ซีรูเลียม มหัศจรรย์ พืชคลุมดินในสวนยาง สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี

คุณสมบัติพิเศษของซีรูเลียม จากการทดลองปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในระหว่างแถวต้นยางและไม้ผล พบว่า เมื่อพืชคลุมซีรูเลียมเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมดินได้หนาแน่นจนวัชพืชอื่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และยังสามารถควบคุมวัชพืชในระหว่างแถวยางและไม้ผลได้ถาวรตลอดไป เมื่อเปรียบเทียบกับพืชคลุมดินชนิดอื่นๆ พบว่า พืชคลุมดินซีรูเลียมสามารถควบคุมวัชพืชได้ดีที่สุด ดังนั้นซีรูเลียมจะประหยัดในการจ้างแรงงานกำจัดวัชพืช ช่วยลดการใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชในสวนยาง ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปในตัวด้วย

ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง และร่มเงา

พืชคลุมดินโดยทั่วไปไม่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง พืชคลุมดินจะแห้งตายในฤดูร้อน ซากกองพืชคลุมจะเป็นเชื้อเพลิง ก่อให้เกิดไฟไหม้สวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน และสวนไม้ผลที่ปลูกพืชคลุมเหล่านี้

จากการศึกษาและประสบการณ์ในการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในระหว่างแถวยางและไม้ผล พบว่า พืชคลุมซีรูเลียมมีอายุยืนยาว และมีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

พืชคลุมโดยทั่วไปไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา โดยปกติพืชคลุมจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกในระหว่างแถวยางที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เมื่อต้นยางเจริญเติบโตมีร่มเงาเกิดขึ้นในระหว่างแถวพืชคลุมอื่นมักจะตายหรือเจริญเติบโตไม่ดี แต่พืชคลุมซีรูเลียมไม่ตายและยังคงสามารถเจริญเติบโตและควบคุมวัชพืชได้ดีในสภาพร่มเงา สามารถคลุมพื้นที่ได้ภายใน 4-6 เดือน ขณะเดียวกันก็เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่สวนยางพาราจากการที่ปมรากจะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และการย่อยสลายตัวของเศษซากพืชคลุม

ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมเปิดกรีดยางได้เร็วขึ้น

จากการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นยางในแปลงที่มีพืชคลุมตระกูลถั่วและแปลงหญ้าคา ในสวนยางที่ปลูกพืชตระกูลถั่วจะมีการเจริญเติบโตเป็นสองเท่าของสวนยางที่มีหญ้าคาปกคลุม และสามารถเปิดกรีดยางภายใน 6-7 ปี และกรีดยางได้ก่อนสวนยางที่มีหญ้าคาขึ้นปกคลุม ประมาณ 3-4 ปี

จากการทดสอบการปลูกพืชคลุมซีรูเลียมในแปลงเอกชนที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ปรากฏว่า สามารถเปิดกรีดยางได้ก่อนแปลงของเกษตรกรที่ไม่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียม ประมาณ 1 ปี และผลผลิตในแปลงที่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียมให้ปริมาณน้ำยางที่มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่ปลูกพืชคลุมซีรูเลียม

ระบบรากฝอยหนาแน่น ป้องกันการพังทลายหน้าดิน

โดยปกติฝนตกในบริเวณสวนยาง ทรงพุ่มต้นยางจะช่วยซับและรับปริมาณน้ำฝนส่วนหนึ่งไว้ที่ใบ น้ำฝนบางส่วนจะระเหยก่อนลงสู่พื้นดิน บางสวนจะไหลลงมาตามลำต้น และบางส่วนจะตกผ่านทรงพุ่มลงสู่พื้นดิน การปลูกซีรูเลียมในระหว่างแถวยางจะช่วยรับน้ำที่ผ่านทรงพุ่มชั้นหนึ่งก่อนลงสู่พื้นดิน เนื่องจากพืชคลุมซีรูเลียมมีคุณสมบัติคลุมอย่างถาวร มีพื้นที่ใบคลุมดินหนาแน่น ซากพืชซีรูเลียมที่แห้งตายถูกปลดปล่อยลงไปช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยในการดูดซับและเก็บกักน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ รากฝอยที่หนาแน่นของซีรูเลียมจะช่วยยึดอนุภาคและโครงสร้างของดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ดีขึ้น

โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม

จากคุณสมบัติที่ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นๆ ซีรูเลียมเป็นพืชคลุมดินที่เหมาะสมที่จะปลูกในสวนยางพาราในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดกรีดยางได้ (ปีที่ 1-6) เมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมจึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรชาวสวนยาง แต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับช่วงแสงและอากาศ ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรและมีราคาสูง

เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมค่อนข้างจะได้ผลดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ สถาบันวิจัยยางจึงได้เริ่มโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมขึ้น ในปี 2554 เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมล็ดพันธุ์และทำการผลิตพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมอบให้ศูนย์เรียนรู้ยางพาราโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรทั่วประเทศ ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมเพื่อสนองความต้องการเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร

คุณกัลยารัตน์ หมื่นวณิชกูล เลขานุการคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ยางพารา โดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้ยางพาราฯ โดยการดำเนินงานของศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดของการผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียม ในปี 2554 การผลิตเมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีข้อจำกัดอยู่ 2 ประการ คือ

1.เมล็ดจะมีความงอกต่ำ เนื่องจากสารที่เปลือกหุ้มเมล็ดบางชนิดไม่ยอมให้น้ำและอากาศผ่าน

2.เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดน้อย ซึ่งเกี่ยวกับช่วงแสงในแต่ละพื้นที่ และความต้องการอากาศที่เย็นในช่วงการออกดอก ทำให้สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ในบางพื้นที่เท่านั้น ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร จึงทำให้เมล็ดพันธุ์ซีรูเลียมมีราคาสูงถึง กก.ละ 500-700 บาท

“จากการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดดังกล่าว เราสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ได้ผลผลิตประมาณ 40 กก./ไร่” คุณกัลยารัตน์ กล่าว

การขยายพันธุ์ซีรูเลียมระดับเกษตรกร

ถ้าเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้กล้าซีรูเลียมไปขยายพันธุ์สามารถทำได้ไม่ยาก คุณกัลยารัตน์ อธิบายว่า การขยายพันธุ์ซีรูเลียม ถ้าเราปลูกคลุมดินในสวนยาง ธรรมดาก็จะออกดอกและติดฝัก แต่ติดไม่มากเมื่อเราปล่อยให้เลื้อยไปตามพื้นดิน ซีรูเลียมจะเจริญเติบโตทางด้านลำต้นมากกว่าที่จะไปผลิตดอกออกฝัก แต่ถ้าเราต้องการขยายพันธุ์ เราก็ต้องทำค้างเหมือนกับค้างถั่วหรือค้างผัก จะทำให้ติดฝักได้มาก ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีได้ทดลองปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์โดยขึ้นค้าง จะได้เมล็ด 50 กก./ไร่ ดังนั้น การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดี ออกดอกและติดเมล็ดได้ดีกว่าขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำลำต้น ขณะนี้ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรากำลังทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขึ้นค้างเพื่อเก็บเมล็ด จำเป็นต้องทำนอกสวนยางหรือไม่

“ไม่จำเป็น” คุณกัลยารัตน์ บอก

แต่ถ้าต้นยางอายุมากแล้วจะมีร่มเงามาก ซีรูเลียมจะเจริญทางลำต้นมากกว่า เราปลูกพร้อมปลูกยางขึ้นค้างได้เลย ร่มเงาของต้นซีรูเลียมก็จะทำให้วัชพืชไม่ขึ้นได้เหมือนกัน การปลูกพืชคลุมดิน ศูนย์ฯ ได้ทดลองปลูกเป็นแถว ระยะห่าง 50 ซม. ต่อหลุม ทดลองปลูกประมาณ 2 เดือน ก็คลุมดินได้หมดแล้ว

ชวนเกษตรกรชาวสวนยางผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้า

ขณะนี้ความต้องการเมล็ดพันธุ์พืชคลุมซีรูเลียมมีมากขึ้น แต่ศูนย์เรียนรู้ยางพาราฯ ยังไม่สามารถแจกจ่ายให้เกษตรกรได้ เนื่องจากยังอยู่ในระยะขยายผล หากเกษตรกรสนใจที่จะปลูกพืชคลุมซีรูเลียมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้า ติดต่อสอบถามขอคำแนะนำได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี โทร. 045-202187

ผู้ปลูกจะห่อผลหรือจะไม่ห่อผลก็ได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่ไม่มีแมลงศัตรูระบาดมากนัก อย่าง แมลงวันทอง ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องห่อผล แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดควรที่จะห่อผลมะระ

เมื่อมะระอายุได้ประมาณ 30-40 วันหลังปลูก จะเริ่มออกดอกและติดผล พอผลมะระโตได้ 7-10 วัน หลังดอกตัวเมียโรย หรือมะระผลยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ก็เริ่มห่อผลได้ทันที (ถ้าห่อตอนผลเล็กมากกว่านี้ จะทำให้ผลเหลืองและร่วง) กรณีที่ต้องการห่อผลเพื่อเลี่ยงการทำลายจากแมลงวันทองหรือแมลงศัตรูที่จะมาทำลายผิว แต่ในพื้นที่ไม่มีการระบาดจากแมลงวันทองก็ไม่จำเป็นต้องห่อผลก็ได้

เวลาห่อผลสามารถใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ ทำเป็นถุง ขนาด 15×20 เซนติเมตร ปากถุงเปิดทั้งสองด้าน นำปากถุงด้านหนึ่งสวมผลมะระ แล้วใช้ที่เย็บกระดาษเย็บปากถุงให้แขวนอยู่บนก้านของผลมะระ ถุงห่อรีเมย์ ก็จะมีเชือกรูดสวมถุงมัดได้ทันที, ถุงห่อสีขาว ก็จะมีลวดมัดให้ที่ปากถุง (ถุงห่อรีเมย์ และถุงห่อสีขาว บริษัท ชุนฟง มีจำหน่าย) มะระที่ห่อผลจะค่อนข้างสวย ผิวมีสีเขียวอ่อน

ต้นมะระขี้นกยักษ์โอกินาวา อายุได้ประมาณ 60 วัน มะระรุ่นแรกที่ออกดอกก่อนจะเริ่มแก่ทยอยเก็บผลได้ ซึ่งหลังมะระขี้นกยักษ์โอกาวาติดผลอ่อนขนาดเล็ก จากนั้นอีกประมาณ 12-18 วัน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวขายหรือรับประทานได้ มะระขี้นกยักษ์โอกินาวาสามารถเก็บเกี่ยวได้นานประมาณ 5-10 รุ่น นั้นก็จะขึ้นอยู่กับสภาพต้นการดูแลรักษา ฤดูกาลปลูก เป็นต้น โดยตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา ที่สวนคุณลี จำหน่ายมะระโอกินาวาได้ กิโลกรัมละ 100 บาท ออกจากสวน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพืชผักที่สร้างมูลค่าผลตอบแทนแก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

โรคและแมลงศัตรูมะระขี้นกยักษ์โอกินาวา

ก็จะเหมือนพืชตระกูลมะระหรือแตงทั่วไปในบ้านเรา จะมีการทำลายหรือระบาดก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หรือช่วงฤดูกาลปลูก ซึ่งจากที่ “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. 081-886-7398 ปลูกมะระโอกินาวามาประมาณ 2 ปี และปลูกมาตลอดทั้งปี ก็สามารถสรุปโรคและแมลงศัตรูที่พบกับมะระขี้นกยักษ์โอกินาวาในเบื้องต้น ดังนี้

“เพลี้ยไฟ” ช่วงอากาศร้อนอบอ้าว แห้งแล้ง ให้เฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเราการขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะๆ เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง สังเกตจากยอดอ่อนหรือใบอ่อน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สังเกตดูที่ใบจะหงิกก็ต้องฉีดยากำจัดเพลี้ยไฟ ซึ่งบางท่านอาจจะเลือกฉีดพ่นด้วยน้ำหมักสมุนไพร เชื้อชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อบิวเวอเรีย เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถเข้าทำลายเพลี้ยไฟได้

การใช้ ห้ามผสมสารเคมี และควรฉีดในช่วงเวลาเย็น แต่ถ้าเห็นว่าระบาดมากควรใช้สารเคมีสกัดยับยั้งเสียก่อน ซึ่งเพลี้ยไฟมีการระบาดที่เร็ว ยกตัวอย่าง สารที่มีความปลอดภัยสูง อย่าง กลุ่มอิมิดาคลอพริด (เช่น โปรวาโด, สลิง เอ็กซ์, โคฮีนอร์, เสือพรีอุส) ฉีดสลับด้วยสารกลุ่มต่างๆ เพื่อป้องกันการดื้อสารเคมี เช่น สารกลุ่มคาร์โบซัลแฟน (เช่น โกลไฟท์), กลุ่มฟิโฟนิล (เช่น เฟอร์แบน), กลุ่มคาร์บาริล (เช่น เซฟวิน, เอส-85) เป็นต้น เนื่องจากเพลี้ยไฟบินในเวลากลางวัน ในช่วงเช้าจนถึงบ่าย คือเริ่มพบเพลี้ยไฟมากในช่วง 08.00-13.00 น. สูงสุดในเวลา 09.00-10.00 น. หลังจากนี้จะพบเพลี้ยไฟน้อยลง โดยเฉพาะในเวลา 18.00-06.00 น. จะพบน้อยมาก ก็ต้องเลือกเวลาฉีดที่เหมาะสม

“แมลงหวี่ขาว” เป็นแมลงประเภทปากดูดขนาดเล็ก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใต้ใบพืช หนึ่งในแมลงศัตรูพืชสำคัญ มีการระบาดและทำความเสียหายให้กับพืชผักเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะฤดูร้อนจะมากเป็นพิเศษ แมลงหวี่ขาวสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช โดยทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนของพืช การทำลายของตัวอ่อนทำให้เกิดเป็นจุดสีเหลืองบนใบพืช ใบพืชหงิกงอ ขอบใบม้วนลงด้านล่าง ต้นแคระแกร็น และเหี่ยว หากพบทำลายในปริมาณมากอาจทำให้พืชตายได้ นอกจากนี้ ยังเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัส สาเหตุโรคใบด่างในพืชต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลงหรือต้นตาย

การป้องกันและกำจัด การจัดการแปลงปลูกพืช หากพบแมลงหวี่ขาวใต้ใบพืชจำนวนมาก ให้ตัดเก็บส่วนของพืชเผาทำลายเพื่อป้องกันการระบาด หรือหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้เก็บเศษซากพืชออกนอกแปลงปลูก และทำความสะอาดแปลงปลูกและพื้นที่รอบๆ

การใช้กับดักกาวเหนียวโดยอาศัยพฤติกรรมของแมลงซึ่งชอบบินเข้าหาวัตถุสีเหลือง การติดกับดักกาวเหนียวนอกจากสามารถลดจำนวนแมลงได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังสามารถใช้ในการตัดสินใจในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงต่อไป

การควบคุมโดยชีวภัณฑ์ การใช้ “เชื้อราบิวเวอเรีย” เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง เข้าทำลายแมลงในสภาพความชื้นที่เหมาะสม เส้นใยจะเข้าตามช่องว่างของแมลง เจริญเติบโตโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหารจนแมลงตาย

ส่วนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว หากพบแมลงหวี่ขาวจำนวนมาก หรือเกิดการระบาด ควรพ่นสารกลุ่มออกฤทธิ์ที่แนะนำให้ใช้ สำหรับป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวโดยเฉพาะ ควรพ่นสารจากกลุ่มที่ออกฤทธิ์น้อยก่อน และ/หรือสลับกับกลุ่มที่มีสารออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น เช่น พ่นสารกลุ่มที่มีกลไกการออกฤทธิ์แบบสัมผัสก่อนพ่นสารกลุ่มที่มีกลไกการออกฤทธิ์แบบดูดซึม เป็นต้น และควรใช้สารเคมีตามอัตราที่แนะนำ เช่น กลุ่มอิมิดาคลอพริด (เช่น โปรวาโด, สลิง-เอ็กซ์, โคฮีนอร์, เสือพรีอุส) ฉีดสลับด้วยสารกลุ่มต่างๆ เพื่อป้องกันการดื้อสารเคมี เช่น สารกลุ่มคาร์โบซัลแฟน (เช่น โกลไฟท์), กลุ่มคาร์บาริล (เช่น เซฟวิน, เอส-85), อะเซทามิพริด (เช่น โมแลน), ไดโนทีฟูแรน (เช่น สตาร์เกิล) เป็นต้น

“หนอน” ก็จะคอยทำลายกัดกินใบ ยอด และส่วนต่างๆ ของต้นมะระ ระบาดทุกช่วงอายุโดยเฉพาะช่วงที่ฝนตก

กรณีใช้สารชีวภัณฑ์ เชื้อแบคทีเรีย “บาซิลัส ทูริงเยนซิส” หรือ “เชื้อบีที” เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งในธรรมชาติ ที่มีฤทธิ์ในการทำลายแมลงโดยเฉพาะหนอนผีเสื้อที่เป็นศัตรูของพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด เมื่อหนอนกินเชื้อบีทีเข้าไป สารพิษที่บีทีสร้างขึ้นจะไปมีผลทำให้ระบบย่อยอาหารของแมลงล้มเหลว กระเพาะบวมเต่งและแตก ส่งผลให้แมลงหยุดกินอาหาร เคลื่อนไหวช้า ชักกระตุก เป็นอัมพาต และตายภายใน 1-2 วัน เชื้อบีทีจึงสามารถใช้ในการควบคุมหนอนผีเสื้อ ศัตรูพืชหลายชนิดที่ดื้อต่อสารเคมีได้ดี ในขณะเดียวกันเชื้อบีทียังเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ไม่มีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ควรใช้เชื้อบีทีในขณะที่หนอนยังเล็กอยู่ ควรพ่นในตอนเย็นเพื่อเลี่ยงแสงแดด

การฉีดพ่นในขณะมีความชื้นในแปลงสูงจะได้ผลดียิ่งขึ้น ควรฉีดพ่นติดต่อกัน 2-3 ครั้ง และควรผสมสารจับใบทุกครั้ง ถ้ามีการระบาดมากก็เลือกใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่น กลุ่มอะบาเม็กติน (เช่น โกลแจ็กซ์) กลุ่มไซเพอร์เมทริน (เช่น โกลน็อค-35, เมกก้า 50)

“แมลงวันทอง” ทำลายพืชผลผิวบางกว่า 300 ชนิด แมลงวันผลไม้มีพฤติกรรมการหากินในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในเวลาเช้าไม่ชอบช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งและแสงแดดจัด

การป้องกันกำจัด ทำได้หลายวิธี สามารถนำวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมมาผสมผสานกัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุมแมลงวันผลไม้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด อย่าง “การห่อผล” เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมมากวิธีหนึ่ง การห่อผลนับว่าเป็นวิธีที่สามารถควบคุมการทำลายของแมลงวันผลไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

“โรคราน้ำค้าง” ระบาดและพบมากช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว ความชื้นสูง น้ำค้างมาก มักพบมีแผลเหลี่ยมเล็กสีเหลืองบนใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ กรณีที่มีความชื้นสูงในตอนเช้า จะพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีเทาดำตรงแผลใต้ใบ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมโรคจะระบาดรวดเร็ว ทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น

วิธีแก้ไข หากพบเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ+เมทาแลกซิล หรือสารไดเมทโธมอร์ฟ หรือสารอีทาบ็อกแซม ผสมกับสารโพรพิเนบ (เช่น แอนทราโคล) ฉีดพ่น ได้ผลดีและไม่เป็นอันตรายต่อดอกและผล

โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง หรือจะเป็นสารชีวภัณฑ์ หรือน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลงนั้นก็ขึ้นอยู่กับแนวทางของแต่ละสวนที่จะเลือกใช้ โดยสวนคุณลีจะใช้สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงเริ่มปลูกจนถึงช่วงต้นมะระขี้นกเริ่มออกดอก ก็จะหยุดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง แต่จะมาใช้สารชีวภัณฑ์ที่ปลอดภัยแทน เน้นไปที่ปุ๋ยและฮอร์โมนอาหารเสริมแทน เช่น แคลเซียม-โบรอน ธาตุอาหารรอง เพื่อช่วยในการออกดอกติดผลที่สมบูรณ์ และจะเน้นการ “ห่อผล” มะระขี้นกโอกินาวาเป็นสำคัญเพื่อป้องกันผลมะระให้ปลอดภัย

อาหารยอดนิยมของจังหวัดโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น มะระโอกินาวา หรือคนญี่ปุ่นเรียก “โกยะ” ถือเป็นผักพื้นบ้านที่มีวิตามินซีสูงในลำดับต้นๆ ส่วนรสขมในมะระเกิดจากสารที่เรียกว่า โมโมร์ดิซิน และชาแลนทินที่อยู่ในเปลือก มีสรรพคุณทางยาในการลดน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคเบาหวาน

ที่โอกินาวาเชื่อกันมาแต่สมัยโบราณว่า ความขมของมะระจะช่วยทำให้เลือดสะอาด และช่วยเรื่องความดันเลือดให้คงที่ ด้วยความที่มะระมีวิตามินซีมากกว่ามะนาว 2-3 เท่าตัว มากกว่าหัวกะหล่ำถึง 4 เท่า ทำให้มะระเป็นตัวแทนอาหารของโอกินาวามายาวนาน ซึ่งคนที่ไปเที่ยวโอกินาวาถ้าไม่ได้รับประทานผัดมะระแสดงว่ายังมาไม่ถึง นอกจากมะระโอกินาวาจะมีวิตามินซีแล้ว ยังมีวิตามินอี และยังมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น คาเลี่ยม มีใยอาหารอยู่มาก เหมาะสำหรับการป้องกันความอ่อนเพลียที่เกิดในหน้าร้อนด้วย ดังนั้น จึงนำเสนอสูตรการผัดมะระโอกินาวา ดังนี้

ส่วนประกอบ

– มะระโอกินาวา (โกยา) 1 ผล (ประมาณ 250 กรัม)

– เต้าหู้ขาว 1 ก้อน (ประมาณ 300 กรัม)

– ไข่ไก่ 1-2 ฟอง (ตามความพอใจ)

– น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

– ซีอิ๊วญี่ปุ่น (โชยุ) 1 ช้อนโต๊ะ

– เกลือ และพริกไทยเล็กน้อย

วิธีทำ ผ่าครึ่งมะระตามยาว ใช้ปลายช้อนขูดเมล็ดและเยื่อด้านในทิ้ง คว่ำด้านตัดลงบนเขียง และซอยจากด้านปลายออกเป็นชิ้นบาง ประมาณ 5 มิลลิเมตร ใส่มะระลงในชามอ่าง คลุกเข้ากับเกลือทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ล้างน้ำให้หมดเกลือ และตั้งให้สะเด็ดน้ำในกระชอน ใช้มือฉีกเต้าหู้ออกเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดพอคำ ตั้งให้สะเด็ดน้ำในกระชอน ตีไข่จนไข่ขาวไม่เหลือเป็นก้อน อุ่นน้ำมันในกระทะให้ร้อน เรียงเต้าหู้ที่เช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้งลงในกระทะทีละชิ้น ทอดเต้าหู้ให้เหลืองสุกทั้งสองด้านบนไฟแรง อย่าคนกลับไปมา เพราะเต้าหู้จะเละและเสียรูปทรง ปล่อยให้ด้านหนึ่งเหลืองสุกดีก่อน จึงกลับอีกด้านทอด

พอเต้าหู้เหลืองสุกทั้งสองด้าน ตักขึ้นใส่จาน จากนั้นอุ่นกระทะอีกครั้ง เติมน้ำมันอีก 1 ช้อนโต๊ะ ลงในกระทะและใส่มะระลงไปผัด ประมาณ 1-2 นาที บนไฟระดับกลาง อย่าผัดนานเกินไป ควรให้เนื้อของมะระยังคงความกรอบ ใส่เต้าหู้กลับลงไปในกระทะ ผัดรวมเข้ากับมะระ เทไข่ลงไปและคนเป็นวงกว้างๆ เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากัน ระวังอย่าให้เต้าหู้เละและเสียรูปทรง ปรุงรสด้วยซีอิ๊วญี่ปุ่น (โชยุ) เกลือ และพริกไทย ดับไฟ และถ้ามีฝอยปลาโอรมควันแห้ง (คะสึโอะบุชิ) โรยหน้าอาหารก่อนเสิร์ฟ หรือผัดแบบบ้านเรา อาจจะใส่เนื้อหมู เนื้อไก่ ตามความชอบ ใส่น้ำตาล ซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย และน้ำปลาปรุงรสให้ถูกปาก

