ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นโดยเฉพาะสมบัติทางกายภาพของดิน

อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุ อาหารพืชอย่างช้าๆ ทำให้ธาตุอาหารคงอยู่ในดินได้นาน และช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์ในดินโดยเฉพาะพวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

– ปรับสภาพดินให้เป็นกลาง แก้ปัญหาภาวะดินเป็นกรด เป็นด่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตให้ขึ้นได้อย่างชัดเจน

วิธีใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา 5 ดาว ในดินปกติทั่วไป ใช้ประมาณ 50 ก.ก./ไร่ ส่วนดินเสื่อมโทรม ใช้ประมาณ 100 ก.ก. ต่อไร่

นาข้าว กรณีที่เกษตรกรไม่เคยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาก่อน ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 2 ส่วน ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน เมื่อผสมเสร็จแล้ว ให้หว่านเลยอย่าทิ้งไว้ หรือหว่านอินทรีย์ลงไปก่อนแล้วจึงหว่านเคมีตามไปทีหลัง สำหรับในปีที่ 2 ให้เพิ่มอินทรีย์เป็น 3 ส่วน และเคมี 1 ส่วน ในปีต่อๆ ไป ก็ค่อยๆ ลดเคมีลง

ยางพารา กรณีที่ใช้กับยางอ่อนที่ยังไม่ตัดน้ำยาง ให้ใช้ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อต้น จะช่วยให้โตเร็ว ต้นสมบูรณ์ เปลือกนิ่ม กรณีที่ใช้กับยางพาราที่ตัดแล้ว ควรใช้อย่างน้อย 1 กิโลกรัม ต่อต้น จะช่วยให้ยางกรีดง่าย มีน้ำยางมาก

ปาล์ม กรณีที่เป็นปาล์มเล็ก อายุ 1-3 ปี ให้ใส่ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อต้น จะช่วยให้ต้นโตเร็ว ได้ผลผลิตตามอายุ กรณีที่ปาล์มอยู่ในระยะให้ผลแล้ว หรือ 5 ปีขึ้นไป ใช้ 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น จะทำให้ลูกดกใหญ่ ให้น้ำมันมาก ป้องกันโรคขาดโบรอน

พืชไร่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ จะช่วยให้ต้นโตเร็ว ผลผลิตต่อไร่สูง เพิ่มน้ำหนัก แข็งแรง ทนทานต่อโรค

“ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตรา 5 ดาว ที่ผลิตเองใช้เองและออกจำหน่ายได้ ผู้ใช้ยังไม่ทอดทิ้ง ยังใช้คงเดิม และขยายตัวกว้างขวางขึ้น เพราะมีการบอกปากต่อปากกันตลอดมา”

ความนิยมดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนในปัจจุบัน นับวันกระแสจะแรงมาก เนื่องจากเชื่อว่าน้ำมะพร้าวมีประโยชน์ต่อร่างกาย น้ำมะพร้าว ช่วยลดการกระหายได้ดีกว่าเครื่องดื่มหลายชนิด แต่สิ่งหนึ่งที่มีปัญหา คือ แหล่งที่ขายมะพร้าวอ่อน หรือที่บ้าน นิยมรับประทานมะพร้าวอ่อน ส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์เจาะมะพร้าวอ่อน การปอก หรือเจาะ โดยเฉพาะสุภาพสตรีจะมีปัญหามากในการปอกมะพร้าว ถ้าเป็นคนทำสวนทำไร่ ถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ที่ผ่านมาพบว่า คนในเมืองที่เป็นสุภาพสตรี จะนิยมดื่มน้ำมะพร้าวกันมาก โดยเฉพาะผู้สูงวัย เมื่อซื้อกันมาเป็นทะลายๆ เพื่อเก็บไว้บริโภค ปัญหาจึงตามมา หากซื้อดื่มตามร้านค้าและรถเข็น ผู้ขายก็จะปาดและเจาะให้ดื่มน้ำมะพร้าวได้

ปัญหาอย่างนี้ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี จังหวัดราชบุรี จึงคิดค้นหาวิธีดื่มน้ำมะพร้าวได้สะดวกและปลอดภัย โดยเฉพาะสุภาพสตรีและผู้สูงวัย หากใช้มีดอีโต้ หรือมีดทำครัวที่ต้องมีขนาดใหญ่ปาดมะพร้าว อาจจะเกิดอันตรายบาดเจ็บได้ และมีดส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก เมื่อไม่ใช้จะมีออกไซด์หรือสนิมจับที่ผิว หากนำไปใช้อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนได้ อีกทั้งทำให้น้ำมะพร้าวเปลี่ยนกลิ่น รสได้

ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหาวิธีเจาะมะพร้าวอ่อนอยู่หลากหลาย แต่สิ่งประดิษฐ์บางชนิดจะใหญ่ และยากต่อการเคลื่อนย้าย บางชนิดเหมาะที่จะใช้ในธุรกิจค้าขายมากกว่าจะใช้ในครัวเรือน และบางชนิดมีขั้นตอนที่ยุ่งอยาก กว่าจะได้ดื่มน้ำมะพร้าวสักครั้ง แต่สิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์เจาะมะพร้าวอ่อน ของกลุ่มนักศึกษาแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี สามารถตอบโจทย์ความง่าย ต่อการใช้และพกติดตัวใช้ได้ในครัวเรือน และกลุ่มผู้ขายน้ำมะพร้าวอ่อน โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะต้องทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม

คุณลักษณะของอุปกรณ์

อุปกรณ์เจาะมะพร้าวอ่อน ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม เกรด 304 ซึ่งมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรมอาหาร

ส่วนประกอบ

1.หลอดเจาะมะพร้าว ซึ่งเป็นท่อเหล็กกล้าไร้สนิม เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร ยาว 120 มิลลิเมตร 1 ท่อน ราคาประมาณ 25 บาท 2. สเตนเลสเส้นตัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 มิลลิเมตร ยาว 150 มิลลิเมตร ราคาประมาณ 30 บาท

3.ตัวรับแรงกระแทก ทรงครึ่งวงกลม เป็นไร้กล้า 51 มิลลิเมตร 1 อัน ราคาประมาณ 20 บาท

4.น็อต 6 มิลลิเมตร 1 ตัว ราคาประมาณ 5 บาท

5.อื่นๆ ราคาประมาณ 70 บาท

นำท่อเหล็กกล้าไร้สนิมมาเชื่อมกับตัวรับแรงกระแทก ซึ่งเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมครึ่งวงกลม อีกด้านหนึ่งปาดท่อเป็นมุมเฉียง เพื่อเจาะมะพร้าว

งบประมาณทั้งหมด ประมาณ 150 บาท ทั้งหมดมีน้ำหนักรวม 120 กรัม น้ำหนักเบาพกพาไปได้สะดวก 1.ขันน็อตดึงแกนกระทุ้งออกจากหลอดเจาะมะพร้าว

2.นำหลอดเจาะ เจาะบริเวณข้างจุกมะพร้าว หรือใช้ปลายตัดเฉียงหลอดเจาะ งัดจุกมะพร้าวออก เจาะตรงกลาง หรือตรงตามะพร้าว โดยใช้อุ้งมือกระแทกอุปกรณ์

3.ดึงหลอดเจาะออก ใช้หลอดดูดดื่มน้ำมะพร้าว

การเก็บรักษา

1.ใช้แกนกระทุ้ง กระทุ้งไส้มะพร้าวที่ตกค้างอยู่ในแท่งหลอดเจาะมะพร้าวออก

2.ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ เช็ดให้แห้ง

3.ประกอบหลอดเจาะมะพร้าว กับแกนกระทุ้งยึดด้วยน็อต

4.เก็บไว้ในที่เหมาะสมสะดวกต่อการใช้งาน

ประโยชน์ที่ได้รับ

มีความสะดวกในการเจาะมะพร้าวอ่อน เป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยและถูกสุขอนามัย สำหรับท่านใดต้องการซื้อหาอุปกรณ์ชนิดนี้ไว้ใช้ สามารถติดต่อสอบถามได้ ที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี จังหวัดราชบุรี โทร. 032-337-228, 089-138-2504 ถือว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้

กล้วยน้ำว้า ในประเทศไทย พบว่ามีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือเอาไปทำกล้วยแผ่นอบ ก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมาก เหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลือง

กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ กล้วยดีที่เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น ที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้หน่อกล้วยน้ำว้านวลจันทร์ บางคนเรียก กล้วยน้ำว้าเงิน หรือ กล้วยน้ำว้าหนัง เริ่มแรกนำมาปลูกแซมเพื่อเป็นร่มเงาให้ไม้ประธาน เมื่อออกเครือปรากฏว่า ลักษณะของผลขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าชนิดอื่น ผลป้อม ทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม ผลดิบมีสีเขียวขาวนวล ผิวผลมีสีขาวกว่ากล้วยน้ำว้าพันธุ์อื่น ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองนวล เนื้อผลสีขาวอมชมพู รสชาติหวานจัด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ปัจจุบันทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้นำกล้วยน้ำว้านวลจันทร์มาแปรรูปเป็นกล้วยอบลมร้อน มีรสชาติอร่อยมาก และกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และรสชาติอร่อยมาก

การปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้านั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องมีน้ำให้ไม่ขาดแคลน แต่ในบางพื้นที่ที่แหล่งน้ำไม่สมบูรณ์ก็จะเลือกที่จะปลูกกล้วยในช่วงต้นฤดูฝน ราวปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม เพื่อลดภาระในการให้น้ำ และที่สำคัญต้นกล้วยจะตั้งตัวได้เร็ว โดยหลังจากปลูกได้เพียง 1 เดือน ต้นกล้วยก็จะมียอดใหม่โผล่เหนือพื้นดิน

ส่วนขยายพันธุ์ของกล้วยสามารถใช้ได้หลายแบบ เช่น “หน่อกล้วย” ที่ใช้ได้ทั้งหน่ออ่อน คือ เป็นหน่อขนาดเล็ก เพิ่งแทงออกมาจากต้นแม่ ยังไม่มีใบให้เห็น หน่อใบแคบเป็นหน่อที่พอจะมีใบบ้าง แต่ใบจะมีลักษณะเรียวเล็ก ชาวสวนมักเรียกหน่อชนิดดังกล่าวว่า “หน่อดาบ” หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบโตกว้าง คล้ายกับใบจริง ส่วนของ “เหง้า” เป็นเหง้าหน่อกล้วยที่ต้นโตแล้ว แต่ยังไม่ตกผล เมื่อปลูกเราจะตัดยอดหรือลำต้นออก ส่วนของ “ตา” เหง้าหรือหน่อที่ตกผลแล้วหรือยังไม่ตกผล ถ้ามีขนาดใหญ่พอจะมีตาอยู่หลายตา ซึ่งเราสามารถตัดเหง้าของหน่อ แล้วใช้มีดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เอาไปปลูกในแปลงหรือชำลงกระบะหรือในถุงดำที่บรรจุขี้เถ้าแกลบ ไม่นานตาเหล่านั้นจะกลายเป็นต้นกล้วยขนาดเล็กให้เราได้แยกปลูกลงแปลงต่อไป แต่วิธีดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะขั้นตอนยุ่งยากเหมาะกับการขยายพันธุ์กล้วยที่มีจำนวนน้อย หรือมีราคาแพง

การขุดแยกหน่อจากต้นแม่นั้น ต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำมากนัก ควรใช้เสียมที่มีความคมแทงให้ขาดเพียง 1-2 ครั้ง เมื่อขุดขึ้นมาแล้วก็ใช้มีดปาดเอาส่วนของรากออกให้หมด เมื่อเวลาเรานำไปปลูกกล้วยจะสร้างรากใหม่ขึ้นมา ส่วนหน่อที่มีใบมากจนเกินไปก็ให้ลิดตัดใบออกบ้าง หรือหน่อมีความสูงหรือมีขนาดใหญ่จนเกินไปก็ให้ตัดเฉือนลำต้นให้สั้นลง แต่ถ้าเป็นไปได้การตัดทอนยอดหรือต้นกล้วยควรตัดก่อนที่จะแยกออกจากต้นแม่ ซึ่งการตัดยอดหรือลำต้นของกล้วยไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกัน กลับทำให้ลำของหน่อกล้วยมีโคนที่ใหญ่อวบอ้วนขึ้น เนื่องจากอาหารจากเหง้าไม่ต้องเลี้ยงยอดและใบ อาหารจึงไปสะสมและสร้างโคนให้ขึ้นนั่นเอง โดยหน่อที่แยกไปจากต้นแม่สามารถนำไปปลูกได้ทันที หรือถ้ายังไม่พร้อมก็สามารถเก็บรักษาไว้ในที่ร่มได้ก่อนนานนับสัปดาห์

การปลูก ในพื้นที่รกควรดายหญ้า หรือไถพรวนเสียก่อน ก่อนการปลูก 7-10 วัน เพื่อปราบวัชพืชและทำให้ดินร่วนโปร่ง สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจำเป็นต้องยกร่องเสียก่อน ระยะปลูกกล้วยนั้นมีความสำคัญมาก ถ้าปลูกชิดกันมากเกินไปก็จะทำให้เกิดร่มเงา ทำให้หน่อที่งอกขึ้นมาใหม่จะไม่ค่อยแข็งแรง ลำต้นเรียวเล็ก เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอนั่นเอง ฉะนั้น การเลือกระยะปลูกต้องคำนึงถึงแสงแดด ความสมบูรณ์ของดินและชนิดของพันธุ์กล้วยประกอบกัน

สำหรับการปลูกกล้วยบนพื้นที่ราบ หลังจากกำจัดวัชพืชขุดดินหรือไถพรวนเรียบร้อยแล้ว ตากดินราว 7-10 วัน ก็จะขุดหลุม ขนาด 50×50 ซ.ม. กองดินชั้นบน (หน้าดิน) ไว้ด้านหนึ่ง ส่วนดินชั้นล่างก็จะกองไปอีกด้านหนึ่งของหลุม จากนั้นให้ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วยเพื่อเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำหน่อกล้วยที่เตรียมไว้วางหน่อกล้วยลงกลางหลุม

ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีในทิศทางเดียวกันทุกหลุม โดยกล้วยจะแทงปลีออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลนั่นเอง เมื่อวางหน่อเรียบร้อยก็จะนำดินส่วนที่เหลือกลบหลุมให้แน่น ถ้าเป็นการปลูกกล้วยในช่วงฤดูฝนก็ควรพูนดินให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูอื่นก็ไม่จำเป็นต้องพูนดินสูง เพราะเวลาให้น้ำ น้ำที่ให้จะได้ไม่ไหลออกไป ส่วนการปลูกกล้วยแบบยกร่อง มักจะพบเห็นในพื้นที่ในเขตภาคกลาง โดยเฉพาะกล้วยหอมที่มักจะนิยมปลูกกล้วยริมสันร่องทั้ง 2 ข้าง โดยตรงกลางจะเว้นเป็นทางเดิน โดยจะใช้ระยะปลูกถี่เพียง 3 เมตร เพราะเกษตรกรมักจะปลูกกล้วยใหม่ทุกปี และการวางหน่อปลูกก็จะนิยมหันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อไปทางร่องน้ำ เพื่อให้กล้วยตกเครือมาในทิศทางร่องทางเดิน เพื่อจะสะดวกในการเก็บเกี่ยวนั่นเอง

การให้น้ำแก่ต้นกล้วย แม้ว่าต้นกล้วยเป็นพืชที่ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี แต่ถ้าปลูกกล้วยเป็นการค้า การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกล้วยมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยกล้วยเป็นพืชใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ และน้ำจะช่วยส่งเสริมเรื่องของการเจริญเติบโต ยกตัวอย่าง เช่น ในช่วงหน้าแล้งจึงไม่ควรให้ต้นกล้วยขาดน้ำ หน้าดิน ควรมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพราะรากกล้วยส่วนใหญ่จะเจริญและแผ่กระจายเป็นจำนวนมากบริเวณผิวดิน วิธีการให้น้ำแก่ต้นกล้วยมีหลายวิธี เช่น ใช้สายยางเดินรด, ติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ปล่อยน้ำเข้าร่องปลูก ฯลฯ

การใส่ปุ๋ยแก่ต้นกล้วย ค่อนข้างมีความสำคัญส่งผลถึงการเจริญเติบโต และผลผลิตที่จะออกมา โดยเกษตรกรมักจะเน้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราการให้ประมาณ 200-300 กรัม หรือเฉลี่ย 1 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี โดยจะแบ่งใส่ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 จะใส่หลังปลูกหน่อกล้วยไปแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ก็จะมีการให้ปุ๋ย ครั้งที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 4 เกษตรกรหลายรายที่ใส่ใจในเรื่องของรสชาติ ก็มักจะเปลี่ยนจากสูตร 16-16-16 มาใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ก่อนการเก็บเกี่ยว

การตัดแต่งหน่อกล้วย หลังจากปลูกกล้วยได้ประมาณ 5-6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อย ซึ่งเราควรเลือกไว้หน่อเพียง 2 หน่อแรกก็เพียงพอ เพื่อเตรียมไว้ทดแทนต้นแม่เดิมที่จะต้องถูกตัดทิ้งในอนาคต หน่อใหม่ที่เลือกควรอยู่ตรงกันข้ามกันของลำต้นเดิม โดยหน่อแรกๆ นั้นจะมีรากลึกและแข็งแรงถือว่าดีที่สุด ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลัง ชาวสวนมักเรียกว่า “หน่อตาม” ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมา จะทำให้กล้วยเครือเล็กลง จึงทำลายทิ้งเสียโดยการทำลายหน่อกล้วย ก็อาจจะวิธีการขุดหน่อออก แต่ต้องกระทำเฉพาะตอนที่กล้วยยังไม่ตกเครือเท่านั้น เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยชะงักทำให้ผลกล้วยเล็กลงได้

การตัดแต่งใบกล้วย เนื่องจากใบกล้วยมีใบเจริญเติบโตออกมาเรื่อยๆ เมื่อใบใหม่ออกมา ใบเก่าก็จะแก่ และแห้งติดลำต้น ชาวสวนต้องหมั่นลอกกาบ ใช้ขอเกี่ยวสางตัดใบกล้วยออก โดยจะสางใบกล้วยที่แห้งและเป็นโรคออกอยู่เสมอ โดยถือหลักว่าถ้าใบแห้งและแก่มีสีเหลืองเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของใบกล้วยก็ควรตัดทิ้ง เพราะถือว่าไม่มีประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงแต่อย่างใด โดยมักจะเลี้ยงใบไม่น้อยกว่า 7-8 ใบ และเมื่อเครือจวนแก่ก็แต่งใบให้เหลือ 4-5 ใบ ก็เพียงพอ

การค้ำต้นกล้วย เมื่อเครือกล้วยใกล้แก่ มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จะทำให้ต้นโค่นล้มได้ง่าย หรือมีลมพัดแรงๆ ชาวสวนต้องมีไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนที่มีง่ามไว้ค้ำยันเครือกล้วย

เมื่อกล้วยมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน นับตั้งแต่วันปลูกกล้วยน้ำว้า (รวมถึงกล้วยไข่, กล้วยหอม) จะออกปลีในระยะใกล้เคียงกัน ก่อนที่กล้วยจะแทงปลีจะสังเกตได้ว่ากล้วยจะแทง “ใบธง” คือ ใบจะมีลักษณะไม่เหมือนใบทั่วไป เป็นใบขนาดเล็ก ใบชี้ตรงขึ้นท้องฟ้า เมื่อเห็นใบธง เป็นสัญญาณให้เราทราบว่า กล้วยของเรากำลังจะออกปลี ซึ่งปลีกล้วยจะโผล่พ้นตายอดแล้วจะเริ่มทยอยบานให้เห็นดอกกล้วย (หวีกล้วย) ดอกจะบานไล่เวียนลงมา ซึ่งจะเจริญเป็นหวีกล้วยต่อไป ไม่นานปลีจะบานถึงดอกกล้วย หรือ หวีกล้วย ซึ่งมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์อยู่ส่วนปลายของปลี

ซึ่งชาวสวนกล้วยเรียก “หวีตีนเต่า” โดยช่วงระยะเวลาการบานของดอกกล้วยจะใช้เวลาประมาณ 10-17 วัน หลังจากตกปลี เมื่อเห็นว่าดอกกล้วยบานเกือบสุดแล้ว ก็ต้องตัดปลีออก เพื่อช่วยให้ผลกล้วยมีการเติบโตได้เต็มที่ กล้วยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 100-110 วัน หลังจากปลีโผล่พ้นยอดออกมา หรือสังเกตที่ผลกล้วยในส่วนรวมของเครือว่าจะมีลักษณะผลค่อนข้างกลมไม่เป็นเหลี่ยม

การเก็บเกี่ยวกล้วยเมื่อเห็นว่าผลแก่ ก็ให้เก็บเอาไม้ค้ำเครือกล้วยออก การตัดเครือกล้วยก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง แนะนำให้ใช้มีดฟันที่กลางลำต้นกล้วยให้ลึก พอที่จะทำให้ลำต้นกล้วยจะค่อยเอนโน้มมาในทิศทางของผู้รับยืนอยู่ หากไม่มีความชำนาญก็ต้องช่วยกันตัดกล้วยสัก 2 คน โดยคนหนึ่งตัด อีกคนคอยรับเครือกล้วย เมื่อตัดเครือกล้วยลงมาได้แล้ว ให้นำเครือกล้วยให้ตั้งปลายเครือกล้วยขึ้นข้างบน ให้รอยตัดอยู่ข้างล่าง ตั้งกับพื้น เพื่อไม่ให้ยางกล้วยไหลย้อนลงมาเปื้อนหวีกล้วย กัดผิวกล้วย

เกษตรกรในจังหวัดสงขลา ได้เริ่มหันมาปลูกส้มหัวจุกกันมาก ซึ่งเป็นส้มพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ เนื่องจากเป็นส้มที่ตลาด มีความต้องการสูงและหายาก อีกทั้งราคาดี และเป็นผลไม้เศรษฐกิจทางเลือกใหม่ ที่สามารถจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างงดงามในแต่ละปี

คุณธีรพงษ์ ทองวงศ์ บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้พกเอาความรู้ และอุดมการณ์จากรั้วพ่อขุน อาสาลงสมัครการเมืองท้องถิ่นที่บ้านเกิดได้เพียงสมัยเดียว ก็หันหลังให้กับการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น มายึดอาชีพเกษตรกรรมตามรอยบรรพบุรุษบ้านไร่อ้อย หมู่ 5 ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยโค่นต้นยาง เพื่อนำที่ดินสวนยางพารา 6 ไร่ มาปลูกส้มหัวจุก ทำให้หลายคนแปลกใจ ที่กล้าตัดต้นยางทิ้ง ทั้งๆ ที่ราคาน้ำยางและยางแผ่นสูง

คุณธีรพงษ์ ใช้เวลาเพียง 3 ปี ก็ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันมีส้มหัวจุกที่กำลังให้ผลผลิตออกสู่ตลาด 150 ต้น มีแม่ค้ามารับซื้อถึงที่สวน เพื่อส่งขายในตลาดหาดใหญ่ ในราคาไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 70 บาท และมีปริมาณการสั่งซื้ออย่างไม่จำกัดจำนวน บางครั้งไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยขณะนี้สวนส้มให้ผลผลิตได้ประมาณ 3,000 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี และหากสภาพอากาศเอื้ออำนวย มีการดูแลที่ดี ส้มจุกของคุณธีรพงษ์ สามารถให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 2 เท่าตัว

คุณธีรพงษ์ บอกอีกว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเพาะพันธุ์ส้มหัวจุกของตนเอง เพื่อขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นอีก 2,000 ต้น เพราะเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ที่อนาคตสดใสอีกตัวหนึ่ง นับตั้งแต่เก็บเกี่ยวผลิตมา 4 ปี ราคาไม่เคยต่ำกว่ากิโลกรัมละ 70 บาท

“เพราะส้มพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ ที่กำลังหารับประทานยาก มีพื้นที่การปลูกน้อยลง และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่คนส่วนใหญ่ชอบ เพราะลูกใหญ่ รสหวาน กลมกล่อม อมเปรี้ยว เนื้อหนา และเวลาปอกเปลือกผิวจะหอมมาก”

สำหรับระยะเวลาการปลูก เพียง 3-4 ปี ก็เริ่มให้ผลิตขายได้ คุณธีรพงษ์ บอกเคล็ดลับการปลูกส้มหัวจุกให้ประสบความสำเร็จว่า จะต้องมีระบบการจัดการสวนที่ดี ทั้งการดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย โดยเฉพาะพันธุ์ส้มหัวจุกที่จะนำมาปลูกต้องปลอดโรค โดยคุณธีรพงษ์ซื้อมาจากคณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้มีการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ปลอดโรค ทั้งยังมีระบบการจัดการกับแมลงวันทอง ซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของส้มหัวจุก

คุณธีรพงษ์ ไม่ใช้สารเคดี แต่ใช้สารล่อแมลงไว้ในขวดพลาสติก ซึ่งได้ผลมากกว่า และจะได้ส้มหัวจุกที่มีคุณภาพปลอดสารพิษลูกโต สามารถทำเงินได้อย่างงดงาม ปัจจุบันนอกจากสวนส้มหัวจุกของคุณธีรพงษ์จะประสบความสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ยังกลายเป็นจุดถ่ายทอดความรู้การปลูกส้มหัวจุกประจำตำบลฉลุงอีกด้วย โดยมีหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเกษตรกร เดินทางมาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง และได้ทำเรื่องส่งไปยังกรมวิชาการเกษตรเพื่อให้สวนส้มหัวจุก เป็นแหล่งผลิตพืช GAP หรือพืชปลอดสารพิษ

บรรพบุรุษชาวประมงริมทะเลสาบสงขลา ฝั่งจังหวัดพัทลุง หมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตออกเรือหาปลาเป็นอาชีพหลัก หารายได้มาเลี้ยงครอบครัว บ้านเรือนก็ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบ ซึ่งแต่ละรายมีที่ดินบนฝั่งเพื่อประกอบอาชีพเพาะปลูกน้อยมาก จึงคิดค้นหาวิธีการเพาะปลูกพืชในทะเลสาบ หรือริมฝั่งริมทะเลสาบเพื่อเป็นผลผลิตเลี้ยงครอบครัว บรรพบุรุษของชาวประมงนับร้อยปี จึงได้ทำนาข้าวในทะเลสาบ โดยใช้พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลสาบที่ทอดยาวกว่า 9 กิโลเมตร และถ่ายทอดความรู้วิธีการปลูกข้าวในทะเลสาบมาจนถึงยุคปัจจุบัน

คาดว่าการทำนาข้าวแบบนี้มีแห่งเดียวในประเทศไทย

คุณหนูวาด นิยมแก้ว อายุ 71 ปี บ้านเลขที่ 139 หมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากบรรพบุรุษวิธีการทำนาข้าวในทะเลสาบ บอกว่า ตนทำนาข้าวจำนวน 4 ไร่ บริเวณแห่งนี้มาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว และยังมีเพื่อนบ้านอีกจำนวนหลายครัวเรือนทำนาข้าวบริเวณแห่งนี้รวมแล้วเกือบ 200 ไร่ ตามแนวยาวริมฝั่งทะเลสาบของหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร แต่ตลอดแนวริมทะเลสาบ ที่ทำนาข้าวยาวประมาณ 9 กิโลเมตร โดยหนึ่งปีสามารถทำนาข้าวได้หนึ่งครั้งคือการทำข้าวนาปรัง โดยเริ่มปักดำตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตปลายเดือนกันยายนของทุกปี ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง ซึ่งในช่วงดังกล่าว น้ำในทะเลสาบจะเป็นน้ำกร่อยมีความจืดมากกว่าความเค็ม หากเกินเวลาดังกล่าวจะไม่ได้รับผลผลิตเนื่องจากน้ำทะเลจะหนุนสูงท่วมต้นข้าวเน่าเปื่อยเสียหาย

“ในช่วงนี้สามารถทำนาข้าวได้ เพราะทะเลสาบไม่มีคลื่นลม เรียกว่าช่วงลมพลัด โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ในช่วงเดือนกันยายนนั้นเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวพอดี และจะต้องเก็บเกี่ยวให้เสร็จด้วย เพราะหลังจากเดือนกันยายนแล้ว จะเข้าสู่ช่วงลมนอก แล้วทะเลสาบสงขลาจะมีคลื่นลมแรง หากเก็บเกี่ยวไม่เสร็จข้างจะเสียหายหมด”

วิธีการเพาะปลูกนั้น ต้องหาพันธุ์ข้าวที่ลำต้นแข็งแรง มีรากลึก และต้นข้าวเมื่อเจริญเติบโตแล้วต้องมีความสูง สามารถต้านกับสภาพแรงลมและคลื่นขนาดเล็กที่ซัดเข้าหาฝั่งได้ ดังนั้นจึงนิยมใช้พันธุ์ข้าว กข.33 และพันธุ์ข้าวชัยนาท ผู้ทำนาข้าวในทะเลสาบนั้น จะต้องเตรียมแปลงนาข้าวบริเวณเพาะปลูกเนื่องจากนาข้าวส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่น้ำไม่จมประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำการไถกลบหน้าดินเล็กน้อย อีกส่วนที่จมน้ำประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 30 เซนติเมตร สามารถปักดำได้เลย เนื่องจากเป็นดินเลนและตะกอนที่ทับถม

ขั้นตอน นำเมล็ดพันธุ์ข้าวหว่าน เพื่อเพาะต้นกล้าให้มียาวสูงประมาณ 40-45 เซนติเมตร แล้วนำต้นกล้าปักดำโดยใช้ต้นกล้า 5-6 ต้นต่อหนึ่งกอ ปักดำให้ลึกลงในดินประมาณ 10 เซ็นติเมตร เพื่อให้มีความแข็งแรงต่อคลื่นขนาดเล็กที่พัดเข้าหาต้นกล้าจะไม่ให้หลุดลอยขึ้นมา และปักดำจนเต็มแปลง สำหรับการดูแลรักษานั้นไม่ยุ่งยากและไม่เปลืองเงินไม่ต้องลงทุน เนื่องจากการทำนาข้าวในทะเลสาบนั้น ไม่ต้องใช้ปุ๋ย ไม่ต้องไถนา และไม่ต้องใช้ยากำจัดพืช และบริเวณพื้นที่ทำนาข้าวนั้นจะมีแร่ธาตุจากธรรมชาติทับถมอยู่แล้วจากตะกอนที่ถูกพัดพามาจากท้องทะเลสาบนั้นเอง

“ที่สำคัญมีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตลอดฤดูกาลทำนา junkhost.com เพราะการขึ้นลงของน้ำในทะเลสาบ ซึ่งได้รับผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยคุ้มค่ากับการลงทุน นอกจากนั้นแล้วเมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตยังเป็นแหล่งอาศัยของจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา ขนาดเล็กอีกด้วย ส่วนปริมาณข้าวจะได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ชาวนาริมทะเลสาบสงขลา ไม่ต้องซื้อข้าวกิน และบางรายยังเหลือสามารถขายได้ด้วย การทำนาริมทะเลสาบสงขลา”

นายสุทิน ทองเอ็ม เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ชาวสุโขทัย เปิดเผยว่า อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพของบรรพบุรุษ เนื่องจากพ่อ แม่และญาติพี่น้องส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ประกอบกับมีใจรักในการเกษตร อยากปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคเอง เหลือจากแบ่งปันให้เพื่อนบ้านก็แบ่งจำหน่าย จึงได้ศึกษาจากแปลงที่ประสบผลสำเร็จ แล้วได้ดำเนินกิจกรรมไร่นาสวนผสมด้วยตนเอง โดยในระยะแรก ทำในพื้นที่ของครอบครัวเป็นหลัก

หลังจากได้สมรสก็ได้ลงมือทำในกิจกรรมของตนเองอย่างเต็มที่ ได้นำความรู้จากการศึกษาด้วยตนเอง และดูแบบอย่างที่ประสบผลสำเร็จมาปรับใช้ในแปลง ของตนเอง มีการเพิ่มเติมกิจกรรมเรื่อยมา เน้นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กิจกรรมมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดต้นทุน โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในชีวิตเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในปัจจุบัน ด้วยการ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” เพื่อลดความเสี่ยงและอยู่รอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ตื่นมาไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายนอกบ้าน แต่กลับกันทำให้เรามีรายได้ทุกวันจากผลผลิตที่ปลูกและเลี้ยงไว้ ทั้งผักสดปลอดสารพิษ กบ ปลา ไข่ไก่ ชาวบ้านสามารถมาเดินเก็บ หรือจับขึ้นมาชั่งกิโลเองได้เลย นี่คือแนวคิดใหม่ในการจำหน่ายสินค้า

การผลิตลดความเสี่ยงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีรายได้ต่อเนื่องและยั่งยืน เน้นการทำการเกษตรปลอดสารพิษ มีการใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากกลุ่ม ทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่สำคัญมีบ่อเก็บกักน้ำไว้ใช้อุปโภคและเพื่อการเกษตรได้ตลอดปี ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้แปลงไร่นาสวนผสมตัวอย่างของเกษตรกรในชุมชนและข้างเคียง และได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชนอีกด้วย