ช้าง60ตัว กระเจิง แจ้นเข้าป่าไปบอกต่อโขลง อันตรายอย่าเข้าใกล้

บ้านที่มีรั้วรังผึ้งรั้วรังผึ้ง กรมอุทยานฯป้องกันช้างบุกบ้าน นักวิจัย ลุ้นระทึก ช้าง 60 ตัวออกจากป่าบุกบ้านชาวบ้านแก่งหางแมว แต่ต้องถอยกลับหมด เพราะโดนผึ้งไล่ เผย บ้าน 5 หลังเลี้ยงผึ้งรอบบ้าน 2 ปีมาแล้ว ช้างไม่กล้าเข้าใกล้เลย

เมื่อวันที่ 25 มกราคม นายจิระชัย อาคะจักร หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง ได้นำต้นแบบการใช้ผึ้งมาป้องกันช้างป่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของชาวบ้านมาจากประเทศเคนยา โดยเบื้องต้นนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ติดกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง และพื้นที่ อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ช้างป่ามักจะออกจากป่ามาทำลายพื้ชผลของชาวบ้านเป็นประจำ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในกล่อง แล้วแขวนทำเป็นรั้วล้อมรอบพื้นที่นาข้าว ปรากฏว่าได้ผลค่อนข้างดีมาก เพราะช้างไม่เข้ามารบกวนทำลายพืชผลของชาวบ้านเลย

นางรชยา อาคะจักร นักวิจัยสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง หลักการของการเอาผึ้งไปป้องกันช้างป่าไม่ให้เข้ามาบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม และบ้านเรือน คือ ให้ช้างกับผึ้งกับผึ้งมาเจอกัน โดยผึ้งจะมีลักษณะพิเศษคือหวงรัง ใครมาทำอะไรให้รังกระทบกระเทือนจะต้องออกมาป้องกันรังสุดชีวิต ส่วนช้างจะเป็นสัตว์ที่ขี้กังวล และค่อนข้างกลัวแมลง ทั้งนี้จะมีจุดอ่อนที่ตัว 3 จุด คือ รอบดวงตา ปลายงวง และหลังใบหู วิธีการที่จะเอาผึ้งมาป้องกันไม่ให้ช้างเข้าใกล้บ้านเรือน หรือพื้นที่เกษตรกรรม คือ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในกล่อง ทั้งนี้ผึ้งพันธุ์จะมีลักษณะพิเศษคือ แม้จะถูกรบกวนมากแค่ไหนผึ้งพันธุ์จะไม่ทิ้งรัง แต่ถ้าเป็นผึ้งหลวงหากถูกรบกวนมากๆก็จะทิ้งรังไปเลย อีกทั้งผึ้งพันธุ์ไม่ดุเกินไป แต่ดุในระดับที่สามารถควบคุมจัดการได้

“วิธีการคือ ยกกล่องรังผึ้งที่แขวนไว้กับรั้วสูงขึ้นจากพื้นดินในระดับสายตา เพื่อให้ช้างมองเห็นและรู้สึกเป็นกังวล แขวนกล่องห่างกันกล่องละ 3 เมตร เชื่อมต่อด้วยเชือก ทำให้เชือกแกว่งไปมาได้ เมื่อช้างใช้งวงกระแทก เพราะหลักการคือ เราต้องให้ช้างและผึ้งมาเจอกัน ซึ่งช้างแม้จะเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ก็จริงแต่จะกลัวแมลงทุกชนิดโดยเฉพาะผึ้ง ทั้งนี้ผึ้งที่จะโกรธเมื่อช้างมาบุกรุกรัง และจะบินรบกวนรอบดวงตา ปลายงวง ซึ่งเป็นจุดอ่อนมากๆของช้าง ทำให้ช้างทั้งกลัว ทั้งรำคาญ และจะเดินหรีไปในที่สุด”นางรชยา กล่าว

