ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง ภาคเกษตรกร

หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา หากขาดความร่วมมือจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง โครงการดีๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ทางตนก็ต้องขอบคุณ มา ณ ที่นี้ “มะยงชิดอบแห้ง” ผลิตภัณฑ์แปรรูปสถานการณ์โควิดหาย เตรียมโกอินเตอร์

เจ้าของบอกว่า ผลิตภัณฑ์มะยงชิดอบแห้งของที่สวนแม่รวย ถือว่าวางขายเป็นเจ้าแรกๆ ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ โดยที่สวนมีแนวคิดและกำลังดำเนินการให้มะยงชิดสวนแม่รวยเป็นสวนปลูกและแปรรูปแบบครบวงจร และอยากเปิดเป็นที่อบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่อยากเรียนรู้นำมาต่อยอด เพราะนอกจากมะยงชิดอบแห้งแล้ว มะยงชิดยังสามารถนำไปแปรรูปได้อีกหลากหลายเมนู หลากหลายผลิตภัณฑ์ทั้งคาวและหวาน

ไม่ว่าจะเป็น มะยงชิดพร้อมดื่ม ไอศกรีมมะยงชิด มะยงชิดลอยแก้ว และอีกมากมาย แต่อายุการเก็บรักษาจะอยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 3 เดือน แต่ถ้าเป็นอบแห้ง จะมีอายุการเก็บรักษาได้เพิ่มขึ้นเป็น 6 เดือน ซึ่งพอครบระยะเวลา 6 เดือนนี้ เกษตรกรก็จะมีผลไม้ตัวใหม่ออกมาพอดี เกษตรกรก็จะมีรายได้ตลอดในระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบถัดไป

“โดยที่ผ่านมา ทางสวนได้มีการทดลองและแปรรูปออกมาหลากหลายผลิตภัณฑ์เก็บไว้ เพื่อให้เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร หรือเป็นทางเลือกให้กับเชฟที่เขาต้องการวัตถุดิบทางเลือกใหม่มารังสรรค์เมนูอาหารของเขา ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำผลิตภัณฑ์แปรรูปพวกนี้ออกมาสู้ตลาด และก็ตลาดเมืองนอกก็น่าจะเป็นไปได้สวย เพราะสมัยก่อนพยายามทำส่งออกในรูปแบบผลสด แต่เนื่องจากติดเงื่อนไขของอายุการเก็บรักษา อยู่ได้ไม่นาน อยู่ได้ไม่ถึงสัปดาห์ก็เสีย แต่การที่จะขนส่งไปเมืองนอกต้องใช้เวลาหลายวันกว่าสินค้าจะไปถึงก็เน่าเสียไปหมดแล้ว จึงคิดว่าการแปรรูปเป็นอบแห้งจะเป็นทางออกที่ดีในการส่งออกไปลองตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทางจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และด้วยความที่สีสันสวย คนจีนเขาจะชอบสีเหลือง สีแดง อยู่แล้ว”

ขั้นตอนการแปรรูปมะยงชิดอบแห้ง
1. แช่มะยงชิดในสารละลายน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 40 องศาบริกซ์ ที่มีกรดมะนาว ร้อยละ 0.5 นาน 20 ชั่วโมง
2. แยกมะยงชิดออกมา ใส่ในสารละลายน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 50 องศาบริกซ์ นาน 20 ชั่วโมง
3. แยกมะยงชิดออกมา ใส่ในสารละลายน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 60 องศาบริกซ์ นาน 20 ชั่วโมง
4. แยกมะยงชิดออกมาอบแห้งในตู้อบลมร้อน อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง

การสร้างมูลค่าเพิ่ม… เทคนิคของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าขายได้ราคานั้น พื้นฐานเบื้องต้นนอกจากการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐานแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอีก 3 ปัจจัยหลักง่ายๆ ดังนี้

ประวัติความเป็นมา มีเรื่องราวสตอรี่ ว่าสินค้าชนิดนี้ผลิตมาจากที่ไหน ผลิตจากแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่
2. แพ็กเกจจิ้ง ที่ดูสวยงาม สะดวกต่อการใช้งาน และ
3. สถานที่วางจำหน่าย กลุ่มเป้าหมายเป็นลูกค้าระดับใด องค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็น 3 ปัจจัยง่ายๆ อย่างที่สวนก็จะเลือกวางขายสินค้าตามรีสอร์ต ห้างสรรพสินค้า และเตรียมส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
ราคาขาย… ตอนนี้อยู่ในช่วงที่กำลังทดลองตลาด ทางสวนทำมะยงชิดอบแห้งออกมาขายในประมาณ 100 กิโลกรัม ขายในราคากิโลกรัมละ 890 บาท หลายท่านอาจตกใจว่า ทำไมราคาแพง เนื่องจากการแปรรูปค่อนข้างมีต้นทุนที่สูง ต้องใช้มะยงชิดผลสด 3 กิโลกรัม ถึงจะได้เป็นมะยงชิดอบแห้งออกมา 1 กิโลกรัม บวกกับเรื่องของแรงงานการผลิตด้วย จึงจำเป็นต้องขายในราคาที่สูง

“โดยเริ่มต้นทำตลาดจากกลุ่มแฟนคลับคนรักมะยงชิดก่อน นี่เป็นเทคนิคการทำตลาดแบบง่ายๆ ให้เริ่มต้นจากลูกค้าเก่าก่อน แล้วถ้าแฟนคลับลูกค้าขาประจำชอบ ทีนี้การทำตลาดก็ง่ายละ แล้วค่อยๆ กระจายไปกลุ่มอื่นที่มีความสนใจผลไม้หรือกลุ่มคนรักผลไม้ คนรักสุขภาพ ซึ่งที่ผ่านมาผลตอบรับเป็นไปได้อย่างสวยงาม ด้วยรสชาติจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ ต่างไปจากผลสด คือได้ความเคี้ยวหนึบ ความกรุบเข้ามา แต่ยังคงรสชาติของความเป็นมะยงชิดไว้ได้เป็นอย่างดี”

ซึ่งในอนาคตมีการวางแผนการตลาดไว้ว่า ในปีนี้จะทำตลาดในประเทศก่อน ส่วนปีหน้าหากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มทำการส่งออก เพราะส่วนตัวมองว่าสินค้ามะยงชิดอบแห้งเป็นโปรดักส์ที่น่าสนใจมากสำหรับตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมะยงชิดเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจน คือมีรสชาติคล้ายมะม่วง แต่มีคุณค่าทางสารอาหารและวิตามินต่างๆ คล้ายกับลูกพรุน ถ้าชูในเรื่องเหล่านี้คิดว่าน่าจะไปได้ดีกับตลาดต่างประเทศ และอยู่ที่เราจะหยิบยกอะไรมาสื่อสารกับผู้บริโภค ซึ่งในตอนนี้ทางสวนก็ได้มีการส่งผลิตภัณฑ์มะยงชิดอบแห้งไปทดลองที่ประเทศเกาหลีแล้วเป็นที่เรียบร้อย และในปีหน้าวางแผนตีตลาดจีน โดยใช้โมเดลเดียวกับทุเรียน เพราะถ้าจีนกิน ที่ไหนก็ปลูกไม่พอ และราคาดีด้วย

แนะนำเกษตรกรที่อยากส่งออก
“ด้วยตัวผมเองเป็นประธานกลุ่มยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อำเภอเมืองนครนายก หน้าที่ผมส่วนหนึ่งผมก็อยากกระจายความรู้สู่ชุมชนอยู่แล้วตามปณิธานที่ตั้งไว้ เพราะว่ามะยงชิดปลายฤดูจะเหลือแค่กิโลกรัมละ 70-80 บาทเอง นี่ราคาของนครนายก ขณะเดียวกันถ้าเป็นจังหวัดที่ไม่มี จีไอ เริ่มต้นแค่ 80 บาท ถ้าปลายฤดูจะเหลือเท่าไรเอง บางสวนก็ปล่อยทิ้งให้หลุดร่วงโดยเปล่าประโยชน์ ผมว่าก็น่าเสียดายโอกาสตรงนี้ ที่เราจะแปรรูปให้เกษตรกรในยุคที่ยากลำบากตอนนี้ เพราะฉะนั้นแล้วผมยินดีเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับทุกท่านที่สนใจอยากจะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการแปรรูปจากมะยงชิดครับ” คุณจตุพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับท่านใดสนใจเทคนิคการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะยงชิด ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณจตุพงษ์ บุญประกอบ หรือ พี่แม็ค ได้โดยตรง ที่เบอร์โทร. 089-811-7264 หรือสอบถามได้ที่เพจเฟซบุ๊กสวนแม่รวย จังหวัดนครนายก

แก้วมังกร เป็นพืชตระกูลตะบองเพชรชนิดหนึ่ง ปัจจุบันกลายเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการปลูกเชิงการค้า และได้รับความนิยมบริโภคไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะสุภาพสตรีส่วนใหญ่ใช้บริโภคเพื่อลดน้ำหนัก (ลดความอ้วน) เมื่อมีคนใดคนหนึ่งสามารถลดน้ำหนักได้จริง ทำให้มีการใช้ผลแก้วมังกรนี้เป็นองค์ประกอบของการควบคุมน้ำหนักของสุภาพตรี ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ คุณสมบัติของแก้วมังกรมีพอสมควร โดยมีสารมิวซิเลจ (Muciage) สารพวกนี้เป็นโพลีแซกคาไรด์เชิงซ้อน มีลักษณะคล้ายวุ้น หรือเยลลี่ ช่วยดูดน้ำตาลกลูโคส โดยเฉพาะในคนที่เป็นเบาหวาน โดยไม่พึ่งอินซูลิน ลดไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นในเลือดต่ำ เพิ่มธาตุเหล็กอีกด้วย

การปลูกแก้วมังกรเพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ ไม่ว่าจะปลูกแบบสวนหลังบ้านหรือเพื่อการค้า จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการจัดการบ้าง การจัดการแก้วมังกรนั้นไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้ที่สนใจ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ที่คิดจะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตโดยไม่ใส่ใจอะไรเลย

สำหรับบทความนี้จะนำเสนอวิธีการตัดแต่งกิ่งแก้วมังกร ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการผลิตแก้วมังกรที่ให้ผลผลิตแล้ว อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เพื่อให้ออกดอกติดผลที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายปลูกแก้วมังกรแล้วมีปัญหาเรื่องการออกดอก หรือออกดอกแล้วไม่ติดผล

ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่งแก้วมังกร คือช่วยเสริมสร้างให้แก้วมังกรมีผลผลิตดีขึ้นถึง 25-30 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านี้แล้วแต่สภาพพื้นที่ปลูก ดังนั้น การตัดแต่งกิ่งจำเป็นต้องทำทุกปี เพื่อให้ผลผลิตแก้วมังกรเกิดขึ้นกับกิ่งที่แตกใหม่ซึ่งยังสาวอยู่กิ่งมีความ สมบูรณ์มากที่สุด

นอกจากนี้ การพรวนดินหรือการสับรากออกบางส่วนเป็นการตัดแต่งรากไปในตัวด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุลกันระหว่างยอดและรากที่เกิดใหม่ การตัดแต่งรากนั้นจะตัดห่างจากโคนต้น ประมาณ 30 เซนติเมตร

รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในขั้นตอนวิธีการตัดแต่งกิ่งและราก บริเวณที่ตัดแต่งรากจะเป็นบริเวณที่ให้ปุ๋ย (ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี) ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีรากใหม่เกิดขึ้น

ขั้นตอนการตัดแต่งกิ่งและรากแก้วมังกร ทำได้ดังนี้

หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว ให้ตัดแต่งกิ่งทันที โดยเลือกกิ่งที่เสียหายโดยมดทำลาย หรือกิ่งที่เกิดซ้อนทับกันมากๆ ออก ให้มีช่องว่างและสัดส่วนพอดี ไม่มากเกินไป เพราะว่าจะทำให้ค้างรับน้ำหนักมากเกินความจำเป็น นอกจากนี้ ให้สับรากบริเวณโคนต้นห่างจากโคนต้นประมาณ 30 เซนติเมตร รอบโคนต้นด้วย แล้วใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี บริเวณที่สับราก

การตัดแต่งกิ่งโดยการตัดกิ่งที่ให้ผลผลิตแล้ว โดยการตัดออกประมาณ 50 เซนติเมตร ของความยาวกิ่ง แต่ถ้ากิ่งยาวไม่ถึงก็ให้ตัดเกือบชิดข้อที่แตกออกมาจากกิ่งเดิม

โดยทั่วไปการตัดแต่งกิ่งแก้วมังกรนิยมตัด 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง ตัดออก 50-60 เปอร์เซ็นต์ ของกิ่งที่มีอยู่ จะทำให้การเกิดกิ่งใหม่เร็วขึ้นและสมบูรณ์

แบบที่สอง การตัดแบบโกร๋น คือตัดออกหมดทั้งต้น การตัดแต่งแบบนี้ต้นต้องมีเวลาเลี้ยงกิ่งสะสมอาหารนานกว่าตัดแบบแรก คือควรตัดให้เสร็จประมาณกลางเดือนมกราคม และจะออกดอกได้ในเดือน พฤษภาคมเช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยมากกว่าแบบแรก แต่ถ้าจะให้ออกดอกติดผลในฤดูกาล ให้ตัดกิ่งให้เสร็จก่อนกลางเดือนกุมภาพันธ์ และจะออกดอกประมาณต้นเดือนพฤษภาคม แล้วสามารถเก็บผลได้กลางเดือนกรกฎาคม

หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้ว ต้องให้เวลาต้นเลี้ยงกิ่งใหม่ไม่ต่ำกว่า 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่กิ่งนั้นยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร และมีอาหารสะสมเพียงพอสำหรับการออกดอก การตัดกิ่งแบบที่สอง สามารถนำมาใช้ได้กับการผลิตนอกฤดูกาลคือในเดือนกันยายน ระยะนี้เริ่มตัดแต่งกิ่งได้เลย แต่ควรตัดออกเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ ของกิ่งที่มีอยู่ เพื่อให้กิ่งที่เหลืออยู่สร้างอาหารให้กับกิ่งที่กำลังจะแตกออกมาได้มากขึ้น หลังจากนั้น ในเดือนมกราคมก็สามารถเร่งการออกดอกได้ อาจจะเร่งด้วยไฟฟ้า หรือใช้ฮอร์โมนป้ายก็ได้ผลดี

อย่างไรก็ตาม จากการทดลองเบื้องต้นของผู้เขียนพบว่า กิ่งที่เกิดใหม่มีอายุเพียง 2 เดือนครึ่ง และจะเร่งการออกดอกในช่วงหน้าหนาว โดยการป้ายฮอร์โมนที่ตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ตาที่แตกออกมาส่วนใหญ่เป็นตาใบ จึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการแตกตากับกิ่งที่มีอายุน้อยๆ

หมายเหตุ พื้นที่ปลูกของแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันด้านสภาพภูมิอากาศ สภาพความสมบูรณ์ของดิน บทความนี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น เกษตรกรควรนำไปประยุกต์หรือปรับปรุงให้เข้ากับสวนของตัวเอง ผู้อ่านท่านใด สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์วินัย วิริยะอลงกรณ์ สาขาไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290 โทร. (053) 873-387-9 ในวันและเวลาราชการ

ผมปลูกมะนาวไว้วงบ่อซีเมนต์ไว้ข้างบ้าน จำนวน 3 วงบ่อ พบว่าการเจริญเติบโตเป็นปกติดี ที่บริเวณใกล้เคียงผมปลูกกล้วยไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาเมื่อมะนาวติดผลแล้วปรากฏว่าผิวเปลือกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ผมขอเรียนถามว่า มะนาวของผมเกิดอะไรขึ้น แล้วจะแก้ไขอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ

อาการของผลมะนาวที่เล่ามา เกิดจากการเข้าทำลายของ ไรสนิม ไรชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก มีวงจรชีวิตตั้งแต่ฟักออกจากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 7-12 วัน การเข้าทำลายด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผลและใบ เข้าทำลายได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เพศเมียวางไข่ได้คราวละ 400-500 ฟอง การดูดกินที่ผลและใบ ภายใน 2 สัปดาห์ ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำปรากฏให้เห็น

หากพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว แสดงว่าไรสนิมชนิดนี้ต้องการน้ำมันจากผิวเปลือกมะนาวนำไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะเดียวกันตัวไรสนิมอาจผลิตสารบางอย่างออกมาเปลี่ยนเปลือกสีเขียวให้เป็นสีน้ำตาลอมดำ นอกจากนี้ เปลือกมะนาวจะแข็งกระด้างและแห้ง ส่งผลทำให้มะนาวแคระแกร็น ปริมาณน้ำมะนาวลดลง การระบาดของไรชนิดนี้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เกิดกับผลที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของทรงพุ่ม หรืออาจเป็นร่มเงาของต้นไม้ข้างเคียง หรือร่มเงาของอาคารที่อยู่อาศัย

วิธีแก้ไข
ต้องตัดแต่งทรงพุ่มให้แสงแดดส่องได้ทั่ว และตัดต้นไม้ข้างเคียงออกบ้าง ส่วนอยู่ใต้ร่มเงาอาคารที่พักอาศัยดังกล่าว จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกไปให้ได้รับแสงแดด อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง หากยังพบมีการระบาดอยู่บ้างให้ฉีดพ่นด้วย กำมะถันผง ที่มีจำหน่ายตามร้านค้าวัสดุการเกษตรทั่วไป อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือ 20 ลิตร ฉีดเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน อาการผลสีม่วงอมดำจะหมดไป

แต่ทั้งนี้ ต้องทิ้งระยะเวลาไว้ 3 วัน ก่อนเก็บผลมะนาวไปบริโภค หรือจำหน่ายต่อไป ผักโขม เป็นพืชผักปลอดภัยคู่ครัวที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง การหว่านเมล็ดพันธุ์ปลูกในมุ้ง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ การควบคุมป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติหรือให้น้ำเพียงพอ ต้นผักโขมก็เจริญเติบโตสมบูรณ์ได้ผักปลอดภัยเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการส่งออก ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อการยังชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง วันนี้จึงนำเรื่อง ผักโขม เกษตรกรปลูกในมุ้งได้ผักปลอดภัยเพื่อการส่งออก มาบอกเล่าสู่กัน

คุณวลัญช์อร ถมปัด รองประธานวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยในมุ้งตำบลท่ามะนาว เล่าให้ฟังว่า พืชผักปลอดภัยเป็นอาหารคู่ครัวที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย แต่!!! พืชผักปลอดภัยที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาวจึงได้ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร ปตท. พีทีที กรุ๊ป สนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ตำบลท่ามะนาวได้ทำงานร่วมกัน โดยจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยในมุ้งตำบลท่ามะนาว” มีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม 15 คน

วิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยในมุ้งตำบลท่ามะนาว ได้มีเป้าหมาย เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกษตรกรในชุมชน เพื่อให้เกษตรกรในชุมชนเป็นต้นแบบและร่วมกันปลูกพืชผักปลอดภัยเพื่อสุขภาพ หรือให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดภัยเพียงพอกับความต้องการผู้บริโภคและเพื่อการส่งออก

การดำเนินงาน ได้สนับสนุนมุ้งหรือโรงเรือน 3 หลัง แต่ละหลังมีความกว้าง ยาว และสูง ขนาด 6x12x3.5 เมตร ให้สมาชิกปลูกผักโขมพืชผักปลอดภัย ร่วมจัดหาตลาดเพื่อรองรับในการจำหน่าย ปัจจุบัน ขายผักโขมพืชผักปลอดภัย 30 บาท ต่อกิโลกรัม ให้ บริษัท แนชเชอรัลแอนด์พรีเมี่ยมฟู้ด จำกัด เพื่อจัดส่งขายให้ประเทศในแถบยุโรป

คุณป้าวาสนา ศรีสุวรรณ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยในมุ้งตำบลท่ามะนาว เล่าให้ฟังว่า วิถีชาวบ้านตำบลท่ามะนาวจะนิยมนำผักโขมหรือผักหลายๆ ชนิด มาทำเป็นอาหารคู่ครัว ด้วยการลวกหรือนึ่งกินกับน้ำพริก ทำเป็นผักผัด เป็นแกงจืดหรือแกงส้มปลาช่อนรสแซบ ทำให้ได้คุณค่าทางอาหารต่อสุขภาพด้วย

การปลูกผักโขมปลอดภัยเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือนและเพื่อการส่งออก องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะนาว ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงพลังงาน ปตท. พีทีที กรุ๊ป ได้มาส่งเสริมเกษตรกรที่ตำบลท่ามะนาวรวมกลุ่มปลูกผักโขมสลับกับการปลูกพืชผักชนิดอื่นๆ ในมุ้ง เพื่อให้ได้พืชผักปลอดภัยคุณภาพส่งขายตลาดที่ก่อให้เกิดเป็นรายได้ครัวเรือน

เกษตรกรจึงได้รวมกลุ่มเป็น วิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยในมุ้งตำบลท่ามะนาว มีสมาชิก 15 คน โดยวิสาหกิจชุมชนได้รับการสนับสนุนมุ้งหรือโรงเรือน 3 หลัง เพื่อให้ปลูกผักโขมสลับกับพืชผักชนิดอื่น ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อปลูกผักโขมปลอดภัยเพียงพอกับความต้องการและเพื่อการส่งออก

การเตรียมดิน ผักโขม เป็นพืชผักที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขังแฉะ การเตรียมดินปลูกได้ยกร่องแปลงปลูกให้สูงขึ้น กว้าง 2 เมตร ความยาวตามแนวพื้นที่ ได้เว้นระยะห่างระหว่างแปลงปลูก กว้าง 80 เซนติเมตร เพื่อให้เป็นทางเดิน นำวัสดุ แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย หรือมูลสัตว์ ใส่ลงบนแปลงปลูก อัตราส่วน ดินกับวัสดุ 2 : 1 ส่วน สับดินและวัสดุปลูกผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

พันธุ์ผักโขม ที่นำมาปลูกมี 2 พันธุ์ คือ ผักโขมแดง และผักโขมยักษ์ โดยไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักโขมจากร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตรในชุมชน วิธีการปลูก ได้หว่านเมล็ดพันธุ์ผักโขมปลูกทั่วแปลงหรือหว่านเมล็ดปลูกเป็นแถว ให้แถวห่างกัน 20-30 เซนติเมตร ทั้ง 2 วิธี ใช้เมล็ดพันธุ์ปลูกในราว 10 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วคราดดินกลบ 1-2 รอบ รดน้ำให้พอชุ่ม

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา หลังจากปลูก 7 วัน ได้ใส่ปุ๋ยด้วยการนำมูลไก่และแกลบผสมกัน โรยใส่รอบทรงพุ่มต้นผักโขม จะใส่ทุก 7 วัน ขณะเดียวกันก็ได้นำน้ำหมักชีวภาพหน่อกล้วย จุลินทรีย์ หรือน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากหัวปลามาฉีดพ่นทุก 7 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยมูลไก่

การให้น้ำ ต้นผักโขมต้องได้รับน้ำพอเพียงจึงจะเจริญเติบโตสมบูรณ์ ได้ให้น้ำผักโขมวันละ 1-2 ครั้ง เช้าหรือเย็น หรือดูความชื้นในดินก่อน การให้น้ำได้ฉีดพ่นน้ำเป็นแบบละอองฝอยให้ทั่วแปลงผักแต่พอชุ่ม

การเก็บเกี่ยว หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ผักโขมปลูกและปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาได้ 25-30 วัน ต้นผักโขมจะเจริญเติบโตพร้อมให้เก็บเกี่ยว วิธีเก็บใช้มือจับที่โคนต้น ดึงขึ้นมาช้าๆ วางต้นผักโขมลงบนภาชนะ จากนั้นนำต้นผักโขมไปล้างน้ำให้รากและใบสะอาด จัดผักโขมใส่ถุงพลาสติกเจาะรู 5 กิโลกรัม ใช้ยางรัดปากถุง พื้นที่ปลูกผักโขม 1 โรงเรือน จะได้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัม พื้นที่ปลูก 3 โรงเรือน จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กิโลกรัม และหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ที่แปลงปลูกจะมีต้นผักโขมเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ จากนั้น 15-20 วัน ก็จะเก็บเกี่ยวได้อีก 1-2 ครั้ง

คุณวลัญช์อร ถมปัด รองประธานวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยฯ เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า ฝ่ายการตลาดของวิสาหกิจชุมชนได้จัดผักโขมปลอดภัยบรรจุใส่ถุงพลาสติกเจาะรู ขายให้ บริษัท แนชเชอรัลแอนด์พรีเมี่ยมฟู้ด จำกัด เพื่อส่งไปขายต่างประเทศในแถบยุโรป โดยผักโขมปลอดภัยที่จัดใส่ถุงพลาสติกเจาะรู น้ำหนัก 5 กิโลกรัม จะขาย 150 บาท พื้นที่ 3 โรงเรือน ก็มีรายได้ 8,500-9,000 บาท ต่อครั้ง ส่งผลให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนพืชผักปลอดภัยในมุ้งตำบลท่ามะนาว มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

จากเรื่อง ผักโขม เกษตรกรปลูกในมุ้งได้ผักปลอดภัยเพื่อการส่งออก เป็นทางเลือกสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคง ให้เกษตรกรในชุมชนยังชีพได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณวลัญช์อร ถมปัด โทร. 096-295-9297 หรือ คุณป้าวาสนา ศรีสุวรรณ หมู่ที่ 2 ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี โทร. 081-495-4465 หรือ คุณกวิลยุทธ รากทอง สำนักงานเกษตรอำเภอชัยบาดาล โทร. 087-239-1780 ก็ได้ครับ

ท่ามกลางกระแสทุเรียนที่มาแรงไม่เคยตก ไม่ว่าจะปีไหนๆ ราคาก็จะพุ่งสูงไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 150-200 บาท และยิ่งถ้าเป็นทุเรียนเกรดพรีเมี่ยม พูโตๆ ก็ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นไปอีก หากพูดด้วยอารมณ์ของคนน้อยใจ ก็คือ ไม่มีที่เหลือไว้ให้สำหรับคนงบน้อยบ้างเลย แต่ช้าก่อน! อย่าเพิ่งเศร้ากันไป เพราะวันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน มีเรื่องราวดีๆ ของชาวสวนที่ระนอง มาเล่าให้ฟัง เพราะที่สวนของชายคนนี้ เขาปลูกทุเรียนอินทรีย์คุณภาพเกรดเอ แต่เอามาขายแค่ กิโลกรัมละ 120 บาท เพื่อให้พี่น้องงบน้อยได้กินของดีๆ มีอยู่จริง ที่นี่!

คุณประสิทธิ์ศิลป์ บุญเภา หรือ พี่ศิลป์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดระนอง อยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตำบล จ.ป.ร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เจ้าของสวนสังวาลย์เกษตรอินทรีย์ ผู้ตั้งปณิธานแน่วแน่ในการผลิตผักผลไม้ปลอดสาร เพราะอยากให้ทุกคนปลอดภัยจากสารเคมี จนเกิดเป็นการสร้างรายได้ และการแบ่งปันคนมีงบน้อยก็สามารถกินผลไม้ที่ราคาถูกและดีได้

พี่ศิลป์ เล่าว่า เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางเข้า UFABET ที่ตนเลือกเดินบนเส้นทางสายเกษตร จากอดีตเคยทำงานเป็นพนักงานบริษัท กลับมาสานต่อและพัฒนางานเกษตรของครอบครัวที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เริ่มต้นพัฒนาจากสิ่งที่พ่อกับแม่ได้ปูทางไว้ให้ โดยใช้ความได้เปรียบของคนรุ่นใหม่ ที่เข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้ง่ายกว่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยที่สวนที่พ่อกับแม่ทำไว้เป็นสวนผสมผสาน ปลูกผักผลไม้ไว้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน กาแฟ มังคุด ลองกอง ส้มโอ แต่ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเกิดจากรูปแบบการจัดการแปลงปลูกในสมัยที่พ่อกับแม่ทำ ยังไม่มีรูปแบบแผนที่ชัดเจน ปลูกแบบสะเปะสะปะ ปลูกไว้เยอะ แต่การจัดการดูแลไม่ทั่วถึง

ตนได้มองเห็นจุดบกพร่องตรงนี้ แล้วเริ่มต้นเข้ามาวางแผนการจัดการแปลงปลูกให้เป็นระเบียบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีส่วนของการศึกษานำนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีประโยชน์กับพืชเข้ามาใช้ภายในสวน และสุดท้ายเป็นเรื่องของการประหยัดต้นทุน มีการนำสารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก เข้ามาใช้ภายในสวน โดยศึกษาคิดค้นสูตรจากประสบการณ์ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ รวมถึงการศึกษาขอความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากได้ตระหนักเห็นแล้วว่าเทรนด์ของผู้บริโภคในอนาคตจะเป็นเทรนด์ของคนรักสุขภาพอย่างเต็มขั้น จึงเริ่มมีการวางแผนปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ทำแต่เกษตรเคมีมาตลอด เปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และความปลอดภัยของตัวเองและคนในครอบครัว

ปลูกทุเรียนอินทรีย์ ด้วยน้ำหมักชีวภาพ
สูตรทำเอง ต้นทุนต่ำ ได้ผลผลิตคุณภาพ
เจ้าของบอกว่า ปัจจุบันที่สวนก็ยังคงปลูกในรูปแบบของสวนผสมผสานอยู่ โดยเลือกปลูกทุเรียนเป็นพืชสร้างรายได้หลัก บนพื้นที่ 8 ไร่ ซึ่งในตอนนี้ยังได้ผลผลิตไม่มาก แต่เรื่องของคุณภาพไม่เป็นรองใคร ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการทำทุเรียนอินทรีย์ ได้ผลผลิตออกมาดีเป็นที่พึงพอใจ สีสวย พูโต รสชาติหวาน หอม กรอบ อร่อย แบบธรรมชาติ ด้วยเคล็ดลับการปลูกจากการใช้สารชีวภาพ น้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ที่ทำขึ้นมาเอง แต่ต้องบอกก่อนว่าการปลูกทุเรียนอินทรีย์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์และการสังเกตธรรมชาติร่วมด้วย มิฉะนั้นจะทำผลผลิตให้ได้ออกมานั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก