ดาบตำรวจ สมนึก ยกตัวอย่างการลดรายจ่ายค่าแรงงาน

การตัดหญ้าในสวนปาล์มน้ำมัน ต่อครั้งบนเนื้อที่ 100 ไร่ หากจ้างตัดหญ้า ไร่ละ 400 บาท เสียค่าจ้างรวม 40,000 บาท แต่หากใช้แทรกเตอร์เล็ก ตัดหญ้าในสวนเอง ค่าใช้จ่ายเพียงค่าน้ำมันไม่กี่พันบาท แถมเร็วกว่าด้วย

การลดค่าแรงในการใส่ปุ๋ย หากจ้างใส่ปุ๋ย ค่าแรง กระสอบละ 50 บาท ใส่ปุ๋ยครั้งละกว่า 100 กระสอบ เสียค่าใช้จ่ายมาก จึงได้นำเครื่องใส่ปุ๋ยมาใช้ในสวน เพื่อลดแรงงานในสวน จากการนำรถแทรกเตอร์เล็กและเครื่องใส่ปุ๋ยมาใช้ทำให้ลดค่าใช้จ่ายค่าแรงงานได้มาก

นอกจากนั้น คุณสมนึกยังใช้พื้นที่ว่างในสวนปาล์มน้ำมันให้เกิดประโยชน์ ด้วยการปลูกผักสวนครัวมากมาย 30 กว่าชนิด บนพื้นที่ 20 ไร่ อาทิ ข่าเหลือง ผักเหลียง กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ เงาะ มังคุด ลองกอง สะตอ และยางพาราอีก 50 ไร่

“ผมปลูกผักเหลียงแซมระหว่างต้นปาล์มน้ำมัน ราว 2,500 ต้น โดยพื้นที่ 1 ไร่ ผลผลิตผักเหลียงราว 800 กิโลกรัมต่อปี ตัดขายเดือนละ 2 ครั้ง มีรายได้เสริมเดือนละ 10,000 บาท นอกจากปลูกเพื่อขายใบแล้วจะเพาะชำกิ่งขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วย”

ด้วยความขยันหมั่นเพียร ปัจจุบันพื้นที่ 170 ไร่ ของ ด.ต.สมนึก เต็มไปด้วยพืชเศรษฐกิจหลายชนิดได้ผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ สร้างรายได้เฉลี่ยเดือนละ 2 แสนบาท ในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ครองเมืองไปทั่วทุกพื้นที่ โดยมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาเป็นเครื่องทุ่นแรงเพื่อช่วยในการทำงานทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงแรกของการลงทุนอาจจะดูเหมือนเป็นการใช้เงินที่มหาศาล แต่เมื่อมองไปถึงระยะยาวถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าของการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ให้การผลิตสินค้ามีคุณภาพที่แน่นอนมากขึ้น

ซึ่งในขณะนี้สังเกตเห็นว่าการทำฟาร์มเห็ดกำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น เพราะเห็ดมีคุณค่าทางโภชนาการและมีความอร่อยเฉพาะตัว จึงทำให้เห็ดหลายชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงเรื่องของโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเห็ด ส่งผลให้เกษตรกรบางรายที่เพาะเห็ดได้ผลผลิตไม่เต็มที่ มีจำนวนไม่มากพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้ส่งจำหน่ายได้ไม่ต่อเนื่อง เป็นเหตุให้สูญเสียโอกาสหลายด้านในการค้าขาย

คุณพัชรพล โพธิ์พันธุ์ เจ้าของฟาร์มเห็ด “จาวา” ตั้งอยู่ที่ 60/7 หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นคลื่นลูกใหม่ไฟแรงที่มองว่าอาชีพทางการเกษตรหากนำมาพัฒนาและต่อยอด สามารถยึดเป็นอาชีพหลักที่ทำรายได้แบบยั่งยืนได้ดี เขาจึงได้หันมาเพาะเห็ดโดยปลูกในโรงเรือนระบบอีแวป ที่สามารถทำให้เขาผลิตดอกเห็ดจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี โดยเห็ดที่เพาะหลักๆ คือ เห็ดนางฟ้าภูฎาน

