ซึ่งเขตพื้นที่ราบนั้น จะต้องใช้ซาแรนเพื่อให้ต้นพริกไทยเติบโต

โดยจะใช้เปอร์เซ็นต์กรองแสงอยู่ที่ 60-70% และสมัยก่อนใช้ต้นไม้ เสาไม้ แต่ปัจจุบันได้พัฒนามาใช้เสาปูน ซึ่งราคาหลักร้อยบาท และแข็งแรงอยู่ได้นานหลายปี จึงทำให้มีผู้สนใจปลูกพริกไทยกันอย่างแพร่หลาย แต่ถ้าถามว่าหลังจากที่ท่านได้ปลูกแล้ว วิธีการดูแล การเก็บเกี่ยวกับการตลาดท่านจะหาข้อมูลได้ที่ไหน ซึ่งนั่นก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าคิดเช่นกัน

เพราะฉะนั้นการทำเกษตรแบบรวมกลุ่มจะสามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ ซึ่งเกษตรแบบรวมกลุ่มจะสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เพราะการลงทุนปลูกพริกไทยนั้น ใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูงพอสมควร การลงทุนปลูกแต่ละครั้งจึงปลูกได้จำนวนไม่มากในแต่ละเจ้า ทำให้ผลผลิตที่ได้รับนั้นมีไม่พอที่จะส่ง หรือน้อยเกินไปต่อการไปรับสินค้าของพ่อค้าแม่ค้า จึงมีการตั้งกลุ่มพริกไทยเกษตรอินเตอร์ขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่อไปนี้

ในกลุ่มพริกไทยเกษตรอินเตอร์ จะมีผู้ที่ให้การดูแลด้านการตลาด การประสานงาน ผู้ดูแลตรวจสอบแปลงพันธุ์ การรับประกันกิ่งพันธุ์ การรับซื้อผลผลิต และโปรโมทจำหน่ายกิ่งพันธุ์ โดยใช้สื่อออนไลน์เข้ามาช่วย ทำให้ผู้คนรู้จักมากขึ้น โดยการรวบรวมสมาชิกและลงทะเบียนนั้นทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าผลผลิตที่แน่นอนในแต่ละปีมีจำนวนเท่าไร เราสามารถที่จะต่อรองกับทางโรงงานใหญ่ๆ และติดต่อกับต่างประเทศได้ เพราะเรามีสินค้าที่มากเพียงพอ

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก ไปดูการปลูกแปลงดอกดาวเรือง ที่ใช้พื้นที่นาที่เหลือจากการปลูกข้าว ปลุกดาวเรือง ระบุว่า ตื่นตีสี่ตีห้า เย็นมารับตังค์ … ได้มาเยี่ยมชาวบ้านที่ทำเกษตรผสมผสาน โดยทำนาปีครั้งเดียว ที่เหลือมาทำแปลงดอกดาวเรือง จนกลายเป็นทุ่งดาวเรือง ผลผลิตก็ดีทั้งข้าวและดอกดาวเรือง เพราะได้สลับกันปลูก ต้องมาเด็ดดอกดาวเรืองตีสี่ตีห้าถึงเย็นทุกวัน วันหนึ่ง 40000-50000 ดอก ยิ่งช่วงเทศกาลยิ่งมาก ตอนนี้ยิ่งคึกคักเพราะมีคนมาถ่ายรูปจำนวนมาก ชาวบ้านบอกว่าดีมาก “ตื่นตีสี่ตีห้า เย็นมาก็รับตังค์” ดีกว่าทำนาเพียงอย่างเดียว ท่านใดอยากไปเยี่ยมชม ไปได้ที่หมู่ที่ 3 ต.วัดพริก เมือง พิษณุโลก

ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม หากใครเดินทางมาท่องเที่ยวทางภาคเหนือ ถ้ามีโอกาสเชิญเที่ยวชมแปลงเก๊กฮวยบ้านอมลอง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำลังชูช่อดอกสวยงาม

คุณภูสิทธิ อินเหลือละ หรือ คุณขาว บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 2 บ้านอมลอง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง ซึ่งปลูกประมาณ 1 ไร่และ คุณจรินทร์ทิพย์ ศรีวรรณะ หรือ คุณนก บ้านเลขที่ 88 หมู่บ้านเดียวกัน ปลูกประมาณ 3 งาน ผู้ปลูกดอกเก๊กฮวย ให้ข้อมูลว่า การปลูกดอกเก๊กฮวยของเกษตรกรบ้านอมลองนั้น จะเริ่มปลูกโดยถือฤกษ์วันพืชมงคลของทุกปี เป็นวันเริ่มต้นปลูก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน การปลูกจะใช้หน่อที่แตกจากต้นเดิมมาปลูก เมื่อเก็บดอกสดแล้วจะนำไปอบด้วยเตาฟืนแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม

ขณะนี้ทางสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (IQS) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำลังทำงานวิจัยในส่วนของการใช้เตาอบแบบใช้แก๊สและไฟฟ้าอยู่ ต่อไปคงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีใหม่นี้

หลังอบ จากดอกเก๊กฮวยสด 7-8 กิโลกรัม จะได้เก๊กฮวยแห้ง ประมาณ 1 กิโลกรัม โดยจะมีผู้ซื้อมารับถึงที่ ในราคากิโลกรัมละ 1,600 บาท ใน 1 ไร่ ปีที่แล้ว คุณขาว บอกว่า เก๊กฮวยงามมาก ได้ผลผลิตเก๊กฮวยแห้ง จำนวน 300 กิโลกรัม แต่ปีนี้ผลผลิตอาจจะได้น้อยกว่า สังเกตจากการเจริญเติบโต ไม่งามเหมือนปีที่แล้ว ส่วนคุณนกจะมีญาตินำไปขายให้ที่ตลาดต้นลำไยในตัวเมืองเชียงใหม่

มาดูข้อมูลทางวิชาการกันครับ เก๊กฮวย มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยา ได้แก่ ดอกเก๊กฮวยสีขาว และดอกเก๊กฮวยสีเหลือง สำหรับสายพันธุ์อื่น ก็เช่น ดอกเก๊กฮวยป่า โดยคุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวยก็คือ มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น เก๊กฮวยเป็นพืชดั้งเดิมของประเทศจีนและญี่ปุ่น แต่ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วในประเทศกัมพูชา ลาว รวมถึงบ้านเราด้วย ซึ่งจะเพาะปลูกได้ดีในพื้นที่สูงของประเทศ โดยมีการจำหน่ายเป็นดอกสด สำหรับดอกเก๊กฮวยที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง และไม่ใช่สายพันธุ์ที่เก็บมาจากในป่า เพราะอาจเป็นคนละชนิดกัน

ดอกเก๊กฮวย มีสารพวกฟลาโวนอยด์ สารไครแซนทีมิน สารอะดีนีน สตาไคดวีน โคลีน กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ประโยชน์ของน้ำเก๊กฮวย ช่วยดับกระหาย เพิ่มความสดชื่น ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย

เก๊กฮวย สรรพคุณทางยาช่วยขับเหงื่อ จากงานวิจัย พบว่า สารสกัดจากดอกเก๊กฮวยมีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่างๆ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ

นอกจากนี้ ยังช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (เก๊กฮวยดอกเหลือง) ช่วยแก้อาการตาบวมแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว แก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบภายนอกดวงตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากการกำเริบของธาตุในตับ ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (เก๊กฮวยดอกเหลือง)

สูตรการทำน้ำเก๊กฮวย อย่างแรกให้เตรียมดอกเก๊กฮวยที่ล้างให้สะอาด นำไปผึ่งไว้ก่อนบนตะแกรง พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ หรือจะใช้แบบสำเร็จรูปเลยก็ได้ ใช้หม้อสแตนเลส ใส่น้ำประมาณ 3 ลิตร ตั้งบนไฟแรง ขณะรอน้ำเดือดให้ล้างใบเตยหอม ประมาณ 5 ใบ ที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาตัดเป็นท่อนสั้นๆ (ประมาณ 3 ท่อน) เมื่อน้ำเดือดให้ใส่ใบเตยลงไป แล้วปิดฝาหม้อทิ้งไว้ประมาณ 3-5 นาที (ตรงนี้จะช่วยทำให้น้ำเก๊กฮวยหอมขึ้น)

เมื่อน้ำใบเตยเดือด ถ้าต้องการให้น้ำเก๊กฮวยมีสีเหลืองน่าดื่มก็ทุบเมล็ดพุดจีน (มีขายตามเยาวราช) ห่อใส่ผ้าขาวบางลงไปชงจนได้สีตามต้องการ ซึ่งตอนนี้ให้เปิดฝาหม้อทิ้งไว้ (ไม่ควรปิดฝาหม้อ เพราะเมล็ดพุดจะมีกลิ่น) ให้ตักใบเตยทิ้งไปและเอาห่อเมล็ดพุดออกจากหม้อ ใส่น้ำตาลทราย (ไม่ฟอกสี) ประมาณ 200 กรัม ลงในหม้อ แล้วคนน้ำตาลให้ละลาย เมื่อได้ความหวานที่ต้องการแล้วให้ปิดไฟหม้อ ใส่ดอกเก๊กฮวยที่เตรียมไว้ ประมาณ 30 กรัม ใส่ลงไปในหม้อ แล้วใช้ทัพพีคนเบาๆ ประมาณ 1 รอบ เพื่อให้ดอกเก๊กฮวยกระจายทั่วหม้อ แล้วรีบปิดฝา ตั้งไว้จนเย็นแล้วกรองเอากากของดอกเก๊กฮวยออก ก็จะได้น้ำเก๊กฮวยที่มีสีน่าดื่ม เสร็จแล้ววิธีการทำน้ำเก๊กฮวย จากนั้นก็นำมากรอกใส่ขวด แช่เย็นไว้ดื่ม

สูตรต้มน้ำเก๊กฮวย เมล็ดพุด 1-2 เมล็ด จะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ด จะออกสีเหลืองมาก วิธีทำน้ำเก๊กฮวยแบบถูกวิธีห้ามเคี่ยวดอกเก๊กฮวย เพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้ การกรองดอกเก๊กฮวยออกห้ามบี้เด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้ ถ้าต้มน้ำดอกเก๊กฮวยแล้วเปรี้ยว สาเหตุอาจมาจากการใส่ดอกเก๊กฮวยมากเกินไป หรือการใช้เวลาต้มนานจนเกินไป การชงเก๊กฮวยแบบชงชาจะให้รสชาติที่ดีกว่าการนำมาต้มในน้ำเดือดนานๆ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชา เก๊กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

การปลูกดอกเก๊กฮวย ถือเป็นพืชทางเลือกที่สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับหมู่บ้าน ช่วยให้เศรษฐกิจของหมู่บ้านหมุนเวียน มีการใช้จ่ายในด้านอื่นๆ บ้านอมลอง ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดี ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม

สับปะรดในประเทศไทย นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์ในลำดับต้นๆของโลก มูลค่าส่งออกสูงถึง 25,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมากคือ สับปะรดกระป๋อง ร้อยละ 80 และน้ำสับปะรด ร้อยละ 20 โดยมีทั้งการส่งออกในตราสินค้าของตนเองและการรับจ้างผลิต แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการรับจ้างผลิต ในปี 2554 มีโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดเข้มข้นที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มากกว่า 75 โรง กำลังผลิตรวมกันประมาณ 800,000 ตัน/ปี ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกประมาณปีละ 600,000 ตัน/ปี คู่แข่งสำคัญของไทยในอุตสาหกรรมสับปะรด คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และจีน

พันธุ์สับปะรดที่เกษตรกรปลูก หากเป็นสับปะรดส่งโรงงานนิยมปลูกพันธุ์ปัตตาเวีย เนื่องจากมีเนื้อแน่น รสหวานปานกลางหรือหวานจัดสามารถปลูกได้ทั่วไป สำหรับพันธุ์รับประทานผลสดมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก กล่าวคือ พันธุ์นางแล ลักษณะใบมีขอบเรียบหรือมีหนามเล็กน้อย ผลรูปทรงกลม ตานูน เปลือกบาง เนื้อหวานจัด สีเหลืองทอง พบปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะที่ตำบลนางแล อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย นับว่าเป็นแหล่งปลูกที่เหมาะสมที่สุด

ในพื้นที่ภาคใต้ นิยมปลูกสับปะรดพันธุ์ภูเก็ตและพันธุ์สวี ภาคตะวันออกนิยมปลูกสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง โดยสับปะรดทั้งสามพันธุ์ขอบใบมีหนามมาก ผลมีตาลึก เมื่อแก่จัดเปลือกสีส้ม และมีส่วนของกลีบดอกอยู่ที่เปลือก เนื้อหวานกรอบมีรูพรุน สีเหลืองเข้ม ทั้งนี้พันธุ์สวีจะมีผลสั้นกว่าพันธุ์ภูเก็ตและพันธุ์ตราดสีทอง โดยที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ภูเก็ต ส่วนจังหวัดตราดเป็นแหล่งที่เหมาะสม
สำหรับพันธุ์ตราดสีทอง และอำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์สวี นอกจากนี้ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังปลูกสับปะรดพันธุ์อินทรชิดขาว – แดงอีกด้วย ตลอดจนมีการนำเข้าพันธุ์สับปะรดจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์บราซิล พันธุ์ Tainan จากไต้หวัน และพันธุ์ White
Jewel จากฮาวาย เป็นต้น

สำหรับสับปะรดพันธุ์เพชรบุรีที่กล่าวถึง และชาวเพชรบุรีเรียกว่า สับปะรดพันธุ์ฉีกตานั้น เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2541 ทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี (ชื่อเดิม) เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะต่อการรับประทานผลสด ให้ผลผลิตสูง
และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ดังกล่าวได้ ลักษณะเด่นของพันธุ์เพชรบุรี คือ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ภูเก็ตร้อยละ 17.7 และสูงกว่าพันธุ์สวีร้อยละ 23.2 อยู่ในกลุ่มพันธุ์เดียวกัน รสชาติหวานอมเปรี้ยว ปริมาณ soluble solids สูงถึง 16.9 องศาBrix และมีปริมาณกรดค่อนข้างต่ำราวร้อยละ 0.45 มีกลิ่นหอมแรง เนื้อกรอบใกล้เคียงกับพันธุ์สวีและพันธุ์ภูเก็ต สีเนื้อเหลืองอมส้มสม่ำเสมอ สามารถแกะแยกผลย่อยหรือตา
(fruitlet) ออกจากกันโดยง่าย และรับประทานแกนผลได้ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขัง

แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของไทย คือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี เพชรบุรี และพิษณุโลก ผลผลิตออกมากในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน และพฤศจิกายน – มกราคมของทุกปี ในปี 2551 ประเทศไทยมีพื้นที่เก็บเกี่ยวสับปะรดประมาณ 580,000 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 2.28 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3.91 ตัน/ไร่ สำหรับปี 2555 คาดว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวประมาณ 646,000 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ2.52 ล้านตัน และผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3.89 ตัน/ไร่ ในขณะที่ปี 2554 ที่ผ่านมา มีพื้นที่เก็บเกี่ยวไม่แตกต่างจากปี 2555 มากนัก แต่ผลผลิตรวมสูงกว่าเล็กน้อยประมาณ 2.58 ล้านตัน โดยผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 4 ตัน/ไร่

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตสับปะรดในปี 2555 ลดลง เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกสับปะรดไปปลูกอ้อยหรือมันสำปะหลัง อีกทั้งการปลูกสับปะรดในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้นยางพาราและต้นปาล์มน้ำมันเริ่มโตมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถปลูก
สับปะรดแซมได้อีก อย่างไรก็ตามในแหล่งปลูกยางใหม่ หรือสวนมะพร้าวที่ปลูกใหม่ เกษตรกรได้ปลูกสับปะรดแซมมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องความแห้งแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานในเขตปลูกสับปะรดที่สำคัญ เช่น บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี ส่งผลให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ ภาพรวมของผลผลิตสับปะรดจึงต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของ FAO ในปี 2553 พบว่าประเทศยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตสับปะรด 5 อันดับแรก คือ ฟิลิปปินส์ บราซิล คอสตาริก้า ไทย และจีน มีผลผลิตรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณสับปะรดทั้งโลก

สับปะรด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีอายุหลายปี มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ จัดชเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีความสูงประมาณ 90 – 100 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันถี่มาก รอบต้นกว้าง 6.5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล ต้องการอากาศค่อนข้างร้อนในการเจริญเติบโต อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 23.9 – 29.4 องศาเซลเซียล ปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอยู่ในช่วง 1,000 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี โดยต้องกระจายสม่ำเสมอตลอดปี และมีความชื้นในอากาศสูง

ลักษณะดินที่เหมาะสม ควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สามารถเจริญเติบโตได้ในดินปนลูกรัง และดินทรายชายทะเล และที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา แต่ไม่ควรสูงกว่าระดับน้ำทะเล เกิน 600 เมตร ไม่เหมาะในสภาพน้ำท่วมขัง สภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของดินควรเป็นกรดเล็กน้อย คือตั้งแต่ 4.5 – 5.5 แต่ไม่เกิน 6.0 ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5 การระบายน้ำดี และระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร

สำหรับการปลูกสับปะรด ต้องวางแผนการผลิตให้ดี เพื่อให้ผลผลิตกระจายตัวสม่ำเสมอ ไม่มีปัญหาในการจำหน่าย โดยเฉพาะสับปะรดส่ง
โรงงาน โดยหลักการแล้ว หากมีแหล่งน้ำเพียงพอสามารถปลูกสับปะรดได้ตลอดปี แต่ถ้าหากไม่มีแหล่งน้ำ ควรปลูกสับปะรดในช่วงต้นฝน โดยช่วงฤดูแล้งควรปลูกด้วยจุก ช่วงฤดูฝนควรปลูกด้วยหน่อ เพื่อเป็นการกระจายการผลิต

การเตรียมดิน สำหรับพื้นที่เคยปลูกสับปะรด ให้ไถสับใบและต้น ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 เดือน แล้วไถกลบ จากนั้นให้ไถอีก 1 ครั้ง เพื่อทำการตากดินไว้ประมาณ 7 – 10 วัน จึงไถพรวนประมาณ 1 – 2 ครั้ง แล้วยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร ทำแนวปลูกสับปะรด หากเป็นพื้นที่ลาดเอียงมากกว่าร้อยละ 3 ต้องทำร่องระบายน้ำรอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน และควรวิเคราะห์ดินก่อนปลูก พร้อมทั้งปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละแหล่งปลูก โดยเฉพาะการจัดการอินทรียวัตถุในดิน

วิธีการปลูก ทำได้สองวิธี คือ การปลูกด้วยหน่อ และการปลูกด้วยจุก โดยการปลูกด้วยหน่อให้คัดหน่อขนาดเดียวกันสำหรับปลูกในแต่ละแปลง เพื่อสามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ซึ่งสามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 8 – 12 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อที่ใช้ปลูก สำหรับการปลูกด้วยจุก จุกควรมีขนาดตั้งแต่ 180 กรัมขึ้นไป สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 10 – 14 เดือน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาปลูก ก่อนปลูกต้องชุบหน่อหรือจุกด้วยสารป้องกันโรครากเน่าหรือต้นเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกช่วงกลางฤดูฝน ตามคำแนะนำ และควรปลูกในลักษณะแถวคู่ ระยะปลูก30 x 30 x (80 – 90) เซนติเมตร ปลูกได้ประมาณ 7,500 – 8,500 ตันต่อไร่ แต่ไม่ควรเกิน 12,000 ตันต่อไร่

การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยรองพื้นสูตร 16-20-0 และให้ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่างของต้น ด้วยปุ๋ยเคมีสัดส่วน 2:1:3 หรือ 3:1:4 เช่น สูตร 12-6-15 หรือ
12-4-18 หรือ 15-5-20 หรือ 13-13-21 ให้ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 – 15 กรัมต่อต้น ครั้งแรกหลังปลูก 1 – 3 เดือน ครั้งต่อมาห่างกัน 2 – 3 เดือน หากไม่ได้ให้ปุ๋ยรองพื้น จะให้ปุ๋ยทางกาบใบล่างของต้นก็ได้ แต่เพิ่มจำนวนเป็น 3 ครั้ง ควรสังเกตดูว่าสับปะรดมีใบสีเขียวซีดจางเนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอหรือไม่ หากพบให้พ่นปุ๋ยทางใบเสริม เช่น ปุ๋ยเคมีสูตร 23-0-30 ผสมน้ำเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 75 มิลลิลิตรต่อต้น จำนวน3 ครั้ง คือ ระยะก่อนบังคับดอก 30 วัน 5 วัน และหลังบังคับดอก 20 วัน

สำหรับการให้น้ำ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ ถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล แต่ในฤดูแล้งหากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโต สัปดาห์ละ 1 – 2 ลิตรต่อต้น และหลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำเพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมด อีกทั้ง
ควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอก และหยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15 – 30 วัน

การบังคับดอก ในแปลงเดียวกัน ควรบังคับดอกพร้อมกัน โดยบังคับดอกหลังการให้ปุ๋ยทางกาบใบแล้ว 2 เดือน หรือหลังการพ่นปุ๋ยทางใบ1 เดือน และบังคับดอกเมื่อต้นสับปะรดมีน้ำหนักต้นปลูกประมาณ 2.5 – 2.8 กิโลกรัม และน้ำหนักต้นตอประมาณ 1.8 – 2.0 กิโลกรัม ด้วยสารผสม
ของเอทธิฟอน (39.5%) อัตรา 8 มิลลิลิตร กับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 300 กรัม และน้ำ 20 ลิตร อัตรา 60 – 75 มิลลิกรัมต่อต้น หรือใส่ถ่านแก๊ส อัตรา 1 – 2 กรัมต่อต้น ในขณะมีน้ำอยู่ในยอดทั้ง 2 วิธี บังคับ 2 ครั้ง ห่างกัน 4 – 7 วัน ทำการบังคับดอกในช่วงเย็นหรือกลางคืน หากมีฝนตกภายใน 2 ชั่วโมง หลังหยอดสารบังคับดอก ควรหยอดซ้ำภายใน 2 – 3 วัน

การเก็บเกี่ยว สับปะรดสำหรับโรงงาน เก็บเกี่ยวผลสับปะรดที่มีความสุกแก่ตามมาตรฐาน และห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดเร่งให้สับปะรดสุกก่อนกำหนด เก็บโดยใช้มือหักผลออกจากต้นโดยไม่ต้องเหลือก้าน แล้วหักจุกออก คัดทิ้งผลแกน ถูกแดดเผา หรือจุกผิดปกติออก คัดขนาดให้ได้ตามมาตรฐานของโรงงาน และควรส่งโรงงานภายใน 1 – 2 วัน เพื่อรักษาคุณภาพของสับปะรด และการจัดเรียงผลสับปะรด ให้จัดเรียงโดยด้านจุกอยู่ด้านล่าง เพื่อรับน้ำหนักและป้องกันผลช้ำ สำหรับสับปะรดบริโภคสด ควรเก็บเกี่ยวเมื่อตาสับปะรดเริ่มเปิด 2 – 3 ตา หรือผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ใช้มีดตัดให้เหลือก้านยาวติดผลประมาณ 10 เซนติเมตร โดยไม่ต้องหักจุกออก

การจัดการต้นตอ เนื่องจากสับปะรดสามารถไว้ตอได้ 1-2 ครั้ง โดยไม่ต้องปลูกใหม่ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว ควรใช้มีดตัดต้นสับปะรดระดับเหนือดิน 20-30 เซนติเมตร และตัดใบให้เหลือประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นให้ใช้ต้นและใบสับปะรดคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันการงอกของวัชพืช รวมทั้งให้ปุ๋ยและน้ำตามคำแนะนำ ตลอดจนหักหน่ออากาศ หรือหน่อที่เกิดจากต้นไปใช้ขยายพันธุ์ เหลือเฉพาะหน่อดินไว้เป็นต้นตอ

โรคที่สำคัญของสับปะรดที่มักพบบ่อยๆ คือ โรครากเน่าหรือต้นเน่า และโรคผลแกน ซึ่งโรครากเน่าหรือต้นเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราทำให้ใบยอดล้มพับและหลุดง่าย ระบาดรุนแรงในฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่มีสภาพเป็นด่าง สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการใช้หน่อหรือ
จุกสับปะรดจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด ลักษณะอาการส่วนยอดของสับปะรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีเหลืองซีด ใบยอดล้มพับและหลุดง่ายบริเวณฐานใบมีรอยเน่าซ้ำสีเหลืองอ่อน ขอบแผลสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เกิดอาการเน่าและมีกลิ่นเฉพาะตัว มักระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่มีสภาพเป็นด่าง โรคนี้สามารถป้องกันและกำจัดได้โดยปรับพื้นที่แปลงปลูกให้มีการระบายน้ำได้ ดี ปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้ต่ำกว่า 5.5 โดยใช้กำมะถันผง หลีกเลี่ยงการใช้หน่อหรือจุกสับปะรดจากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด และจุ่มหน่อหรือจุกก่อนปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชทุก 2 เดือน ตามคำแนะนำ เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้เก็บต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นต้นสับปะรดบริเวณใกล้
เคียง ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามคำแนะนำ

สำหรับโรคผลแกน เกิดจากปฏิกิริยาร่วมระหว่างเชื้อแบคทีเรีย กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ลักษณะอาการเริ่มเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในผลตั้งแต่ระยะดอกบาน และแสดงอาการเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ ผลสับปะรดที่เริ่มแก่ จะมีน้ำมากขึ้น บริเวณตาและ
เนื้อผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และแข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่นเหมือนเนื้อสับปะรดปกติ ช่วงเวลาระบาดรุนแรงในระยะ 7 – 10 วันก่อนที่ผลสับปะรดจะเก็บเกี่ยวได้ การป้องกันสามารถทำได้โดยเพิ่มจำนวนต้นต่อไร่ให้มากขึ้น และให้โพแทสเซียมคลอไรด์ ตามคำแนะนำ

แก้วมังกร ถิ่นกำเนิดของแก้วมังกรมาจากป่าแอฟริกา เป็นไม้เลื้อยในตระกูลกระบองเพชรเลื้อย

ลักษณะของผลแก้วมังกร
-ผลรูปไข่หรือค่อนข้างกลม เมื่อผ่าผลแก้วมังกรจะเห็นเปลือกสีชมพูสดหนาราวๆ2 มิลลิเมตร ถัดจากเปลือกเข้าไปเป็นเนื้อสีขาว สีเมล็ดคล้ายเมล็ดแมงลักฝังตัวอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมาก แก้วมังกรมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย นำไปประกอบอาหารอื่นๆได้ เช่น น้ำกะทิแก้วมังกร น้ำผลไม้ แยม สลัด

กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดในภาคตะวันออก ที่มังคุดอยู่ในระยะแตกใบอ่อน จนถึงระยะมังคุดออกดอกและติดผลอ่อน เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้ หนาวเย็น อากาศแห้ง และฝนเริ่มทิ้งช่วง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพิ่มประชากรและการระบาดของเพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงปากเขี่ยดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ดอกอ่อนและผลอ่อน ทำให้ยอด ผิวของผล เป็นขี้กลาก หรือผิวลาย มียางไหลและอาจทำให้ผลร่วง ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ โดยสุ่มเคาะช่อดอกบนกระดาษขาว หากพบการเริ่มเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ให้แจ้งการระบาดและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟมังคุดด้วยวิธีการ ดังนี้

สำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยไฟตัวห้ำ และด้วงเต้าตัวห้ำ
3. ถ้าพบการระบาดไม่รุนแรงพ่นด้วยน้ำเปล่าเพื่อให้เกิดความชื้นในทรงพุ่ม หรือพ่นน้ำใน
ระยะออกดอกจนกระทั่งถึงติดผลอ่อนทุก 2 – 3 วัน

4. ใช้กับดักกาวเหนียวขนาดใหญ่ติดตั้งในสวนมังคุดตั้งแต่มังคุดเริ่มแตกใบอ่อน (กับดักกาว
เหนียวสีเหลืองขนาดกว้าง 24 นิ้ว ยาว 26 นิ้ว จำนวน 4 กับดักต่อต้น)

5. ในสวนมังคุดที่มีการระบาดรุนแรงควรพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ดังนี้
– คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

– อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

– ฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

– ไซเพอร์เมทริน 6.25% โฟซาโลน 22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

ปัจจุบันหากใครมาพะเยา หลายคนเรียกหากล้วยหอมทองยัดเยียด เพราะเคยกินแล้วติดใจในรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม ไม่อมน้ำมัน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองยัดเยียด หลายคนที่ได้ยินชื่อก็ข้องใจว่าชื่อนี้มาได้อย่างไร ติดตามกันต่อไปแล้วท่านจะถึงบางอ้อ

คุณอชิรา ปัญญาฟู หรือ พี่ปอนด์ ประธานกลุ่ม เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2544 แม่บ้านเกษตรกรบ้านปางป้อมเหนือ จำนวน 9 คน ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อทำกิจกรรมลดปัญหาการว่างงาน และเห็นว่า กล้วยไข่พระตะบอง ที่เป็นกล้วยพันธุ์พื้นเมืองของพื้นที่ทางภาคเหนือ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ได้ปลูกไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในที่ของตนเองอยู่แล้ว แต่เป็นกล้วยที่ไม่นิยมกินสุก จึงได้แค่นำไปเป็นอาหารสัตว์เท่านั้น ไม่มีค่าอะไร จึงได้มีความคิดร่วมกันว่า จะนำกล้วยไข่พระตะบองดิบสด มาเป็นวัตถุดิบเพื่อแปรรูปเป็น “กล้วยทอดกรอบ”

เริ่มแรก ได้ปรึกษาวิธีการผลิตกับทางญาติที่อยู่ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งทำอยู่ก่อนแล้ว แต่รสชาติที่ได้ยังไม่คงที่ ต่อมาได้มีส่วนราชการได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือพัฒนากลุ่มและตัวสินค้า จึงคิดทดลองดัดแปลงสูตรการผลิต จนลงตัวเป็นสูตรถึงทุกวันนี้ มี 2 ชนิด คือ รสหวาน และไม่หวาน

สำหรับที่มาของยี่ห้อ “หอมทองยัดเยียด” นั้น ได้มาจากการที่ ช่วงแรกๆ ตัวสินค้านั้น ผลิตและใช้วัตถุดิบในชุมชน ใช้แรงงานในชุมชนและเริ่มขายในชุมชน แต่เนื่องจากตลาดในชุมชนมีน้อย จึงต้องนำสินค้าไปขอให้คนที่รู้จัก หรือข้าราชการตามหน่วยงานต่างๆ ช่วยซื้อเป็นประจำ จนคนเขาเบื่อหน่าย เมื่อเห็นตนนำกล้วยไปให้ช่วยซื้อหลายคนก็บอกว่า “กล้วยยัดเยียด” มาแล้ว สะดุดใจ จึงนำมาตั้งเป็นชื่อของผลิตภัณฑ์ว่ากล้วยหอมทองยัดเยียด จนติดหูติดใจในรสชาติ กลายเป็นจุดเด่นอีกข้อของผลิตภัณฑ์เมื่อได้ยินชื่อชวนให้อยากชิมว่ามันเป็นอย่างไร

สำหรับกล้วยที่นำมาแปรรูปนั้นคือ สล็อตออนไลน์ กล้วยไข่พระตะบอง ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า กล้วยส้ม หากทิ้งไว้จนสุก จะมีรสเปรี้ยวหรือรสส้มนั้นเอง กล้วยไข่พระตะบอง ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาติจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ลำต้นสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประดำหนา โดยเฉพาะใต้ขอบใบ ด้านในมีสีเขียวอมเหลือง ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิดขอบ ก้านใบมีสีชมพูเล็กน้อย ผลโตกว่ากล้วยไข่ทั่วไป ก้านผลค่อนข้างสั้น ผลไม่มีเหลี่ยม ปลายผลมนโค้งขึ้นเล็กน้อย เปลือกค่อนข้างหนา เนื้อด้านในสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย เมื่อมีการแปรรูปวัตถุดิบเริ่มขาดแคลนจึงได้วางแผนทำโครงการสนับสนุนงบประมาณมาส่งเสริมให้เกษตรกรรายอื่นปลูกแล้วทางกลุ่มรับซื้อผลผลิตมาแปรรูป ทำให้เกิดรายได้เศรษฐกิจฐานรากมีการขับเคลื่อน