ซึ่งพ่อค้าหรือผู้ประกอบการจะใช้เกณฑ์ตัดสินราคา ขนาดของผล

สีผิว และการจัดเรียงตะกร้า ดังนั้น เกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องของการคัดเกรดและการจัดเรียงตะกร้าด้วย หลังจากนั้น จึงจะลำเลียงผลผลิตไปยังจุดรับซื้อดูแลหลังการเก็บเกี่ยว

จะเป็นการพักฟื้นต้นลำไย บางสวนก็แต่งกิ่งช่วย บางสวนก็ไม่แต่งกิ่ง แต่จะเลี้ยงบำรุงต้นให้คืนความสมบูรณ์เสียก่อน เราก็ฉีดพ่นเพียงรักษาใบลำไยที่จะแตกออกมาอีก 2-3 ชุด ไม่ให้แมลงทำลายกัดกินใบเท่านั้น แล้วสัก 2 เดือน ล่วงหน้าก่อนการราดสารเราจะตัดแต่งกิ่ง โดยตัดแต่งกิ่งออกราว 40% ของต้น ให้ต้นมีความโปร่งภายในทรงพุ่ม แสงแดด และอากาศผ่านได้

การขายผลผลิตของลำไย

ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยในแต่ละปี เฉลี่ยผลผลิตลำไยพันธุ์อีดอต่อไร่ จะประมาณ 2-5 ตัน (ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย) ซึ่งการขายลำไยในบ้านเราก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ ขายแบบเหมาสวน ซึ่งพ่อค้าก็ต้องเข้ามาดูสวน คาดคะเนผลผลิตให้แม่นยำ เพื่อเหมาไปแล้วไม่ขาดทุน

เนื่องจากคาดคะเนผลผลิตลำไยที่จะเหมาสวนผิดไป และการขายแบบเป็นกิโลกรัม สมมุติว่า ตกลงราคากัน กิโลกรัมละ 20 บาท เก็บออกจากสวนกี่กิโลกรัมก็ต้องคูณด้วยราคา 20 บาท ก็แล้วแต่เจ้าของสวนว่าพอใจขายแบบไหน

ราคาซื้อขายลำไยนอกฤดูออกจากสวน ที่ผ่านมาก็จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 20-30 บาท ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาดด้วยในแต่ละปี ถ้าราคาซื้อขายเกิน 20 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรก็พออยู่ได้สำหรับลำไยพันธุ์อีดอ ถ้าราคาถึง 30 บาท ต่อกิโลกรัม หรือมากกว่านั้น ก็ถือว่าดีมากในปีนั้นๆ

แต่สำหรับลำไยยักษ์ พันธุ์จัมโบ้ ของสวนคุณลี จังหวัดพิจิตร ที่ผลิตออกมาจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากต้นยังมีจำนวนน้อย สามารถขายผลผลิตให้แก่ผู้ที่สนใจได้ถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ทีเดียว

และจากการตอบรับของลูกค้าที่ซื้อลำไยยักษ์ พันธุ์ “จัมโบ้” ไปรับประทานล้วนบอกว่า รับประทานอร่อย และประหลาดใจกับลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ เนื้อเยอะ และเมล็ดลีบเล็กทุกผล
สนใจกิ่งพันธุ์ ลำไยยักษ์ พันธุ์ “จัมโบ้” สายพันธุ์แท้ ติดต่อได้ที่ “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร “โรครากเน่าโคนเน่า” รุกระบาดสวนทุเรียนในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี หวั่นผลผลิตทุเรียนเสียหายหนัก

กรมวิชาการเกษตรแนะเกษตรกรสวนทุเรียนใช้วิธีป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาตรงจุด ลดความเสียหายของผลผลิต หยุดวงจรการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าได้ผลจริง

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาการระบาดเป็นวงกว้างของโรคทุเรียนในภาคใต้และภาคตะวันออก ส่งผลทำให้ต้นทุเรียนเกิดความเสียหายอย่างหนัก โดยทุเรียนถือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งปัญหานี้จำเป็นต้องมีแนวทางในการป้องกันกำจัดอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม

ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงได้ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าในสวนทุเรียนเขตพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา

พบว่าเกษตรกรชาวสวนทุเรียนประสบปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าระบาดอย่างรุนแรง เนื่องจากในปีนี้ มีสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ปริมาณน้ำฝนมาก และมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรหาช่วงจังหวะในการจัดการสวนและพ่นสารเคมีไม่ได้ตามกำหนดเวลา ต้นทุเรียนที่อ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่าอยู่แล้วจึงทรุดโทรมและตายในที่สุด โดยเฉพาะในสวนที่มีการดูแลรักษาต้นทุเรียนไม่ดี

ทางสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชและศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ลงพื้นที่ทำการรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามเกษตรกร และเก็บตัวอย่างโรคจากกิ่ง เปลือกลำต้น และใบทุเรียนมาทำการแยกเชื้อสาเหตุของโรค

ซึ่งสรุปได้ว่า โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนที่พบมีสาเหตุเกิดจากราไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา โดยราสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้น ได้แก่ ใบ กิ่ง ลำต้น ดอก ผล และระบบราก อีกทั้งราจะอาศัยอยู่ในดินและสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งในน้ำและในอากาศ

ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีแผนการแก้ปัญหาดังกล่าว คือ การเร่งสำรวจพื้นที่ระบาดพร้อมทำการวินิจฉัยโรคและเชื้อสาเหตุโรค ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับโรคและแนวทางในการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ

ดร.พรพิมล อธิปัญญาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้าทำลายของโรครากเน่าโคนเน่า ที่ใบและกิ่งอ่อน มีอาการเน่า ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มีจุดแผลสีน้ำตาลอ่อนฉ่ำน้ำ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ กิ่ง ลำต้น และโคนต้น มีจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า

เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เน่ามีกลิ่นหืน แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว มักพบโรคร่วมกับการเข้าทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน และจะระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน

สำหรับการควบคุมและป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน ในเบื้องต้นหากพบโรค ให้เกษตรกรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ฉีดด้วยสารฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการของโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น ทุก 30 วัน

จากนั้นพ่นให้ทั่วทรงพุ่มด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน ใช้สลับกับสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร

กรณีโรคเข้าทำลายไม่รุนแรง ให้เกษตรกรใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แบบใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฮาร์เซียนั่ม ให้นำหัวเชื้อมาเพิ่มปริมาณในข้าวสุก จากนั้นหว่านส่วนผสมเชื้อสดให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่ม อัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร

หรือบริเวณโคนต้นพืชที่เกิดโรค อัตรา 10-20 กรัมต่อต้น แบบใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส ให้ใช้เข็มฉีดยาใส่สารละลายของเชื้อ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 มิลลิลิตร ฉีดเข้าในโคนต้นทุเรียน ต้นละ 3 จุด 1 ครั้ง

จากนั้นลอกเปลือกต้นทุเรียนบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วทาด้วยผงเชื้อ อัตรา 1,000 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยจะต้องผสมสารจับใบ อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และราดดินบริเวณโคนต้นด้วยผงเชื้อ อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 2 ลิตรต่อต้น โดยลอกเปลือกและราดดินซ้ำ รวม 4 ครั้ง

กรณีโรคเข้าทำลายรุนแรง ให้เกษตรกรถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง

หากพบใบเหลืองทั้งต้น ให้ราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยร่วมกับการใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาแล้วฉีดเข้าลำต้น ถ้าพบกิ่งแห้งที่มีรอยเจาะทำลายของมอด ให้ตัดไปเผาไฟทิ้ง

สำหรับส่วนที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้ ให้พ่นบนกิ่งใหญ่หรือลำต้นที่มีรูมอดเจาะด้วยสารฆ่าแมลงคลอไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน

ท่านที่สนใจวิธีควบคุมและป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าแบบผสมผสาน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.พรพิมล อธิปัญญาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช กรมวิชาการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ 092-259-8457

พืชจะลำเลียงน้ำไปพร้อมๆ กับแร่ธาตุต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ (ในรูปไอออน) ผ่านเนื้อเยื่อที่เรียกว่า ไซเลม (Xylem) เนื้อเยื่อไซเลมประกอบไปด้วยเซลล์ 4 ประเภทได้แก่

1.เทรคีด (Tracheid) เป็นเซลล์ยาวเรียว ปลายปิด บริเวณผนังของเทรคีดมีรูเล็กๆ กระจายอยู่

2.เวสเซลเมมเบอร์ (Vessel member) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะเป็นท่อสั้นและกว้างกว่าเทรคีด ผนังมีรูกระจายรอบๆเหมือนเทรคีด แต่ที่บริเวณปลายมีรูทำให้น้ำไหลผ่านได้ เวสเซลจะเรียงซ้อนกันจนมีลักษณะเป็นท่อส่งน้ำยาวๆ

3.ไซเลมไฟเบอร์ (Xylem fibre) เป็นเซลล์บางๆ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างค้ำจุน

ทั้งสามประเภทแรกนี้เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว

4.Xylem parenchyma เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำหน้าที่สะสมอาหารจำพวกแป้ง และคอยดึงน้ำออกจากท่อลำเลียงมาใช้งาน

เทรคีดและเวสเซลทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำ ผนังของพวกมันมีสารพวกลิกนิน ซึ่งมีความแข็งแรงและไม่ละลายน้ำเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น เทรคีดและเวสเซลจึงเหมือนท่อส่งน้ำเปล่าๆ ที่ไม่ได้มีพลังงานอะไรมาดึงน้ำให้ขึ้นไปสู่ยอดได้

แล้วน้ำถูกดึงขึ้นสู่ยอดต้นไม้ได้อย่างไร?

การดูดน้ำของพืชเป็นปรากฏการณ์ที่ดูเรียบง่าย แต่ในการทำความเข้าใจกลไกของมันไม่ใช่เรื่องง่ายนัก นักวิทยาศาสตร์สร้างทฤษฎีไว้มากมายสำหรับอธิบายว่าพืชลำเลียงน้ำได้อย่างไร แต่ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในการอธิบายการลำเลียงน้ำในพืช คือ Cohesion-Tension Theory ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1894 โดย Henry Dixon และ John Joly

เราสามารถทำความเข้าใจตามขั้นตอนดังนี้

1.การระเหยของน้ำออกจากใบทำให้น้ำที่อยู่ในเนื้อเยื่อไซเลมถูกแรงดึงขึ้น โดยแรงดึงดังกล่าวเกิดขึ้นภายในท่อลำเลียงเริ่มจากใบ สู่ลำต้น และลงไปถึงราก

2.แรง Cohesion เป็นแรงที่เชื่อมและยึดเกาะระหว่างโมเลกุลชนิดเดียวกัน ในที่นี้เกิดขึ้นระหว่างน้ำที่อยู่ในท่อลำเลียงทำให้น้ำในท่อลำเลียงถูกดึงขึ้นพร้อมๆ กันเป็นขบวน (หากปราศจากซึ่งแรงนี้ น้ำที่ถูกดึงจะแตกเป็นหยดเล็กๆ และไม่มีการไหลที่ต่อเนื่อง)

3.เมื่อโมเลกุลน้ำระเหยออกจากใบอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดแรงดึงน้ำอย่างต่อเนื่อง โมเลกุลของน้ำจะไหลมาแทนที่กันเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย

อย่างไรก็ตาม หลายๆ ครั้งนักวิทยาศาสตร์อาจใช้คำอธิบายเหล่านี้ร่วมกับคำอธิบายจากทฤษฎีอื่นๆ บ้าง

ส่วนการลำเลียงอาหารในพืชนั้นแตกต่างไปจากการลำเลียงน้ำอย่างมาก

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า อาหาร ในที่นี้หมายถึงสารอินทรีย์ อย่างน้ำตาลหรือแป้ง ที่จะถูกลำเลียงออกจากใบซึ่งเป็นสถานที่สังเคราะห์แสง (สร้างอาหาร) ออกสู่ส่วนต่างๆ ของพืช
อาทิตย์หน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ จากการศึกษาข้อมูลและวิจัยกรรมวิธีการเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตที่ดีแก่ผู้เพาะปลูก โดย อาจารย์พิทักษ์ สถิตวรรธนะ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย ได้เริ่มต้นการวิจัยจากการเพาะเห็ดในโอ่ง ตามวิถีของชาวบ้านจากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

แต่การเพาะเห็ดนั้น จะต้องดูแลรดน้ำให้เห็ด 3-4 ครั้ง ต่อวัน และการเพาะเห็ดในโอ่งนั้น สามารถเพาะได้เพียง 20-40 ก้อน ต่อโอ่ง

จากการลงพื้นที่ชุมชน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านควนเสม็ด หมู่ที่ 10 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ทางชุมชนมีความต้องการส่งเสริมให้การเพาะเห็ดเป็นอาชีพของคนในชุมชน จึงได้สร้างตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ ทดแทนการเพาะในโอ่งดิน โดยออกแบบระบบโรงเรือนเพาะเห็ดให้มีขนาดเล็ก แต่สามารถบรรจุก้อนเห็ดได้ถึง 140 ก้อน ออกแบบการจัดเรียงเห็ดให้หันปากถุงเข้าหากันในรูปตัวยู (U-Shape) ซึ่งตู้เพาะเห็ดประกอบด้วยโครงตู้เพาะเห็ด ที่สามารถถอดประกอบได้

หลังคาตู้เพาะเห็ดที่สามารถเปิดออกได้ โดยด้านบนมีฉนวนกันความร้อนทำจากวัสดุพลาสติก หนาไม่น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร ปิดทับอยู่ มีกล่องควบคุมอัตโนมัติ ควบคุมชุดรดน้ำ ซึ่งมีเซ็นเซอร์ใช้วัดอุณหภูมิและความชื้นติดอยู่ด้านหลังตัวเครื่อง เพื่อใช้ตรวจจับค่าความชื้นและอุณหภูมิภายในตู้ และกล่องควบคุมอัตโนมัติ

ผนังตู้เพาะเห็ด ทำจากวัสดุพลาสติกกันความร้อนและความชื้น หนาไม่น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร อยู่ภายใน และสามารถถอดมาทำความสะอาดได้ง่าย สะดวกในการติดตั้ง เพราะสามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้ง่ายส่งผลดีต่อการเปลี่ยนที่เพาะเห็ดได้ตามต้องการ ไม่ต้องเสียเวลาพักโรงเรือนเพาะเห็ดแบบเดิม ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากศัตรูเห็ด เช่น ราดำ ราเขียว เป็นต้น

โดยระบบดังกล่าวสามารถควบคุมอุณหภูมิและการรดน้ำภายในโรงเพาะเห็ดขนาดเล็กแบบอัตโนมัติได้

ระบบสามารถควบคุมการเปิด/ปิดการรดน้ำและระบายความร้อนแบบอัตโนมัติ ประหยัดพลังงานและปริมาณการรดน้ำ

