ซึ่งจะทำให้เรามีต้นทุนการผลิตที่สูงถ้าขายไม่ได้ราคาเกษตรกร

กำไรต่างกับเขียวเสวยที่มีขั้นตอนไม่มาก ไม่ต้องห่อผล เพียงแค่เราดูแลผิวให้สวยก็สามารถเก็บขายได้ราคา ในปีที่ผ่านมามะม่วงเขียวเสวยราคาแพงสุดอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ขายจากสวนได้ราคากิโลกรัมละ 50 บาท ส่วนในช่วงอื่นราคาจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 25 บาท และช่วงเดือนมีนาคมจะทำส่งประเทศเวียดนามได้ราคา กิโลกรัมละ 38 บาท

ตลาดเวียดนาม ถือเป็นตลาดที่มีอนาคต คนเวียดนามเริ่มนิยมบริโภคมะม่วงเขียวเสวยจากประเทศไทย เพราะรสชาติหวานอร่อยและเราจะเน้นเก็บมะม่วงที่แก่จัดเท่านั้นเพื่อรักษาคุณภาพให้คงที่จะไม่เก็บมะม่วงอ่อนออกขายโดยเด็ดขาด ที่สวนรุ่งเจริญสามารถผลิตมะม่วงเขียวเสวยส่งเวียดนามได้ปีละกว่า 300 ตัน (3 แสนกิโลกรัม)

เทคนิคการผลิตมะม่วงเขียวเสวยให้มีคุณภาพดี ที่สวนคุณเจริญ จะผลิตมะม่วงเขียวเสวยปีละ 3 รุ่น คือ รุ่นแรกจะเก็บประมาณเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน รุ่นสองเดือนกุมภาพันธ์และรุ่นที่สามเดือนพฤษภาคม เนื่องจากปีหนึ่งเก็บผลผลิตมากถึง 3 ครั้ง การดูแลจึงต้องดีเป็นพิเศษ คือหลังจากตัดแต่งกิ่งประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน คุณเจริญ จะใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-0-0 อัตรา ต้นละ 2 กิโลกรัม เมื่อมะม่วงแตกใบอ่อนใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ประมาณต้นละ 2-3 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยทำให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์ ใบเขียวเป็นมัน

หลังจากมะม่วงแตกใบอ่อนเสมอกันดีแล้วจะราดสารแพคโคลบิวทราโซลชนิด 10 เปอร์เซ็นต์ อัตราต้นละ 15 กรัม ต่อทรงพุ่ม 1 เมตร ใส่ปุ๋ยทางดินเพื่อเร่งการสะสมอาหารโดยใช้สูตร 8-24-24 อัตรา ต้นละ 2 กิโลกรัม ทางใบจะฉีดพ่นปุ๋ย สูตร 0-42-56 อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ( อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร) ร่วมกับสาร “ไฮเฟต” อัตรา 1 ลิตร สารไฮเฟตจะช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อน เร่งการสะสมอาหารได้ดี ต่างจากคนอื่นที่จะนิยมใช้ปุ๋ย 0-52-34 ฉีดพ่นจุดนี้ คุณเจริญ แนะนำว่า ถ้าใช้ปุ๋ย 0-52-34 ในการสะสมอาหารต้องใช้ถึง 10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การใช้ปุ๋ย สูตร 0-42-56 จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า ในขณะที่ผลผลิตออกมาเหมือนกัน จึงเลือกใช้เพราะเป็นการประหยัดต้นทุน

เมื่อสะสมอาหารได้ประมาณ 3-4 ครั้ง หรือนับจากวันราดสารแล้วประมาณ 60 วัน ขึ้นไปจะเปิดตาดอกโดยใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 20 กิโลกรัม ร่วมกับไทโอยูเรีย (เช่น ไทเมอร์) อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่น จะทำให้มะม่วงออกดอกสม่ำเสมอ ในช่วงดอกจะต้องเน้นการดูแลเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฉีดพ่นสารโบร่า เพราะจะทำให้มะม่วงติดผลดกและผลมีคุณภาพดี เนื้อแน่นไม่เป็นโพรง ถ้าทำมะม่วงส่งออกต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะต่างประเทศเขาพิถีพิถันเรื่องเนื้อขาดเป็นโพรงมาก

ปัญหาดอกบานหน้าฝนกับโรคแอนแทรคโนส ในช่วงดอกบานปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ น้ำฝน ฝนจะพาโรคต่างๆ มาทำลายดอกมะม่วงของเรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส คุณเจริญ จะใช้วิธีฉีดยาเชื้อราป้องกัน ยาที่ใช้ประจำ ได้แก่ โวเฟ่น 500 ซีซี ผสมกับแอนทราโคล 1 กิโลกรัม ฉีดสลับกับอมิสตา 200 ซีซี ผสมกับแอนทราโคล 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดสลับกัน 5-6 วัน ต่อครั้ง ถ้าฝนตกบ่อย ให้ฉีด 3 วันครั้ง ในเรื่องการใช้สารโพคลอราชฉีดช่อดอกมะม่วงเขียวเสวย นักวิชาการมะม่วงหลายท่านห้ามใช้ เพราะจะทำให้ดอกมะม่วงเสียหาย แต่คุณเจริญใช้สูตรนี้มาตลอด ยืนยันว่าไม่เสียแน่นอน

“จะต้องจำไว้เสมอว่า หลังฝนตกต้องฉีดพ่นยาเชื้อราทันทีห้ ามปล่อยทิ้งไว้นานเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคจะเข้าทำลายช่อดอก”

การขายผลผลิตให้ได้ราคาต้องรวมกลุ่มกันขาย กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงส่งออก จ.สระแก้ว เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ทำสวนมะม่วงโดยมี คุณเจริญเป็นประธานกลุ่ม ปัจจุบัน มีสมาชิกอยู่ 22 ราย มีพื้นที่ปลูกมะม่วงรวม ประมาณ 10,000 ไร่ ผลิตมะม่วงคุณภาพดีส่งออกตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม ถือว่าเป็นกลุ่มที่ผลิตมะม่วงส่งออกมากที่สุดในประเทศ

คุณเจริญ ยังบอกด้วยว่า การจะทำสวนมะม่วงให้ประสบความสำเร็จสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือการหาตลาด เมื่อก่อนเกษตรกรไม่มีการรวมตัวกัน การขายผลผลิตก็ต่างคนต่างขาย แม่ค้าก็กดราคา ตลาดส่งออกก็ไม่มาติดต่อ เพราะไม่มั่นใจในความต่อเนื่องของผลผลิต แต่เมื่อมีการรวมตัวกัน อำนาจการต่อรองก็สูงขึ้น ตลาดต่างๆ ก็มาหามากขึ้น กลุ่มสระแก้วเป็นกลุ่มที่มีการจัดการผลผลิตที่ออกมาอย่างดีเยี่ยม ทุกเดือนจะมีการประชุมของสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อให้ทราบว่าผลผลิตของใครจะออกช่วงไหน ปริมาณเท่าไร เพื่อที่จะวางแผนการขายให้มีประสิทธิภาพ เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ จะวางแผนการเก็บให้สามารถคัดแยกเกรดได้หลายระดับ โดยจะคัดแยกเป็นการขายผลสดและเข้าโรงงานแปรรูป

การขายผลสด ก็จะแบ่งเป็นหลายตลาด เช่น ตลาดญี่ปุ่น ต้องการมะม่วงผิวสวย ขนาดผล 200-300 กรัม (ได้ราคาสูง 70-90 บาท) ส่วนผลขนาดใหญ่กว่า 300 กรัม ก็จะขายตลาดจีนและเกาหลีใต้ (60-70 บาท) สำหรับมะม่วงที่เกรดรองลงมาก็จะส่งขายตลาดภายในประเทศ มะม่วงที่เหลือจากการคัดขายผลสดก็สามารถส่งขายโรงงานแปรรูปได้ ที่ส่งขายมากที่สุด ได้แก่ โรงงานฟรีซดายที่ บริษัท จันทรบุรีโกลบอล-เทรด จำกัด จ.จันทบุรี ถือเป็นโรงงานที่รองรับผลผลิตของกลุ่มทั้งหมด เพราะใช้มะม่วงเกรดไม่สูงนัก

มาตรฐานมะม่วงที่จะส่งเข้าโรงงานฟรีซดาย 1.ความแก่ แก่จัด ประมาณ 90 ขึ้นไป (จมน้ำทุกลูก), 2. ผิว ไม่ต้องสวย เน้นคุณภาพเนื้อ ผิวสามารถมีร่องรอยการทำลายของแมลงได้ แต่ต้องไม่เข้าถึงเนื้อใน 3. ขนาดผล ผลมีขนาด 300 กรัมขึ้นไป รูปทรงมาตรฐาน, 4. ต้องไม่มีรอยโรคแอนแทรคโนส, 5. ต้องไม่มีการทำลายของแมลงวันทอง, 6. ความหวานไม่ต่ำกว่า 16 องศาบริกซ์ 7. ตัดผลติดขั้วยาวประมาณ 1 เซนติเมตร, 8. ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงห่อเกรดเอ อาจใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อผลกันการกระแทกและกันแมลงวันทองก็พอ, 9. จะต้องมีใบรับรองคุณภาพ GAP, 10. ต้องไม่พบสารเคมีตกค้าง ตามมาตรฐานส่งออก

ส่วนเรื่องแมลงศัตรู คุณเจริญ จะเน้นการป้องกันเป็นหลัก เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราจะรู้ว่าระยะไหนแมลงชนิดใดจะเข้าทำลาย ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อช่อดอกแทงยาวประมาณ 2 นิ้ว จะมีหนอนมาทำลายเราก็จะฉีดยาฆ่าหนอน อาจจะใช้ยากลุ่มเมทโทมิล หรือ ซฟวิน-85 ก็ได้ ฉีดพ่นประมาณ 1-2 ครั้ง หนอนก็จะไม่ทำลาย หรือในระยะดอกบานเพลี้ยไฟจะระบาด ทางราชการเขาให้งดการฉีดพ่นสารเคมีเพราะจะไปทำลายแมลงที่มาช่วยผสมเกสร แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเราไม่ฉีดเพลี้ยไฟกินดอกมะม่วงเราหมดก่อนแน่ก็ต้องฉีด แต่การฉีดจะต้องเน้นใช้ยาที่ไม่ทำลายดอก เช่น กลุ่มยาผงอย่างสารโปรวาโด ส่วนยาน้ำมันที่ลงท้ายด้วย EC ให้พยายามหลีกเลี่ยง เพราะเป็นยาร้อนจะทำให้ดอกแห้ง เวลาฉีดก็ควรฉีดพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น ห้ามฉีดเวลากลางวันเพราะอากาศร้อนจัด

ส่วนระยะดูแลผล เมื่อมะม่วงเริ่มติดผลอ่อนจะต้องฉีดปุ๋ยทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและลดปัญหาผลร่วงแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเหลวสูตรเสมอ หรือสูตรตัวหน้าสูงร่วมกับน้ำตาลทางด่วน ข้อดีของการใช้ปุ๋ยเหลวคือจะช่วยทำให้ผลมะม่วงโตเร็วและลดปัญหาผลแตกสะเก็ด ซึ่งถ้าใช้ปุ๋ยเกล็ดบางครั้งจะพบปัญหาผลแตกสะเก็ดขายไม่ได้ราคา ส่วนเรื่องเชื้อราในระยะนี้จะใช้สารแอนทราโคลฉีดป้องกันไว้ตลอด จนผลใกล้แก่จึงหยุดใช้ยาเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออก

อาการผิวแตกในมะม่วงเขียวเสวย (Bacterial Black Spot) เป็นโรคที่พบการทำลายมากโรคหนึ่งของมะม่วงสายพันธุ์นี้ อาการโดยทั่วไปจะพบรอยแตกของผิวเป็นรูปดาว แตกเป็นสะเก็ด และมักมีน้ำเยิ้มตรงขอบ มากน้อยแล้วแต่ความรุนแรงของเชื้อโรค สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas Campestris pv. Mangiferaeindicae โดยเชื้อสาเหตุดังกล่าวมักจะหลบอาศัยอยู่บริเวณกิ่งในทรงพุ่มของต้นมะม่วงเขียวเสวยนั่นเอง และเชื้อดังกล่าวจะเข้าทำลายเมื่อผิวมะม่วงเริ่มมีรอยแตกหรือเป็นแผลที่ผล

การป้องกัน ป้องกันผลมะม่วงกระแทกกับกิ่งเป็นรอย โดยการตัดแต่งกิ่งในทรงพุ่มให้โปร่ง, ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ ในช่วงอากาศร้อน ควรงดการฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด และยากลุ่มน้ำมัน เพราะจะทำให้ผิวแตกได้ง่าย ปลูกต้นไม้โตเร็ว เช่น กล้วย ไผ่เลี้ยง ฯลฯ เป็นแนวกันลมเพื่อไม่ให้ลมมีความแรงมากพอที่จะพัดผลมะม่วงเขียวเสวยกระแทกกับกิ่งหรือลำต้น

“ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี”

จากคำขวัญของจังหวัดปราจีนบุรี แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ไผ่ตง นับเป็นพืชที่ขึ้นชื่อของจังหวัด และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่มาอย่างยาวนาน ท่ามกลางความสำคัญของพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นและได้สร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างยิ่งคือ สายพันธุ์ไผ่ตงศรีปราจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นและเป็นที่ยอมรับ มีการนำสายพันธุ์ไปปลูกกันอย่างกว้างขวาง ด้วยมีลักษณะเด่น คือ เป็นพันธุ์ไผ่ที่โตเร็ว และแตกให้หน่อดี ปริมาณหน่อเยอะ หน่อให้น้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม สามารถเก็บหน่อได้หลังปลูกเพียง 1-2 ปี อีกทั้งลำต้นก็มีขนาดใหญ่ หน้าตัดตั้งแต่ 4 จนถึง 6 นิ้ว ทำให้เหมาะกับการนำไปใช้ในกิจกรรมการเกษตร เช่น การนำไปทำหลักปักเพื่อเลี้ยงหอยแมลงภู่ อีกทั้งหลังจากลงปลูกครั้งแรกประมาณ 1 ปี ก็สามารถตอนกิ่งจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง

ไผ่ตงศรีปราจีน เกิดขึ้นครั้งแรกที่สวนของ คุณสอาด ใจเชื่อม เก็บจากเมล็ดงอกมาเลี้ยง จนได้ไผ่ตงศรีปราจีน

เดิมคุณสอาดเป็นชาวนา แต่ต้องประสบปัญหาว่า ทำนาแล้วได้ผลผลิตไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงปรับเปลี่ยนอาชีพมาสู่การทำสวน

โดยเฉพาะการปลูกไผ่ตงจำหน่าย ซึ่งเดิมนั้นสายพันธุ์ที่ปลูกกันโดยทั่วไปคือ ไผ่ตงหม้อ “ผมก็ปลูกเรื่อยมาจากที่ทำกับแม่ ในพื้นที่ 10 ไร่ เป็น 20 ไร่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี”

คุณสะอาด ปลูกไผ่เรื่อยมา จนกระทั่งมาประสบปัญหาในช่วงประมาณปลายปี พ.ศ. 2537 ​ไผ่ตงที่​เกษตรกรปลูกอยู่ทั่วประ​เทศ​ได้ออกดอก ​ทำ​ให้ต้น​ไผ่ตงตาย สภาพ​การณ์​เช่นนี้​ทำ​ให้​เกิด​ความ​เสียหาย​แก่​เกษตรกร​ผู้ปลูก​ไผ่ตงเป็นจำนวนมาก​และกว้างขวาง

จากเกษตรกรชาวสวนไผ่ตงที่มีผลผลิตออกจำหน่ายทุกปี เมื่อเจอภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ต้นไผ่ในสวนตายเกือบหมด แต่ท่ามกลางความโชคร้ายก็มีความโชคดีปรากกฏขึ้น “พอไผ่ออกดอกติดเมล็ดมา ก็มีบางส่วนร่วงหล่นมาในแปลง และตามลำห้วยข้างสวน เมล็ดเหล่านี้บางส่วนก็งอกขึ้นมาเป็นต้น ผมเลยไปขุดเอามาใส่ถุงตั้งไว้ในแปลงเพาะชำ ผมเก็บมาชำไว้ได้มากกว่า 1,000 ต้น เลยทีเดียว”

ซึ่งต้นไผ่ 1 ในจำนวน 1,000 กว่าต้น ได้แสดงถึงคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากต้นไผ่ต้นอื่นในรุ่นเดียวกัน คือมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ต้นสูงกว่า ในขณะที่ต้นอื่นจะมีลักษณะโตไม่ดีต้นเล็กเตี้ย เป็นส่วนใหญ่ คุณสะอาดจึงนำต้นไผ่ต้นดังกล่าวไปปลูก และพบว่าให้ลักษณะที่เด่นมาก แตกต่างจากต้นไผ่ตงที่เคยมีมาในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้เริ่มนำมาเพาะขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวน และนำลงปลูกในแปลงของตนเอง ในปี 2540

