ซีรูเลียมพืชคลุมดิน อีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรคลุมตระกลูถั่ว

อายุข้ามปีและเป็นพืชวันสั้น มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ รากจะมีปมตรึงไนโตรเจนจากอากาศ สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะของลำต้นเป็นเถาเลื้อยแข็งแรง เห็นขนไม่ชัด ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายใบโพธิ์ ใบค่อนข้างหนา ดอกเป็นช่อสีม่วง ซีรูเลียมจะเริ่มออกดอกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฝักจะมีลักษณะแบนยาวมีสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ ฝักจะแตกออกมาเองเมื่อแห้งจัด เมล็ดมีขนาดใหญ่ เปลือกหุ้มเมล็ดหนา เมล็ดมีสีเหลืองจนถึงน้ำตาล ผิวเรียบเป็นมัน น้ำหนัก 1 ก.ก. จะมีเมล็ดประมาณ 28,420 เมล็ด ระบบรากมีทั้งรากแก้วและ

ซีรูเลียม มหัศจรรย์พืชคลุมดินในสวนยาง
ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย ให้ข้อมูลว่า พืชคลุมดินซีรูเลียม มีการนำเข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย ในปี 2519 จนถึงปัจจุบัน จากการทดลองปลูกปรากฏว่าควบคุมวัชพืชได้ดี ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุอาหารในดิน ช่วยลดปัญหาการเกิดไฟไหม้ในสวนยาง และยังช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ

สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี
คุณสมบัติพิเศษของซีรูเลียม จากการทดลองปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในระหว่างแถวต้นยางและไม้ผล พบว่า เมื่อพืชคลุมซีรูเลียมเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมดินได้หนาแน่นจนวัชพืชอื่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และยังสามารถควบคุมวัชพืชในระหว่างแถวยางและไม้ผลได้ถาวรตลอดไป เมื่อเปรียบเทียบกับพืชคลุมดินชนิดอื่นๆ พบว่า พืชคลุมดินซีรูเลียมสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีที่สุด ดังนั้นซีรูเลียมจะประหยัดในการจ้างแรงงานกำจัดวัชพืช ช่วยลดการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชในสวนยาง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปในตัวด้วย

ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง และร่มเงา
พืชคลุมดินโดยทั่วไปไม่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง พืชคลุมดินจะแห้งตายในฤดูร้อน ซากกองพืชคลุมจะเป็นเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดไฟไหม้สวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน และสวนไม้ผลที่ปลูกพืชคลุมเหล่านี้

จากการศึกษาและประสบการณ์ในการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในระหว่างแถวยางและไม้ผล พบว่า พืชคลุมซีรูเลียมมีอายุยืนยาว และมีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

พืชคลุมโดยทั่วไปไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา โดยปกติพืชคลุมจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในระหว่างแถวยางที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เมื่อต้นยางเจริญเติบโตมีร่มเงาเกิดขึ้นในระหว่างแถวพืชคลุมอื่นมักจะตายหรือเจริญเติบโตไม่ดี แต่พืชคลุมซีรูเลียมไม่ตายและยังคงสามารถเจริญเติบโตและควบคุมวัชพืชได้ดีในสภาพร่มเงา สามารถคลุมพื้นที่ได้ภายใน 4-6 เดือน ขณะเดียวกันก็เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่สวนยางพาราจากการที่ปมรากจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และการย่อยสลายตัวของเศษซากพืชคลุม

ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมเปิดกรีดยางได้เร็วขึ้น
จากการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นยางในแปลงที่มีพืชคลุมตระกูลถั่วและแปลงหญ้าคา ในสวนยางที่ปลูกพืชตระกูลถั่วจะมีการเจริญเติบโตเป็นสองเท่าของสวนยางที่มีหญ้าคาปกคลุม และสามารถเปิดกรีดยางภายใน 6-7 ปี และกรีดยางได้ก่อนสวนยางที่มีหญ้าคาขึ้นปกคลุม ประมาณ 3-4 ปี

จากการทดสอบการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในแปลงเอกชนที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปรากฏว่า สามารถเปิดกรีดยางได้ก่อนแปลงของเกษตรกรที่ไม่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียม ประมาณ 1 ปี และผลผลิตในแปลงที่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมให้ปริมาณน้ำยางที่มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียม

ระบบรากฝอยหนาแน่น ป้องกันการพังทลายหน้าดิน
โดยปกติฝนตกในบริเวณสวนยาง ทรงพุ่มต้นยางจะช่วยซับและรับปริมาณน้ำฝนส่วนหนึ่งไว้ที่ใบ น้ำฝนบางส่วนจะระเหยก่อนลงสู่พื้นดิน บางสวนจะไหลลงมาตามลำต้น และบางส่วนจะตกผ่านทรงพุ่มลงสู่พื้นดิน การปลูกซีรูเลียมในระหว่างแถวยางจะช่วยรับน้ำที่ผ่านทรงพุ่มชั้นหนึ่งก่อนลงสู่พื้นดิน เนื่องจากพืชคลุมซีรูเลียมมีคุณสมบัติคลุมอย่างถาวร มีพื้นที่ใบคลุมดินหนาแน่น ซากพืชซีรูเลียมที่แห้งตายถูกปลดปล่อยลงไปช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยในการดูดซับและเก็บกักน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ รากฝอยที่หนาแน่นของซีรูเลียมจะช่วยยึดอนุภาคและโครงสร้างของดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ดีขึ้น

โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม
จากคุณสมบัติที่ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นๆ ซีรูเลียมเป็นพืชคลุมดินที่เหมาะสมที่จะปลูกในสวนยางพาราในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดกรีดยางได้ (ปีที่ 1-6) เมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมจึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรชาวสวนยาง แต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับช่วงแสงและอากาศ ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและมีราคาสูง

เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมค่อนข้างจะได้ผลดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สถาบันวิจัยยางจึงได้เริ่มโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมขึ้น ในปี 2554 เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมล็ดพันธุ์และทำการผลิตพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมอบให้ศูนย์เรียนรู้ยางพาราโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรทั่วประเทศ ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมเพื่อสนองความต้องการเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร

คุณกัลยารัตน์ หมื่นวณิชกูล เลขานุการคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ยางพารา โดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้ยางพาราฯ โดยการดำเนินงานของศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดของการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม ในปี 2554 การผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ คือ

1.เมล็ดจะมีความงอกต่ำ เนื่องจากสารที่เปลือกหุ้มเมล็ดบางชนิดไม่ยอมให้น้ำและอากาศผ่าน

2.เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดน้อย ซึ่งเกี่ยวกับช่วงแสงในแต่ละพื้นที่ และความต้องการอากาศที่เย็นในช่วงการออกดอก ทำให้สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ในบางพื้นที่เท่านั้น ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร จึงทำให้เมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีราคาสูงถึง กก.ละ 500-700 บาท

“จากการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าว เราสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ได้ผลผลิตประมาณ 40 กก./ไร่” คุณกัลยารัตน์ กล่าว

การขยายพันธุ์ซีรูเลียมระดับเกษตรกร
ถ้าเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้กล้าซีรูเลียมไปขยายพันธุ์สามารถทำได้ไม่ยาก คุณกัลยารัตน์ อธิบายว่า การขยายพันธุ์ซีรูเลียม ถ้าเราปลูกคลุมดินในสวนยาง ธรรมดาก็จะออกดอกและติดฝัก แต่ติดไม่มากเมื่อเราปล่อยให้เลื้อยไปตามพื้นดิน ซีรูเลียมจะเจริญเติบโตทางด้านลำต้นมากกว่าที่จะไปผลิตดอกออกฝัก แต่ถ้าเราต้องการขยายพันธุ์ เราก็ต้องทำค้างเหมือนกับค้างถั่วหรือค้างผัก จะทำให้ติดฝักได้มาก ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีได้ทดลองปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์โดยขึ้นค้าง จะได้เมล็ด 50 กก./ไร่ ดังนั้น การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกและติดเมล็ดได้ดีกว่าขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำลำต้น ขณะนี้ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรากำลังทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขึ้นค้างเพื่อเก็บเมล็ด จำเป็นต้องทำนอกสวนยางหรือไม่
“ไม่จำเป็น” คุณกัลยารัตน์ บอก

แต่ถ้าต้นยางอายุมากแล้วจะมีร่มเงามาก ซีรูเลียมจะเจริญทางลำต้นมากกว่า เราปลูกพร้อมปลูกยางขึ้นค้างได้เลย ร่มเงาของต้นซีรูเลียมก็จะทำให้วัชพืชไม่ขึ้นได้เหมือนกัน การปลูกพืชคลุมดิน ศูนย์ฯ ได้ทดลองปลูกเป็นแถว ระยะห่าง 50 ซม. ต่อหลุม ทดลองปลูกประมาณ 2 เดือน ก็คลุมดินได้หมดแล้ว

คงไม่ต้องเสียเวลาแนะนำกันอีกแล้ว สำหรับสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 หรือที่รู้จักกันดีในนามสับปะรดฉีกตา ผลงานการวิจัยของศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้เพราะมีปลูกและบริโภคกันมากขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน

คุณบุญส่ง พูลพัฒน์ อดีตนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ปัจจุบันคือเจ้าของ “ไร่ส่งตะวัน” บ้านห้วยเกษม ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ก็เป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ปลูกสับปะรดพันธุ์นี้อย่างจริงจัง สามารถนำผลผลิตออกจำหน่ายหมุนเวียนทั้ง 12 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 5 ตัน

คุณบุญส่ง เป็นคนเพชรบุรีโดยกำเนิด หลังเรียนจบก็ทำงานคลุกคลีกับเกษตรกรมายาวนาน สุดท้ายได้ลงหลักปักฐาน ทำงานเกษตรที่บ้านห้วยเกษม ในพื้นที่ 100 ไร่ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับอาทิจันท์ผา ลีลาวดี (ลั่นทม) เฮลิโคเนีย (ธรรมรักษา) ทางด้านไม้ผล มีขนุนทองประเสริฐ กล้วยหายากร่วม 100 สายพันธุ์ รวมทั้งพืชผักสมุนไพรหายาก เช่นข้าวไร่ในท้องถิ่น สมุนไพรเขยตายแม่ยายปก มะแข่วน(พริกพราน) เป็นต้น
สำหรับสับปะรด คุณบุญส่งเรียนรู้มานานแล้ว ช่วงที่รับราชการอยู่ ได้แต่ศึกษาและวิจัย จนกระทั่งเออรี่จากงาน จึงทำจริงจัง ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ เป็นที่น่าพอใจมาก ผลผลิตที่ออกสู่ตลาด คนถามหากันอย่างต่อเนื่อง เขาจึงผลิตไม่ให้ขาดช่วง ปัจจัยหนึ่งที่หนุนส่งให้นักวิชาการเกษตรท่านนี้ประสบผลสำเร็จ เพราะมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จึงนำมารดต้นไม้ได้อย่างดี

“ในฐานะคนเพชรบุรี อยากให้สับปะรดพันธุ์นี้อยู่คู่กับเพชรบุรี คนผ่านไปผ่านมาได้ชิม หรืออยากปลูกก็ทดลองปลูกกันได้ หมายถึงจังหวัดอื่น ภาคอื่น” คุณบุญส่งบอก

สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 มาจากไหน?
สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 เป็นสับปะรดกลุ่มควีนที่มีการปรับปรุงสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นสับปะรดพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2541 ทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี (ชื่อเดิม) เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะต่อการรับประทานผลสด ให้ผลผลิตสูง
และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ดังกล่าวได้

ลักษณะเด่นของพันธุ์เพชรบุรี คือ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ภูเก็ตร้อยละ 17.7 และสูงกว่าพันธุ์สวีร้อยละ 23.2 อยู่ในกลุ่มพันธุ์เดียวกัน รสชาติหวานอมเปรี้ยวปริมาณและสัดส่วนของน้ำตาลสูงถึง 16.9 องศาบริกซ์ และมีปริมาณกรดค่อนข้างต่ำราวร้อยละ 0.45 มีกลิ่นหอมแรง เนื้อกรอบใกล้เคียงกับพันธุ์สวีและพันธุ์ภูเก็ต สีเนื้อเหลืองอมส้มสม่ำเสมอ สามารถแกะแยกผลย่อยหรือตา (fruitlet) ออกจากกันโดยง่าย และรับประทานแกนผลได้ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขัง

ทะยอยปลูกหมุนเวียน 12 ไร่
คุณบุญส่งเล่าว่า พื้นที่ปลูกสับปะรดของตนเอง ลาดเทเล็กน้อย ก่อนปลูกไถพรวน แล้วปลูกสับปะรดด้วยหน่อ พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ต้นพันธุ์ 7,500 ต้น ที่มาของต้นพันธุ์นั้น คุณบุญส่งสะสมมานาน ปลูกครั้งแรกไม่กี่ต้น จากนั้นขยายเพิ่มขึ้น หากมีการซื้อขายกัน หน่อสับปะรดเพชรบุรี 1 ตกหน่อละ 10-15 บาท เป็นหน่อขนาดใหญ่ คุณภาพดี เมื่อนำลงปลูก ให้ผลผลิตตามระยะเวลาที่ต้องการ สนนราคาหน่อพันธุ์ หากมีการซื้อขายกันมากๆ ราคาก็มีการขยับได้

อดีตนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรบอกว่า ตนเองปลูกสับปะรด 12 ไร่ ทั้งนี้เพื่อให้มีผลผลิตทยอยเก็บเดือนละ 1 ไร่ ในทางปฏิบัติ อาจจะปลูกพร้อมกันครั้งละ 3 ไร่ แต่ระยะเวลาที่กำหนดได้คือการหยอดแก๊สที่ยอด จะหยอดเดือนละ 1 ไร่

ผลผลิตของสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 1 เฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัมต่อผล นั่นหมายถึง จำนวนต้นที่ปลูก 7,500 ต้น คิดผลละ 1.5 กิโลกรัม จะได้ผลผลิตต่อไร่ 11,250 กิโลกรัม หรือ 11 ตันเศษๆ แต่คุณบุญส่งบอกว่า ตนเองคัดผลผลิตที่มีคุณภาพ จะได้ของดีจริงๆ ออกวางขายในตลาด 5,000 กิโลกรัม หรือ 5 ตันต่อไร่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภค ได้บริโภคของดี จะได้มีทัศนคติที่ดีต่อสับปะรดพันธุ์นี้และพันธุ์อื่นๆ

“สับปะรดส่งโรงงาน ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ 4 ปี ของผมนี่ ปลูกเก็บผลผลิตครั้งเดียว รื้อปลูกใหม่ เพราะจะควบคุมคุณภาพได้ ความหวานของสับปะรดที่ปลูก อยู่ที่ 15-17 บริกซ์” คุณบุญส่งบอก ดูแลทั่วถึง ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าที่จำเป็น
หลังปลูก หากไม่ใช่ช่วงฝน คุณบุญส่งจะให้น้ำกับสับปะรดโดยระบบสปริงเกลอร์ ด้วยเหตุนี้ หลังปลูกไป 1 เดือน สับปะรดจะรากเดินอย่างรวดเร็ว เจ้าของจึงใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ให้ที่โคนต้น จำนวน 30 กิโลกรัมต่อไร่

เมื่อสับปะรดอายุได้ 4 เดือน ใส่ปุ๋ยที่โคนต้น สูตร 15-5-20 จำนวน 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงนี้ดูใบสับปะรดประกอบ หากงามมากๆ ก็อาจจะใส่ให้แค่ 30 กิโลกรัมต่อไร่

พอถึงเดือนที่ 6 เจ้าของฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 46-0-0 บวกกับสูตร 0-0-60 เพื่อเตรียมตัวบังคับให้ออกดอก

เดือนที่ 7 เจ้าของหยอดแก๊สแคลเซี่ยมคาร์ไบน์ให้ที่ยอด ต้นละ 2 หยิบมือเล็กๆ คุณบุญส่งบอกว่า ตนเองถนัดแบบนี้ ซึ่งแก๊สแคลเซี่ยมคาร์ไบน์ มีขายกิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนที่อื่น อาจจะใช้อเทธิฟอนฉีดพ่นให้

ก่อนหยอดแก๊ส ที่ยอดสับปะรดควรมีน้ำขัง หากไม่ใช่ช่วงฝน เจ้าของจะให้น้ำระบบสปริงเกลอร์

หลังจากหยอดแก๊สได้ 45 วัน สับปะรดก็จะมีดอกและผลสีแดงแทงออกมาที่ยอด

หลังออกดอกราว 4 เดือนครึ่ง คุณบุญส่งบอกว่า สามารถเก็บผลผลิตได้ “ให้สังเกตเมื่อดอกสีม่วงของสับปะรดโรย ฉีดพ่นปุ๋ยสูตร 10-20-30 บวกกับปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองให้ ต่อมากอีก 1 เดือน ฉีดพ่นสูตรเดียวกันนี้อีกครั้งหนึ่งก็เก็บผลผลิตได้ การให้ปุ๋ยทางใบประหยัดกว่าให้ปุ๋ยเม็ดทางดินเสียอีก ต้นไม้รับได้ง่าย”

คุณบุญส่งบอก เละเล่าอีกว่า

“ปุ๋ยให้ 5 ครั้ง ทางดิน 2 ครั้ง ฉีดพ่นให้อีก 3 ครั้ง ศัตรูอย่างอื่น วัชพืชหมั่นดูแล ถากถางบ้าง ใช้สารกำจัดวัชพืชบ้าง แมลงมีเพลี้ยแป้ง ผมใช้น้ำส้มควันไม้ได้ผลดี โรคเน่าไม่เจอ ของผมพื้นที่ค่อนข้างลาดชัน ปัจจัยการผลิตใช้เท่าที่จำเป็น อะไรที่ทำได้ก็ทำ ไม่ต้องจ้างเขา”

อยู่ห่างกรุงเทพฯ 120 กิโลเมตร แวะเวียนไปปรึกษาหารือได้

คุณบุญส่งบอกว่า ผลผลิตที่มีอยู่ ตนเองได้นำออกจำหน่ายตามรีสอร์ทต่างๆ ตามร้านขายกาแฟ รวมทั้งร้านขายผลไม้ที่รู้จักกัน

ราคาขายนั้น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรบอกว่า เขาตั้งไว้ค่อนข้างชัดเจนและคงที่ โดยแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกัน

แบบแรกขายให้คนที่ซื้อไปกินโดยตรง

แบบที่สอง ขายให้กับผู้ค้า เพื่อนำไปขายต่ออีกทีหนึ่ง

ราคาทั้งสองแบบ มิตรภาพมากๆ ส่วนจะเท่าไหร่นั้นต้องคุยกับคุณบุญส่ง

สำหรับผู้ที่อยากจะไปติดต่อเพื่อซื้อขาย ให้คุณบุญส่งผลิตให้โดยตรง จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เจ้าของบอกว่ายินดีจะพูดคุยด้วย

ไร่ส่งตะวัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 120 กิโลเมตร คุณบุญส่งแนะนำว่า แถบนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย เช่นน้ำตก ตลาดน้ำ และที่พิเศษสุดนั้น ที่นั่นมีน้ำพุร้อน องค์กรในท้องถิ่น จัดที่ให้อาบน้ำแร่สะอาดเป็นสัดส่วน

ใครที่ไปหนองหญ้าปล้อง แล้วจะต่อไปยังแก่งกระจานก็ใกล้มาก หรือจะออกไปสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ก็ใช้เวลาไม่นาน จากปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้ คุณสอาด คำทราย จำต้องเกษียณตัวเองออกราชการก่อนกำหนด ทั้งๆ ที่ใจยังรักอยากจะทำงานต่อ แต่เพราะกลัวความเครียดจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นตามภาระงานที่ได้รับซึ่งเป็นสาเหตุเร่งเร้าทำให้สุขภาพทรุดโทรม จึงตัดสินใจเกษียณตัวเองจากอดีตเจ้าพนักงานการเกษตร อำลาหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้แก่เกษตรกรมา 31 ปี

คุณสอาด คำทราย อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 6 บ้านปงวัง ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สัมผัสชีวิตเกษตรมาโดยตลอด เมื่อเรียนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมลำปาง (ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง) ปี พ.ศ. 2520 ในระดับ ปวช. และ ปวส. จบปี พ.ศ. 2524 (ต่อมาจบปริญญาตรี วท.บ. เทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี พ.ศ. 2535) ในปี พ.ศ. 2524 ได้บรรจุเป็นเจ้าพนักงานการเกษตร ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และย้ายมาอยู่จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2531

ระหว่างรับราชการอยู่ที่จังหวัดลำปาง ได้ใช้พื้นที่หลังบ้านตนเองประมาณ 400 ตารางเมตร ยกแปลงปลูกผักเป็นแปลงๆ เริ่มปลูกได้ก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน เมื่อมีมากขึ้นจึงมีแม่ค้าใกล้เคียงมาซื้อกัน ส่วนใหญ่เป็นผักตามฤดูกาล ในเวลานั้นไม่ได้ปลูกมาก เพราะมีเวลาให้หลังเลิกงานและวันหยุดเท่านั้น หลังจากเกษียณจึงมีเวลาให้อย่างเต็มที่ เป็นการทำเกษตรปลอดสารเคมีที่ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช

เขาเลือกใช้สารสกัดจากสะเดา น้ำส้มควันไม้ กาวดักจับแมลง กะเพราล่อแมลงวันทอง ปลูกดาวเรืองเพื่อขับไล่ไส้เดือนฝอย ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้น้ำหมักชีวภาพ และจับทำลาย ปลูกผักตามฤดูกาล ได้แก่ พริก กะหล่ำปลี ผักบุ้ง กุยช่าย โหระพา หอม กระเทียม ผักที่ถูกกล่าวขานกันมากก็คือ กะหล่ำปลี เพราะสามารถปลูกจนได้หัวหนัก 6 กิโลกรัม เป็นพันธุ์หัวกลมจากญี่ปุ่น

ผักบุ้ง เป็นพืชที่ทำรายได้ดี เพราะปลูกเพียง 20 วัน ก็ถอนไปขายได้ ในการเตรียมแปลงปลูกผักบุ้งกับแปลงผักทั่วไปมีวิธีการคือ แช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นผึ่งให้แห้ง หว่านในแปลงที่หว่านปุ๋ยสูตร 15-15-15 แล้วสับคลุกเมล็ดลงดินเข้ากับปุ๋ยก่อนเก็บ 1 สัปดาห์ รดด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 จะได้ผักบุ้งต้นใหญ่ ต้นยาว และกรอบ แต่การปลูกในแปลงเดิมจะทำได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เพราะหลังจากนั้นถ้าปลูกซ้ำที่เดิมจะเป็นโรคใบลายใบด่าง ต้องเปลี่ยนไปปลูกผักชนิดอื่นแทนแล้วกลับเวียนมาปลูกครั้ง

พอเข้าสู่ฤดูหนาวจึงเริ่มเพาะกะหล่ำ ปลูกกะหล่ำไว้ 1,000 หลุม ด้วยการเพาะเมล็ดในหลุมถาดเพาะเมล็ด อายุได้ 30 วัน จึงย้ายปลูกได้ หลุมปลูกคลุกเคล้าด้วยสินแร่ธรรมชาติ ธาตุอาหารพืช (ซี ฟอส Ze-PHOS) ชนิดผงผสมกับแกลบ ส่วนแปลงปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ย สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนแกง อายุได้ 15 วัน จึงรดด้วยยูเรีย ปักแผ่นพลาสติกทากาวดักจับแมลงเป็นระยะๆ มีร้านขายอาหารอีสานในพื้นที่ใกล้เคียงมาซื้อประจำ เพราะมั่นใจว่าเป็นผักปลอดสารเคมี ลูกค้ารับประทานเป็นผักสดได้สนิทใจ

เหตุผลที่เลือกปลูกกะหล่ำปลีไม่ปลูกกะหล่ำดอก เพราะกะหล่ำปลีสามารถทิ้งไว้ในแปลงได้นาน เมื่อยังไม่ต้องการเก็บหรืออยู่ในช่วงผักราคาถูก ส่วนกะหล่ำดอกเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว ถ้ายังไม่เก็บเกี่ยวดอกจะบานออกทำให้เสียราคา ส่วนผักคะน้าแมลงรบกวนมาก เนื่องจากไม่ใช้สารเคมี จึงเลี่ยงที่จะปลูกผักคะน้า

เข้าฤดูฝนปลูกพริก โหระพา พริกที่ปลูกเป็นพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮ็อต ลำต้นสูง 70-80 เซนติเมตร ลำต้นแข็งแรง แตกแขนงกิ่งมาก มีทรงพุ่มกว้างปานกลาง ติดผลดกมาก ผลชูเหนือทรงพุ่ม ผลดิบสีเขียวถึงสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกเป็นสีแดงสด ผลยาว 5-7 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 80-90 วัน หลังจากย้ายกล้า ขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของแม่ค้าอย่างมาก

กุยช่าย ผักที่ทำรายงามอีกชนิดหนึ่ง เป็นพันธุ์ที่ได้มาจากสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีลำต้นยาวและอวบอ้วน ปกติกุยช่ายที่มีลำต้นใหญ่มักเป็นกุยช่ายอายุมากจะแข็งเหนียวและมีกลิ่นฉุน กุยช่ายจากสวรรคโลกมีลำต้นใหญ่ก็จริงแต่ไม่แข็ง ลำต้นนิ่ม เคี้ยวง่าย และไม่ค่อยมีกลิ่นฉุน เมื่อรับประทานสดหรือทำสุก หลังจากปลูก 2 เดือน ตัดต้นได้และตัดทุก 15 วัน เป็นที่ต้องการของแม่ค้าขายขนมกุยช่าย แต่ผลิตให้ได้น้อย เพราะปลูกไว้เพียง 2 แปลง ก็ปลูกมันเทศสายพันธุ์ใหม่จากญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา และตอนนี้กำลังขยายพันธุ์มะอึกไร้หนาม

รายได้จากการปลูกผัก ถึงแม้จะไม่มากแต่ก็ไม่ขัดสนนัก ซึ่งเขาก็ได้ทำบัญชีเก็บไว้จนพบว่าแต่ละเดือนจะมีรายได้ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและฤดูกาล บางเดือนได้รับ 6,000 กว่าบาท แต่บางเดือนได้แค่ 2,000 บาท เป็นรายได้ที่พอเพียงและพอใจ นอกจากนั้น เขายังทำนาข้าวอีก 2 ไร่ อีกทั้งเมื่อมีเวลาว่างก็เขียนป้ายต่างๆ ตามแต่ชาวบ้านจะจ้างวาน เนื่องจากมีความสามารถในด้านการเขียนป้ายมาก่อน

ผ่านมาแล้วกับฤดูกาลของผลไม้ขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก อย่าง “มะยงชิด” และยังเป็นผลไม้ในดวงใจของใครหลายคน อยากจะรับประทานเดือนละหลายๆ หน แต่ติดตรงที่ผลไม้ชนิดนี้จะออกให้ได้ลิ้มรสตามฤดูกาลเท่านั้น ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อย เพราะที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะยงชิดไว้รับประทานนอกฤดูให้แฟนคลับคนรักมะยงชิดได้รับประทานให้หายคิดถึงได้น้อยมาก แต่ครั้งนี้ถือเป็นข่าวดีของคนรักมะยงชิดที่ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตารอให้ฤดูกาลเวียนมาบรรจบครบปี

เพราะตอนนี้ได้มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าได้เริ่มพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะยงชิดออกมาหลากหลาย เพื่อเอาใจแฟนคลับคนรักมะยงชิดให้ได้รับประทานผลผลิตนอกฤดูกาล และถือเป็นการมาแบ่งปันความรู้การต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนมะยงชิด โดยเฉพาะพี่น้องชาวสวนมะยงชิดที่ไม่ได้อยู่นครนายก พอถึงช่วงปลายฤดูกาลผลผลิตราคาตกอย่างน่าใจหาย เพราะฉะนั้นเก็บไว้มาแปรรูปสร้างรายได้เพิ่มกันดีกว่า

คุณจตุพงษ์ บุญประกอบ หรือ พี่แม็ค อยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 8 ตำบลศรีนาวา ติดต่อ UFABET อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์หัวก้าวหน้า และเชื่อว่าหลายท่านหากเป็นแฟนคลับตัวยงของนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ก็คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับพี่แม็คมาอยู่บ้าง เพราะเมื่อไม่กี่ฉบับที่ผ่านมา ทางนิตยสารได้มีการเผยแพร่เรื่องราวการผลิตมะยงชิด และการสร้างตลาดแบบชาวสวนรุ่นใหม่กันไปแล้ว และเมื่อนิตยสารได้วางแผงไปก็ได้มีหลายท่านสนใจโทร.เข้าไปสอบถามเทคนิคการผลิตมะยงชิดและการทำตลาดไปทางพี่แม็คอย่างมากมาย

ดังนั้น เมื่อพี่แม็คมีรูปแบบการสร้างมูลค่าจากมะยงชิดเพิ่มขึ้นมาใหม่ ทางผู้เขียนจึงอยากที่จะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มากระจายให้กับพี่น้องชาวสวนได้อยู่รอดในช่วงผลผลิตปลายฤดูที่มีราคาค่อนข้างถูก มาหาทางรอดด้วยการแปรรูปกันเถอะ

โดย พี่แม็ค เล่าถึงความเป็นมาของการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะยงชิดอบแห้งว่า เกิดจากประสบการณ์การทำสวนมะยงชิดมาได้ระยะหนึ่ง และได้เล็งเห็นว่าอนาคตมะยงชิดอาจเกิดการล้นตลาดได้ ตัวอย่างเช่นในปีนี้ ผลผลิตมะยงชิดออกมาเยอะมาก บวกกับภาพรวมการขายกิ่งพันธุ์ที่ออกไปนับหมื่นๆ กิ่งต่อปี เพราะฉะนั้นก็สามารถคาดการณ์ได้ไม่ยากว่า ในอนาคต มะยงชิด มีโอกาสที่จะล้นตลาด และยิ่งถ้าหากเป็นมะยงชิดที่ไม่ได้ปลูกในพื้นที่จังหวัดนครนายก ราคาก็จะแย่ลงไปใหญ่ ตนจึงอยากที่จะช่วยพี่น้องชาวสวนมะยงชิดด้วยกันให้มีความมั่นคงทางด้านอาชีพในอีก 5-10 ปีข้างหน้า

จึงได้ตัดสินใจเข้าไปปรึกษากับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ โดยได้เสนอแนวคิดไปว่า จะใช้มะยงชิดที่ลูกเสียหาย ตกไซซ์ รูปทรงบิดเบี้ยว ที่ขายไม่ได้ราคา จะนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง โดยที่สวนจะส่งมะยงชิดผลสดไปให้ทางมหาวิทยาลัยทดลองแปรรูปครั้งละ 5-10 กิโลกรัม เป็นเวลาประมาณ 3-4 เดือน จนประสบผลสำเร็จได้เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปมะยงชิดอบแห้งออกมา ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตส่วนที่เสียหาย