คุณพัชรพล เล่าให้ฟังว่า จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต่อมามีความสนใจที่อยากจะกลับมาอยู่บ้านที่จังหวัดชัยนาท จึงได้มาศึกษาถึงอาชีพที่สามารถทำรายได้ให้กับเขาได้ โดยในระหว่างนั้นค่อนข้างมีความสนใจเรื่องเห็ดหลายชนิด ทำให้ศึกษาหาความรู้และวิธีการผลิตในวิธีการต่างๆ ด้วยตนเอง มีการปรับสูตรและเรียนรู้อยู่เสมอ ทำให้เห็ดที่เพาะอยู่ในฟาร์มมีผลผลิตได้ตลอดทั้งปี

“ปัจจุบันผู้บริโภคค่อนข้างใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น ผมเลยมองว่าเห็ดยังถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ตลาดต้องการสูง แต่กำลังการผลิตและการจัดการอื่นๆ ยังทำให้เห็ดที่เพาะออกดอกไม่ตลอดทั้งปี เลยมีแนวความคิดที่ต้องมาการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คือการดูแลให้อยู่ในสภาพแวดล้อมระบบโรงเรือน แบบที่เราสามารถควบคุมเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น และการสเปร์น้ำให้โรงเพาะเห็ด ถ้าองค์ประกอบและสภาพแวดล้อมลงตัว ก็จะสามารถทำให้เห็ดมีเก็บขายได้ตลอดทั้งปี ผมจึงเลือกเพาะเห็ดในระบบอีแวป” คุณพัชรพล เล่าถึงที่มา

คุณพัชรพล บอกว่า หลักการของระบบอีแวป (EVAP) ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการสเปร์น้ำภายในโรงเรือนเพาะเห็ดโดยไม่ต้องใช้คนทำงาน โดยจะสั่งงานผ่านระบบแบบอัตโนมัติคือติดตั้งการสั่งงานต่างๆ ให้ผ่านสมาร์ทโฟน ไปยังแผงควบคุมที่อยู่ภายในโรงเรือน ซึ่งระบบอัตโนมัติจะทำหน้าที่สั่งงานตามสภาพอากาศได้เอง หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็จะปรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรือนให้เหมาะสมกับเห็ดแต่ละชนิดอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้เห็ดมีดอกที่สมบูรณ์และออกดอกในปริมาณที่มาก ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนแรงงานคนลงได้อย่างมากอีกด้วย

“ช่วงแรกที่ทำก็คิดว่าระบบนี้มันจะง่าย เพราะเราออกแบบการทำงานของโรงเรือนให้เหมือนกับโรงเลี้ยงไก่ แต่ถ้าทำแบบนั้นมากเกินไปจนทำให้ต้นทุนในเรื่องของค่าน้ำค่าไฟเราสูงขึ้น ผมจึงนำปัญหาที่เกิดมาปรับปรุงระบบ คือมีการให้เกิดช่วงกระตุ้น บางช่วงพักตัว และมีการใส่ใจในเรื่องของการคุมปริมาณอากาศ ที่ส่งผลต่อความยาวของก้านดอกและความแก่ของดอก เพราะฉะนั้นผมมองว่าระบบเราก็ยังต้องมีการพัฒนาเรื่อยๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะเห็ดมากที่สุด ผมมองว่าจากการพัฒนามาตอนนี้ก็เริ่มนิ่ง สามารถช่วยงานเกษตรกรอย่างผมได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในการทำงาน ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ยังต้องมีการพึ่งพาแรงงานคนเข้ามาช่วย เช่น การเก็บดอกช่วงเช้าและเย็น จากที่ใช้มากกว่า 2 คน มาดูแลในทุกๆ วัน แต่พอมาทำด้วยระบบนี้ คนงานเราก็จ้างมาเพื่อเก็บดอกช่วงเวลาต่างๆ ต่อโรงเรือนเราก็ใช้แรงงานเพียงคนเดียว” คุณพัชรพล บอก

ในเรื่องของต้นทุนสร้างโรงเรือนนั้น คุณพัชรพล บอกว่า ถึงแม้จะลงทุนสูงหน่อยในช่วงแรกเป็นเงินประมาณทุนเริ่มต้น 200,000-300,000 บาท เป็นค่าวัสดุโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ แต่ถ้ามองถึงระยะยาวก็ถือว่าคุ้มค่า โดยขนาดโรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดอยู่ที่ 6×15 เมตร สามารถบรรจุก้อนเชื้อเห็ดได้ถึง 15,000 ก้อน ทั้งนี้ แม้จะมีต้นทุนในการก่อสร้างที่สูงแต่อายุการใช้งานของโรงเรือนนานถึง 10 ปีทีเดียว

“ต้นทุนโรงเรือนหลายๆ คนอาจะมองว่าแพง แต่ถ้ามีการจัดการที่ดี และทำตามระบบอย่างที่ฟาร์มเราทำ ก็สามารถคืนทุนได้ภายใน 2-3 ปี และโรงเรือนยังมีอายุการใช้งานที่นานถึง 10 ปี จึงไม่ต้องกังวลว่าหลังจากคืนทุนแล้วโรงเรือนจะพังต้องลงทุนใหม่ แต่สามารถใช้งานได้นาน พอหลายๆ คนมองเห็นว่าสามารถทำงานได้ดีผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพด้วย เกษตรกรหลายๆ ท่าน ก็เริ่มให้ความสนใจ เริ่มมาทำกันเป็นเครือข่ายเป็นลูกฟาร์มของเรา ซึ่งเราก็มีบริการทั้งก้อนเชื้อให้กับผู้ที่ต้องการซื้อไปเพาะ พอผลผลิตออกมาจะขายเองก็ได้ หรือเข้ามาขายในเครือข่ายเราก็ยินดีทำการตลาดร่วมกัน” คุณพัชรพล บอก

ซึ่งการผลิตดอกเห็ดให้ได้คุณภาพ คุณพัชรพล บอกว่า จะนำก้อนเชื้อเห็ดที่มีเชื้อเดินเต็มถุงมาแขวนภายในโรงเรือน ประมาณ 15,000 ก้อน พร้อมทั้งควบคุมอุณภูมิภายในโรงเรือนอยู่ที่ 27-30 องศาเซลเซียล หากช่วงใดมีสภาพอากาศที่ร้อนจนเกินไปจะตั้งระบายอากาศ 5 นาที ทุก 50 นาที ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะระบายอากาศ 2 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง โดยก้อนเห็ดทั้งหมดจะมีอายุให้เก็บดอกเห็ดจำหน่ายได้อยู่ที่ 5 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วควรนำออกและเปลี่ยนก้อนเชื้อใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อราและโรคแมลงต่างๆ ช่วยทำให้เกิดไม่เกิดการสิ้นเปลืองในการจัดการ

จากการศึกษาและเก็บข้อมูลมาโดยตลอดในช่วงที่ทดลองเพาะเห็ด บวกกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ควบคุมในทุกๆ เรื่อง คุณพัชรพล บอกว่า ทำให้เขาสามารถคำนวณและคาดการณ์ผลผลิตได้อย่างแน่นอน สามารถต่อรองในเรื่องของราคาได้สูงกว่าปกติ เพราะเห็ดที่เพาะในโรงเรือนระบบปิดค่อนข้างมีความสะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนเหมือนการเพาะในโรงเรือนทั่วไป จึงทำให้เห็ดที่ออกจากฟาร์มของเขาสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน จึงเป็นจุดเด่นที่ลูกค้าค่อนข้างไว้วางใจในคุณภาพ

โดยราคาก้อนเชื้อเห็ดจำหน่ายอยู่ที่ก้อนละ 7.50-8 บาท ส่วนดอกเห็ดสวยๆ ดอกสมบูรณ์ มีคุณภาพ จำหน่ายได้ราคาอยู่ที่ 60 บาท ต่อกิโลกรัม เมื่อถึงช่วงที่ราคาลดลงแต่ที่ฟาร์มของเขาก็ยังจำหน่ายอยู่ที่ราคาเดิม โดยไม่มีลดราคาลงไปกว่านี้เพราะเป็นเหมือนสัญญาทางการค้าที่ซื้อขายกันแบบระยะยาว

“ช่วงที่ฟาร์มผมยังไม่ได้ทำก้อนเอง ช่วงนั้นเราก็มีรับก้อนเชื้อมาจากที่อื่น ช่วงที่ลองผิดลองถูกเราไม่มีความรู้ในเรื่องการเปิดดอก ทำให้การเพาะเห็ดแรกๆ เกิดความเสียหายมาก เพราะเราซื้อมาจากที่ไกลๆ พอเรามาศึกษาจริงๆ การเดินทางขนส่งมีความสำคัญมาก ในเรื่องของคุณภาพการเปิดดอก พอผมมีโอกาสได้มาทำก้อนเชื้อเอง ผมจะคัดลูกค้า ถ้าอยู่ไกลผมจะไม่ขายให้ เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อเสียหาย มันมีความร้อนจากการขนส่งเกิดขึ้น ดอกเห็ดที่ได้ก็ไม่มีคุณภาพ ก้อนเชื้ออยู่ได้ไม่นานเกิดราเขียว ผมจึงต้องควบคุมคุณภาพเรื่องนี้ด้วย ดังนั้นทุกคนที่ได้มีศึกษาในการทำเห็ดกับผมจะต้องไม่ลงทุนเสียเปล่า ทำแล้วต้องได้เงินได้กำไร” คุณพัชรพล บอก สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการเพาะเห็ด หรือจะศึกษาเข้าดูงานเพื่อสร้างอาชีพทางการเพาะเห็ด ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

วันนี้ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอหนองพอก ได้รับมอบหมายจาก คุณประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ออกติดตามโครงการไร่นาสวนผสมของ คุณวัชราพร กองศรี หรือ ผู้ใหญ่อ้อ อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 419 หมู่ที่ 13 ผู้ใหญ่บ้าน บ้านวังน้ำเย็น ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โทร. 080-183-4750 โดยการสนับสนุนของ กำนันอัครวัฒน์ ศรีพะยอม

โดยมี คุณชาญศักดิ์ หงษ์ทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นำลงตรวจเยี่ยม ไร่นาสวนผสมตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรอยู่อย่างพอเพียง พื้นที่ 8 ไร่ ปลูกมะนาว 120 ต้น เก็บขายทุกวัน วันละ 100-500 ผลผลละ 1 บาท เลี้ยงปลา 3 บ่อ ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร บ่อละ 5,000 ตัว เลี้ยงวัว ปลูกผักสวนครัว ปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ขายทุกวัน แบบอย่างของประชาชน ท่านผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา โดย คุณวิธรัช รามัญ นายอำเภอหนองพอก จัดเป็นจุดศึกษาดูงานของชุมชน นอกจากนี้ มีทำนาเกษตรอินทรีย์ 16 ไร่ ปลูกมันสำปะหลัง 12 ไร่ ความเป็นอยู่อย่างมีความสุข พร้อมดูแลประชาชน ในตำแหน่ง “ผู้ใหญ่บ้านสตรีเหล็กนักพัฒนา”

คุณวัชราพร กองศรี หรือ ผู้ใหญ่อ้อ กล่าวว่า ตนเองมีลูก 3 คน เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพส่วนตัวที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง สามีรับราชการครู ตนเองเป็นลูกสาวกำนัน เรียกว่าสายเลือดเหลืองดำ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน อยากทำอะไรที่เป็นรูปธรรม ให้เป็นแบบอย่างของประชาชน เมื่อครอบครัว กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด ครอบครัวเกษตรกรมีความสุข สังคมย่อมสงบสุข เราเริ่มต้นจากครอบครัว ขยายออกสู่สังคมรอบข้างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โดยเฉพาะอำเภอหนองพอก เป็นดินแดนที่น่าอยู่ พื้นที่บริเวณบ้านวังน้ำเย็น ตำบลผาน้ำย้อย รอยต่อ 3 จังหวัด มีเทือกเขาเขียว อากาศเย็นสบาย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัดป่าผาน้ำทิพย์ พระมหาเจดีย์ศรีชัยมงคล ผาหมอกมิวาย สวนพฤกษศาสตร์ รอยต่อ ภูจ้อก้อ นมัสการพระธาตุเขมปัตต หลวงปู่หล้า เขมปัตโต อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เขตรอยต่ออำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

คุณประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า อำเภอหนองพอกเป็นดินแดนที่น่าอยู่ เมืองแห่งธรรมชาติ วัฒนธรรมงดงาม เทือกเขาสูง ท่านวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบแนวทางงานส่งเสริมการเกษตร “อำเภอหนองพอกเมืองไม้ผล” เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง มะม่วงเพื่อการส่งออก สวนเงาะ ลำไย สวนสะละ สวนอินทผลัม มีน้ำตก ถ้ำทางธรรมชาติ หน้าผาชมเมฆหมอกผ่านทิวเขา จนชื่อว่า “ผาหมอกมิวาย” เชิญชวนนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงเกษตร พักค้างแบบแคมปิ้ง ในคืนเดือนเพ็ญบนเขาเขียว ท่านจะได้บรรยากาศดีๆ มิรู้ลืม โดยเฉพาะคนอำเภอหนองพอก เป็นคนจิตใจงดงาม น้ำใจดี อำเภอหนองพอกเมืองแห่งอนาคต

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอปัญหาการเรียกชื่อพืชพันธุ์ผักไม่เหมือนกันมาบ้างนะครับ

เมื่อลองไล่ๆ ดูแล้ว ก็พบว่ามีหลายกรณีทีเดียว เช่นว่า ผู้คนรุ่นเก่าๆ ในเขตภาคเหนือและบางส่วนของภาคกลาง มักเรียก ขึ้นฉ่าย ว่า “ตั้งโอ๋” เสมอ เมื่อเข้าร้านอาหารสั่งปลาช่อนผัดใบตั้งโอ๋ ก็จะเป็นผัดขึ้นฉ่ายทุกครั้ง

ใบเบย์ (bay leaf) ถูกเรียกในครัวไทยว่า “ใบกระวาน” มาตลอด ทั้งๆ ไม่ใช่เป็นใบของต้นกระวาน (cardamom) แต่อย่างใด

เม็ดยี่หร่า (cumin) ซึ่งเป็นพืชตระกูล “เทียน” ชนิดหนึ่งในกลุ่มสมุนไพรไทยโบราณนั้น ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเมล็ดของต้นไม้ใบฉุนที่คนภาคใต้เรียกยี่หร่า (tree basil) กระทั่งหนังสือตำราอาหารภาษาไทยหลายเล่มก็ยังเขียนไว้เช่นนั้น เลยกลายเป็นความเข้าใจผิดที่แก้ไขยากที่สุดไปอีกข้อหนึ่ง

ส่วนกรณี “ใบยี่หร่า” ที่ร้านข้าวแกงปักษ์ใต้เรียกสั้นๆ ว่า “ใบรา” พบได้ในแกงเนื้อ หรือแกงปลาดุกนั้น แถบภาคกลางมีหลายชื่อ อย่างเช่นแถบกาญจนบุรี เรียก “กะเพราควาย” บ้าง “กะเพราช้าง” บ้าง ทว่าส่วนใหญ่เมื่อเอ่ยถึงยี่หร่าก็จะเข้าใจร่วมกันได้ว่าคือต้น tree basil นี้

เรื่องการเรียกใบยี่หร่าว่าใบจันทน์นี้ เป็นที่เข้าใจร่วมกันในวงค่อนข้างกว้างนะครับ มีการอธิบายขยายความต่อไปด้วยว่า บางแห่งถึงกับเรียก “จันทน์หมาวอด” คือถ้าได้ใส่ในผัดเผ็ดเนื้อหมาละก็ เป็นถูกกันดีนัก จน “วอด” คือกินกันหมดกระทะอย่างรวดเร็วทีเดียว

อย่างไรก็ดี มีสูตรกับข้าวของหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ อยู่สูตรหนึ่ง คือ “ผัดเผ็ดเนื้อสับใบจันทน์” คุณชายถนัดศรีให้เอาเนื้อวัวสับหยาบมาผัดน้ำมันกับพริกแกงเผ็ดและพริกขี้หนูสับ เม็ดพริกไทยอ่อน สุดท้ายจึงใส่ใบจันทน์ ท่านว่าผัดเผ็ดกระทะนี้ “หากใครไม่ชอบเผ็ดก็ไม่ต้องใส่พริกขี้หนู เพราะใบจันทน์มีรสเผ็ดร้อนอยู่แล้ว รับประทานหน้าหนาวเรียกเหงื่อดีนัก” และว่า ใบจันทน์นั้น “ถ้าหาไม่ได้ ให้ใส่ใบยี่หร่าแทน”

ถ้าเป็นอย่างที่ท่านเขียนหมายเหตุ ใบจันทน์ ในความรับรู้ของคุณชายถนัดศรีก็ต้องเป็นคนละใบกับใบยี่หร่าแน่ๆ พอลองค้นดู ปรากฏว่า ผักแพว (Vietnamese Coriander) ที่ทางภาคเหนือเรียก ผักไผ่ อีสานเรียก พริกม้า นั้น มีที่เรียกในแถบโคราชว่า “จันทน์โฉม” ด้วย ภาคใต้บางแห่งเรียก “หอมจันทน์” รสชาติผักแพวนั้นเผ็ดร้อน หอมฉุนรุนแรง แถมมีสูตรผัดเผ็ดปลาดุกที่ใส่ผักแพวเพิ่มความฉุนร้อนด้วย เรียกว่าผักแพวก็ถูกใช้ปรุงรสผัดเผ็ดด้วยเช่นกัน

ผมเลยอยากเดาว่า ใบจันทน์ของคุณชายถนัดศรีน่าจะคือผักแพวนี้เองน่ะครับ

ตัวอย่างการเรียกต่างๆ กันไปต่อกรณีใบจันทน์ที่ผมยกมานี้ ไม่ได้แปลว่าจะสามารถชี้ว่าใครเรียกผิดเรียกถูกนะครับ มันบอกได้แต่เพียงว่า ความรับรู้ของคนเกี่ยวกับนิยามพืชใบฉุนสองสามชนิดนี้ มีความต่างกันไปในแต่ละแห่ง

คล้ายๆ อีกกรณีหนึ่ง คือ “กะเพราควาย” ซึ่งผมเพิ่งได้เห็นตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง

ตามที่เล่าไว้ตอนแรก คืออันว่ากะเพราควาย กะเพราช้างนั้น รับรู้กันทั่วไปว่าคือใบยี่หร่า ที่มักใส่เอากลิ่นฉุนในผัดเผ็ดหรือแกงป่า ผมจำได้เลยว่า เมื่อสามสิบกว่าปีก่อน เคยกินแกงป่าร้านหนึ่งในเขตตัวเมืองนครนายก เป็นแกงน้ำใสๆ สีแดงๆ ใส่เนื้อวัวสดนุ่มๆ โดยปรุงใส่ใบยี่หร่าในตอนท้าย เมื่อยกมาให้ซดหรือราดข้าวสวยร้อนๆ กินกับน้ำปลาพริกขี้หนู ก็รู้สึกหอมแปลกลิ้นมากๆ ในเวลานั้น

อย่างไรก็ดี พี่อู๊ด – คุณชวิศา อุตตะมัง ชาวเวียงแหง เชียงใหม่ ได้เคยบอกพวกผมว่า กะเพราควายที่เวียงแหงไม่ได้หมายถึงยี่หร่า แต่เป็นพืชตระกูล basil อีกชนิดหนึ่ง ที่แม้มีลักษณะต้น ใบ และดอกคล้ายยี่หร่ามาก แต่ก็ไม่ใช่อย่างเดียวกันแน่ๆ โดยเฉพาะกลิ่นจะต่างกันโดยสิ้นเชิง

กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมไปเที่ยวเมืองเชียงรุ่ง – สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาชนจีน บ่ายวันหนึ่ง ระหว่างทางที่นั่งรถออกไปเมืองลา คณะเราแวะซื้อภาชนะเครื่องจักสานสวยๆ ริมทาง ผมเองเดินเลี่ยงไปชมทิวทัศน์ข้างถนน และพบว่า พงไม้ข้างถนนลูกรังแดงๆ นั้น มีต้นอะไรอย่างหนึ่งที่หน้าตาน่าจะกินได้แน่ๆ

ลักษณะต้น ทรงพุ่ม ใบ ดอกของมันคล้ายยี่หร่ามากๆ เมื่อลองเด็ดใบมาขยี้ดม พบว่ากลิ่นของมันเทียบเท่าใบกะเพราฉุนร้อนระดับเกรดเยี่ยมๆ ที่ผมเองก็พบในเมืองไทยอยู่เพียงไม่กี่แห่ง

ไม่มีกลิ่นหอมแรงๆ แบบยี่หร่า มีแต่ความฉุนร้อนสาหัสสากรรจ์เท่านั้น น่าพิศวงจริงๆ

ผมหักกิ่งเด็ดใบเอากลับมาที่รถให้ชาวคณะดู ทำให้พี่อู๊ด ซึ่งมาด้วยกันในคราวนี้ด้วย ตื่นเต้นมากๆ

“นี่แหละๆ กะเพราควายแบบเวียงแหงที่พี่อู๊ดบอก ใช่เลยๆ เห็นมั้ยพี่บอกแล้วว่ามันไม่ใช่ยี่หร่าๆ” ดูพี่อู๊ดจะโล่งใจมากที่ทำให้พวกเราเข้าใจเรื่องนี้ได้เสียที ผมเลยเก็บช่อดอกแก่มาหลายช่อ กะว่ากลับไปจะลองเพาะต้นอ่อนปลูกไว้ทำกับข้าวกินที่เมืองไทยดู

เช่นเดียวกับกรณีใบจันทน์นะครับ คือนี่ไม่ได้แปลว่า ใครที่เรียกยี่หร่าว่ากะเพราควายจะเข้าใจผิด มันเป็นการนิยามนามเฉพาะถิ่น กับพืชที่ปรากฏเชื้อพันธุ์ขึ้นงอกงามในแผ่นดินนั้นๆ เท่านั้นเอง

“กะเพราควาย” นี้ พี่อู๊ด บอกว่า แถวบ้านเธอเอามาผัดกับเนื้อวัว แกงคั่วเนื้อ หรือใส่ต้มเนื้อแซ่บๆ จะอร่อยมาก

เดี๋ยวถ้าผมปลูกขึ้นงามดีจนพอจะเอามาปรุงกับข้าวกินได้ ค่อยมาว่ากันอีกทีว่าจะทำอะไรกินดี หรือว่าอยากจะเรียกชื่อมันใหม่ว่าอะไรดีนะครับ ยุคที่เกษตรกรคนรุ่นใหม่ กำลังเติบโตในวงการเกษตรกรรม เกือบทั้งหมดประสบความเร็จ ได้รับการยอมรับในระดับต้นๆ และประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว วิธีที่ผลักดันตนเองไปสู่ความสำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สำหรับ คุณสิริมณี มณีท่าโพธิ์ เกษตรกรสาว วัย 33 ปี ชาวบ้านทุ่งน้อย ตำบลบ้านตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่รู้ จนประสบความสำเร็จในวันนี้ เพราะแรงกดดันและวิกฤตที่พบ จนพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างไม่ยาก

คุณสิริมณี มณีท่าโพธิ์ เริ่มต้นทำงานที่กรุงเทพฯ สมัคร Royal Online ไม่ได้เป็นงานที่ตรงกับสายที่เรียน แต่ก็เป็นพนักงานประจำ กระทั่งแม่ป่วย จึงตัดสินใจกลับมาหางานทำที่บ้าน เพื่อดูแลแม่ที่ป่วยไปด้วย หน้าที่ทุกวันคือ ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนใกล้บ้าน และทำนาเสริมในช่วงเวลาที่ว่างเว้นจากอาชีพครูพี่เลี้ยง

การทำนา เป็นอาชีพหลักของครอบครัว เมื่อแม่ป่วย คุณสิริมณีจำเป็นต้องทำเอง ก็ทำได้ตามที่ได้เรียนรู้จากครอบครัว แต่สิ่งที่พบคือ การทำนาแบบเดิม เมื่อได้ผลผลิต หักค่าใช้จ่ายและต้นทุน ก็ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ทำให้ต้องกู้ยืมเมื่อต้องลงทุนใหม่ และเป็นหนี้สะสมไปเรื่อยๆ ทุกปี

ในความโชคร้าย ก็มีความโชคดี เมื่อมีคนให้คำแนะนำ ให้ปลูกข้าวพันธุ์หอมนิล และจะรับซื้อคืนในราคาที่สูงกว่าเท่าตัวของราคาข้าวที่ปลูกอยู่ แต่ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาไปพร้อมกัน เมื่อเห็นช่องทาง คุณสิริมณีพร้อมกับเพื่อนบ้านอีกหลายราย จึงตัดสินใจซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยา เพื่อลงปลูก หวังจะขายผลผลิตในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ได้เม็ดเงินเป็นที่น่าพอใจ แต่กลับพลิกผัน เมื่อผลผลิตพร้อมเก็บเกี่ยว คนขายเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยา หาตัวไม่เจอ สิ่งที่คุณสิริมณีทำได้คือ การพยายามขายผลผลิตข้าวที่ได้ออกให้หมด แม้จะไม่ได้ราคา แต่ขอให้ได้ต้นทุนกลับมาบ้างก็ยังดี

“ตอนนั้นลงทุนไป 30,000-40,000 บาท จากคนที่เข้ามาแนะนำ บอกจะรับซื้อข้าวหอมนิลจากเรา พอถึงเวลาติดต่อไม่ได้ เงินก็ลงทุนไปแล้ว เลยคิดว่า อย่างไรก็ต้องขายเพื่อเอาทุนคืน จึงเอาข้าวเปลือกมาสี แล้วโพสต์ขายบนเฟซบุ๊กของตัวเอง ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท”

คุณสิริมณี ตอบว่า ขายได้ ได้เฉพาะเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กด้วยกัน รวมปริมาณที่ขายได้ เดือนละ 5 กิโลกรัม เท่านั้น จึงขยับช่องทางการขายออกไปที่กลุ่มขายของในจังหวัดพิษณุโลก มีผู้คนจากหลายจังหวัด ไม่เฉพาะพิษณุโลกเท่านั้นที่เข้ามารวมกลุ่มในเฟซบุ๊กนี้ แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของจังหวัดพิษณุโลก ในการโพสต์ขาย คุณสิริมณี บอกเล่าเรื่องราวที่ต้องนำข้าวสารมาสีและแบ่งขาย ทำให้ได้รับความเห็นใจ และขายข้าว จำนวน 5 ตัน หมดในระยะเวลาไม่นาน จากนั้นคุณสิริมณีจึงช่วยเหลือเพื่อนบ้านที่ร่วมชะตากรรมถูกหลอกเหมือนกัน ด้วยการโพสต์ขายข้าวของเพื่อนบ้านในกลุ่มเฟซบุ๊กต่อ และสามารถขายได้หมด 30 ตัน ในระยะเวลาอันรวดเร็ว