ดอยแม่สลองมีสินค้าของฝากขึ้นชื่อหลายอย่างหนึ่งในนั้นก็คือ

ผลไม้แปรรูป จาก ผลไม้เมืองหนาวหลายชนิด เช่น เชอรี่ บ๊วย ลูกไหน ลูกท้อ ที่มีรสชาติอร่อยจนหลายคนติดใจ ส่งขายทั่วไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ช่วงปลายฤดูหนาว ประมาณช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ ดอกบ๊วยหรือที่คนจีนเรียกว่า “ ดอกเหมย ” จะเริ่มผลิบานสะพรั่งบนดอยแม่สลอง ต้นบ๊วย จัดอยู่ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับพลัม ลูกท้อ เชอร์รี่ อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง ดอกบ๊วยมีขนาดเล็กประมาณ 1 – 3 ซ.ม.มีหลากสีสัน ตั้งแต่ขาว ชมพู แดง และเข้มเป็นสีแดงสดเลยก็มี

ผลบ๊วยรูปร่างกลม มีร่องจากขั้วไปถึงก้น ผลดิบสีเขียว มีกลิ่นหอมและรสอมเปรี้ยว เมื่อผลสุกเปลี่ยนสีเหลือง ค่อยเปลี่ยนเป็นผลสีแดงเมื่อสุกเต็มที่ ในช่วงต้นฤดูร้อนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม เนื่องจากดอยแม่สลอง มีความสูงเกิน 500 เมตร จึงสามารถปลูกผลไม้เมืองหนาวได้หลายชนิด เช่น ลูกไหนแดง ลูกไหนดำรสชาติหวาน รวมทั้งลูกท้อ(ลูกพีซ) ที่มีรสชาติหอมหวานอมเปรี้ยว ซึ่งผลไม้ดังกล่าวจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงเดียวกันคือ เมษายน-พฤษภาคม ของทุกปี

ทุกวันนี้ พันธุ์บ๊วยที่ใช้ปลูกบนดอยแม่สลอง เป็นบ๊วยพันธุ์ดั้งเดิมที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งไม่ทราบชื่อพันธุ์ที่แน่นอน ชาวบ้านนิยมขยายพันธุ์ต้นบ๊วย ด้วยวิธีติดตา โดยเลือกใช้ บ๊วยพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้นตอขยายพันธุ์ เพราะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าต้นตอท้อ เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์บ๊วย ในช่วงต้นพักตัว เมื่อผ่านระยะการพักตัวแล้ว ตาที่ติดไว้ก็จะแตกและเจริญเติบโตต่อไป ต้นบ๊วยที่ติดตาจะให้ผลผลิตในปีที่ 4-5 หลังการปลูก

โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมปลูกต้นบ๊วยในระยะห่าง 1x1x1 เมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยคอก เพื่อให้ดินร่วน โปร่ง ต้นบ๊วย จะเจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก ระยะที่บ๊วยออกดอก เป็นช่วงที่บ๊วยต้องการน้ำค่อนข้างมาก แต่ในช่วงที่ติดผลแล้ว หากเจอฝนตกชุก อาจทำให้ผลร่วงได้ เกษตรกรจะนิยมใส่ปุ๋ยต้นบ๊วยปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเริ่มแตกตาหรือก่อนออกดอกเล็กน้อยโดยให้สูตร 13-13-21 และให้ปุ๋ยอีกครั้งหลังเก็บเกี่ยวโดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก่อนที่ต้นบ๊วยจะพักตัว

ธุรกิจผลไม้แปรรูปดอยแม่สลอง เติบโตทุกปี “อาเปา” หรือ “คุณธีรเกียรติ ก่อเจริญวงค์ ” เกษตรกรผู้ปลูกบ๊วยและเป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนก่อเสริมดอยแม่สลอง” เล่าให้ฟังว่า ที่ผ่านมามีผลไม้เมืองหนาว เช่น เชอรี่ บ๊วย ท้อ ลูกไหนเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากจนล้นตลาด ขายได้ราคาต่ำ และไม่มีตลาด หรือ โรงงานรองรับ ทางกลุ่ม ” วิสาหกิจชุมชนก่อเสริมดอยแม่สลอง” จึงเกิดแนวคิดที่จะนำผลไม้ที่ล้นตลาดมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ในกลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เบื้องต้นอาเปาใช้เงิน 2 แสนบาท ลงทุนแปรรูปผลไม้ โดยทดลองดองผลไม้ครั้งแรกใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ลองผิดลองถูกมาตลอด ปรับเปลี่ยนสูตรหลายครั้ง จากการสอบถามจากการอ่านในหนังสือและเคยมีโอกาสเดินทางไปประเทศจีนได้ไปดูการดองผลไม้ของประเทศจีน และนำมาปรับใช้ จนปัจจุบันได้ปรับสูตรและเพิ่มรูปแบบอีกหลายชนิด เช่น เชอรี่แดง บ๊วยแดง บ๊วยอบน้ำผึ้ง บ๊วยทับทิม บ๊วยหยก บ๊วย ๕ รส บ๊วยซากุระ ท้อเส้น ปัจจุบันสินค้าทุกรายการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขด้านอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีรายได้เข้าสู่ชุมชนปีละ 20 ล้านบาท

เมื่อถามถึงขั้นตอนการแปรรูปผลไม้ อาเปาบอกว่า การดองผลไม้ มีส่วนผสมสำคัญประกอบด้วย ผลไม้83 %เกลือเม็ด 10 % น้ำตาลทราย 5 % กรดซิตริก(กรดมะนาว) 2 % ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการคัดผลไม้ที่เน่าเสียออก นำเข้าเครื่องคัดขนาด นำผลไม้สดมาล้างน้ำเพื่อทำความสะอาด เมื่อล้างเสร็จแล้ว นำมาพักน้ำแล้วนำมาผสมกับน้ำเกลือที่เติมกรดซิตริก เสร็จแล้วเทลงถังหมัก หมักไว้ประมาณ 60 วัน หลังจากนั้น นำผลไม้ที่หมักในน้ำเกลือ นำออกมาตากแดดให้แห้งประมาณ 3 วัน แล้วนำผลไม้ที่ตากแดดจนแห้งแล้วมาล้างด้วยน้ำสะอาด นำน้ำตาลทรายมาเคี่ยวจนเป็นน้ำเชื่อมตามอัตราส่วน นำผลไม้ที่เตรียมไว้ลงไปเชื่อมในน้ำเชื่อมที่เตรียมไว้ปิดฝาทิ้งไว้ 20 วัน ตักผลไม้ที่แช่ในน้ำเชื่อมออกมาตากแห้งทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน นำผลไม้ ที่ตากแห้งมาเก็บไว้ เพื่อบรรจุ พร้อมจำหน่าย

อีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้ การแปรรูปผลไม้ของวิสาหกิจชุมชนฯ แห่งนี้มีคุณภาพดีและมีมาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด ได้แก่ 1.การดองผลไม้ทุกครั้งต้องคัดผลไม้ที่เน่าเสียอออก และล้างทำความสะอาด 2. ผลไม้ที่ดองในแต่ละชุดต้องคัดขนาดให้เท่ากัน 3. ทุกขั้นตอนต้องเน้นความสะอาด 4. การดองผลไม้ต้องดองในน้ำเกลือผสมกับกระซิตริกตามอัตราส่วนพร้อมกัน ปัจจุบันผลไม้แปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจฯ มีกำลังการผลิตเฉลี่ย 225,000ก.ก./ปี ราคาขายส่ง 55 บาท/หน่วย โดยลูกค้าหลักได้แก่ ตลาดไท กรุงเทพมหานคร 50 % เชียงใหม่ 15 % เชียงราย 15 % แม่ฮ่องสอน 10 % นครราชสีมา 5 % ลูกค้าทั่วไป 5 %

