ดอกคูนนั้นกินสดๆ หรือจะดอง ยำ แกงส้มก็ได้ครับเฉพาะแกง

ส้มดอกคูนนั้น เราแกงเปล่าๆ เลย หรือจะเอาดอกคูนไปชุบไข่ทอดเสียก่อน เหมือนทำแกงส้มชะอมไข่ก็ยังได้ อีกอย่างหนึ่งที่อยากชวนไปหาเก็บ ชวนลองทำ ลองกิน เพราะว่าเป็นช่วงที่มีมากตามข้างทาง ก็คือ “ลูกตำลึง”

ตำลึง (Ivy Gourd) ไม้เถาล้มลุกที่คนส่วนใหญ่กินเฉพาะยอดอ่อน เป็นผักที่รสชาติดี มีเนื้อในละมุนละไม ที่สำคัญคือมันเป็นวัชพืชที่ขึ้นมากตามข้างทางทั่วไป ไม่ต้องเป็นป่ารกชัฏอะไรนักก็สามารถมีเถาตำลึงขึ้นพันรั้ว กำแพง พุ่มไม้ สายไฟ ฯลฯ ให้เราเอื้อมเด็ดยอดอ่อนมากินได้ง่ายๆ

ลูกตำลึง มีรูปพรรณสัณฐานและสีสันคล้ายแตงกวา แต่เล็กกว่า ลูกสุกสีแดงจัด กินเป็นผลไม้รสหวานได้ พวกนกก็ชอบมาจิกกิน แล้วพอพวกมันไปถ่ายมูลไว้ในที่ไกลๆ ก็เป็นการช่วยแพร่พันธุ์ตำลึงให้กระจายไปได้อีกทางหนึ่ง

ช่วงเปลี่ยนผ่านจากลูกดิบไปเป็นลูกสุกของตำลึงค่อนข้างเร็ว ภายใน 1-2 วัน ลูกดิบเขียวจะเริ่มสุกแดง ตำราอาหารโบราณ อย่างตำรับสายเยาวภา ของสายปัญญาสมาคม (พ.ศ. 2478) พูดถึงลูกตำลึงไว้ใน “หมวดผักผล” ว่า “ผลตำลึง ใช้ผลอ่อน ใช้แกงและดอง” แม้ตำราฯ ไม่ได้ระบุขั้นตอนวิธีทำ แต่เนื่องจากยังมีชุมชนที่กินลูกตำลึงดิบอยู่ไม่น้อย ถึงขนาดมีขายเป็นถุงๆ ในตลาดสดเมืองเพชรบุรี ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ เราจึงยังรู้ว่า เมื่อได้ลูกตำลึงดิบ ซึ่งควรเป็นลูกอ่อนสีเขียวที่เนื้อในและเยื่อหุ้มเมล็ดยังไม่เริ่มสุกแดง ก็ผ่าครึ่งตามยาวลูก หรือใช้สากทุบพอแตก บีบเมล็ดออกทิ้งไป แล้วเคล้าเกลือป่น คั้นให้น้ำเฝื่อนออกไปบ้าง เพียงเท่านี้ก็เอาไปทำกับข้าวกินได้

รสชาติลูกตำลึงดิบออกขมเล็กน้อย ที่ภาษาภาคกลางตอนเหนือ เช่น แถบสิงห์บุรี นครสวรรค์ เรียก “ขมหร่อมๆ” ดังนั้น นอกจากเอาไปดองเกลือแบบที่ตำรับสายเยาวภาฯ บอก ส่วนใหญ่ก็นิยมแกงคั่วใส่กะทิกัน

แกงคั่วลูกตำลึงชามแรกที่ผมกินเมื่อยี่สิบปีก่อนที่เมืองเพชรบุรี แกงกับกุ้งทะเลตัวเล็กๆ น้ำแกงไม่ข้นมาก ออกสีนวลๆ ใส่รากกระชายตำมากเสียจนรู้สึกว่าได้กินน้ำยากะทิขนมจีนรส “ขมหร่อมๆ” มันอร่อยจนผมไม่กล้าบอกว่ามื้อนั้นกินข้าวไปกี่จานเลยทีเดียว

ถ้าจะลองแกงกินสักหม้อ ก็เพียงหากะทิสด หรือกะทิกล่องสำเร็จรูปมาใส่หม้อแกง ละลายเครื่องแกงเผ็ดซึ่งเราตำปลาย่างป่นและรากกระชายแยะๆ ผสมเข้าไปจนละเอียด ยกตั้งไฟ พอเดือดก็ใส่ลูกตำลึงที่ทำไว้แล้ว จะปรุงเค็มด้วยเกลือ น้ำปลา หรือน้ำปลาร้าก็แล้วแต่ชอบ เดาะน้ำตาลปี๊บให้มีรสหวานตามเพียงเล็กน้อย

สักครู่ใหญ่ๆ ลูกตำลึงจะสุก เปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีขี้ม้า ก็ใส่เนื้อสัตว์อะไรที่เราจะกิน เช่น กุ้งสด เนื้อย่าง ปลาย่าง เนื้อปู หรือหมูสามชั้นย่างหั่นเป็นชิ้นพอคำลงไป เติมหัวหรือหางกะทิเพิ่ม ให้ได้ความข้น มัน ของน้ำแกงอย่างที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็เสร็จ

กินราดข้าวสวยร้อนๆ หรือขนมจีน ก็อร่อยทั้งนั้น ลูกตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น นอกจากมันจะถูกระบุไว้ในตำรากับข้าวโบราณแล้ว ยังพบในจารึกอโรคยาศาล สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์เขมรโบราณช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วย

โศลกที่ 4 ในด้านที่ 3 ของจารึกปราสาทตาเมียนโต๊จ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง “ผลตำลึงหนึ่งผล” รวมอยู่ในรายการเภษัชและเครื่องบูชาเทวรูปในศาสนสถาน ดังนั้น ลูกตำลึงคงเคยมีสรรพคุณทางยาเขมรสายอายุรเวทบางประการ ที่ในปัจจุบันลืมเลือนกันไปแล้ว เพราะผมลองค้นจากหนังสือการแพทย์ตำรับขอมโบราณ ซึ่งคุณศิริ ผาสุก แปลจากคัมภีร์โบราณ ฉบับภาษาเขมร ก็มีเพียงตัวยาแก้ผอมแห้งเท่านั้นที่มีส่วนผสมของผักตำลึง

ไม่ปรากฏมีที่ใช้ลูกตำลึงในตำรายาอื่นๆ แต่อย่างใด นอกจากตลาดสดเมืองเพชรบุรี ผมเคยเห็นแม่ค้าที่ตลาดโพธิ์พระยา เมืองสุพรรณบุรี เก็บลูกตำลึงดิบมาขาย ถุงละ 10 บาท มันไม่ใช่ผักที่คนที่อื่นกินกันทั่วไปจนถึงกับเอามาขายได้อย่างเมืองเพชร ดังนั้น ถ้าอยากจะกิน คงต้องตระเวนหาเก็บเองตามข้างทาง ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยนะครับ

ผมเองเมื่อออกไปปั่นจักรยานเล่นตามถนนเล็กๆ ละแวกย่านบางแค บางบอน ฝั่งกรุงเทพฯ ธนบุรี แค่ระยะทางไม่กี่กิโลเมตร ก็สามารถเก็บลูกตำลึงมาได้พอแกงหม้อใหญ่ทีเดียว เพราะถ้าจะมีใครเก็บตำลึง เขาคนนั้นก็มักจะเก็บแต่ยอดอ่อนเท่านั้น เราหมายตาได้ไม่ยากหรอกครับ สังเกตลูกสุกแดงๆ ตามพงไม้ข้างทางให้ดี เมื่อจอดรถลงไปดูตรงตำแหน่งนั้น ก็มักจะพบลูกดิบห้อยย้อยเป็นราวอยู่ด้วยเสมอ

ถ้าออกกำลังกายโดยวิ่งจ๊อกกิ้ง ก็จะยิ่งสังเกตพบได้ง่ายกว่าพวกขี่จักรยานอย่างผมเสียอีกนะครับ

ช่วงเวลาอันยากลำบากของการเข้าสมาคม ระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงนี้ ใครจำต้องเปลี่ยนจากเข้าสถานออกกำลังฟิตเนส ไปเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน รับอากาศเปิดโล่งของเมือง ก็ลองใช้ความสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างกิจกรรมสันทนาการนั้น เปลี่ยนวัชพืชข้างทางเป็นกับข้าวกับปลาที่อาจจะอร่อยถูกปากชนิดคาดไม่ถึงกันดูบ้างซิครับ

ไม่แน่นัก มันอาจจะเปลี่ยนทัศนะมุมมองเกี่ยวกับวัตถุดิบอาหารในเมือง หลังโลกถูกจัดระเบียบใหม่ด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่าครั้งนี้ก็ได้

หลังการเขย่าครั้งใหญ่อันน่าสะพรึงกลัว ย่อมไม่มีอะไรหยุดอยู่ที่เดิม

อาหาร รวมถึงกระบวนการผลิต ตอบสนอง ตลอดจนขั้นตอนการจัดการวัตถุดิบอาหาร ก็เช่นเดียวกัน เหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันในทะเลที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการรั่วไหลเล็กน้อยจากเรือหรืออุบัติเหตุครั้งร้ายแรงของท่อขนส่งน้ำมัน สร้างผลกระทบหนักกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในทะเล รวมถึงบริเวณชายฝั่ง ประกอบกับประเทศไทยมีการเพาะปลูกมันสำปะหลังซึ่งจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า ประเทศไทยมีผลผลิตมันสำปะหลังกว่า 29 ล้านตัน ในปี 2564 และเป็นที่ทราบกันว่าเกือบทุกชิ้นส่วนของมันสำปะหลัง อาทิ หัวและเปลือก ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ยกเว้นลำต้นมันสำปะหลัง ซึ่งจะพบว่าในช่วงเก็บเกี่ยวลำต้นของมันสำปะหลังจะยังนำมาใช้ประโยชน์น้อยและถูกทิ้งไว้

จึงเป็นที่มาของ “โครงงานวัสดุชีวภาพสำหรับดูดซับคราบน้ำมันในทะเล” ของน้องๆ 4 นักศึกษา จากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย นางสาวพรไพลิน ลิปภานนท์ (ผักกาด), นางสาวปิยฉัตร เสียมไหม (แพร) นักศึกษาชั้นปีที่ 2, นายกันต์ ขยันยิ่ง (กันต์) และ นายตนปพน ปริยานันทวัฒน์ (เพชร) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภายใต้ชื่อทีม It’s a cassava! ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำผลงานเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ในโครงการ “PTTEP Teenergy : Young Ocean for Life Innovation Challenge” ที่ ปตท.สผ.จัดขึ้น และผลงานชิ้นนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในหัวข้อ PROTECT เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

โดยไอเดียการนำไส้มันสำปะหลังมาเพิ่มมูลค่าเป็น “วัสดุชีวภาพสำหรับดูดซับคราบน้ำมันในทะเล” หรือ “สารชีวมวลดูดซับคราบน้ำมันในทะเล” นี้ นางสาวปิยฉัตร เล่าว่า เป็นการนำโครงการในสมัยมัธยมศึกษาตอนปลายมาต่อยอด จากที่เคยนำไส้มันสำปะหลังไปเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับความชื้นในซองขนมแทนซิลิกาเจล ที่ใช้คุณสมบัติการดูดซับของไส้มันสำปะหลังมาประยุกต์ใช้เป็นวัสดุ หรือสารชีวมวลดูดซับคราบน้ำมันแทน ซึ่งโครงงานนี้เป็นการศึกษาทดลองในระดับ Lab-scale คือ ทำเป็นทุ่นจำลองขึ้นมาแล้วนำไปดูดซับน้ำมันในภาชนะ

นายตนปพน เสริมว่า หลักการทำงานของไส้มันสำปะหลังนั้น สามารถดูดซับของเหลวได้ค่อนข้างดี เราจึงมองว่าน่าจะสามารถดูดซับน้ำมันได้เช่นกัน โดยมีการปรับเปลี่ยนสภาพพื้นผิวของไส้มันสำปะหลังเล็กน้อย จึงไปค้นหาข้อมูลงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับการทดลองนำวัสดุชีวภาพมาปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารเคมี แล้วนำมาปรับใช้กับไส้มันสำปะหลัง เพื่อให้สามารถดูดซับน้ำมันได้มากขึ้น ก็พบว่า สารไคโตซานมีความเหมาะสมสามารถนำมาใช้ในการทดลอง

“ผลการทดลองใช้ไส้มันสำปะหลังดูดซับน้ำมันได้ดี และมีข้อดีของไส้ต้นมันสำปะหลังมากกว่าวัสดุดูดซับอื่น คือไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในทะเล ราคาถูก เป็นของเหลือใช้จากวัตถุดิบทางการเกษตรของประเทศไทย และทุกคนก็สามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้ง่าย” นางสาวพรไพลิน กล่าว

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานนั้น เราเริ่มจากการเตรียมไส้ต้นมันสำปะหลังให้มีขนาดเล็ก จากนั้นนำไปอบเพื่อไล่ความชื้นและปรับสภาพการศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันของไส้ต้นมันสำปะหลังพบว่า ไส้มันสำปะหลังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 3.35 มิลลิเมตร ที่ผ่านการปรับปรุงพื้นผิวโดยการแช่ไคโตซาน มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันได้ดีกว่าไส้มันสำปะหลังขนาดอื่น และสามารถดูดซับน้ำมันได้ดีกว่าวัสดุดูดซับชนิดอื่น เช่น ใบสน แกลบ และเส้นผม เป็นต้น

นางสาวปิยฉัตร กล่าวว่า จากการทดสอบในห้องแล็บด้วยการทำทุ่นจำลอง ที่นำไส้มันสำปะหลังบรรจุในถุงผ้าขาวบาง ลงไปแช่ในภาชนะที่ใส่น้ำที่ผสมสีเขียวและน้ำมันดีเซลพบว่า ไส้ต้นมันสำปะหลังที่ถูกปรับสภาพพื้นผิว สามารถดูดซับน้ำมันได้ดีและดูดซับน้ำได้น้อย สังเกตได้จากสีเขียวของน้ำที่ติดไส้มันสำปะหลังน้อยมาก

“ผลจากการศึกษาเบื้องต้น ในการดูดซับน้ำมันจากไส้มันสำปะหลังพบว่า เมื่อนำไส้มันสำปะหลังไปแช่ในไคโตซานเพื่อปรับสภาพพื้นผิว จะเห็นว่ามีการดูดซับน้ำมันได้มากขึ้นกว่าตอนไม่ได้แช่ในไคโตซาน โดยไส้มันสำปะหลังที่ผ่านการปรับปรุงพื้นผิว สามารถดูดซับน้ำมันและขยายตัวเพิ่มขึ้น”

ด้านนายกันต์ กล่าวว่า การสร้างนวัตกรรมไส้ต้นมันสำปะหลังดูดซับน้ำมันนี้ เราได้นำความรู้จากห้องเรียน โดยเฉพาะการทดลองในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์และเคมีไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี และจากการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้ในหลายด้าน ทั้งเรื่องการแบ่งเวลาการเรียนและการทำโครงงาน การบริหารจัดการเวลา ความอดทน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยเฉพาะการทำวิจัยในห้องแล็บในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี

อย่างไรก็ตาม ผลงานวัสดุทางชีวภาพสำหรับดูดซับน้ำมันในทะเลจากไส้ต้นมันสำปะหลังของนักศึกษากลุ่มนี้ แม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ได้จุดประกายให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของวัสดุเหลือทิ้งทางภาคเกษตร ที่สามารถนำมาต่อยอดขยายผลยกระดับเพิ่มมูลค่าให้เป็นวัสดุหรือสารที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ทดแทนตัวดูดซับสังเคราะห์ที่มีราคาแพงและย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ ที่สำคัญเป็นของที่หาได้ง่าย ราคาถูก และผลิตเองได้ในประเทศ

“ฝรั่ง ผลไม้ยอดนิยมตลอดกาล อาจจะมีช่วงเวลาที่ถูกบ้าง เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ ราคาฝรั่งก็เช่นกัน”

คุณวราภรณ์ ขุนพิทักษ์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์เมืองสมุทรสาคร อยู่บ้านเลขที่ 18/1 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หญิงเก่งผู้ยึดมั่นอาชีพเป็นเกษตรกรทำสวนฝรั่งมานานกว่า 20 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำมามีการสะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ จนสามารถคาดการณ์การตลาดได้อย่างแม่นยำ เอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ แม้แต่สถานการณ์โควิด-19 ที่ธุรกิจทุกอย่างต้องหยุดชะงักลง แต่ก็ไม่สามารถหยุดยอดขายของเธอคนนี้ได้ คิดหาทางออกได้อย่างทันท่วงที สามารถสร้างรายได้จากการปลูกฝรั่งเดือนละกว่า 300,000 บาท

“ฝรั่งกิมจู” ผลไม้สร้างชีวิต ปลูก 20 ปี
ฟันรายได้เดือนละ 300,000 บาท
คุณวราภรณ์ เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ปลูกฝรั่งมานานกว่า 20 ปี ว่า ตนเริ่มต้นปลูกฝรั่งครั้งแรกบนพื้นที่เพียง 1 ไร่ และได้มีการขยายพื้นที่ปลูกมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกฝรั่ง จำนวน 30 ไร่ แบ่งปลูกเป็น 3 แปลง และกำลังที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีกเป็นแปลงที่ 4 เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีมากขึ้น โดยเลือกปลูกฝรั่งกิมจูเป็นหลัก เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ทานง่าย ถูกใจผู้บริโภคทุกระดับ สามารถส่งขายได้ทั้งตลาดโรงงาน ตลาดห้างโมเดิร์นเทรด และตลาดสดในชุมชนทั่วไป ด้วยจุดเด่นของฝรั่งกิมจูที่มีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อฟู ประโยชน์สูง รวมไปถึงผลตอบแทนทางด้านรายได้ เพราะฝรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ให้ผลผลิตเร็ว เพียง 8 เดือน อีกทั้งยังให้ผลตอบแทนสูง ได้เงินไว และถ้าหากมีการวางแผนการปลูกที่ดีแล้ว เกษตรกรสามารถทำผลผลิตให้ออกได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้เข้ากระเป๋าได้ทุกวัน

เทคนิคการปลูก ให้มีผลผลิตออกตลอดทั้งปี
ก่อนที่จะไปถึงเทคนิคขั้นตอนการปลูก คุณวราภรณ์ บอกว่า ต้องอธิบายให้เกษตรกรเข้าใจตรงกันก่อนว่า พืชผักผลไม้ทุกชนิดมีราคาขึ้น-ลง แล้วแต่ช่วงฤดูกาลถือเป็นเรื่องปกติ มีช่วงราคาถูก-แพง ในรอบปี ฝรั่งก็เป็นเช่นเดียวกันกับผลไม้ชนิดอื่นที่พอถึงฤดูกาลที่ผลผลิตออกมามากมายพร้อมกัน ราคาก็จะถูกลงมา ซึ่งจากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่ในวงการฝรั่งมานานกว่า 20 ปี สามารถบอกได้เลยว่าช่วงไหนราคาฝรั่งจะถูกหรือแพง คือฝรั่งจะมีราคาถูกให้สังเกตง่ายๆ ก็ช่วงเวลาที่โรงเรียนปิดเทอม หรือช่วงที่เงาะออก ส่วนช่วงที่ฝรั่งมักมีราคาแพง จะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีผลไม้ชนิดไหนออกสู่ตลาด อย่างช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ในช่วงนี้ผลผลิตจะมีราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 30-40 บาท กับอีกช่วงคือเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับหลายเทศกาล ดังนั้น เมื่อรู้อย่างนี้แล้วตนจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้มีผลผลิตออกมาชนกับสวนอื่น ด้วยการวางแผนก่อนผลิตล่วงหน้าว่า จะให้ผลผลิตเก็บได้ในช่วงไหนก็ให้นับย้อนกลับไป 5 เดือน แล้วโน้มกิ่งให้ฝรั่งแตกยอดใหม่ เพื่อที่จะให้ผลผลิต หรือนับจากการห่อผล 3 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ และฝรั่งจะเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ก็จะต้องโน้มกิ่งต้นเดือนมีนาคมนั่นเอง

เทคนิคการปลูก ฝรั่ง เป็นพืชที่ปลูกซ้ำที่แล้วจะไม่ค่อยดี เพราะฉะนั้นการเตรียมดินปลูกในแต่ละครั้งจำเป็นต้องเตรียมดินใหม่ทั้งหมด จะปลูกซ้ำหน้าดินเดิม หรือปลูกร่องเดิมไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราที่เป็นสาเหตุหลักทำให้ฝรั่งยืนต้นตายได้ ซึ่งข้อดีผู้ที่ปลูกฝรั่งจะรู้ดี เพราะฉะนั้นการเตรียมดินใหม่ที่ถูกต้องจำเป็นต้องมีการไถยกร่องปรับหน้าดิน ตากดินทิ้งไว้ 2-3 เดือน แล้วไถ นำรถตีดินเข้ามาตีหน้าดินอีกรอบเพื่อให้ดินละเอียดขึ้น แล้วเตรียมขุดหลุมปลูกด้วยกิ่งตอน เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพราะถ้าปลูกโดยใช้กิ่งชำราคาจะสูงกว่า ที่สวนจะทำกิ่งพันธุ์เอง จึงเลือกใช้กิ่งตอน และประเด็นสำคัญที่สุดคือการปลูกด้วยกิ่งตอนจะช่วยลดปัญหาการเกิดเชื้อราจากแกลบดำได้ เพราะฉะนั้นหากใช้กิ่งตอนปลูกจะไม่ค่อยประสบกับปัญหายืนต้นตาย ที่นับเป็นปัญหาหลักที่เกษตรกรหลายคนถอดใจ

ระยะห่างระหว่างต้น ที่สวนจะใช้วิธีการปลูกแบบยกร่องสวน เนื่องจากเป็นเขตที่ลุ่ม ขนาดร่อง 2 เมตร บนร่องปลูก 2 แถว แบบสลับฟันปลา ระยะปลูก ประมาณ 1.5 เมตร ซึ่งข้อดีของการปลูกแบบสลับฟันปลา คือ 1. จะได้จำนวนต้นเพิ่มขึ้น 2. หากมีอาการยืนต้นตายในต้นที่มีอายุ 2 ปีไปแล้ว เมื่อตัดต้นทิ้งไปจะทำให้แปลงดูไม่โล่งจนเกินไป

ระบบน้ำ ใช้เรือรดน้ำตามร่องสวน หากปลูกโดยใช้กิ่งตอนช่วงแรกจะรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อพ้นเดือนแรกไปแล้ว ให้รดน้ำลงมาเหลือเป็นวันเว้นวัน หากวันไหนฝนตกก็ให้งดน้ำ ฝรั่งจะเริ่มเก็บได้เมื่ออายุ 8 เดือน หลังปลูก โดยในรอบ 1 ปี จะทำชุดใหญ่ 3 ชุด โดยชุดที่จะมีราคาแพงที่สุด จะเป็นชุดที่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นฝรั่งที่จะต้องโน้มกิ่งในช่วงต้นเดือนมีนาคม การโน้มกิ่งฝรั่งจะทำให้ฝรั่งแตกยอดพร้อมกับออกดอกบนกิ่งที่โน้ม โดยการปักไม้ไผ่รวกให้รอบทรงพุ่ม เลือกกิ่งที่ยาว โน้มลงมาแล้วใช้เชือกยึด ผูกติดกับไม้ไผ่รวก ตัดปลายกิ่งออก แล้วยอดใหม่จะแตกออกมา รอให้เก็บเกี่ยวผลผลิตอีกครั้ง

ปุ๋ย จะดูแลให้ฝรั่งต้นสมบูรณ์ตลอดทั้งปี โดยหลังจากโน้มกิ่งแล้ว จะใส่ปุ๋ย 25-7-7 เพื่อเร่งยอดบำรุงต้น หลังจากนั้น อีก 15 วัน ใส่ 16-16-16 เมื่อผลโตขนาดเท่าผลส้มจะเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมีอัดเม็ด ที่มีธาตุอาหารแคลเซียม แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะทำให้ฝรั่งผิวสวย ฝรั่งผิวออกขาว ไม่เขียว และรสชาติหวาน กรอบ เนื้อฟู ทางใบพ่นน้ำส้มควันไม้อย่างต่อเนื่องทุก 7-10 วัน เพื่อช่วยในด้านการเจริญเติบโต ความสมบูรณ์ของต้น และยังช่วยกันแมลงอีกด้วย แคลเซียม-โบรอน พ่นประจำไม่ให้ขาด จะช่วยทั้งเรื่องเพิ่มความสมบูรณ์ของดอก เพิ่มการติดผลดก ขั้วเหนียว ผลกรอบ รสชาติหวาน และช่วงใกล้เก็บเกี่ยวเสริมน้ำตาลทางด่วนเพื่อเพิ่มรสชาติช่วยอีกแรง

ปริมาณผลผลิต
ฝรั่ง 30 ไร่ สามารถทำผลผลิตให้ออกขายได้ทุกวัน วันละ 80-100 ลัง น้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม ต่อลัง ถือว่าผลผลิตโดยรวมอยู่ในจำนวนที่เยอะ และในผลผลิตจำนวนนี้เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งหมด เนื่องด้วยฝรั่งของที่สวนสามารถทำให้รสชาติคงที่สม่ำเสมอเท่ากันตลอดฤดูกาล คือ มีผิวสวย รสชาติหวาน กรอบ เนื้อฟู และที่สำคัญจะคัดแต่ของดีๆ ส่งเท่านั้น ทำให้เป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้รับซื้อ ใช้ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าเป็นสำคัญ เนื่องจากที่สวนทำการตลาดเองทั้งหมดโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ผลผลิตลูกไหน หรือลังไหนไม่ดีจะไม่ส่งให้ลูกค้าอย่างแน่นอน และอีกเรื่องที่สำคัญ คือความสม่ำเสมอ พยายามทำผลผลิตอย่าให้ขาด เพื่อไม่ให้เสียพ่อค้าแม่ค้าเจ้าประจำไป เพราะถ้าเมื่อใดที่ผลผลิตขาดไปแม้แต่ครั้งเดียว อาจทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่รับซื้อประจำหายไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นการวางแผนการผลิตถือเป็นเรื่องสำคัญมาก และที่สวนวราภรณ์ยึดมั่นสิ่งนี้มาตลอด ทำให้ทุกวันนี้ฝรั่งกิมจูของที่สวนมีผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยสามารถแบ่งเป็นตลาดหลักได้ ดังนี้

ตลาดโรงงาน จะรับซื้อฝรั่งที่มีลักษณะ กรอบ แข็ง กดไม่ลง ผิวอมเขียว เพื่อนำไปเข้ากระบวนการตัดแต่งต่อไป
ตลาดห้างแม็คโคร จะรับซื้อฝรั่งที่มีลักษณะรสชาติหวาน กรอบ เนื้อฟู พร้อมทาน
ตลาดสดทั่วไป จะรับซื้อฝรั่งที่มีลักษณะเหมือนกับตลาดห้าง คือ รสชาติหวาน กรอบ เนื้อฟู พร้อมทาน
ตลาดออนไลน์ เป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ระบาดขึ้นมา ทำให้การค้าขายยากขึ้น ตลาดปิด จึงต้องมีการระบายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นไปได้สวย เพราะสามารถทำยอดขายออนไลน์ได้วันละไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม
รายได้ จากพื้นที่ปลูกฝรั่ง จำนวน 30 ไร่ วางแผนตัดฝรั่งขายทุกวันจันทร์-ศุกร์ 1 เดือน ทำรายได้กว่า 300,000 บาท ขายเองทั้งหมด โดยไม่ผ่านพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง

แนะนำเกษตรกรให้อยู่รอด
แม้ต้องประสบกับปัญหาด้านราคา
“ฝรั่งถึงจะล้นตลาด แต่จะล้นแค่ระยะเวลาสั้นๆ สมัคร GClub คือบางคนเห็นราคาถูก ตัดทิ้งเลยนะ แต่จริงๆ พี่จะบอกว่าพอหมดช่วงล้นปุ๊บ มันจะกลายเป็นช่วงขาดตลาดทันที จากราคา 6 บาท ขึ้นไป 30 บาท เพราะฉะนั้นถ้าเราอดทนรอให้ผ่านพ้นช่วงผลผลิตล้นตลาดไปได้ เราก็กลับมาเหมือนเดิม ซึ่งก็จะเป็นแบบนี้ทุกปี และอีกเรื่องสำคัญคืออยากเน้นให้สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกไม่มาก ให้ทำตลาดเอง ปลูกเอง ขายเองตามตลาดนัด ตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพราะจากประสบการณ์ที่พี่เคยเจอมาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ฝรั่งราคาถูกมาก ทั้งพ่อค้าตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง เขาตีให้ราคากิโลกรัม 6 บาท ตอนนั้นพี่มี 30 ไร่ แล้วพี่คิดว่าพี่อยู่ไม่ไหวแน่กับราคา 6 บาท และประกอบกับที่ช่วงนั้นฝรั่งที่สวนกำลังตัดวันละเป็น 100 ลัง พี่ก็ตัดสินใจเลิกส่งพ่อค้าในตลาดใหญ่ไปก่อน แล้วเริ่มต้นโพสต์เฟซบุ๊กขายเอง พยายามเข้าไปโพสต์ขายในหลายๆ กลุ่ม เพื่อให้แม่ค้ามาซื้อ ส่วนที่เหลือพี่ออกไปขายเองตามตลาดนัด เข้าไปขอพื้นที่ขายตามกรม กอง ต่างๆ จากขายให้ตลาดใหญ่กิโลกรัมละ 6 บาท แต่พอมาขายเองขายได้กิโลละ 35 บาท 3 โล 100 บาท พี่ถึงได้อยู่ผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้” พี่วราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจติดต่อซื้อกิ่งพันธุ์ฝรั่งกิมจูไปปลูก ราคาเริ่มต้น 15-30 บาท สำหรับกิ่งตอน ราคา 15 บาท กิ่งชำ 30 บาท ซื้อแล้วมีบริการหลังการขาย แนะนำเทคนิคจนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โทร. 097-043-8939

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการเรียนในรายวิชาส่งเสริมการเกษตร ของสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ซึ่งเป็นรายวิชาส่งเสริมการเกษตรในความดูแลของ อาจารย์ธนากร เที่ยงน้อย ในบทเรียนการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านการเกษตร อาจารย์ให้พวกเราลงพื้นที่สัมภาษณ์กับเกษตรกร เพื่อให้พวกเราได้สัมผัสกับชีวิตเกษตรกรและได้ทดลองเป็นนักข่าวไปพร้อมๆ กัน แล้วจึงนำข้อมูลมาเขียนเป็นบทความส่งเพื่อให้อาจารย์พิจารณา หากบทความของใครน่าสนใจก็มีโอกาสจะได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสารมติชนบท เทคโนโลยีชาวบ้าน อย่างที่ท่านผู้อ่านได้เห็นกันตอนนี้

ที่มาของ สวนเปนูเอล (Penuel)
สวนเปนูเอล (Penuel) เป็นสวนผักออร์แกนิกของ คุณขวัญหล้า เนื่องจำนงค์ ที่บ้านเลขที่ 200 หมู่ที่ 13 ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

ก่อนจะมาเป็นสวนเปนูเอลออร์แกนิก คุณขวัญหล้า เล่าว่า ตอนแรกเราเปิดเป็นร้านอาหารแต่พอเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนการจ้างกุ๊กทำอาหารจึงยากมากขึ้น เลยตัดสินใจเปลี่ยนมาทำบ้านให้กลายเป็น Home Stay เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อน แต่หลังจากที่เวลาผ่านไป เริ่มมีคนทำ Home Stay จำนวนมากขึ้นจึงทำให้รายได้ของเราลดลง เลยหันมาลองปลูกผัก เนื่องจากสามีเป็นปลัดอำเภอ ได้มีโอกาสลงพื้นที่ไปดูชาวบ้านปลูกพืชผักจึงซึมซับแล้วนำมาประยุกต์ลองปลูกผักรับประทานเองในครอบครัว จากที่ปลูกผักเพื่อเอาไว้รับประทานกันเองในครอบครัวจนเริ่มสนุกกับการปลูกผัก จำนวนผลผลิตผักเยอะขึ้นจึงเริ่มขาย ขยายไปจนถึงการส่งผักขายที่ตลาด

คุณขวัญหล้า กล่าวว่า เราลองผิดลองถูก ศึกษาวางแผนวิธีการปลูกผักมาหลายปี ช่วงแรกๆ ขาดทุนจนรู้สึกท้อ แต่เราแน่วแน่ ตั้งใจจะทำผักออร์แกนิก สิ่งที่ผ่านมาทำให้เราเรียนรู้ว่าทุกครั้งที่เราทำอะไรไปในแต่ละปี มันเป็นประสบการณ์ของเรา เป็นสิ่งที่เรามองว่าควรพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยความอดทนและมุ่งมั่นของคุณขวัญหล้า ทำให้กลายเป็นสวนผักออร์แกนิกที่มั่นคงได้มาจนถึงทุกวันนี้