ซอยหอมแดง เจียวให้เหลืองพักไว้ เอาน้ำมันเจียวไปทาถาด

สำหรับอบขนมเปิดเตาอบ เอาน้ำใส่ถาดสำหรับรองถาดอบขนม ประมาณ 1/2 ของถาดใช้ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 10 ฟอง ขยำรวมกับน้ำตาลปี๊บ ใบเตย ให้เข้ากันกรองด้วยผ้าขาวบางนำหัวกะทิ 2.5 ถ้วยตวง ผสมกับแป้งข้าวเจ้าและเกลือใส่เครื่องปั่นรวมกับเมล็ดจำปาดะต้มสุกแล้ว เทผสมกับส่วนผสมในขั้นตอนที่ 3 ตีให้ส่วนผสมเข้ากันตักส่วนผสมที่ได้ใส่ลงในถาดที่ทาด้วยน้ำมันหอมเจียวไว้และอบในเตาขณะที่ยังร้อนๆนำเข้าเตาอบ ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส จนขนมหม้อแกงสุก

1. นำเนื้อจำปาดะปั่นผสมกับไข่และน้ำสะอาดจนได้เนื้อละเอียด
2. แป้งเค้ก น้ำตาลทราย เบคกิ้งโซดา เกลือ ผงฟู ผสมตีด้วยความเร็วต่ำสุด เพื่อไม่ให้แป้งฟุ้งกระจาย แล้วค่อยๆ เร่งความเร็วจนถึงระดับสูงสุด ตีนาน 3 นาที ปิดเครื่อง
3. นำทั้งสองส่วนมาผสมรวมกัน ตีต่อด้วยความเร็วต่ำสุดพอเข้ากัน
4. เทใส่พิมพ์รองด้วยกระดาษไข นำไปอบที่ไฟบน-ล่าง 170 และ 39-45 องศาเซลเซียส จนเนื้อเค้กสุก

กาปงจำปาดะ
ส่วนผสมประกอบด้วย
– เนื้อจำปาดะ 100 กรัม
– แป้งข้าวเจ้า 200 กรัม
– กะทิ 500 มิลลิลิตร (ใช้หัวและหางกะทิผสมกัน)
– น้ำตาลทรายขาว 240 กรัม
– ผงฟู 5 กรัม
– ยีสต์ 2 ช้อนชา
– มะพร้าวทึนทึกขูด 200 กรัม และ
– เกลือสำหรับคลุกกับมะพร้าวทึนทึก โรยหน้าขนม

วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเจ้ากับผงฟู ร่อนสลับกันไปมา 2 ครั้ง ทำหลุมตรงกลาง ใส่ยีสต์และน้ำตาลพักไว้
2. นำเนื้อจำปาดะไปปั่นรวมกับกะทิจนละเอียด ใส่หม้อตั้งไฟคนพออุ่น
3. นำส่วนผสมจากข้อ 2 เทผสมกับส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ค่อยๆ ใช้ตะกร้อมือตีจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน พักไว้ 1 ชั่วโมง
4. นำถ้วยตะไล ใส่ลังถึงนึ่งจนร้อนแล้วตักส่วนผสมของนมที่พักไว้ ลงในถ้วยตะไล แล้วนำไปนึ่งต่ออีก 15 นาที จนสุก ตักออกจากถ้วย
5. นำมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ใส่ภาชนะนึ่ง 10 นาที จากนั้นนำมาคลุกกับเกลือ ไว้สำหรับโรยหน้าขนม

วุ้นกรอบจำปาดะ

ส่วนผสมประกอบด้วย
– เนื้อจำปาดะ 100 กรัม
– น้ำตาลทรายขาว 400 กรัม
– น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง (480 กรัม)
– ผงวุ้น 2 ช้อนโต๊ะ
– แป้งเท้ายายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
– เครื่องปั่นผสมอาหาร และตู้อบลมร้อน (ถ้าไม่มี สามารถใช้วิธีตากแดดแทนได้ )

วิธีทำ
1. นำเนื้อจำปาดะผสมกับน้ำสะอาด ปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องผสมอาหาร
2. ผสมเนื้อจำปาดะที่ได้กับผงวุ้นในหม้อ คนให้ผงวุ้นละลายก่อนนำขึ้นตั้งไฟกลาง สังเกตเมื่อส่วนผสมใส จึงค่อยใส่น้ำตาลทรายคนอย่างต่อเนื่องจนน้ำตาลทรายละลายหมด
3. เคี่ยวต่อจนสารละลายเหนียวหนืดขึ้น
4. แป้งเท้ายายม่อมละลายน้ำเล็กน้อย เทใส่ลงในหม้อเป็นสาย ใช้ทัพพีคนๆ ให้เข้ากัน พอแป้งสุกและส่วนผสมวุ้นเดือดอีกครั้ง ปิดไฟแล้วยกลงจากเตา
5. เทใส่พิมพ์ ขนาดกว้าง 7×7 นิ้ว ตั้งไว้จนแข็งตัว ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
6. นำออกจากพิมพ์ ตัดเป็นชิ้นๆ ใส่ถาด แล้วนำเข้าตู้อบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง หรือนำไปตากแดด ประมาณ 4 แดด หรือจนกว่าวุ้นจะแข็งตัว

หมอเกษตร ทองกวาว แนะวิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากนำจาวปลวก ที่อยู่ภายในจอมปลวก มีขนาดใกล้เคียงกับกะลามะพร้าวผ่าซีก จอมปลวกหนึ่งรังจะมีจาวปลวกหลายอัน มีลักษณะเบา โปร่ง ซุย มีรอยทางเดิน ซอกแซก ทะลุถึงกันได้ จาวปลวกน่าจะเป็นสวนปลูกเห็ดอ่อน เพราะมีเส้นใยขาวเต็มไปหมด สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป

เกษตรกรจะนำจาวปลวกออกมาถู หรือขยี้ให้เป็นฝุ่นโปรยลงบนข้าวเหนียวนึ่งสุก ทิ้งให้เย็น เติมน้ำเล็กน้อยแล้วคลุกให้เข้ากัน คล้ายกับการทำสาโท นำไปหมักในถังพลาสติก ปิดปากถังด้วยผ้าขาวบาง เกษตรกรบางท่านอาจฉีกหมวกเห็ดโคนผสมลงไปด้วยก็มี เก็บในร่ม ปล่อยให้เส้นใยเจริญเพิ่มปริมาณจนมองเห็นสีขาวชัดเจน ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงนำไปหว่านในสวนในร่มรำไร อย่าให้แสงแดดจ้า

ในช่วงแล้งควรสับฟางข้าว หรือนำใบไม้แห้งโรยลงพื้นเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุเป็นอาหารชั้นดีของเห็ด เมื่อเตรียมหัวเชื้อไว้เรียบร้อยแล้วจึงนำไปหว่านลงดิน กะให้พอดีกับต้นฤดูฝน หากฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำให้บ้างเป็นครั้งคราว จากนั้นอีกประมาณ 30-45 วัน จะมีดอกเห็ดปรากฏให้เห็น

ทั้งหมดนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนๆ ในทางวิชาการยังขาดการวิจัยในวิธีดังกล่าว ขอให้ใช้ความพยายามทำซ้ำหลายๆ ครั้ง ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ได้ผลประการใดกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย ขอขอบคุณล่วงหน้า

จังหวัดแพร่ แม้จะมีพื้นที่เหมาะแก่การปลูกผลไม้ได้หลากหลายชนิด แต่ก็ยังไม่มีผลไม้ชนิดใด ที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นสินค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ (GI : Geographical Indications) ทั้งส้มเขียวหวาน ลำไย ลางสาด ลองกอง ทุเรียน แก้วมังกร ส้มโอ หรือแม้แต่กาแฟแพร่

ถ้าหากผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งของจังหวัดแพร่ ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นผลไม้ GI ย่อมส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาคุณภาพไม้ผลของจังหวัดให้มีมาตรฐาน เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลไม้อย่างแน่นอน

ผู้เขียนได้ติดต่อขอข้อมูลกับเกษตรจังหวัดแพร่ เกี่ยวกับแนวความคิด แนวทางที่จะผลักดันการส่งเสริมให้ผลไม้จังหวัดแพร่ ให้ได้รับการจดทะเบียนดังกล่าว แนวความคิดและความเป็นมา ของการผลักดันผลไม้จังหวัดแพร่เป็นผลไม้บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI

คุณประภาส สานอูป เกษตรจังหวัดแพร่ ได้กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าสินค้าเกษตรในกลุ่มไม้ผลซึ่งเป็นพืชสวนที่สร้างมูลค่าให้ประเทศไทยได้มาก โดยผลไม้ในกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ ทุเรียน (คิดเป็นร้อยละ 46.06) รองลงมา ได้แก่ ลำไย (คิดเป็นร้อยละ 37.49) มังคุด (คิดเป็นร้อยละ 9.50) มะม่วง (คิดเป็นร้อยละ 5.27) เงาะ (คิดเป็นร้อยละ 0.72) ลิ้นจี่ (คิดเป็นร้อยละ 0.45) และลองกอง (คิดเป็นร้อยละ 0.06) ในขณะที่ผลไม้พื้นถิ่นซึ่งเป็นผลไม้ในกลุ่มรองก็มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และได้รับความนิยมสูงไม่แพ้กัน โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายในประเทศสูง มีตลาดเฉพาะ

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ส่งเสริมให้นักวิชาการและเกษตรกรคัดเลือกพืชในพื้นที่ขึ้นมาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ เพื่อพัฒนาความรู้ทั้งด้านการผลิต การตลาด และส่งเสริมให้เป็นผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่น ตั้งแต่ปี 2562 เช่น ส้มโอปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สะละป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ทุเรียนชะนีเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด มะม่วงแปดริ้ว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น

ซึ่งจัดเป็นสินค้าสร้างชื่อและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีความพยายามจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันพัฒนาไม้ผลในทุกมิติ เพื่อสอดรับกับกระแสสังคมยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลบางคน หรือบางกลุ่มมีความพยายามที่จะค้นหาวิธีการ หรือรูปแบบต่างๆ ที่จะนำมาใช้ “เน้นให้มีการพัฒนาด้านต่างๆ โดยการสนับสนุนให้มีการทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่กำลังจะตอบโจทย์การทำเกษตรเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งสามารถนำงานวิจัยต่างๆ ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาคุณภาพสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาต่อไปได้ นอกจากจะมีศักยภาพการผลิตและการตลาดที่สูงแล้ว ก็ยังมีความสัมพันธ์ในด้านการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์ ตลอดจนกระแสความนิยมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการจัดแสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการจำหน่ายของกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้ในงานพืชสวนก็มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน” เกษตรจังหวัดแพร่ กล่าว

เกษตรจังหวัดแพร่ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในปีงบประมาณ 2564 กรมส่งเสริมการเกษตร ตระหนักถึงความสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนา การเกษตร เศรษฐกิจและสังคมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งมีเรื่องราวแหล่งกำเนิดสินค้า (story) ที่ทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆ มีความโดดเด่น มีศักยภาพ และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างมูลค่าและนำไปส่งเสริมให้เกษตรกร เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการผลิต และเพิ่มมูลค่าผลผลิต ตลอดจนการแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สามารถพัฒนายกระดับเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI : Geographical Indications) ต่อไป โดยกำหนดขอบเขตการดำเนินงานออกมาใน 2 ลักษณะ คือ

1. เป็นการทำงานในภาพรวม มุ่งเน้นให้นักวิชาการ และเกษตรกร ได้ศึกษาเรียนรู้ สังเกต สำรวจข้อมูลในพื้นที่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสินค้าอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ครอบคลุมทุกภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญของไม้ผล จำนวน 8 จังหวัดในเขตภาคเหนือ
เป็นการทำงานแบบเฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นให้นักวิชาการ และเกษตรกรได้ร่วมกันปฏิบัติงานให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยส่วนกลางได้พิจารณาคัดกรองพื้นที่ดำเนินการไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อจะได้ดำเนินการส่งเสริมสินค้าเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวล้วนเป็นพื้นที่ที่มีฐานการผลิตพืชอัตลักษณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นต้นแบบการขยายผลในอนาคตต่อไป
วัตถุประสงค์ก็เพื่อสร้างอาชีพและรายได้จากสินค้าเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนาช่องทางการตลาด ทั้งเพื่อพัฒนาความรู้ เพิ่มศักยภาพกระบวนการทำงานในพื้นที่สำหรับการพัฒนาสินค้าไม้ผลตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับพื้นที่ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน

ส้มโอเมืองลอง อยู่ในข่ายจะได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