นางรชยา กล่าวว่า ช้างเป็นสัตว์ที่มีความจำดีมาก ตัวไหนที่มีประสบการณ์ถูกผึ้งไล่ต่อยมาแล้วก็จะจำเอาไว้ และเมื่อกลับเข้าโขลงก็จะไป่ายทอดบอกต่อประสบการดังกล่าวให้กับช้างตัวอื่นๆรู้ว่าหากเจอกล่องอย่าไปเข้าใกล้ให้หลีกหนีให้ไกลห่าง วิธีการดังกล่าวนี้ใช้ได้ผลดีมาก แม้ว่า วัตถุประสงค์ที่ทางกรมอุทยานฯจะไปทำแตกต่างกัน คือ ที่ จ.เลยนั้น ทำเพื่อป้องกันไม่ให้ช้างเข้าไปทำลายพืชผลการเกษตร โดยเอารังผึ้งล้อมรอบแปลงนาเอาไว้ แต่สำหรับที่ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี นั้นไม่เฉพาะแค่ช้างเข้าไปกินพืชผลทางการเกษตรเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเรื่องการบุรุกเข้าไปทำลายข้าวของที่บ้านเรือนประชาชนด้วย

“เราได้เข้าไปส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ล้อมรอบบ้านที่ อ.แก่งหางแมว บริเวณที่มีช้างออกมาบ่อยที่สุดโดยให้เจ้าของบ้าน ทำรั้วรังผึ้งห่างจากตัวบ้านประมาณ 3 เมตร เวลานี้มีทั้งหมด 5 หลัง ที่เราไปทำไว้ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่เคยถูกรบกวนจากโขลงช้างเลย หรือมา แต่ไม่สามารถเข้าไปถึงตัวบ้านได้ ล่าสุด มีช้างออกจากป่ามาไม่ต่ำกว่า 60 ตัว เข้าล้อมรอบบ้านหลังที่เราเลี้ยงผึ้งเอาไว้รอบบ้าน ตอนนั้นเจ้าหน้าที่หลายคนอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย ตัวดิฉันซึ่งทำเรื่องนี้เองแต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับช้าง 60 ตัวอยู่ตรงหน้าใจระทึกเหมือนกัน เกือบจะถ่ายภาพเก็บเอาไว้ไม่ได้ แต่เมื่อเขามาเจอกับรั้วผึ้งของเรา โดนผึ้งตอมหน้าตอมตา ตอมใบหู เขาก็ค่อยๆถอยหลังกลับไปในที่สุด”นางรชยา กล่าว

นักวิจัยเรื่องผึ้ง กรมอุทยานแห่งชาติ กล่าวด้วยว่า ทีมงานที่ทำงานเรื่องนี้ได้พิสูจน์มาแล้วว่า ผึ้งสามารถป้องกันช้างไม่ให้เข้าใกล้บ้าน และแปลงพืชผลการเกษตรได้ หลักการนี้ช้างจะไม่ได้รับอันตราย ไม่มีการบาดเจ็บ และสิ่งที่จะได้ตามมาคือ ชาวบ้านหรือเกษตรกร จะได้ผลพลอยได้จากน้ำผึ้งที่เลี้ยงเอาไว้ด้วย โดยนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานฯแห่งชาติ สั่งให้รับซื้อน้ำผึ้งจากชาวบ้านและเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ทุกคน และรับซื้อทั้งหมด ซึ่งรายได้จากการขายน้ำผึ้งก็นำไปเป็นสวัสดิการในกรมอุทยานต่อไป โดยน้ำผึ้งที่กรมอุทยานฯรับซื้อนั้นกิโลกรัมละ 200 บาท ภายใต้ยี่ห้อ รั้วรังผึ้งกรมอุทยานแห่งชาติ

งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ในวารสารวิชาการ เจอร์นัล เคอร์เรนต์ไบโอโลจี ระบุว่า เต่าตนุ หรือ เต่าทะเลสีเขียว (กรีน ซี เทอร์เทิล ชื่อวิทยาศาสตร์ Chelonia mydas) ที่ขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดของเกาะไรน์ ใกล้ๆ กับเกรตแบริเออร์ รีฟ แนวปะการังเลื่องชื่อของโลกของประเทศออสเตรเลีย ฟักไข่ออกมาเป็นตัวเมียมากถึง 99.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะประชากรยุบตัวหรือสูญพันธุ์ เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิบริเวณชายหาดสูงกว่าปกติ

เมื่อเทียบกับเต่าชนิดเดียวกันที่ฟักออกจากไข่ในบริเวณหาดอื่นๆ ทางตอนใต้ลงมาจากชายหาดดังกล่าว ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า พบว่ามีสัดส่วนของเพศเมียเพียง 65 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง

รายงานวิจัยดังกล่าวให้ข้อมูลไว้ว่า เต่าไม่มีพันธุกรรมที่ใช้สำหรับจำแนกเพศเหมือนในกรณีของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยในกรณีของเต่าทะเลนั้น การจำแนกเพศขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแวดล้อมขณะฟักไข่เป็นสำคัญ ทั้งนี้ อุณหภูมิต่ำที่เย็นกว่าจะทำให้ไข่ฟักเป็นเพศผู้มากกว่า ในขณะที่อุณหภูมิสูงซึ่งทำให้อบอุ่นกว่านั้นจะส่งผลให้ไข่ฟักเป็นเพศเมียมากกว่า

ระดับอุณหภูมิเหมาะสมซึ่งจะทำให้ไข่เต่าฟักออกมาเป็นเพศผู้และเพศเมียพอๆ กัน 50/50 เปอร์เซ็นต์นั้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์และความต่างทางพันธุกรรม รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างกลุ่มเต่าแต่ละกลุ่มที่วางไข่ อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า เต่าจะเลือกวางไข่ให้เหมาะสมกับการฟักเป็นตัวในช่วงที่ผืนทรายมีอุณหภูมิสูงหรืออุ่นกว่าอุณหภูมิเหมาะสมของมันเล็กน้อย ซึ่งส่งผลให้ประชากร

เต่าตัวเมียจะมีมากกว่าประชากรเต่าเพศผู้เล็กน้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิในช่วงของการฟักเปลี่ยนแปลงไป เป็นสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นเพียง 2-3 องศา ก็จะส่งผลให้แทบจะไม่มีเต่าตัวผู้ในบรรดาเต่าที่ฟักออกมาจากไข่เลยแม้แต่ตัวเดียว

ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า เกาะไรน์ซึ่งเป็นพื้นที่วางไข่สำคัญของเต่าตนุในน่านน้ำออสเตรเลีย มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ มานับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 แล้ว และน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เต่าที่ฟักออกมาจากไข่มีแต่เพศเมีย

การตรวจสอบเพศเต่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะไม่สามารถใช้การตรวจสอบเชิงพันธุกรรมได้ เช่นเดียวกับที่เต่าไม่ได้มีอวัยวะแสดงเพศทางกายภาพ จะรู้ได้ก็เมื่อผ่าท้องออกดู ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ โชคดีที่ทีมวิจัยพบว่า หากนำพลาสม่าของเลือดเต่ามาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการได้ ก็สามารถตรวจหาระดับฮอร์โมนที่แตกต่างเพื่อใช้จำแนกเพศของลูกเต่าได้

อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยยอมรับว่า ยังไม่แน่ใจนักว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตเมื่อลูกเต่าที่ฟักออกจากไข่เกือบทั้งหมดเป็นเพศเมีย แต่โดยธรรมชาติแล้วเต่าเพศผู้ผสมพันธุ์บ่อยครั้งมากกว่าเพศเมีย ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีใครรู้เช่นกันว่า เต่าเพศผู้ที่เหลืออยู่จะสามารถทำหน้าที่ทดแทนเต่าตัวผู้อื่นๆ ที่หายไปได้หรือไม่

นอกเหนือจากนั้น นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้ว่าเต่าตัวเมียอาจตัดสินใจเปลี่ยนแปลงพื้นที่วางไข่ เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ทางใต้ลงมาที่อุณหภูมิเย็นกว่า

เพื่อให้รอดพ้นจากภาวะประชากรยุบตัวจนสูญพันธุ์เพราะไม่มีตัวผู้นั่นเอง สายเลือดพ่อแรง สำหรับลูกชายสุดหล่อของดารานักอนุรักษ์ “คุณจ๊อบ – นิธิ สมุทรโคจร” ส่งน้อง “เคนโด้ – ธนิก สมุทรโคจร” เข้าทีม TRASH HERO KIDS ร่วมโครงการป่าในเมือง โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดขึ้นที่จังหวัดระยอง

เรียกได้ว่าเป็นก้าวแรงสำหรับ คุณจ๊อบ นิธิ ที่อาสาส่ง น้องเคนโด้ ธนิก และน้องเคด้า ธนินี เข้ากลุ่ม TRASH HERO KIDS ร่วมโครงการป่าในเมือง ไปลงพื้นที่จริงทำความสะอาด เก็บขยะบริเวณริมทะเลและชายฝั่งเมืองระยอง พร้อมปล่อยพันธุ์ปลาคืนสู่ธรรมชาติ และปลูกป่าชายเลนสร้างบ้านหลังใหญ่ให้สัตว์น้ำ ซึ่งแคมเปญสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการสร้าง และปลูกจิตใต้สำนึกแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้หันมาร่วมกันใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยไทยและมหาวิทยาลัยโลกกับการบริหารจัดการการศึกษาในระดับอุดมศึกษารูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยการจัดการประชุมอธิการบดีนานาชาติ เฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบ 75 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ KU Presidents Forum: In Celebration on the 75th Anniversary of Kasetsart University

ภายใต้หัวข้อหลักของการประชุม “ Higher Educationin Time of Change” ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยเปิดให้อธิการบดี ผู้บริหาร บุคลากร นิสิตและนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในอนาคต ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยในต่างประเทศจำนวน 12 ประเทศ ได้แก่ ฟินแลนด์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เนเธอร์แลนด์ เวียดนาม นิวซีแลนด์ อิตาลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และ ลาว รวม 35 แห่ง มหาวิทยาลัยในประเทศไทย รวม 31 แห่ง เอกอัครราชทูต และผู้แทนจาก 4 ประเทศ

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยในประเทศไทยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่างปรับตัวปรับการทำงานและจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากอดีต ทั้งในด้านเทคโนโลยี ลักษณะงานอาชีพใหม่ๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้จำนวนเยาวชน นิสิต นักศึกษาลดลง มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเน้นการเรียนการสอนในระดับผู้ใหญ่หรือกลุ่มคนวันทำงานมากขึ้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยต้องมุ่งสร้างงานวิจัยที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ หลักสูตรศาสตร์แห่งแผ่นดินของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ และตอบสนองต่อผู้เรียนซึ่งมีความหลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องได้รับปริญญา นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้นำเสนอการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย แลกเปลี่ยนมุมมองกับมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นแบบทางการจัดการศึกษาของโลก

สำหรับพิธีเปิดการประชุมอธิการบดีนานาชาติ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 9.00 น.ที่ห้องประชุม สุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มก.ศาสตราจารย์คลินิค นายแพทย์อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้เกียรติเป็นประธานในพิธี

รูปแบบของการประชุม ประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษและการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประเด็นหลักของการประชุมในช่วงเช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 จะมุ่งเน้นรูปแบบการศึกษาของสังคมปัจจุบันที่ไม่เหมือนเดิมและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มต้นด้วยการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ Global Opportunities and Challenges for University Leaders (โอกาสและความท้าทายของผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั่วโลก) โดย Rector Jukka Kola อธิการบดีของ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ ตามด้วยการปาฐกถาพิเศษอีกหนึ่งหัวข้อ ได้แก่ The Aging Population and Continued Education (ประชากรที่คนสูงอายุมีจำนวนมากขึ้นและการศึกษาต่อเนื่อง)

โดย Vice President Yasushi Maruyama รองอธิการบดีของ University of Hiroshima ประเทศญี่ปุ่น หลังจากการปาฐกถาพิเศษทั้งสองหัวข้อจะเป็นการเสวนาภายใต้ประเด็นหลักที่เกี่ยวกับบทบาทของมหาวิทยาลัยในการเตรียมการศึกษาในสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลง (The Role of the University in the Provision of Education in the Changing Society) มีผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ได้แก่อธิการบดีและรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยและสถาบันคู่สัญญา ได้แก่ International Institute of Asian Studies, Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์ Yangzhou University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน Yamaguchi University ประเทศญี่ปุ่น และ University of Social Sciences and Humanities มหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม ประธานในการเสวนาคือรักษาการอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเด็นหลักของช่วงบ่ายจะมุ่งเน้นบทบาทของมหาวิทยาลัยในการผลิตงานวิจัยที่ยั่งยืนและการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะมีปาฐกถาพิเศษอีกสองหัวข้อ ได้แก่ การส่งเสริมการเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่ออนาคต (Promoting Sustainable and Socially Responsible Universities for the Future) โดย Principal Sir Timothy O’Shea อธิการบดีของ University of Edinburgh ประเทศสหราชอาณาจักร ตามด้วย การบูรณาการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม (Integrating with Different Stakeholders in Creating Sustainable Research and Social Responsibilities for Global Advancement)

โดย President Sun Qixin อธิการบดีของมหาวิทยาลัย China Agricultural University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากการปาฐกถาพิเศษทั้งสองหัวข้อจะเป็นการเสวนาภายใต้ประเด็นหลักที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาใช้ในการให้เชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมสร้างงานวิจัยที่ยั่งยืนและแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Strategies for Involving Diverse Stakeholders in Creating Sustainable Research and University Social Responsibilities) มีผู้ร่วมเสวนาอีก 4 ท่าน ได้แก่ รองอธิการบดีของ Massey University ประเทศนิวซีแลนด์ Università Politecnica delle Marche ประเทศอิตาลี National Pintung University Science and Technology และ National Taiwan Sport University ประธานในการเสวนาคืออธิการบดีของ Kochi University ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้จะเปิดให้ผู้เข้าร่วมงานได้ซักถามและร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่าย

การประชุมอธิการบดีการระดับนานาชาติ KU Presidents Forum จะปิดท้ายด้วยการประชุมระหว่างอธิการบดีจากทุกมหาวิทยาลัยที่มาร่วมงานต่อด้วยงานเลี้ยงอาหารค่ำที่จะเปิดโอกาสให้มีการสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยตลอดจนคณะวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มาร่วมงาน ตามด้วยการร่วมวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยคู่สัญญาบางแห่ง และการเยี่ยมชมนิทรรศการงานวิจัย ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตัวแทนของพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช และนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ลงนามความร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนและผลักดันให้ “อุทยานธรณีโคราช” ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก ในปี 2562 เพื่อให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก หรือ “The UNESCO Triple Crown” ซึ่งในปัจจุบันได้รับการรับรองแล้ว 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช เป็นการสร้างคุณค่าให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ในระดับโลก คาดช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างประโยชน์ให้เกิดกับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. ชี้แจงว่า การลงนามความร่วมมือระหว่าง วว. และจังหวัดนครราชสีมาในครั้งนี้ เป็นการสร้างความร่วมมือเพื่อร่วมกันอนุรักษ์แหล่งและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และร่วมมือโดยเฉพาะในด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาความก้าวหน้าเชิงวิชาการให้เข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ นอกจากนี้ หน่วยงานทั้งสองยังจะได้ร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับ พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช พื้นที่อุทยานธรณีโคราช หรือปริมณฑล รวมทั้งพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

“….สำหรับความร่วมมือระหว่าง วว. และจังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้มีระยะเวลาความร่วมมือ 5 ปี โดยจะร่วมมือเชื่อมโยง คือ แหล่งมรดกโลก พื้นที่สงวนชีวมณฑล และอุทยานธรณีโคราช ตามการดำเนินงาน 3 โปรแกรมของยูเนสโก เพื่อให้จังหวัดนครราชสีมาเป็นดินแดนแห่ง 3 มงกุฎของยูเนสโก หรือ “The UNESCO Triple Crown” ในอนาคต อันจะยังประโยชน์ให้เกิดกับชุมชนท้องถิ่นไปอย่างยั่งยืน…” รองผู้ว่าการ วว.กล่าวสรุป

อนึ่งสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยพื้นป่าเต็งรังและป่าดิบแล้งประมาณ 50,000 ไร่ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ในปี 2519 จึงได้รับการยกย่องให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล 1 ใน 669 แห่ง ใน 120 ประเทศทั่วโลก ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Biosphere Reserve) พื้นที่ชีวมณฑลสะแกราช (Sakaerat Biosphere Reserve) ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้และวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาป่าเขตร้อน (ป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง) ปัจจุบันมีงานวิจัยในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 500 เรื่อง ทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการธรรมชาติสำหรับนักเรียน นักศึกษา ใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อการศึกษาและวิจัยทางด้านธรรมชาติของป่าไม้ และบริเวณโดยรอบของพื้นที่ป่าไม้ ของสถานีฯ ยังมีหมู่บ้านจำนวน 9 หมู่บ้าน ที่อยู่กับป่าไม้ได้อย่างสมดุล ซึ่งเป็นสถานที่เพื่อการวิจัยทางด้านสังคมเศรษฐกิจกับป่าไม้ได้อีกด้านหนึ่ง

นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษาธรรมชาติและพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีแหล่งธรรมชาติของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังที่สมบูรณ์ อุดมด้วยพรรณพืชและพันธุ์สัตว์นานาชนิด มีกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ที่เน้นการถ่ายถอดความรู้ในการอยู่ร่วมกันของธรรมชาติ การพึ่งพาอาศัยได้ประโยชน์ร่วมกัน ความสมดุลของธรรมชาติ วิถีชีวิตตามธรรมชาติของคนใน สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จึงเป็นสถานที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้านทั้งการอนุรักษ์ พัฒนา และสนับสนุนการศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผืนป่าแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “ผืนป่าแห่งการค้นคว้าเพื่อภูมิปัญญาของทุกคนในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” อย่างแท้จริง

การยางแห่งประเทศไทยชี้แจงประเด็นการปั่นกระแสข่าว ปมนักศึกษาลาออกเนื่องจากปัญหาราคายาง ชี้ กยท. มีกองทุนพัฒนายางพารา 49 (5) สวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง สามารถกู้ยืมเป็นทุนการศึกษาแก่บุตรหลานได้ วอนหยุดสร้างกระแสด้านลบ กระทบจิตใจพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ได้จัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า กองทุนพัฒนายางพารา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนายางพารา การใช้จ่ายเงินกองทุนให้กระทำอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนยางเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมา กยท. ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะมาตรา 49 (5) การจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหา เช่น การขอรับความช่วยเหลือกรณีสวนยางประสบภัย การขอรับเงินช่วยเหลือแก่ทายาทของเกษตรกรชาวสวนยางกรณีเกษตรกรชาวสวนยางเสียชีวิต และการขอเงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน