ดังนั้น เกษตรกรควรให้ความสำคัญกับการดูแลปศุสัตว์ของตน

ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง โดยต้องดูแลในเรื่องของการจัดการโรงเรือนหรือคอกสัตว์ที่ดี มีหลังคา ป้องกันฝน ลม และละอองฝนได้เป็นอย่างดี หรือจัดเตรียมสถานที่ที่ให้สัตว์สามารถหลบฝนได้ มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อม เพื่อเสริมสร้างให้สุขภาพสัตว์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย และที่สำคัญควรทำวัคซีนแต่ละชนิดให้ตรงตามระยะเวลาที่กำหนดของแต่ละชนิด

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน โดยสั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทั่วประเทศให้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำ ความรู้ด้านป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และค้นหาสัตว์ป่วย หรือตายที่มีอาการคล้ายโรคระบาด โดยหากตรวจพบการเกิดโรคให้ดำเนินการควบคุมโรคทันที

ทั้งนี้ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สังเกตอาการสัตว์ที่เลี้ยง โดยเฉพาะโค กระบือ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เพื่อดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเรื่องโรคสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ หรือโทรศัพท์ (085) 660-9906

ซินเจนทา ร่วมมือกับกลุ่มร้านค้าทั่วประเทศไทย เปิด “ศูนย์เรียนรู้ สร้างความปลอดภัย” ชูหลัก 5 ช. ตั้งเป้าสร้างความเข้ารู้ ความเข้าใจ แก่เกษตรกรใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างถูกต้อง

หมอพืช วัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนธุรกิจ ประเทศไทย บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา ซินเจนทา ยึดหลักดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และได้มอบหมายให้ หมอพืช หรือ Stewardship เป็นผู้ที่คอยวิเคราะห์ ตรวจสอบ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถดูแล ป้องกัน และรักษาผลผลิต สร้างผลกำไร ลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สำหรับแผนงานครึ่งปีหลัง ได้จัดแผนรณรงค์ส่งเสริมความรู้อย่างครบวงจร โดยเปิด “ศูนย์เรียนรู้ สร้างความปลอดภัย” ประจำภาคใต้ ภายใต้ความร่วมมือกับกลุ่มร้านค้าผลิตภัณฑ์และบริการเกษตรกรรม

“ศูนย์เรียนรู้ สร้างความปลอดภัย” ดำเนินการให้ความรู้โดย หมอพืช ซินเจนทา นำหลักปฏิบัติมาตรฐาน 5 ช. เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจดจำได้ง่าย ประกอบด้วย 1) ชัวร์ อ่านและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ 2) ใช้ กระบวนการขนส่ง ผสม พ่น และจัดเก็บ ต้องระมัดระวัง 3) เช็ค ดูแลอุปกรณ์และเครื่องพ่นให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 4) ชุด สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่เหมาะสมและถูกต้อง 5) ชำระ ปฏิบัติตนให้มีสุขอนามัยดีอยู่เสมอ

ทั้งหมดนี้ เป็นหนึ่งโครงการในแผนการเติบโตอย่างยั่งยืน (Good Growth Plan) ของ ซินเจนทา ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) คาดว่า พื้นที่เกษตรกรรมไทยอย่างน้อย 50 ล้านไร่ หรือร้อยละ 33 จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 149 ล้านไร่ จะเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เกษตรกรมีสุขอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

เป้าหมายสำคัญของการเปิดศูนย์เรียนรู้ฯ ครั้งนี้ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจต่อการใช้ปัจจัยการเพาะปลูกอย่างปลอดภัยและไม่ส่งผลต่อสุขภาพ (Health & Safety) โดยเริ่มต้นจากกลุ่มร้านค้ารายใหญ่ 80 ราย ขยายผลไปอีก 1,600 สาขาย่อยทั่วประเทศ และสามารถส่งต่อความรู้ไปยังกลุ่มเกษตรกรได้ถึง 500,000 ราย

“กลยุทธ์สำคัญของแผนงานนี้คือ กลุ่มร้านค้าพันธมิตร เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นช่องทางการกระจายปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนคู่คิดเกษตรกร จึงเป็นการง่ายในการถ่ายทอดความรู้ ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจให้แก่เกษตรกรรายย่อยทั่วภูมิภาค และสร้างความมั่นใจในวิธีการใช้สารฯ อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย” หมอพืช วัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ กล่าวสรุป

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี นำโดย นายมงคล เฮงโรจนโสภณ Vice President – Olefins and Operations เข้ารับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ประจำปี 2561 จาก นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยในปีนี้ บริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด หรือ MOC ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 และมีบริษัทในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 ประจำปี 2561 อีกจำนวน 2 บริษัท 4 โรงงาน ได้แก่ บริษัท ไทยโพลีเอททีลีน จำกัด (3 โรงงาน) และ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการโรงงาน ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายสีเขียวตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและให้โรงงานอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

เมื่อเร็วๆนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดเวทีประกวดโครงงานวิจัยด้านยางพาราระดับมัธยม และอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2561 ณ ห้องกันตัง กยท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

มีสถานศึกษาส่งผลงานวิจัยเข้าร่วม ทั้งในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จำนวน 15 ชิ้นงาน ผลปรากฏว่าทีมนักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ และวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ คว้ารางวัล ชนะเลิศไปครอง

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานเปิดงานประกวดโครงงานวิจัยด้านยางพาราระดับมัธยมและอาชีวศึกษาในครั้งนี้ กล่าวว่า การประกวดโครงงานวิจัยด้านยางพาราระดับมัธยมศึกษาอาชีวศึกษาปีงบประมาณ 2561 ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนองค์กรของ กยท. โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนายางพารา เพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงสนับสนุนผลงานวิจัยให้นำไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งถ่ายทอดและผลิตในเชิงพาณิชย์

โครงการนี้จะเป็นโครงการสนับสนุนงานวิจัยดีเด่นด้านยางพาราระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาและผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพตลอดจนได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางโครงการยางพาราในด้านต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิชาการสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดหรือส่งผลกระทบที่ดีต่อเกษตรกรและธุรกิจด้านยางพารา อีกทั้งจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนนักศึกษาและคณาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านได้มีแนวคิดใหม่ๆ ทางด้านยางพาราและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่อุตสาหกรรมยางพาราต่อไปได้ในอนาคต

นายพิเชฏฐ์ พร้อมมูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านยางพารา โดยมีสถาบันวิจัยยางรับผิดชอบดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนบริหารงานวิจัยค้นคว้าและพัฒนาการผลิตยาง ให้บริการวิชาการและเทคโนโลยีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยาง

รวมถึงประสานความร่วมมือด้านวิจัยยางพารากับองค์กรระหว่างประเทศ การสนับสนุนโครงการและผลงานวิจัยดีเด่นด้านยางพาราระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย มุ่งเป้าเพื่อให้เยาวชนได้แสดงความสามารถและทักษะที่เป็นนวัตกรรมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านวิจัยและพัฒนายางพารา โดยผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีองค์ความรู้ด้านยางพาราและนวัตกรรม ตลอดจนเข้าใจถึงบริบทของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงงานวิจัยใหม่ทางด้านยางพาราที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ด้าน ดร. วิทยา พรหมมี นักวิชาการเกษตร 8 หัวหน้ากองวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง กล่าวเสริมว่า การจัดประกวดในโครงการนี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทระดับต้นน้ำและกลางน้ำ

คือผลงานวิจัยที่เป็นการพัฒนายางในระบบตั้งแต่การจัดการสวนยางจนกระทั่งการแปรรูปยางขั้นต้น โดยทีมนักศึกษาจาก วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระส่งผลงาน เครื่องพันลวดเกือกม้าสำหรับรองรับถ้วยน้ำยางพาราแบบต่อเนื่อง ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร ส่งผลงาน เครื่องหยอดน้ำกรด “Smart Drip machine 001” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานีส่งผลงาน ผลของน้ำหมักเปลือกพืชท้องถิ่นปักษ์ใต้ต่อการลดปริมาณเชื้อราบนยางแผ่นดิบ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และ วิทยาลัยเทคโนโลยีนครหาดใหญ่ส่งผลงาน แผ่นยางนวดเท้ากดจุด ได้รับรางวัลชมเชย

สำหรับประเภทระดับปลายน้ำ คือการแปรรูปยางให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือวัสดุอื่น ทีมนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษส่งผลงาน การศึกษาสมบัติของวัสดุคอมโพสิตระหว่างยางธรรมชาติกับเศษขี้กบไม้ตีนเป็ด ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 วิทยาลัยเทคนิคตรัง ส่งผลงาน การศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของทางปาล์มที่ใช้เป็นสารตัวเติมต่อการทำแผ่นพื้นยางพารา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 วิทยาลัยเทคนิค
จะนะ ส่งผลงานกระถางแฟนซีจากน้ำยางพารา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 วิทยาลัยเทคนิคตรัง

ส่งผลงาน การศึกษาขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่เหมาะสมต่อการทำอิฐบล็อกตัวหนอนจากน้ำยางธรรมชาติ การศึกษาปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตที่เหมาะสมต่อการทำกรวยอัจฉริยะจากยางพารา และ การศึกษาปริมาณซิลิกาที่เหมาะสมต่อการทำดอกไม้จากเยื่อกระดาษเคลือบน้ำยางพารา และ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล ส่งผลงาน เบาะโฟมยางพาราปลดปล่อยช้า เพื่อประยุกต์ใช้ในการบำบัด โดยได้รับรางวัลชมเชย ตามลำดับ

การจัดโครงการวิจัยด้านยางพาราระดับมัธยมและอาชีวศึกษา ของ กยท. ในครั้งนี้ จะเป็นการกระตุ้นให้น้องๆ นักศึกษาที่มีความสามารถ โดยเฉพาะน้องๆ อาชีวะ คิดค้นงานวิจัยที่สามารถใช้ได้จริง เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง และอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งในอนาคต เครื่องมือหรืองานวิจัยเหล่านี้ จะสามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดได้ ดร.วิทยา กล่าวทิ้งท้าย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผลักดันมาตรฐาน CPF SHE&En Standard ให้ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศนำไปปรับใช้ ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

นายวีรชัย รัตนบานชื่น ประธานคณะกรรมการบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Safety Health Environment & Energy : SHE&En) เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ประสบความสำเร็จจากการนำระบบมาตรฐาน CPF SHE&En Standard ที่บริษัทสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ และวางนโยบายให้ทุกกลุ่มธุรกิจนำระบบมาตรฐานไปใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเสริมสร้างประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันทุกธุรกิจได้นำมาตรฐานดังกล่าวไปดำเนินการอย่างครบถ้วน โดยได้ไปปรับใช้ในการทำงานของตนเองอย่างสอดคล้องและเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุตาม เป้าหมายความยั่งยืนของบริษัท

“ซีพีเอฟต่อยอดความสำเร็จสู่ธุรกิจในต่างประเทศ ด้วยการวางระบบเก็บข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญต่อของการเริ่มต้นมาตรฐานดังกล่าว และต่อไปจะจัดอบรมเจ้าหน้าที่ของประเทศต่างๆ เพื่อให้สามารถนำมาตรฐานไปใช้ให้สอดคล้องกับธุรกิจของตนเอง” นายวีรชัย กล่าวและว่า

บริษัทยังคงเดินหน้ารับรองมาตรฐาน CPF SHE&En Standard ให้กับหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้ได้มอบใบรับรองแก่ 2 หน่วยงาน สำหรับระดับ Third Party โดยผู้ตรวจประเมินอิสระภายนอก ได้แก่ โรงงานอาหารสําเร็จรูปฉะเชิงเทรา และโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ส่วนอีก 3 หน่วยงาน คือ ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว จังหวัดชุมพร กิจการโรงเพาะฟักลูกกุ้งท่าบอน จังหวัดสงขลา และธุรกิจไก่พันธุ์ จังหวัดสระบุรี ผ่านการรับรองในระดับ Second Party โดยผู้ตรวจประเมินภายในบริษัท

