ช่วงประมาณเดือนมิถุนายน คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์และใหญ่ไว้

เหลือกอละ 10-12 ส่วนที่เหลือตัดทิ้งหรือนำไปจำหน่ายหรือนำไปใช้ประโยชน์ สำหรับในการผลิตหน่อไม้ครั้งต่อไป ควรมีการตัดต้นและแต่งกิ่งควรเหลือต้นเก่าไว้ประมาณ 2 ต้น

ด้านคุณจำนงค์ ขันกสิกรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ กล่าวเสริมว่า อาจารย์สงบ นอกจากจะมีการผลิตไผ่นอกฤดูกาลแล้ว ยังได้มีการปักชำกล้าไผ่ไว้จำหน่าย หน่อละ 30 บาท การทำหน่อไม้ปี๊บ/ถุง การทำหน่อไม้ดองไว้จำหน่าย จากการปฏิบัติดังกล่าว ทำให้เกิดรายได้ประมาณปีละ 700,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในด้านปัจจัยการผลิต ประมาณ 200,000 บาท คงเหลือกำไร 500,000 บาท

ไผ่เลี้ยง เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี ดูแลรักษาง่าย วิธีการปลูกก็ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับต้นไผ่เพราะยังไม่ปรากฏชัดเจน อาจมีปัญหาเรื่องหนอนหรือตัวด้วงบ้างที่มาเจาะกินต้นไผ่ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สามารถกำจัดและดูแลรักษาให้ดีได้ จึงเป็นพืชที่สามารถปลูกร่วมกับการทำการเกษตรกรรมชนิดอื่นๆ ได้ดีมาก สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังได้คัดเลือกให้เป็นจุดสาธิตการปลูกไผ่เพื่อการค้า ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลศรีบุญเรือง ซึ่งเกษตรกรสามารถจะเข้าเยี่ยมชมหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะซื้อผลผลิตสามารถติดต่อได้ที่อาจารย์สงบ สุขันธ์ โทร. 085-764-3234

ปัจจุบัน กระแสเรื่องสิ่งแวดล้อมและการบริโภคเพื่อสุขภาพมีการตื่นตัวกันเพิ่มมากขึ้น ผู้คนทั่วโลกต่างเสาะแสวงหาสิ่งดำรงชีพที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีและสารพิษต่างๆ ทั้งๆ ที่มนุษย์รู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว

แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย

จึงเป็นสาเหตุให้บรรดาเกษตรกรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ และหาวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้ทดแทนสารเคมี พืชสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด ซึ่งปัจจุบันภาคธุรกิจได้หันมาผลิตสารสกัดจากสมุนไพรเพื่อใช้สำหรับกำจัดศัตรูพืชออกมาจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย

อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของสมุนไพรเพื่อให้มีการนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวว่า “สำหรับผู้ที่กำลังใช้หรือต้องการใช้พืชสมุนไพร ต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า การใช้พืชสมุนไพรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่ได้เป็นวิธีการสำเร็จรูปที่จะช่วยป้องกันหรือแก้ไขปัญหาของศัตรูพืชได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากการใช้สมุนไพรในรูปแบบนี้แท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกลับไปหาวิธีการสร้างสมดุลธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืชน้อยที่สุด

แต่ถ้าจะให้ดีเราควรจะมีการจัดการและการป้องกันแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เริ่มต้นที่ทำการเพาะปลูก โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ รวมทั้งการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของจุลินทรีย์ มีการวางแผนเลือกใช้พันธุ์พืชผักพื้นบ้านที่มีความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช รวมทั้งการปลูกพืชผักแบบผสมผสานและหมุนเวียนด้วย ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้มาก

แต่หากเกิดปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชขึ้น การใช้สมุนไพรก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ปัญหาโรคและแมลงลดลงได้ แถมยังไม่เกิดสารพิษตกค้าง ที่สำคัญยังมีต้นทุนในการดำเนินงานน้อยกว่าสารเคมีอยู่มาก การใช้สมุนไพรไล่แมลงและศัตรูพืชจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย”

สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยังมีข้อดีหลายอย่างคือ มีราคาถูก ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิต จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ในแปลงพืชผัก ไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม

ชนิดของสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ หางไหลขาว (โล่ติ๊น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแน่ กระเทียม กระชาย กะเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่างๆ ได้แก่ สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ๊น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูนแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด เปลือกใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาล เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยก พญาไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สามารถแยกตามชนิดของแมลงศัตรูพืชได้ดังนี้

1. หนอนกระทู้-มันแกว สาบเสือ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน ข่า ขิง คูน น้อยหน่า

2. หนอนคืบกะหล่ำ-มันแกว สาบเสือ ยาสูบ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม

3. หนอนใยผัก-มันแกว ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม

4. หนอนกอข้าว-ยาสูบ บอระเพ็ด ใบมะเขือเทศ

5. หนอนห่อใบข้าว-ผกากรอง

6. หนอนชอนใบ-ยาสูบ ใบมะเขือเทศ

7. หนอนกระทู้กล้า-สะเดา

8. หนอนหลอดหอม-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ตะไคร้หอม

9. หนอนหนังเหนียว-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน

10. หนอนม้วนใบ-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม

11. หนอนกัดใบ-ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม

12. หนอนเจาะยอดเจาะดอก-ยี่โถ สะเดา ขมิ้นชัน คูน

13. หนอนเจาะลำต้น-สะเดา ใบมะเขือเทศ คูน

14. หนอนแก้ว-ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม

15. หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก-ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง

16. หนอนผีเสื้อต่างๆ-มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน

17. ด้วงหมัดกระโดด-มันแกว ว่านน้ำ มะระขี้นก ยาสูบ กระเทียม

18. ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว-ขมิ้นชัน ด้วงกัดใบ มะระขี้นก คูน

19. ด้วงเต่าฟักทอง-สะเดา กระเทียม น้อยหน่า

20. ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์-ยี่โถ กระเทียม ขมิ้นชัน ข่า ขิง

21. มอดข้าวเปลือก-ว่านน้ำ

22. มวนเขียว-มันแกว ยาสูบ

23. มวนหวาน -มันแกว ยาสูบ

24. แมลงสิงห์ข้าว-มะระขี้นก

สมุนไพรไล่แมลง เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

ผลทางตรง จะมีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบหายใจ ทำให้แมลงตายทันที

ผลทางอ้อม จะมีผลต่อระบบอื่นๆ โดยการไปยับยั้งการกินอาหาร การลอกคราบ การเจริญเติบโตของแมลง

การใช้สมุนไพรไล่แมลงหรือกำจัดศัตรูพืชควรใช้ให้เหมาะสม คือ เลือกใช้ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรในช่วงเวลาที่เหมาะสม ดังนี้

ดอก ควรเก็บในระยะดอกตูมเพิ่งจะบาน

ผล ควรเก็บในระยะที่ผลยังไม่สุก เพราะสารต่างๆ ยังไม่ถูกส่งไปเลี้ยงเมล็ด

เมล็ด ควรเก็บในระยะที่ผลสุกงอมเต็มที่ ซึ่งจะมีระยะที่เมล็ดแก่เต็มที่ และจะมีสารต่างๆ สะสมอยู่ในปริมาณมาก

หัวและราก ควรเก็บในระยะที่เริ่มมีดอก เพราะระยะนี้ต้นพืชจะมีการสะสมสารต่างๆ ไว้ที่ราก และควรเก็บในฤดูหนาวปลายฤดูร้อน เพราะเป็นช่วงที่กระบวนสังเคราะห์แสงหยุดทำงาน

เปลือก ควรเก็บก่อนที่จะมีการผลิใบใหม่ และควรเก็บในฤดูร้อนและฤดูฝน

ดังนั้น ก่อนที่จะนำสมุนไพรแต่ละชนิดมาใช้ในการป้องกันกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืช ควรมีการศึกษาหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนว่า จะนำส่วนไหนมาใช้และใช้ในช่วงเวลาใด จึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันกำจัดแมลง

หากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์แสงเดือน อินชนบท สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทร. (053) 873-071 ในวันและเวลาราชการ หรือติดต่อฝ่ายส่งเสริมการเกษตร สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. (053) 873-938-9

อดีตพนักงานจัดสวน และยังเป็นเจ้าของสวนยางพารา อาศัยอยู่ที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา หัวใสนำกาบมะพร้าวเหลือใช้มาทำดินคุณภาพสูงขาย ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ดินนาหม่อม” ขายดิบขายดี ต้องสั่งจองล่วงหน้า นอกจากนั้นยังปลูกผักสวนครัวในวัสดุเหลือใช้ อย่างเช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ถูกจริตคนกรุงแห่มาขอซื้อ เพราะสวยงามและกินได้ อนาคตต่อยอดเปิดร้านอาหารเพื่อสุขภาพ

คุณอมร ตรีรัญเพ็ชร ปัจจุบัน อายุ 55 ปี บอกกับเราว่า ในอดีตประกอบอาชีพมาแล้วหลายอาชีพ ล่าสุดหันมาทำสวนยางพารา 10 กว่าไร่ ที่ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา จากการสังเกตเห็นว่า แถวบ้านมีกาบมะพร้าวเหลือใช้เยอะมาก ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเลือกที่จะเผาทิ้ง เลยคิดนำมาใช้ประโยชน์ นั่นเป็นที่มาของการทำดินขาย

“ผมเห็นแถวบ้านมีกาบมะพร้าวแห้งเหลือใช้เยอะมาก เลยคิดว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำดินปลูกต้นไม้ ส่วนผสมมี กาบมะพร้าวแห้งสับ ขุยมะพร้าว หน้าดิน ขี้เถ้าแกลบ ขี้ไก่แกลบ น้ำหมักชีวภาพ นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน กลายเป็นดินใช้ปลูกต้นไม้ได้ทุกชนิด อาทิ ไม้ดอก ไม้ผล ไม้ประดับ”
สำหรับน้ำหมักชีวภาพ คุณอมร ผสมเอง มีขี้ปลา หัวปลา กากน้ำตาล และเชื้อ พด.1 และ พด.2

จุดเด่นของดินที่ผสมขุยมะพร้าว สามารถเก็บความชื้นได้ดี มีแร่ธาตุอาหาร และจุลินทรีย์ที่เหมาะสมกับต้นไม้ทุกชนิด ไม่มีสารเคมี และสารพิษปนเปื้อน ขายส่งกระสอบละ 25 บาท (12 กิโลกรัม)

นอกจากจำหน่ายดินแล้ว คุณอมร ยังปลูกผักสวนครัวในกระสอบปุ๋ย ในตะกร้า และในรางน้ำเก่า 20 ชนิด อาทิ มะเขือเทศ มะเขือพวง พริก แตงกวา ผักชี ขึ้นฉ่าย ใบบัวบก ผักสลัด ผักชีฝรั่ง

“ผมอยากพิสูจน์ให้ลูกค้าเห็นว่า ดินที่ทำขึ้นมานั้นมีคุณภาพสูง และปลูกต้นไม้ได้จริง เมื่อปลายปีที่แล้วทดลองปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ โดยใช้ภาชนะเหลือใช้ เช่น ตะกร้า กระสอบปุ๋ย รางน้ำเก่า ปรากฏเพื่อนบ้านเห็น ต่างชื่นชอบและขอซื้อ ตั้งแต่นั้นเลยทำขายเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งเฉพาะรายได้จากการขายผัก เฉลี่ยวันละ 200-300 บาท”

แม้บรรพบุรุษจะทำการเกษตรมาก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะสืบทอดกันได้ทางสายเลือด เพราะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ทั้งยังต้องมีความคิดต่อยอด นำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแปลงเกษตรที่ทำอยู่

เช่นเดียวกับ จ.ส.อ. นิกร บุญชัย อดีตข้าราชการทหาร ที่มีพ่อและแม่ทำสวนลำไย พันธุ์อีดอ ที่ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เห็นครอบครัวทำสวนลำไยมานานหลายสิบปี แต่ไม่เคยจับงานเกษตรในสวนลำไยแม้แต่น้อย กระทั่งปี 2546 ลาออกจากข้าราชการทหาร กลับมาเริ่มต้นจับสวนลำไยสืบทอดงานเกษตรกรรมต่อจากพ่อและแม่ ทั้งที่ไม่มีความรู้ในงานเกษตรเลย โดยเฉพาะในรุ่นของพ่อและแม่ทำสวนลำไย ก็ไม่ได้มีเทคนิคใดๆ ปล่อยให้ธรรมชาติดูแล และให้น้ำบ้างตามความต้องการของพืชอย่างลำไย ผลผลิตที่ได้จึงได้มากน้อยตามสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละปี ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ราคาลำไยแปรผันตามปริมาณลำไยที่ออกสู่ตลาดในแต่ละปี

เมื่อ จ.ส.อ. นิกร กลับมา เขาจึงเริ่มตั้งใจอย่างจริงจัง ศึกษา จดบันทึก และปรับปรุง เพื่อให้มีเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้ในสวนของครอบครัว

“ประมาณปี 2555 กว่าผมจะทำได้” จ.ส.อ. นิกร บอกว่า สิ่งสำคัญของการทำการเกษตร คือ การจดบันทึก เพื่อเห็นข้อดี ข้อเสีย นำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา ให้เกิดที่ดีและเหมาะสมสำหรับแต่ละสวน รวมถึงการนำดินไปตรวจหาค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อทราบว่า พื้นที่เกษตรกรรมของเราขาดเหลือธาตุชนิดใด และพืชที่ปลูกต้องการธาตุชนิดใดมาก เพื่อไม่สิ้นเปลืองต้นทุนการผลิตในเรื่องของปุ๋ย หรือแร่ธาตุที่ต้องเติมให้กับดินและพืช หากมี 2 สิ่งนี้ การทำการเกษตรก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

สิ่งแรกที่ จ.ส.อ. นิกร ปรับเปลี่ยนในพื้นที่สวน คือการสร้างแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น เพราะเดิมอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล เมื่อเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการเต็มรูปแบบ แหล่งน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำสวนผลไม้

เริ่มต้นจากการทำสวนลำไย พื้นที่เพียง 20 ไร่ ปัจจุบันขยายพื้นที่ปลูกออกไป ประมาณ 104 ไร่ แปลงปลูกมี 2 แปลง

แปลงพื้นที่ 26 ไร่ ปลูกลำไยระยะชิด 3×4 เมตร สำหรับทำลำไยนอกฤดู

พื้นที่เหลือทั้งหมด ปลูกลำไย ระยะ 8×8 เมตร สำหรับทำลำไยเหลื่อมฤดู

การดูแลแปลงลำไย ทั้ง 2 ระยะ เหมือนกัน แตกต่างกันตรงระยะการราดสาร

การปลูกลำไยเหลื่อมฤดู ทำดังนี้ ตัดแต่งต้นลำไยทรงฝาชีหงาย ให้ตัดตรงกิ่งกระโดงออก ทำให้ต้นเตี้ย
ฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อรา
เมื่อใบชุดแรกผลิออกมา ให้เริ่มสะสมอาหารทางดิน โดยให้ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 5-15-15 อัตราส่วน 2 : 1 ปริมาณ 2-3 กำมือ ต่อต้น แล้วให้น้ำตาม ทำเช่นนี้ทุกๆ 10 วัน จนกว่าจะเห็นใบชุดที่สองเริ่มกาง
เมื่อใบชุดที่สองเริ่มกาง ให้เริ่มสะสมอาหารทางใบ โดยให้ปุ๋ย 0-52-34 ผสมน้ำในอัตรา 300 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ เมื่อใบแก่ ใช้ปุ๋ยตามเดิม อัตราส่วนเป็นปุ๋ย 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ระหว่างนี้ให้สังเกตแมลง เชื้อรา หากพบก็ให้ฉีดยาฆ่าแมลง กำจัดเชื้อรา แต่ถ้าไม่พบให้เลี่ยง
หลังสะสมอาหารแล้วเสร็จ ประมาณเดือนธันวาคม ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอกออกมา ยังคงฉีดพ่นสะสมอาหารไปเรื่อยๆ ให้สังเกตว่า ช่อดอกแทงออกมาแล้ว จึงหยุด

7.ประมาณกลางเดือนมกราคม นำสารโพแทสเซียมคลอเรต ปริมาณ 10 กิโลกรัม และปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 ผสมเข้ากับน้ำ 200 ลิตร ใช้เครื่องฉีดพ่นห่างโคนต้น 1 ศอก ให้ทั่วทรงพุ่ม จากนั้นให้น้ำตาม

หลังจากนั้น 7 วัน ใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต 10 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ เว้นอีก 7 วัน สูตรเดียวกันฉีดพ่นซ้ำ และให้น้ำตาม
เมื่อใบลำไยเริ่มเฉา จะเริ่มเปิดตาดอก โดยใช้ไทโอยูเรีย 300 กรัม ปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 ปริมาณ 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร, สาหร่ายสำหรับเปิดตาดอก 300 ซีซี น้ำตาลทางด่วน 200 ซีซี โบรอนเดี่ยว 50 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดพ่นให้ทั่ว
หมั่นสังเกตว่าลำไยเริ่มแทงดอกหรือยัง ภายใน 5-7 วัน หากยังไม่แทงดอก ให้ฉีดพ่นด้วยสารตัวเดิม ปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าเริ่มแทงดอกออกมาแล้ว ให้บำรุงช่อดอกด้วยการให้สารตัวเดียวกับเปิดตาดอก แต่ตัดไทโอยูเรียออก เมื่อราดสารและฉีดพ่นสารครั้งสุดท้ายเสร็จ ให้หยุดน้ำไว้ก่อน รอให้ใบกระทบอากาศหนาว จนแทงช่อดอกชัด จึงเริ่มให้น้ำใหม่
การให้น้ำลำไย ใช้มินิสปริงเกลอร์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที

การให้น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลำไย เพราะน้ำเป็นตัวสำหรับใช้ดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารไปใช้ยังลำต้น ใบ ดอก และผล

การควบคุมน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ลำไยติดผลและให้ผลผลิตเหลื่อมฤดู หรือนอกฤดู

การทำลำไยนอกฤดู ดูแลเช่นเดียวกับการทำลำไยเหลื่อมฤดู แต่ดึงระยะเวลาการราดสารตั้งแต่ข้อ 8-10 ให้นานกว่าเดิมออกไปอีกให้มากที่สุด โดยควรราดสารในช่วงเดือนเมษายน หรือพฤษภาคม ก็จะได้ลำไยนอก ในช่วงที่ดอกบาน อาจพบปัญหาเพลี้ยไฟ และแมลง สามารถฉีดยาฆ่าแมลงได้ แต่หากดอกบาน 20 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ควรหยุด เพื่อให้ผึ้งไปผสมเกสรตามธรรมชาติ

หลังจากลำไยติดเม็ดแล้ว เริ่มให้ปุ๋ยทางดิน 46-0-0 ผสมกับสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 2 : 1 เพื่อขยายผลลำไย ให้เรื่อยๆ บ่อยๆ แล้วให้น้ำตามทีละน้อยทุกครั้ง หมั่นสังเกตหากเม็ดลำไยเริ่มมีสีดำ ให้ปุ๋ยยูเรีย และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตราส่วน 1 : 1

ลำไยเหลื่อมฤดู จะเก็บเกี่ยวได้หลังจากลำไยในฤดูออกจำหน่ายไปแล้ว ประมาณ 20-30 วัน ทำให้ราคาขายสูงกว่าลำไยในฤดูสูง 20-40 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนลำไยนอกฤดู ราคาขายสามารถกำหนดเองได้ และมีจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จ.ส.อ. นิกร บอกว่า ข้อดีของการปลูกลำไยระยะชิด คือ สามารถให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ลำไยอายุ 3 ปี ไม่ต้องรอนานเหมือนการปลูกลำไยทั่วไป แต่ต้องควบคุมทรงพุ่มให้ดี ตัดต้นให้เตี้ย ให้แสงเข้าถึงโคนต้น และหมั่นตัดยอดสม่ำเสมอ

จำนวนต้นต่อไร่สำหรับการปลูกระยะ 8×8 เมตร จำนวน 25 ต้น ต่อไร่

ระยะชิด 3×4 เมตร ปลูกได้จำนวน 134 ต้น ต่อไร่

การปลูกลำไยเหลื่อมฤดู สมัคร GClub กับนอกฤดู ด้วยฝีมือของ จ.ส.อ. นิกร ทำให้แปลงลำไยเป็นที่ยอมรับ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และ จ.ส.อ. นิกร ยินดีให้คำปรึกษา เข้ามาศึกษาดูงานที่แปลงได้ไม่หวง หรือจะโทรศัพท์มาก็ยินดี ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (084) 485-3489 และ (053) 950-367 พื้นที่จังหวัดชลบุรี เดิมเป็นแหล่งใหญ่หนึ่งที่มีเกษตรกรทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลจากการขยายตัวของสาธารณูปโภคที่เจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

แม้พื้นที่ปลูกจะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังมีสวนมะพร้าวที่ดีหลงเหลืออยู่ ปลายปี 2559 ที่ผ่านมา สวนมะพร้าวจำนวนหนึ่งถูกทำลายจากการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างรุนแรง ทำให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรต้องออกมารณรงค์ให้เลี้ยงแตนเบียน เพื่อปล่อยเข้าทำลายหนอนหัวดำมะพร้าว

ถามถึงสวนมะพร้าวน้ำหอม ในพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับการยืนยันจากคุณบุญลือ คงสูงเนิน เกษตรอำเภอบางละมุง ว่า เหลืออยู่เพียง 2 สวนเท่านั้น ที่มีคุณภาพ

สวนคุณประวิทย์ ประกอบธรรม ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นสวนหนึ่งที่ขึ้นชื่อได้ว่า ผลิตมะพร้าวน้ำหอมได้คุณภาพ ลุงประวิทย์ มีพื้นที่สวนรวมกับพื้นที่บ้าน 10 ไร่ และมีพื้นที่สวนมะพร้าว ตั้งอยู่ถัดไปอีกกว่า 10 ไร่ เป็นแปลงที่ไม่ติดกัน แต่ทุกแปลงปลูกมะพร้าวเป็นผลไม้หลักสร้างรายได้ ส่วนผลไม้ชนิดอื่นปลูกไว้รับประทาน

“ผมเป็นลูกชาวสวนโดยแท้ พ่อแม่ก็ทำสวนมะพร้าวมาก่อน มาซื้อที่ตรงนี้ 10 ไร่ ก็เริ่มปลูกมะพร้าวแกง มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวน้ำหวาน อย่างมะพร้าวน้ำหอม คือ หอมใบเตย ถ้ามะพร้าวน้ำหวาน ก็จะหวานธรรมชาติแบบพันธุ์โบราณ พวกหมูสีหรือนกคุ่ม”

พื้นที่สวนเกือบ 20 ไร่ มีมะพร้าวทั้งหมดประมาณ 200 ต้น เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คุณประวิทย์ นำมะพร้าวน้ำหอมจากสวนส่งไปประกวดความหวาน ผลที่ได้คือ มะพร้าวน้ำหอมของสวนได้รับรางวัลมะพร้าวน้ำหวานที่สุดระดับภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และฉะเชิงเทรา) ภายใต้รางวัลชนะเลิศ การประกวดมะพร้าวน้ำหอม ในการประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นกำลังใจอย่างดีให้กับชาวสวนเก่าอย่างคุณประวิทย์