดีหรือยัง เข้าใจวิธีปลูกเพื่อให้ได้มะพร้าวมีคุณภาพหรือไม่ หรือหากปลูกมะพร้าวแล้วเจอปัญหาแมลงศัตรูควรจะหาทางป้องกันอย่างไร เพราะหากได้รู้เท่าทันในสิ่งต่างๆ เหล่านี้แล้ว มะพร้าวจะเป็นพืชที่สร้างเม็ดเงินให้คุณได้จำนวนมาก

กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้านจึงได้นำประเด็นเหล่านี้มารวบรวมแล้วจัดสัมมนาขึ้นในหัวข้อ “มะพร้าว…พืชเศรษฐกิจทำเงิน’” ซึ่งได้จัดไปแล้ว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุม หนังสือพิมพ์ข่าวสด ประชานิเวศน์ 1 กรุงเทพฯ

เป็นที่น่าดีใจมากเพราะเวทีนี้ได้รับความสนใจจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพเข้ามาฟังเนื้อหาการบรรยาย รวมถึงได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจต่อการรับมือกับสถานการณ์ของตลาดมะพร้าว

ถึงแม้การสัมมนาจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ความสำคัญของเนื้อหาในคราวนั้นยังมีอยู่ ดังนั้น ทางกองบรรณาธิการได้รวบรวมเนื้อหาการสัมมนาในวันดังกล่าวมาตีพิมพ์ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบข้อมูลกันอีกครั้ง โดยจะทยอยนำเสนอเป็นตอน แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ประเด็นเนื้อหาการบรรยายจากคณะวิทยากรในช่วงแรก ใคร่ขอนำเสนอการกล่าวรายงานและคำกล่าวเปิดงานจากทางผู้บริหารเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบที่มาและความสำคัญของการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้

คุณพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน กล่าวรายงาน เป็นโอกาสดีที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้จัดงานสัมมนาเรื่อง “มะพร้าว…พืชเศรษฐกิจทำเงิน” ในครั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์ข้อมูลมะพร้าวของกองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้านพบว่า ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าวอ่อน มะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวแกง ต่างล้วนมีราคาสูงขึ้น เพราะมาจากธุรกิจค้าขายมะพร้าวทั้งวงจรได้รับความสนใจมากขึ้น ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในหลายช่องทางการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นหนังสือรายปักษ์ที่ทุกท่านคุ้นเคยมายาวนาน จนมาถึงทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ที่ทำให้ทุกท่านสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวทางการเกษตรได้อย่างรวดเร็วทันที จึงไม่ตกข่าวเลย

สำหรับการจัดสัมมนาในครั้งนี้เป็นการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ปลูก ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ได้มีโอกาสมาเจอกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนรับทราบปัญหาต่างๆ ของการปลูกมะพร้าว

งานสัมมนาครั้งนี้ ทางผู้จัดงานได้กำหนดหัวข้อและประเด็นที่น่าสนใจให้ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพันธุ์ การผลิต การตลาด ตลอดจนเรื่องการกำจัดศัตรูมะพร้าวที่เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ

การสัมมนาในครั้งนี้ทางผู้จัดขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนการจัดงาน อันได้แก่ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด, บริษัท ออล โคโค กรุ๊ป จำกัด รวมถึงบริษัท ปุ๋ยอินทรีย์ตรากุญแจ จำกัด แบรนด์ BRR

ดร.เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงาน

เป็นอีกครั้งที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้จัดสัมมนาเกี่ยวกับพืชพรรณทางการเกษตร หากดูจากหัวข้อการสัมมนาที่บอกว่าพืชเศรษฐกิจทำเงินแล้ว คงไม่ใช่เฉพาะมะพร้าว แต่พืชผักชนิดอื่นก็ทำเงินได้ เพราะที่ผ่านมามีการจัดสัมมนามาหลายชนิดตลอดเวลาหลายปี

ในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) อยากจะเรียนว่าองค์กรแห่งนี้มีสื่อในเครือถึง 7 ชนิด มีทั้งหนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายปักษ์ และรายเดือน ตลอดจนหนังสือเล่ม อย่างที่ทางเทคโนโลยีชาวบ้านได้จัดทำเป็นเล่มเรื่องเกษตรหลังเกษียณ นับเป็นอีกหนึ่งหนังสือที่มีประโยชน์กับท่านที่กำลังจะเข้าวัยเกษียณหรือผ่านพ้นมาแล้ว เป็นการชี้ให้เห็นว่าการมีที่ดินเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำประโยชน์ทางด้านเกษตรได้แล้ว ที่สำคัญกว่านั้นคือ ท่านได้เพลิดเพลิน แล้วได้ถือโอกาสออกกำลังกายแบบเบาๆ กับกิจกรรมเกษตรในพื้นที่เพียงเล็กน้อย

มะพร้าวเป็นพืชอีกชนิดที่เราเกิดขึ้นมาก็เห็นแล้ว เพียงแต่ไม่รู้ว่ามีที่มาอย่างไรเท่านั้น น้ำกะทิจากมะพร้าวก็เห็นตั้งแต่เด็ก รู้จักอุปกรณ์ขูดเนื้อมะพร้าวที่เรียกว่า “กระต่าย” จากนั้นเมื่อนำไปคั้นน้ำกะทิรอบจากการคั้นจะเข้มข้นมากจะถูกเรียกว่าหัวกะทิ มีการนำไปประกอบอาหารเป็นแกงชนิดต่างๆ

นอกจากประเทศไทยที่นิยมบริโภคมะพร้าวแล้ว ในต่างประเทศหลายแห่งยังมีความนิยมเช่นเดียวกัน บางประเทศโดยเฉพาะแถบยุโรปหรืออเมริกา เวลาจะปรุงแกงแบบไทยจะต้องใช้นมแทนกะทิมะพร้าว แต่ตอนนี้วิวัฒนาการไปไกลมาก ผู้คนทั่วโลกสามารถบริโภคกะทิได้จากผลิตภัณฑ์กะทิกล่องที่สะดวก ปลอดภัย จึงทำให้ชาวต่างชาติรู้จักมะพร้าวจากกะทิ แล้วนิยมทานกับข้าวไทยที่ใช้กะทิปรุงด้วย ดังนั้น จึงทำให้ตลาดกะทิในต่างประเทศขยายตัวในเรื่องการส่งออกอย่างดี

สำหรับในไทย มะพร้าวมีบทบาทสำคัญทั้งในเรื่องการนำมาทำอาหาร ทำขนม หรือเพื่อสุขภาพ ประเภทมะพร้าวมีทั้งมะพร้าวแกง มะพร้าวอ่อน และมะพร้าวน้ำหอม โดยการบริโภคมีทั้งแบบทานสด และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากตอนนี้ ไม่ว่าจะเดินทางไปจังหวัดไหนก็จะมีมะพร้าวน้ำหอมไว้บริการ มีจำหน่ายตามสถานที่หลายแห่ง รวมถึงริมถนนด้วย ท่านสามารถทานมะพร้าวน้ำหอมได้อย่างสะดวก เพียงแค่เฉาะส่วนด้านบนแล้วเสียบหลอดดูด

แล้วที่สะดวกกว่านั้น คือมีนวัติกรรมเครื่องเฉาะ-ปอกมะพร้าวแล้ว ยิ่งช่วยทำให้สะดวกขึ้นกว่าเดิมอีก แล้วยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้หันมาดื่มน้ำมะพร้าวกันมากขึ้น ทำให้เกษตรกรขายผลมะพร้าวเพิ่มขึ้น แล้วยังขายได้ราคาดีด้วย

ผศ.ประสงค์ ทองยงค์ ซึ่งเป็นวิทยากรที่ได้เชิญมาบรรยายในช่วงแรกนี้มีบทบาทสำคัญต่อวงการมะพร้าวมาก เพราะท่านปลูกและเพาะขยายพันธุ์มะพร้าวอ่อนอยู่ที่จังหวัดราชบุรี จึงใช้ชื่อพันธุ์ว่า “รบ.” อีกทั้งท่านยังเป็นครูของผมสมัยที่เรียนอยู่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา ทั้งนี้ ผลงานการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนทำให้มีคนรู้จักมากมายก็มาจาก ท่าน ผศ.ประสงค์ ทองยงค์ นี่เอง

ความจริงแล้วสมัยก่อนตลาดมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวน้ำหอมซื้อ-ขายกันยังไม่แพง แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารทันสมัยมาก ผู้คนรู้จักสรรพคุณมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของมะพร้าวทั้งสองชนิด จึงทำให้ความสนใจบริโภคเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะมีการศึกษาเรื่องมะพร้าวที่มีประโยชน์กับสุขภาพ จึงทำให้ราคามะพร้าวอ่อนและมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ขณะเดียวกัน หลายพื้นที่หันมาปลูกเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดซื้อ-ขายทั้งในและต่างประเทศคึกคัก

ทุกวันนี้อาชีพเกษตรต่างจากสมัยก่อนมาก การจะมาพูดแบบเดิมว่า ทำอาชีพเกษตรแล้วฐานะไม่ดีคงไม่ใช่แน่ เพราะเมื่อวิวัฒนาการและเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีการสื่อสารเปลี่ยนไป คนที่ทำเกษตรกรรมในสมัยจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย จะเห็นได้จากหลายบทความที่ปรากฏในหนังสือเทคโนโลยีชาวบ้านได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเกษตรกรยุคใหม่หลายท่านมีรายได้ดีอย่างน่าทึ่ง แต่มิใช่ว่าทุกคนจะทำได้นะ เพราะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขความอดทน ความขยัน และความประหยัดเป็นที่ตั้งเสียก่อน ไม่ใช่อยู่ดีๆ แล้วจะรวยขึ้นถ้าคุณไม่ใช้ความทุ่มเทและขยันหมั่นเพียร

เพราะฉะนั้น อาชีพเกษตรกรรมสำหรับคนไทยยังคงมีความสำคัญแล้วยังคงมีอนาคตไกลอีกมาก เพราะแผ่นดินไทยมีความเหมาะสมอย่างมากต่อการทำเกษตรกรรมหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ ไปทั่วทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยนี้ ทำให้ทุกพื้นที่มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ จนได้รับการยกย่องจากองค์การสหประชาชาติว่าท่านเป็นพระราชาแห่งดิน

การสัมมนาครั้งนี้ทางผู้จัดไม่ได้หวังจะให้ผู้สัมมนาไปลงทุนปลูกมะพร้าวกัน เพียงแต่ต้องการเชิญให้มารับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าควรจะปลูกอย่างไร ปลูกจำนวนมาก/น้อยเท่าไร เพราะมะพร้าวสามารถปลูกได้ตามความต้องการ ตั้งแต่ปลูกแบบครัวเรือน ไปจนปลูกเพื่อเป็นธุรกิจ

ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย จึงทำให้ขณะนี้การติดตามข่าวสาร สาระด้านเกษตรไม่เพียงแค่อ่านจากนิตยสารรายปักษ์ แต่ท่านยังติดตามหาอ่านได้จากสมาร์ทโฟน เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เวลาใด ก็สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที หรืออีกช่องทางที่จะสามารถติดตามได้จากผลงานของกองบรรณาธิการคือ ทางเฟซบุ๊ก ทางเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งทางเฟซบุ๊กข่าวสด ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 20.30 น.

ขณะเดียวกัน มีข้อแนะนำว่าควรมีการตั้งกลุ่ม ชมรมมะพร้าว โดยใช้เทคโนโลยีมือถือเป็นสื่อสำหรับส่งผ่านข้อมูล ทั้งนี้ จะเกิดประโยชน์ต่อท่านอย่างมาก

“ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณท่านวิทยากรที่สละเวลามาถ่ายทอดความรู้เรื่องมะพร้าวในครั้งนี้ ขอขอบคุณภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนการจัดงาน อีกทั้งขอให้การจัดงานสัมมนามะพร้าว…พืชเศรษฐกิจทำเงิน เป็นประโยชน์กับทุกท่านมากที่สุด”

