ซึ่งอาหารที่ให้ไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์กินในแต่ละวัน

อาจจะให้วันละ 1-2 มื้อก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่หามาได้ในท้องที่นั้นๆ ว่าสามารถหาผักหญ้ามาได้มากน้อยเพียงใด ถ้าได้มากก็กินวันละ 2 มื้อ และถ้ามีน้อยอาจเปลี่ยนเป็นวันละ 1 มื้อ ไม่มีเกณฑ์ตายตัวมากนักในเรื่องนี้

จากสภาพแวดล้อมที่ไก่ถูกเลี้ยงอยู่แบบธรรมชาติ ทำให้เรื่องโรคที่เกิดขึ้นไม่ค่อยมีปัญหามากนัก โดย คุณ ณ นพชัย จะให้วัคซีนกับไก่เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น จึงทำให้การเลี้ยงไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ของเขานั้น นอกจากจะประหยัดต้นทุนในเรื่องการทำวัคซีนแล้ว แม้แต่เรื่องอาหารที่ให้ไก่กินยังหาได้จากท้องถิ่น จึงถือว่าเป็นการเลี้ยงที่ประหยัดต้นทุนกันเลยทีเดียว

“เมื่อถึงอายุประมาณ 4 เดือน ใกล้จำหน่ายได้ ไก่ตัวผู้จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 2-2.3 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียน้ำหนักจะอยู่ที่ 1.7-1.8 กิโลกรัม ซึ่งไก่สายพันธุ์นี้แม้จะดูว่าน้ำหนักเหมือนไม่มาก แต่ถ้าอายุครบกำหนดเลี้ยง เนื้อที่อกจะเต็ม เนื้อก็แน่น จึงถือได้ว่าเป็นไก่ที่มีโครงสร้างดี” คุณ ณ นพชัย บอก

จากความพิเศษของเนื้อไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ที่มีรสสัมผัสต่างจากไก่บ้านคือ เนื้อไม่เหนียวมากจนเกินไปจึงเป็นที่ถูกใจของผู้ที่ได้ลิ้มรสไม่น้อย จึงทำให้เวลานี้ที่ฟาร์มของ คุณ ณ นพชัย มีกำลังผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งในอนาคตเขาได้มองไว้ว่าจะทำการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์โดยเฉพาะ เพื่อให้กำลังการผลิตมีอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตลาดในอนาคต

“ต่อไปเราจะรวมกลุ่ม โดยเลี้ยงตามแนวทาง ให้เป็นไปตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดไว้ โดยจะเน้นช่วยกันดูแลเรื่องสุขภาพไก่ ขั้นต่อไปก็จะเป็นเรื่องการเชือด ก็จะให้มีมาตรฐานมากขึ้น และให้ได้มาตรฐานฮาลาล เพื่อเป็นการขยายกลุ่มของผู้บริโภคได้มากขึ้น จำเป็นต้องมีเครื่องหมายฮาลาล อย่างน้อยสามารถส่งตลาดบนได้ในอนาคตต่อไป” คุณ ณ นพชัย กล่าวถึงเป้าหมายการทำตลาด

สำหรับไก่ที่ผ่านการเชือดเป็นไก่สดพร้อมปรุงอาหาร ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-170 บาท ส่วนลูกค้าที่สนใจอยากซื้อไปเลี้ยงที่ฟาร์มแห่งนี้ก็ยังมีลูกไก่จำหน่าย โดยราคาลูกไก่อายุ 1 วัน ราคาอยู่ที่ตัวละ 25 บาท และอายุ 7-10 วัน อยู่ที่ราคาตัวละ 30 บาท

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเลี้ยงไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ เกิดข้อสงสัยว่าจะต้องเตรียมตัวหรือศึกษาการเลี้ยงอย่างไรบ้างเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ คุณ ณ นพชัย มีคำแนะนำว่า

“สำหรับคนที่อยากจะเลี้ยง ไม่ต้องไปคิดอะไรมากให้ปวดหัว แค่เราจัดสรรพื้นที่ มีโรงเรือน มีร่มเงาให้เขาอยู่ มีพื้นที่ให้คุ้ยเขี่ย แค่นี้ก็เลี้ยงได้ แต่ที่ต้องระวังมากที่สุดคือสุนัข อย่าให้เข้ามากัดไก่เราอย่างเดียว ต่อไปก็เรื่องการเลี้ยง ขอให้เลี้ยงแบบให้ถูกมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ การเลี้ยงไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ก็ไม่ยากอย่างที่คิด ใครที่มีปัญหาอะไร สามารถโทร.มาติดต่อสอบถามกับผมได้ ผมยินดีไขทุกข้อสงสัยครับ”