เนื่องจากทางกลุ่มฯ มีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขด้านอาหารและยา ( อย. ) ทำให้สินค้ามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป และขายดีตลอดทั้งปี ทำให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนในระดับตำบลแม่สลองนอก มีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมกิจการไม่ขาดสาย

วันที่ 28 ธันวาคม นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และแกนนำ กปปส. โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พี่น้องชาวสวนยางผู้มีอาชีพเกี่ยวกับสวนยางพาราทุกท่าน

ราคายางพาราตกต่ำเป็นเหตุให้พี่น้องเกษตรกรและผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ร่วมกันแก้ไข ขณะนี้ผมเห็นว่ารัฐมนตรีทั้ง 2 ท่านเดินมาถูกทางแล้ว แต่ยังไม่ทันอกทันใจพี่น้องเกษตรกร เพราะราคายางพาราตกต่ำมาร่วม 4 ปีแล้ว ขณะนี้เรามีความหวังกับมาตรการต่าง ๆ ดังนั้น ผมขอทำความเข้าใจและสนับสนุนต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ดังต่อไปนี้

(1) สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง

การเกิดวิกฤติการณ์ราคายางตกต่ำส่งผลกระทบต่อรายได้ในการครองชีพพื้นฐานของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางมาต่อเนื่อง นอกเหนือจากปัญหาความเป็นไปของพลวัตในสถานการณ์โลกทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศราคาน้ำมันและสถานการณ์อื่นๆ ของโลกที่มากระทบต่อราคายางตามที่นักวิชาการมักจะอ้างถึงแล้วนั้นยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากภายในประเทศซึ่งสามารถแก้ไขได้ ในเรื่องเหล่านี้

1.1 ความเชื่อมั่นต่อนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคายาง 1.1.1 ขาดความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ
ความไม่จริงจังและขาดความร่วมมือในการนำนโยบายไปปฏิบัติจริงของหน่วยงานภาครัฐ ก่อให้เกิดความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของรัฐบาล ทำให้เกิดวิกฤติทางด้านความเชื่อมั่นต่อนโยบายรัฐบาลมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำยางพาราไปใช้ในโครงการต่างๆของหน่วยงานภาครัฐ การเชื่อมต่อนโยบายเพื่อแก้ปัญหาด้านการดูดซับยางออกจากระบบซึ่งดูอืดอาดยืดยาดไปหมด

1.1.2 การมองข้ามองค์กรแก้ไขปัญหายางพารา
จะเห็นว่าเมื่อเกิดวิกฤติทางด้านราคายางถึงขั้นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางเดือดร้อนรายได้ไม่เพียงพอกับการครองชีพระดับพื้นฐาน ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบทยอยกันให้ข่าวรายวันสะเปะสะปะขาดความเชื่อมโยงกับข้อมูลข้อเท็จจริงและขาดความเป็นเอกภาพ ไม่พยายามที่จะใช้เวทีของการการประชุมมาแก้ปัญหาในขณะที่มีคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ กนย.ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเกี่ยวกับยางพาราอย่างครบครันอยู่แล้วทิ้งระยะเวลาปรึกษาหารือยาวนานเกินไป ถึง 8 เดือนเศษคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) ประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560 และครั้งสุดท้ายเป็นครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560

1.1.3 ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธาความเชื่อมั่นต่อนโยบายไปทุกภาคส่วนทั้งพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการ ผู้ใช้ยางธรรมชาติทั้งภายในและต่างประเทศ

(2) การดำเนินการแก้ไขปัญหาราคายางของรัฐบาล

2.1 การอนุมัติแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางของคณะรัฐมนตรี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอมติของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 2/2560 เมื่อคราวประชุมในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 19 ธันวาคม 2560 และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบและเห็นชอบ

สรุปมติการประชุมของคณะการนโยบายยางธรรมชาติดังกล่าวเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง (15,000ล้านบาท)และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรแปรรูปยางพารา (5,000ล้านบาท) รวมทั้งเห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวมยาง (10,000 ล้านบาท) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาว (ยางแห้ง) 20,000 ล้านบาทโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ (12,000 ล้านบาท) นอกจากนี้จะลดปริมาณผลผลิตของภาครัฐที่มีสวนยาง 1.21 แสนไร่ ทั้งในส่วนของกรมวิชาการเกษตร กยท. และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ใช้งบกลาง 303 ล้านบาท โครงการควบคุมปริมาณผลผลิตและการจัดตั้งกองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ รวมวงเงินที่รัฐบาลสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางประมาณ 62,000 ล้านบาท

และทราบว่าขณะนี้หน่วยงานภาครัฐกำลังดำเนินการแปลงนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวมากำหนดแนวทางการปฏิบัติอยู่อย่างเข้มข้นในทุกมาตรการ เพื่อสนองแนวทางการแก้ไขราคายางพาราให้กับพี่เกษตรกรชาวสวนยางพารา

2.2 การเรียกคืนศรัทธา
ขณะนี้ทราบว่านายกรัฐมนตรีทราบถึงปัญหาเรื่องการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว ถึงขั้นปรับเปลี่ยนตัวบุคคลรับผิดชอบใน ครม. และกำชับเด็ดขาดถึงขั้นประกาศ ม.44 ออกมาช่วยแก้ไขปัญหาที่ติดขัดอยู่ จนทำให้ทุกฝ่ายเคลื่อนไหวสนองรับนโยบายกันอย่างเต็มที่จนรู้สึกได้ถึงความตั้งใจได้มากขึ้นขณะนี้

2.3 ด้านราคายาง

โครงสร้างราคายางที่ผิดเพี้ยนไปก่อนหน้านี้ค่อยๆปรับไปในทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้นทั้งราคา เศษยาง น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันและยางแท่ง แม้จะไม่มากแต่มีแนวโน้มทีดีขึ้น

2.4 เกิดวัฒนธรรมใหม่ต่อการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสินค้าทางการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐ

(3) ข้อเสนอแนะ

3.1 สมควรตั้งคณะกรรมการติดตามโครงสร้างราคายางและราคายาง (rubber price monitoring committee ) มีหน้าที่คอยสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหวราคาและติดตามโครงสร้างราคายางที่อาจจะมีความผิดปกติ หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขเสนอรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เป็นต้นให้รีบเข้าไปแก้ไขทันทีตามความรุนแรงของปัญหา

3.2 คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย. )

3.2.1 ควรใช้เวทีของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย. )ให้เป็นประโยชน์ให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพราะเวทีนี้เป็นที่รวมของผู้เกี่ยวข้องด้านยางพาราทุกภาคส่วนจริงๆอาจปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมสรรหาบุคคลผู้เชี่ยวชาญด้านยางพาราและหน่วยงานด้านความมั่นคงเข้ามาเสริม อาทิ มหาดไทย ตำรวจ และกระทรวงต่างประเทศ เป็นต้น

3.2.2 เพิ่มความถี่ในการประชุมให้มากกว่าที่เป็นอยู่อย่างน้อยควรให้มีการประชุมทุกๆ 2 เดือน

3.2.3 ควรให้คณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการถาวร ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนไปตามวาระของรัฐบาลมีบ้างไม่มีบ้างมาตลอด ควรมีกฎหมายมารองรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเอาใจใส่อย่างจริงจังต่ออาชีพยางพาราไทย

3.3 ควรเข้าดำเนินการดูดซับเศษยาง ซึ่งเป็นยางส่วนมากของประเทศที่เป็นวัตถุดิบผลิตยางแท่งออกจากระบบโดยการยางแห่งประเทศไทยตามบทบาทหน้าที่โดยตรงในกิจกรรมปกติของ กยท. ทันทีเพื่อดึงราคาเศษยางขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเนื่องต่อยางชนิดอื่นๆด้วยอย่างอัตโนมัติ

3.4 ด้านความร่วมมือกับภาคียางของสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) ซึ่งมีไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย ในมาตรการแก้ปัญหาที่กำลังดำเนินการอยู่

3.4.1 การควบคุมปริมาณการส่งออก(AETS )ที่ตกลงกันล่าสุดเมื่อ 22 ธันวาคม 2560 จำนวน 350,000 ตัน ภายในสามเดือน ในส่วนของไทยที่รับผิดชอบ 2 แสนตันเศษควรรีบดำเนินการให้เป็นรูปธรรมแล้วแจ้งให้สาธารณชนทราบเพื่อให้เกิดผลทางด้านจิตวิทยาต่อราคายาง

3.4.2 การประกาศหยุดกรีดยางในสวนยางของภาครัฐทั้งหมดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 19 ธันวาคม 2560 ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นอีกมาตรการหนึ่งจาก 3 มาตรการของข้อตกลง สภาไตรภาคีความร่วมมือยาง(ITRC)ในมาตรการควบคุมปริมาณการผลิต (SMS)จึงควรขอความร่วมมือไปยัง มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วยเพื่อให้มีผลทางด้านแก้ปัญหาระดับภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

3.5 ควรตั้งคณะกรรมการติดตามผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ขึ้นมาอีกชุดที่เป็นอิสระจากหน่วยงานยางของภาครัฐติดตามการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเสนอแนะความเห็นต่อรัฐบาล

3.6 กฎหมายสินค้าควบคุมสินค้ายางพารา
กรณีที่ไม่สามารถผลักดันให้ราคายางพารามาอยู่ในระดับที่เกษตรกรชาวสวนยางอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าต้นทุนที่ 60 บาทเศษต่อกิโลกรัมจากมาตรการต่างๆ รวมถึงการใช้อำนาจในพระราชบัญญัติควบคุมยางปี 2542ของกระทรวงเกษตรฯได้แล้ว ก็เห็นสมควรประกาศให้ยางพาราเป็นสินค้าควบคุมของกระทรวงพาณิชย์เพื่อกำหนดราคาชี้นำต่อไป

คุณสุรกิจ ละเอียดดี เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ระบบอินทรีย์ แนะนำสำหรับเกษตรกรที่อยากจะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการค้า สิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือเรื่องสุขภาพทั้งของตัวเราเอง และผู้บริโภค หากเกษตรกรท่านใดอยากเลี้ยงระบบอินทรีย์แต่ยังทำไม่ได้ ให้เป็นจีเอพีก็ยังดี อย่างน้อยบ้านเราตัวเราก็ต้องกิน ผู้บริโภคก็ได้กินของดีตามเพราะเราเลี้ยงระบบปลอดสารพิษ เลยอยากให้ทุกคนมามองเรื่องสิ่งแวดล้อมกับความสุขของตัวเอง ทุกวันนี้เคมีมีเยอะพอแล้ว อย่างให้คำนึงถึงสุขภาพด้วยไม่ใช้จะเอาผลประโยชน์อย่างเดียว

จะเตือนถึงเกษตรกรเชิงพาณิชย์รู้ว่าลงทุนสูงลองคิดเปลี่ยนอาจจะใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ ในการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค หากหันมาเลี้ยงเป็นระบบอินทรีย์ได้จะดีที่สุด ถ้าไม่ได้อยู่ที่บริเวณที่มีน้ำทะเล ก็ให้ดูเรื่องพื้นที่ก่อนว่าเหมาะสมที่จะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทไหน ถ้าตรงไหนเหมาะสม หรืออยู่ใกล้ชลประทาน ให้คิดต่อว่าบริเวณชุมชน หมู่บ้านของท่านคุณสัตว์น้ำอะไรที่ชอบมากที่สุดไปหาคำตอบ เมื่อหาได้แล้วสัตว์อะไรที่ชอบกินแล้วหายากที่สุดไปคิดมาเอง นั่นคือสัตว์น้ำที่ควรเลี้ยงขายในพื้นที่คุณก่อน เพราะถ้าในพื้นที่คุณยังไม่พอกิน อย่าพึ่งไปแห่เลี้ยงตามคนอื่น ให้คิดก่อนขายในพื้นที่ให้ได้มากที่สุดแล้วค่อยขยับ ถ้าของเราดีเดี๋ยวมีคนตามาหาเราเอง แหล่งนี้มีของที่เขาต้องการ

การเตรียมตัว ปลูกต้นไม้ที่เป็นไม้น้ำ พยายามเลือกไม้ที่ไม่ทิ้งใบ เลือกที่เป็นอาหารสัตว์น้ำกินได้ อย่าปลูกพืชที่เป็นกรด หลังจากนั้นให้เช็คค่าPHของน้ำเป็นอย่างไร ความกรดความด่างเท่าไหร่ แล้วจึงปรับโดยใช้น้ำหมักกับปูนเข้าไปช่วย ปูนทางกรมพัฒนาที่ดินมีแจกฟรี พยายามอย่าไปหาซื้อ น้ำหมักก็ทำเอง ประมาณนี้แล้วก็การทำห่วงโซ่อาหารธรรมชาติ เอาฟางมาวางแล้วเอาขี้วัวมาโปะ นี้คือการเตรียมการ ถ้าทำแบบนี้ปัญหาเรื่องโรคจะไม่ค่อยเกิด

เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม มีรายงานว่า เพจ “ก้าว” โครงการคนละก้าว เบตง – แม่สาย เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ โพสต์ข้อความหลังสิ้นสุดโครงการว่า โครงการจะสำเร็จด้วยดีไม่ได้เลยถ้าขาดแรงสนับสนุนจากคนไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญถึงแม้ว่าการวิ่งจะจบลงแล้ว แต่คุณหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกๆท่าน ก็ยังคงต้องทำงานอย่างหนักเหมือนเดิม ท่านเหล่านั้นคือฮีโร่ ที่ควรได้รับกำลังใจและคำยกย่องอย่างแท้จริงขอขอบคุณพี่น้องชาวไทยทุกๆคนที่ร่วมก้าวมาด้วยกันตลอดเวลา 55 วันจนกว่าจะพบกันใหม่สวัสดีปีใหม่ “ใช้ชีวิตให้สนุกครับ” จากนั้นได้อัพเดทการบริจาคเงินเข้าโครงการ สามารถทำได้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561

ด้านอิทธิพล สมุทรทอง หรือพี่ป๊อก นักวิ่งคู่ใจของ ตูน บอดี้สแลม จากโครงการก้าวคนละก้าวครั้งแรก กรุงเทพ ฯ – บางสะพานและโครงการก้าว เบตง แม่สาย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว หลังจากเดินทางกลับจาก จ.เชียงราย ว่า ถึงกรุงเทพฯสิ่งแรกที่ทำหลังจากมาถึงไปร้านขายหมูเจียงฮาย น้องคนขายถามว่า ..พี่หายไปไหนหลายเดือนตอบไปว่าภารกิจเบตง-แม่สายไปถึงเชียงรายแล้วหาหมูไม่เจอเลยรีบกลับ สวัสดีวันพฤหัส..เดินยังเจ็บ เล็บขบ ปวดข้างแข้ง ส้นเท้าเจ็บสงสัยต้องกลับไปวิ่งซ้ำ ขอให้มีความสุขทุกวันครับเพื่อนเพื่อน

ขณะที่ ชายชาญ ใบมงคล หรือ พี่เบล ครีเอทีฟโครงการก้าวคนก้าวเบตง – แม่สาย ระดมทุนเพื่อ 11 โรงพยาบาล ผู้บรรยายหลักผ่านไลฟ์สดเพจ “ ก้าว” ในฐานะเพื่อนสนิทของ ตูน บอดี้สแลม โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ค Chaichan Baimongkol ว่า วันเปิดโปรเจค เบตง-แม่สายอย่างเป็นทางการเราประชุมกันบนโต๊ะอาหารค่ำ ตามสไตล์ถนัดของพี่ตูน ผู้ซึ่งมักจะล่อลวงเราด้วยอาหาร หลากหลายชนิดแกจะรอให้เราอิ่มจนพุงกางแล้วค่อยบอกข่าวร้าย

“ผมเห็นหมอเมย์ในวันที่ไร้ผ้าบัฟ มีท่าทางไม่ค่อยสะดวก…นิดนึงเพราะกับข้าวบนโต๊ะ เป็นอาหารแบบไม่มีสุขภาพ เช่น เกาเหลาเนื้อเดือดๆน้ำซุปข้นคลั่กๆกับเนื้อทอดเนยบนเตาไฟฟ้าโปะชีส ใจนึงก็รู้สึกเห็นใจหมอ ใจนึงก็คิดว่า ดี!มาเจออะไรแบบนี้บ้าง ไอเดียจากคนไม่กี่คน ขยายผลกลายร่างเป็นทีมงานนับร้อย ร่วมด้วยคนใจดีมากมาย ที่สละแรงกาย บริจาคทุนทรัพย์ ข้าวปลาอาหารให้เกิดการเดินทางอันเหลือเชื่อจากใต้สู่เหนือเพื่อส่งความสุขให้กับคนนับล้าน แต่ทุกอย่างเริ่มต้นจากคนๆเดียว ที่โต๊ะกับข้าวโต๊ะนี้วันที่ความสุขเริ่มขึ้น…

เทศกาลแห่งความสุขเช่นนี้ หลายคนคงเตรียมหาของฝาก ของขวัญส่งให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ ซึ่งจะเลือกของขวัญให้เหมาะกับแต่ละคนก็คงต้องคิดหนักพอควร หลายคนจึงเลือกให้กระเช้าผลไม้ ที่เป็นสิ่งดีๆ มีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมแฝงความหมายอันเป็นมงคลจากผู้ให้ถึงผู้รับด้วย

วัชมน ฟู้ด จึงพาไปดูคุณประโยชน์และความหมายแฝงของ 7 ผลไม้ยอดฮิต 1. แอปเปิ้ล ผลไม้ยอดนิยมที่อุดมด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกว่า 10 ชนิด แถมยังมีคาร์โบไฮเดรต ไขมันดี และโปรตีน ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดอาการเลือดออกตามไรฟัน และช่วยลดริ้วรอยชะลอความแก่ได้อีกด้วย ส่วนความหมายมงคลตามความเชื่อ การให้แอปเปิ้ลนั้นเสมือนการอวยพรให้ผู้รับมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อายุยืนยาว

2. สาลี่ ผลไม้รสหวานกรอบอร่อยทานง่าย hannaheloge.com แถมมีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด ซึ่งมีส่วนให้ความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ไอ แก้เจ็บคอ รักษาอาการร้อนใน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือดให้ปกติและทำให้ระบบลำไส้และกระเพาะอาหารทำงานดีขึ้น โดยสาลี่มีความหมายมงคลในเรื่องของโชคลาภ เปรียบเหมือนการอวยพรให้ผู้รับโชคดี มีโชคมีลาภ มีแต่เรื่องดีๆ เป็นศิริมงคลเข้ามาให้ชีวิต

3. ลูกพลับ ผลไม้กลิ่นหอมรสหวาน เป็นผลไม้ยอดนิยมอีก 1 อย่างที่นำมาจัดกระเช้า โดยคนจีนถือว่าลูกพลับเป็นผลไม้ยาจากสวรรค์กันเลย เนื่องจากคุณประโยชน์เยอะ ไม่ว่าจะช่วยลดความดันโลหิตสูง บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ ลดอาการหอบหืด และป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วยในเรื่องความหมายมงคลของลูกพลับคือ การอวยพรให้ผู้รับมีความหนักแน่นมั่นคง จิตใจเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหว ไม่อ่อนแอ

4. ส้ม อีกหนึ่งผลไม้ท็อปฮิตติดลมบน ทานง่าย รสเปรี้ยวหวานชื่นใจกำลังดี อุดมด้วยวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอริ้วรอยความแก่ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นระบบลำไส้ ลดอาการท้องผูกได้ ความหมายมงคลของส้มคือ ความมั่งมี มั่งคั่ง ความร่ำรวย หยิบจับอะไรเป็นเงินเป็นทอง มีทรัพย์เหลือกินเหลือใช้ไม่ขาดมือ

5. องุ่น ผลไม้ที่มีรูปทรงสวยงาม แถมรสชาติหวานอร่อยทานง่าย องุ่นช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็ง ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยแก้อาการเป็นหวัด ลดความดันโลหิตสูง แถมทำให้ร่างกายสดชื่นเป็นอย่างดี ความหมายมงคลของผลไม้ชนิดนี้คือ การอวยพรให้ผู้รับการงานเจริญก้าวหน้า ทำมาค้าขึ้น กำไรงอกงามเพิ่มพูนเหมือนผลองุ่น

6. สตรอเบอรี่ ผลไม้ลูกจิ๋วที่มีความน่ารักในตัวเอง แถมรสชาติเปรี้ยวหวานลงตัวเป็นผลไม้ที่ใครๆ ก็ชื่นชอบ ยกให้เป็นผลไม้สุดโปรดในใจกันเลย สตรอเบอรี่อุดมไปด้วยประโยชน์มากมายต่อร่างกาย มีไฟเบอร์สูงช่วยในการกระตุ้นระบบขับถ่าย บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ บำรุงระบบสมอง แถมช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ส่วนความหมายมงคลของสตรอเบอรี่คือ การแสดงออกถึงความรัก ความห่วงใยที่ผู้ให้ส่งถึงผู้รับ แถมสีแดงยังสื่อถึงความโชคดีมีชัย และความเจริญรุ่งเรือง ได้อีกด้วย

7. กีวี่สีทอง ผลไม้นอกรูปร่างแปลกตาที่เพิ่งเข้ามาเป็นที่นิยมในเมืองไทย และก็ครองใจหลายๆ คน เนื่องจากรสชาติเปรี้ยวอมหวาน และกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ซึ่งกีวี่มีส่วนช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัด ช่วยซ่อมแซมร่างกายกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ทานก่อนนอนยังช่วยให้หลับลึกขึ้นอีกด้วย โดยความหมายของกีวี่สีทอง คือการอวยพรให้ผู้รับร่ำรวยมั่งมี เงินทองไหลมาเทมา ตรงกับสีผลไม้แบบชัดเจนกันไปเลย

วันที่ 28 ธ.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศพยากรณ์อากาศเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560 – 2 มกราคม พ.ศ. 2561

การคาดหมายลักษณะอากาศ วันที่ 30 ธ.ค. ประเทศไทยตอนบนรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศเย็นถึงหนาวส่วนในช่วงวันที่ 31 ธ.ค.60 -2 ม.ค. 61 ประเทศไทย ตอนบนรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีอากาศหนาวเย็นลงโดยอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส

สําหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตลอดชวง โดยในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. 60 -2 ม.ค. 61 คลื่นลมบริเวณอาวไทยตอนลางมีกําลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร

ลักษณะสําคัญทางอุตุนิยมวิทยา วันที่ 30 ธ.ค.บริเวณความกดอากาศสูงกําลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทําให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาว

สําหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทยและภาคใต้มีกําลังอ่อนลง ทําให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกําลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 31ธ.ค.60 -2 ม.ค. 61 บริเวณความ กดอากาศสูงกําลังคอนขางแรงจากประเทศจีนอีกระลอกจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทย ทําให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง และอุณหภูมิจะลดลง โดยจะเริ่มในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือก่อน สําหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกําลังแรงขึ้น ทําใหภาคใตมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่และคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกําลังแรง