ดิฉันขอนำกรณีศึกษาของประเทศสิงคโปร์มาเล่าเนื่องจากเขา

มีการตื่นตัวในเรื่องการปรับตัวให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา จากนโยบาย Smart Nation ที่ผู้นำสิงคโปร์ประกาศให้เป็นแผนเดินหน้าหลักของประเทศสิงคโปร์ นับตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้สิงคโปร์ก้าวสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ ผู้คนมีความสุขและสมดุลภายใต้การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพื่อประชากร พร้อมทั้งสนับสนุนการค้นคว้าด้าน internet of things เพื่อสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของประชาชน

โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญเพื่อสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายในการยกระดับ “การศึกษา” ของประชากร โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและนักศึกษา ให้เป็นไปแนวทางของนโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสิงคโปร์ที่โดดเด่น คือ โครงการ SkillsFuture ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2559 เพื่ออุดช่องว่างทักษะอาชีพ (skill gab) โดยชาวสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี จะได้รับ Skill Future Credit เริ่มที่ 500 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ ประมาณ 12,500 บาท ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนให้อย่างสม่ำเสมอ ไม่มีวันหมดอายุ ในหลักสูตรอบรมทักษะอาชีพที่ปัจจุบันรัฐบาลเห็นชอบกว่า 12,500 หลักสูตร นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2560 ชาวสิงคโปร์ทุกคนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจะมีข้อมูลการเรียนรู้รายบุคคลแบบออนไลน์เป็นของตัวเอง เพื่อการประเมินลักษณะเฉพาะของบุคคล และช่วยแนะนำเพื่อวางแผนการศึกษา การทำงาน รวมถึงการอบรมทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

โครงการ SkillsFuture (ดูรายละเอียดได้ที่ skillsfuture.sg) นี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต (The Future Economy Council – FEC) ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีสมาชิกประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ ภาคอุตสาหกรรม สภาแรงงานลูกจ้าง ภาคการศึกษา และสถาบันจัดอบรม ในโครงการมีการกำหนดทักษะที่จำเป็นของประชาชนทุกกลุ่มได้แก่กลุ่มนักเรียน คนเข้าทำงานใหม่ คนมีประสบการณ์ทำงาน นายจ้าง ผู้ฝึกอบรมและผู้ที่ต้องการเรียนรู้ โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือต้องการช่วยให้ประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสิงคโปร์มองว่าตลาดคือโลก การศึกษาและความรู้ความสามารถจึงต้องเป็นสากล เครือข่ายต้องกว้างขวาง

ดังนั้นทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตต้องสอดรับกับโลกที่กำลังเปลี่ยนไป โดยในโครงการจะกำหนดทักษะความสามารถที่จำเป็นในอนาคต โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น 1) กลุ่ม product management 2) กลุ่ม operations planning and production 3) กลุ่ม manufacturing productivity and innovation 4) กลุ่ม quality management system 5)

กลุ่ม leadership and people management เป็นต้น ซึ่งในแต่ละกลุ่มความสามารถนั้น จะระบุทักษะที่จำเป็นเช่น กลุ่ม product management จะต้องมีทักษะที่เรียกว่า strategic research and development หรือกลุ่ม public relations จะต้องมีทักษะ build international business networks และ speak with impact เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนแต่ละคนมีแนวทางในการพัฒนาตนเองที่สอดคล้องกับแนวทางหลักของประเทศ โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนาโดยที่ชาวสิงคโปร์อายุเกิน 25 ปีจะได้ Skills Future Credit 500 เหรียญ เพื่อไปใช้ในการเรียนคอร์สฝึกทักษะใหม่ ๆ โดยผ่านสถาบันการศึกษาที่รัฐบาลอนุมัติ โดยเป็นการเรียนแบบ E-Learning หรือออนไลน์

อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ถกเถียงกันมากก็คือ โครงการนี้จะเกิดประโยชน์แก่ชาวสิงคโปร์จริง ๆ และช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งสำหรับดิฉันคิดว่า การทำอย่างนี้อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีและทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดเวลา (life-long learning) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการนำประเทศสู่อนาคต ถึงไม่สำเร็จทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แค่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ก็คุ้มแล้วค่ะ แหมชักอยากให้เมืองไทยมีอย่างนี้บ้างแล้วสิคะ โครงการแบบนี้จะช่วยลดปัญหาที่อาจตามมาในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ และเป็นการวางแผนรองรับในระยะยาวได้อีกด้วย (ขออนุญาตกระซิบดัง ๆ ไปถึงผู้เกี่ยวข้องที่บังเอิญอ่านเจอด้วยล่ะกันนะคะ)

รมว.เกษตรฯ สั่งตรวจสอบครอบครัวชาวนารับเงินสมัครใจเปลี่ยนอาชีพรายละ 30,000 บาท แต่ยังแอบปลูกข้าวเหมือนเดิม ฮึ่มหากพบต้องเรียกเงินคืนเพราะผิดสัญญา แต่ยอมรับอีกส่วนเพราะจ่ายเงินล่าช้าทำให้เมื่อมีน้ำชาวนาบางรายจึงปลูกข้าวไปพลางๆ ก่อน

นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรลงสำรวจพื้นที่เกษตร ในส่วนที่ลงทะเบียนเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ โดยได้รับเงินอุดหนุน 2,000 บาท/ไร่ รายละ ไม่เกิน 15 ไร่ หลังได้รับแจ้งว่ามีเกษตรกรรับเงินแล้วไม่ทำตามสัญญา ไม่ปรับเปลี่ยนอาชีพ หรือรับเงินแล้วยังคงปลูกข้าว เพราะหากพบ มีการกระทำผิดเงื่อนไขให้ยึดเงินคืน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเงินงบประมาณของภาครัฐ

“จากการสอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบอุปสรรคเกิดจากการเบิกจ่ายเงินของสำนักงบประมาณดำเนินการได้ช้า เมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายเงินชดเชยไร่ละ 2,000 บาทไม่สามารถดำเนินการได้ เมื่อมีน้ำเกษตรกรจึงตัดสินใจปลูกข้าว เรื่องนี้ถือเป็นความบกพร่องของทางการที่ดำเนินการช้า แต่หากพบมีการกระทำผิดเงื่อนไขการลดพื้นที่ปลูกข้าวและปรับเปลี่ยนอาชีพ ให้เจ้าหน้าที่เรียกเงินคืนจากเกษตรกรได้เลย แต่เบื้องต้นยังไม่ได้ข้อสรุปว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด” รมว.เกษตรฯ กล่าว

ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 และโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนาปี 2560/61 มีเกษตรกรเข้ามาแจ้งยืนยันการปลูกพืชหลากหลายแล้ว 24,957 ราย พื้นที่ 219,976.75 ไร่ คิดเป็น 63.83% ของพื้นที่สมัครเข้าร่วมโครงการ

ขณะที่คณะทำงานระดับตำบล ประกอบด้วย ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ อาสาสมัครเกษตร และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงปลูกพืชหลากหลายของเกษตรกร ได้ 1,502 ราย พื้นที่ 12,553.50 ไร่ หรือคิดเป็น 5.7% ของพื้นที่แจ้งยืนยันการปลูก

ส่วนโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูแล้งหลังนาปี 2560/61 ที่มีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้าและยังช่วยลดรอบการทำนา มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 700,000 ไร่ ล่าสุดมีเกษตรกรสมัครเข้าร่วม 84,906 ราย คิดเป็น 123,642 แปลง รวมพื้นที่ 618,373.25 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน 88.34% ของพื้นที่เป้าหมาย

นายสมชายกล่าวว่า ทั้ง 2 โครงการดังกล่าวดำเนินการเพื่อลดรอบการทำนาในฤดูนาปรัง เป็นการพักนาและปลูกพืชทางเลือกอื่นสลับ เป็นรายได้ระหว่างการพักนา และสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้การเพาะปลูกพืชอื่นในพื้นที่นา โดยภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่

นายพีรพันธ์ คอทอง รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ปริมาณฝนและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ อยู่ในเกณฑ์ดี และมีปริมาณมากกว่าปี 59 พบว่า พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดภาวะแห้งแล้ง มี 47 จังหวัด 3.82 ล้านไร่ (พื้นที่เสี่ยงสูง 0.23 ล้านไร่ ปานกลาง 2.59 ล้านไร่) ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน (ข้อมูล 18 ธ.ค. 60) และในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ประกอบดัวย 4 มาตรการ 18 โครงการ งบประมาณ 11,730.21 ล้านบาท สรุปผลการดำเนินงานดังนี้

มาตรการที่ 1 ส่งเสริมความรู้เพื่อลดความเสี่ยง

ติดตามสถานการณ์น้ำ ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืช ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งตามช่วงเวลา พร้อมแจ้งข่าวสารพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งผ่านทางเว็บไซด์กรมพัฒนาที่ดิปรับปรุงแผนที่แล้งซ้ำซากในพื้นที่ภาคตะวันออกแล้วเสร็จ 42%

มาตรการที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร

โครงการปลูกพืชหลากหลาย เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 38,629 ราย 326,711 ไร่ อยู่ระหว่างตรวจแปลงเกษตรกร โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด เกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ 15,096 ราย พื้นที่ดำเนินการ 175,631.10 ไร่ อยู่ระหว่างไถเตรียมดิน 40,378 ไร่ ส่วนที่เพิ่มเติมอย่ะหว่างรับสมัครเกษตรกร

โครงการปลูกพืชอาหารสัตว์ .รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ ธ.ค. 60 – ก.พ. 61 ยื่นสมัครแล้ว 20 จังหวัด 731 ราย 5,770 ไร่ อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว 360 ราย 3,176 ไร่ 3 งาน(ข้าวโพดหมัก 2,674 ไร่ 2 งาน เมล็ด 502 ไร่ 1 งาน) โครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 610,753 ไร่

มาตรการที่ 3 เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน

ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ แก้มลิง ระบบกระจายน้ำ ดำเนินการแล้ว 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7 ของเป้าหมาย สร้างแหล่งน้ำนอกเขตชป. แล้ว 13,970 บ่อ คิดเป็นร้อยละ 31 ของเป้าหมาย ก่อสร้าง ขุดลอก/ปรับปรุงแหล่งน้ำในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว 13 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 27 ของเป้าหมาย

มาตรการที่ 4 การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่เกษตรที่ประสบภัย ประกอบด้วย 1. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบระทรวงการคลังฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง 2. การประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 3. การจ้างแรงงานชลประทานโดยกรมชลประทาน 4. การสนับสนุนเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้สหกรณ์ที่ประสบสาธารณภัย โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์

จากแนวทางของรัฐบาลว่าด้วยระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งจะก่อให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในบริเวณจังหวัดภาคตะวันออก อันได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และจันทบุรี ทั้งนิคมอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว นิคมอุตสาหกรรมรายใหม่ ตลอดจนเกษตรกร และภาคบริการ งานนี้กรมชลประทาน และการประปาส่วนภูมิภาค ดูจะรับบทหนักในการเตรียมความพร้อมเรื่องปัญหา

ที่ว่าด้วย “น้ำ” ทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะเพิ่มมากขึ้น และสร้างความไว้วางใจให้เหล่านิคมอุตสาหกรรม ว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบการท่วมนิคมอมตะนคร เมื่อปี 2556

อีกข้อมูลจากกรมชลฯระบุว่า ในระยะเวลา 10 ปี จะสามารถสร้างพื้นที่เพิ่มความจุน้ำในการรองรับการมาของ EEC ให้ถึง 354 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยคาดว่าจะมีน้ำสำหรับใช้การสูงถึง 781 ล้าน ลบ.ม.ในปี 2569 เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำเพื่ออุตสาหกรรมที่เอกชนคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 476 ล้านลบ.ม. จากปัจจุบัน 315 ล้านลบ.ม. และอาจสูงถึง 561 ล้านลบ.ม.เมื่อถึงปี 2579 ในขณะที่กรมชลฯเตรียมผันน้ำนอกพื้นที่จากจังหวัดสระแก้วมาช่วยหนุนในระยะยาว รองรับกับความหวังดันเศรษฐกิจไทยกลับมายิ่งใหญ่ในอาเซียนผ่านแนวทาง EEC

เปิด 6 แนวทางจัดการน้ำ EEC

“เกรียงศักดิ์ พุ่มนาค” ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและรักษา สำนักงานกรมชลประทานที่ 9 ระบุว่า แนวทางหลักที่กรมชลประทานวางไว้ เป็นแผนรองรับความต้องการใช้น้ำในระยะเวลา 10 ปี ประกอบด้วย

1.ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 7 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ จังหวัดระยอง อ่างเก็บน้ำหนองค้อ จังหวัดชลบุรี อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง อ่างเก็บน้ำบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อ่างเก็บน้ำมาบประชัน จังหวัดชลบุรี อ่างเก็บน้ำคลองหลวง จังหวัดชลบุรี และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา

โดยอ่างเก็บน้ำมาบประชัน อ่างเก็บน้ำบ้านบึง อ่างเก็บน้ำคลองหลวง อ่างเก็บน้ำคลองสียัด ยังไม่ได้รับงบประมาณ ส่วนอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และอ่างเก็บน้ำหนองค้อ ได้รับงบประมาณแล้ว และกำลังก่อสร้าง

การปรับปรุงแหล่งน้ำทั้ง 7 แห่ง จะเพิ่มความจุน้ำในอ่างเก็บได้เพิ่ม 102 ล้าน ลบ.ม. จากความจุเดิม 770 ล้าน ลบ.ม. รวมเป็น 872 ล้าน ลบ.ม.

2.พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 4 แห่ง ในลุ่มน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว อ่างเก็บน้ำวังโตนด ซึ่งจะทำให้มีความจุน้ำในพื้นที่รวม 308.5 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรเพื่อการเกษตร 170 ล้าน ลบ.ม. และจะสามารถผันน้ำเพื่อใช้รองรับ EEC ได้อีก 100 ล้าน ลบ.ม.

3.เชื่อมโยงแหล่งน้ำและรับผันน้ำ 2 แห่ง ทำให้สามารถผันน้ำมาใช้ในพื้นที่ EEC รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกได้เพิ่ม 20 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี โดยเป็นการปรับปรุงคลองพานทองเพื่อผันน้ำไปอ่างเก็บน้ำบางพระ และโครงการผันน้ำประแสร์-บางพระ เพื่อรองรับการบริหารจัดการร่วมจากการผันน้ำจากกลุ่มวังโตนด ทำให้สามารถผันน้ำไปเก็บยังอ่างเก็บน้ำอื่น เมื่อน้ำในอ่างเกินความจุ

โดยคลองชลประทานพานทองจะกลายเป็นเส้นเลือดสำคัญในการส่งน้ำเข้าสู่อ่างเก็บน้ำบางพระ เพื่อให้อ่างเก็บน้ำบางพระกลายเป็นศูนย์กลางบริหารจัดการน้ำในจังหวัดชลบุรี ทั้งเพื่อการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม รวมไปถึงการท่องเที่ยว และภาคบริการที่จะขยายตัวขึ้นรองรับ EEC

4.สูบน้ำกลับท้ายอ่าง 2 โครงการ คือ ปรับปรุงระบบสูบน้ำอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง และก่อสร้างระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้การได้เพิ่มอีก 55 ล้าน ลบ.ม.

5.แผนงานป้องกันน้ำท่วม ประกอบด้วย การป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ผ่านการสร้างสถานีสูบน้ำคลองทับมา และสถานีสูบน้ำหนองโพรง และการป้องกันน้ำท่วมลุ่มน้ำท่าลาด-คลองหลวง บริเวณอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

6.การหาแหล่งน้ำสำรอง และบริหารจัดการความต้องการน้ำ โดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ จะทำให้มีน้ำเพื่อการใช้สำหรับรองรับระเบียงเศรษฐกิจฯเพิ่มขึ้น 77 ล้าน ลบ.ม.

แผนรองรับทั้ง 6 ของกรมชลฯเพื่อรองรับ EEC ระยะเวลา 10 ปีนี้ มีงบประมาณ 15,221 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่รวมแผนที่ 6 ของอีสท์วอเตอร์ โดยคาดว่าจะเพิ่มปริมาณน้ำใช้การอีก 354 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี จากเดิม 427 ล้าน ลบ.ม. เป็น 781 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งโครงการทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566

ผันคลองพระสะทึงเข้าอ่างสียัด

ขณะที่ อีสท์วอเตอร์ เปิดเผยตัวเลขจากการสำรวจผู้ประกอบการ พร้อมคาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำ ทั้งจากลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ รวมถึงนอกพื้นที่อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้น้ำโดยตรงจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก ว่าปี 2560 ในภาคอุตสาหกรรมมีการใช้น้ำรวมอยู่ที่ 315 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่การคาดการณ์ต่อเนื่องว่าปี 2564 จะกลายเป็น 395 ล้าน ลบ.ม. และปี 2569 กลายเป็น 476 ล้าน ลบ.ม. และอาจสูงถึง 561 ล้าน ลบ.ม.ในปี 2579

“เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์” รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า เพื่อการรองรับความต้องการใช้น้ำใน EEC ในระยะ 20 ปีข้างหน้าให้เพียงพอนั้น ได้มีการวางแผนผันน้ำส่วนเกินจากอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง จังหวัดสระแก้ว มาเก็บในอ่างเก็บน้ำสียัด

ปีละประมาณ 70-120 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้ในพื้นที่ และผันต่อไปยังสถานีสูบน้ำพานทอง ก่อนเข้าเส้นท่อเดิมจากคลองพระองค์ไชยานุชิตไปลงอ่างเก็บน้ำบางพระ แต่ยังติดปัญหาใหญ่ที่ว่าเป็นโครงการผันน้ำข้ามลุ่มแม่น้ำ พื้นที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งยังต้องศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป

“อ่างเก็บน้ำคลองสียัดออกแบบให้มีความจุ 420 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยถึงปีละ 285 ล้าน ลบ.ม. ทำให้มีพื้นที่เหลือ จึงมีแนวคิดผันน้ำส่วนเกินจากอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึงมาเติมทุกปี” รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง มีความจุ 65 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำท่า หรือน้ำไหลผ่านและใช้การได้ 190 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ทางกรมชลประทานมีแนวทางผันน้ำด้วย

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (นทพ. บก. ทท) คือหนึ่งในพันธมิตรสำคัญ ผู้สนับสนุนและร่วมมือกับ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ มาอย่างยาวนาน ในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและประชาชน สมดังปณิธานของ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ในการเป็นที่พึ่งของประชาชนทั้งในยามเกิดภัยพิบัติและในยามสงบ

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย หรือ “นักรบสีน้ำเงิน” เป็นหน่วยทหารที่ได้รับความไว้วางใจ ความรัก และการต้อนรับจากประชาชนเป็นอย่างดี เวลาพี่น้องประชาชนประสบภัยธรรมชาติ อาทิ น้ำท่วม เขาจะได้รับความช่วยเหลือจากทหารชุดสีน้ำเงิน หรือหากประสบภัยแล้ง ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทหารชุดสีน้ำเงินสามารถช่วยเหลือได้ทั้งในระยะสั้น คือ จัดหาน้ำให้เป็นการเร่งด่วน และระยะยาว คือ การขุดบ่อ หรือการกักเก็บน้ำ ส่วนในสภาวะปกติ ทหารชุดสีน้ำเงินได้ช่วยประชาชนในเรื่องการประกอบอาชีพ รวมไปถึงการจัดหาอาชีพเสริม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศ

หลังการเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560 พลเอก ธงชัย สาระสุข ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้ให้โอวาทกำลังพล สร้างเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพล และเป็นแนวทางการทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน โดย พลเอก ธงชัย สาระสุข ได้เน้นย้ำให้กำลังพลทำงาน โดยน้อมนำตามแนวทางศาสตร์พระราชา พร้อมให้ยึดถือปรัชญาในการทำงาน 5 ประการ อันประกอบด้วย “เสียสละ มุ่งมั่น ศรัทธา สามัคคี มีคุณธรรม” เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างสุดความสามารถ เพื่อพี่น้องประชาชนสืบไป

พลเอก ธงชัย สาระสุข จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 19 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 30 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตร 69 โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2536-2537 หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 54 มีประสบการณ์การทำงานมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการทหารฝ่ายยุทธการ ด้านการวิจัยและพัฒนาการรบ ด้านราชการทหารสนามชายแดน ตามแผนป้องกันประเทศ ด้านราชการตามแผนงานการรักษาความมั่นคงภายในประเทศ และด้านราชการทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ปี 2549, ปี 2552, ปี 2553 และปี 2557) ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวของ พลเอก ธงชัย สาระสุข ดังข้างต้น จะมีส่วนสำคัญยิ่ง ในการบริหารและขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของกำลังพลทุกนาย สังกัดหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (นทพ. บก. ทท.) เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เปลี่ยนนามหน่วยจากเดิม กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือ กรป.กลาง เป็นหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หรือ นทพ. โดยมีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หรือ ผบ.นทพ. เป็นผู้บังคับบัญชา การทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารดีขึ้นนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทุกๆ ด้าน พร้อมกันไป ทั้งทางวัตถุและจิตใจ อันเป็นการช่วยเหลือประชาชนตามหลักการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือ เพื่อให้ประชาชนช่วยตนเองได้ต่อไป ตาม 8 แผนงานหลัก ดังนี้ (ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://afdc-ict.rtarf.mi.th)

แผนงานสร้างเส้นทางคมนาคม ถนนหนทางคือการนำความเจริญเข้าไปสู่ท้องถิ่น พร้อมๆ กับการนำผลผลิตของผู้คนออกมาสู่ตลาด สำคัญต่อการดำรงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนอย่างยั่งยืน ถนนนับหมื่นแสนกิโลเมตรที่ตัดผ่านป่าทึบ ยอดดอยสูงชัน หรือแม้หุบเหวลึกล้ำ ล้วนเป็นผลงานที่หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เกิดความภาคภูมิใจทุกครั้งที่ได้เห็นรถของพี่น้องประชาชนขนพืชผักผลไม้วิ่งไปบนถนน รวมทั้งสะพานที่เราตั้งใจสร้างขึ้น และมอบให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของส่วนราชการในท้องถิ่น
ส่วนแผนงานหลักที่ 2-8 จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามต่อฉบับหน้าค่ะ…

ติดต่อประสานงาน รศ.ดร.จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ (อาจารย์แมว) รักษาการ ผู้อำนวยการ ศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ สำนักงานคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 หรือ อีเมล molku@ku.ac.th หรือ ไลน์ไอดี ajmaew