ที่สำคัญในปีนี้มี 2 หน่วยงานของซีพีเอฟที่ได้รับรางวัลใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับรางวัลคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานดีเด่นระดับประเทศ จากความโดดเด่นทั้งแง่ความยั่งยืน จากการให้คำมั่นสัญญาของผู้บริหารระดับสูง การมีส่วนร่วม การนำไปปฏิบัติ การพัฒนาบุคลากร ขณะเดียวกันยังคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านผลการอนุรักษ์พลังงาน ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ดัชนีประสิทธิภาพพลังงาน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย

ส่วนโรงงานผลิตอาหารสัตว์บางนา กม.21 ได้รับรางวัล Thailand Energy Awards 2018 ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทโรงงานควบคุมดีเด่น จากความสำเร็จด้านการอนุรักษ์พลังงาน และความโดดเด่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยมุ่งเน้นลดการใช้พลังงานทั้งพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนลงในทุกๆ ปี โดยปีนี้มีเป้าหมายลดการใช้พลังงานลงจากปีที่แล้ว 3% และตั้งแต่ปี 2557-2560 ที่โรงงานมีการจัดทำโครงการมากกว่า 20 โครงการ ช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงานลงได้เฉลี่ยโครงการละ 100,000 บาท ต่อปี

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมชุมชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างยั่งยืน ประเดิมส่งมอบเงิน “กองทุนชุมชนป่าชายเลน โครงการปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร” เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน และเป็นแหล่งเงินทุน พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่สมาชิกกองทุนฯ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายอุทัย เล็กประเสริฐ ประธานคณะกรรมการกองทุนชุมชนป่าชายเลน ตำบลบางหญ้าแพรก กล่าวว่า ชาวชุมชนตำบลบางหญ้าแพรก รู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและปลูกป่าชายเลนเพิ่มเติม โดยร่วมดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์กลับสู่ระบบนิเวศและชายฝั่ง ซึ่งในวันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ทางซีพีเอฟได้มอบเงินกองทุนชุมชนป่าชายเลนฯ จำนวนเงิน 2.2 แสนบาท ให้กับคณะกรรมการชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนให้คนในชุมชนตำบลบางหญ้าแพรกเข้ามามีส่วนร่วม กองทุนฯ จะเปิดรับสมัครสมาชิก โดยสมาชิกแต่ละคนจะถือหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้น แต่ไม่เกิน 50 หุ้น ราคหุ้นละ 100 บาท โดยสมาชิกกองทุนจะได้รับสิทธิในการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนในการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งมีเกณฑ์ในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี เมื่อสิ้นปีทางบัญชีของกองทุนปิดบัญชีตามมาตรการทางบัญชีแล้ว หากมีกำไรสุทธิ คณะกรรมการกองทุนจะนำกำไรมาจัดสรร เป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้กู้ เป็นทุนเพื่อจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก เป็นทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน เป็นต้น

“กองทุนชุมชนป่าชายเลน โครงการปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร จะเป็นแหล่งเงินทุนให้กับคนในชุมชนตำบลบางหญ้าแพรก เพื่อใช้ดูแลป่าชายเลนและรักษาสมดุลของระบบนิเวศในระยะยาว” ประธานคณะกรรมการกองทุนชุมชนป่าชายเลน ต.บางหญ้าแพรก กล่าว

ด้าน นายปรีชา มีนิล รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ในฐานะประธานยุทธศาสตร์ป่าชายเลน จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า กองทุนชุมชนป่าชายเลนฯ สะท้อนความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือที่เข้มแข็งของชาวชุมชนตำบลบางหญ้าแพรก และความตั้งใจจริงของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ขยายผลสู่การส่งมอบกองทุนชุมชนป่าชายเลน เป็นกองทุนแรกที่จะเป็นต้นแบบให้กับโครงการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

“กองทุนฯ จะเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับสมาชิก ในการลงทุนพัฒนาอาชีพ สร้างงานและสร้างรายได้ เพื่อนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิก นอกจากนี้ เป็นการสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองให้กลุ่มสมาชิกป่าชายเลนในการพัฒนาความคิดริเริ่มเสริมสร้างศักยภาพตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นายปรีชา กล่าว

ซีพีเอฟ ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ณ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 (สมุทรสาคร) ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร ตั้งแต่ปี 2557-2561 เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนได้ 104 ไร่ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวชุมชน ต.บางหญ้าแพรก ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณนี้ เป็นต้นแบบการอนุรักษ์ป่าชายเลนให้กับชุมชนอื่นๆ

นายปรีชา กล่าวเพิ่มเติม บริษัทยังได้ส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติ ที่สนใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชุมชน ต.บางหญ้าแพรก อาทิ การทำนาเกลือ บ้านทำขนมหวาน ประดิษฐ์เรือจำลอง (เรือจิ๋ว) ฯลฯ เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวมาใช้ในการดูแลป่าชายเลนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ชุมชนยังมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากภูมิปัญญาของชุมชน โดยรวมตัวกันเปิดสถานีส่งเสริมอาชีพชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลน เมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมา เช่น การทำถ่านไบโอชาร์ ปุ๋ยชีวภาพ ปลูกผักปลอดสารพิษ ทำผลิตภัณฑ์จากถ่านไบโอชาร์ นำพืชป่าชายเลนมาแปรรูปเป็นอาหาร ฯลฯ

ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ตั้งแต่ปี 2557-2561 โดยร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายภาคประชาสังคม ปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 แห่ง คือ จังหวัดระยอง จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชุมพร จังหวัดสงขลา และจังหวัดพังงา รวมพื้นที่ที่ร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลนทั้งสิ้น 2,343 ไร่ และพื้นที่ปลูกใหม่ 325 ไร่ และเป็นโครงการที่สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs Goal) ในประเด็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทั้งในพื้นที่รอบสถานประกอบการและพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ

คุณจันตนา นามกร ประธานกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตำบลบ้านทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ได้พาเทคโนโลยีชาวบ้าน เข้าชมกระบวนการทำกล้วยเล็บมือนางแปรรูป

คุณจันตนา เล่าว่า เมื่อก่อนเคยทำงานตัดเย็บเสื้อผ้าและช่างทำผมมาก่อน แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแม่บ้านทะเลทรัพย์ หลังจากนั้น ก็มาเป็นประธานกลุ่มการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของตำบลบ้านทะเลทรัพย์

คุณจันตนา บอกว่า กล้วยเล็บมือนางที่แปรรูป เป็นกล้วยเล็บมือนางของจังหวัดชุมพร

นำมาจากเกษตรกรที่ลงชื่อเป็นสมาชิกของทางกลุ่มแม่บ้านทะเลทรัพย์

กระบวนการผลิตใช้เวลาทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ทางกลุ่มแม่บ้านทะเลทรัพย์จะเน้นในเรื่องของคุณภาพ การยืดอายุของอาหารเพราะว่าจะคงความกรอบและสีสันที่สวยงามไว้ได้นาน…จึงได้ใช้ถุงแบบไนโตรเจนเพื่อให้ดูแลผลิตภัณฑ์ได้นาน 6 เดือน นำกล้วยเล็บมือนางแก่ 70 เปอร์เซ็นต์ มาปอกเปลือกชั้นนอกของกล้วยออก พอเสร็จแล้ว ก็นำกล้วยใส่ลงไปในถังน้ำที่ประกอบด้วยน้ำมันเล็กน้อย เพราะว่าต้องการให้ยางของกล้วยแยกตัวออกจากลูกกล้วย

จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการสไลซ์กล้วยลงไปในกระทะ…จะต้องดูอุณหภูมิในกระทะก่อนว่าได้ประมาณ 70-80 องศาเซลเซียส หรือยัง เมื่อแน่ใจว่าน้ำมันเดือดนำกล้วยมาสไลซ์ลงบนที่สไลซ์แบบ 5 ใบมีด ลงในกระทะได้เลย

ทอดนาน 3 นาที ต่อ 1 กระทะ ก็ตักจากในกระทะขึ้นมาพักให้แห้งจนกว่าจะครบ 1 กิโลกรัม กล้วยที่ใช้ประมาณ 22-25 ลูก ทิ้งไว้ให้หายร้อน ขั้นตอนต่อมาก็นำไปเคลือบ

ส่วนผสมที่ใช้เคลือบมี เนย น้ำตาลทราย เกลือ น้ำสะอาด และสีผสมอาหาร ใช้เพื่อสร้างสีสันของกล้วยให้สวยงาม จากนั้นก็เทกล้วยลงไปในน้ำที่ผสมแล้ว ใช้เวลาเคลือบอยู่ประมาณ 1 นาที เสร็จแล้วก็ตักมาพักไว้รอทอดอีก 1 รอบ ตั้งกระทะทอดรอบที่ 2 ด้วยอุณหภูมิความร้อนประมาณ 50 องศาเซลเซียส ใช้ความร้อนน้อยกว่ารอบแรก เพราะว่ารอบ 2 นั้น มีการใช้น้ำตาลที่ผสมกับน้ำอยู่ ถ้าใช้ไฟแรงจะทำให้น้ำตาลไหม้ได้ และอาจจะทำให้สีสันของกล้วยเสีย

วิธีการทอดรอบสอง หลังจากที่น้ำมันเดือดแล้ว ก็นำกล้วยเล็บมือนางที่เคลือบแล้วไปใส่กระทะทอดได้เลย ใช้เวลาทอดประมาณ 2 นาที พอทอดเสร็จแล้วก็นำออกมาพักไว้ก่อนประมาณ 2-3 นาที ให้เย็นเพื่อเพิ่มความกรอบของกล้วยที่ทอดลงไป จึงนำลงถังรอบรรจุใส่ถุงไนโตรเจน

คุณจันตนา บอกว่า หากใครสนใจเป็นฐานการเรียนรู้กับเศรษฐกิจของชุมชน มาเรียนรู้ มาสมัครได้ เปิดสอนฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้น “สามารถมาเรียนรู้กับเรา 2 คืน 3 วัน ทางเราจะให้ความรู้กลับไปประกอบอาชีพได้เลย แต่ต้องผ่านการอนุญาตจากทางภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาชุมชนมาก่อน” คุณจันตนา บอก

หากใครต้องการหาซื้อสินค้า สามารถซื้อได้ที่ โครงการส่วนพระองค์ มูลนิธิชัยพัฒนา ดอยคำ และขายทางออนไลน์ เพียงพิมพ์ว่า กล้วยเล็บมือนางอบด้วยความเชื่อที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน เกี่ยวกับ “นกแสก” ว่าเป็นนกผี หากบินผ่านบ้านใครและส่งเสียงร้อง จะทำให้บ้านนั้นมีคนเสียชีวิต กระแสความเชื่อที่ผสมกลมกลืนมากับวัฒนธรรม ยากที่จะเลือนหาย ส่งผลให้นกแสกถูกทำร้ายมากมาย และลดจำนวนลง ซึ่งกระทบต่อระบบนิเวศโดยตรง

ที่ต้องกล่าวเช่นนั้น เพราะ นกแสก เป็นนกที่กินสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กจำพวกหนูเป็นอาหาร โดยสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กเหล่านี้ มักอาศัยอยู่ตามสวน โดยเฉพาะสวนปาล์ม ซึ่งมีหนูเป็นศัตรูพืชตัวสำคัญ หรือแม้กระทั่งท้องนา ที่มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้คอยทำลายต้นอ่อนของพืช ซึ่งการกำจัดของเกษตรกร ที่เห็นได้ทั่วไป คือการใช้ยาเบื่อหนู เมื่อนกแสกกินหนูเป็นอาหาร ยาเบื่อจึงออกฤทธิ์กับนกแสกด้วย