ดินที่ใช้ใส่วงบ่อจะใช้หน้าดิน 1 ส่วน ขี้วัวแห้ง 1 ส่วน

แกลบดำเก่า 1 ส่วน เศษใบไม้แห้ง เปลือกถั่ว 1 ส่วน ผสมกันให้ทั่วแล้วหมักลงไปในวงบ่อที่วางไว้ให้พูนเป็นหลังเต่า เพราะดินผสมจะยุบลง ให้ความชื้นด้วยน้ำสม่ำเสมอ

และควรผสมยาป้องกันเชื้อราในดินด้วย ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะเริ่มเห็นมีวัชพืชขึ้นก็สามารถปลูกได้แล้ว เอากิ่งตอนมาปลูกในวงบ่อ กดดินให้แน่นไม่ต้องใช้ฟางคลุมเพราะจะเกิดเชื้อราได้ง่าย การปลูกช่วงเดือนแรกไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเลย

พอเริ่มแทงยอดอ่อนต้องใช้ยาฆ่าแมลงอะบาเม็กตินพ่นเพื่อกันไม่ให้แมลงกัดยอดอ่อน หลังจากนั้นอีก 7 วัน ก็จะพ่นยาฆ่าแมลงอีกชนิดหนึ่งคือ ไซเพอร์เมทริน อีกครั้งเพื่อไม่ให้แมลงดื้อยา

แมลงที่เข้าทำลายยอดในช่วงนี้คือ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ หลังจากนั้นอีก 7 วัน ในช่วงนี้ใบจะเริ่มขยาย หนอนชอนใบจะเข้าทำลายและผีเสื้อกลางคืนจะวางไข่จึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงซ้ำอีกชนิดหนึ่งคือ คลอไพรีฟอส

เมื่อครบ 3 ครั้ง ใบมะนาวจะเริ่มเข้าสี หนอนแมลงจะไม่เข้าทำลายอีก ในช่วง 2-3 เดือน จะเริ่มให้ปุ๋ย 21-7-14 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและการแตกกิ่งก้านสาขา โดยใช้วิธีโรยรอบโคนให้ห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ ทุกๆ 20 วัน ปริมาณแค่ 15 เม็ด

สำหรับต้นเล็ก สำหรับปุ๋ยทางใบใช้สูตร 30-20-10 จำนวน 1 ขีด ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำพ่นฝอย ทุกๆ 7-10 วัน จนกระทั่งมะนาวอายุ 8-12 เดือน ก็จะเริ่มไว้ผล

การทำมะนาวนอกฤดู

ทางสวนมะนาวแป้นหริภุญชัยทำมะนาวนอกฤดูเป็นหลักเนื่องจากราคาค่อนข้างจูงใจ มะนาวที่จะทำนอกฤดูจะต้องเป็นมะนาวที่อายุ 1 ปีขึ้นไป เพราะต้นจะสมบูรณ์

คุณท่าโร่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งในเดือนสิงหาคม โดยจะเลี้ยงยอดไว้ 2 ชุด เมื่อยอดมะนาวเริ่มแตกใบใหม่ครั้งแรกยังไม่ต้องทำอะไรปล่อยให้แตกกิ่งต่ออีกชั้น และยอดที่แตกใหม่ใบเริ่มเข้าสีแล้ว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

ช่วงนี้เริ่มเปลี่ยนสูตรปุ๋ยทางดิน เป็น 8-24-24 เพื่อกระตุ้นให้มีการสะสมอาหารและสร้างตาดอกทุก 7 วัน ในเวลาเดียวกันปุ๋ยทางใบจะใช้สูตร 0-52-34 บวกกับน้ำตาลทางด่วนทุก 5 วัน เพื่อให้มีการสะสมอาหารที่ใบให้เร็วขึ้น

ผ่านไปประมาณ 2 สัปดาห์ ใบจะเขียวเข้มขึ้น ก็จะเริ่มชะลอการให้น้ำ โดยปกติที่ให้น้ำวันละครั้งเป็นเวลา 10 นาที ก็จะเหลือแค่ 5 นาที ปุ๋ยทางใบในช่วงนี้จะเปลี่ยนเป็นสูตร 10-20-30 ส่วนปุ๋ยทางดินจะเปลี่ยนเป็น 8-24-24 ใบมะนาวจะยังไม่ร่วงแต่สีจะเข้มขึ้นอีก ลดปริมาณน้ำลงอีกเหลือแค่ 2-3 นาที

เมื่อใบเริ่มห่อขอบใบชิดกัน ก็จะเริ่มให้น้ำเต็มที่ตามปกติ ใบจะตั้งขึ้นสวย ช่วงนี้ให้สาหร่ายสกัดพ่นเปิดตาดอก 2 ครั้ง ทุก 3 วัน จากนั้น 2 สัปดาห์ จะเริ่มแตกตาดอก และเริ่มพ่นยาฆ่าแมลงป้องกันเพลี้ยไฟไรแดงและยาป้องกันเชื้อรา แต่ห้ามให้ยาชนิดที่มีสารประกอบน้ำมัน มิฉะนั้นดอกจะไหม้

พอดอกบานห้ามพ่นยาทุกชนิด ให้น้ำและปุ๋ยตามปกติ ช่วงดอกบานจะเริ่มเข้าฤดูหนาว หลังจากดอกบาน 3-5 วัน จะเริ่มติดผลอ่อน จะต้องใช้ยาป้องกันเพลี้ยไฟอิมิดาคลอพริด

ในช่วงผลอ่อนเท่าหัวไม้ขีดไฟจะเปลี่ยนปุ๋ยทางดิน เป็น 21-7-14 ปุ๋ยทางใบ เป็น 30-20-10 ให้ผลอ่อนขยายได้เร็วขึ้น ทุกๆ 14 หรือ 20 วัน ใช้เวลาประมาณ 4 เดือนครึ่ง นับแต่วันติดผลก็จะเก็บผลผลิตได้

ในช่วง 2 เดือน ก่อนเก็บผลจะมีหนอนเจาะผลและลำต้นให้ระมัดระวัง ส่วนโรคแคงเกอร์ใช้คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ฉีดพ่นเพื่อป้องกันช่วงอากาศเริ่มชื้นในช่วงฝนและหน้าหนาว

ผลผลิตที่เป็นผลส่วนใหญ่จะขายในพื้นที่ใกล้เคียง และผลผลิตจะออกช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มะนาวทั่วไปมีผลผลิตน้อย จึงได้ราคา ผลละ 3-6 บาท

มะนาวแป้นหริภุญชัยที่ให้ผลผลิตเต็มที่ต่อต้น ประมาณ 1,000 ผล กิ่งพันธุ์ของสวนจะมี 2 แบบ คือ กิ่งตอน ราคาต้นละ 250 บาท สั่งอย่างน้อย 2 ต้น ค่าส่ง 100 บาท สั่งจำนวนมากค่าขนส่งจะลดและมีแถมด้วย ส่วนที่เสียบยอดจะใช้มะนาวด่านเกวียนเป็นตอ ราคาต้นละ 200 บาท ค่าขนส่ง 2 ต้นแรก 200 บาท ต้นต่อไปคิด 50 บาท

ความเปรี้ยวที่เป็นจุดเด่นของมะขามถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา ทั้งด้านการปรุงอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม หรือล่าสุดได้รับความนิยมมากในวงการความงาม ด้วยเหตุนี้มะขามเปรี้ยวจึงถูกมองว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่ซุ่มเงียบอีกชนิดที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก

มะขามเปรี้ยว จัดเป็นไม้พื้นถิ่นที่เกิดและเติบโตได้ในทุกสถานที่ เจริญเติบโตได้เกือบทุกสภาพดิน เป็นไม้ผลที่ขึ้นง่ายไม่ต้องดูแลมาก มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เนื้อไม้แข็งแรงจนมีการนำมาใช้ทำเป็นเขียง ฉะนั้น ไม่ว่าภูมิภาคใดของประเทศก็สามารถปลูกมะขามเปรี้ยวได้ จึงทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะขามเปรี้ยวกันเพิ่มขึ้น

ส่วนพันธุ์มะขามเปรี้ยวเดิมๆ ที่คุ้นเคยกัน มี 2 ชนิด ได้แก่ มะขามขี้แมว ที่มีเปลือกค่อนข้างหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่ ทรงกลม เนื้อผลมีน้อย มีปริมาณเนื้อประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ จากทั้งฝัก ซึ่งพันธุ์นี้พบมากในภาคอีสาน

กับอีกชนิด มะขามกระดาน เป็นพันธุ์ที่พบมากในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีเนื้อหนาและมาก มีปริมาณเนื้อประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ จากฝักทั้งหมด ดังนั้น ในปัจจุบันมะขามเปรี้ยวพันธุ์นี้จึงได้รับความนิยมปลูกกันมาก โดยพันธุ์ที่ได้รับความสนใจแล้วกำลังมาแรง คือ มะขามเปรี้ยวยักษ์

ครอบครัว “ปรกแก้ว” คลุกคลีอยู่กับมะขามเปรี้ยวยักษ์ด้วยการทำกิ่งพันธุ์ขาย ขณะเดียวกันเมื่อต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ที่ให้ผลผลิตก็นำไปขายตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นมะขามอ่อน มะขามแก่ จนสร้างรายได้อย่างดี กระทั่งล่าสุดได้พัฒนามาสู่การแปรรูปเป็นมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นในชื่อสวน “สุดเขตตะวันกาญจน์”

คุณสกล ปรกแก้ว ลูกชายที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของ คุณสร้อยสน ปรกแก้ว ผู้เป็นแม่ เล่าว่า ความจริงคุณแม่ทำเกษตรกรรมด้วยการปลูกไม้ผลหลายชนิดแบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นกระท้อน มะขามเทศ ทุเรียน ส้มโอ หรือฝรั่ง เนื่องจากในช่วงแรกที่เริ่มยังไม่รู้ว่าผลไม้ชนิดใดที่เหมาะกับความต้องการของตลาด ปลูกอยู่นานหลายปีก็พบว่าราคาไม้ผลแต่ละชนิดมีการผันผวนไม่แน่นอน จึงต้องโค่นทิ้งทีละชนิดจนเหลือต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ ซึ่งให้ผลผลิตได้ตลอดเวลา พร้อมกับยังขายได้ราคาดีด้วย อีกทั้งปุ๋ยยาแทบไม่ต้องใส่ รดน้ำบ้างในบางคราว เรียกว่าปลูก/ดูแลง่าย แล้วผลผลิตยังมีให้สม่ำเสมอและดกด้วย

“เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงมองว่าควรจะต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีกว่าเดิม จึงไปอบรมการทาบกิ่ง แต่จากความด้อยประสบการณ์จึงไม่ประสบผลดีเท่าไรนัก ด้วยเหตุนี้จึงปรับวิธีพร้อมหาแนวทางใหม่จนพบว่าการทาบกิ่งของพันธุ์ไม้ที่มีขนาดใหญ่ควรต้องมีการสร้างนั่งร้านเพื่อยึดกิ่งที่ทาบใหม่กับกิ่งต้นแม่ให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ จนในที่สุดก็ประสบความสำเร็จตามคาด สามารถผลิตกิ่งพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพจากเดิมได้”

คุณสกล ชี้ว่ากิ่งต้นแม่สำหรับใช้ทาบจะพิจารณาจากลูกกล้าที่ใช้ เวลาเพาะจากเมล็ดเป็นเวลาสัก 1 ปี แล้วจึงคัดต้นที่มีขนาดลำต้นประมาณตะเกียบ เพื่อนำขึ้นไปทาบบนต้น โดยจะเลือกกิ่งทาบให้มีขนาดใกล้เคียงกับต้นกล้า ทั้งนี้จะใช้เวลาทาบเพื่อให้ต้นสมบูรณ์ ประมาณ 2 เดือน หรือประมาณ 45-60 วัน จากนั้นจึงตัดลงมาชำไว้ในถุงหรือกระถางเพื่อดูแลอนุบาลอีก 2 เดือน เพื่อให้มีความแข็งแรง

ฉะนั้น ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มทาบจนติด จนต้นมีความแข็งแรงพร้อมขายได้จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ปีครึ่ง แล้วเมื่อซื้อไปปลูกจะใช้เวลาอีก 3 ปี จึงจะได้ผลผลิต เพราะมีความสมบูรณ์แข็งแรงดีมาก

โดยระหว่างทาบกิ่ง การดูแลไม่ได้ยุ่งยาก รดน้ำทุกวันเฉพาะช่วงแดดจัด นอกจากนั้นอาจรดเพียงวันเว้นวัน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยอะไร เพราะดินที่ใช้ทาบได้ผสมปุ๋ยไว้แล้ว พร้อมกับกล่าวยืนยันว่าการทาบกิ่งจะทำให้ต้นมะขามเปรี้ยวมีมาตรฐานความเป็นมะขามยักษ์ทุกต้น และไม่มีผิดเพี้ยนหรือกลายพันธุ์
ในช่วงที่มีดอกไม่จำเป็นต้องดูแลใส่ปุ๋ยอะไรเป็นพิเศษ

เนื่องจากโดยธรรมชาติของมะขามเปรี้ยวจะเจริญเติบโตเองได้ ยกเว้นถ้าต้องการผลิตเป็นการค้าอย่างจริงจังอาจจะต้องใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน ร่วมด้วย เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีความสมบูรณ์ แต่แนวทางนี้คุณสกลชี้ว่าสำหรับสวนเขาไม่จำเป็น เพราะไม่ต้องการให้ต้นโทรมเร็ว ดังนั้น จึงไม่ต้องเร่ง จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะถึงอย่างไรก็ตาม ที่สวนมีการใส่ปุ๋ยเป็นประจำเสมอตลอดทั้งปี จึงทำให้มีการสะสมอาหารไว้ใช้ได้ตลอดเวลา

คุณสกล บอกว่า การปลูกต้นพันธุ์ลงหลุมควรให้ใช้ความลึกเพียง 20 เซนติเมตร ก็พอแล้ว เมื่อต้นโตควรตัดแต่งกิ่งเป็นระยะ หากอายุต้นสัก 1 ปี เริ่มตัดกิ่งที่ต่ำสุดกับกิ่งที่ไขว้พันกันออกไปก่อน พอครบ 2 ปี ก็ให้เลือกตัดเฉพาะกิ่งที่ต่ำกว่าเอวออก ให้เหลือไว้เป็นกิ่งโครงหรือกระโดง พออายุ 3 ปี ให้ตัดกิ่งที่อยู่ระดับเดียวกับหน้าอก พอเข้าปีที่ 5 ให้ตัดกิ่งที่อยู่ในระดับหลังวัวออก ฉะนั้น ถ้าตัดแต่งกิ่งตามที่แนะนำเช่นนี้มะขามเปรี้ยวยักษ์จะมีผลผลิตสมบูรณ์ทั้งขนาด เนื้อ รสชาติ และน้ำหนัก

อายุต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ที่สามารถให้ผลผลิตได้มีด้วยกันหลายรุ่น ตั้งแต่อายุมากที่สุด คือ 30 ปี, 20 ปี, 18 ปี, 15 ปี หรือแม้แต่ต้นอายุ 3 ปี ทั้งนี้ในแต่ละรุ่นมีศักยภาพในการให้ผลผลิตต่างกันทั้งจำนวนและความสมบูรณ์ โดยต้นที่มีอายุมากมักจะให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพและมีจำนวนมากกว่าต้นที่มีอายุน้อย

แมลงศัตรูที่มารบกวนต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ ได้แก่ แมลงอีนูน ที่ชอบกินยอดและใบอ่อน และเป็นศัตรูสำคัญของมะขามเปรี้ยวยักษ์ที่พบในเขตภาคกลาง แต่สำหรับในพื้นที่อื่นจากคำบอกเล่าของกลุ่มสมาชิกระบุว่ามีแมลงศัตรูที่ไม่เหมือนกันในแต่ละภูมิภาค แต่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศจะใช้วิธีป้องกันเหมือนกันคือ การใช้สารสกัดจากธรรมชาติฉีดพ่นโดยไม่มีการใช้สารเคมี

สำหรับการวางแผนขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายในแต่ละปี จะกำหนดว่าภายในปีนั้นจะต้องทำยอดขายเท่าไร กิ่งพันธุ์ที่ผลิตรวมถึงการแปรรูปจะต้องพิจารณาความต้องการของตลาดในแต่ละช่วงเวลาว่ามีความต้องการมาก/น้อยเพียงใด เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง

“โดยเฉพาะช่วงที่ลูกค้าต้องการต้นพันธุ์คือ ราวเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม จะเพิ่มจำนวนไว้ให้มากกว่าปกติเพื่อเตรียมรองรับกับความต้องการในช่วงหน้าฝน โดยจะเริ่มเตรียมทำกิ่งพันธุ์ไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน โดยกำหนดราคาขายกิ่งพันธุ์ไว้ ราคา 80 บาท ต่อกิ่ง แต่ราคานี้ไม่คงที่แน่นอน เพราะในช่วงหน้าแล้งหรือราวเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม จะมีการจัดโปรโมชั่นลดราคาขาย”

ผลผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์ในสวนของคุณสกลจะเริ่มเก็บได้ตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยจะเริ่มมีดอกประมาณเดือนพฤษภาคม แล้วมีฝักอ่อนประมาณปลายเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งจะเก็บบางส่วนขายให้กับกลุ่มที่นำไปทำน้ำพริก

จากนั้นจะพักต้นชั่วคราวโดยไม่ยุ่งอะไร เพื่อรอให้ฝักที่เหลือเปลี่ยนไปเป็นฝักหนุ่ม-สาว ที่แก่แต่ยังไม่แห้ง แล้วเก็บไปทำเป็นมะขามแช่อิ่ม จนเมื่อเข้าเดือนพฤศจิกายนฝักอีกรุ่นจะแห้งสนิทแก่จัด แล้วจะเก็บรุ่นนี้มาขายเพื่อทำเป็นมะขามเปียกหรือมะขามแกง โดยจะเริ่มเก็บประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม

ผลผลิตที่ได้ เฉลี่ยต้นละประมาณ 1.8-2 ตัน ซึ่งเป็นต้นที่มีอายุกว่า 30 ปี มีน้ำหนักเฉลี่ยฝักละ 3 ขีดกว่า มีความยาวต่อฝัก ประมาณ 13 นิ้ว ซึ่งถ้าเป็นมะขามบ้านทั่วไปมีขนาดประมาณนิ้วชี้เท่านั้น แต่ถ้าแยกเป็นกลุ่มที่นำมาใช้ประโยชน์อย่างมะขามหนุ่ม-สาว จะได้จำนวนตันกว่า แต่ถ้าฝักแห้งแก่จะได้จำนวนประมาณ 400-600 กิโลกรัม โดยมะขามจะเก็บเพื่อแช่อิ่ม จำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของมะขามทั้งหมด

ปัจจุบัน มะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่มได้รับความสนใจมาก ทั้งมะขามแช่อิ่มเปียกกับอบแห้ง มีอัตราเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ มะขามแช่อิ่มในแต่ละปีขายได้ 300,000-400,000 บาท ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะตลาดลูกค้ารู้ว่าธุรกิจของครอบครัวมีความน่าเชื่อถือในเรื่องความปลอดภัยทั้งการเลือกคัดสรรใช้วัตถุดิบ กระบวนการผลิต

และที่สำคัญการปลูกมะขามเป็นแบบอินทรีย์ ซึ่งสวน “สุดเขตตะวันกาญจน์” ถือเป็นรายแรกที่ผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์แช่อิ่ม โดยกำหนดราคาขาย กิโลกรัมละ 150 บาท เป็นราคาขายทั่วไป แต่ถ้าใครสนใจต้องการซื้อจำนวนมากเพื่อนำไปขายต่อ จะได้ราคาพิเศษที่เป็นราคาส่ง

คุณสกล แจงค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนในการปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ ได้แก่ ค่าต้นพันธุ์ อย่างถ้าพื้นที่ จำนวน 1 ไร่ ใช้ระยะปลูก 12 คูณ 12 เมตร จะปลูกได้จำนวน 16-20 ต้น โดยมีค่าต้นพันธุ์ประมาณ 1,000 กว่าบาท ค่าปรับพื้นที่ เฉลี่ยไร่ละประมาณ 500 บาท (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่)

ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องวางระบบน้ำ ถ้าเริ่มปลูกในช่วงหน้าฝน เพราะถ้าต้นรอดแล้วก็ปลอดภัยแล้ว ที่เหลือให้เทวดาเลี้ยง สำหรับบางรายอาจต้องการรองก้นหลุม ก็แนะนำให้ใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน ในอัตรา ต้นละ 1 กิโลกรัม

“นอกจากผลมะขามเปรี้ยวยักษ์ที่นำไปใช้บริโภคได้แล้ว ส่วนของยอดมะขามยังสามารถนำไปปรุงร่วมกับเมนูอาหารได้อีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นต้มยำ แกงส้ม แกงไก่ จะมีรสชาติอร่อยมาก อีกทั้งในภาคอีสานนำยอดมะขามอ่อนไปขายกันในราคากิโลกรัมละ 100 บาท” คุณสกล กล่าว

คุณสำราญ หน่อนาคำ เป็นเกษตรกรอยู่ที่ ตำบลพระยาทด อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนเขาได้เริ่มทำงานเกี่ยวกับด้านเกษตรเมื่อครั้งยังเป็นวัยรุ่น ต่อมาจึงได้นำวิชาความรู้ที่มีมาเปิดร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเกษตรอย่างครบวงจร

“พอมาเปิดร้าน เริ่มมีเงินทุนมากขึ้น เราก็เริ่มขยายพื้นที่บริเวณที่อยู่ใกล้ร้านเรา เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อให้ความรู้ด้านเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผักปลอดสารพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ หรือแม้แต่เมล่อนที่คนมองว่าปลูกยาก เราก็มาแนะนำบอกสอนด้วยวิธีง่ายๆ สามารถทำเองที่บ้านได้ ซึ่งเราจะเน้นให้ตรงคอนเซ็ปต์ที่ว่า การเกษตรไม่ได้กินเฉพาะทางปากเพียงอย่างเดียว แต่จะให้ความสุขทั้งทางสายตาและสมองด้วย จึงทำให้จิตใจมีความสุข ซึ่งที่นี่ก็จะสอนความรู้แบบครบวงจร สามารถนำไปทำเองที่บ้านได้” คุณสำราญ กล่าวถึงที่มา

ซึ่งคุณสำราญ ได้แนะนำวิธีการปลูกเมล่อนแบบง่ายๆ ไว้กินเองที่บ้านว่า ขั้นตอนแรก หากระถาง ขนาด 12 นิ้ว หรือภาชนะที่ไม่ใช้งานแล้ว มาใส่วัสดุปลูกจำพวกกาบมะพร้าวสับ ดินใบก้ามปู และแกลบหยาบ ผสมกัน ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 จากนั้นนำปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ลงไปด้านบนกระถาง เพื่อให้ภายในกระถางมีความชื้นมากขึ้น

“พอเราเตรียมวัสดุปลูกเรียบร้อยแล้ว ก็นำเมล็ดมาใส่ปลูกลงไปในกระถาง ซึ่งสายพันธุ์ก็แล้วแต่ว่าชอบสายพันธุ์ไหน พอนำเมล็ดมาเพาะปลูกลงในกระถาง เมล่อนจะใช้เวลาเจริญเติบโตจนผสมเกสรได้ ก็ประมาณ 1 เดือน พอหลังจากผสมเกสรเสร็จแล้ว นับไปอีก 45 วัน ก็จะได้ผลผลิตออกมาสุกแบบพอดี พร้อมเก็บไปทานได้” คุณสำราญ กล่าว

ในเรื่องของการรดน้ำ คุณสำราญ บอกว่า สามารถใช้สายยางทั่วไปรดน้ำที่กระถางได้เลย โดยที่ไม่ต้องทำระบบน้ำอะไรให้ยุ่งยาก เพราะการปลูกเองภายในบ้านจำนวนการปลูกไม่มากนัก ดังนั้น จึงไม่ต้องลงทุนในเรื่องนี้ให้สิ้นเปลือง แต่ถ้ามีประสบการณ์จากการปลูกเล่นๆ ที่บ้านจนประสบผลสำเร็จแล้ว การทำระบบน้ำในอนาคตก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

ส่วนเรื่องการใส่ปุ๋ยให้เมล่อนนั้น คุณสำราญ บอกว่า สามารถใช้ปุ๋ยเคมีสูตรทั่วไปใส่ลงในกระถางได้เลย พร้อมทั้งสลับกับการใส่ปุ๋ยคอกลงไปเสริมด้วย

เมื่อผลของเมล่อนออกมาพร้อมสำหรับเก็บผลผลิตได้แล้ว จะให้น้ำหนักต่อผลอยู่ที่ 1-1.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่กำลังพอดี สามารถแช่ในตู้เย็นไว้กินให้ชื่นใจ หรือถ้าผลผลิตมีมาก พอกินไม่หมดก็สามารถแบ่งขายทำเป็นรายได้เล็กๆ น้อยๆ ได้ ตกอยู่ที่ผลละ 90-120 บาท

“อย่างผลผลิตที่ฟาร์มผม ก็ไม่ได้ไปส่งขายที่ไหน พอมีคนที่เขาสนใจเรื่องการทำเกษตร เขาเข้ามาเรียนรู้ที่นี่ ก็จะมาซื้อเมล่อนพวกนี้ติดไม้ติดมือไปทานที่บ้าน อยากจะบอกว่าการทำเกษตร เราทำวันนี้ เราก็เริ่มมีความสุขวันนี้ เพราะเราได้ทานของที่ผลิตเอง แม้จะปลูก 5-10 ต้น ก็ถือว่าความสุขเกิดขึ้นแล้ว อย่าไปกลัวว่าการทำเกษตรจะเป็นเรื่องที่ยาก มีพื้นที่เล็กพื้นที่น้อยปลูกไปได้เลย ขอให้ทำด้วยใจที่มีความสุขก็เพียงพอ” คุณสำราญ กล่าวแนะนำ

ทั้งนี้ คุณสำราญ ฝากถึงท่านใดที่สนใจอยากทำการเกษตรว่า ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นเรียนรู้อะไรก่อน เลยมองว่าการลงมือทำอาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก อย่าเพิ่งด่วนสรุป เพราะการทำเกษตรไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะเป็นวิถีที่คนไทยทำกันมายาวนานแล้ว ดังนั้น บางเรื่องก็ต้องปรับปรุงไปตามยุคสมัย ขอให้มองว่าเรื่องเกษตรไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว กลับอยู่ใกล้ตัวอย่างที่เราๆ หลีกหนีไม่พ้นเสียมากกว่า

การปลูกผักไว้รับประทานเองภายในบ้านไม่ใช่เรื่องยาก แม้ในบริเวณบ้านมีพื้นที่ไม่มาก หรือไม่มีพื้นที่ที่เป็นดินเลย ก็สามารถทำได้ด้วยการปลูกในภาชนะต่างๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ผักจะมีอายุสั้น มีระบบรากตื้น หากดินที่ปลูกผักมีความอุดมสมบูรณ์ดีพอสมควร บริเวณที่ปลูกผักได้รับแสงแดดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง/วัน มีเมล็ดพันธุ์ หรือกิ่งพันธุ์พืชที่ดี และมีการรดน้ำผักอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็สามารถมีผักสวนครัวไว้รับประทานเองได้แล้ว หรือถ้าปลูกในพื้นที่ที่มากสักหน่อยก็เพียงพอที่จะขายได้

คุณยุพิน ศรีคำ อายุ 48 ปี บ้านเลขที่ 20/1 หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา และสามีช่วยกันปลูกพืชผักสวนครัวปลอดภัยบริเวณข้างบ้าน บนเนื้อที่ประมาณ 1 งานเศษ มานานกว่า 20 ปี จากปลูกรับประทานในครอบครัวเหลือก็ขาย ในปัจจุบันได้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้ครอบครัว เดือนละ 12,000-15,000 บาท

คุณยุพิน กล่าวว่า เนื่องจากกระแสการรักสุขภาพของประชาชนทั่วไปกันอย่างมากในปัจจุบัน ส่งผลให้การประกอบอาชีพปลูกพืชผักสวนครัวปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมี กลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เสริมเป็นอย่างดี ซึ่งตั้งแต่ ปี 2538 เป็นต้นมา ตนกับสามีได้ช่วยกันพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้านด้านทิศตะวันออก ประมาณ 1 งานเศษ เป็นแปลงปลูกผักสวนครัวหลายชนิด เช่น ผักกวางตุ้ง สลัด เรดโอ๊ค ผักชี ต้นหอม คะน้า กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่

“ด้วยความที่หน้าบ้านไม่มีรั้ว ทำให้ผู้คนที่ผ่านไปมาเห็นแปลงผักงาม ก็แวะซื้อตลอด ทั้งนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ประชาชนในพื้นที่จะแวะหน้าบ้านและลงมาซื้อ เราก็ตัดผักให้กับลูกค้าได้ผักสดกลับบ้าน โดยจะตัดผักทุกวันและทุกเช้าก็จะนำผักไปขายตลาดในเมือง ทั้งขายส่งและปลีก เฉลี่ยรายได้จากการขายผักสวนครัวไร้สารพิษ วันละ 400-500 บาท ทำให้มีรายได้ส่งลูกและหลานเรียนหนังสือจนถึงทุกวันนี้” คุณยุพิน กล่าว

คุณยุพิน กล่าวต่อว่า สล็อต Royal Online V2 เริ่มแรกเป็นดินทรายปลูกผักไม่ค่อยงาม จึงได้สั่งซื้อดินดำมาลงและปรับปรุงดินอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยยูเรีย แกลบ ขี้ด่าง จนคุณภาพดินเริ่มดีขึ้นปลูกผักงาม ต่อมาก็หันมาใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพที่ทำเอง งดปุ๋ยเคมีไปโดยปริยาย ที่สำคัญผักทุกชนิดที่ตัดขายแล้วเหลือเป็นเศษผักในแปลง จะนำไปทำปุ๋ยหมักในบ่อปูนนำมาใช้บำรุงดินได้ต่อไป ช่วยให้ประหยัดได้มาก ส่วนน้ำหมักก็ทำเองง่ายๆ เช่น ใช้ส่วนผสมที่ทำจากไข่สด เครื่องดื่มชูกำลัง ผงชูรส น้ำตาล หมักจนได้ที่แล้วนำไปรดผักจะสวยงามมาก ต้นอวบโต กรอบ หวาน

“กว่า 20 ปี มาแล้ว จากดินที่ไม่ดี หญ้าขึ้นรก กลายมาเป็นแปลงผักสวนครัวที่สร้างรายได้เสริมเป็นอย่างดี บางแปลงก็แยกทำแปลงต้นพันธุ์ผักสวนครัวเก็บเมล็ดพันธุ์ปลูกได้ในปีถัดไป ช่วยลดต้นทุนได้มาก ที่สำคัญทำให้ได้รับประทานผักปลอดสารพิษ สุขภาพปลอดภัยจากสารพิษด้วย” คุณยุพิน กล่าว

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือน ใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว

1.ฟาง (ทุกชนิด) แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน

2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่าก็ใช้ได้

3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้าพลาสติก ถ้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตะกร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง

4.บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง วิธีทำ 1.ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน 2.หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง จะเพาะได้ 3 ตะกร้า 3.ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ 4.อาหารเสริมต่างๆ แช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า

5.ตามด้วยโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน ทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1 ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1

6.ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง

7.นำไปตั้งไว้บนพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว

8.รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน

9.คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือซาแรน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน

10.เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

ทั้งนี้ โดยผลผลิต 1 ตะกร้า จะได้ประมาณ 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม

(อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆ อย่างก็ได้)