สาเหตุที่ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 27-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงที่เห็ดต้องการในการเจริญเติบโต ซึ่งมีความจำเป็น ถ้าอุณหภูมิภายในโรงเพาะเห็ด ไม่เป็นไปตามทฤษฎีการเพาะเห็ด ส่งผลให้เห็ดไม่สามารถเจริญเติบโตออกมาได้อย่างมีคุณภาพ และจะเป็นการชะลอการเกิดของดอกเห็ด ส่งผลต่อรายได้ของผู้เพาะเห็ด จึงเป็นที่มาของตู้เพาะเห็ดขนาดเล็ก เพื่อใช้แก้ปัญหาดังกล่าว

โดยล่าสุดผลงาน “ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ” สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2560 จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิบัวหลวง ได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท พร้อมโล่เชิดชูเกียรติ โดยมีพิธีมอบรางวัลจาก ดร. อรรชกา สีบุญเรืองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในงานมหกรรม “Thai Tech EXPO 2017” เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2560 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ และผลงานดังกล่าว

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย โดย ผศ. ยงยุทธ หนูเนียม รักษาราชการแทนอธิการบดี ส่งมอบตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ จำนวน 5 ตู้ ให้ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ภายในงานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 “วิจัยขายได้” ระหว่าง วันที่ 23-24 กันยายน 2560 ณ อาคารไปรษณีย์กลางและศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บางรัก กรุงเทพฯ เพื่อมอบต่อไปยัง นายธนากร อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู นำไปพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนภายในจังหวัด

ทั้งนี้ การมอบตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย กับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อนำผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งผลงานดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนอาชีพและยกระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ตามนโยบายของรัฐบาล ขับเคลื่อนประเทศ Thailand 4.0 ซึ่งเกษตรกรหรือผู้สนใจ ต้องการ “ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ”

ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รณรงค์ให้ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ โดยมุ่งเน้นไปเพื่อการส่งออก และความปลอดภัยของผู้บริโภคประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งต้องการให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตโดยลดการใช้สารเคมีให้น้อยลง แต่ลืมนึกไปอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย นั่นคือ ความปลอดภัยต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีเอง เกษตรกรบางคนหวังแต่เพียงว่า ทำอย่างไร จะสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ได้มาก ทำอย่างไร ที่จะประกอบอาชีพการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม การทำการเกษตรของประเทศไทยก็ยังหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูไม่ได้อยู่ดี เพียงแต่ว่านักวิชาการทั้งของทางราชการและของบริษัทธุรกิจสารเคมีผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเกษตรกรจะสามารถให้ความรู้ในการใช้สารเคมีแก่เกษตรกรอย่างถูกต้องและปลอดภัยได้แค่ไหน รวมทั้งทำอย่างไร เกษตรกรจะลดต้นทุนการผลิตได้อย่างแท้จริง

ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณสุเทพ สหายา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ที่คลุกคลีอยู่กับงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมีมาตั้งแต่ ปี 2530 ผู้เขียนได้ติดตามเรื่องการศึกษาวิจัยการใช้ป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูมะพร้าว โดยวิธีเจาะเข้าลำต้นจนประสบความสำเร็จ และได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกไปแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวปฏิบัติก่อนที่จะปล่อยศัตรูธรรมชาติหรือแตนเบียนตามออกไปทำลายศัตรูมะพร้าวในภายหลัง

คุณสุเทพ เริ่มรับราชการในกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี 2530 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 30 ปี เริ่มจากการเป็นนักวิจัยที่กรมวิชาการเกษตร ปี 2530-2532 ต่อมาได้รับบรรจุเป็นข้าราชการ กทม. ปี 2532-2534 แล้วย้ายกลับมารับราชการที่กรมวิชาการเกษตรอีกครั้ง ในปี 2535

เมื่อปี 2530 เริ่มทำงานเกี่ยวกับสารเคมีในฝ้าย หม่อน และพืชเส้นใย ทำการทดสอบประสิทธิภาพในฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ทานตะวัน มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ข้าว และมะพร้าว? สำหรับพืชผักสวนครัว ได้แก่ ต้นกะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง งา ผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่า และฝรั่ง นอกจากนั้นได้ศึกษาหาสารเคมีที่ปลอดภัยมาใช้ในการเจาะเข้าลำต้นมะพร้าวเพื่อกำจัดศัตรูมะพร้าวในเบื้องต้น ก่อนที่จะปล่อยแตนเบียนศัตรูธรรมชาติตามในภายหลัง

ทำไม ยังต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช

คุณสุเทพ ตอบคำถามนี้ว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะศัตรูพืชได้ กลับมีปัญหาต่างๆ ตามมาและทวีความรุนแรงมากขึ้น ตั้งแต่ปัญหาพิษตกค้างของสารเคมีในผลผลิตของเกษตรกร ผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะตัวเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีเอง

อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่พืชอาหารยังผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคของมนุษย์ หรือกรณีที่แมลงที่เป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ หากไม่มีการใช้สารเคมีมาควบคุม อาจเกิดโรคระบาดรุนแรงต่อสุขภาพและชีวิตของมนุษย์ได้ หรือการเกิดศัตรูพืชชนิดใหม่ที่ใช้วิธีป้องกันกำจัดในหลายๆ วิธีไม่ได้ผล ซึ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้ เพียงแต่ว่าจะต้องรู้จักใช้สารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของพืชและศัตรูพืช ใช้ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสม ลดความฟุ่มเฟือยในการใช้เพื่อไม่ให้มีผลกระทบและผลข้างเคียงต่อมนุษย์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมายและสภาพแวดล้อม

ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิชาการ นักส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนและตัวเกษตรกรเองจะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบ และมีจรรยาบรรณในการใช้ ซึ่งจะต้องรณรงค์ให้ใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

คุณสุเทพ อธิบายว่า การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชนั้น กรมวิชาการเกษตร ได้ให้ความสำคัญหลักๆ อยู่ด้วยกัน 3 เรื่อง คือ

การใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร มีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารเคมี และเข้มงวดในการนำเข้าสารเคมี โดยมีขั้นตอนการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรอย่างเข้มงวด มีการตรวจสอบข้อมูลของพิษวิทยาซึ่งสารเคมีแต่ละอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสารกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ต่อจากนั้นกรมวิชาการเกษตรต้องตรวจสอบเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารที่ขอขึ้นทะเบียน สามารถป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชหรือไม่ โดยให้บริษัทนำสารที่ขอขึ้นทะเบียนไปทดสอบโดยอยู่ในความควบคุมกำกับดูแลของกรมวิชาการเกษตร เมื่อผ่านขั้นตอนการขึ้นทะเบียนแล้วยังต้องติดตามกำกับควบคุมไปถึงการจำหน่ายอีกด้วย
เนื่องจากสารเคมีเป็นวัตถุอันตรายทางการเกษตร ทำอย่างไร จะให้เกษตรกรใช้สารเคมีให้ปลอดภัยกับเกษตรกรผู้ใช้สารเคมี

คุณสุเทพ บอกว่า เราพยายามทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้เขารู้ว่า เขาทำงานใกล้ชิดที่สุดกับวัตถุอันตรายทางการเกษตร เขารับพิษจากสารเคมีมากกว่าผู้บริโภคเสียอีก เท่าที่เราไปสัมผัสกับเกษตรกร ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจว่า ตนเองไม่กินพืชผักที่ใช้สารเคมี คงไม่มีอันตราย แต่ความจริงแล้วสารเคมีไม่ได้เข้าสู่ร่างกายเฉพาะทางปากอย่างเดียว สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้ถึง 3 ทาง

ทางผิวหนัง ขณะที่เกษตรกรพ่นสารเคมี ไม่ว่าจะพ่นในนาข้าว ในแปลงผัก หรือพืชไร่และสวนผลไม้ เกษตรกรมีโอกาสสูงมากที่ละอองสารจะฟุ้งกระจายมาสัมผัสผิวหนังของตนเอง ซึ่งอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ชำระล้างความสะอาดร่างกายแล้วก็จะปลอดภัย แต่ความจริงเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะสารไม่ได้ออกฤทธิ์แบบเฉียบพลัน ผู้ที่ได้รับสารก็ไม่ได้เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลันเช่นเดียวกัน เกษตรกรได้รับพิษทีละน้อยๆ ซึ่งปรากฏผลในอนาคตโดยไม่รู้ตัว และจะค่อยๆ เกิดเป็นโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เป็นต้น

ทางระบบหายใจ ในการพ่นสารเคมีถ้าไม่สวมหน้ากากป้องกันในขณะพ่น หรือใช้หน้ากากที่ไม่มีคุณภาพ ก็จะได้รับพิษเข้าทางระบบหายใจ สารเคมีจะเข้าไปสู่ปอดและสะสมอยู่ในปอด ซึ่งนานเข้าก็จะมีสารสะสมทำให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกัน

คุณสุเทพ อธิบายต่อว่า ในกรณีที่เกษตรกรพ่นสารเคมีบางกลุ่มที่เป็นอันตรายร้ายแรง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารตัวนี้จะไปทำลายเอนไซม์คูลีนในตัวของแมลง ซึ่งในกลุ่มก็มีเอนไซม์ชนิดนี้ ถ้าใช้สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บอเนตติดต่อกันไปนานๆ เอนไซม์ในเลือดของมนุษย์ก็จะลดต่ำลงถึงขั้นวิกฤต อาจถึงเสียชีวิตได้ อาการเริ่มต้นอาจจะรู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

ดังนั้น เกษตรกรควรจะตรวจเลือดเป็นประจำทุกปี โดยให้แพทย์ตรวจระดับเอนไซม์ชนิดนั้นๆ ในร่างกายว่าอยู่ในระดับผิดปกติหรือไม่ ถ้าลดต่ำกว่าปกติ ต้องงดพ่นสารเคมีชั่วคราว และต้องหยุดพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายก็จะกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ เพราะฉะนั้นการตรวจเลือดเป็นประจำเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่เกษตรกรไม่ควรละเลย เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตของตัวเกษตรกรเอง

การป้องกันที่ดีที่สุดคือ ต้องสวมชุดป้องกันเวลาพ่นสารเคมี ชุดป้องกันต้องเป็นชุดที่รัดกุมมิดชิด สามารถป้องกันละอองสารเคมีได้ สวมถุงมือ ใส่หน้ากากป้องกันละอองของสารที่จะเข้าทางจมูก สวมหมวกและแว่นตา หน้ากากควรจะเป็นหน้ากากที่มีชั้นของผงถ่าน ซึ่งจะป้องกันละอองสารเคมี

“ไม่ควรใช้ผ้าปิดจมูกชนิดป้องกันไข้หวัด เพราะเมื่อละอองสารเคมีซึ่งเป็นของเหลวปลิวไปจับผ้าปิดจมูกจำนวนมาก ทำให้ผ้าเปียกชื้น เราก็จะหายใจเอาสารเข้าไป ดังนั้น ควรใส่หน้ากากที่ป้องกันสารเคมีได้ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ไม่ควรมองข้าม” คุณสุเทพ บอก

ใช้สารเคมีอย่างไร จึงจะลดต้นทุนการผลิต

ในประเด็นของการประหยัดหรือลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร นอกจากการใส่ปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินที่ได้รับการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินอย่างถูกต้องแล้ว การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องก็จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไปได้มาก

“เกษตรกรเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ที่ผสมสารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง เข้าใจว่าการนำสารเคมีหลายๆ ชนิดมาผสมกัน จะเป็นการประหยัดต้นทุนและแรงงาน โดยเข้าใจว่าการใช้สารกำจัดแมลง สารกำจัดเชื้อรา ปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน และอื่นๆ เมื่อเอามาผสมกันแล้วพ่นครั้งเดียวจะเป็นการประหยัดต้นทุน ประหยัดเวลา และแรงงาน”