สำหรับในคราวหน้าท่านผู้อ่านจะได้รับทราบข้อมูลจากคณะวิทยากรที่มาถ่ายทอดความรู้และมุมมอง ตลอดจนถ่ายทอดประสบการณ์ของมะพร้าวในด้านต่างๆ

ฉะนั้น อย่าพลาดที่จะติดตามอ่านในคราวต่อไป ปลูกทับทิมเพื่อตอนขายประมาณ 1 ไร่เศษ พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูก ได้ 400 ต้น ต้นไม้ทุกต้นถ้าลงดินจะโตไวหาอาหารกินเองได้ ตีสักประมาณ 1 ปี สามารถตอนกิ่งแล้วเอามาลงถุงขายได้ ส่วนเรื่องผลลัพท์ถือว่าคุ้มมาก สมมุติเป็นกิ่งแบบที่เห็น ตุ้มตอนเบ็ดเสร็จเลยถ้าจ้างประมาณ 3 บาท แล้วจะมีไม้เสียบเขาเรียกไม้ร้อย ไม้ 80 ตามความยาว มัดหนึ่งประประมาณ40บาท เฉลี่ยอันหนึ่งประมาณ 40 สตางค์ คือต้นทุนต่อถุง 10 บาท ประเภทว่าจ้างเขามานั่งกรอกแล้วนะ แล้วเราไปขาย 15 บาทเราก็ยังได้กำไร นี่คือราคาที่เขามารับถึงที่ แต่ถ้าเราวิ่งไปส่งเองก็ได้ราคา 28-30 บาท จะเห็นว่าอย่างไรก็ได้กำไร แต่ถ้าตัดขายเป็นกิ่งไปเลย แล้วจะไปทำยังไงก็ได้อยู่ประมาณ 10-15 บาท แล้วแต่ขนาดกิ่งถ้าใหญ่ก็เพิ่มราคาได้ แต่ราคาจะไม่เกิน 15 บาท ขายกันง่ายๆ 10 บาท เพราะว่าเราก็ไม่ได้รับประกันว่ามันจะรอด แต่ถ้าเราใส่อย่างที่ตั้งผลิดอก ออกใบมาแล้ว 25 บาท ขายไปเลยได้แน่นอน

ชักร่องปลูก สมมุติว่าเป็นพื้นที่โล่ง ก็ไถเปิดหน้าดิน พอไถเปิดหน้าดินสักพักให้ไถพรวนอีกรอบ เพื่อเตรียมชักร่อง วัดระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1 เมตร ระหว่างร่อง 1.5 เมตร ก็คือ 1×1.50 เมตร การปลูกในลักษณะนี้เป็นการปลูกเน้นตอนกิ่งขาย แต่ถ้าปลูกเอาผลให้เว้นประมาณ 2 คูณ 2.5 ระยะห่างอาจจะ 2 เมตร เพื่อจะเน้นเป็นพุ่มใหญ่ๆ เพื่อเอาผล

หลังจากลงต้นเสร็จแล้วก็รดน้ำใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้ส่วนมากจะเป็นปุ๋ยขี้วัว หาง่าย เป็นการประหยัดต้นทุน และได้ผลดีด้วย แต่ต้องดูความเหมาะสมด้วยเพราะพืชแต่ละชนิดจะชอบปุ๋ยไม่เหมือนกัน อย่างมะกรูด มะนาว พวกนี้จะชอบปุ๋ยขี้วัว พอใส่ปุ๋ยรดน้ำ ใช้เวลาประมาณปีครึ่ง คือกว่าจะตั้งตัวได้

ระบบน้ำ…ใช้สปิงเกอร์เป็นหลัก ถ้าใหม่ๆก็เปิดอาทิตย์ละ2-3 วัน รดเช้าเวลาเดียว รดครั้งเดียวรดให้โชก ดูฤดูกาลด้วยว่าถ้าฤดูฝนไม่ต้องไปยุ่งเลย เพราะฝนตก แต่ฤดูร้อนกับฤดูหนาวต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะว่าหนึ่งอากาศชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศแห้ง ก็สังเกตุต้นไม้ทั่วไปจะดูแห้งๆ ไม่มีชีวิตชีวา ในฤดูหนาว ต้องดูแลวันเว้นวัน

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ราคากิ่งละ(ต้น) 10 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท และไม่ใช่ว่าตอนซื้อจะได้แค่ 400 ต้น เขาก็มีแถม10-20 ต้น ค่าปุ๋ย ค่ายา เฉลี่ยต่อไร่แล้วลงทุนประมาณ15,000-20,000 บาท แต่ถ้าที่บ้านใครเลี้ยงวัวอยู่แล้วก็ได้โอกาสไม่ต้องซื้อปุ๋ยลดต้นทุนไปอีก ลงทุนไร่ละหมื่นถึงสองหมื่น แต่ได้ผลคุ้มแน่นอน สมมุติตัดรอบแรกได้1,000 กิ่ง แต่ไม่ใช่เอามาลงจะรอดทุกกิ่งแต่มันก็ได้ ถัวเฉลี่ยแล้วขายสองรอบก็คืนทุนแล้ว ขายได้เลื่อยๆ

สมมุตติ 400 ต้น คิดง่ายๆ ได้ต้นที่ตอนกิ่งออกประมาณ 5 กิ่ง ขายได้เกือบ 10 ปี ปลูกเอากิ่งอยู่ได้หลายปี ถ้าปลูกเอาลูกต้นจะโทรมเร็ว หรือจะเว้นตามแนวปลูกไว้กินลูกก็ได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

คุณสมคิด บุญทูล เจ้าของสวน “สวนแก้วมังกรสมคิด” บ้านเลขที่ 36/2 หมู่บ้านยางตะพาย ตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร โทร. (094) 229-6545

การขายแก้วมังกรของที่สวนนั้น ตอนนี้เน้นขายในจังหวัดเท่านั้น เน้นการขายเอง เช่น วางขายตามตลาดนัด ขายให้กับลูกค้าที่สั่งจองเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ขายออนไลน์ ราคาขายก็จะตามขนาดไซซ์ผล เช่น ผลแก้วมังกร ขนาด 2 ผล ต่อกิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 35 บาท ผลแก้วมังกร ขนาด 3 ผล ต่อกิโลกรัม
ขายกิโลกรัมละ 30 บาท ขนาด 4 ผล ต่อกิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 20 บาท ซึ่งผลแก้วมังกรจะแบ่งไซซ์หรือขนาดง่าย เพราะขนาดจะไล่เลี่ยกัน วิธีการเก็บผลผลิต ต้องให้ผลแก้วมังกรมีสีแดงทั่วทั้งผล เมื่อผลของแก้วมังกรสุกเต็มที่แล้ว ให้ใช้กรรไกรตัดกิ่ง ตัดตรงผลของแก้วมังกรออกมาจากกิ่ง โดยระวังไม่ให้กิ่งเสียหาย

ส่วนราคาทางสวนก็อ้างอิงตามท้องตลาด อย่างปีนี้ก็ราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 20-35 บาท ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยข้อดีของการปลูกเองขายเองโดยตรง ตัวเกษตรกรก็จะได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย การเก็บผลแก้วมังกรก็ไม่ต้องรีบมาก จะเน้นเก็บผลที่แก่ 100 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งจะได้แก้วมังกรมีรสชาติที่หวานจัด ทำให้ลูกค้าติดใจแก้วมังกรจากที่สวนมาก ซึ่งถ้าเราเก็บผลแก้วมังกรที่ไม่แก่จัด จะทำให้รสชาติแก้วมังกรจะติดรสเปรี้ยว เนื่องจากการขายเหมาออกมาจากสวนจำนวนมากๆ นั้น เท่าที่ทราบพ่อค้าจะเก็บที่ความแก่แค่ 70 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น เพราะกว่าจะขนส่งถึงแผงปลายทางจะเก็บแก่จัดมากไม่ได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่รับประทานอาจจะไม่ประทับใจ อันนี้เป็นข้อสำคัญที่ทางสวนจะเน้นมาก ตัวอย่าง ลูกค้าบางคนที่ไม่ชอบแก้วมังกรเลย พอได้ชิมแก้วมังกรที่เก็บแก่จัดของสวนเรากลับกลายเป็นลูกค้าประจำ สั่งครั้งละ 10 กิโลกรัมแช่ตู้เย็นเก็บไว้รับประทานเลยก็มี

แล้วการขายของที่สวนก็จะเน้นเก็บขายแบบวันต่อวัน เก็บผลให้พอแค่ขายหมด อย่างเก็บขายตลาดนัดก็ครั้งละ 100-200 กิโลกรัม แล้วตอนนี้ที่สวนก็ได้การรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว เนื่องจากอนาคตอาจจะส่งผลผลิตส่วนหนึ่งเข้าห้างสรรพสินค้า และยังสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยว่าแก้วมังกรของที่สวนปลอดภัยจากสารเคมี

อย่างตัวเลขของการขาย อย่างปีแรกๆ อาจจะยังน้อย ประมาณ 40,000 บาท เท่านั้น เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ในการดูแลรักษาต้นแก้วมังกร คือบำรุงน้ำและปุ๋ยมากจนเกินไป ประกอบกับอากาศในปี 2559 ร้อนจัด ทำให้ต้นแก้วมังกรเน่าเป็นจำนวนมาก เราจึงต้องตัดยอดและลำต้นที่เน่าทิ้งไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เสียโอกาสในเรื่องของกิ่งที่จะให้ผลผลิตไปช่วงหนึ่ง รายได้ในปีแรกก็ถือว่ายังไม่ดีนัก ซึ่งในปีแรกอาจจะได้เงินนับแสนบาทก็ได้ ถ้าไม่เกิดความเสียหาย หลังจากที่มีประสบการณ์ก็รู้แล้วว่า แก้วมังกรนั้นไม่ได้ชอบน้ำมากแต่อย่างใด เพียงแต่แค่รักษาความชื้นของดินก็พอเพียงแล้ว อาจจะแค่เดือนละ 1-3 ครั้งเท่านั้น ส่วนในฤดูฝนนั้นไม่ต้องให้น้ำเลย ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง

ในเรื่องของการให้ปุ๋ยก็จะเน้นเพียงปุ๋ยคอกเท่านั้น เพื่อเน้นปรับปรุงโครงสร้างดินและช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของต้น ปุ๋ยเคมี ก็จะใช้ปุ๋ย สูตร 8-24-24 ปีละ 1-2 ครั้ง เท่านั้น เนื่องจากปุ๋ยสูตรนี้ค่อนข้างเหมาะ คือช่วยสะสมอาหารได้ ช่วยในการออกดอกได้ดี และเพิ่มความหวาน เนื่องจากมีสูตรตัวท้ายสูง และตัวเลขการขายแก้วมังกรในปีนี้คร่าวๆ ก็น่าจะมีหลักแสนบาทแน่นอน

ศัตรูของผลแก้วมังกร ก็มีหลายชนิด เท่าที่สังเกตนั้นคงขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกด้วย เช่น มดคันไฟ เพลี้ยอ่อน (ตอมยอด) ด้วงค่อมทอง (แทะกินกลีบผล) หนอน (เจาะเปลือกและเนื้อ) เพลี้ยหอย (เกาะที่ปลายผล) หนอนแมลงวัน นก และหนู (เจาะทำลายผล) เพลี้ยไฟ (ผิวผลจะกร้านและตกกระลายพบน้อยมาก) หนอนบุ้ง เพลี้ยแป้ง ด้วงปีกแข็ง แต่เรื่องศัตรูสำคัญของแก้วมังกรที่สวนก็คงจะเป็นนกเอี้ยง ที่จะมาจิกกินผลแก้วมังกรมากกว่า ก็ต้องปล่อยไป เนื่องจากยังป้องกันได้ยากพอสมควร แม้จะลองมาหลายวิธีแล้วก็ตาม เรื่องโรคและแมลงก็ไม่ได้มีอะไรมารบกวนมากนัก อย่างโรคโคนเน่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโคนเน่า เนื่องจากการให้น้ำมากจนเกินไป ก็ต้องควรระวังการให้น้ำ และควรให้น้ำในอัตราที่เหมาะสม หากเกิดโรคแล้วให้ปาดเนื้อที่เน่าออก แล้วนำปูนแดง (ปูนทาหมาก) ทาที่แผลหรือใช้ยาป้องกันเชื้อราทาก็ได้

สวนแก้วมังกรของเรามุ่งเน้นเรื่องรสชาติมากกว่า สมัครคาสิโน GClub และพยายามบริหารจัดการเรื่องการให้น้ำแบบเหมาะสม ตอนนี้ถือว่าต้นทุนการปลูกดูแลรักษาแก้วมังกรค่อนข้างน้อยมาก แก้วมังกรเป็นพืชที่ให้ผลผลิตสูง ทำให้รายได้จากการขายแก้วมังกรหลังจากหักลบรายจ่ายก็ถือว่าแก้วมังกรเป็นพืชที่สร้างรายได้ดีพอสมควร ก็ถือว่าเป็นสวนผลไม้ที่สามารถทำประกอบไปกับอาชีพการทำนาได้เป็นอย่างดี คุณสมคิด บุญทูล กล่าวอย่างภูมิใจ

การปลูกแก้วมังกรในไต้หวัน ขายได้ กิโลกรัมละ 90 บาท ผู้เขียน จะขอเล่าเสริมจากประสบการณ์การดูงานการปลูกแก้วมังกรที่ไต้หวัน ซึ่งมีความน่าสนใจอยู่หลายเรื่องที่อาจจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการปลูกแก้วมังกรในบ้านเรา ผู้เขียนเองได้มีโอกาสเข้าดูงานเกษตรเยี่ยมชมแปลงปลูก “แก้วมังกร” เมืองไทจง ไต้หวัน ซึ่งเป็นแปลงแก้วมังกรที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน จากการสอบถามเจ้าของสวนได้อธิบายว่าตนเองปลูกแก้วมังกรมาได้เพียง 6 ปี แต่ด้วยความตั้งใจ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาปลูกแก้วมังกร เขาเองเคยปลูกผักกะหล่ำปลีมาก่อน แต่ด้วยความสนใจ มุ่งมั่น เอาใจใส่ จึงได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และส่วนหนึ่งได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในเรื่องของเงินลงทุนในการลงทุนครั้งแรก ลงทุนไป ประมาณ 30 ล้านบาท โดยลงทุนเรื่องของโครงสร้างแปลงปลูก และโรงเรือน นอกจากจะปลูกแก้วมังกรกลางแจ้งแล้ว

ซึ่งแปลงปลูกส่วนหนึ่งได้แบ่งเป็นแปลงที่ต้องกางมุ้ง และมีระบบการให้ไฟแก่แก้วมังกร เพื่อเป็นการบังคับให้แก้วมังกรออกตามต้องการ หรือให้แก้วมังกรออกดอกและติดผลทั้งปีตามที่ต้องการ เพื่อผลิตแก้วมังกรนอกฤดูที่มีราคาสูง ด้วยที่สวนแก้วมังกรแห่งนี้สามารถขายแก้วมังกรได้ราคาสูง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90 บาท ตลอดทั้งปี ทั้งขายตรงและขายผ่านระบบการประมูลในตลาดเช้าของไต้หวัน เจ้าของสวนชาวไต้หวันยังบอกเล่าอีกว่า ในช่วงเทศกาลวันสำคัญ อย่างช่วงตรุษจีนนั้น สามารถขายแก้วมังกรได้สูงถึงกิโลกรัมละ 400 บาท นั่นสร้างความน่าทึ่งให้กับคณะดูงานเป็นอย่างมาก เจ้าของสวนยังพาคณะเยี่ยมชมสวนแก้วมังกร โดยทั่วพบว่า สวนแก้วมังกรมีการจัดการสวนที่ดีมาก มีการจัดแปลงปลูกให้เครื่องจักรเล็กสามารถเข้าทำงานได้สะดวก ส่งผลให้ใช้แรงงานน้อยลง ผลผลิตไม่บอบช้ำจากการขนย้ายที่ไม่ดี ทำงานได้รวดเร็ว เป็นต้น