ต้นไผ่ตงดังกล่าวได้สร้างความสนใจให้กับทุกฝ่ายที่ได้รับทราบข้อมูลและเข้ามาดู “ส่วนที่มีชื่อไผ่ตงศรีปราจีนนั้น เป็นเพราะทางสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรีได้พาไปจดขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชและตั้งชื่อนี้ออกมา” คุณสะอาด กล่าว

เมื่อได้มีชื่ออย่างเป็นทางการ คุณสะอาด นอกจากจะเพาะขยายพันธ์ุด้วยวิธีการตอนเพื่อลงปลูกในแปลงของตนเองแล้ว ยังได้ขยายพันธุ์จำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจ ด้วยเหตุที่โตไว แตกหน่อดี ซึ่งปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และได้ขยายเป็นสายพันธุ์ขึ้นชื่อของจังหวัดปราจีนบุรี มีเกษตรกรนำไปปลูกเพาะจำหน่ายพันธุ์กันอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา

“ผมเองก็รู้สึกภูมิใจมากที่ต้นไผ่ของเราได้รับความสนใจ ซึ่งผมก็สามารถขายกิ่งพันธุ์ ในราคากิ่งละ 100 บาท จนสามารถมีเงินไปซื้อที่ดินเป็นของตนเองได้ถึง 20 ไร่ ซึ่งทำกินมาจนถึงทุกวันนี้” คุณสะอาด กล่าว

“พอดีว่าพื้นที่สวนของผมมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำที่นำมาใช้รด ซึ่งการปลูกไผ่ตง โดยเฉพาะการทำไผ่ตงนอกฤดูนั้นต้องมีน้ำมารดให้ไผ่ตงอย่างสม่ำเสมอ พอไม่มีน้ำ ทำให้เราไม่สามารถทำนอกฤดูได้ จึงลดพื้นที่ปลูกลง แต่ในกลุ่มพี่น้องผมที่มีสวนอยู่ติดแม่น้ำหรือมีแหล่งน้ำก็ยังปลูกไผ่ตงกันมากอยู่เหมือนเดิม” คุณสอาด กล่าว

ทั้งนี้ในปัจจุบัน คุณสอาดได้ขยายกิจกรรมการทำสวนเพิ่มเติม โดยเพิ่มการปลูกไม้ขุดล้อม ในกลุ่มของไม้ไทยนานาชนิดที่ตลาดต้องการและไม้ผล เช่น เงาะ กระท้อน ลำไย จำหน่ายเพิ่มเป็นรายได้อีกทาง โดยมีร้านจำหน่ายตั้งอยู่ที่บ้านดงบัง อำเภอเมืองปราจีนบุรี

ไผ่ตง อนาคตยังมี แต่ต้องทำนอกฤดู
คุณสอาด ได้กล่าวถึงการทำสวนไผ่ตงในปัจจุบันว่า ไผ่ตงยังถือเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพียงแต่มีข้อแม้ว่า ต้องทำไผ่ตงนอกฤดูถึงจะได้ราคา

ทั้งนี้ คุณสอาด ได้ขยายความถึงความหมายของการทำไผ่ตงนอกฤดูว่า เป็นการเร่งให้ต้นไผ่ตงออกหน่อเร็วขึ้น เป็นการทำให้ออกก่อนฤดูกาลปกติ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ราคาจำหน่ายดีกว่า โดยเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การให้น้ำ

คุณสอาด บอกว่า การทำไผ่ตงนอกฤดูนั้น จะต้องมีการเริ่มเตรียมการตั้งแต่เตรียมต้น ให้น้ำแก่ต้นไผ่ตั้งแต่เดือนธันวาคม ทั้งนี้ ระบบการให้น้ำในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือ การให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาในการขาดแคลนแรงงานที่ทำหน้าที่รดน้ำแล้ว ยังสามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็ว โดยการให้น้ำนั้นจะให้ทุก 3-4 วัน โดยดูที่ความชื้นของดินในแปลงปลูกไผ่ตงเป็นหลัก

ไผ่ตง จะสามารถให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวจำหน่ายได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาดี แต่พอเข้าพรรษาแล้ว จะเริ่มราคาลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่หน่อไม้ปีออกสู่ตลาด

“ถ้าทำไผ่ตงให้ออกตามฤดู จะไม่ค่อยได้ราคาเท่าไร แต่ถ้าสามารถทำให้ออกนอกฤดูได้ ซึ่งต้องมีแหล่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญจะทำให้มีรายได้อย่างน่าสนใจ อย่างปีนี้ราคาไผ่ตงช่วงนอกฤดู เมื่อตอนออกใหม่อยู่ที่ กิโลกรัมละ 30 บาท แต่ตอนนี้ลงมาหน่อยเหลือที่ กิโลกรัมละ 27-28 บาท”

สำหรับการทำไผ่ตงนอกฤดู จะทำไปจนกว่าเมื่อเข้าพรรา และเมื่อฝนตกลงไผ่ตามฤดูกาลออก สวนที่ทำนอกฤดูก็จะหยุดพักต้น ตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อรอทำนอกฤดูครั้งใหม่ในปีต่อไป

คุณสอาด บอกว่า จากที่ติดตามราคาไผ่ตงนอกฤดูของปี 2556 นี้ พบว่า ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ชาวสวนที่สามารถทำไผ่ตงนอกฤดูสามารถได้ผลตอบแทนที่ดีมาก ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาไผ่ตงในปีนี้ดี อาจสืบเนื่องมาจากคนทำไผ่นอกฤดูลดลง โดยสาเหตุสำคัญมาจากปริมาณน้ำที่ใช้ในสวนไม่เพียงพอ ซึ่งคุณสอาดเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหานี้

“ทำนอกฤดูในช่วงนี้ ชาวสวนจะได้เงินดี เพราะตัดครั้งหนึ่ง ทุก 3 วัน พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะได้น้ำหนักรวมประมาณ 300 กว่ากิโลกรัม ในราคาขายที่ กิโลกรัม 30 บาท ก็จะมีรายได้เกือบหมื่นบาทแล้ว”

และอีกหนึ่งในเทคนิคของชาวสวนไผ่ตงของปราจีนบุรีได้พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นคือ การ​ทำหน่อ​ไม้หมก ​หรือตงหมก ​

วิธีการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติของหน่อไม้ที่ได้ให้มีความหวานหอมน่ารับประทาน และเป็นที่ต้องการของตลาด โดยวิธีการดั้งเดิมที่ทำกันมาคือ การใช้ขี้เถ้าแกลบเป็นวัตถุดิบสำคัญในการหมก แต่ด้วยที่ปัจจุบันแกลบดำมีราคาแพง จึงมีการพลิกแพลงไปใช้ใบไผ่แห้งแทน ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุน โดยเสียเงินเพียงค่าซื้อถุงดำเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถเก็บถุงดำมาใช้งานได้อีกหลายครั้ง

“แตกต่างจากการใช้แกลบดำที่นอกจากจะต้องหาซื้อในราคาแพงแล้ว บางครั้งก็มีปัญหาว่า หมกไม่ดีทำให้ถุงแตกต้องเสียเงินซื้อถุงดำใบใหม่มาทดแทน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ใบไผ่แห้งแล้ว หมดปัญหาทุกอย่างไปเลย ถุงดำก็สามารถใช้ได้หลายครั้ง”

ทั้งนี้ จุดประสงค์สำคัญที่เกษตรกรชาวสวนไผ่ตงต้องมีการหมกหน่อไม้เพื่อทำให้หน่อไม้ที่ได้มีลักษณะผิวเปลือกขาว และมีรสชาติหวาน

“เมื่อหน่อไม้โผล่พ้นดินมาได้ประมาณ 3 อาทิตย์ จะใช้ถุงดำมาบรรจุใบไผ่ที่ร่วงบนพื้นในสวนให้เต็มถุง ยิ่งอัดให้แน่นยิ่งดี แล้วนำครอบที่หน่อไม้ที่ขึ้น โดยทิ้งไว้นานประมาณ 78- วัน ก็สามารถเปิดถุงและตัดหน่อไม้ไปจำหน่ายได้” คุณสอาด กล่าว

กล้วยน้ำว้าในประเทศไทย พบว่ามีอยู่ประมาณ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือ เอาไปทำกล้วยแผ่นอบ ก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมาก เหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลือง

ส่วนกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด สุดท้ายคือ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดง เป็นกล้วยที่ติดผลค่อนข้างดก ไส้กลางค่อนข้างแข็ง มีความฝาด จะเหมาะนำไปทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด เพราะไส้กล้วยมีความแข็งไม่เละ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดงนั้น ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยตากที่มีสีคล้ำดำ สีไม่สวย ดูเหมือนกล้วยตากเก่า

ในกรณีดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นกับผู้ปลูกหลายรายที่ส่งกล้วยน้ำว้าไส้แดงขายกับผู้ผลิตกล้วยตาก พบว่า กล้วยตากที่ได้มีสีคล้ำดำ หรือถ้าเอาไปทำกล้วยบวชชีก็ไม่สู้อร่อยนัก เพราะมีรสฝาด ในการเลือกปลูกกล้วยน้ำว้านั้นหลายท่านก็ต้องพิจารณาตลาดที่จะรับซื้อเป็นอย่างไร ขายให้กับใคร แล้วเขาเอาไปทำอะไร

กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ กล้วยดีที่เริ่มมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น ที่แผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้หน่อกล้วยน้ำว้านวลจันทร์ บางคนเรียก กล้วยน้ำว้าเงิน หรือ กล้วยน้ำว้าหนัง เริ่มแรกนำมาปลูกแซมเพื่อเป็นร่มเงาให้ไม้ประธาน เมื่อออกเครือปรากฏว่า ลักษณะของผลขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าชนิดอื่น ผลป้อม ทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม ผลดิบมีสีเขียวขาวนวล ผิวผลมีสีขาวกว่ากล้วยน้ำว้าพันธุ์อื่น ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองนวล เนื้อผลสีขาวอมชมพู รสชาติหวานจัด เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ปัจจุบันทางแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้นำกล้วยน้ำว้านวลจันทร์มาแปรรูปเป็นกล้วยอบลมร้อน มีรสชาติอร่อยมากและกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และรสชาติอร่อยมาก

การปลูกกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้านั้นสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ต้องมีน้ำให้ไม่ขาดแคลน แต่ในบางพื้นที่ที่แหล่งน้ำไม่สมบูรณ์ ก็จะเลือกที่จะปลูกกล้วยในช่วงต้นฤดูฝน ราวปลายเดือนเมษายน-พฤษภาคม เพื่อลดภาระในการให้น้ำ และที่สำคัญต้นกล้วยจะตั้งตัวได้เร็ว โดยหลังจากปลูกได้เพียง 1 เดือน ต้นกล้วยก็จะมียอดใหม่โผล่เหนือพื้นดิน

ส่วนขยายพันธุ์ของกล้วยสามารถใช้ได้หลายแบบ เช่น “หน่อกล้วย” ที่ใช้ได้ทั้งหน่ออ่อน คือ เป็นหน่อขนาดเล็ก เพิ่งแทงออกมาจากต้นแม่ ยังไม่มีใบให้เห็น หน่อใบแคบเป็นหน่อที่พอจะมีใบบ้าง แต่ใบจะมีลักษณะเรียวเล็ก ชาวสวนมักเรียกหน่อชนิดดังกล่าวว่า “หน่อดาบ” หน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบโตกว้าง คล้ายกับใบจริง ส่วนของ “เหง้า” เป็นเหง้าหน่อกล้วยที่ต้นโตแล้ว แต่ยังไม่ตกผล เมื่อปลูกเราจะตัดยอดหรือลำต้นออก

ส่วนของ “ตา” เหง้าหรือหน่อที่ตกผลแล้วหรือยังไม่ตกผล สมัคร Genting Club ถ้ามีขนาดใหญ่พอจะมีตาอยู่หลายตา ซึ่งเราสามารถตัดเหง้าของหน่อ แล้วใช้มีดแบ่งออกเป็นชิ้นๆ เอาไปปลูกในแปลงหรือชำลงกระบะหรือในถุงดำที่บรรจุขี้เถ้าแกลบ ไม่นานตาเหล่านั้นจะกลายเป็นต้นกล้วยขนาดเล็กให้เราได้แยกปลูกลงแปลงต่อไป แต่วิธีดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะขั้นตอนยุ่งยากเหมาะกับการขยายพันธุ์กล้วยที่มีจำนวนน้อย หรือมีราคาแพง

การขุดแยกหน่อจากต้นแม่นั้น ต้องควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หน่อช้ำมากนัก ควรใช้เสียมที่มีความคมแทงให้ขาดเพียง 1-2 ครั้ง เมื่อขุดขึ้นมาแล้วก็ใช้มีดปาดเอาส่วนของรากออกให้หมด เมื่อเวลาเรานำไปปลูกกล้วยจะสร้างรากใหม่ขึ้นมา ส่วนหน่อที่มีใบมากจนเกินไปก็ให้ลิดตัดใบออกบ้าง หรือหน่อมีความสูงหรือมีขนาดใหญ่จนเกินไปก็ให้ตัดเฉือนลำต้นให้สั้นลง แต่ถ้าเป็นไปได้การตัดทอนยอดหรือต้นกล้วยควรตัดก่อนที่จะแยกออกจากต้นแม่ ซึ่งการตัดยอดหรือลำต้นของกล้วยไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกัน กลับทำให้ลำของหน่อกล้วยมีโคนที่ใหญ่อวบอ้วนขึ้น เนื่องจากอาหารจากเหง้าไม่ต้องเลี้ยงยอดและใบ อาหารจึงไปสะสมและสร้างโคนให้ขึ้นนั่นเอง โดยหน่อที่แยกไปจากต้นแม่สามารถนำไปปลูกได้ทันที หรือถ้ายังไม่พร้อมก็สามารถเก็บรักษาไว้ในที่ร่มได้ก่อนนานนับสัปดาห์

การปลูก ในพื้นที่รกควรดายหญ้า หรือไถพรวนเสียก่อน ก่อนการปลูก 7-10 วัน เพื่อปราบวัชพืชและทำให้ดินร่วนโปร่ง สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจำเป็นต้องยกร่องเสียก่อน ระยะปลูกกล้วยนั้นมีความสำคัญมาก ถ้าปลูกชิดกันมากเกินไปก็จะทำให้เกิดร่มเงา ทำให้หน่อที่งอกขึ้นมาใหม่จะไม่ค่อยแข็งแรง ลำต้นเรียวเล็ก เพราะได้รับแสงไม่เพียงพอนั่นเอง ฉะนั้น การเลือกระยะปลูกต้องคำนึงถึงแสงแดด ความสมบูรณ์ของดินและชนิดของพันธุ์กล้วยประกอบกัน

สำหรับการปลูกกล้วยบนพื้นที่ราบ หลังจากกำจัดวัชพืชขุดดินหรือไถพรวนเรียบร้อยแล้ว ตากดินราว 7-10 วัน ก็จะขุดหลุมขนาด 50×50 ซ.ม. กองดินชั้นบน (หน้าดิน) ไว้ด้านหนึ่ง ส่วนดินชั้นล่างก็จะกองไปอีกด้านหนึ่งของหลุม จากนั้นให้ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมพร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วยเพื่อเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำหน่อกล้วยที่เตรียมไว้ วางหน่อกล้วยลงกลางหลุม

ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีในทิศทางเดียวกันทุกหลุม โดยกล้วยจะแทงปลีออกมาในทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลนั่นเอง เมื่อวางหน่อเรียบร้อยก็จะนำดินส่วนที่เหลือกลบหลุมให้แน่น ถ้าเป็นการปลูกกล้วยในช่วงฤดูฝนก็ควรพูนดินให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูอื่นก็ไม่จำเป็นต้องพูนดินสูง เพราะเวลาให้น้ำ น้ำที่ให้จะได้ไม่ไหลออกไป ส่วนการปลูกกล้วยแบบยกร่อง มักจะพบเห็นในพื้นที่ในเขตภาคกลาง โดยเฉพาะกล้วยหอมที่มักจะนิยมปลูกกล้วยริมสันร่องทั้ง 2 ข้าง โดยตรงกลางจะเว้นเป็นทางเดิน โดยจะใช้ระยะปลูกถี่เพียง 3 เมตร เพราะเกษตรกรมักจะปลูกกล้วยใหม่ทุกปี และการวางหน่อปลูกก็จะนิยมหันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อไปทางร่องน้ำ เพื่อให้กล้วยตกเครือมาในทิศทางร่องทางเดิน เพื่อจะสะดวกในการเก็บเกี่ยวนั่นเอง