คุณประภาส ได้กล่าวถึงภาพรวมว่า ส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติและเป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป นอกจากนี้ ยังส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สามารถนำเงินเข้าประเทศได้ปีละหลายสิบล้านบาท จนทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอมากขึ้นทุกปี พันธุ์ส้มโอที่ปลูกอยู่ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ปลูกคนละท้องที่ จึงเรียกชื่อแตกต่างกันไป พันธุ์ส้มโอที่ปลูกเพื่อการค้า แบ่งออกเป็นพันธุ์การค้าหลัก ได้แก่ ขาวพวง ขาวทองดี ขาวน้ำผึ้ง เป็นต้น พันธุ์การค้าเฉพาะแห่ง ได้แก่ ขาวแป้น ขาวหอม ขาวแตงกวา ขาวใหญ่ ทับทิมสยาม เป็นต้น

จังหวัดแพร่ มีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ มีวิสัยทัศน์ให้จังหวัดแพร่เป็นเมืองผลไม้หลากหลาย หรือเมืองผลไม้รวม ประกอบกับจุดแข็งของจังหวัดแพร่เป็นประตูสู่ล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) เป็นเมืองชุมทางรถไฟ การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้าเกษตร สามารถกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ได้ง่าย ตลอดจนอนาคตซึ่งรถไฟรางคู่ จะไปถึงจังหวัดเชียงราย ก็สามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ ปัญหาอุปสรรคที่ต้องรีบดำเนินการแก้ไข คือ ภาครัฐต้องหาแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติม เนื่องจากพื้นที่จังหวัดแพร่ประสบกับปัญหาภัยแล้งทุกปี ทำให้คุณภาพและปริมาณของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ การขยายพื้นที่เพิ่มทำได้ยาก เพราะน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการผลิตไม้ผลคุณภาพ หากแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว จะทำให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืนแน่นอน

เกษตรจังหวัดแพร่ได้ให้ข้อมูลว่า จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ปลูกส้มโอ 786 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 เมษายน 2564) ปลูกมากที่อำเภอลอง ส้มโอที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ พันธุ์ขาวแตงกวา พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง และพันธุ์ทองดี เป็นต้น โดยพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกส้มโอและมีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่ ได้แก่ พื้นที่ปลูกส้มโอ อำเภอลอง “พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกส่วนใหญ่ คือพันธุ์ขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง และพันธุ์ทองดี โดยจะเริ่มให้ผลผลิตระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคมของทุกปี โดยตลาดการค้าส่วนใหญ่ส่งขายไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตลาดภายในจังหวัด” เกษตรจังหวัดแพร่ กล่าว

และกล่าวเป็นวิสัยทัศน์ว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาส้มโอจังหวัดแพร่ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งที่ผ่านมาได้ร่วมผลักดันการส่งเสริมการผลิตส้มโอ ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพื่อพัฒนาสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ส้มโอของเกษตรกรจังหวัดแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อีกทางหนึ่ง

ดังนั้น ส้มโอเป็นทางเลือกอีกพืชหนึ่ง ที่มีเกษตรกรปลูกอยู่แล้ว และจังหวัดแพร่ได้มีแนวทางการพัฒนาและการปลูกส้มโอคุณภาพดี ได้แก่

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสวนส้มโอเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น การจัดทำทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ การเพิ่มคุณภาพ โดยให้แต่ละสวนผลิตส้มโอได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน หรือมาตรฐานเดียวกัน ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการจัดหาตลาดรองรับ
2. สร้างสวนส้มโอใหม่ให้เป็นแปลงเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก 8 แปลง แปลงละ 1 ไร่ โดยใช้พันธุ์ขาวแตงกวา มีการจัดทำระบบน้ำให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรรายอื่นๆ ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และมีการแจกกล้าพันธุ์ส้มโอให้กับเกษตรกรที่เข้ารับการอบรม จำนวน 800 ราย รายละ 4 ต้น รวมทั้งหมด 3,200 ต้น เพื่อปลูกภายในบริเวณสวนหลังบ้าน หรือพื้นที่ที่เหมาะสม ให้เกษตรกรได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะความชำนาญ และสามารถขยายพื้นที่ปลูกในอนาคต

คุณประภาส ได้กล่าวถึงกิจกรรมที่จะผลักดันการจดทะเบียนส้มโอเมืองลองเป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย

– อบรมเกษตรกร จำนวน 800 ราย โดยเชิญวิทยากรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และวิทยากรเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ มีประสบการณ์ในด้านนี้ มาถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร

– ศึกษาดูงาน นำเกษตรกร จำนวน 80 ราย และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จำนวน 20 ราย ไปศึกษาดูงานการผลิตและการตลาดส้มโอ เมื่อปี 2563 ณ แปลงใหญ่ส้มโอ ตำบลดอนแฝก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สวนส้มโอไทยทวี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย และแปลงใหญ่ส้มโอ ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อให้เกษตรกรได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ศึกษาเรียนรู้จากเกษตรกรที่ปลูกส้มโอในแหล่งที่มีชื่อเสียงของประเทศ

– การจัดทำแปลงเรียนรู้ ในพื้นที่ 7 อำเภอ 8 แปลง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรปลูกส้มโอในพื้นที่อำเภอนั้นๆ ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ ส่งเสริมไม้ผลอัตลักษณ์ส้มโอตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น (ส้มโอ) โดยมีโครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีกิจกรรมประกอบด้วย
– อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่แก่เกษตรกร จำนวน 50 ราย เมื่อต้นปี 2564 ณ หอประชุมอำเภอลอง จังหวัดแพร่ หลักสูตรการผลิตและขยายพันธุ์ส้มโอ (เทคโนโลยีการผลิต และการขยายพันธุ์ส้มโอ)

โดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย และสถานการณ์การตลาดส้มโอ โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแพร่ การผลิตและการบริหารจัดการสวนส้มโอ (การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย และการบริหารจัดการน้ำในสวนส้มโอ เป็นต้น) โดยเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอต้นแบบ

– จัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตไม้ผลที่มีอัตลักษณ์สู่มาตรฐาน (ส้มโอ) จำนวน 1 แปลง สนับสนุนงบประมาณ 100,000 บาท โดยคัดเลือกพื้นที่ที่จะจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ที่ได้มาตรฐาน พื้นที่สวน มีขนาดไม่ต่ำกว่า 5 ไร่ และจัดทำเป็นแปลงเรียนรู้อย่างน้อย 2 ไร่ เพื่อใช้เป็นจุดสาธิตและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ และผู้ที่สนใจ

– จัดงานส่งเสริมประชาสัมพันธ์การบริโภคสินค้าไม้ผลที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ (ส้มโอ และผลไม้ตามฤดูกาล) จะดำเนินการภายในเดือนสิงหาคม 2564 ขั้นตอน-กระบวนการ ก้าวสู่ส้มโอ GI ต้องใช้เวลา และความร่วมมือ

คุณประภาส กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว “สินค้าที่ขอขึ้นทะเบียน GI ได้ ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งผลิต เช่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่ส่งผลต่อลักษณะพิเศษของสินค้า มีพื้นที่การผลิตที่ชัดเจน และใช้วัตถุดิบหลักจากในพื้นที่ มีคุณภาพ หรือลักษณะเฉพาะของสินค้าที่แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตจากที่อื่น มีการกำหนดคุณภาพและมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบชัดเจน และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค”

โดยขอนำเสนอขั้นตอนการขึ้นทะเบียน GI ตามแผนภาพ ดังนี้ ผลักดันส้มโอเมืองลองให้เกิดผลสำเร็จ

ทั้งภาคราชการ และเกษตรกร ควรร่วมมือกันปฏิบัติ

เกษตรจังหวัดแพร่ ได้กล่าวถึงการผลักดันส้มโอเมืองลองให้เกิดผลสำเร็จต้องมีการปฏิบัติ ดังนี้ ทั้งภาคส่วนราชการ และเกษตรกรจะต้องวางแผนการพัฒนาการผลิตส้มโอคุณภาพ และการตลาดสู่การรับรองสินค้า GI ส้มโอเมืองลอง ร่วมกัน ดังนี้

ปีที่ 1-2 (ระยะเตรียมความพร้อม/ระยะปรับเปลี่ยน)

การปฏิบัติของภาคราชการ

– สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ

– จัดเวทีวิเคราะห์ปัญหา แนวทางการพัฒนาส้มโอโดยการใช้เครื่องมือส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ในการวิเคราะห์ปัญหา

– รวบรวมข้อมูล (ความเป็นมา จำนวนแปลง จำนวนไร่ สายพันธุ์ จำนวนเกษตรกร ต้นทุนการผลิต ปริมาณผลผลิต ตลาด การรับซื้อ พ่อค้า แหล่งรับซื้อ)

– จัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานการผลิตส้มโอคุณภาพ โดยบูรณาการร่วมกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)

– จัดอบรมเรื่อง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

– คัดเลือกแปลงเรียนรู้เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอต้นแบบ – แปลงเรียนรู้มีปฏิทินการผลิตภายในแปลง เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถเข้าถึงและรับรู้การบริหารจัดการสวน โดยบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ มหาวิทยาลัย เป็นต้น

การปฏิบัติของภาคเกษตรกร

– รวมกลุ่ม สร้างกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง เริ่มจากกลุ่มย่อยก่อน แล้วนำกลุ่มย่อยมารวมเป็นกลุ่มใหญ่ นำความรู้ที่ได้รับจากภาคราชการและเกษตรกรต้นแบบ พัฒนาการผลิตส้มโอของตนเองให้มีคุณภาพ

– เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ส้มโอ และได้รับมาตรฐาน GAP

ปีที่ 3 (ระยะขอการรับรองสินค้า GI) พัฒนาความรู้ในกิจกรรมการดูแลส้มโอทุกขั้นตอน

การปฏิบัติของภาคราชการ

– จัดทำคู่มือการผลิตส้มโอให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย

– จัดอบรมเชิงลึกประเด็นเน้นหนักในเรื่องของคุณภาพ เช่น การวางแผนการผลิต การจัดรูปแบบ การใช้ที่ดิน และแหล่งน้ำ วิธีการปลูก การตัดแต่งกิ่ง การจัดการศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต มาตรฐานผลผลิต เป็นต้น

คาดหวังทั้งเกษตรกร ชุมชน และจังหวัดแพร่

จะได้รับประโยชน์จากผลไม้ GI ในครั้งนี้

คุณประภาส สานอูป กล่าวอย่างมั่นใจว่า ทั้งเกษตรกร ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ หากร่วมมือกันผลักดันให้ส้มโอเมืองลองเป็นผลไม้ GI ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์ ดังนี้

– สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพิ่มความสามัคคี เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

– สนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนผู้ผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ส้มโออย่างยั่งยืน

– สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาและคุณภาพของสินค้า และผู้บริโภค

– คุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิของชุมชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

– เพิ่มมูลค่าของสินค้าส้มโอ และเป็นเครื่องมือการตลาด

– ดูแลรักษามาตรฐานของสินค้าและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น สมัครเว็บจีคลับ การพลิกฟื้นส้มโอเมืองลอง ซึ่งได้มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย เมื่อกว่า 40 ปีล่วงมาแล้ว คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 ปี ในการส่งเสริม ค้นหา อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น และปีที่ 3 จะได้มีการยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ โทร. (054) 511-214 เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริม สร้างเสริมกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่

อินทผลัม คุณภาพดี หลากหลายสายพันธุ์ ปัจจุบันถือเป็นของดีอย่างหนึ่งอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ด้วยการบริหารจัดการที่ดี ของ คุณครองจักร งามมีศรี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลชอนสารเดช จังหวัดลพบุรี และเป็นเจ้าของ “สวนอินทผาลัมชอนสารเดช” ตั้งอยู่บ้านเลขที่ เลขที่ 96/1 หมู่ที่ 4 บ้านชอนสารเดช ตำบลชอนสารเดช อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี โทร. (085) 909-7445, (099) 275-6444

คุณครองจักร เริ่มต้นปลูกอินทผลัมโดยนำเมล็ดที่ซื้อผลมาจากต่างประเทศ เพื่อรับประทานไปปลูกในกระถางต้นชวนชม ปรากฏว่า ผ่านไปเดือนกว่ามีการงอกของเมล็ด จึงนำไปปลูกในแปลง ผ่านไป 1 ปีต้นอินทผลัมเจริญเติบโตดี เลยสนใจและหันมาศึกษาเรื่องการปลูกเพิ่มเติม จนทราบว่าการปลูกจากเมล็ดใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิต เลยตัดสินใจสั่งพันธุ์เนื้อเยื่อจากต่างประเทศมาปลูก จนเต็มเนื้อที่กว่า 20 ไร่ โดยปลูกอินทผลัมจำนวน 500 ต้น