นอกจากนี้ ยังประยุกต์ได้อีกหลากหลายเมนู ตามความชื่นชอบแบบอาหารไทย เช่น ต้มจืดมะระ แกงกะทิใส่มะระ หรือจะใช้เป็นผักเคียง รับประทานกับขนมจีนน้ำยา กุ้งแช่น้ำปลา รับประทานกับน้ำพริก เป็นต้น

ได้ยินมาแต่เด็กว่า “ทุเรียน” เปรียบประดุจ “ราชาแห่งผลไม้” เนื่องด้วยลักษณะเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ของเปลือกนอก ที่มีหนามแหลมคล้ายมงกุฎของพระราชา อีกทั้งเนื้อในเนียนละมุนหอมเย้ายวน กลิ่นรัญจวน เจือรสชาติแสนอร่อย ยากจะหาผลไม้หวานจัดอื่นใดมาเทียบได้ แต่ที่เคยรับรู้มานั้นทุเรียนเมืองนนท์มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ราคาลูกละอย่างต่ำ 5,000 บาท หรือเป็นหมื่นๆ บาทก็มี ขนาดราคาลูกละ 25,000 บาท ยังถูกจองคาต้นซะหมดเกลี้ยง

ครั้นเมื่อได้ข้ามด่านสิงขร ชายแดนไทย-พม่า ตระเวนตามสวนหมากในเมืองตะนาวศรี และล่องเรือทวนแม่น้ำตะนาวศรีขึ้นไปเรื่อยๆ สองฝั่งน้ำที่เห็นสวนหมากแน่นครึ่ดนั้น ที่เชิดก้าน ชูยอดใบสลอนอยู่ตลอดเขตสวนหมาก เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะทั้งหมดนั้นที่ชาวสวนตะนาวศรี ปลูกแทรกสวนหมากอยู่ คือ “ทุเรียน”

ทุเรียนตะนาวศรีที่เห็นกะๆ เอาด้วยสายตา เพียงไม่กี่กิโลเมตรทอดยาวขนาบไปตามสายน้ำทั้งสองฝั่ง คะเนดูแล้ว มีเป็นหมื่นๆ ต้น ทำไมจึง “ดกสาหัส”, “มากสาหัส” ขนาดนี้ แล้วเมื่อขึ้นฝั่งมา สองข้างถนนยังมีเพิงไม้ขายทุเรียนสุกลูกเล็ก ฉีกเปลือกออกเห็นเนื้อในเหลืองจัด กลิ่นอบอวลยิ่งๆ กองเบ้อเริ่มหลายลูก ชาวบ้านตะนาวศรีขายเหมาให้คณะเดินทางสำรวจชาวไทยในราคาเพียงกองละ 150-200 บาท ซึ่งถ้ามาซื้อหาตามราคาเมืองไทย อาจได้ไม่ถึงครึ่งลูกซะล่ะมั้ง

ดิฉันได้เดินทางเมืองตะนาวศรีในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 พร้อมกับทีมนักวิชาการชาวไทย หนึ่งในผู้ร่วมเดินทาง คือ อาจารย์เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ท่านเป็นครูของชาวนาไทยทั้งประเทศ มีความเชี่ยวชาญที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทยในเรื่องข้าว และมีความรู้หลากหลายนานาในเรื่องพืชไร่ พืชสวน ผลไม้ พืชพันธุ์พื้นบ้าน

ดิฉันรู้จักและเคยทำงานเป็นลูกมืออาจารย์เดชามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เดินตามอาจารย์เดชาบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-พม่า, ชายแดนไทย-ลาว เก็บเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมืองจากหมู่บ้านชาวเขาหลากหลายชนเผ่าอยู่ร่วมปี และยังได้ติดต่อทำงานด้วยกันยาวนานมาจนบัดนี้

