ซึ่งจากการศึกษาพบว่าไตรโคเดอร์มาจะใช้ได้ผลเฉพาะกับเชื้อโรค

เท่านั้น จึงไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคที่มีเชื้อสาเหตุอื่นได้ ทำให้เริ่มเข้าใจวงจรความเป็นไปของต้นเมล่อนมากขึ้น

ด้วยสาเหตุนี้ คุณพิเชษฐ์ จึงวางแผนการปลูกครั้งต่อมาเป็นแบบโรงเรือน ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นโรงเรือนที่สร้างจากไม้ไผ่คลุมด้วยมุงเขียว ก่อนจะมาเปลี่ยนมาเป็นโรงเรือนแบบมาตรฐานที่เห็นทุกวันนี้ แม้จะได้ผลในระดับหนึ่งแต่ก็ยังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาของโรคที่เกิดจากดินได้ จึงได้ทดลองปลูกแบบไม่ใช้ดิน

คุณพิเชษฐ์ เล่าต่อว่า ต่อมาจึงได้ทดลองปลูกเมล่อนแบบไฮโดรโพนิกซ์ เพื่อตัดปัญหาเรื่องเชื้อโรคที่มีสาเหตุในดิน โดยทดลองปลูกในระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) คือ ให้รากเมล่อนแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง จากการทดลองผลที่ได้ในช่วงแรกนั้นดีมาก เมล่อนเจริญเติบโตดี แต่พบปัญหาในระยะเก็บเกี่ยว คือ มักจะพบว่าผลเมล่อนจะแตกก่อนถึงอายุเก็บเกี่ยว เนื่องจากรากพืชแช่อยู่ในน้ำนานทำให้ดูดน้ำมากเกินไปจึงทำให้ผลแตก และอีกปัญหาที่พบในระบบ DRFT คือ เมล่อนไม่หวาน จึงกลับไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากตำราเพื่อแก้ปัญหาตัวใหม่ที่เกิดขึ้น จนกระทั้งพบว่าการใช้ทรายกับกาบมะพร้าวสับมาแทนดินถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จึงนำมาทดลองอีกครั้ง ผลปรากฏว่าได้รสชาติที่ดีขึ้น และตัดปัญหาโรคพืชทางดินอย่างสมบูรณ์แบบ

จากการลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง จนกระทั่งพบวิธีปลูกที่ตอบโจทย์ตรงตามความตั้งใจที่ตั้งไว้ว่า จะต้องปลูกเมล่อนแบบไร้สารให้ได้ และต้องมีคุณภาพระดับที่ดีมาตรฐานเดียวกับประเทศญี่ปุ่น หลังจากการทดลองเสร็จสิ้นจึงได้ปรับที่นา จำนวน 2 ไร่ ทำฟาร์มเมล่อนอย่างจริงจัง ในชื่อ “โอโซนฟาร์ม” โดยจะเน้นการปลูกเมล่อนแบบไร้สาร โดยใช้วัสดุปลอดเชื้อเป็นวัสดุปลูก คือ ทรายผสมกาบมะพร้าวสับ

อัตรา 1:1 ใช้ถุงขาวขนาด 8 x16 นิ้ว โดยปลูก 1 ต้นต่อ 1 ถุง ปลูกในโรงเรือนขนาด 5 x 20 เมตร ทั้งหมด 204 ต้นต่อโรงเรือน ระยะห่างระหว่างถุงคือ 50 x 50 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นการวางถุงปลูกแบบห่าง และใช้วิธีบริหารจัดการฟาร์มการกำจัดแมลงด้วยสารชีวภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยของเมล่อนและผู้บริโภค โดยได้ตั้งมาตรฐานของฟาร์มไว้ว่า เมล่อนทุกผลในฟาร์มต้องปลอดภัยและสะอาดอย่างแท้จริง โดยทางฟาร์มได้ส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์กับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย อย่างเสมอ จนได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร จึงทำให้เมล่อนของโอโซนฟาร์มเป็นเมล่อนรสชาติดีมีกลิ่นหอมหวาน จนลูกค้าต่างพูดกันว่า “กินเมล่อนจากโอโซนฟาร์ม เหมือนกินที่เมล่อนของต้นฉบับอย่างญี่ปุ่น”

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิเชษฐ์ กันทะวงศ์ เจ้าของโอโซนฟาร์ม (OZONE FARM) บ้านแม่เปิน ซอย 9 ต.แม่คำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย เบอร์โทรศัพท์.08-9201-6654

ไปอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หวนให้คิดถึง “ส้มจุก” ที่เรียกกันติดปากว่า “ส้มจุกจะนะ” ผลไม้ที่จัดว่าเป็นผลไม้โบราณไปแล้ว เพราะหาซื้อกินยาก ไม่ได้มีวางขายตามแผงผลไม้ทั่วไป หากจะซื้อกินให้ได้ก็น่าจะต้องเดินทางไปให้ถึงสวน ในพื้นที่อำเภอจะนะ เพราะผลผลิตที่ออกมาในแต่ละขั้ว ถูกจับจองเกือบหมดตั้งแต่ยังไม่ถึงแผงค้าเสียด้วยซ้ำ และหากเดินทางไปถึงสวน ก็อาจจะต้องรอคิว เพราะแม้แต่คนในพื้นที่เองก็เป็นหนึ่งในลูกค้าเข้าคิวซื้อส้มจุกจะนะด้วยเหมือนกัน

คุณวิฑูร พรหมเพชร เกษตรอำเภอจะนะ และ คุณจำเริญ จันศรีคง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ชำนาญการพิเศษ ผู้ช่วยเกษตรอำเภอจะนะ เป็นผู้นำทีมเทคโนโลยีชาวบ้านเข้าถึงสวนส้มจุกที่ยังมีผลผลิตต่อเนื่อง และเป็นสวนที่ปราศจากเคมี มีการดูแลโดยวิธีธรรมชาติ และได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ

คุณวิฑูร ให้ข้อมูลพื้นที่ปลูกส้มจุกจะนะว่า ปัจจุบัน ในพื้นที่อำเภอจะนะ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกส้มจุกจะนะไว้ทั้งสิ้น 65 ราย คิดเป็นพื้นที่ 162 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นปลูกส้มจุกจะนะปลอดสารเคมี แต่ยังพบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง รวมถึงปัญหาแมลง ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงอนุมัติงบประมาณ 200,000 บาท สำหรับขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ถุงห่อส้มจุกป้องกันแมลง ทั้งนี้ ส้มจุกจะนะเป็นผลไม้โบราณที่หากินได้ยาก และมีพื้นที่ปลูกน้อย อีกทั้งรสชาติของส้มจุกที่ปลูกในพื้นที่อำเภอจะนะยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมกับจังหวัดยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

ความพิเศษของ “ส้มจุกจะนะ” คือ ผิวส้มมีกลิ่นหอม ผลสุกจะหวานอมเปรี้ยว ไม่หวานจัด สุกจัดด้านในผลจะกลวง ด้านบนของผลเป็นจุกขึ้นไป จึงเรียกตามลักษณะว่า ส้มจุก

คุณดนกอนี เหลาะหมาน เจ้าของสวนส้มจุกจะนะที่เข้าถึงง่ายที่สุด ให้เราเรียกเขาด้วยความสนิทสนมว่า “บังนี” มีสวนส้มจุกอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บังนี มีภูมิลำเนาเป็นชาวอำเภอจะนะ เติบโตมาพร้อมๆ กับต้นส้มจุกที่เขาบอกว่า เห็นมีรายรอบบ้าน ทั้งบ้านตนเอง บ้านญาติ และละแวกใกล้เคียง ขึ้นในลักษณะไม่ใช่สวน แต่เป็นต้นไม้ที่มีไว้ประดับและเก็บผลกินเป็นผลไม้ข้างจานข้าว หลังอิ่มจากมื้อหลัก

บังนี เรียนจบจาก สาขาพืชศาสตร์ (พืชสวน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพราะรักในการทำสวนมาตั้งแต่เด็ก แต่หลังเรียนจบก็ทำงานตามสาขาที่เรียนมาในบริษัทเอกชน กระทั่งมีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่บ้าน ก็ยังทำงานบริษัทเอกชนใกล้บ้าน ส่วนความสนใจด้านการทำสวนที่ยังมีอยู่ก็ยังไม่ทิ้ง

“ภาพที่มีเด็กวิ่งขายส้มจุกจะนะ ร้อยด้วยเส้นลวด หิ้วขายตามสถานีรถไฟจะนะ เป็นภาพที่ติดตา อยากให้มีแบบนี้อีก เลยคิดว่าวันหนึ่งผมจะปลูกส้มและทำแบบนั้นบ้าง”

ปี 2544 บังนี เริ่มคิดจริงจังกับการทำสวน และส้มจุกเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจ พื้นที่เพียง 1 ไร่เศษ บังนี ปรับให้เป็นสวนส้มจุกทั้งหมด ปลูกแบบยกร่อง ระยะห่าง 5×5 เมตร ซึ่งระยะที่เหมาะจริงควรเป็น 5×6 เมตร ติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ หากผู้ปลูกไม่ได้ยกร่อง ก็ควรพูนโคกให้กับต้น เพื่อการระบายน้ำที่ดี เพราะส้มจุก เป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบแฉะ ดังนั้น หากน้ำมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่าหรือโคนเน่าได้

พื้นที่ 1 ไร่เศษ ของบังนี ปลูกส้มจุกได้มากถึง 50 ต้น

ในสวนที่ดูแลใกล้ชิด เพียง 4-5 ปี ก็เริ่มติดผล

แต่ระยะแรกสำหรับบังนี ดูเหมือนจะไม่ได้ผล ทำให้บังนีเริ่มท้อ และนึกถึงเหตุที่คนไม่นิยมปลูกส้มจุกในพื้นที่ ว่าเป็นเพราะการดูแลที่ยุ่งยากและการเอาใจใส่ที่ใกล้ชิด หากปล่อยปละละเลยจะได้ผลผลิตส้มจุกที่ไม่มีคุณภาพ แต่ด้วยใจรักของบังนีที่มีต่อการทำสวนส้มจุก ทำให้สวนส้มจุกไม่ได้ถูกปรับไปปลูกพืชชนิดอื่น และหมั่นดูแลอย่างใกล้ชิดจนส้มจุกให้ผลผลิตออกจำหน่ายได้

“น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกส้ม แม้ส้มจะชอบน้ำเยอะ แต่ก็ไม่ควรให้แฉะจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาโรคตามมา ช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องรดน้ำเลย ให้สังเกตจากใบ หากใบเหี่ยว ม้วน งอ หมายถึง ขาดน้ำ ควรให้น้ำจนสภาพใบสดชื่น หรือดูจากสภาพดินมีความชุ่มชื้นก็เพียงพอแล้ว”

การดูแลสวนส้มจุกโดยบังนี เน้นการปลูกแบบปลอดสารเคมี จึงใช้ปุ๋ยคอก และปุ๋ยชีวภาพ เป็นตัวเสริม

ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยมูลไก่ ก่อนนำมาใช้ต้องนำมูลไก่ไปหมักก่อนจึงนำมาใช้ ส่วนมูลวัวนำมาใช้ได้ทันที การใส่ปุ๋ยควรให้ช่วงก่อนติดดอก ประมาณเดือนมกราคมของทุกปี จากนั้นงดให้น้ำ ภายใน 60 วัน จะเริ่มแตกยอดใหม่และติดดอก หลังติดดอกประมาณ 30 วัน จะเริ่มติดผล

การติดผลของส้มจุก จะติด ช่อละ 2-3 ผล

หลังออกดอกประมาณ 8 เดือน เก็บผลจำหน่ายได้

แมลงและหนอนเจาะผล มักจะเจาะผลก่อนผลสุก ประมาณ 60 วัน ดังนั้น การห่อควรเริ่มตั้งแต่ผลส้มจุกขนาดเท่าผลมะนาว ใช้ถุงกระดาษห่อ หรือจะใช้โฟมก็ได้ ไม่ต่างกัน เพราะแม้จะห่อผลไว้ ก็ไม่สามารถป้องกันแมลงเจาะผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์

“แมลงเจาะผล เป็นแมลงปีกแข็งคล้ายบุ้ง จะเจาะเข้าไปในผล ดูดน้ำเลี้ยงในผลและทำลายผล ภายใน 15-20 วัน ผลจะหลุดจากขั้ว ร่วงทิ้ง การกำจัดใช้สมุนไพรฉีดพ่น ช่วยไล่แมลงได้เช่นกัน”

การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บผลผลิตเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่สำหรับบังนี มีเวลามากบ้างน้อยบ้าง จึงตัดแต่งบ้างและปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด

การขยายพันธุ์ส้มจุก ทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง ซึ่งทั้ง 2 วิธี แตกต่างกันเพียงแค่การปลูกด้วยการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ช้ากว่าเท่านั้น

ต่อข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดจึงมีชาวสวนปลูกส้มจุกไม่มากนัก บังนี บอกว่า น่าจะเป็นเพราะการดูแลที่ต้องใส่ใจในรายละเอียด มีหลายรายที่คิดปลูก แต่ไม่นานก็ล้มเลิก ต้องมีใจรักการทำสวนผลไม้จริงๆ จึงจะอยู่ได้ โดยเฉพาะเมื่อสำนักงานเกษตรอำเภอ ต้องการให้การปลูกส้มจุกปลอดสารเคมี จึงเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้งดใช้สารเคมี แต่เมื่อเกิดโรคและแมลงเข้าทำลาย ชาวสวนส่วนใหญ่ไม่อดทน เพราะเห็นว่าการใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตอยู่รอดจากโรคและแมลง ทำให้หลายรายเปลี่ยนปลูกพืชชนิดอื่น เหลือเพียงไม่กี่สิบรายที่ปลูกส้มจุกโดยไม่ใช้สารเคมี

นับจากปีที่เริ่มปลูกมาถึงปัจจุบัน บังนีทำสวนส้มจุกมานาน 16 ปีแล้ว เมื่อได้ผลผลิตก็จำหน่ายให้กับผู้สนใจ เข้ามาซื้อถึงสวน ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี แทบไม่เหลือพอจะนำไปร้อยเส้นลวดเดินขายที่สถานีรถไฟจะนะ ตามที่บังนีฝัน ส่วนใหญ่จะถูกจับจองไว้ตั้งแต่เริ่มติดผล และมีมากจนต้องรอคิวกันทีเดียว

“ปี 2558 ผลผลิตได้เยอะมาก มีพ่อค้าคนกลางมารับถึงสวน ส่งไปขายที่มาเลเซีย ก็ได้รับการตอบรับดี เพราะส้มจุกเป็นผลไม้ที่รูปทรงสวย เปลือกมีกลิ่นหอม ทั้งยังถือว่าส้มจุกเป็นผลไม้มงคล นำไปไหว้เจ้าหรือเทพมงคลจะดี ที่ผ่านมาเคยได้ปริมาณผลผลิตมากถึงตันกว่าๆ ต่อพื้นที่ไร่เศษที่ปลูก”

ทุกปี ส้มจุกที่สวนบังนี ถูกจองล่วงหน้าไว้เรียบร้อย ทำให้บังนี เริ่มขยายพื้นที่ปลูก โดยลงปลูกไปแล้วแต่ยังไม่ถึงอายุให้ผลผลิต อีกเกือบ 3 ไร่ แต่ก็ปลูกลองกอง ทุเรียน มังคุด และเงาะ ร่วมด้วย

ความพิเศษที่มั่นใจได้ว่า สวนส้มจุกของบังนี มีให้ได้มากกว่าคุณภาพคือ ปลอดสารพิษ และดูแลโดยยึดธรรมชาติเป็นตัวหลัก และมั่นใจได้ว่าเป็นส้มจุกจะนะ โดยคนอำเภอจะนะ 100 เปอร์เซ็นต์

ส้มจุกจะนะ สงขลา แม้จะถูกจับจองไว้แล้วก็ตาม แต่ในงาน “เกษตรมหัศจรรย์ 2560 พืชกินได้ ไม้ขายดี” ซึ่งนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จะจัดระหว่าง วันที่ 7-10 กันยายน 2560 ที่ห้องสกายฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ก็จะมี ส้มจุกจะนะ สงขลา มาจัดแสดงให้ได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด

ท่านใดสนใจศึกษาวิธีการปลูก การดูแล ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณดนกอนี เหลาะหมาน โทรศัพท์ (098) 671-4066 หรือเข้าไปชมถึงสวน ที่หมู่ 7 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

ปัจจุบัน งานทางด้านการเกษตรไม่จำเป็นต้องมีเวลาว่างเพื่อมาลงมือทำอีกต่อไป จะเห็นได้จากผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการทำเกษตรบางราย ได้ใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุดหรือหลังจากเลิกทำงานประจำ มาทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและมีใจรักเกี่ยวกับการเกษตร เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลายจนสิ่งที่ทำเพียงเล็กน้อยกลับสร้างรายได้เป็นเงินที่เรียกง่ายๆ ว่า สามารถทำรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี

คุณประสาน สุขสุทธิ์ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างที่ใช้เวลาว่างหลังจากทำงานประจำ คือปลูกสวนไผ่อยู่ที่บ้านเกาะรัง ตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว โดยที่เลือกปลูกไผ่ เพราะเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ง่าย ไม่ต้องใช้เวลาดูแลยุ่งยาก สามารถเจริญเติบโตได้กับทุกสภาพดิน แม้จะเป็นดินที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งไม่ต้องใช้เวลาดูแลอย่างเต็มเวลา สามารถหาเวลาว่างจากงานประจำมาเข้าสวนได้ และที่สำคัญเขาได้มีการต่อยอดการขายด้วยการนำใบไผ่มาสกัดเป็นน้ำใบไผ่สำหรับดื่มเพื่อสุขภาพ จึงนับว่าเป็นการทำให้สินค้าทางการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

หลากหลายชนิดมาก่อน

คุณประสาน เล่าให้ฟังว่า มีอาชีพรับราชการเป็นนักวิชาการเกษตร ประจำอยู่ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว จึงทำให้มีโอกาสที่จะทดลองปลูกพืชผลทางการเกษตรหลากชนิด เช่น การปลูกถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด และฝ้าย ต่อมาจึงเกิดความสนใจที่อยากจะทดลองปลูกไผ่ โดยได้นำไผ่มาทดลองปลูกกับพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง เพราะถ้านำพืชชนิดอื่นมาปลูกก็ไม่น่าจะเจริญเติบโตได้ดี จึงได้นำไผ่มาทดลองปลูกจนประสบผลสำเร็จในพื้นที่ที่คิดว่าไม่น่าจะปลูกได้

“ซึ่งผมทำงานรับราชการ บางครั้งไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนักที่จะมาดูแลใกล้ชิด ก็เลยได้ตัดสินใจเลือกไผ่มาปลูก เพราะมองว่าอย่างน้อยสามารถปลูกได้กับทุกสภาพพื้นที่ และสิ่งที่สำคัญเลยคือเรื่องการดูแลจัดการก็ง่าย โดยเฉพาะเรื่องโรคและแมลงไม่พบปัญหา ซึ่งผมยังมองไปอีกว่า ในอนาคตไผ่น่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจได้ เช่น การนำมาแปรรูปต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้น” คุณประสาน เล่าถึงที่มาของการเลือกปลูกไผ่

สายพันธุ์ไผ่ที่คุณประสานเลือกปลูก เป็นไผ่นวลราชินี โดยในช่วงแรกที่ปลูกจะเน้นขายหน่อเพียงอย่างเดียว ซึ่งช่วงที่เป็นนอกฤดูกาลการขายหน่อจะค่อนข้างได้ราคาดี แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจำนวนหน่อมีมากขึ้นก็ทำให้ไผ่มีจำนวนมาก ราคาขายก็ลดลงตามไปด้วย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องนี้จึงได้มีแนวความคิดที่จะขายลำไผ่เพื่อใช้ในการค้ำยัน และได้ต่อยอดแนวความคิดนำใบไผ่มาใช้ประโยชน์ คือการทำเป็นน้ำใบไผ่

แนวความคิดนี้ คุณประสาน บอกว่า เกิดจากการได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศจีน โดยที่นั่นใช้ประโยชน์จากไผ่ได้ทั้งหมด คือตั้งแต่ราก ต้น รวมไปถึงใบ เรียกง่ายๆ ว่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด จึงได้นำแนวคิดนี้มาต่อยอดกับสวนไผ่ที่ปลูก โดยนำใบไผ่ไปวิเคราะห์ในห้องแล็บ ก็ได้ผลออกมาว่า ไผ่นวลราชินี มีสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเมื่อเทียบกับไผ่หลายๆ พันธุ์ จึงได้นำใบไผ่นวลราชินีไปสกัดและสร้างนวัตกรรมให้มากขึ้น คือนำมาทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่จากใบไผ่ และน้ำสกัดจากใบไผ่

จุดเด่นของไผ่นวลราชินีนั้น คุณประสาน บอกว่า เป็นไม้ที่มีลักษณะเด่นหลายอย่าง เช่น ลำต้นตรง ต้นมีความสูงประมาณ 15 เมตร ลำต้นเมื่อปล่อยให้มีขนาดใหญ่เต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 นิ้ว และที่สำคัญไม้ไผ่มีเนื้อไม้ที่หนาและแข็ง ซึ่งโดยทั่วไปในพื้นที่นี้จะเน้นนำไปเป็นไม้ค้ำยันผลไม้ภายในสวน

“ไผ่นวลราชินี ถ้าพูดกันแล้วประโยชน์หลากหลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งผมก็จึงเลือกมาปลูก โดยระยะปลูกที่ผมปลูกภายในสวน ให้ระหว่างต้นมีระยะห่างประมาณ 4×4 เมตร ซึ่งถ้าปลูกในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ก็จะได้ไผ่ประมาณ 100 ต้น ซึ่งระยะเวลาการปลูกจนกว่าจะนำไม้ไปใช้ประโยชน์ได้ จะปลูกให้มีอายุประมาณ 3 ปีขึ้นไป ไม้ก็จะสมบูรณ์ใช้ประโยชน์ได้” คุณประสาน บอกถึงวิธีการปลูก

การปลูกไผ่หากนำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน คุณประสาน บอกว่า จำนวนของลำไผ่ที่คงไว้ต่อกอก็แตกต่างกันด้วย เช่น ถ้าจะปลูกเพื่อตัดหน่ออ่อนขาย ก็จะให้ 1 กอ มีลำต้นประมาณ 3 ลำ จะทำให้หน่อของไผ่ออกมาดีมีจำนวนหน่อมาก

ในเรื่องการดูแลรักษาต้นไผ่นวลราชินีให้สมบูรณ์ จะเน้นใส่ปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลวัวหรือมูลหมู ส่วนระบบน้ำไม่มีความซับซ้อนจะเน้นดูแลแบบธรรมชาติ ใช้น้ำจากฝนตามฤดูกาลเพียงอย่างเดียว

“ซึ่งไผ่นวลราชินีที่ผมปลูก ส่วนมากผมจะเน้นปลูกเพื่อผลิตให้มีใบ เพราะต้องการใช้ใบไปทำน้ำไผ่ โดยจะตัดให้ต้นไผ่มีความสูงประมาณ 1 เมตร 50 เซนติเมตร ท่อนบนที่เป็นลำเราก็นำไปขาย จากนั้นรอใบไผ่อ่อนออกมา เราก็จะเก็บใบอ่อนไปใช้เรื่อยๆ เหมือนกับการเก็บใบชา เสร็จแล้วก็จะนำใบไปสกัด และนำน้ำสกัดที่ได้ไปสร้างนวัตกรรมต่อยอดต่อไป เช่น น้ำใบไผ่ การทำสบู่จากน้ำสกัดใบไผ่ ซึ่งใบไผ่นวลราชินีจะให้ใบแห้งต่อกอ ประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อปี พอเราเก็บใบไปใช้งานแล้ว เราก็จะหมั่นตัดลำต้นเรื่อยๆ เพื่อให้ผลิตใบอ่อนออกมาให้เราเก็บได้ตลอดทั้งปี” คุณประสาน บอก

จากการนำใบไผ่ไปตรวจวิเคราะห์ คุณประสาน บอกว่า ภายในใบไผ่นวลราชินีมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเมื่อนำมาทำเป็นน้ำไผ่สำหรับดื่ม จึงทำให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย และที่สำคัญปลูกแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี จึงเรียกได้ว่าเป็นผลผลิตที่ได้จากการปลูกแบบอินทรีย์

ไผ่ขายทำเงิน ได้หลากหลายรูปแบบ

การทำตลาดขายไผ่เพื่อสร้างเงินนั้น คุณประสาน บอกว่า สามารถขายได้หลากหลายรูปแบบ โดยจะแบ่งบางส่วนไว้ตัดลำขายให้กับชาวสวนผลไม้เพื่อนำไปค้ำยัน โดยลำไผ่ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 3 นิ้ว ขายอยู่ที่ ลำละ 40 บาท ขึ้นไป ส่วนใบอ่อนที่เก็บจากต้นไผ่จะนำไปอบแห้ง จากนั้นก็นำเข้าสู่โรงงานเพื่อผลิตเป็นน้ำสกัดจากใบไผ่ต่อไป

“น้ำจากใบไผ่ ถือเป็นนวัตกรรมต่อยอดสินค้า ที่เราทำให้เกิดประโยชน์ เพราะในใบไผ่นวลราชินีอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและซิลิก้า จึงเป็นน้ำสกัดใบไผ่ที่ทรงคุณค่าจากธรรมชาติ ที่สามารถหาซื้อดื่มได้ง่ายๆ ราคาขายก็ย่อมเยาขายอยู่ที่ ขวดละ 35 บาท ซึ่งถ้าใครสนใจอยากเป็นตัวแทนขาย ทางผมก็ยินดี สามารถติดต่อมาเป็นตัวแทนขายได้” คุณประสาน บอกถึงประโยชน์ของน้ำจากใบไผ่

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกไผ่เพื่อเป็นอาชีพ คุณประสาน แนะนำว่า การปลูกไผ่ควรมีมุมมองโดยคิดนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เพราะไผ่จัดเป็นไม้ที่ทำประโยชน์ได้หลากหลาย หากนำมาต่อยอดที่ดี ก็จะทำให้มีรายได้หลายรูปแบบ ดังนั้น การปลูกไผ่หรือจะเป็นการทำการเกษตรอื่นๆ ควรมีการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ก็จะทำให้การขายสินค้าทางการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำมาแปรรูปต่อยอดเป็นนวัตกรรมอื่นๆ ต่อไป

“การเกษตรไม่ใช่เรื่องยาก หากมีการจัดการที่ดี ซึ่งไผ่ถือว่ายังเป็นพืชที่สามารถทำเงินได้ อย่างที่ผมทำ ปลูกเอง นำมาแปรรูปเอง ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเรามากขึ้น ก็จะทำให้สินค้าเราต่อรองในเรื่องของราคาได้ และที่สำคัญทำการรวมกลุ่ม ก็จะทำให้รายได้ทั้งหมดกลับมาสู่ทุกคนในชุมชนมากขึ้น ก็จะช่วยให้ทุกคนมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี” คุณประสาน กล่าว

“ หญ้าดอกขาว” (Leptochloa chinensis) เป็นวัชพืชที่ปราบยากที่สุด พบแพร่หลายในแหล่งปลูกข้าวพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ที่นิยมทำนาหว่านน้ำตม ถึงแม้จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็เอาไม่อยู่ ปัญหาวัชพืชในแปลงนา ทำให้ชาวนา สูญเสียรายได้และผลผลิตข้าวอย่างน่าเสียดาย

ในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดของหญ้าดอกขาวต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ในนาข้าวได้ขยายวงกว้างมากขึ้น ในแหล่งปลูกข้าว ที่นิยมทำนาหว่านน้ำตม สารกำจัดวัชพืชที่เคยใช้ควบคุมหญ้าดอกขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเหลือน้อยชนิดลงทุกที เนื่องจากมีการใช้สารเคมีที่มีกลไกการเข้าทำลายเดียวกันซ้ำๆกันอย่างต่อเนื่อง

เมื่อควบคุมหญ้าดอกขาวไม่ได้ผล ชาวนาก็ปล่อยให้หญ้าดอกขาวออกดอกติดเมล็ดอยู่ในแปลงนา เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเมล็ดหญ้าสามารถติดไปกับเปลือกเมล็ดข้าวที่ใช้ทำพันธุ์ได้ หรือเมื่อปล่อยน้ำเข้านาเมล็ดหญ้าดอกขาวที่ร่วงอยู่บนพื้นนา สามารถลอยไปตามน้ำไปสู่แปลงข้างเคียง กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่เกิดซ้ำซากในแหล่งปลูกข้าวหลายพื้นทื่

ดร.จรรยา มณีโชติ นักวิชาการ กลุ่มงานวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “การควบคุมหญ้าดอกขาวในนาข้าวโดยใช้เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว” ได้ข้อสรุปว่า ชาวนาไม่ต้องห่วงกังวลปัญหาหญ้าดอกขาวระบาดในแปลงนาเหมือนในอดีต เพราะวัชพืชชนิดนี้ สามารถกำจัดได้ด้วยกลไกธรรมชาติแบบง่าย ๆ โดยใช้ “ เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว ” แมลงดีที่น่าจับตามอง

ผลการศึกษาระหว่างเดือน กันยายน-ธันวาคม 2549 ดร. จรรยา พบว่า หญ้าดอกขาว หญ้าข้าวนก ที่ “ดื้อยา” กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งปลูกข้าว โดยเจอหญ้าดอกขาว จำนวน 188 ตัวอย่าง ที่ต้านทานต่อสารเคมีในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACCase ได้แก่ สาร fenoxaprop, cyhalofop, profoxydim สูงถึง 45-86% ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดที่ทดสอบ

ผลสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ ระบุว่า หญ้าดอกขาว เกิดความต้านทานต่อกลุ่มสารเคมี (cross-resistance) การระบาดของวัชพืช ต้านทานสารเคมีกำจัดวัชพืช มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหา การดื้อยา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวเพราะก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวนาสูญเสียผลผลิตข้าว และเสียค่าใช้จ่ายการใช้สารกำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้น

หน่วยงานภาครัญที่เกี่ยวข้อง ควรแนะนำให้เกษตรกรควบคุมวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน และ ควรมีการระบุกลไกการออกฤทธิ์หรือการเข้าลายวัชพืชของสารเคมีไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจเลือกใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้อง

ในช่วงที่มีการระบาดรุนแรงของหญ้าดอกขาว ดร.จรรยา ได้สำรวจพบ “เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว เข้าทำลายหญ้าดอกขาว ดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้เมล็ดลีบไปเป็นจำนวนมาก เมื่อศึกษาวงจรชีวิต ของ “เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว ” เกี่ยวกับ พืชอาหารและพืชอาศัย รวมทั้งศึกษาว่าแมลงชนิดนี้ เป็นพาหะของเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบหงิกข้าวหรือที่เกษตรกรเรียกว่า โรคจู๋ หรือไม่ และศักยภาพในการทำลายเมล็ดหญ้าดอกขาวดีหรือไม่

ผลการศึกษา พบว่า เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว มีวงจรชีวิตประมาณ 22 วัน มีหญ้าดอกขาวและหญ้าตีนนกเป็นพืชอาหาร นอกจาก เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว ไม่ใช่พาหะของโรคใบหงิกข้าว เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาวจำนวน 40 ตัวมีศักยภาพในการเข้าทำลายหญ้าดอกขาวจำนวน 1 ต้น สามารถทำให้เมล็ดหญ้าดอกขาวลีบได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์

ในสภาพธรรมชาติทั่วไปพบว่า มีจำนวนเพลี้ยจักจั่นปีกสีขาวมากกว่า 100 ตัว/ช่อดอก จึงสามารถทำให้เมล็ดหญ้าดอกขาวลีบทั้งรวงได้ นับเป็นการลดจำนวนเมล็ดหญ้าดอกขาวที่สะสมในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะหญ้าดอกขาวเพียง 1 ช่อดอก มีเมล็ดหญ้าประมาณ 13,396 เมล็ด ในแปลงนาที่มีหญ้าดอกขาวระบาดหนาแน่นจะพบว่า 1 ตารางเมตร มีหญ้าดอกขาวประมาณ 400 ช่อดอก

เมื่อคำนวณเป็นพื้นที่ 1 ไร่ จะมีจำนวนหญ้าดอกขาว ประมาณ 640,000 ช่อดอก ทำให้มีจำนวนเมล็ดหญ้าดอกขาวที่จะร่วงสะสมในดิน มีค่าเท่ากับ 8,753,440,000 เมล็ด หากมีเพลี้ยจักจั่นปีกสีขาวเข้าทำลายเมล็ดจะลีบได้อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมล็ดหญ้าดอกขาวที่จะงอกในฤดูต่อๆไปลดลงมากกว่า 4,000 ล้านเมล็ด ตัวเลขนี้จะมีความสำคัญมากขึ้น หากเป็นเมล็ดหญ้าดอกขาวที่ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช เกษตรกรไม่สามารถกำจัดได้ด้วยสารกำจัดวัชพืช ทำให้ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหายจำนวนมาก

“ ขอฝากให้ชาวนาช่วยดูแล เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว BETFLIK ในนาข้าว หากเจออย่าพ่นยากำจัดแมลงชนิดนี้ เพราะไม่ใช่ศัตรูของชาวนา แต่เป็นมิตรแท้ที่จะช่วยทำลายเมล็ดหญ้าดอกขาว ซึ่งเป็นวัชพืชตัวร้ายให้กับชาวนา เพลี้ยจักจั่นปีกสีขาว เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรจะนำไปใช้ควบคุมหญ้าดอกขาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ” ดร.จรรยากล่าวในที่สุด

หากผู้อ่านท่านใดสนใจผลงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ ดร. จรรยา มณีโชติ กลุ่มงานวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 02-5795247 ได้ในวันและเวลาราชการ

ทุกคนมีความฝัน บางคนได้เดินตามความฝันของตัวเอง บางคนต้องทิ้งความฝันของตัวเอง เพื่อกลับมาทำหน้าที่ลูกที่ดีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ แต่การที่ไม่ได้เดินตามความฝันของตัวเองใช่ว่าจะไม่มีความสุขเสมอไป ใครจะไปรู้ว่าวันข้างหน้ารู้ตัวอีกทีเราอาจจะชอบและรักในสิ่งที่เราไม่ได้คิดไว้ตั้งแต่แรกก็ได้ ดังเช่น คุณกัมพล ตันสัจจา ชายผู้เป็นเจ้าของอาณาจักรสวนนงนุช สวนที่โด่งดังไปทั่วโลก ตั้งอยู่ ณ เมืองพัทยาแห่งนี้ กว่าจะมีทุกวันนี้ได้เขาต้องยอมทิ้งสิ่งที่รัก มาทำงานสวนเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของผู้เป็นแม่ เมื่อรู้ตัวอีกทีงานจัดสวนก็ได้กลายเป็นชีวิตจิตใจของเขาไปแล้ว

คุณกัมพล ตันสัจจา ชายเจ้าของอาณาจักรสวนนงนุช สวนที่เมื่อใครได้ยินชื่อก็ต้องนึกถึงความยิ่งใหญ่อลังการ บนเนื้อที่กว่า 1,700 ไร่ ที่รวบรวมพันธุ์ไม้หายากจากทั่วโลกมาจัดวางไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม และนอกเหนือจากสวนสวยแล้ว ภายในสวนนงนุชยังมีกิจกรรมอีกหลายชนิด เรียกได้ว่าจะมากันเป็นหมู่คณะ หรือมากับครอบครัว สวนนงนุชก็มีกิจกรรมตอบโจทย์นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม แต่กว่าที่จะมาเป็นสวนที่ทุกคนรู้จักได้อย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านอุปสรรคมากมาย