ช่วงปี 2554 คุณไพฑูรย์ ได้นำกิ่งพันธุ์มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู

คุณภาพดี จำนวน 35 ต้น มาปลูกบนที่ดินของไร่สวนขวัญ โดยซื้อกิ่งพันธุ์ในราคา ต้นละ 25 บาท หลังจากเตรียมหลุมปลูก ที่มีขนาดกว้างxยาว 50×50 เซนติเมตร ปลูกในระยะห่างต่อต้น ประมาณ 10 เมตร ปรากฏว่า ปลูกไปได้ 6 ปี ทรงพุ่มเริ่มชนกันแล้ว กลายเป็นจุดสะสมเชื้อโรค และไม่มีผลผลิตในบริเวณดังกล่าว วิธีแก้ไขคือ ต้องรีบตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง รับแสงแดดได้สะดวก

ความผิดพลาดดังกล่าวกลายเป็นบทเรียนสอนใจ ที่คุณไพฑูรย์นำไปใช้บอกต่อเพื่อนเกษตรกรมือใหม่ ที่อยากปลูกต้นมะขามเทศว่า ควรปลูกในระยะห่างต่อต้น ประมาณ 12 เมตร ตั้งแต่ลงทุนครั้งแรก เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการสวนในอนาคต

มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู เป็นไม้ผลที่ดูแลง่าย หลังปลูกแค่ดูแลตัดแต่งกิ่งที่รกออกไป คอยตรวจสอบโรคแมลงเป็นระยะๆ ในช่วงที่ให้ปุ๋ยให้น้ำว่า ต้นมะขามเทศเกิดอาการผิดปกติตรงไหนบ้าง ทั้งนี้ ต้นมะขามเทศ มักออกดอกประมาณเดือนตุลาคม ทยอยบานเรื่อยๆ ผลแก่ประมาณเดือนธันวาคม ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมีนาคม-เมษายน

แม้มะขามเทศจะเป็นไม้ผลทนแล้ง แต่ต้องคอยดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ควรงดให้น้ำในช่วงก่อนออกดอก เพื่อพักตัวสะสมอาหารเตรียมความพร้อมก่อนออกดอก หลังต้นมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงค่อยให้น้ำตามปกติ ช่วงที่ฝักเริ่มแก่ ระวังอย่าให้น้ำมาก เพราะจะทำให้คุณภาพฝักไม่ดี ฝักแตกเร็วขึ้น เนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดี ช่วงฤดูฝน คอยดูแลใส่ปุ๋ยคอกบำรุงต้น ก่อนหมดช่วงฤดูฝน คอยดูแลตัดแต่งกิ่งให้ต้นเตี้ย เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลจัดการผลผลิตในรุ่นต่อไป ช่วงเดือนพฤศจิกายนดูแลฉีดยาป้องกันแมลงพร้อมให้ปุ๋ยให้น้ำ พร้อมสอดส่องแมลงศัตรูพืชเป็นระยะ

“ก่อนปลูกมะขามเทศพันธุ์นี้ ผมได้ศึกษาสายพันธุ์มะขามเทศทั้งหมด พบว่า มะขามเทศพันธุ์อื่นๆ หากเจอฝน ผลผลิตมักจะเสียหายทั้งหมด แต่มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูทนแล้ง ทนฝน ได้ดีเยี่ยม แถมให้ผลผลิตรสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ” คุณไพฑูรย์ กล่าว

โรค และแมลง

แมลงศัตรูพืชที่เจอในไร่สวนขวัญ ได้แก่ “ไรแดง” มักพบในช่วงฤดูร้อน สังเกตได้จากต้นมะขามเทศมีอาการใบเหลือง และฝักมีขนาดแคระแกร็น สามารถแก้ไขได้ โดยฉีดพ่นยาป้องกันไรแดงที่หาซื้อได้ในร้านขายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรทั่วไป

ในช่วงที่ฝนตก นอกจากทำให้เกิดโรคราสนิมแล้ว ยังเจอแมลงปีกแข็งอีกชนิด ที่มีลักษณะคล้ายมอด ซึ่งคุณไพฑูรย์ก็ยังไม่รู้ว่าชื่ออะไร แมลงศัตรูพืชชนิดนี้ทำให้ฝักเน่าเสีย ตรวจเจอแมลงชนิดนี้อยู่ในฝักมะขามเทศสีแดงที่เก็บลงจากต้นไม่หมด ทำให้แมลงชนิดนี้มีโอกาสขยายพันธุ์ได้ ปัจจุบันสวนมะขามเทศของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ต่างได้รับความเสียหายจากปัญหานี้ด้วยเช่นกัน แมลงชนิดนี้จะกัดกินผลผลิตตั้งแต่ระยะฝักอ่อน เมื่อฝักแก่เนื้อในจะเน่าเสียทันที จนถึงขณะนี้เกษตรกรยังไม่สามารถกำจัดแมลงชนิดนี้ได้ เพราะแมลงชนิดนี้ค่อนข้างดื้อยาสารเคมีกำจัดแมลง

“ฝน” คือ จุดอ่อนของมะขามเทศ

ผู้เขียนได้ทดลองชิมมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู ก็รู้สึกชอบใจ เพราะมีรสชาติหวาน มัน อร่อย แต่คุณไพฑูรย์บอกว่า มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูมีรสชาติหวานมันมากกว่านี้ สาเหตุที่ผลผลิตมีค่าความหวานลดลง เนื่องจากเจอพายุฝนก่อนช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตนั่นเอง

“ต้นมะขามเทศจะกลัว “ฝน” มาก เจอฝนเมื่อไร ผลผลิตเสียหายทุกที สวนของผมเก็บผลผลิตคุณภาพดี รสชาติอร่อยออกขายได้เต็มที่ ผลผลิตไม่มีเสียหายเลย เพราะไม่มีปัญหาฝนตกในช่วงเก็บเกี่ยว แต่ช่วงหลังเจอผลกระทบจากภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้รสชาติผลผลิตเพี้ยนตามไปด้วย แถมเจอพายุฝนอีกต่างหาก ปีนี้เก็บผลผลิตออกขายได้เท่านี้ ผมถือว่าโชคดีแล้ว” คุณไพฑูรย์ กล่าว

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

จุดเด่นของมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู คือ ผลอ่อน ฝักดิบ จะมีสีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาว เมื่อฝักสุกแก่เต็มที่ เปลือกและเนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู ฝักสวยสีสวย น่ารับประทาน โดยทั่วไปช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ต้นมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูจะให้ผลผลิตสวยมาก และมีรสชาติดี ต้นมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูของไร่สวนขวัญเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ 1-2 ปีแรกของการปลูก หากบำรุงรักษาที่ดี สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ตั้งแต่ปีแรกที่ปลูกได้เลย เนื่องจากคุณไพฑูรย์ทำงานประจำ ไม่ค่อยมีเวลาดูแลไร่สักเท่าไร จึงปล่อยให้ต้นมะขามเทศเติบโตสมบูรณ์เต็มที่เสียก่อน จึงค่อยเก็บผลผลิตรุ่นแรกออกขายในปีที่ 3

ผลผลิตรุ่นแรกและรุ่นสอง สร้างรายได้เข้ากระเป๋าถึงปีละ 1.5 แสนบาท ส่วนผลผลิตรุ่นที่สามที่เก็บเกี่ยวช่วงปีที่แล้ว สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนบาท ทุกวันนี้ ไร่สวนขวัญมีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อย ส่วนใหญ่เป็นค่าจ้างแรงงานสอย เฉลี่ยวันละ 2-4 คน โดยมีค่าจ้างแรงงาน วันละ 250-300 บาท หลังหักลบต้นทุนแล้ว ยังเหลือผลกำไรหลักแสนต่อไร่

“ช่วงแรกที่ผมปลูกมะขามเทศ มะขามเทศซื้อขายในท้องถิ่น อยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท เท่านั้น หลังปลูกไปได้ 2 ปี ราคาขายเพิ่มขึ้นเป็น กิโลกรัมละ 80-100 บาท ผมเก็บผลผลิตไปขายในงานเจียไต๋แฟร์ ปรากฏว่าขายดี เพราะนักท่องเที่ยวนิยมซื้อมะขามเทศกันมาก เพราะเป็นไม้ผลที่มีวิตามินซีสูง ดีต่อสุขภาพ” คุณไพฑูรย์ กล่าว

ผลผลิตช่วงที่ผ่านมา ในหมู่บ้านของคุณไพฑูรย์ มีแม่ค้าเข้ามารับซื้อมะขามเทศในราคาหน้าสวน ที่กิโลกรัมละ 50-60 บาท ช่วงต้นฤดู ราคารับซื้อหน้าสวน อยู่ที่กิโลกรัมละ 70 บาท แต่หลังจากสวนมะขามเทศโดนพายุฝน ราคารับซื้อหน้าสวนปรับตัวลดลง เหลือแค่กิโลกรัมละ 50 บาท เท่านั้น

คุณไพฑูรย์ คิดว่า หากขายส่งผ่านแม่ค้าคนกลาง จะต้องถูกกดราคารับซื้อตามเกรดและขนาดฝัก ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคาเต็มเม็ดเต็มหน่วย เขาจึงตัดสินใจเปิดแผงขายผลผลิตของ “ไร่สวนขวัญ” ริมถนนทางหลวงแทน เพราะทำเลที่ตั้งของไร่สวนขวัญอยู่ใกล้กับเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวสัญจรผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก เขาคัดสินค้าสวย เกรด เอ เบอร์ใหญ่ ออกขายในราคากิโลกรัมละ 60-80 บาท

“เกษตรกรมักนิยมเก็บฝักสีเขียวที่เปิดแย้มด้านใน มองเห็นเมล็ดฝักสีดำ เพื่อขายส่งให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อผลผลิตหน้าสวน ซึ่งมะขามเทศจะเริ่มสุกมีสีชมพูแดงในช่วงที่วางขายในตลาดพอดี แต่ไร่สวนขวัญ มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง จึงทยอยเก็บผลผลิตที่กำลังเริ่มสุก ฝักมีสีชมพูแดงออกวางขายได้ทุกวัน ตลอดระยะเวลา 3 เดือนเต็ม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี ช่วยสร้างผลกำไรได้ดีกว่าขายส่งให้แม่ค้าคนกลาง” คุณไพฑูรย์ กล่าว

“ขายกิ่งพันธุ์” เพิ่มรายได้

ปัจจุบัน เกษตรกรที่ปลูกต้นมะขามเทศ นอกจากจำหน่ายผลผลิตในช่วงฤดูกาลแล้ว หากเกษตรกรรายใดมีฝีมือด้านเพาะขยายพันธุ์พืช สามารถผลิตกิ่งพันธุ์มะขามเทศออกจำหน่ายได้อีกทางหนึ่ง เมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ราคาซื้อขายกิ่งพันธุ์มะขามเทศ เฉลี่ยกิ่งละ 25 บาท เนื่องจากต้นมะขามเทศขยายพันธุ์ได้ยาก แถมเจอวิกฤตภัยแล้ง ราคาซื้อขายกิ่งพันธุ์เมื่อปีที่แล้ว จึงปรับเพิ่มเป็น 35 บาท

สำหรับปีนี้ ตลาดมีความต้องการกิ่งพันธุ์เพิ่มสูงขึ้น แต่มีจำนวนกิ่งพันธุ์น้อยกว่าความต้องการของตลาด ทำให้ราคาซื้อขายขยับขึ้นเป็นกิ่งละ 50 บาทแล้ว ขณะที่ราคาซื้อขายกิ่งพันธุ์ในท้องตลาดทั่วไป (นอกจังหวัดกาญจนบุรี) สูงถึงกิ่งละ 80-100 บาท ขณะนี้มีเกษตรกรหลายรายสนใจสั่งซื้อกิ่งพันธุ์มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู ของ “ไร่สวนขวัญ” ซึ่งคุณไพฑูรย์จะเริ่มตอนกิ่งออกขายในช่วงฤดูฝน เพื่อให้กิ่งพันธุ์ติดรากได้ดีขึ้น หากใครสนใจก็ติดต่อสั่งซื้อกับ คุณไพฑูรย์ สุนทรวิภาต ได้ที่เบอร์โทร. (086) 162-0365

ท่ามกลางวิกฤตปุ๋ยแพงและปริมาณทุเรียนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้น การแข่งขันจะมีผลต่อราคาที่ปรับลง ขณะที่เกษตรกรต้องแบกภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตั้งแต่ปลายปี 2564 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และยังไม่แน่ใจในอนาคตว่าจะมีการปรับราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ บรรดาเกษตรกรได้หาทางออกเพื่อลดต้นทุนการผลิตจากการพึ่งพาปุ๋ยเคมี 100% แม้แต่เกษตรกรรายใหญ่ได้กลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับปุ๋ยเคมี และพบว่าได้ผลผลิตมีคุณภาพ ดีกว่าใช้ปุ๋ยเคมี 100% และลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง 50%

คุณวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ ที่อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด มีประสบการณ์การทำสวนมามากกว่า 30 ปี และหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลมาร่วม 10 ปี พร้อมที่จะเป็นต้นแบบขยายผลให้เกษตรกรทั่วไป

ประสบการณ์ทำสวนกว่า 30 ปี
คุณวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ จบปริญญาตรี สาขาพืชสวน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2522 สร้างสมประสบการณ์เรื่อยมาทั้งสวนส้ม สวนปาล์ม ยางพารา และมาถึงปัจจุบันทำสวนทุเรียน เงาะ มังคุด ประมาณ 300-400 ไร่ ที่จังหวัดตราด ส่วนใหญ่เป็นทุเรียน ที่ผ่านมาเคยนั่งตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดตราดมา 2 วาระ และปัจจุบันยังคงเป็นประธานสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกจังหวัดตราด จำกัด และกรรมการหอการค้าไทย

คุณวุฒิพงศ์ เล่าถึงการทำเกษตรกรรมหรือทำสวน ไม่ว่าจะเป็นสวนอะไร ความเหมาะสมตามธรรมชาติคือ สภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความจำเป็นคือการใช้ปุ๋ย น้ำ ธาตุอาหารเสริม ส่วนใหญ่ชาวสวนมักจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยเกินความต้องการของพืช เพราะคาดว่าจะให้ผลผลิตได้สูง จากประสบการณ์ดูงานที่อิสราเอล เมื่อ 30 ปีที่แล้วได้นำระบบการให้น้ำที่แม่นยำ ใช้น้ำน้อย เกิดประสิทธิภาพสูงมาใช้กับสวนผลไม้ ทุเรียน เงาะ มังคุด ทั้งระบบการให้น้ำและปุ๋ย โดยต่อหัวสปริงเกลอร์ติดตั้งกับท่อยางที่วางพาดผ่านต้นไม้ระยะสูงจากพื้นดิน 30-40 เซนติเมตร การติดหัวเหวี่ยงสปริงเกลอร์เหวี่ยงอยู่ในระยะปลายทรงพุ่มตรงบริเวณปลายรากที่ดูดรับน้ำและปุ๋ย ถ้าเป็นทุเรียนอายุ 5-6 ปี ระยะห่างที่ให้น้ำประมาณ 5-6 เมตร ระบบนี้จะช่วยลดปริมาณการสิ้นเปลืองน้ำได้ 2-3 เท่า และช่วยประหยัดปุ๋ยเช่นเดียวกัน การดูแล ซ่อมแซมสะดวกกว่าการการติดตั้งสปริงเกลอร์กับท่อพีวีซีที่ต่อเชื่อมจากท่อใหญ่ที่ฝังในพื้นดิน

“การรดน้ำต้องให้พอดีที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ ถ้าใช้หัวสปริงเกลอร์ใหญ่ติดตั้งกับท่อพีวีซี เมื่อให้น้ำมากดินรับไม่ไหว รดแค่ 10-20 นาที น้ำนองแต่ซึมลงดินน้อย ที่เหลือไม่ได้ใช้ประโยชน์ ถ้าใช้ท่อยางติดหัวสปริงเกลอร์เหวี่ยงได้ระยะปลายรากส่วนที่จะดูดน้ำให้ต้น ตามขนาดอายุของต้น ต้นเล็กใช้เวลา 10-20 นาที ต้นใหญ่ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง โดยให้น้ำพร้อมๆ กันทั้งแปลง น้ำจะซึมลงดินทั้งหมด” คุณวุฒิพงศ์ กล่าว

“น้ำขี้หมู” ปุ๋ยอินทรีย์ผสมผสานปุ๋ยเคมี
ผลผลิตดี ลดการใช้ปุ๋ยเคมี 50% แรกๆ ทำสวนแต่ละปีต้องใช้เงินซื้อปุ๋ยเคมีราคาเป็นแสนๆ บาท ได้ปริมาณน้อย เมื่อประมาณ 8-9 ปีมานี้ เห็นชาวสวนด้วยกันนำขี้หมูใช้รดสวนผลไม้ได้ผลดี จึงนำมาใช้กับสวนทุเรียน มังคุด เงาะบ้าง ประกอบกับมีฟาร์มหมูที่อยู่ไม่ไกลจากสวนมากนัก ทำให้บริหารจัดการการขนส่งสะดวก โดยขี้หมูเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้ผสมผสานกับปุ๋ยเคมี ที่ปกติใส่ปีละ 3-4 ครั้งอยู่แล้ว ต้นไม้เติบโตแข็งแรง ให้ผลดกสม่ำเสมอ และคุณภาพสมบูรณ์ดีทุกปี ลบความเชื่อเดิมๆ ของชาวสวนที่ว่า ผลไม้จะดกปีเว้นปี เพราะผลไม้ถ้าแข็งแรงมีความสมบูรณ์สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มากๆ ทุกปี

การทำสวนองค์ประกอบสำคัญคือดิน ต้นไม้เติบโตได้จากการใช้รากดูดธาตุอาหารต่างๆ จากดิน แต่เมื่อคนเราใช้ธาตุอาหารในดินมากเกินไป โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือการปลูกทุเรียน เกษตรกรหวังผลผลิตเป็นแสนเป็นล้านจึงเร่งใส่ปุ๋ยเคมี ทำให้ธาตุอาหารลดลงมากอย่างรวดเร็ว ต้องเติมธาตุอาหารบำรุงคือปุ๋ยเคมีชนิดต่างๆ ซึ่งมีธาตุอาหารหลักๆ แต่ธาตุอื่นๆ มีไม่ครบตามที่พืชต้องการ ถ้าใช้ขี้หมูมีธาตุไนโตรเจนสูง ธาตุหลักอื่นๆ มีน้อย แต่มีธาตุรองครบทุกอย่าง เพียงแต่ไม่เข้มข้นเท่าปุ๋ยเคมี ดังนั้น ความเหมาะสมโดยใช้ผสมผสานกันไปทั้งปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ ลดเคมีให้น้อยลง เปลี่ยนสูตร ใช้ไนโตรเจนและธาตุอาหารรองจากธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปุ๋ยเคมีปัจจุบันที่ราคาแพงขึ้นถึง 2-3 เท่า จากกระสอบละ 500-700 บาท เป็น 1,500-2,000 บาท ปีหนึ่งเราใส่ปุ๋ยเคมี 3-4 ครั้ง และยังใส่ปุ๋ยชีวภาพ ใช้สารเร่งฮอร์โมนอีก ถ้าใช้ปุ๋ยขี้หมูที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 50% และจะช่วยลดค่าใช้จ่ายปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 20-30% ความสำคัญกว่านั้นคือช่วยเสริมธาตุอาหารทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว

กระบวนการนำขี้หมูมาใช้
ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปี
ฟาร์มเลี้ยงหมูปัจจุบันเลี้ยงระบบปิด มีการตรวจป้องกันเชื้อโรคและมีการทำความสะอาดฟาร์มที่ต้องบำบัดถ่ายเทของเสียทิ้งอยู่แล้ว ดังนั้น ฟาร์มที่ได้มาตรฐานจะมีกระบวนการต่างๆ เริ่มจากการระบบทำความสะอาด ฉีดน้ำล้างทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงหมู สิ่งปฏิกูล ขี้หมู ปัสสาวะจะถูกชะล้างลงท่อไปสู่ “บ่อหมักแก๊ส” ใช้ระยะเวลา 2-3 เดือน เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียเป็นน้ำ และถ่ายเทไว้ในบ่อพักน้ำนำไปใช้ทางการเกษตรรดต้นไม้ ถ้าอยู่ใกล้ๆ บ่อพักน้ำติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำต่อท่อไปรดในแปลงได้เลย

หลังการเก็บเกี่ยวและตกแต่งกิ่งการเตรียมต้นเพื่อผลผลิตฤดูกาลต่อไป บางรายที่เป็นสวนผลไม้ชนิดเดียว อยู่ในโซนติดทะเลอาจทำทุเรียนออกก่อนฤดูจะมีเวลาเก็บเกี่ยวเร็วและเตรียมต้นให้สมบูรณ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน แต่เกษตรกรที่ต้องทำผลไม้หลายชนิดและอยู่ในโซนทั่วไป มีเวลาเตรียมต้นกันประมาณเดือนกรกฎาคม ต้องสร้างความสมบูรณ์ต้น เพื่อกระตุ้นให้สร้างใบ พัฒนาไปสู่การออกดอก ติดผล และการเติบโตของผลไปถึงการเก็บเกี่ยวพฤษภาคม-มิถุนายน การให้น้ำต้องให้เหมาะสมกับอายุ สิ่งแวดล้อม และพัฒนาการของพืชที่มีความต้องการน้ำต่างกัน น้ำขี้หมูเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ได้ตลอดเวลาเหมือนการรดน้ำ ต้องดูให้สัมพันธ์กันกับการให้น้ำ ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากระยะแรกๆ ที่เตรียมต้นให้ 7-15 วันต่อครั้ง หรือทุกวัน แต่ตอนแตกใบอ่อนก่อนออกดอกต้องลดปริมาณลง และไปต้องการปริมาณน้ำมากช่วงพัฒนาการของดอกและการเติบโตของผล จนกระทั่งผลแก่ การใช้ปุ๋ยเคมีจะใช้ควบคู่ไปตามปกติ 3-4 ครั้ง ที่ให้ผลคุ้มค่ามากคือปุ๋ยขี้หมูนี้มีผลให้แร่ธาตุในดินอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว

ชาวสวนติดปัญหาการขนย้าย
ขอหน่วยงานรัฐช่วย
จริงๆ แล้วเกษตรกรชาวสวนรู้ถึงข้อดีน้ำขี้หมูกันมานานแล้ว แต่ติดขัดระบบการบริหารจัดการ 2 เรื่อง คือ ระบบข้อมูลของฟาร์มที่พร้อมให้เกษตรกรได้เข้าถึงนำไปใช้ เพราะปกติเป็นของเสียที่เจ้าของต้องการกำจัดทิ้งอยู่แล้ว ควรมีรายชื่อข้อมูลฟาร์มแจ้งเกษตรกร และระบบการขนส่งที่สะดวก ประหยัด เพื่อช่วยเกษตรกรรายย่อย เพราะการนำน้ำขี้หมูมารดต้นไม้ในสวนต้องขนย้ายจากฟาร์มมีเครื่องมือเพิ่มขึ้น ต้องใช้รถบรรทุกน้ำไปดูดน้ำมาจากบ่อพักน้ำ ใช้ถังบรรจุขนาดใหญ่ 1,000 ลิตร เมื่อนำมาใช้ที่สวนต้องมีเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กสูบน้ำจากถังต่อสายยางไปรดที่ต้นไม้ ควรออกแบบเครื่องมือแบบง่ายๆ ใช้ระบบการขนส่งและการนำมาใช้สะดวก ด้วยราคาประหยัด 10,000-20,000 บาท เช่น รถเทเลอร์บรรทุกถังปุ๋ย 2-3 ถัง พ่วงกับรถบรรทุกเล็กอย่างปิกอัพที่ชาวสวนมีใช้กัน เพื่อความสะดวกและคุ้มค่าในการขนย้ายแต่ละครั้ง ถ้าจังหวัดส่งเสริมให้สถาบันอาชีวะช่วยคิดออกแบบให้สะดวกขึ้น คาดว่าน่าจะขยายผลสู่เกษตรกรได้ในวงกว้าง สอดคล้องกับการเกษตรกรแบบ BCG เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้นแบบการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

“ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ที่มีประโยชน์คุ้มค่ากว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ท่ามกลางสถานการณ์ที่ปุ๋ยมีราคาแพงและตั้งรับการแข่งขันของตลาดทุเรียนในภายในประเทศและเพื่อนบ้านระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ที่ปริมาณทุเรียนจะออกมากมหาศาล” คุณวุฒิพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

สนใจสวนปุ๋ยอินทรีย์ต้นแบบ สอบถาม คุณวุฒิพงศ์ รัตนมณฑ์ โทร. 085-432-0230 วิจัยปุ๋ยขี้หมู
คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด กล่าวว่า คุณชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ตั้งเป้าหมายใช้สวนคุณวุฒิพงศ์ เป็น “โมเดลน้ำขี้หมูแก้วิกฤตปุ๋ยแพง”

มีโครงการขยายต้นแบบในจังหวัดตราด รองรับปัญหาปุ๋ยเคมีแพงและผลผลิตทุเรียนจำนวนมาก โดยมีแกนนำเครือข่ายคือ ปศุสัตว์รวบรวมฟาร์มหมูในจังหวัดตราด มี 47 แห่ง เพื่อสำรวจความพร้อมที่จะให้บริการ สถานีพัฒนาที่ดินที่จะวิเคราะห์สภาพดินค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสมกับการใช้ปุ๋ยขี้หมู และสถาบันอาชีวศึกษาที่จะช่วยออกแบบเครื่องบรรทุกขนส่งที่ช่วยให้เกษตรกรประหยัดและมีความสะดวก ขณะนี้ได้นำตัวอย่างดินและน้ำขี้หมูส่งให้ ดร.สุทิศษา ไชยกุล คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีจันทบุรี ตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารแล้ว เพื่อยืนยันธาตุอาหารและปริมาณที่มีอยู่จริงครอบคลุมพื้นที่ดินที่นำเป็นตัวอย่าง 15 ไร่ เมื่อนำไปขยายผลให้เกษตรกรสอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ มีความแม่นยำตรงความต้องการของพืชในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต

“สวนเกษตรกรจังหวัดตราด ที่ใช้กันอยู่แล้วตอนนี้ที่เห็นผลชัดเจน มีสวนปาล์ม สวนมังคุด สวนทุเรียน สวนเงาะ ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 60-70% ประหยัดต้นทุนลงไปได้มาก ถ้ามีการขยายผลต้องวิเคราะห์สภาพดินก่อนนำไปใช้ ปุ๋ยเคมีบางตัวแทบไม่จำเป็นต้องใช้ เลือกใช้เฉพาะที่จำเป็นในแต่ละช่วงของพืช ซึ่งต้องให้ความรู้กับเกษตรกร ให้นำไปใช้ได้จริง พยายามเร่งให้ทันต้นฤดูกาลผลไม้เดือนกรกฎาคม-สิงหาคมนี้ เพื่อรองรับราคาปุ๋ยเคมีที่ราคาสูงขึ้น เตรียมตัวรองรับกับราคาทุเรียนในอนาคตที่จะปรับลดลงมาก เพราะผลผลิตเพิ่มขึ้นมหาศาล ตลาดมีการแข่งขันสูง รวมทั้งพืชเศรษฐกิจหลักอื่นๆ ด้วย แนวทางที่จะประสบความสำเร็จเกษตรกรต้องทำจริง ภาครัฐต้องสนับสนุนขยายผลให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด” คุณชยุทกฤดิ กล่าว

กระจับ เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู มีอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ชอบน้ำนิ่ง มีรากหยั่งยึดดินและมีไหล ใบเดี่ยวมี 2 แบบ ใบที่ลอยน้ำมีก้านยาว อวบน้ำและพองเป็นกระเปาะตรงกลาง ทำให้ลอยน้ำได้ดี แผ่นใบมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปพัด ใบจะเรียงรอบลำต้นเวียนเป็นเกลียวถี่ๆ ทำให้ดูเหมือนใบแผ่เป็นวงรอบต้น ใบอีกแบบหนึ่งอยู่ในน้ำ เป็นเส้นฝอยๆ คล้ายราก

ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ royalweddingcharityfund.org มีกลีบดอก 4 กลีบ บานอยู่เหนือน้ำ เมื่อติดผลแล้ว ก้านดอกจะงอกลับลงน้ำและผลจะเจริญอยู่ใต้น้ำ ผลอ่อนสีม่วงอมแดงจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ส่วนที่เป็นเขาโค้ง 2 ข้าง เจริญมาจากกลีบเลี้ยง ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งงอโค้งคล้ายเขาควาย เมื่อกะเทาะเปลือกนอกที่แข็งออก จะได้เนื้อในสีขาว มีแป้งมาก

สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ มารับประทานเนื้อของฝักกระจับ สามารถนำเอามาทำอาหารหวานและอาหารคาวได้มากมาย ส่วนต้นกระจับหลายคนนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เหมือนบัว ต้นกระจับนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ นำมาทำยาแก้ปวดท้อง นอกจากนั้น ต้นกระจับที่เหลือจากการนำมาใช้ประโชยน์นั้นนิยมนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถวับน้ำได้ดี เหมาะแก่การปลูกพืช

นิยมนำมาต้มรับประทาน
คุณสุนัน พละเจริญ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เกษตรกรผู้ปลูกกระจับ ที่อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เล่าว่า กระจับเป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี ปัจจุบัน มีปลูกมากในแถบภาคกลาง โดยเฉพาะที่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี สุพรรณบุรี

กระจับ ปลูกไม่ยาก แต่ต้องเอาใจใส่ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมหรือแล้ง เนื่องจากอยู่ในน้ำอยู่แล้ว มีน้ำแค่เพียง 60 เซนติเมตร ก็อยู่ได้แล้ว ที่สำคัญยังปลูกขายฝักหรือขายต้นทำเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

“กระจับ ให้ผลผลิตดี แต่ไม่แนะนำให้ปลูกกระจับอย่างเดียวตลอดไป เพราะพื้นที่ที่มีน้ำขังตลอด ไม่นานจะเกิดสาหร่าย ซึ่งเป็นปัญหาในการปลูกกระจับ จริงๆ ควรปลูกในพื้นที่นาสลับ หรือควบคู่กับการทำนา โดยการทำนากระจับ มักจะเริ่มดำในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม และเก็บผลผลิตในเดือนตุลาคมของทุกปี” คุณสุนัน เล่าให้ฟัง และได้เล่าให้ฟังถึงรายละเอียดต่างๆ อีกดังนี้ ขั้นตอนการปลูก
วิธีการ เหมือนกับการดำนา เอายอดพันธุ์มาดำ โดยนำยอด 1-2 ยอด ฝังลงไปในพื้นดิน ระยะห่างระหว่างต้นและแถว (1.1 x 1 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ = 1,000 กอ)

และหลังจากปลูก 1 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยสูตร 24-8-8 ต้นกล้าเริ่มตั้งตัวและทอดยอด

จากนั้นให้เริ่มเติมน้ำเข้าแปลงเป็นระยะๆ (น้ำคลอง ค่า pH 6.5-7.0) จนระดับความสูงขั้นต่ำ 60 เซนติเมตร

พอต้นแข็งแรงเริ่มแตกกอและตั้งยอด บำรุงด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 24-8-8 อีกครั้ง

ร่วมกับปุ๋ยน้ำหรือสารสกัดสมุนไพร ฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 15-20 วัน การลงทุน
สำหรับพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เงินลงทุน 4,000-6,000 บาท (ค่าต้นพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าแรง)

เมื่ออายุต้นครบ 4 เดือน จะเริ่มเก็บผลผลิตชุดแรก โดยต้นกระจับ 1 กอ จะให้ผลผลิต 2-3 ฝัก

เฉลี่ย 1,000 – 1,200 กิโลกรัม/ไร่

ส่วนการขาย ขายให้กับแม่ค้าในพื้นที่ ที่ไปต้มขาย หากจะเข้าโรงงาน ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งโรงงานที่ว่า อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ใช้เปลือกสกัดเป็นยา นอกจากนี้ มีบางส่วนส่งร้านขนมหวาน