ความจริงเป็นการเข้าใจผิด คุณสุเทพ บอก การที่เราเอาสารเคมีหลายชนิดมาผสมกันนั้น อาจจะเป็นผลเสียในเรื่องของประสิทธิภาพ แทนที่จะได้ประสิทธิภาพเต็มที่ กลับกลายเป็นประสิทธิภาพของสารลดลง เพราะเมื่อสารเคมี 2 ชนิดมาผสมกัน จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีทันที ปฏิกิริยาทางเคมีจะส่งผลได้ 3 รูปแบบ ด้วยกันคือ

เกิดปฏิกิริยาทางเคมี เมื่อสาร 2 ชนิด มาผสมกัน สมัคร Royal Online อาจจะเสริมฤทธิ์ในทางบวกทันที คือทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืชดีขึ้น ตัวอย่าง เช่น สารฆ่าแมลง 2 ชนิด ถ้าใช้ชนิดแรกจะได้ผลประมาณ 60% ชนิดที่สองจะได้ผลประมาณ 70% ถ้านำสาร 2 ชนิด มารวมกันถ้าเกิดปฏิกิริยาเคมีเสริมฤทธิ์กัน จะได้ผล 90% ลักษณะนี้เรียกว่าลักษณะของการเสริมฤทธิ์ทางเคมี
เมื่อสาร 2 ชนิด มาผสมกัน อาจเกิดปฏิกิริยาในทางลบ คือปฏิกิริยาต่อต้านฤทธิ์ ชาวบ้านเรียกว่า เป็นอริกัน เมื่อผสมกันแล้วแทนที่ประสิทธิภาพจะได้ 90% กลับกลายเป็นสารทั้งสองเกิดต้านฤทธิ์กัน ผสมกันแล้วประสิทธิภาพอาจเหลือเพียง 40% เท่านั้น

การเข้าไม่ได้ทางกายภาพ สารเคมีส่วนมากจะต้านฤทธิ์กัน คือสารเคมีเมื่อผสมกันแล้วอาจเข้ากันไม่ได้ทางกายภาพ สารกำจัดแมลง กำจัดโรคพืช และสารกำจัดวัชพืช จะมีสูตรต่างๆ เช่น สูตรผง (wp) สูตรเม็ดเล็กๆ (wg) สูตรแต่ละสูตรจะมีสูตรที่แตกต่างกัน การนำสูตรที่ต่างสูตรมาผสมกันมักจะมีปัญหา บางครั้งสูตรสองสูตรเกิดเข้ากันไม่ได้ เรียกว่า เข้ากันไม่ได้ทางกายภาพ คือเมื่อนำสารสูตรที่แตกต่างกันมาผสมกันจะต่อต้านกัน คือเกิดการแยกชั้นหรือตกตะกอน หรือเรียกว่า การเสริมฤทธิ์ทาง กายภาพ สูตรดังกล่าวถ้าจะนำมาผสมกันต้องนำมาละลายน้ำก่อนใช้
การเข้าไม่ได้ทางชีวภาพ หมายถึง สารที่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราไมโครราเซียม ไส้เดือนฝอย เป็นต้น สารเหล่านี้มาจากสิ่งมีชีวิต ถ้าเราเอาสารที่เป็นสิ่งมีชีวิตมาผสมกับสารเคมีกำจัดโรคพืช หรือสารกำจัดศัตรูพืช สารเคมีดังกล่าวก็จะฆ่าหรือทำลายเชื้อราต่างๆ หรือไส้เดือนฝอย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตก็จะตายอยู่ในถังพ่นยา
เรื่องของการผสมสารเคมียังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ทำให้การใช้สารเคมีไม่ได้ผล ซึ่งจะนำมาเล่าในตอนหน้า