ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์การดำเนินระบบ

เกษตรผสมผสานซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน พบว่าทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์เกิดขึ้นในพื้นที่ ช่วยกระจายการใช้แรงงาน ทำให้มีงานทำตลอดปี เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกภาคการเกษตร และในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศขณะนี้ ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานจำนวนมาก ระบบเกษตรผสมผสานจะรองรับแรงงานเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากระบบเกษตรผสมผสานมีกิจกรรมหลายกิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีการใช้แรงงานแตกต่างกันไป เมื่อรวมกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ไว้ด้วยกันในระบบเกษตรผสมผสานจึงมีการใช้แรงงานมากขึ้น มีการกระจายแรงงานไปตามกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเกษตรที่มีกิจกรรมเดียว ดังเช่น ข้าวหรือพืช ไร่ และสามารถลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 87

ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมต่างๆ ในระดับไร่นา เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับไร่นา ไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เนื่องจากระบบเกษตรผสมผสานจะมีการเกื้อกูลประโยชน์ต่อกัน เช่น ปลูกไม้ผลรอบบ่อปลาและเลี้ยงไก่เนื้อบนบ่อปลา แล้วพบว่ามูลและอาหารของไก่ที่ตกลงไปในบ่อปลา จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชอาหารของปลา ทำให้ปลามีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อมีมากเกินไปจะแย่งอากาศในน้ำกับปลา (น้ำจะมีสีเขียวเข้ม) ทำให้ปลาขาดอากาศ จึงจำเป็นต้องมีการระบายน้ำออกจากบ่อปลาโดยปล่อยลงนาข้าว จากผลการดำเนินงานนี้จะพบว่าเกษตรกรสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในนาข้าวได้ จากผลการสุ่มตัวอย่างผลผลิตพบว่า แปลงของเกษตรกรที่มีการใส่ปุ๋ยอัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ จะได้ผลผลิต 764 กิโลกรัม ต่อไร่ แต่แปลงที่ใส่น้ำจากบ่อเลี้ยงปลา ร่วมกับการใช้ปุ๋ย 21.4 กิโลกรัม ต่อไร่ จะได้ผลผลิต 759 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งแตกต่างกันไม่มากนัก ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวลงได้

ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน ในการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายกิจกรรมช่วยทำให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวครบทุกหมู่ โดยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะได้จากข้าว ข้าวโพด อาหารประเภทโปรตีนจะได้จากไก่ ปลา พืชตระกูลถั่ว อาหารประเภทวิตามิน เส้นใยจากพืชผักผลไม้และเห็ดฟาง ช่วยทำให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารและมีการปรับปรุงคุณภาพโภชนาการและสุขภาพของเกษตรกรในท้องถิ่นให้ดีขึ้น

ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมในระบบเกษตรผสมผสานช่วยทำให้มีการกระจายการใช้แรงงานทำให้มีงานทำตลอดทั้งปีและมีการกระจายรายได้จากกิจกรรมต่างๆ เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขายบริการต่างๆ เมื่อไม่มีการอพยพแรงงานออกจากท้องถิ่น ทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าทั้งพ่อ แม่ ลูก ช่วยทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น สภาพทางสังคมในท้องถิ่นดีขึ้น ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น

คุณณิชกมล ปาริน หรือ เพนนี อายุ 40 ปี ประธานกลุ่มวิสาหกิจสบบงเกษตรผสมผสานและแปรรูปผลผลิตการเกษตร ได้เล่าว่า ตอนนี้ภายในกลุ่มมีสมาชิกอยู่ 15 คน และที่กำลังจะเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกอีกกว่า 20 คน โดยทางกลุ่มจะมีการรวมตัวกันทุกวันอาทิตย์ เพื่อปลูกผักสวนครัว และมาคอยดูแลผลผลิตที่ปลูกไว้ ซึ่งภายในฟาร์มอิ่มบุญ มีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน เราก็มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งมีการทำนาข้าว ปลูกไม้ยืนต้นประเภทผลไม้หลากหลายชนิด มีการปลูกพืชผักสวนครัวหลายๆ ชนิด เพื่อที่จะนำผลผลิตที่ได้มาแบ่งปันให้สมาชิกนำไปประกอบอาหารเพื่อลดรายจ่ายในแต่ละครอบครัว ซึ่งหากผลผลิตมีเหลือกินก็จะนำไปขายเพื่อต่อยอด นำรายได้ไปซื้อเมล็ดพันธุ์พืชชนิดอื่นมาปลูกหมุนเวียนใหม่เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อในการนำมาปรุงอาหาร

นอกจากการปลูกพืชผักสวนครัวและผลไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ แล้ว ภายในฟาร์มก็ยังมีการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบอินทรีย์ ไม่ใช้หัวอาหารหรืออาหารเม็ดเลย แต่ทางฟาร์มจะใช้หยวกกล้วย ปลายข้าว และรำข้าว หมักผสมกันมาให้ไก่ได้กิน และการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่ได้เดินไปหากินหญ้าที่ขึ้นอยู่ภายในพื้นที่ได้อีกด้วย ในส่วนของการปลูกพืชผัก ก็มีการใช้ปุ๋ยมูลไก่และ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ที่เลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์ AF เอาไว้เพื่อนำมูลไส้เดือนมาผลิตเป็นปุ๋ย

คุณเพนนี ยังกล่าวอีกว่า ฟาร์มอิ่มบุญแห่งนี้เริ่มแรกที่มาเริ่มทำ ตนเองก็ชักชวนชาวบ้านให้มาปลูกข้าวแบบอินทรีย์ ปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ แต่ไม่มีใครมาทำด้วยเลย ตนเองก็ทำมาเรื่อยๆ และก็ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอภูซาง โดย นายการุณย์ มะโนใจ เกษตรอำเภอภูซาง ได้เข้ามาช่วยแนะนำให้ความรู้และสนับสนุนการสร้างโรงเรือน ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร รวมถึงเมล็ดพันธุ์ผักต่างๆ ทำเรื่อยมาจนผลผลิตออกและได้ผล จนชาวบ้านเขาเห็นว่าเราทำได้ มีผลผลิตที่ดี ก็เลยเริ่มมีเกษตรกรในละแวกใกล้เคียงเข้ามาทำนาข้าวและปลูกพืชผักแบบอินทรีย์ทีละแปลงๆ ซึ่งตอนนี้ตนเองมีความคิดที่จะทำเป็นเกษตรผสมผสานเชิงท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนแถวนี้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างยั่งยืน จะมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์ ให้นักท่องเที่ยวได้มาร่วมทำกิจกรรมการเกษตร ร่วมกับเกษตรกรสมาชิกของกลุ่ม

จากที่ชาวบ้านมีรายได้น้อยก็จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านก็จะทำแต่เกษตรแบบเชิงเดี่ยว เช่น ปลูกข้าวก็ข้าวอย่างเดียว ปลูกข้าวโพดก็ข้าวโพดอย่างเดียว ตนเองจึงได้ชักชวนชาวบ้านที่รู้จักมาทำเกษตรผสมผสาน เพื่อให้ชุมชนในหมู่บ้านสบบงมีความสามัคคี และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งนอกจากนี้ คุณเพนนี ยังเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็นประธานกลุ่ม แล้วคุณเพนนี ยังเป็นเครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดพะเยา (YSF) ในนาม ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ แถมยังเดินหน้าเข้าอบรมหาความรู้ในเรื่องการเกษตร เพื่อนำมาต่อยอดทางความคิด และนำมาใช้ภายในฟาร์มอิ่มบุญ คุณเพนนี ยังฝากทิ้งท้ายว่า

ลุงเสงี่ยม สีสันต์ อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อาชีพหลักสมัยก่อนโน้น ที่ลุ่มแบ่งทำนา สูงขึ้นมาหน่อยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ก่อนปี 2535 มีคนชวนลุงเสงี่ยมไปเป็นเพื่อน เพื่อซื้อเงาะจากจังหวัดจันทบุรีมาขาย ลุงชอบเพราะได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ เรื่องเงินทองรายได้ไม่ได้คิด หลายครั้งหลายหนที่ไปเห็นต้นเงาะของชาวสวนเมืองจันท์สุกแดงเต็มต้น จึงอยากปลูก

ที่อยากปลูกเนื่องจากท้องถิ่นอำเภอน้ำยืน อยู่ชายแดนติดกับกัมพูชา ดินดี ฝนตกดี ที่สำคัญ ลุงมีความขยันหมั่นเพียร ความรู้ และวิธีการปลูกน่าจะหาทางศึกษาได้

ลงมือเมื่อปี 2535
ลุงเสงี่ยม มีประสบการณ์เรื่องราคาข้าวโพด ช่วงเก็บผลผลิตขาย บางปีพออยู่ได้ แต่บางปีขาดทุน เมื่อไปเห็นเขาปลูกเงาะที่เมืองจันท์ จึงตัดสินใจปลูกเงาะโรงเรียนบนที่เนินใกล้บ้าน

ทางเจ้าหน้าที่เกษตรแนะนำว่า งานปลูกไม้ผลควรขุดหลุมให้ลึก แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ควายเก่าๆ ลุงตัดสินใจปลูกเมื่อปี 2535 ช่วงนั้นการทำนายังใช้ควายตัวเป็นๆ ยังไม่ใช้ควายเหล็ก ปุ๋ยคอกจึงหาได้ง่าย

สำหรับระยะปลูก ระหว่างต้นระหว่างแถว 8 คูณ 8 เมตร พื้นที่ไร่หนึ่งจึงปลูกได้ 25 ต้น

พืชอื่นที่ปลูกมีทุเรียน ลองกอง สะตอ หลังๆ มีขนุนเข้ามาเสริม ส่วนนาก็ยังทำอยู่

ปลูกไปได้ 3 ปี เงาะเริ่มมีดอกออกมาให้เห็น สร้างความมั่นใจให้กับครอบครัวสีสันต์อย่างมาก จนถึงปีที่ 4 ลุงเสงี่ยมและภรรยา คือ คุณป้าภัสสร สามารถเก็บผลผลิตเงาะไปจำหน่ายได้ ทุเรียนที่ปลูก เข้าสู่ปีที่ 5 มีผลผลิต จากนั้นลองกองก็ตามมา แต่ทุเรียนและลองกอง ปลูกไม่มากนัก

มีเงาะโรงเรียนที่ปลูกมาก ทุกวันนี้มีอยู่ 120 ต้น อายุ 25 ปี ผลผลิตที่เก็บได้ 200-300 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ปริมาณผลผลิตแต่ละปีมากบ้างน้อยบ้าง อย่างปีนี้เก็บได้ 200 กิโลกรัม ปีหน้าเก็บได้ 280 กิโลกรัม ต่อต้น

สำหรับราคาขาย เมื่อปี 2559 ต้นฤดูขายกิโลกรัมละ 25 บาท ปลายฤดูเหลือ 20 บาท ปลูกและดูแลอย่างไร จึงจะได้ผลดี
เงาะโรงเรียนกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การดูแลและปัจจัยการผลิตแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ขณะที่รายได้ก็แตกต่างกัน

ลุงเสงี่ยมเรียนรู้การปลูก การดูแลรักษา จากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน เมื่อเขาอบรมความรู้การเกษตรที่ไหน ลุงไม่เคยขาด นั่นเป็นเหตุการณ์เมื่อก่อน ปัจจุบัน มีคนแวะเวียนมาเรียนรู้วิธีการปลูกเงาะโรงเรียนกับลุง ทีมงานนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านก็ได้ความรู้และวิธีการมาเผยแพร่

วิธีการดูแลรักษาเงาะโรงเรียนนั้น ลุงอธิบายไว้ดังนี้

หลังเก็บเกี่ยว…อยู่ราวเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม เจ้าของตัดแต่งกิ่งให้ ตัดออกราว 30 เปอร์เซ็นต์ ที่ขาดไม่ได้คือปลายกิ่งที่ให้ผลผลิต ต้องตัดเพื่อให้แตกยอดใหม่ จากนั้นใส่ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม ต่อต้น ที่ขาดไม่ได้คือขี้วัว จำนวน 1 กระสอบปุ๋ย ขี้วัวจำเป็นมาก เพราะจะช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดี จะมีอยู่ไกลแค่ไหน หายากอย่างไร เจ้าของต้องนำมาใส่ให้กับเงาะโรงเรียน ช่วงนี้เรื่องน้ำไม่ต้องห่วงเพราะฝนตกดีอยู่แล้ว

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือแมลง ที่ลุงเรียกว่าบุ้งมากัดกินใบอ่อน

เป็นธรรมชาติของต้นไม้อย่างเงาะ เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วได้ปุ๋ย จะมียอดใหม่ขึ้นมา ยอดใหม่อ่อนๆ เป็นที่ปรารถนาของแมลง หากแมลงทำลายใบไม่สมบูรณ์ โอกาสออกดอกติดผลไม่ดี แต่เมื่อพบระบาด ควรกำจัดด้วยสารเคมี จะช่วยให้เงาะใบสมบูรณ์ พร้อมที่จะมีดอกในฤดูกาลต่อไป

เตรียมออกดอก…ราวเดือนพฤศจิกายน ลุงเสงี่ยมใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้กับเงาะ 2 กิโลกรัม ต่อต้น สูตรนี้เป็นการเพิ่มความสมบูรณ์ สะสมอาหาร เตรียมการออกดอก หลังให้ปุ๋ยถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำตาม

เดือนธันวาคมฝนหยุด เข้าสู่เดือนมกราคม เจ้าของจะหมั่นสังเกต ดูใบเงาะไม่สดชื่น ลุงเสงี่ยมบอกว่า “ใบเหงา” จึงให้น้ำกับเงาะ นาน 30 นาที…3 วัน ให้ครั้งหนึ่ง เงาะ 1 ต้น มีหัวสปริงเกลอร์ 2 หัว

เรื่องน้ำสำคัญมาก หากฝนหยุดตกแล้วเจ้าของไม่หยุดให้น้ำ ต้นเงาะจะไม่โศกหรือไม่เหงาอย่างที่ลุงเสงี่ยมว่า โอกาสออกดอกจะมีน้อย

ปัจจัยการออกดอกดีหรือไม่ดี อยู่ที่การให้อาหารหรือให้ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยวด้วย หลังการเก็บเกี่ยว หากได้ปุ๋ยสมบูรณ์ ผลผลิตในฤดูกาลใหม่ก็จะมีมาก

เมื่อเริ่มให้น้ำ ต้นและใบสมบูรณ์ดี ลุงเสงี่ยมฉีดพ่นสารเปิดตาดอกให้ 1 ครั้ง ราวกลางเดือนมกราคมถึงปลายเดือน เงาะก็เริ่มแทงช่อดอก ปริมาณน้ำที่ให้ จึงเพิ่มทีละนิด

เมื่อออกดอกแล้ว ผู้ปลูกเงาะบางคนจะมีเงาะตัวผู้เพื่อช่วยในการผสมเกสร หรือไม่ก็ใช้ฮอร์โมนช่วย แต่ที่ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องมีต้นตัวผู้ ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน ลุงเสงี่ยมบอกว่า แมลงช่วยผสมเกสร เงาะดกดีทุกปีไม่มีปัญหา

หลังออกดอก และผลพัฒนา ต้องระวังเพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง หากมีต้องป้องกันกำจัด เพราะผลผลิตอาจจะเสียหายได้ แทนที่จะจำหน่ายได้กิโลกรัมละ 25 บาท อาจจะเหลือ 15 บาท

“ของไม่งามมีปัญหา” ลุงเสงี่ยมบอก เป็นเกษตรกรสมบูรณ์แบบ
ปัจจุบัน ลุงเสงี่ยมยังคงมุ่งมั่นกับงานสวน ถึงแม้อายุเพิ่มขึ้น แต่ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ลูกๆ ก็เข้ามาสืบทอด

นอกจากปลูกเงาะโรงเรียนแล้ว ลุงเสงี่ยมยังมีปลูกขนุน จำนวน 50 ต้น ให้ผลผลิตดีมาก มีผู้ค้ามาตัด ชั่ง แล้วก็จ่ายเงิน ราคามีขึ้นมีลง

“ขนุนดูแลง่าย” ลุงบอก พืชอื่นๆ ทุเรียนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ให้ผลผลิตดีพอสมควร เจ้าของพยายามนำมาปลูกทดแทน

ลองกอง เหมือนจะปลูกไว้กิน เพราะไม่มากต้นนัก แต่ก็ติดผลดีเหลือกินจนต้องขาย

พืชชนิดหนึ่งที่ปลูกมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน คือ ข้าว ทั้งนี้เพราะข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญ ในส่วนนี้คุณลุงมีเครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการทำนา ซื้อมาหลายแสนบาท ถือว่ากิจกรรมการเกษตรของลุงประสบผลสำเร็จ สิ่งที่สำเร็จได้ อยู่ที่ตัวลุงและครอบครัว คือมีความขยันหมั่นเพียร หมั่นหาความรู้…ขอเอ่ยนามบุคคลที่มีส่วนในความสำเร็จนี้คือ คุณสมนึก ดอกแขมกลาง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน ปัจจุบัน เกษียณจากราชการแล้ว คุณสมนึกแวะเวียนมาให้คำปรึกษา รวมทั้งนำโครงการจากราชการมาสู่เกษตรกรในเขตนั้น

มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสุวิทย์ คงปาน ประธานกลุ่มเงาะแปลงใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาไม้ผลเพิ่มพูนทรัพย์ คุณกรุณา อักษรเพียร เหรัญญิกกลุ่มเงาะแปลงใหญ่ฯ และคณะกรรมการท่านอื่นๆ ที่ หมู่ที่ 4 บ้านเหมืองทวด ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คุณสุวิทย์ เล่าว่า “อดีตเมื่อ 70-80 ปีที่แล้ว มีการทำเหมืองแร่ดีบุกมาก่อน โดยที่ผ่านมาชาวบ้านแถวนี้ทำการเกษตรทั่วไป อาทิ สวนผลไม้ สวนเงาะ สวนยางพารา หลักๆ ก็จะเป็นสวนเงาะ”

ปัจจุบัน คุณสุวิทย์ อายุ 50 ปี โดยกล่าวเทียบราคาเงาะจากครั้งในอดีตตอนที่ยังคงเป็นเด็กว่า สมัยนั้นเงาะราคากิโลกรัมละประมาณ 7 บาท “เมื่อสมัย 30-40 ปีก่อน แถวนี้เป็นทุ่งนาปลูกข้าว ช่วงปี พ.ศ. 2531 มีเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากเกิดขึ้น ส่งผลให้น้ำท่วมหมดเลย โดยหลังจากนั้นจึงทำการฟื้นฟูก็ปลูกเงาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น ตอนแรกสวนเงาะ สวนทุเรียน ก็มีน้อย ส่วนใหญ่ก็มีนาข้าว พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ต่อคนหรือครอบครัว อยู่ที่ 10-20 ไร่ โดยประมาณ” คุณกรุณา กล่าว

คุณสุวิทย์ เล่าว่า “จุดเริ่มต้นการกำเนิดเงาะแปลงใหญ่ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2558 นำโดยเกษตรอำเภอบ้านนาสารและเจ้าหน้าที่…โครงการแปลงใหญ่เป็นการรวมคนในตำบล รวมพื้นที่ 1,134 ไร่ รวมสินค้า ก่อเกิดการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ต่อยอดสู่การพัฒนาคุณภาพ ทำมาประมาณ 4-5 ปีแล้ว ทาง ธ.ก.ส. ได้ให้ทุนในส่วนของการหมุนเวียน พัฒนาที่ดิน ให้เรื่องน้ำหมักต่างๆ ทางด้านสหกรณ์มาคุยถึงเรื่องของการรวมกลุ่ม ทางพาณิชย์มาดูถึงเรื่องของการตลาด ทางฝ่ายบัญชีก็ดูในส่วนของตัวเลขจดบันทึกค่าใช้จ่าย ชลประทานดูเรื่องน้ำ ประมงมาดูเรื่องของการเลี้ยงปลาในสวน พืชสวนก็มาดูเรื่องของการปลูกผักใต้โคนเงาะ ทางฝนหลวงก็มาดูในเรื่องของอากาศ จริงๆ แล้วพื้นที่ตรงนี้ ประมาณ 5,000-6,000 ไร่ แต่เข้ามาอยู่แปลงใหญ่เพียง 1,000 ไร่เศษ งานในส่วนตรงนี้ถือได้ว่าเป็นงานจิตอาสาเชิงบูรณาการ ที่ภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุนในส่วนของการดูแลและการแนะนำ”

คุณสุวิทย์ บอกว่า ปัญหาปัจจุบันของกลุ่มคือ อายุของสมาชิกกลุ่มยังขาดบุคลากรรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาส่งเสริมตลอดจนการพัฒนากลุ่ม สำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการจัดตั้งแปลงใหญ่ ทางด้านของสมาชิกในปีนี้มีสมาชิกทั้งหมด 118 ราย พื้นที่ 1,000 ไร่เศษ การรวมสินค้ายังไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบัน แปลงใหญ่ยังไม่สามารถรับซื้อทั้งหมด 3,500 ตันได้ ในส่วนของการลดต้นทุนลดได้จริง แต่หากยังไม่ได้หาค่าเฉลี่ยว่าลดได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ตามความต้องการหรือไม่ ในส่วนของการเพิ่มผลผลิตสามารถเพิ่มผลผลิตได้ โดยสมาชิกทั้ง 118 คน ได้รับ จีเอพี (GAP) เป็นการรับรองมาตรฐานการผลิตทั้ง 118 คน

คุณกรุณา บอกว่า ผลผลิตต่อต้นของเงาะที่อายุ 40 ปี ให้ผลผลิตต่อต้นไม่ต่ำกว่า 500 กิโลกรัม คุณยงยุทธ และ คุณกรุณา ให้ข้อมูลว่า คุณสมบัติของเงาะที่จะส่งออก ขนาดไม่เกิน 25-30 ผล ต่อกิโลกรัม สีของเปลือกเงาะไม่แดงจัด ลูกเงาะไม่มีตำหนิ ผลเงาะสะอาด ไม่มีสารหรือสิ่งตกค้าง

ตลาดเงาะส่วนใหญ่อยู่โซนเอเชีย ราคาเงาะช่วงปี พ.ศ. 2561 มีการเปรียบเทียบราคาตามกลไกตลาด อยู่ที่ 15-16 บาท หากราคาต่ำกว่า 8 บาท ซึ่งเป็นราคาต้นทุน ผู้ปลูกอาจจะอยู่ไม่ได้ ที่ผ่านมามีการส่งเงาะไปต่างประเทศ โดยมีบริษัทเอกชนมารับซื้อ แต่ส่วนใหญ่แล้วผลผลิตยังส่งกันในประเทศ

คุณกรุณา บอกว่า ลูกๆ ของตนเองหลังจากที่จบการศึกษาได้มีการต่อยอดทำผลิตภัณฑ์เงาะอบแห้ง เงาะฟรีซดราย ที่มีรสชาติอร่อย และเงาะสดเกรดพรีเมี่ยม ปัจจุบันมีบริการจัดส่งทั่วประเทศไทย ติดต่อ คุณปิ๊ก โทร. 084-496-6525 และ 080-926-2209

เจ้าของถิ่นบอกว่า ตำบลเพิ่มพูนทรัย์ มีภูมิประเทศสวยงาม มีผลไม้อร่อยขึ้นชื่ออย่าง เงาะโรงเรียน ทุเรียน และผลไม้อื่นๆ ผู้สนใจเข้าไปท่องเที่ยว มีที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์และรีสอร์ตไว้บริการ

ปฏิทินการดูแลรักษาเงาะโรงเรียนให้มีคุณภาพ

ตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (เงาะโรงเรียน) ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

มกราคม-มีนาคม…เตรียมการออกดอก

โดยการใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 หรือ 12-24-12 อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อต้น เมื่อเงาะมีใบแก่และสมบูรณ์เต็มที่ก็หยุดให้น้ำ โดยให้ผ่านช่วงแล้ง 21-30 วัน เพื่อชักนำการออกดอก ทั้งนี้ เพื่อให้เงาะกระทบแล้งได้เร็วโดยการทำความสะอาดใต้ทรงพุ่ม กวาดเศษวัชพืช เศษใบไม้ออก เมื่อสังเกตเห็นใบแก่ที่อยู่ปลายช่อตั้งชันขึ้น มีอาการใบห่อตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ก็จัดการให้น้ำในปริมาณที่มากทันที แล้วหยุดรอดูอาการ 7-10 วัน

เมษายน…การพัฒนาตาดอก

เมื่อตายอดมีการพัฒนาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทอง ก็เริ่มให้น้ำปกติ แต่ถ้าสังเกตตายอดพัฒนาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเขียว หรือสีเขียวน้ำตาลแสดงว่าน้ำมากเกิน ทำให้ตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทน ต้องหยุดให้น้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้ง

พฤษภาคม…ส่งเสริมการติดผล

เมื่อเงาะดอกบานต้องช่วยผสมเกสร kodiakcamera.com โดยการนำช่อดอกเกสรตัวผู้มาเกาะเกี่ยวกับช่อดอกตัวเมียที่บานแล้ว หรือรวบรวมละอองเกสรตัวผู้มาผสมน้ำแล้วฉีดพ่น หรือใช้สารเคมี NAA ฉีดพ่นให้ทั่วต้น ตัวเมียเมื่อช่อดอกบานได้ 5% บนต้น หรือการเลี้ยงผึ้งชันโรงในสวนเงาะเพื่อช่วยผสมเกสร

มิถุนายน…การพัฒนาของผล

โดยการใช้ปุ๋ยทางดิน สูตร 12-12-17+2 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อต้น หรือใช้ร่วมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้ทำให้ผลผลิตเงาะเพิ่มขึ้น และทำให้สัดส่วนเงาะมีคุณภาพมากขึ้นด้วย

กรกฎาคม-กันยายน…เก็บเกี่ยวผลผลิต

อายุที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวเงาะโรงเรียน ประมาณ 16-17 สัปดาห์ หลังดอกบาน หรือประมาณ 20 วัน หลังจากผลเงาะเริ่มเปลี่ยนสี ควรใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดผลทีละช่อ ควรมีผ้าพลาสติกหรือตาข่ายพรางแสงรองเพื่อกันกระแทก ไม่ควรปล่อยให้ผลเงาะร่วงหล่นลงบนพื้นโดยตรง เพราะทำให้ผลช้ำ ขนหักเสียหายได้ก่อนการคัดแยกส่งตลาดโดยการล้างน้ำให้สะอาดด้วย

ตุลาคม-ธันวาคม…เตรียมความพร้อมในปีต่อไป

เตรียมความพร้อมโดยการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ต้นละ 1-2 กิโลกรัม และปุ๋ยยูเรีย ต้นละ 1 กิโลกรัม พร้อมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ พร้อมกับการให้น้ำปกติ สิทธิพร รัตนภิรมย์ เกษตรอำเภอบ้านนาสาร

พูดถึง เงาะโรงเรียน อร่อยล้ำเลิศ

ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยและมีชื่อเสียงทางด้านเงาะคุณภาพดี คุณภาพโดดเด่น ต้องยกให้ “เงาะนาสาร”

ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสิทธิพร รัตนภิรมย์ เกษตรอำเภอบ้านนาสาร ถึงสถานการณ์เงาะนาสารในปัจจุบัน ข้อมูลจาก สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาสาร ระบุว่า เงาะโรงเรียนนาสาร ถือเป็นเงาะที่มีชื่อเสียงมานาน มีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ ผลใหญ่ สีสด เนื้อล่อน กรอบ รสชาติหวาน กลิ่นหอม ปลูกมากในเขตอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี…มีประวัติเล่าว่า ประมาณปี พ.ศ. 2468 มีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ชื่อ นายเค หว่อง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปีนัง เดินทางเข้ามาประเทศไทย ทำเหมืองแร่ดีบุกในพื้นที่ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนำเมล็ดเงาะมาเพาะปลูกด้วย จากนั้น ปี พ.ศ. 2497 ได้ขายกิจการเหมืองแร่ และขายที่ ต่อมาที่บริเวณนั้นได้สร้างเป็นโรงเรียน ซึ่งมีเงาะของ นาย เค หว่อง ขึ้นอยู่ เพราะเงาะมีคุณสมบัติดีเด่น จึงมีการขยายพันธุ์ปลูกต่อๆ กัน แล้วเรียกว่า เงาะโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นายชัช อุตตมางกูร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะใหม่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้มีพระราชดำรัสว่า ชื่อ “เงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว” นับแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้เรียกว่า “เงาะโรงเรียน” อย่างเป็นทางการ

คุณสิทธิพร ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกเงาะบ้านนาสารมีประมาณ 20,000 ไร่ ถือเป็นแหล่งปลูกที่เยอะที่สุด ความโดดเด่นของเงาะนาสารคือ กลิ่นหอม รสชาติหวาน และมีความกรอบอร่อยที่ถือเป็นอันดับหนึ่ง พื้นที่อำเภอบ้านนาสารส่วนใหญ่มีแร่ยิปซัมอยู่ใต้ดิน ซึ่งยิปซัมถือเป็นแหล่งแร่ที่ช่วยให้เงาะมีเนื้อกรอบ พื้นที่ดินปลูกเป็นดินร่วนปนทราย ในส่วนของการระบายน้ำดี ผลผลิตขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี