ดินที่ปลูก สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย

จะเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินใบก้ามปู แกลบเก่าที่ผ่านการหมัก ขุยมะพร้าว มะพร้าวสับ (ที่ผ่านการล้างสารแทนนินออกหมดแล้ว) และทราย ในอัตราส่วน ดิน 2 ส่วน + วัสดุที่กล่าวมาข้างต้นรวมๆ กัน 1 ส่วน + ทราย 1 ส่วน หรือ พีชมอสส์ 2 ส่วน ผสมเพอร์ไลท์ 1 ส่วน

2. การปลูก ใช้ปลูกในกระถางขนาดต่างๆ กระถางดินเผา วงบ่อปูนซีเมนต์ หรือลงแปลงปลูก
3. ใช้ฟางกลบโคนต้น รดน้ำวันละครั้ง หรือถ้าวัสดุปลูกยังมีความชื้น ก็ยังไม่ต้องรดน้ำ
4. ทางฟาร์มจะตั้งเสาหลัก ใช้ไม้ไผ่ ไม้ยูคาฯ ทำค้ำเพื่อยึดลำต้น
5. การให้ปุ๋ย ให้ใส่ทุก 7-10 วัน ต่อครั้ง ราสป์เบอร์รี่ชอบปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ หรือสามารถใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในปริมาณน้อยๆ ให้ใส่ห่างจากรอบโคนอย่างน้อย 1 คืบ
6. ฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ ฮอร์โมนจุลินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ แคลเซียมโบรอน ฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง เมื่อผลสุกใกล้เก็บได้ ก่อนเก็บผลผลิต 7 วัน ควรหยุดการพ่นฮอร์โมน เพราะจะทำให้สีเปลี่ยน
7. ระยะเวลาในการปลูกราสป์เบอร์รี่ จะใช้เวลาเฉลี่ย 4-6 เดือน นับจากต้นเนื้อเยื่อ 3-4 เดือน สำหรับหน่อ แล้วแต่ขนาดกิ่งพันธุ์ว่ามีอายุมากหรือน้อยเพียงใด ถ้าต้นไหนแข็งแรง สมบูรณ์ ก็สามารถติดผลได้ในระยะเวลาไม่เกินนี้
8. ราสป์เบอร์รี่ ชอบแสงแดด แต่ไม่ชอบร้อนจัด ชอบอากาศถ่ายเท มีลมพัดได้ดี ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแฉะจนเกินไป
9. ในดินสภาพที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ราสป์เบอร์รี่สามารถแตกหน่อได้มาก และสามารถแยกหน่อเพื่ออนุบาลเป็นแม่พันธุ์ต่อไป หรือนำไปอนุบาลเพื่อจำหน่ายต่อได้เลย

สำหรับราสป์เบอร์รี่ …ราสป์เบอร์รี่มีหลายสายพันธุ์ มีสีแดง สีส้ม สีเหลือง จะเลือกเก็บเฉพาะที่มีสีแดง เหลือง ส้ม ที่เข้าสีแล้ว จะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม และไม่ติดเปรี้ยวมาก สามารถดึงออกจากก้านหรือตัดก้านเพื่อความสวยงามและสามารถเก็บไว้ได้นาน

สำหรับแบล็คเบอร์รี่ จะเลือกเก็บเฉพาะผลที่มีสีดำเข้ม และขั้วดอกออกสีน้ำตาลอ่อน ผลมีลักษณะนุ่มมือ และปลิดจากขั้วผลได้ง่าย จะมีรสชาติหวานแทบไม่ติดเปรี้ยวเลย

การสร้างรายได้ …ที่ฟาร์มใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี เพื่อรอให้ต้นไม้เติบโตและสวนได้ปรับตัว การวางแผนและวางระบบที่ดีตั้งแต่ต้น ทำให้ฟาร์มมีค่าดูแลรักษาน้อย จากที่ทดลองเปิดสวนได้ 5 เดือน รายได้สวนสามารถรองรับค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาฟาร์มได้ทั้งหมด และคาดการณ์รายได้เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยปัจจุบัน ในวันธรรมดารายได้หลักจะมาจากต้นพันธุ์ต่างๆ ที่ขยายพันธุ์ ชำ ตอน หรือเลี้ยงเนื้อเยื่อ และผลผลิต ผลสดราสป์เบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และผลไม้ตามฤดูกาล ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะเพิ่มมาจากอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ ใบชา น้ำเบอร์รี่สด เสาวรสลอยแก้ว ซึ่งนอกจากจะสามารถเลี้ยงหลายชีวิตที่ฟาร์มและชุมชนในยามเกษียณแล้ว ยังมีความสุขเพิ่มเติมที่ได้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีในสวน การได้พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มาเยี่ยมเยือน

ฝากถึงเกษตรกรอยากทำสวน
ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
“การเป็นฟาร์มผสมผสาน สถานที่สะอาด สวยงาม มีการจัดสรรพื้นที่อย่างเป็นระบบ มีพันธุ์พืชและผลผลิตที่แตกต่างตามฤดูกาลตลอดปี มีอาหารเครื่องดื่มบริการ ทำให้ลูกค้าที่มาที่ฟาร์มมีหลายกลุ่มมาก ส่วนใหญ่จะมาเป็นครอบครัวใหญ่ หลายวัย มีกิจกรรมและสิ่งที่สนใจเรียนรู้ต่างกัน ฟาร์ม BerryCU นอกจากจะเป็นจุดหยุดเวลาพักผ่อน เป็นฟาร์มต้นแบบที่มีส่วนช่วยกระจายรายได้กลับสู่ชุมชน ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบต่อ ยอดยั่งยืน การปลูกพืชมีราคา การนำเทคโนโลยีมาช่วยผ่อนแรง การแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต การต่อยอดพื้นที่เป็นศูนย์เรียนรู้ ทำเวิร์กช็อปเพื่อสร้างรายได้ ฯลฯ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่สนใจจะทำเกษตร ทำให้ครบจบในฟาร์มเดียว ถือเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ยอดเยี่ยมที่สุด” พี่หน่อย กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะมาท่องเที่ยวแวะเยี่ยมชมสวน หรือสนใจอยากทดลองสั่งผลไม้เมืองหนาว จาก BerryCU ฟาร์ม ของพี่หน่อย หรือ คุณอนุรีย์ สงขลา สามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร. 065-669-7969, 061-289-3562

“อ้อยคั้นน้ำ” หรือ “น้ำอ้อยสด” ที่บรรจุในขวดแช่เย็นไว้ดื่มยามอากาศร้อน ยามร่างกายเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหรือการเดินทาง น้ำตาลจากน้ำอ้อยสดๆ สามารถทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นได้ทันทีที่ดื่ม

“อ้อย” เป็นพืชทนแล้งที่ใช้น้ำน้อย บางพันธุ์นำผลผลิตส่งโรงงานแปรรูปเป็นน้ำตาล บางพันธุ์เหมาะจะนำมาบริโภคสด ด้วยการหีบเป็นน้ำอ้อยสดพร้อมดื่ม การปลูกอ้อยมีทั้งปลูกแบบสวนหลังบ้านและปลูกในเชิงการค้า อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ช่วยยกระดับรายได้สู่ความมั่นคง

“อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50” มีลักษณะลำต้นสีเขียวอมเหลือง ลำปล้องทรงกระบอก หัวท้ายเสมอค่อนข้างยาวถึงยาวมาก ไม่มีร่องหรือรอยบุ๋มบริเวณตาหรือข้อ อายุเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน หลังปลูก ซึ่งถือว่าเป็นระยะให้น้ำ คุณภาพและปริมาณมากที่สุด สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศและปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศตามท้องถิ่นได้ดี เจริญเติบโตเร็ว อัตราการแตกกอดี แตกได้มาก 12,000-12,500 ลำ ต่อไร่ มีความต้านทานโรคแส้ดำ โรคราใบขาว โรคลำต้นหรือไส้เน่าแดงและหนอนกออ้อยได้ดี

คุณศิวาพัชร์ มั่นคงจรัลศรี อยู่บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 10 ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ปัจจุบัน ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกข้าว ปลูกอ้อย ปลูกมะม่วง ปลูกมะละกอ ปลูกพริก พืชอาหารของกินปลูกหมดเลย ไม่ซื้อใครกินเลย ซื้อแต่หมู ปลูกบนพื้นที่ของแม่ พื้นที่ที่บ้าน 2 ไร่ครึ่ง ที่นาอีก 9 ไร่ 3 งาน

“ตอนนี้ปลูกอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 อยู่ 80 กอ…กำลังจะปลูกเพิ่มอีก 400 กอ เริ่มทำอ้อยคั้นน้ำมาปี กว่าแล้ว โดยขายครั้งแรก วันที่ 5 ธันวาคม 2561… เราปลูกบนคันนา มีหลายพืช อย่าง มะม่วง มะพร้าว มะละกอ รวมทั้งอ้อยคั้นน้ำ พืชเหล่านี้มีคุณค่าดังทองคำ” คุณศิวาพัชร์ กล่าว

จุดเริ่มต้นในการปลูกอ้อยคั้นน้ำ
คุณศิวาพัชร์ เล่าว่า “ไปอบรม 1 ไร่ 1 แสน ที่พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ ที่ธัญบุรี ไปเห็นอ้อยเขาลำขนาด 4 โล ก็รู้สึกสนใจ เพราะเราทำอยู่แล้ว พื้นที่เราเตรียมไว้อยู่แล้ว ก็เลยซื้อเขามา 20 ตา ตาละ 10 บาท 20 ตา เป็นเงิน 200 บาท ก็เอามาปลูกเพื่อขยายพันธุ์เอง และพอได้เข้าไปอบรม 1 ไร่ 1 แสน ก็จะมีเครือข่าย มีเพื่อน ก็จะได้ไปดูของแปลงต่างๆ ก็ไปเรียนรู้ การดูแล การบำรุง การคั้น การขาย ต้นพันธุ์ ก็เอามาจากที่ในกลุ่ม 1 ไร่ 1 แสน”

วิธีการปลูกอ้อยคั้นน้ำ
คุณศิวาพัชร์ เผย “ได้ข้ออ้อย ตาอ้อยมา เราก็นำมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วก็มาใส่กระสอบไว้ แล้วมันก็จะเกิดรากขาวๆ แล้วเราก็นำไปใส่ถุงดำ ภายในถุงดำก็จะมีดินปลูก ดินปลูกก็นำมาจากข้างๆ บ้าน เพราะดินเราสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าไม่มีก็เอาขุยมะพร้าวผสมแกลบดำ หมกไว้ 2 อาทิตย์ หรือ 15 วัน ช่วงระหว่าง 15 วัน เราก็ไปขุดหลุมรอ หลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร จากนั้นเราก็จะมีสูตรของ 1 ไร่ 1 แสน ต้องอบรมถึงจะได้มา มีสรรพสิ่งก้อน สรรพสิ่งแห้ง และสรรพสิ่งน้ำ จำหน่ายให้เฉพาะคนที่ผ่านการฝึกอบรม

ราคาชุดละ 1,300 บาท โดยนำสรรพสิ่งก้อนวาง เอาสรรพสิ่งแห้งพวกหญ้าแห้ง ใบไม้แห้งอะไรที่เรามีวาง สรรพสิ่งน้ำราด จากนั้นก็นำอ้อยที่เราทำการเพาะไว้ในถุงวาง เอาเศษหญ้าเศษใบไม้กลบ แต่เราจะมีสิ่งที่พิเศษกว่าคนอื่นคือ เราจะมีผักบุ้งอยู่ในร่อง เราก็เอาผักบุ้งพูนโคน ถ้าขี้เกียจรดน้ำก็เอากระป๋องตักขี้โคลนในร่องหุ้มผักบุ้งอีกทีหนึ่ง 1 เดือน เราก็ไม่ต้องรดน้ำ หลังจากใส่สรรพสิ่ง ก็ทำการรดน้ำ ดูแลดีๆ ให้สรรพสิ่งน้ำอาทิตย์ละครั้ง หรือ 2 อาทิตย์ครั้ง ในส่วนของปุ๋ยไม่มีการใช้ปุ๋ยอะไรเลย ทั้งชีวภาพและเคมี ปลูกหลุมละตา

ห่างหลุมละ 2 เมตร คูณ 2 เมตร ตอนแรกปลูกแค่ 1 เมตร 20 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร 50 เซนติเมตร ผลคือ ถี่ไป แล้วเวลาเราตัดอ้อย เวลาเราล้มอ้อย มันขวาง ทำงานไม่สะดวก เราก็ไปดูของเพื่อนที่เขาอบรม 1 ไร่ 1 แสน เป็นเวลา 5 เดือน ของเราอบรมแค่ 2 คืน 3 วัน คนที่เขาเซียนเขาก็จะไปอบรมต่ออีก 5 เดือน เราไม่ได้ไป เนื่องจากมีภาระที่บ้านจะต้องดูแล ก็เห็นเขาปลูก 2 คูณ 2 เมตร ในส่วนของผลผลิตที่ออกมาก็ค่อนข้างโอเคครับ ได้ในระดับหนึ่ง ไม่ถึงกับสวยเลย แต่ก็ไม่ถึงกับขี้เหร่ ก็กลางๆ ห้าสิบห้าสิบเพราะเราได้ลำหนึ่งสองกิโลกรัม บางลำก็มี 3 กิโลกรัม แต่ไม่ถึง 4 กิโลกรัม”

สรรพสิ่ง คือ จุลินทรีย์ สามารถเลี้ยงได้เองศัตรู และโรคพืชที่พบเจอ
“มีหนอนคล้ายๆ หนอนเจาะกล้วย หนอนข้าวโพดเข้าไปเจาะ ต้องขยันลอกกาบ ถ้าไม่ลอกกาบหนอนก็จะเจาะ โดยวิธีการจัดการก็ลอกกาบพอแสงมันเข้าไปหนอนมันก็ร้อน มันทนแดดไม่ได้” คุณศิวาพัชร์ กล่าว

ข้อแนะนำการดูแลแปลงอ้อย
คุณศิวาพัชร์ แนะนำว่า “อ้อยเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ขาดน้ำไม่ได้ ขาดน้ำแล้วข้อจะถี่ แค่รักษาความชื้นดูดินให้มีความชื้นสม่ำเสมอ ดูแสงแดดที่ได้รับ คืออย่าให้ดินแห้งแตก”

การให้ผลผลิตและการเก็บเกี่ยวผลผลิต
คุณศิวาพัชร์ เผย “ถ้าดูแลดีสม่ำเสมอ ระหว่าง 6-8 เดือน สามารถนำมาคั้นน้ำ…ถ้าตามสูตรของอาจารย์ จะได้ปริมาณน้ำอ้อยมาก โดยของอาจารย์ อ้อย 1 กิโลกรัม ได้น้ำครึ่งลิตร ส่วนอ้อยของเรา 1 กิโลกรัม ได้ 300-400 ซีซี 1 ต้น ของอาจารย์ ให้น้ำอ้อย 2 ลิตร แต่อ้อย 1 ต้น ของเราได้น้ำแค่ครึ่งลิตร ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ดูสี ดูความยาวจากลำอ้อย สังเกตความยาวจากข้ออ้อย ประมาณสัก 20 ข้อ สีลำต้นออกเหลือง ก็สามารถหีบได้ ความหวานยังไม่เคยลองวัดเปอร์เซ็นต์บริกซ์ เนื่องจากไม่มีเครื่องมือวัด แต่อ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นอ้อยคั้นน้ำโดยเฉพาะรสชาติหวานนัว”

ในส่วนของการตลาด “ธ.ก.ส. เปิดตลาดขายทุกวันพุธ ขายอาทิตย์ละครั้ง ขายได้ต่ำสุด 400-500 บาท สูงสุดที่ 1,200 บาท” ประโยชน์ของน้ำอ้อย
“น้ำอ้อย มีแคลเซียม บำรุงกระดูก แก้ท้องผูก คนเป็นเบาหวานสามารถดื่มได้ เนื่องจากอ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไม่เข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายเขาสามารถเผาผลาญได้เลย” คุณศิวาพัชร์ กล่าว

คุณศิวาพัชร์ บอกว่า “เครื่องหีบซื้อจากร้านที่นครสวรรค์ ที่ตลาดไทก็มีขาย อ้อยคั้นน้ำของเราขายที่ตลาดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างเดียว ผู้สนใจที่อยู่ภายในจังหวัดชัยนาท สามารถสั่งซื้อเราผ่านการจัดส่งได้ ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดเรายังไม่มีการจัดส่ง เนื่องจากยังไม่มีวิธีการเก็บรักษาในช่วงระหว่างขนส่งที่แน่นอน”

สนใจพันธุ์อ้อย หรือซื้อน้ำอ้อยหวานเย็นชื่นใจ ติดต่อผ่านเบอร์โทร. 086-511-5965 และ 095-912-9832 คุณศิวาพัชร์ มั่นคงจรัลศรี หรือ FB:เสบียง มั่นคงจรัลศรี

วิธีการคั้นน้ำอ้อย
ตัดอ้อย
นำลำอ้อยไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
นำไปผึ่งลมให้แห้ง (ผึ่งให้แห้ง เนื่องจากถ้าน้ำที่ล้างเข้าไปผสมในน้ำอ้อยที่ผ่านการคั้น จะส่งผลให้น้ำอ้อยเสียรสชาติและบูดเร็ว)
จากนั้นนำมาปอก
เก็บใส่ถังจำนวนเท่าที่เราต้องการ
ใส่ในเครื่องหีบ
ใส่เหยือก
กรอกใส่ขวด
แช่ในตู้แช่เย็น (หากไม่แช่เย็น ไม่เกินครึ่งชั่วโมงสีจะเปลี่ยนทันที จากสีเหลืองอมเขียวจะออกเป็นสีดำ รสชาติก็จะเปลี่ยน กลิ่นก็จะเปลี่ยนไปด้วย) ข้าวโพดหวานอุดมไปด้วยวิตามินเอที่มีมากเป็นพิเศษ มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เส้นใยอาหารและเกลือแร่ชนิดต่างๆ ทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็ก ช่วยบำรุงสุขภาพทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี และเป็นอีกหนึ่งพืชทางเลือกสร้างรายได้เสริมที่น่าสนใจให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากข้าวโพดหวานเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 70-75 วัน สร้างรายได้หมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี

คุณสวัสดิ์ เต็งเฉี้ยง หรือ ลุงหวัด เกษตรกรหมู่ที่ 5 บ้านยางงาม ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวานสร้างรายได้เสริมจากการทำสวนยางพาราที่เจอทั้งปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ปรากฏว่าปลูกง่ายมีรายได้ดีกว่ายางพาราหลายเท่าตัว จึงหันมาเลือกปลูกข้าวโพดหวานเป็นพืชสร้างรายได้เสริม ด้วยความที่ข้าวโพดหวานนั้นปลูกได้ดีมีราคา ระยะเวลาในการปลูกไม่นานเกินไป ใช้น้ำน้อย ปลูกได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้หมุนเวียนได้ตลอดและสามารถนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง จึงเป็นเหตุผลที่เลือกปลูกและยึดเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบัน

โดยพันธุ์ที่เลือกปลูกคือ ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1 ของกรมวิชาการ จุดเด่นคือ มีฝักขนาดใหญ่ แกนฝักเล็ก ติดเมล็ดเต็มฝัก เมล็ดเรียงแถวบนฝักเป็นระเบียบ มีเนื้อเมล็ดมาก เยื่อเมล็ดบาง และรสชาติฝักต้มดี สามารถปลูกทั่วไปทั้งในสภาพดินไร่และดินนาของภาคใต้ แต่มีข้อควรระวัง คือไม่ควรปลูกในดินทราย อีกทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1 ในช่วงโควิด-19 มีราคาถูกเพียง 300 บาทต่อกิโลกรัม แม่ค้าชอบ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจึงเลือกปลูกสายพันธุ์นี้ เพราะคิดว่าน่าจะเป็นพืชที่สร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี

วิธีปลูก จะใช้การปลูกแบบหยอดหลุม โดยหยอดหลุมละเมล็ดหลังจากปลูกนับจากวันที่เริ่มปลูกผ่านไป 15 วัน ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 18-8-8 ในรอบแรกเพื่อบำรุงต้นและช่วยการเจริญเติบโต หลังจากนั้นผ่านไป 15 วัน ใส่ปุ๋ย สูตร 18-8-8 ในรอบที่สอง (30 วัน)

ข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว 70-75 วันเก็บเกี่ยวได้ ถ้าหากไม่พักดิน 1 ปี ปลูกได้ 4 ครั้ง แต่ถ้าจะให้ดีควรพักเพื่อปรับปรุงบำรุงดินจะดีกว่า เทคนิคการดูแลให้ได้ผลผลิตดียึดหลักการใส่ปุ๋ยบำรุง ถูกที่ ถูกเวลา ถูกปริมาณ ถูกสูตร ถูกวิธี ทำให้ได้ผลผลิตข้าวโพดหวานประมาณ 2,000 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ รายได้หลังจากหักต้นทุนจากการขายอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทต่อไร่ต่อครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีแม่ค้าคนกลางมาซื้อราคาส่งและลูกค้าทั่วไปมาซื้อราคาปลีก เพื่อนำไปขายฝักสดและแปรรูป เช่น ข้าวโพดต้ม ข้าวโพดปิ้ง ข้าวโพดคลุกเนย น้ำนมข้าวโพด รวมทั้งขายข้าวโพดฝักอ่อนด้วย

การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมข้าวโพดหวานถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปข้าวโพดจะหวานน้อย หากเก็บเกี่ยวช้าเกินไปข้าวโพดหวานจะมีความหวานลดลงเช่นกัน ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ หลังข้าวโพดออกไหม 18-20 วัน หรือพบว่าไหมข้าวโพดเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือเมล็ดส่วนปลายของฝักเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หากเมล็ดสีขาวแสดงว่าข้าวโพดอ่อนเกินไป หากเมล็ดสีเหลืองและเมล็ดเริ่มเหี่ยวแสดงว่าแก่จัดเกินไป

การจัดการหลังเก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตควรเก็บฝักข้าวโพดหวานในที่ร่มและไม่ให้รับแสง ไม่กองฝักข้าวโพดบนพื้นดิน ควรวางบนพื้นที่ยกสูงด้วยไม้ หรือวางกองบนพื้นซีเมนต์ที่ทำความสะอาดแล้ว และไม่กองสูงในปริมาณมากเพราะจะทำให้ข้าวโพดร้อนเกิดการช้ำ ความหวานลดลง เปลือกหุ้มฝักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

การขนส่ง ควรเตรียมยานพาหนะขนส่งก่อนล่วงหน้าการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อขนส่งให้เร็วที่สุด หลังปลิดฝักและขนส่งควรส่งถึงตลาด หรือถึงมือผู้บริโภคภายใน 24 ชั่วโมง ลุงหวัด บอกว่า ควรสนับสนุนให้เกษตรกรที่มีความพร้อมหันมาปลูกข้าวโพดหวาน เพราะการปลูกข้าวโพดหวานนั้นถึงแม้ว่าต้องมีขั้นตอนกระบวนการปลูกการดูแลที่ค่อนข้างจะละเอียด แต่หากผลผลิตที่ได้นั้นมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ราคาของผลผลิตนั้นก็จะสูงขึ้น ซึ่งทำให้เป็นการสร้างรายได้ที่ดีอย่างหนึ่ง ปัจจุบัน ก็ขยายพื้นที่การปลูกอยู่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและของผู้บริโภคที่มีความต้องการข้าวโพดหวานมากขึ้น ส่วนตัวมองว่าข้าวโพดหวานมีข้อดีคือ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีทุกฤดูกาล แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ถึงแม้ว่าข้าวโพดหวานจะสามารถปลูกได้ตลอดแต่ผลผลิตที่ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศ สภาพแวดล้อม การดูแลของเกษตรกรด้วย ปัจจุบันสถานการณ์การผลิตข้าวโพดหวานนั้นมีทิศทางในทางที่ดีและคิดว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาข้าวโพดหวานสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

หากใครสนใจวิธีการปลูกหรือสนใจซื้อข้าวโพดหวาน ติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์ 086-266-5086 คุณสวัสดิ์ เต็งเฉี้ยง หรือสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตรัง เบอร์โทรศัพท์ 075-218-681

เมื่อพูดถึง “หอมแบ่ง” บางคนอาจจะไม่คุ้นหูนัก สล็อตออนไลน์ แต่หากบอกว่าเป็น “ต้นหอม” คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นผักที่ใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายมาก จึงทำให้ความต้องการใช้ในแต่ละวันสูงมากทั้งในระดับครัวเรือนและกลุ่มธุรกิจอาหาร

โดยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกหอมแบ่งเฉลี่ยมากถึง 36,000 ไร่ (ข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตรปี 2559-2563) ด้านราคาก็ไม่ธรรมดา…เพราะหากเป็นช่วงที่ขาดตลาดนั้นราคาจะพุ่งสูงมากกว่าไร่ละ 1 แสนบาทเลยทีเดียว! การปลูกหอมแบ่งนั้นดูเหมือนจะไม่ซับซ้อน แต่การจะปลูกให้ได้คุณภาพ หลอดใหญ่ ใบหนาสีเขียวสวย ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ตลาดต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย

วันนี้เราพาไปคุยกับผู้รู้จริงเรื่องหอมแบ่งอย่าง “คุณกุ๊ก-ชำนาญ บุญอยู่” ชาว อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เกษตรกรปลูกหอมแบ่งที่มีประสบการณ์การมากกว่า 20 ปี มีพื้นที่ปลูกกว่า 37 ไร่ โดยในแต่ละปีนั้นจะปลูกหอมแบ่งจำหน่ายทั้งแบบขายต้น และขายหัวพันธุ์คุณภาพ

คุณชำนาญ เผยว่า “หอมแบ่ง” เป็นพืชที่ปลูกได้ทุกพื้นที่ๆน้ำไม่ท่วมขัง มีอายุเก็บเกี่ยวเพียง 45-50 วันเท่านั้น ข้อดีคือสามารถขายได้ทั้งแบบขายต้นสด หรือหากเป็นช่วงที่ราคาไม่ดี เราสามารถบำรุงขายเป็นหัวพันธุ์ได้เช่นกัน แถมบางครั้งอาจจะได้ราคาสูงกว่าขายต้นสดด้วยซ้ำ

ใครที่อยากลองเริ่มปลูก “หอมแบ่ง” ต้องไปติดตามว่ามืออาชีพเขาเริ่มกันอย่างไร?!

“อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์”
แหล่ง “หอมแบ่ง” พันธุ์แกร่ง ขึ้นชื่อระดับประเทศ
“หอมแบ่ง” นั้นสามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด หรือปลูกจากหัวพันธุ์ก็ได้ ซึ่งเกษตรกรส่วนมากนั้นนิยมใช้หัวพันธุ์ เนื่องจากสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไวกว่า โดยหนึ่งในหัวพันธุ์ที่ขึ้นชื่อนั้นมาจาก “อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์” เนื่องจากมีจุดเด่นคือแตกกอดี ใบสีเขียวเข้ม และที่สำคัญคือทนฝน ทำให้ อ.ลับแล เป็นแหล่งผลิตหัวพันธุ์หอมแบ่งคุณภาพกระจายไปยังแหล่งปลูกอื่นทั่วประเทศ