เมื่อได้มีโอกาสเดินทางไปเมืองตะนาวศรีกับอาจารย์เดชา Royal Online และได้เห็นดงทุเรียนกลางสวนหมาก ได้ชิมทุเรียนตะนาวศรีอยู่หลายยก พร้อมๆ กันกับผู้ร่วมเดินทางอีกหลายท่าน ดิฉันจึงตามไปสัมภาษณ์ สืบค้น ขอความรู้เรื่องทุเรียนตะนาวศรีจากอาจารย์เดชา ซึ่งท่านก็ได้กรุณาให้ความรู้เรื่องทุเรียนตะนาวศรีมาดังนี้

ถิ่นกำเนิดของทุเรียน
“ทุเรียนเป็นพืชมีถิ่นกำเนิดแรกเริ่มอยู่ที่เกาะบอร์เนียว ในมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้ของประเทศไทย เกาะบอร์เนียวแบ่งออกเป็น 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย เกาะบอร์เนียวจะเป็นเกาะใหญ่ที่เป็นต้นกำเนิดของทุเรียนส่วนใหญ่ แต่ทุเรียนก็ยังมีอยู่อีกบ้างที่เกาะสุมาตรา ทุเรียนป่ามีอยู่เป็น 10 สปีชีส์ แต่ที่มนุษย์เอามากินกันนี้เป็นทุเรียนบ้าน ซึ่งเป็นสปีชีส์หนึ่งของทุเรียนป่า เราเอาทุเรียนบ้านคัดพัฒนาพันธุ์เรื่อยมา จนเป็นทุเรียนปัจจุบัน แต่ลักษณะเด่นของทุเรียนก็ยังปรากฏชัดอยู่ คือเปลือกที่มีหนามแหลม คนพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว สุมาตราจึงเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า ทุเรียน หรือ ดุเรียน ซึ่งแปลว่า ผลไม้ที่มีหนาม ปัจจุบันก็ยังเรียกชื่อนี้กันอยู่

อันที่จริงทุเรียนเป็นพืชวงศ์เดียวกับต้นนุ่นและต้นงิ้ว แต่สภาพแวดล้อมต่างกัน ทำให้ลักษณะต่างกันไป งิ้วกับนุ่นชอบแล้ง เจอน้ำท่วมตายแน่ ส่วนทุเรียนชอบชื้น เจอแล้งตายแห้งเลย แต่ถึงจะชอบชื้นถ้าเจอน้ำท่วมก็ตาย พืช 3 ชนิดนี้แม้จะเป็นวงศ์เดียวกัน แต่เกิดคนละที่ ต้นงิ้วเกิดแถวเมืองไทยมีมาก ส่วนนุ่นมีถิ่นกำเนิดที่อเมริกาใต้ สำหรับทุเรียนถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปเอเชีย ในพื้นที่ร้อนชื้น ชื้นมากๆ ทุเรียนต้องการพื้นที่ชื้นแต่ไม่แฉะ ไม่แล้ง ซึ่งเป็นสภาพภูมิประเทศแถวบอร์เนียวและสุมาตราพอดี แถวเขตศูนย์สูตรซึ่งมีลักษณะชื้นมาก ร้อน และชื้นจัด เหมาะแก่สภาพการปลูกทุเรียน”

คนไทยกินทุเรียนมาตั้งแต่เมื่อใด
“แม้จะไม่มีบันทึกชัดเจนว่าคนไทยกินทุเรียนตั้งแต่เมื่อใด แต่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ ช่วงที่ลาลูแบร์ล่องเรือขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาเพื่อเข้าไปที่พระราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา สองฝั่งน้ำที่เป็นสวนผลไม้ก็มีทุเรียนอยู่ด้วย ฝั่งธนบุรี บางกอก ปลูกทุเรียนมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว แต่อยุธยาปลูกไม่ได้เพราะน้ำเหนือหลากลงมาท่วมทุกปี ฝั่งธนน้ำไม่ลึก เป็นพื้นที่น้ำเค็มขึ้นถึง เขาเรียกว่าดินลักจืดลักเค็มทำให้คุณภาพของทุเรียนดี คือผลไม้ถ้าขึ้นในดินที่น้ำเค็มขึ้นถึงหรือน้ำกร่อยขึ้นถึง รสชาติจะดีเพราะแร่ธาตุครบ สวนโบราณจึงอยู่ในเขตนี้ทั้งหมด ลึกสุดก็คือนครชัยศรี