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณ ณ นพชัย ผิวเกลี้ยง ที่หมายเลขโทรศัพท์ (083) 090-6629

โดยระหว่าง วันที่ 2-11 ธันวาคม 2559 ขอเชิญเที่ยวงานเกษตรกำแพงแสน ซึ่งภายในงานมีการประกวดการทำอาหารจากไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ ณ สระพระพิรุณ หน้าคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ติดต่อสอบถามและสมัครได้ที่หมายเลขโทรศัพท์

ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณทองอินทร์ ภูมิช่อ อยู่บ้านเลขที่ 163 หมู่ที่ 22 บ้านเชียงงาม ตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 46120 โทรศัพท์ 082-8453321 เดิมประกอบอาชีพการเกษตรปลูกถั่วลิสงโดยใช้สารเคมีเมื่อปี พ.ศ. 2527 เพื่อส่งให้ศูนย์ขยายพันธุ์พืช ซึ่งทางศูนย์จะกำหนดไว้ว่า 1 ไร่ ต้องให้ได้ผลผลิตถั่วลิสงที่มีเมล็ดสมบูรณ์ จำนวน 5 กระสอบ จะได้ราคากระสอบละ 500 บาท ทำอยู่ประมาณ 5-6 ปี ต่อมาได้ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดนครปฐม พร้อมทั้งได้ดูวีดิทัศน์ที่ทางหน่วยงานเปิดให้ดูเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จึงกลับมาทดลองทำตาม เริ่มแรกโดยการขุดบ่อเลี้ยงปลาและตามคันบ่อปลูกไม้ผล เช่น มะม่วง มะพร้าว ส่วนใต้ต้นภายในหลุมเดียวกับไม้ผลก็ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น มะเขือ แตงกวา หอม และได้ไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมตามสถานที่ต่างๆ เรื่องเกษตรประณีต นำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงแปลงเกษตรโดยเพิ่มการเลี้ยงหมูหลุม เป็ด และไก่ดำ โดยเฉพาะไก่ดำได้ไปศึกษาและอบรมที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เมื่ออบรมเสร็จทางศูนย์ได้แจกลูกไก่มา จำนวน 6 ตัว เพื่อนำมาจำเพาะขยายพันธุ์ต่อจนสามารถเพาะขยายพันธุ์เองได้

มีการเพาะพันธุ์ไก่ดำพร้อมทั้งจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไปด้วย และได้ศึกษาการนำไก่ดำมาทำเป็นไก่ดำสมุนไพรตุ๋นยาจีน โดยสามารถปลดหนี้ มีการแบ่งปันแจกจ่ายญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แบบพอเพียง ไม่มีหนี้สิน จึงได้ตั้งศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านบ้านเชียงงาม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้กับเกษตรกรที่สนใจ โดยต้องการให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร

คุณทองอินทร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่อง เกษตรผสมผสาน โดยเริ่มแรกคุณทองอินทร์ได้ทำการเกษตรในพื้นที่ จำนวน 8 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนต่างๆ ซึ่งในพื้นที่มีกิจกรรมทางการเกษตร ได้แก่ ปลูกพืชผักสวนครัว ประกอบด้วย หัวหอม ขิง ข่า ตะไคร้ ผักกาด ผักชี หน่อไม้ การดูแลเป็นการดูแลแบบธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ใช้สมุนไพรหมักเพื่อเป็นการไล่แมลง ส่วนไม้ผล ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว ลำไย กล้วย ขนุน ไม้บำนาญ ได้แก่ ยางนา ค้าย รวมทั้งเลี้ยงกบ ไก่ดำ ไก่ไข่ เป็ดพื้นบ้าน ห่าน และหมูหลุม

นอกจากนี้ยังมีการขุดบ่อเลี้ยงปลา เช่นปลานิล ปลาตะเพียน และนำน้ำมาใช้ในการเกษตร โดยกิจกรรมการเกษตรที่ทำเป็นเกษตรแบบผสมผสานด้วยวิถีธรรมชาติ ไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอก การเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ภายใต้การเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ไม่ใช้สารเคมี มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุอาหารในดิน รวมทั้งอากาศและพลังงาน โดยลดต้นทุนการผลิตได้มาก ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น พึ่งพาตัวเองได้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณทองอินทร์ ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก ความพอประมาณ ก่อนที่จะลงมือทำกิจกรรมใดๆ ควรมีสติ ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ไม่ทำอะไรเกินกำลัง เช่น การผลิตอาหารไก่จะเลือกใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในแปลงเกษตรท้องถิ่นให้มากที่สุด ซื้อให้น้อยที่สุด และถ้าจำเป็นต้องซื้อราคาวัตถุดิบที่ใช้ต้องถูก ไม่แพงจนเกินไป

ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณสงวน มงคลศรีพันเลิศ อยู่บ้านเลขที่ 63 หมู่ที่ 7 บ้านเขากลม ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 เดิมประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี มีรายได้เดือนละ 28,000 บาท แต่ไม่เคยมีเงินเหลือเก็บ ทำให้คิดถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสอนให้คิดเรื่องกินก่อนคิดเรื่องเงิน เนื่องจากเป็นพนักงานบริษัทเคมีภัณฑ์ ทำให้เห็นข้อดีและข้อเสียของเคมีภัณฑ์ จึงหันมาทดลองทำการเกษตรโดยไม่พึ่งพาสารเคมี จากนั้นจึงตัดสินใจกลับมาเริ่มต้นชีวิตการทำการเกษตรที่บ้านเกิดของภรรยาในจังหวัดกระบี่ ซึ่งมีพื้นที่ 8 ไร่ และศึกษาเรียนรู้เอง โดยได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการใช้ชีวิต

จนในที่สุดประสบผลสำเร็จ หลังจากที่ตัดสินใจกลับมาทำการเกษตรแบบไม่พึ่งพาสารเคมี ก็ได้สร้างโรงปุ๋ยประกอบกับพื้นที่เป็นสวนปาล์ม ทางปาล์มมีเยอะจึงสามารถใช้เป็นอาหารของโค โดยใช้ทางปาล์มซึ่งชาวสวนต้องตัดทิ้งอยู่แล้ว นำมาเข้าเครื่องบดเป็นอาหารให้โค เมื่อโคถ่ายออกมา นำมูลโคมาหมักในบ่อก๊าซชีวภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม ส่วนมูลโคที่เหลือยังไปทำเป็นอาหารปลาและปุ๋ยหมักได้ โดยการคำนวณว่ามูลโค 1 ตัว จะมีปริมาณถึง 2 ตัน ต่อเดือน ทำให้ได้ก๊าซชีวภาพ 15-16 กิโลกรัม สำหรับใช้ในการปรุงอาหาร เมื่อมีปุ๋ยแล้วก็ลงมือปลูกต้นไม้

ใช้วิธีปลูกผักแบบไฮโซ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่มีที่ดินก็ปลูกผักได้ โดยการใช้ยางรถยนต์เก่าๆ มาเป็นกระถาง ไม่ว่าจะเป็นผักสลัด พริก มะเขือ ปลูกถั่วฝักยาวบนต้นกระถินป้องกันปลวกกิน ปลูกผักหลายชนิดสลับกันเพื่อป้องกันแมลง เมื่อมีผักแล้วอาหารประเภทเนื้อสัตว์ก็สร้างเองได้โดยการขุดบ่อเลี้ยงปลา นอกจากอาหารปลาจากมูลสัตว์ ยังใช้เปลือกผลไม้ที่หาได้ง่ายในสวนผลไม้ในชุมชน ทั้งเงาะ มังคุด ชมพู่ แม้กระทั่งเปลือกทุเรียน นำมาใส่กากน้ำตาลหมักให้เปื่อยทิ้งไว้ 1 เดือน โยนให้ปลากิน นับตั้งแต่การเริ่มใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่ารายได้ในตอนแรกจะเริ่มเพียงเดือนละ 900 บาท จากเดิมที่เคยได้รับเงินเดือน 28,000 บาท ได้สร้างความกลัวให้คุณสงวนอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อมาย้อนดูบัญชีรายรับ-รายจ่าย คุณสงวนยังมีเงินเหลือเก็บ 300 บาท ซึ่งต่างจากตอนที่ได้เงินเดือน 28,000 บาท แต่ไม่มีเงินเหลือเก็บเลย นั่นเป็นแรงผลักให้คุณสงวนมุ่งมั่นจะเดินตามรอยเท้าพ่อต่อไป

คุณสงวน ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่อง เกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักสวนครัว ผักสลัด ไม้ผล การเลี้ยงสัตว์ การทำเตาก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ การเลี้ยงปลา ทำอาหารปลา การทำปุ๋ยหมัก การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย ปลูกพืชต่างระดับ ปลูกพืชสมุนไพร เป็นต้น สิ่งที่เป็นจุดเด่นของศูนย์แห่งนี้ที่ใครมาเรียนรู้แล้วต้องทึ่งในความคิดของคุณสงวน ที่คิดแสวงหาวิธีปลูกกล้วยแนวใหม่ด้วยการนำยอดกล้วยลงดินแทนวิธีเดิมๆ ที่ใช้รากหย่อนลงดิน วิธีนี้ทำให้ได้ต้นกล้วยที่เตี้ยลง เก็บง่าย และที่สำคัญได้ผลผลิตมากกว่าจากปลูกแบบเดิม ซึ่งได้ผลผลิต 3 เครือ ต่อปี แต่วิธีของคุณสงวน ได้ปีละ 10-12 เครือ อีกทั้งจำนวนหวีในเครือก็เพิ่มขึ้น สาเหตุที่กล้วยให้ผลผลิตเพิ่มเป็นเท่าทวี เพราะว่าพืชกลัวจะสูญเสียเผ่าพันธุ์ ตกใจกลัวจึงรีบออกลูก ออกผล กล้วยจะผลิตอาหารให้ตัวเองไม่ต้องใส่ปุ๋ย พืชจะพึ่งพาตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ กล้วยในศูนย์แห่งนี้ยังสามารถผลิตให้ออกมาเป็นรสทุเรียน รสสตรอเบอรี่ โดยการเติมหัวเชื้อดังกล่าว ซึ่งหาซื้อได้ตามท้องตลาดมาใส่ลงไปในลำต้น เมื่อผลกล้วยออกมาจะมีกลิ่นสตรอเบอรี่ผสมอยู่ด้วย นั่นทำให้กล้วยหอมทองที่ปลูกอยู่ทุกวันนี้ หวีละ 70 บาท และขายดิบขายดีจนไม่พอขาย นอกจากนี้ ยังมีการสอนให้เพาะเห็ดในโอ่ง เป็นการประหยัดพื้นที่และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลูกโรงเรือน คนมีพื้นที่น้อยก็สามารถทำได้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณสงวน ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะใช้หลัก การมีภูมิคุ้มกัน เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของคุณสงวน มีแนวคิดในการทำการเกษตรเพื่อให้เกิดการทำงานที่ครบวงจร สามารถใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คนในชุมชนและบุคคลภายนอกที่เข้ามาเรียนรู้ได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง มีการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น มีกระบวนการคิดซึ่งต้องเรียนรู้ออกแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสมกับตัวเอง ทางศูนย์มีการติดตามให้ความรู้ วิธีการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง มีความตั้งใจ ขยัน อดทน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน และให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ และสามารถขยายผลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนและสังคมต่อไป

แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ตามที่อยู่หรือโทรศัพท์ (089) 590-6738

ขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ การเพิ่มรายได้เกษตรกร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่านไปเยี่ยมชมกิจการสวนส้มโอเงินล้าน ของ คุณปรีชา-คุณพจมาน เศรษฐโภคิน สองสามีภรรยาเจ้าของกิจการ ส้มโอสวนสระแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 4 ถนนสุวรรณศร ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมกิจการได้ทุกวัน การเดินทางไปสวนแห่งนี้ไม่ยาก เพราะแค่ใช้เส้นทางถนนสาย 33 หลัก กม. ที่ 223 เกือบจะ 224 ค่ะ สวนแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านหลัง อบต. บ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว หากไม่มั่นใจในเส้นทาง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร. (089) 984-2621 หรือค้นหาข้อมูลจากเฟซบุ๊ก “ส้มโอสวนสระแก้ว”

จากมนุษย์เงินเดือน สู่อาชีพเกษตรกรรม

คุณปรีชา เศรษฐโภคิน เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า ผมเรียนสายสัตวบาล ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หลังเรียนจบก็ทำงาน ซีพี เมื่อปี 2515 นับเป็นพนักงานสัตวบาลรุ่นแรกที่บุกเบิกธุรกิจฟาร์มหมูของ ซีพี ต่อมาจีนเปิดประเทศ ถูกย้ายไปคุมโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่จีนนาน 18 ปี การงานก้าวหน้าจนได้ตำแหน่ง รองประธานเขตประเทศจีน ก่อนตัดสินใจลาออกก่อนเกษียณอายุ เพื่อทำอาชีพเกษตรกรรมตามความฝันของตัวเอง ที่จังหวัดสระแก้ว

เมื่อ 12 ปีก่อน คุณปรีชา เริ่มต้นอาชีพเกษตรกรรมโดยการลงทุนทำฟาร์มหมู จำนวน 6,000 ตัว เนื้อที่ 30 ไร่ ควบคุมการเลี้ยงด้วยระบบอัตโนมัติ ควบคุมอากาศ ระบบน้ำ และการให้อาหาร ใช้คนดูแลฟาร์มหมูแค่ 5 คน ต่อมาได้ซื้อที่ดินรอบฟาร์มเพิ่มเป็น 300 ไร่ เพราะเป็นเขตกันชนป้องกันกลิ่นระหว่างฟาร์มหมูกับบ้านเรือนประชาชน และแบ่งพื้นที่ 200 ไร่ ทำสวนส้มโอ ใช้ขี้หมูที่เลี้ยงในฟาร์มมาใช้เป็นปุ๋ยคอกบำรุงต้นส้มโออีกทางหนึ่ง

