ซึ่งพบว่า สินค้าโคเนื้อของสหกรณ์การเกษตรหนองสูง

เป็นสินค้าที่มีศักยภาพและมีการส่งออกไปต่างประเทศบ้างแล้ว แต่เป็นประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณใกล้เคียง อาทิ ลาว และเวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังมีการเก็บภาษีนำเข้าเนื้อโคแปรรูปจากไทยอยู่ ซึ่งตนมองว่ายังมีช่องทางที่จะขยายการส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะในประเทศที่ไทยทำ เอฟทีเอ ด้วย เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นลาวและเวียดนาม ที่ไม่เก็บภาษีสินค้าโคเนื้อและผลิตภัณฑ์จากไทย ดังนั้น จึงต้องการให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จาก เอฟทีเอ ให้มากขึ้น และได้มอบหมายกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ช่วยเร่งให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่ต่อไป

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สหกรณ์การเกษตรหนองสูง จำกัด จังหวัดมุกดาหาร เป็นศูนย์กลางการรวบรวมโคเนื้อเพื่อชำแหละแปรรูปเนื้อโคคุณภาพ ส่งจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วประเทศ โดยปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิก 6,560 ราย มีสมาชิกที่เลี้ยงโคเนื้อ 3,181 ราย สหกรณ์ได้มีการเชื่อมโยงธุรกิจกับสหกรณ์ที่เป็นเครือข่ายผู้เลี้ยงโคขุนอีก 25 แห่ง ใน 15 จังหวัด ซึ่งสหกรณ์ฯ ได้ขยายธุรกิจการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุนและมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์โคขุนที่ได้มาตรฐานสากล ประกอบกับมีสมาชิกผู้เลี้ยงโคเนื้อที่ส่งให้สหกรณ์เพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน มีโคที่ขึ้นทะเบียนกว่า 4,200 ตัว ทำให้สหกรณ์สามารถวางแผนการผลิตได้ทั้งปี มีปริมาณการผลิตซากโค ได้เดือนละกว่า 270 ตัว ตัวละ 80,000 บาท ทำให้สหกรณ์สามารถส่งเนื้อโคขุนจำหน่ายให้กับตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่าปีละ 3,000 ตัว โดยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายใน ปี 2565 สหกรณ์จะขยายธุรกิจ เพิ่มปริมาณการแปรรูปโคขุนเป็น 5,000 ตัว ต่อปี พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคขุน พันธุ์ชาโลเร่ส์ลูกผสม พันธุ์แองกัสและวากิล ลูกผสม ซึ่งจากการประเมินรายได้เกษตรกรที่เลี้ยงโคขุน 10 ตัว จะมีรายได้ประมาณ 8 แสนบาท ต่อปี

ทั้งนี้ สถิติการส่งออกโคเนื้อและผลิตภัณฑ์ของไทย ปี 2561 ส่งออกโคเนื้อ จำนวน 262,730 ตัว คิดเป็นมูลค่า 3,985.77 ล้านบาท เนื้อโคและผลิตภัณฑ์ ปริมาณ 104.01 ตัน คิดเป็นมูลค่า 50.89 ล้านบาท ราคาส่งออกโคมีชีวิตอยู่ที่ 15,170.59 บาท ต่อตัว เนื้อโคและผลิตภัณฑ์ 489.28 บาท ต่อกิโลกรัม โดยตลาดส่งออกสำคัญของโคมีชีวิต ได้แก่ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ส่วนเนื้อโคและผลิตภัณฑ์ มีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และกัมพูชา เนื่องจากเป็นตลาดที่ไทยได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีภายใต้เอฟทีเอ

รมว. ทส. วราวุธ ศิลปอาชา เปิดงาน “วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ ประจำปี 2562” ภายใต้แนวคิด “คืนน้ำใสให้ฝูงปลา คืนชีวาให้ชุมชน” เน้นย้ำทุกฝ่ายช่วยกันทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางมากขึ้น พร้อมดูแลแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อลดปริมาณขยะจากบกไหลลงสู่ทะเล

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีเปิดงาน “วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ ประจำปี 2562” พร้อมด้วย นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายเสน่ห์ สาธุธรรม รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยมี นายภูสิต สมจิตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ และเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 คน ณ วัดปลายนา ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หัวใจสำคัญในการอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คูคลอง ไม่ใช่แค่กิจกรรมในวันนี้ แต่คือการสร้างจิตสำนึกของทุกคนให้ร่วมมือกันทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางมากขึ้น รวมไปถึงลด ละ เลิก การใช้พลาสติกด้วย เนื่องจากปัญหาขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก เป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทุกประเทศให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการแก้ไข ซึ่งปัจจุบัน คนไทยสร้างขยะ 27.8 ล้านตัน ต่อปี นำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ 9.58 ล้านตัน (ร้อยละ 34) กำจัดได้อย่างถูกต้อง 10.88 ล้านตัน (ร้อยละ 39) และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 7.36 ล้านตัน (ร้อยละ 27) ยังกำจัดไม่ถูกต้อง กลายเป็น “ขยะสะสม” ซึ่งในจำนวนนี้ พบว่า เป็นขยะพลาสติกถึง 2 ล้านตัน และเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาขยะทะเล สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดการจัดการขยะอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กิจกรรมในวันนี้ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่พวกเราจะได้ร่วมกันแสดงถึงจุดยืนในการจัดการปัญหาขยะจากบนบก ไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง และไหลลงสู่ทะเล เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับลูกหลานของเราในอนาคต

ด้าน นายเสน่ห์ สาธุธรรม รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวเพิ่มเติมว่า ชุมชนวัดปลายนา ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นตัวอย่างของชุมชนที่มีการบริหารจัดการขยะ และดูแลแหล่งน้ำที่ไหลผ่านในชุมชนของตนได้เป็นอย่างดี ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเทศบาลตำบลวังน้ำซับ ตลอดจนเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะดูแลรักษาคลองปลายนา รวมถึงแม่น้ำท่าจีน ให้สะอาด ปราศจากขยะ เพื่อลดปัญหาขยะบกที่อาจกลายเป็นปัญหาขยะทะเลต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีนิทรรศการที่มุ่งเน้นสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และการแสดงเพลงอีแซว จากศิลปินแห่งชาติ “แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์” การประกวดร้องเพลง “เยาวชน คนรักษ์น้ำ” ซึ่งในโอกาสนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้เกียรติมอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวดการแข่งขันร้องเพลง จำนวน 5 รางวัล พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการ และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสภาพคลองในชุมชนวัดปลายนาด้วย

1.ขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ กสก. และเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิในราคามากกว่าหรือเท่ากับ 8 บาท ต่อกิโลกรัม (ความชื้น 14.5%) ณ กทม. และปริมณฑล

2.ห้ามมิให้ขนย้ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มากกว่าหรือเท่ากับ 10,000 กิโลกรัม ออกจากท้องที่ที่กำหนด เว้นแต่มีหนังสืออนุญาต 3.ให้ผู้ประกอบการรับซื้อหรือครอบครองข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าหรือเท่ากับ 50 เมตริกตัน/เดือน ต้องแจ้งชื่อ ชนิด ราคาซื้อ ราคาจำหน่าย ปริมาณที่มีอยู่ การซื้อ ได้มา การจำหน่าย การใช้ การขาย คงเหลือ ที่เก็บภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

4.ผู้ประกอบการต้องระบุราคารับซื้อตามมาตรฐานความชื้นให้ชัดเจน และแสดงราคาหน้าสถานที่รับซื้อและจุดรับซื้อ

5.โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 61/62 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อรวบรวมหรือรับซื้อ 1,500 ล้านบาท ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี โดยคิดจากสถาบันเกษตรกร 1% และรัฐบาลชดเชยให้ 3%

6.ด้านการนำเข้า

(1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : อคส. นำเข้าได้ตลอดทั้งปี ผู้นำเข้าทั่วไป 1 ก.พ. – 31 ส.ค. ของแต่ละปี

(2) วัตถุดิบทดแทน : กำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ในอัตราส่วน 1 : 3

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมกิจกรรม “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมอบหมายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรและชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ณ จังหวัดสกลนคร

นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า จากสถานการณ์อุทกภัยในปัจจุบัน ส่งผลให้พี่น้องเกษตรกรและประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย โดย นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดบูรณาการดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู

ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และสร้างการรับรู้การเตรียมการด้านการเกษตรตามหลักวิชาการ รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็ว และจัดกิจกรรม “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ในพื้นที่ 21 จังหวัด โดยลงพื้นที่ต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยือนให้กำลังใจพี่น้องเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และนำถุงยังชีพและของใช้ที่จำเป็นไปแจกจ่ายเพื่อช่วยเหลือในเบื้องต้น รวมถึงสำรวจปัญหา สอบถามถึงความต้องการเพื่อฟื้นฟูอาชีพหลังน้ำลด

ทั้งนี้ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้เข้าช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน โดยจัดพิธีเปิดกิจกรรม “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ในวันที่ 23 กันยายน 2562 ณ จังหวัดสกลนคร พร้อมทั้งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยหลังน้ำลด และมอบถุงยังชีพและของใช้จำเป็นแก่ผู้ประสบอุทกภัย ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ และประกอบอาชีพได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ จัดให้มีบริการซ่อมเครื่องมือและเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัย โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร ตั้งจุดให้บริการซ่อมเครื่องจักรกลการเกษตรและเปลี่ยนถ่ายอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไปประกอบอาชีพได้ทันทีที่น้ำลด อีกทั้งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งด้าน ชลประทาน ด้านพืช ด้านประมง ด้านปศุสัตว์ จนกว่าจะเข้าสู่สถานการณ์ปรกติ

นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน และ นางอรทัย ออประยูร ประธานกรรรมการบริหาร บริษัทประชารัฐรักสามัคคีลำพูน (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่จังหวัดลำพูน” สนับสนุนการดำเนินงาน Sharing Economy ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยียืดอายุลำไยเพื่อการส่งออก ระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี โดยมีกรอบความร่วมมือในการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร การจัดฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมมือในการเสริมสร้างผู้ประกอบการขนาดย่อม (SMEs) รุ่นใหม่ด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมเกษตร โอกาสนี้ ดร. รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ร่วมเป็นสักขีพยาน ในวันที่ 23 กันยายน 2562 ณ เวทีกลาง งานมหัศจรรย์ลำไย เกษตรปลอดภัย ของดีลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

สถานประกอบการ 25 โรงงาน ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ รับเกียรติบัตรและโล่รางวัล CSR-DIW Continuous Award ประจำปี 2562 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตอกย้ำความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า รางวัล CSR – DIW Continuous Award สะท้อนความทุ่มเทและความตั้งใจขององค์กรในการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน ตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของชุมชน ยึดมั่นนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือดูแลสังคมอย่างต่อเนื่อง

ซีพีเอฟ พร้อมปรับตัวตามทิศทางของกระแสโลกและนโยบายรัฐบาล เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนในมิติต่างๆ เช่น การนำแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ Circular Economy เข้ามาใช้ในการผลักดันความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ตลอดกระบวนการผลิต รวมถึงการลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

สถานประกอบการของซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน สอดคล้องตามแนวทางสากล ISO 26000 ครอบคลุมประเด็นหลัก 7 ด้าน คือ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน เช่น ดำเนินโครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน โครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง โครงการ ซีพีเอฟ อิ่ม สุข ปลูกอนาคต โครงการปลดหนี้ สร้างสุข และส่งเสริมการออม เป็นต้น ขณะเดียวกันยังดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)

สำหรับงานมอบรางวัล CSR – DIW ประจำปี 2562 ได้รับเกียรติจาก นายกรณ์ภัฐวีญ์ ม่วงน้อย รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เปิดงาน “ตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพ อ.ต.ก.จังหวัดสงขลา” ด้วยการคัดสรรสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ จากเกษตรกรโดยตรงมาจำหน่ายกว่า 40 ร้านค้า และยังมีนิทรรศการทางการเกษตร กิจกรรมสาธิตต่างๆ เช่น การทำมะพร้าวบอนไซ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สินค้าเกษตร การจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาพิเศษ นาทีทอง การแจกกล้วยไม้ฟรีสำหรับผู้ที่ซื้อสินค้าภายในงาน จำนวน 100 ต้นทุกวัน และกิจกรรมการแสดงดนตรีทุกวัน ณ พื้นที่บริเวณ สำนักงาน อ.ต.ก. จังหวัดสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้

เครือเบทาโกรร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี และศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ปทุมธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคพนักงานในสถานประกอบการ ของบริษัทในเครือเบทาโกร จังหวัดลพบุรี เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงการป้องกันโรคแก่พนักงานในสถานประกอบการ และสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และมุ่งหวังให้เป็นโครงการต้นแบบและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการประกอบการอื่นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

เครือเบทาโกร ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคพนักงานในสถานประกอบการของบริษัท เครือเบทาโกร จังหวัดลพบุรี โดยมี นายจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักกิจการเพื่อสังคม นายณัฐ หาวารี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี นางสาวไสววรรณ ไผ่ประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี นางสิริพร พุทธิพรโอภาส ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ปทุมธานี เป็นผู้ลงนาม พร้อมทั้งส่วนราชการและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม บริษัท เพ็ท โฟกัส อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

นายณัฐ หาวารี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี กล่าวถึงสถานการณ์ความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกลุ่มวัยทำงานในสถานประกอบการว่า ประชากรกลุ่มวัยทำงานของประเทศไทย มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable diseases) เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต จึงมีการบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ให้ประชากรวัยทำงานมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมทั้งสร้างความรู้ด้านการรักษาสุขภาพตามแนวทาง 10 แพ็กเกจวัยทำงาน ปลอดภัยดี สุขภาพดี งานดี มีความสุข เพื่อเป็นการสร้างเสริมศักยภาพของสถานประกอบการในการวางแผนและดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสถานประกอบการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

นายจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักกิจการเพื่อสังคม เครือเบทาโกร กล่าวว่า เครือเบทาโกรให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณภาพชีวิตชีวิตที่ดีให้แก่พนักงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต จึงมีการดำเนินโครงการที่มุ่งให้พนักงานมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โดยเริ่มต้นจากสถานประกอบการของบริษัทในเครือเบทาโกร จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นฐานการผลิต

หลักและมีพนักงานจำนวนมาก เช่น โครงการกินอุ่น ซึ่งมุ่งเน้นในด้านคุณภาพอาหาร โครงการนอนอิ่ม มุ่งเน้นในด้านการพักผ่อนเพียงพอ นอนหลับอย่างมีคุณภาพ โครงการ Happy Money เป็นการให้ความรู้และแนวทางการบริหารจัดการด้านเงิน และโครงการ Happy Health ซึ่งมุ่งเน้นด้านสุขภาพ โดยให้ความรู้ เกี่ยวกับโรค NCDs เพื่อป้องกันและดูแลตนเอง จึงทำให้มีโอกาสร่วมทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานกับทางหน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาไปสู่การร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกัน คือต้องการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงการป้องกันโรคแก่พนักงานในสถานประกอบการแบบบูรณาการ และสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีแก่พนักงาน

“ผลจากการร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจ และลดพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงต่อโรค NCDs มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทางเบทาโกรหวังว่าจะเป็นโครงการต้นแบบและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการประกอบอื่นๆ ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชน รวมทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ”นายจักริน กล่าวในตอนท้าย

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของพนักงานในสถานประกอบการของบริษัทในเครือเบทาโกรจังหวัดลพบุรี เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านสุขภาพตามแนวทาง 10 แพ็กเกจ “ปลอดภัยดี สุขภาพดี งานดี มีความสุข ในสถานประกอบการ” เพื่อลดการเกิดโรค NCDs โดยมี สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 จ.ปทุมธานี กับบริษัทในเครือเบทาโกร จ.ลพบุรี ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี สำนักงานแรงงานจังหวัดลพบุรี สำนักงานประกันสังคมจังหวัดลพบุรี สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลพบุรี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุรี ที่ทำการปกครองอำเภอพัฒนานิคม เทศบาลตำบลพัฒนานิคม และองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติพร้อมด้วย นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เข้าติดตามสถานการณ์น้ำ ณ ห้องบัญชาการและวิเคราะห์สถานการณ์ (War Room) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) โดย ดร. สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ให้การต้อนรับและชี้แจงสถานการณ์น้ำในเขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย แม้ประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีฝนตกหนักจากพายุ “โพดุล” และพายุ “คาจิกิ” แต่ก็ยังมีเขื่อนที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ ทั้งหมด 8 แห่ง ประกอบไปด้วย เขื่อนแม่กวง (30%) เขื่อนลำพระเพลิง (20%) เขื่อนอุบลรัตน์ (27%) เขื่อนลำนางรอง (16%) เขื่อนลำแซะ (28%) เขื่อนทับเสลา (23%) เขื่อนกระเสียว (22%) และเขื่อนคลองสียัด (23%) ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนภาคการเกษตรในฤดูแล้งปี 2563 โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ที่มีน้ำใช้การได้เพียง 66 ล้าน ลบ.ม. อาจจำเป็นต้องใช้น้ำก้นอ่าง (Dead Storage) เพื่อเป็นน้ำอุปโภค-บริโภคเท่านั้น ส่งผลให้ขาดน้ำเพื่อการเพาะปลูกต่อเนื่องอีกปี

สำหรับสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักฯ) ยังคงมีน้ำใช้การได้รวมกันเพียง 5,400 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการทำนาปรังให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้