ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย

ได้สร้างชุดสาธิตการเลี้ยงปลาและปลูกผัก Aquaponics แบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น สามารถลดต้นทุนและเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ขั้นตอนการปลูกผักไร้ดินและเลี้ยงปลาแบบเศรษฐกิจพอเพียง (Aquaponics)

ทำชั้นไม้ไผ่
หาไม้ไผ่ วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นทำโครงแบบราง/กล่อง/ชั้นลิ้นชัก ขนาด 60×120 เซนติเมตร (วัดขอบด้านในให้ได้ขนาด 1 แผ่นโฟม ทำเป็น 3 ชั้น) โดย ชั้นที่ 1 เลี้ยงปลา ชั้นที่ 2 ปลูกผัก ชั้นที่ 3กรองน้ำ

ชั้นที่ 1 สำหรับเลี้ยงปลา เมื่อประกอบราง/กล่อง/ชั้นลิ้นชักเรียบร้อย ใช้แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดวางด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ส่วนพื้นใช้แผ่นโฟม ขนาดความหนา 0.50 นิ้ว รองพื้น เพื่อกันกระแทก กันพลาสติกรั่ว แล้วปูพลาสติกลง เตรียมน้ำพร้อมที่ปล่อยปลา

ชั้นที่ 2 สำหรับปลูกผัก ใช้แผ่นพลาสติกปูพื้นเหมือนชั้นแรก แล้วเตรียมแผ่นโฟมเจาะรูพร้อมปลูกผัก ชั้นที่ 3 สำหรับกรองน้ำ โดยใช้ไม้ไผ่ทำโครง ขนาด 60×40 เซนติเมตร

วิธีทำที่กรองน้ำ

เตรียมถังพลาสติกสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร 1 ใบ

กั้นกึ่งกลางของถัง โดยใช้เหล็กหรือไม้เป็นโครงสี่เหลี่ยมแล้วเย็บตาข่ายยึด เพื่อกั้นช่องกรองน้ำและช่องน้ำที่ผ่านการกรอง

ใช้สว่านเจาะรูระบายน้ำในช่องน้ำที่ผ่านการกรอง 2 รู รูที่ 1 อยู่สูงจากพื้น 25 เซนติเมตร (ต่อเข้าแปลงผัก) รูที่ 2 อยู่สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร (เอาไว้ระบายน้ำทิ้ง เมื่อน้ำระบายไม่ทัน) และในช่องกรองน้ำอีก 1 รู อยู่ติดกับพื้นกล่อง (เอาไว้ระบายน้ำเสียในบ่อกรองน้ำทิ้ง)

ประกอบเกลียวนอกและเกลียวในให้ครบทั้ง 3 รู โดยตัดยางในรถจักรยานยนต์รองเอาไว้ เพื่อไม่ให้น้ำรั่วไหล

ใส่วาล์วสวมปิดรูระบายน้ำทิ้งช่องกรองน้ำ

ใส่ไบโอบอล หินภูเขาไฟและแผ่นใยแก้วให้เต็มช่องกรองน้ำ

ติดตั้งถังกรองน้ำไว้บนชั้นที่ 3 ที่เตรียมไว้

ต่อระบบน้ำล้นในบ่อกรองน้ำเพื่อระบายน้ำทิ้ง เมื่อน้ำระบายไม่ทันให้ลงบ่อปลา

ต่อระบบปั๊มน้ำ โดยสูบน้ำในบ่อปลาแล้ววางท่อให้น้ำไหลไปลงช่องกรองน้ำ

ระหว่างการเลี้ยงปลาเปลี่ยนถ่ายน้ำในถังกรองน้ำสัปดาห์ละครั้งและเติมน้ำเพิ่มในส่วนที่เปลี่ยน แปลงผัก (ใช้สำหรับปลูกผัก 60 หลุม)
2.1 เตรียมเพาะเมล็ดผักในแผ่นฟองน้ำ (ชนิดผักแล้วแต่ชอบ)

2.2 กล้าผัก อายุได้ 7-10 วัน นำลงปลูกในแผ่นโฟมปลูกที่เตรียมไว้ (ชั้นที่ 2)

2.3 การดูแลผัก ถ้าผัก (บางชนิด) ต้องการธาตุอาหารสูง ควรให้ปุ๋ยทางใบเสริม โดยเน้นปุ๋ยชีวภาพสเปรย์ช่วยได้

2.4 สามารถปลูกผักได้ 3-4 ครั้ง ต่อการเลี้ยงปลา 1 ครั้ง

เลี้ยงปลา
3.1 เตรียมน้ำ โดยการเติมน้ำให้สูง ประมาณ 80 เซนติเมตร ก่อนปล่อยปลา 3-5 วัน

3.2 จัดหาพันธุ์ปลา เช่น ปลาดุก ปลาดุกลูกผสม ปลาหมอ

3.3 ให้อาหารปลา โดยใช้อาหารเม็ดลอยน้ำ ตามอายุของปลา 2 มื้อ/วัน ใช้เวลา 3-4 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตบริโภคหรือจำหน่ายได้

ประมาณการค่าวัสดุอุปกรณ์ชุดราง ขนาด 60×120 เซนติเมตร

ไม้ไผ่ตง 2 ลำ ลำละ 40 บาท เป็นเงิน 80 บาท
ไม้ไผ่รวก 4 ลำ ลำละ 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด 5 แผ่น แผ่นละ 45 บาท เป็นเงิน 255 บาท
พลาสติกดำ อย่างหนา 3.50 เมตร เมตรละ 60 บาท เป็นเงิน 210 บาท (หน้ากว้าง 3.5 เมตร)
แผ่นโฟมรองพื้น 0.50 นิ้ว 1 แผ่น 35 บาท
แผ่นโฟมปลูกผัก 1 แผ่น 45 บาท (หนา 1 นิ้ว)
ฟองน้ำเพาะเมล็ด 1 แผ่น 13 บาท
เมล็ดพันธุ์ผัก 1 ซอง 20 บาท
ถังกรองน้ำพลาสติก 1 ถัง 120 บาท (ขนาด 30×45 เซนติเมตร)
ไบโอบอล 50 บาท
หินภูเขาไฟ 1 กิโลกรัม 30 บาท
ใยสังเคราะห์กรองน้ำ 1 แผ่น 60 บาท
พันธุ์ปลาดุก 20 ตัว ตัวละ 1 บาท เป็นเงิน 20 บาท (ขนาด 3-5 นิ้ว)
อาหารปลา เฉลี่ยเดือนละ 200 บาท
ท่อ PVC ขนาด 4 หุน 1 เส้น 50 บาท
ข้องอ 4 หุน 5 ตัว ตัวละ 5 บาท เป็นเงิน 25 บาท
ข้องอ 6 หุน 4 ตัว ตัวละ 6 บาท เป็นเงิน 24 บาท
สามทาง 4 หุน 1 ตัว ตัวละ 5 บาท เป็นเงิน 5 บาท
เกลียวนอก 6 หุน 1 ตัว ตัวละ 8 บาท
เกลียวใน 6 หุน 1 ตัว ตัวละ 8 บาท
วาล์ว ปิด-เปิด 4 หุน 1 ตัว ตัวละ 25 บาท
ปั๊มน้ำตู้ปลา ขนาด AP 2,500 1 ตัว 250 บาท

รวมทั้งสิ้น 1,649 บาท

เกษตรกรและผู้ที่สนใจ การปลูกผัก เลี้ยงปลา แบบ Aquaponics ไม่พึ่งพาสารเคมี ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (พืชสวน) โทร. (053) 170-104

ชื่อสามัญ Durian (มาจากคำว่า duri ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า “หนาม”)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio zibethinus L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Durio acuminatissimus Merr., Durio stercoraceus Noronha) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่อยู่วงศ์ฝ้าย ในสกุลทุเรียน (แต่นักอนุกรมวิธานบางท่านจัดให้ทุเรียนอยู่ในวงศ์ทุเรียน) ทุเรียนจัดว่าเป็นราชาผลไม้ไทย โดยเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน โดยลักษณะของผลทุเรียนจะมีขนาดใหญ่ ผลรีถึงกลม และมีเปลือก( สีเขียวถึงสีน้ำตาล) ที่ปกคลุมไปด้วยหนามแข็ง ผลทุเรียนอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางของผลยาวถึง 15 ซม. น้ำหนักโดยทั่วไปประมาณ 1-3 กิโลกรัม และมีเนื้อที่นำมารับประทานเป็นสีเหลืองซีดจนถึงสีแดง ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์

ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ ได้แก่ Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus, Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha, Durio oxleyanus และ Durio testudinarum

แต่มีเพียง Durio zibethinus ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และชนิดนี้ก็แบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและปลูกกันมากก็คือ พันธุ์หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัว โดยเนื้อในจะเหมือนคัสตาร์ด มีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ สำหรับบางคนนั้นบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม แต่ในขณะที่บางคนกลับมองว่ามันมีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียนเลยทีเดียว (ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขาห้ามนำทุเรียนเข้าไปในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะ) ทุเรียนนั้นเราสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่ามแล้วแต่คนชอบ นอกจากนี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้อย่างหลากหลาย แม้แต่เมล็ดก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน
สรรพคุณของทุเรียน
ช่วยทำให้ฝีแห้ง (เนื้อทุเรียน)
ช่วยแก้โรคผิวหนัง (เนื้อทุเรียน)
สารสกัดจากใบและรากทุเรียนใช้เป็นยาแก้ไข้ได้ ด้วยการใช้น้ำจากใบวางบนศีรษะของผู้ป่วยจะช่วยลดไข้ได้ (ราก, ใบ)
ทุเรียนมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องร่วง (ราก)
สรรพคุณของทุเรียนช่วยขับพยาธิ (ใบ, เนื้อทุเรียน)
ทุเรียนทุเรียนมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้ดีซ่าน (ใบ)
ช่วยทำให้หนองแห้ง (ใบ)
ช่วยแก้ตานซาง (เปลือก)
ช่วยรักษาโรคคางทูม (เปลือก)
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (เปลือก)
ช่วยแก้ฝี (เปลือก)
ช่วยรักษาแผลพุพอง (เปลือก)
ใช้สมานแผล (เปลือก)
เปลือกทุเรียนใช้ไล่ยุงและแมลง (เปลือก)

ประโยชน์ของทุเรียน
ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะทุเรียนสายพันธุ์นี้มีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน (นพ.กฤษดา ศิรามพุช)
เนื่องจากทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง) การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย
เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น
ผลสามารถนำมาแปรรูปหรือทำเป็นขนมหวานได้หลายชนิด เช่น ลูกกวาดโบราณ, ขนมไหว้พระจันทร์, ขนมปังสอดไส้, ไอศกรีม, มิลก์เชก, เค้ก, คาปูชิโน, ข้าวเหนียวทุเรียน, เต็มโพยะก์, ทุเรียนดอง, ทุเรียนแช่อิ่ม, ทุเรียนกวน, ทุเรียนกรอบ, แยมทุเรียน ฯลฯ
เมล็ดทุเรียนสามารถรับประทานได้ โดยนำมาทำให้สุกด้วยวิธีการคั่ว การทอดในน้ำมันมะพร้าว หรือการนึ่ง โดยเนื้อในจะมีลักษณะคล้ายกับเผือกหรือมันเทศแต่เหนียวกว่า
ใบอ่อนหรือหน่อของทุเรียนสามารถนำมาใช้ทำอาหารบางอย่างคล้ายกับผักใบเขียวได้เช่นกัน
เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการรมควันปลา
เปลือกสามารถนำมาผลิตทำเป็นกระดาษได้ ซึ่งจะมีเส้นใยเหนียวนุ่มและเหนียวกว่าเนื้อกระดาษสา
ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนมารับประทาน
สำหรับความเชื่อในบ้านเรานั้น การปลูกต้นทุเรียนไว้ในบริเวณบ้าน (ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เชื่อว่าผู้อยู่อาศัยจะเป็นผู้มีความรู้ แก่วิชาการเรียน หรือเป็นผู้รู้มาก เพราะคำว่าทุเรียนมีเสียงพ้องกับเกี่ยวกับการเรียนนั่นเอง
คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม
สรรพคุณของทุเรียนพลังงาน 174 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม
เส้นใย 3.8 กรัม
ไขมัน 5.33 กรัม
โปรตีน 1.47 กรัม
วิตามินเอ 44 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.374 มิลลิกรัม 33%
วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม 17%
วิตามินบี 3 1.74 มิลลิกรัม 7%
วิตามินบี 5 0.23 มิลลิกรัม 5%
วิตามินบี 6 0.316 มิลลิกรัม 24%
วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม 9%
ประโยชน์ทุเรียน วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24%
ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1%
ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8%
ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15%
ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9%
ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงและยังอุดมไปด้วยไปด้วยไขมันและกำมะถัน ผลไม้ชนิดนี้จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ทำให้เกิดร้อนในอีกด้วย และสำหรับบุคคลทั่วไปควรจะบริโภคแต่น้อย และยังมีความเชื่อโบราณที่ห้ามให้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีดันโลหิตสูงรับประทานทุเรียน และไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟ เพราะเป็นของร้อนทั้งคู่ เดี๋ยวจะหลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มีได้ !

อินเดีย มีประชากร 1,200 ล้านคน จะรองก็แต่จีนเท่านั้น

อินเดียผลิตข้าวได้มากเป็น อันดับ 2 รองจากจีนเช่นกัน คือผลิตได้ปีละ 155 ล้านตัน ขณะที่จีนผลิตได้ ปีละ 208 ล้านตัน ส่วนไทยผลิตได้ 25 ล้านตัน (ลดลงจากประมาณ 27 ล้านตัน หลายปีก่อนนี้) คือ ได้แค่ครึ่งหนึ่งของคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม

ข้าว เป็นแรงขับสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของอินเดีย

อินเดียผลิตทั้งข้าวขาวและข้าวซ้อมมือ ว่ากันว่า มีราวร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งโลก ข้าวเป็นอาหารหลักในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศด้วย

ผลผลิตข้าวของอินเดียเพิ่มจาก 53.6 ล้านตัน ในปี 2523 มาเป็น 74.6 ล้านตัน ในปี 2533 เรียกว่าในทศวรรษเดียวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39 ที่จริงปีการผลิต 2552-2553 ผลผลิตลดลงเหลือ 89.14 ล้านตัน เพราะเจอภัยแล้ง พื้นที่เกษตรกรรมครึ่งหนึ่งของประเทศได้รับผลกระทบหนัก แต่ที่สุดผลผลิตก็เพิ่มขึ้นหลังจากนั้น และแตะร้อยล้านตันในปี 2554 เพราะได้ลมมรสุมที่เหมาะสมช่วยหนุน

ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ใช่มาจากการเพิ่มพื้นที่ปลูก แสดงว่าเขาพัฒนาการปลูกข้าวของเขาได้ดีมาก

ผลผลิตข้าวของอินเดียต่อเฮกตาร์ (ราว 6.25 ไร่) เพิ่มจาก 1,336 กิโลกรัม ในปี 2523 เป็น 1,751 กิโลกรัม ใน 10 ปีต่อมา หรือถ้าจะนับระยาวกว่านั้น ผลผลิตต่อเฮกตาร์เพิ่มราว ร้อยละ 262 ระหว่างปี 2943 จนถึงปี 2535

ข้าว เป็นผลผลิตหลัก อินเดียมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดในบรรดาผลผลิตเกษตรกรรมทั้งหลาย อากาศร้อนชื้นของอินเดียเหมาะแก่การปลูกข้าวอย่างยิ่ง อุณหภูมิที่เหมาะแก่การปลูกข้าวคือ ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และมีฝนเกิน 100 มิลลิเมตร ต่อปี ซึ่งอินเดียก็มีพื้นที่จำนวนมากตรงมาตรฐานนี้ พื้นที่ไหนที่มีฝนน้อยก็จะมีระบบชลประทานเข้าช่วย แต่บางรัฐอย่างอุตตรประเทศ ปัญจาบ และหรยาณา (Haryana) มักจะมีปัญหาน้ำท่วมช่วงมรสุม

ข้าวปลูกได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามพื้นที่ แต่ในอินเดีย วิธีการเพาะปลูกดั้งเดิมยังถูกนำมาใช้ในการเพาะปลูก คือยังไถพรวนด้วยคันไถแรงคน ใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย เหมือนที่ยังคงค้างอยู่ในชนบทของไทยจำนวนไม่มากนัก

พื้นที่ปลูกข้าวกระจายอยู่ตามพื้นที่ฝั่งทะเลทางตะวันตก ฝั่งทะเลตะวันออก หรือที่จริงก็คือครอบคลุมพื้นที่สามเหลี่ยม อย่างพื้นที่อัสสัม ภูมิภาค Terai ไปจนถึงเขตใกล้หิมาลัย ในรัฐใหญ่อย่างเบงกอลตะวันตก รัฐพิหาร รัฐอุตตรประเทศ รัฐมัธยประเทศทางใต้และทางตอนเหนือ และรัฐโอริสสา ตลอดจนพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ ที่กระจายไปทั่วประเทศ ชาวนาอินเดียทำนาได้อย่างน้อย 2 ครั้ง หลายที่ทำได้ 3 ครั้ง เลยทีเดียว

ระบบชลประทานมีกระจายทั่วไป กระทั่งในรัฐปัญจาบ และ รัฐหรยาณา (Haryana) ที่ภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวอยู่แล้ว ระบบชลประทานของอินเดียมีมานาน หนอง คลอง บึง เขาเจาะเชื่อมต่อกันได้เหมาะ

ซึ่งทำให้ฉันงงงวยมากกว่า เหตุไฉนคนจนอินเดียถึงยังมีมากเหลือเกิน

ข้าว เป็นพืชที่ปลูกบนพื้นที่สามเหลี่ยมชายฝั่งทะเล และพื้นที่ทางตะวันออกที่มีลมมรสุมพาฝนและอากาศที่เหมาะสมมาช่วยในหน้าร้อน ที่จริงอินเดียมีอากาศและฝนที่เหมาะกับการปลูกข้าวทั้งประเทศ

รัฐบาลกลางสนับสนุนชาวนาให้เพิ่มผลผลิต มีโครงการสำคัญอย่าง Special Rice Development Program (SRPP) และ National Food Security Mission (NFSM) เพื่อส่งเสริมให้ชาวนาพัฒนาการทำนาของตนเอง และมีนโยบายช่วยเหลือทั้งการพัฒนาพันธุ์ เงินกู้ เครื่องจักร เพื่อให้ต้นทุนการทำนาต่ำที่สุด และผลผลิตเพิ่มมากที่สุด ไฟฟ้าและระบบชลประทานได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางให้มีต้นทุนต่ำกว่าการใช้เพื่อประโยชน์อื่น เครื่องจักรที่ใช้ในการทำนามีราคาถูกกว่าเครื่องจักรทั่วไป ปุ๋ยก็เช่นกัน

รัฐบาลยังสนับสนุนอย่างมากในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ทนทานต่อโรคและศัตรูพืช

รัฐวิสาหกิจหลักที่รัฐบาลใช้ในการช่วยชาวนาคือ บรรษัทข้าวแห่งอินเดีย หรือ Food Corporation of India (FCI) บรรษัทนี้จะเข้ารับซื้อข้าวโดยตรงจากชาวนา และเป็นผู้แบกสต๊อกทั้งหมดไว้ รัฐบาลสนับสนุนราคารับซื้อข้าวสีแล้ว หรือสนับสนุนการส่งออก เพื่อให้ราคารับซื้อข้าวจากชาวนาสูงขึ้น

แม้โดยทั่วไปพื้นที่จะเหมาะสมกับการปลูกข้าว แต่ก็มีพื้นที่ไม่ประสบปัญหาฝนไม่สม่ำเสมอ ทั้งภัยแล้งไปจนถึงน้ำท่วม นอกจากนั้น ก็คือความยากจนของเกษตรกรที่นำมาซึ่งความขาดแคลนอ่อนด้อยในสารพัดทาง ขาดวัตถุดิบ ขาดนั่นนี่ไปหมดเหมือนชาวนาในประเทศอื่นๆ ที่มักจะยากจนเสมอ (มีชาวนาในญี่ปุ่นที่พ้นจากกฎเกณฑ์นี้ จากการสนับสนุนอย่างมากของรัฐบาล วันหลังจะเล่าให้ฟัง)

ปัญหาหนักอย่างหนึ่งคือ อินเดียยังขาดการบำรุงดิน เพราะเป็นประเทศใหญ่และภาระของรัฐบาลก็มีมากมายหลากหลายสำหรับประชากรพันกว่าล้านคน

ครูเปลื้อง เกษตรสิงห์ ข้าราชการบำนาญ วัย 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 234 หมู่ที่ 7 บ้านโนนหมากแงว ตำบลน้ำคำ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. (093) 269-7690 ปัจจุบัน อยู่กับภรรยา มีลูกชาย 2 คน เป็นนายแพทย์ด้านกระดูก ที่โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนอีกคน ทำงานด้านเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

หลังเกษียณอายุราชการ ครูสนใจประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง โดยเข้าเป็นสมาชิกโคขุนโพนยางคำ จังหวัดสกลนคร เลี้ยงโคลูกผสมชาร์โรเล่ส์ กับอเมริกันบราห์มัน

ในพื้นที่ 15 ไร่ แบ่งเป็นโรงเรือนเลี้ยงวัว 3 ไร่ แปลงหญ้า 3 ไร่ บ่อน้ำและคันบ่อปลูกหญ้า 3 ไร่ ปลูกกล้วยหอมทอง 1 ไร่ บ้านพักอาศัย 1 ไร่ โรงเรือนเก็บหญ้าแห้ง ฟางแห้ง โรงสีข้าว เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าว เครื่องบดหญ้าสด 1 ไร่ ที่เหลือเป็นที่ว่างเปล่าให้วัวเดินเล่น ออกกำลังกาย และป่าไม้ใช้สอย ไม้ธรรมชาติ

ครูเปลื้อง เล่าให้ฟังว่า งานเกษตรหลังเกษียณสนุกมาก เพราะหลังจากวางกล่องชอล์กจากความเป็นครู ทำงานในฟาร์ม เป็นเรื่องใหม่ ทำให้ตนเองศึกษาไปเรื่อยๆ ทั้งด้านการปฏิบัติ ด้านวิชาการ ไม่เหงา ทำงานกับภรรยา แรงงานจ้างบ้างเมื่อยามจำเป็น โคขุน สร้างเงินงามมาก ปุ๋ยมูลโคที่ตากแห้ง หมัก ตามกระบวนการโดยมีคำแนะนำจากสำนักงานพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด และจาก คุณอนัญทยา ลาศา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลน้ำคำ ได้ปีละ 2,000 กระสอบ กระสอบละ 250 บาท เป็นเงิน 500,000 บาท เป็นเรื่องที่น่า “ทึ่ง” มากๆ (ขายขี้วัว)

วัวขุนชาร์โรเล่ส์ ขายปีละ 8-10 ตัว ราคาเฉลี่ย 120,000 บาท ปีละ 1,200,000 บาท วัวในเกษตรสิงห์ฟาร์ม หมุนเวียน 15-30 ตัว ต่อเติมข้างโรงเรือนเลี้ยงโคขุน เลี้ยงไก่เนื้อ ไก่งวง นกกระทาไว้กินไข่และขาย วันละ 40-50 ฟอง นอกจากนี้ยังมีเลี้ยงแพะพันธุ์นม

ครูเปลื้อง บอกว่า ภาคภูมิใจมากที่มีฟาร์มวันนี้ จากการเริ่มต้นทำไร่นาสวนผสมมาดำเนินการภายในฟาร์ม อยู่อย่างเกื้อกูลกัน มูลโค เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ใส่กล้วยหอมทอง 600 ต้น สมบูรณ์มาก 5-7 หวี หวีขนาดใหญ่ น่ารับประทาน 600 เครือ ต่อปี ขายเครือละ 150 บาท รายได้ 80,000-100,000 บาท ขายหน่อกล้วย 35 บาท/หน่อ จากกอละ 3-5 หน่อ เป็นรายได้ที่ดีมาก ปีละ 50,000-60,000 บาท

งานกล้วยๆ ที่สามารถทำเงินแสนให้ครอบครัว เป็นแปลงปลูกกล้วยหอมทองพันธุ์ดีจากจังหวัดเพชรบุรี ซื้อมาหน่อละ 30 บาท 400 หน่อ ปลูกระยะ 2×2 เมตร

ครูเปลื้อง เล่าให้ฟังว่า หากเตรียมหลุมดี ใส่ปุ๋ยคอกเพียงพอ คือ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 คือ ดิน มูลโค แกลบเผาหรือปุ๋ยคอกเท่าๆ กัน ช่วงระหว่าง 5-6 เดือน เสริมปุ๋ยคอกเข้าไปอีก 1-2 บุ้งกี๋ ระบบน้ำเป็นน้ำหยด ชุ่มชื้นตลอดเวลา กล้วยสวยงามตลอดระยะการเจริญเติบโต หน่อกล้วยเกิดขึ้นมาจำนวนมาก พยายามใช้เสียมสับๆ ให้สั้นเข้าไว้ อย่าให้เจริญเติบโต เรียกว่ามาต้นแม่เพียงต้นเดียวเท่านั้น ถึงเวลาครบอายุตัดกล้วย ตัดให้ต้นสูง 2 เมตร เพื่อให้เลี้ยงต้นลูกหรือหน่อกล้วย จากนั้นเลือกต้นที่อยู่ห่างจากต้นแม่มากที่สุด เพื่อป้องกันการขึ้นโคน เพื่อดูแลเพียงต้นเดียว นอกจากนั้น ขุดออกเพื่อจำหน่ายเป็นต้นพันธุ์ให้เกษตรกรทั่วไป ต้นละ 35 บาท หลุมละ 5-8 หน่อ 150-200 บาท เป็นรายได้ที่งดงาม ข้อสำคัญอย่าแยกหน่อกล้วยขณะที่กำลังมีเครือกล้วยหรือหวีกล้วยยังอ่อน จะกระทบต่อผลผลิต กล้วยลูกเล็ก เพราะอาหารไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ มีการผลิตและขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ชั้นพันธุ์หลัก จากศูนย์วิจัยข้าวร้อยเอ็ด ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีสู่ชาวนาอย่างมีคุณภาพ จากเมล็ดข้าว กิโลกรัมละ 10 บาท ผลิตเมล็ดพันธุ์ขายได้ 25 บาท ต่อกิโลกรัม ปีละ 25,000-30,000 กิโลกรัม มีที่ปรึกษาจากกรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ โดย คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอ มอบหมายให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ศูนย์ขยายหรือศูนย์เครือข่ายของตำบลน้ำคำ

ครูเปลื้อง กล่าวว่า “ผมคือครูติดแผ่นดิน” ต้องเป็นครูตลอดชีวิต ที่นี่คือฟาร์มของเกษตรกร เป็นแหล่งศึกษาของเกษตรกรทุกๆ คน ด้าน ดิน น้ำ พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เชื่อมโยงสู่การตลาด โดยเน้นสินค้าการเกษตรปลอดภัย สู่การเกษตรอินทรีย์

ด้าน คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เว็บเล่นบาคาร่า เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นนโยบายของรัฐบาล คุณสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ดส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบ ศพก. ให้เป็นศูนย์ฯ มีชีวิต ห้ามเป็นโชว์รูม สามารถเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง อำเภอสุวรรณภูมิ อยู่ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มี คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างมีศักยภาพ พร้อมนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่ในทุ่งกุลาร้องไห้ 10 ตำบล 136 หมู่บ้าน เกษตรกร 21,000 ครัวเรือน เป้าหมายสูงสุดของการทำงานคือ “เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด เกษตรกรมีความสุข”