เมื่อคุณปรีชาอาศัยการเรียนรู้เรื่องการปลูกดูแลส้มโอจากสวนส้มโอส่งออกของกลุ่มพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุ่งแสลงพัน จังหวัดลพบุรี และเกษตรกรที่เชี่ยวชาญเรื่องการปลูกส้มโอในจังหวัดต่างๆ

การปลูกดูแลสวนส้มโอ

คุณปรีชา เล่าว่า ผมลงทุนทำสวนส้มโอโดยใช้หลักการเดียวกับการทำฟาร์มหมู เริ่มจากคัดเลือกส้มโอพันธุ์ดีมาปลูก ผมเลือกส้มโอพันธุ์ทองดี เพราะมีคุณภาพดี ขนาดลูกพอเหมาะ 1 ตู้ สามารถส่งออกได้ถึง 20 ตัน ส้มโอทองดี มีลำต้นแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี จำนวนลูกต่อต้นมากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แถมมีรสชาติอร่อย สามารถส่งขายได้ทั่วโลก

คุณปรีชา ได้เลือกซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอทองดีไร้เมล็ดของเครือ ซีพี จึงซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอของ ซีพี มาปลูกที่สวนสระแก้ว โดยมีเจ้าหน้าที่ ซีพี มาช่วยดูแลจัดระบบการปลูก โดยปลูกในลักษณะแปลงยกร่อง เพราะต้นส้มโอไม่ชอบน้ำขัง ต้นส้มโอชอบดินที่ค่าความเป็นกรดอ่อนๆ ประมาณ 5.5-6.5 เนื่องจากสภาพดินของสวนแห่งนี้ มีสภาพเป็นกรดสูงทำให้ต้นส้มโอที่ปลูกในระยะแรกเจอโรคและแมลงเยอะมาก จึงใช้ปุ๋ยขี้หมูที่มีสภาพเป็นด่าง ประมาณ 8 มาปรับสภาพดินทำให้ต้นส้มโอเติบโตสมบูรณ์ ทนทานต่อโรคแมลงมากขึ้น

คุณปรีชา จะยึดหลักจัดการสวนส้มโอ โดย “ขึ้นน้ำวันพ่อ และเก็บเกี่ยววันแม่” เริ่มจากขึ้นน้ำต้นส้มโอในวันพ่อ คือ 5 ธันวาคม ช่วงเดือนมกราคม ต้นส้มโอก็จะผลิดอก ต้องใช้เวลาอีก 7 เดือนครึ่ง ก็จะเก็บผลผลิตออกขายได้ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ต้นส้มโอจะเริ่มเก็บผลผลิตรุ่นแรก 30 ลูก ต่อต้น ก้าวสู่ปีที่ 5 ได้ผลผลิตเพิ่มเป็นปีละ 50 ลูก ต่อต้น ปีที่6 ได้ปีละ 80 ลูก ต่อต้น ปีที่ 7 เก็บได้ปีละ 100 ลูก ต่อต้น ก้าวเข้าสู่ปีที่ 8-10 เก็บผลผลิตได้ปีละ 120-150 ลูก ต่อต้น ปีที่ 12 เก็บได้ปีละ 200 ลูก ต่อต้น

คุณปรีชา คาดหวังว่า ส้มโอสวนสระแก้วจะสามารถเก็บผลผลิต 200 ลูก ต่อต้น ต่อปี ไปอย่างต่อเนื่องไปอีก 20 ปี เพราะเคยไปเยี่ยมชมสวนส้มโอของเกษตรกรรายหนึ่งที่จังหวัดปราจีนบุรียังให้ผลผลิตที่ดี เฉลี่ยปีละ 500 ลูก ต่อต้น แม้จะเป็นต้นส้มโอเก่า อายุ 25 ปี แต่มีสภาพต้นสมบูรณ์ ปลูกในระยะห่าง 12×12 เมตร และมีระบบบริหารจัดการที่ดี ทั้งปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ต่อวัน ให้น้ำเฉลี่ย ชั่วโมงละ 100 ลิตร

การปลูกส้มโอให้มีคุณภาพดีและมีรสชาติอร่อย หัวใจสำคัญไม่ได้แค่ให้ปุ๋ย ให้น้ำแก่ต้นส้มโอ แต่ต้องรู้จักธรรมชาติของต้นส้มโอด้วย โดยทั่วไป ต้นส้มโอไม่เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เพราะต้นส้มโอไม่ชอบสภาพอากาศที่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส หากฝืนปลูก จะได้ผลส้มโอที่มีเปลือกเหลืองและมีรสชาติเปรี้ยว

คุณปรีชา ยกตัวอย่าง เช่น ส้มโอเวียงแก่น ก็เจอปัญหาในลักษณะนี้ กลุ่มตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอเวียงแก่นเคยเดินทางมาเยี่ยมชมสวนส้มโอคุณปรีชาหลายครั้งแล้ว เพื่อพูดคุยแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งคุณปรีชาเสนอทางเลือกในหลายแนวทาง เช่น เปลี่ยนสายพันธุ์ส้มโอ หรือดูแลจัดการไม่ให้ต้นส้มโอผลิดอกในช่วงฤดูหนาว โดยใช้วิธีการยกคันดินขึ้นมา เพื่อควบคุมการให้น้ำ

ในปีนี้ สวนส้มโอทั่วไปจะได้ผลผลิตลดลง เพราะผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเนื่องจากต้นส้มโอไม่ชอบสภาพอากาศร้อน ทำให้ต้นส้มโอติดดอกออกผลน้อยลง คุณปรีชาก็พยายามลดความเสียหาย โดยเสี่ยงไม่ให้ต้นส้มโอผลิดอกในช่วงหน้าแล้ง โดยอาศัยหลักการควบคุมน้ำ และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีตัวหน้าสูงแทน

ส้มโอทองดี เป็นไม้ผลที่ให้ผลตอบแทนสูง

การลงทุนทำสวนส้มโอ เนื้อที่ 200 ไร่ แห่งนี้ ใช้เงินลงทุนสูงถึง 60 ล้านบาท เป็นค่าที่ดิน ค่าขุดบ่อน้ำ ค่ากิ่งพันธุ์ ค่าวางระบบน้ำ ฯลฯ กิจการนี้สามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 10 ปี ปัจจุบัน ส้มโอสวนสระแก้วใช้เงินลงทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการสวน (เงินเดือนคนงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าปุ๋ย) อีกปีละ 6 ล้านบาท ขายผลผลิตได้ปีละ 20 ล้านบาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด เหลือผลกำไรปีละ 14 ล้านบาท เฉลี่ยผลตอบแทน ไร่ละ 100,000 บาท ถือว่าส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าสนใจในการลงทุนจริงๆ เพราะใช้เงินลงทุนปลูกเพียงครั้งเดียว แต่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนานถึง 25 ปี แถมให้ผลตอบแทนต่อปีสูงมาก เมื่อเทียบกับไม้ผลเมืองร้อนชนิดอื่นๆ

คุณปรีชา ได้น้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาใช้เป็นพิมพ์เขียวบริหารจัดการสวนแห่งนี้ คือ ขุดบ่อน้ำ สำหรับเลี้ยงปลาและมีน้ำใช้สอย ทำนา ปลูกป่า ปลูกผัก ปลูกบ้าน และปลูกไม้ผล

ปัจจุบัน สวนสระแก้ว แบ่งเนื้อที่ 6 ไร่ สำหรับทำนาข้าว สร้างป่าไม้ 40 ไร่ รอบสวน โดยให้เหตุผลว่า ผืนป่า 1 ไร่เนื้อที่ 1,600 ตารางเมตร ปลูกไม้ยืนต้น รวมทั้งต้นหญ้าจะช่วยเก็บกักน้ำไว้ใต้ดิน 400 ตัน ที่นี่พัฒนาแหล่งน้ำเนื้อที่ 24 ไร่ ตามทฤษฎีแก้มลิง คือ ขุดบ่อน้ำในพื้นที่ต่ำ ตามสภาพภูมิประเทศ คุณปรีชา บอกว่า ฟาร์มหมูแห่งนี้ใช้น้ำจากบ่อบาดาล จำนวน 3 บ่อ แต่ละวันหมู 6,000 ตัว ต้องใช้น้ำ 230 ลิตร สวนส้มโอ เนื้อที่ 200 ไร่ ปลูกส้มโอประมาณ 5,000 ต้น โดยทั่วไป ต้นส้มโอจะใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน สำหรับส้มโอที่ปลูกในพื้นที่ภาคกลาง จะต้องให้น้ำ เฉลี่ยปีละ 200 วัน

ปลูกส้มโอ เจาะตลาดคนรวย

“ผลไม้เป็นสินค้าตลาดคนรวย ผมปลูกส้มโอ ขายคนมีเงิน ที่สำคัญส้มโอเป็นผลไม้ที่ผู้คนทั่วโลกกินได้ หากเก็บส้มโอ ที่อุณหภูมิ 5-10 องศาเซลเซียส จะมีอายุการเก็บรักษานานถึง 2 เดือน โดยรสชาติยังดีอยู่ จึงไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องตลาดมากนัก เพราะส้มโอมีอายุการขายที่ยาวนานกว่าผลไม้ชนิดอื่น สามารถส่งออกทางเรือนาน 1 เดือน ยังเหลือเวลาการขายอีกเกือบเดือน รัฐบาลควรส่งเสริมเกษตรกรปลูกส้มโอเป็นผลไม้เศรษฐกิจ” คุณปรีชา กล่าว

หากปลูกส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ จะกลายเป็นสินค้าส่งออกขายผู้คนทั่วโลก 7,000 ล้านบาท แต่ละประเทศมีจำนวนเศรษฐีไม่เท่ากัน แค่ขายคนรวยทั่วโลก สัก 5 เปอร์เซ็นต์ ก็เท่ากับมีลูกค้า 1,300 ล้านคนแล้ว เท่ากับหนึ่งประเทศไทย ปัจจุบัน ส้มโอของสวนสระแก้ว ส่งออกไปขายตลาดจีน ญี่ปุ่น

ปัจจุบัน ส้มโอสวนสระแก้ว กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกส้มโอส่งออกให้กับเกษตรกรที่สนใจและนักศึกษาสาขาเกษตร ได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องการปลูกและบริหารจัดการสวนแบบมืออาชีพ คุณปรีชา เศรษฐโภคิน ได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านในท้องถิ่นมีอาชีพปลูกพืชไร่ ประเภทมันสำปะหลังเป็นหลัก แต่รายได้ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว ผมส่งเสริมความรู้แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาเผยแพร่แก่เกษตรกรในท้องถิ่น โดยให้แต่ละครอบครัวปลูกพืชผัก อย่างน้อยครอบครัวละ 1 ไร่ เช่น มะละกอ ผักกุยช่าย ฯลฯ จะมีรายได้ ไร่ละ 50,000 บาท และส่งเสริมปลูกส้มโอ เพราะเป็นผลไม้ที่ให้ผลตอบแทนสูง ถึงไร่ละ 100,000 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงอากาศหนาวเย็นมีเกษตรกรจำนวนมากในพื้นที่ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พากันแห่ปลูกต้นหอม หรือชาวอีสานเรียกว่า “หอมแบ่ง” ผักใช้น้ำน้อยทนแล้ง โดยเฉพาะที่ ต.แสนพัน ถือเป็นแหล่งปลูกใหญ่ ตามแนวริมฝั่งแม่น้ำโขงไปจาก บ.แสนพัน หมู่ 5 ปลูกยาวสุดลูกหูลูกตา เรื่อยไปจนถึง บ.ศรีนคร ต.พระกลางทุ่ง ระยะทาง 3-4 กิโลเมตร ถึงขนาดมีพ่อค้าคนกลางมาจองคิวและนำเงินมัดจำล่วงหน้า ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกว่า 50 ราย พื้นที่ปลูกกว่า 100 ไร่มีรายได้ตกเดือนละ 1 แสนบาท โกยเงินเข้ากระเป๋าเป็นล่ำเป็นสัน

นางแอ๋ม ต้นสวรรค์ วัย 36 ปี และนายสมชาย ต้นสวรรค์ อายุ 42 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ.แสนพัน หมู่ 5 สองสามีภรรยาหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกต้นหอมกล่าวว่า ตนและสามีมีที่ดินริมฝั่งโขงเนื้อที่ 6 ไร่ เดิมทีปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์แต่ราคาไม่ดี เพราะโรงงานรับซื้อคัดเกรด จึงหันมาปลูกพืชผักระยะสั้นทนแล้งแทนได้นาน 5-6 ปี เริ่มจากแบ่งพื้นที่ปลูกพริก มะเขือเทศ ต้นหอม ข้าวโพด สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในเนื้อที่ดังกล่าว และยังเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ไว้ 13 ตัว พร้อมเลี้ยงโค-กระบือไว้ขายลูกอีกจำนวนหนึ่งด้วย เพื่อเสริมรายได้อีกทาง

ภรรยาผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านวัย 36 ปี กล่าวต่อไปว่า ช่วงฤดูหนาวจึงลงมือปลูกต้นหอม โดยสั่งซื้อพันธุ์มาจาก อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ในราคา 56,000 บาท จ้างรถไถไถคาด 3 รอบและปั่นให้ดินร่วนซุย พร้อมจ้างแรงงานชาวบ้านปลูก รวมทั้งค่าปุ๋ยลงทุนทั้งสิ้นใน 6 ไร่ เต็มพื้นที่เป็นเงินลงทุน 1 แสนบาท เริ่มลงมือปลูกเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ก่อนปลูกจะหว่านปุ๋ยเม็ดตราเรือใบ หรือตรารุ่งอรุณสูตร 13-13-21 หลังผักโตได้ 1 เดือนจึงหว่านใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต่อท่อรดน้ำช่วงเช้าด้วยฟักบัวแค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยใช้ฟางข้าวปกคลุมเพื่อให้หน้าดินมีความชุ่มชื้นตลอด เพราะใน 1 สัปดาห์ อบต.แสนพัน จะเปิดน้ำผันให้เกษตรกรใช้แค่วันเดียวเสียแค่ 20 บาทต่อครั้ง

“หลังต้นหอมเริ่มโตมีอายุได้ 1 เดือน จะมีพ่อค้าคนกลางจาก จ.นครราชสีมา ตระเวนขับรถกระบะมาดูแปลงปลูก หากใครปลูกมากก็จะนำเงินมามัดจำล่วงหน้าครึ่งหนึ่ง เพื่อจับจองเหมาซื้อเป็นไร่ ในราคาไร่ละ 70,000 บาท ต้นฤดูกาลพ่อค้าจองต้นหอมตน 2 ไร่ ตกเป็นเงิน 140,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 4 ไร่ ใกล้เก็บผลผลิตไร่เรี่ยกันจองซื้อไร่ละ 40,000 บาท ใน 6 ไร่รวมเป็นเงิน 300,000 บาท ใช้เวลาปลูกแค่ 2 เดือน ตนและสามีมีหน้าที่แค่รดน้ำและหว่านปุ๋ย ทำกำไรเข้ากระเป๋า 2 แสนบาทเลยทีเดียว หากเป็นช่วงต้นเดือน พ.ย. ราคาผักแพง พ่อค้าคนกลางจะให้ราคาสูงถึงไร่ละ 80,000 บาทเลยทีเดียว ผักชนิดนี้ใช้ในครัวเรือนแทบทุกวัน ผู้บริโภคนิยมนำไปใส่ต้มยำ ลาบ ก้อย ต้ม” เกษตรหญิงคนขยันกล่าว

ด้านนายปรีดา พักประไพ วัย 51 ปี หนึ่งในพ่อค้าคนกลางกล่าวว่า มีอาชีพรับซื้อพืชผักมานาน 5 ปี เดิมทีเคยวิ่งรับซื้อผักทางภาคเหนือและภาคกลาง ส่งแหล่งรับซื้อค้าส่งแหล่งใหญ่ที่ตลาดสุรนครเมืองใหม่ จ.นครราชสีมา และตลาดสี่มุมเมือง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ตลาดค้าส่งผักแหล่งใหญ่ในภาคอีสานและภาคกลาง โดยตนจะมีรถกระบะ 6 คัน วิ่งมารับซื้อต้นหอมถึงสวนในพื้นที่ ต.แสนพัน ซึ่งต้องจองและมัดจำเงินครึ่งหนึ่งช่วงที่ผลผลิตปลูกได้ 1 เดือน โดยปีนี้ตนเหมาซื้อมากถึง 20 ไร่ โดยจะว่าจ้างแรงงานในพื้นที่ ต.บ้านกลาง รอยต่อกับ ต.แสนพัน จำนวน 12 คน จ้างค่าแรงคนละ 200 บาทต่อ 3 ชั่วโมง มาถอนต้นหอมมัดละ 10 กิโลกรัมขึ้นรถกระบะบรรทุกได้ต่อคันจำนวน 4 ตัน

พ่อค้าคนกลางวัย 51 ปี ระบุว่า คาสิโนออนไลน์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตขึ้นรถเสร็จก็จะวิ่งเข้า จ.นครราชสีมา เพื่อจ้างแรงงานล้างคราบดินออกและลอกต้นหอมตกกิโลกรัมละ 5 บาท เพื่อให้มีความสดใหม่ ก่อนจะตีรถไปส่งตลาดสุรนครและตลาดสี่มุมเมือง เพื่อส่งขายต่อให้พ่อค้ารายใหญ่ แต่ละรายจะซื้อ 200-300 กิโลกรัม และหมดในเวลาอันรวดเร็ว พ่อค้าในตลาด 2 แห่งก็จะกระจายสินค้าสู่จังหวัดปริมณฑลและจังหวัดใกล้เคียงต่อไป ราคาต้นหอมที่ขายส่งปัจจุบันตกกิโลกรัมละ 35-40 บาท พ่อค้าแม่ค้าก็จะไปขายปลีกอีกทอดในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา ราคาต้นหอมมีราคาแพงสูงถึงกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งราคาขึ้นอยู่ตามฤดูกาลและกลไกทางตลาด หากเดือนไหนผักแพงต้นก็จะมีกำไรตามเกษตรกรไปด้วย