ดีเดย์แล้ว! นายจ้างประมงทะเล ต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างผ่าน

ธนาคารในอัตรารายเดือนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศกำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล พร้อมแจ้งนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างในอัตรารายเดือนและต้องจ่ายผ่านธนาคาร เริ่ม 1 พฤศจิกายน 2560

นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร. ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2560 ซึ่งประกาศฯฉบับนี้มีสาระสำคัญ เช่น การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในอัตรารายเดือนโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารโดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน การกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จัดเครื่องมือหรืออุกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือให้กับลูกจ้าง เป็นต้น ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป

นายอนันต์ชัย กล่าวต่อไปอีกว่า การออกประกาศฯดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ที่กำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือที่มีข้อความถูกต้องตรงกันจำนวนสองฉบับโดยมอบให้ลูกจ้างเก็บไว้หนึ่งฉบับ เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ โดยแบบของสัญญาจ้างให้เป็นไปตามที่อธิบดีกสร.กำหนด ทั้งนี้ การจัดทำสัญญาจ้างในงานประมงทะเลจะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างและหลักฐานในการปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้าง ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการละเมิดสิทธิแรงงานในกิจการประมงทะเล หากนายจ้าง ลูกจ้าง มีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมเพิ่มเติมได้ที่ กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ 0 2246 8994 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1546

ค่าน้ำค่าไฟฟ้า คือค่าใช้จ่ายภายในบ้านที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะว่าเรามีความจำเป็นต้องใช้อยู่ตลอดนั่นเอง เพราะหากว่าขาด 2 สิ่งนี้ไปเราก็จะใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างลำบาก เพราะกิจกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตเมืองนั้นมีจะมีสองอย่างนี้มาเกี่ยวข้องเสมอๆ ซึ่งในเมื่อเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็หันมาประหยัดแทนก็ได้ เพราะหากเราไม่ประหยัดและใช้อย่างสิ้นเปลือง นอกจากค่าน้ำค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากแล้ว ยังจะส่งผลให้ทรัพยากรเหล่านี้หมดไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย และ MoneyGuru.co.th อยากมีส่วนช่วยให้ทุกคนได้ประหยัดกัน โดยวันนี้มี 5 สิ่งภายในบ้านที่จะช่วยให้เราประหยัดไฟฟ้าไปได้ และมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นมาฝากกัน

แอร์ (เครื่องปรับอากาศ) ถือได้ว่าเป็นสิ่งของสามัญประจำบ้านไปซะแล้วสำหรับในเมืองไทย เพราะเกือบทุกบ้านจะมีการติดตั้งไว้ เนื่องด้วยเมืองไทยเป็นเมืองร้อน การมีแอร์ภายในบ้านก็จะช่วยให้เราคลายร้อนมีอากาศที่เย็นสบาย ซึ่งหากใช้ไม่ระวังแอร์นี่แหล่ะที่จะเป็นตัวเพิ่มค่าไฟฟ้าให้เราแบบไม่ทันรู้ตัวกันเลยทีเดียว

คำแนะนำคือ ให้เปิดเป็นเวลาไม่ใช่เปิดตลอดทั้งวัน เช่น หากเราเป็นคนนอนติดแอร์ คือต้องเปิดถึงจะนอนหลับ ก็อาจจะใช้วิธีเปิดในช่วง 1 – 2 ชั่วโมงแรกก่อนการจะนอนหลับก็ได้ จากนั้นก็ตั้งเวลาปิดไว้ให้เรียบร้อย และไม่ควรปรับอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 25 องศา เพราะจะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าได้ อีกข้อสำคัญคือ ต้องไม่ลืมที่จะเช็กประตูหน้าต่างภายในห้องให้เรียบร้อย ว่าปิดสนิทเรียบร้อยหรือไม่ หากว่ายังก็ควรปิดให้เรียบร้อยเพื่อที่ป้องกันอากาศเย็นออกจากห้อง อันเป็นเหตุแอร์ต้องทำงานหนักนั่นเอง

วิธีประหยัดด้วยหลอดไฟนั้นแสนง่าย เพียงแค่เราปิดหลอดไฟดวงที่เราไม่ใช้งานให้หมด แค่นี้ก็ช่วยเราประหยัดไปได้เยอะแล้วล่ะครับ นอกจากนี้ยังมีวิธีประหยัดเพิ่มเติมไปอีกก็คือการเลือกเปลี่ยนหลอดไฟมาใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งหลอดไฟประเภทนี้จะใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดทั่วไปถึง 75% เลยทีเดียวแถมอายุการใช้งานก็ยาวนานกว่าชนิดอื่นๆ จะเห็นได้ว่าหากเปลี่ยนมาหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นี้และปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งานควบคู่กันก็จะช่วยให้เราประหยัดไปได้อย่างมากเลยทีเดียว ข้อสำคัญทุกครั้งก่อนออกจากบ้านอย่าลืมเช็คนะครับว่าปิดไฟครบทุกดวงหรือยัง หากยังก็ปิดให้ครบนะครับ เพื่อช่วยกันประหยัดไฟฟ้าครับ

สิ่งที่สามก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในบ้านเช่นกัน เพราะถือได้ว่าเป็นจุดจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ นั่นเอง หรือที่รู้จักกันดีว่า “ปลั๊กไฟ” และด้วยเหตุนี้เราหลายๆ คนก็มักที่จะเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ทิ้งไว้ โดยอาจจะคิดไม่ถึงว่า ต่อให้ไม่ได้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ถ้าหากมีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้ต่อให้ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วก็ตาม กระแสไฟฟ้าก็จะยังคงวิ่งเข้าสู่เครื่องใช้อยู่ดี ซึ่งก็ถือว่าเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า ดังนั้นเราจึงควรจะถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าและประหยัดพลังงานครับ

4.ซักผ้ารีดผ้า
การซักผ้ารีดผ้าถือว่าเป็นจุดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เพราะจะซักผ้าก็ใช้เครื่องซักผ้า จะรีดผ้าก็ใช้เตารีดไฟฟ้า จะเห็นได้ว่าใช้พลังงานไฟฟ้าทั้ง 2 อย่างเลย ดังนั้นคงจะดีกว่า ถ้าเราเลือกที่จะซักผ้าและรีดผ้า ในจำนวนหลายๆ ตัวมากกว่า ทำทีละตัว เพื่อจะได้ลดจำนวนครั้งในการซักและรีด แถมเป็นการช่วยประหยัดไฟฟ้าไปอีกด้วย

ตู้เย็นก็ถือเป็นเครื่องใช้ฟ้าที่จำเป็นภายในบ้านเช่นกัน เพราะเอาไว้ใช้ในการเก็บรักษาอาหารต่างๆ ของเราไม่ให้เสีย แต่ข้อเสียก็คือเราต้องเปิดใช้งานอยู่คลอดไม่ให้ขาดเพื่อไม่ให้อาหารเราเสียนั่นเอง ซึ่งวิธีที่จะทำให้ตู้เย็นช่วยเราประหยัดค่าไฟฟ้าก็คือ การที่เราทำความสะอาดตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ และไม่ใส่ของมากจนเกินไป การใส่ของที่มากเกินไปจะทำให้ตู้เย็นทำความเย็นได้น้อยลง และเป็นการรักษาความสะอาดไม่ให้เป็นแหล่งเพราะพันธุ์เชื่อโรคอีกด้วย และเมื่อทำความสะอาดตู้เย็นเราก็ควรที่จะตรวจเช็คสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ของตู้เย็นให้อยู่ในสภาพดี ตัวอย่างเช่น ตรวจสอบรอบรั่วที่ขอบยางตู้เย็น หากมีรอยรั่วให้เปลี่ยนทันที หากเราไม่เปลี่ยนจะทำให้ความเย็นรั่วไหลออกมา เป็นเหตุให้ตู้เย็นต้องทำความเย็นตลอดเวลา ซึ่งจะกินไฟฟ้าตามมาอีกด้วย
สิ่งที่นำมาเสนอในวันนี้ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่ทันระวัง แต่ไม่เป็นไรเราเริ่มประหยัดตั้งแต่วันนี้ก็ได้ หวังว่าจะช่วยให้ประหยัดรายจ่ายค่าไฟฟ้ากันไปได้นะครับ

ติดตามคำแนะนำด้านการเงินเพิ่มเติมได้ที่ MoneyGuru.co.th เว็บไซต์เปรียบเทียบประกันรถยนต์ ที่จะช่วยให้ทุกคนได้ออมเงินมากขึ้น! เมื่อวันที่ 2 พ.ย.60 กองทุนรักษาเสถียรภาพราคายาง ภายใต้การดำเนินการของบริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ย้ำเป้าหมายการดำเนินการ เพื่อเพิ่มกำลังการซื้อในตลาด และพยุงราคาเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางภายในประเทศ มุ่งประโยชน์สู่ภาคเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง แม้บางส่วนออกมาร้อง บริษัท ร่วมทุนฯ รับเร่งปรับกลยุทธ์การเข้าซื้อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ยางพารา

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด เผยว่า บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด มีเงินลงทุนร่วม 1,200 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อยางในราคาชี้นำตลาด โดยราคาที่บริษัทฯ ซื้อจะสูงกว่าตลาดตั้งแต่ 50 สตางค์ไปจนถึง 2 บาท เพื่อประโยชน์จะตกที่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยตรงที่ได้รับเงินไป เพราะการเข้าซื้อของบริษัทฯ เป็นการซื้อจากตลาดกลางยางพารา ของ กยท. ที่มีเกษตรกรนำยางมาขาย โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ได้ใช้เงินลงทุนไปแล้วประมาณกว่า 600 ล้านบาท ฉะนั้น การทำงานของบริษัท จะเป็นลักษณะการซื้อมาขายไป เงินที่เข้าซื้อยางเมื่อขายยางได้จะกลับหมุนเวียนเพื่อซื้อยางจากเกษตรกรต่อไป

“การเข้าซื้อยางของบริษัท ร่วมทุนฯ ในตลาดกลางยางพาราทั้ง 6 แห่งของ กยท. ที่หมุนเวียนกันไป คำนึงถึงความเหมาะสมของราคาและจังหวะเข้าซื้อ เพื่อกระตุ้นแรงซื้อและพยุงราคาให้อยู่ในระดับที่ดี นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติให้ขนย้ายยางเก่าออกจากตลาดภายในสัปดาห์ และต่อไปจะปฏิบัติตามระเบียบตลาดกลาง กยท ในการขนยางออกจากตลาดภายใน 1 วัน หากไม่สามารถดำเนินการได้จะต้องเสียค่าปรับตามอัตราของตลาดกลางวางไว้ เพื่อยืนยันว่ากระบวนการจากนี้จะชัดเจน และไม่เป็นภาระเรื่องสต๊อกที่คงค้างในตลาดทุกที่ต่อไป”

ดร.ธีธัช อธิบายเพิ่มเติมว่า ความไม่เข้าใจของบางกลุ่มว่าการที่บริษัทฯ เข้าซื้อยางในราคาที่สูงนั้น ส่งผลให้ผู้ซื้อรายอื่นไม่มีกำลังซื้อมากพอจะเข้าซื้อยางในตลาด จนชะลอการซื้อ ทำให้เกิดปัญหาราคาตก และเรียกร้องให้ บริษัทร่วมทุนฯ หยุดเข้าซื้อยางในตลาด พบว่า ในระยะ 3 วันที่บริษัทฯ ชะลอการเข้าตลาด ราคายางจาก 51.50 บาท วันนี้ปิดตลาดที่ 46.50 บาท ซึ่งราคาตกลงมา 6 บาท สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมาบริษัทร่วมทุนฯ ได้สร้างกำลังซื้อในตลาด และมีความตั้งใจจะทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางราคา และอนาคต จะมีการทบทวนผลการดำเนินงานและการปรับกลยุทธ์บางอย่างตามหลักการของกองทุนทั่วไป เจตนาของบริษัทฯ อยากให้ตลาดเดินหน้าซื้อขายต่อไปได้

“บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด คือ ผู้ซื้อรายหนึ่งในตลาด เพียงแค่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อที่มุ่งหวังผลกำไรสูงสุด มีเป้าหมายเพื่อพยุงราคายางให้ดีขึ้น และเพื่อจูงใจให้ตลาดปรับราคาสูงขึ้นอย่าลืมว่ากลไกของตลาดกลางไม่ใช่ทั้งหมดของประเทศ ตลาดกลางยางพาราเป็นเพียงตลาดชี้นำ เพราะฉะนั้น การที่เราต้องการจะมีราคากลางที่ดีขึ้นและการเข้าซื้อเพื่อให้เกิดราคาสูง เพื่อให้เป็นราคาอ้างอิง ทั้งเกษตรกรและโรงงานในทุกพื้นที่นำไปใช้ในการตกลงราคาได้เช่นกัน”

ธ.ก.ส.โชว์ผลประกอบการครึ่งปีฟันกำไรเกือบ 6 พันล้าน คาดทั้งปีอาจได้ 9 พันล้าน ครึ่งปีหลังจ่อปล่อยสินเชื่อช่วยมัน ข้าว ข้าวโพด คาดทั้งปีปล่อยสินเชื่อใหม่ไม่ต่ำกว่า 8.6 หมื่นล้าน เร่งแก้หนี้นอกระบบ

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปีบัญชี 2560 (1 เมษายน-30 กันยายน 2560) ธ.ก.ส. มีกำไร 5.84 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีบัญชีก่อนที่มีกำไร 5.23 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีบัญชี และคาดว่าในปีบัญชีนี้มีกำไรตามเป้าหมายที่ประมาณ 9 พันล้านบาท นอกจากนี้ สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ 17,843 ล้านบาท ส่งผลยอดรวมของสินเชื่อคงค้างเป็น 1.29 ล้านล้านบาท หรือขยายตัวจากบัญชีผ่านมา 1.40% คาดว่า สินเชื่อครึ่งปีบัญชีหลังจากปล่อยได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก โดยได้เตรียมสินเชื่อสินค้ามันสำปะหลังวงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท สินเชื่อบริหารจัดการข้าว 1.25 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อผู้ปลูกข้าวโพดอีก 7.5 พันล้านบาท โดยมั่นใจว่าตลอดทั้งปีบัญชี ธนาคารจะสามารถปล่อยสินเชื่อตามเป้าหมาย 86,000 ล้านบาท หรือขยายตัว 7%

นายอภิรมย์ กล่าวว่า สำหรับยอดเงินฝากช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.38 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีบัญชีกว่า 3 หมื่นล้านบาท หากแยกเงินฝากที่เป็นของเกษตรกรจะอยู่ที่ 2.9 แสนล้านบาท คิดเป็นจำนวน 10.1 ล้านราย ทั้งนี้ จะพบว่า ฐานเงินฝากที่เป็นของเกษตรกรนั้น ได้ทยอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2558 ยอดเงินฝากเกษตรกรอยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท ปี 2559 ยอดเงินฝากอยู่ที่ 2.6 แสนล้านบาท โดยจนถึงสิ้นไตรมาส 2 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 1.64 ล้านล้านบาท

นายอภิรมย์ กล่าวว่า สำหรับคุณภาพสินทรัพย์ธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ในระดับ 5.75% ของสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีบัญชีอยู่ระดับ 4% เนื่องจากครึ่งปีแรกยังไม่ใช้ฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชผล คาดว่าเอ็นพีแอลเริ่มลดลงในไตรมาส 3-4 หลังจากมีการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร ทำให้เกษตรกรนำเงินมาใช้หนี้ ทำให้ทั้งปีเอ็นพีแอลลดลงลงมาเหลือ 4% ได้ แม้เอ็นพีแอลช่วงนี้จะเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารมีสถานะกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) แข็งแกร่ง โดยอยู่ที่ระดับ 12.37% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตั้งเอาไว้ที่ 8.50%

นายอภิรมย์กล่าวว่า ในช่วงที่เหลือของปีจะพยายามเข้าไปแก้ไขหนี้นอกระบบ ซึ่งกลุ่มที่ ธ.ก.ส. ดูแลมีประมาณ 4.5 แสนราย วงเงิน 2.7 หมื่นล้านบาท เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยประมาณ 1.24 แสนราย โดยได้ติดต่อไปยังกลุ่มที่เป็นหนี้นอกระบบเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้ นอกจากช่วยเหลือด้านการเงินแล้ว ยังส่งเสริมอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เริ่มดำเนินการแล้วที่จังหวัดกระบี่ ให้เอสเอ็มอีหัวขบวนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ส่งโรงแรมและรีสอร์ตเป็นผู้นำในการดึงกลุ่มหนี้นอกระบบให้มาปลูกผัก นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ กระทรวงการคลังเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขยายวงเงินสินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบอีก 5 พันล้านบาท จากขณะนี้มีการจ่ายสินเชื่อไปแล้วกว่า 4 พันล้านบาท ช่วยเหลือไปแล้ว 4.1 หมื่นราย

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2560 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ ฉบับที่ 15 เรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560)”

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และลมกระโชกแรงและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้ บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่ง และขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังคลื่นซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

อนึ่ง พายุโซนร้อน “ด็อมเร็ย” ( Damrey) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ทางด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ หรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 13.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.7 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนเข้าชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนล่างในวันที่ 4 พ.ย. 60 นี้

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในระยะนี้ ประกาศ ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 05.00 น.
กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 11.00 น.

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน นายทรงธรรม สุขสว่าง ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) มอบนโยบายในการพัฒนาอุทยานฯ ให้ได้มาตรฐานในระดับสากล โดยให้ดำเนินโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Parks)

กรมอุทยานฯ ได้เสนอรายชื่ออุทยานฯเพื่อเข้าร่วมโครงการประกวดอุทยานฯ ประจำปี 2560 จำนวน 27 แห่ง แบ่งเป็น 3 ประเภทตามแหล่งการท่องเที่ยว คือ ประเภทภูเขา ประเภทเกาะและชายหาด และประเภทน้ำตกและแหล่งน้ำ โดยที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการประกวดอุทยานฯสีเขียว ที่มีนายเสริมยศ สมมั่น รองปลัด ทส. เป็นประธาน มีมติคัดเลือกอุทยานฯ จำนวน 17 แห่ง ให้ได้รับการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียวประจำปี 2560 โดยมีอุทยานฯ ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน จำนวน 14 แห่ง ดังนี้

อุทยานฯ ภูพาน จ.สกลนคร ได้รับการประเมินสูงสุด ร้อยละ 97.66 อุทยานฯ เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 96.01 อุทยานฯ ดอยภูนาง จ.พะเยา ร้อยละ 95.29 อุทยานฯ เขาคิชฌกูฏ ร้อยละ 94.79 อุทยานฯ แจ้ซ้อน จ.ลำปางและอุทยานฯ เขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 91.76 อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ ร้อยละ 91.67 อุทยานฯ อินทนนท์ จ.เชียงใหม่

และอุทยานฯ ดอยภูคา จ.น่าน ร้อยละ 91.18อุทยานฯ ผ้าห่มปก ร้อยละ 90.93 อุทยานฯ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ร้อยละ 90 อุทยานฯดอยหลวง จ.เชียงราย และ อุทยานฯ ตาดโตน จ.ชัยภูมิ ร้อยละ 88.97อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา ร้อยละ 85.71

ผู้อำนวยการสำนักอุทยานฯ กล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์การประกวดอุทยานฯ สีเขียว มีการประเมินศักยภาพของอุทยานฯ ในด้านการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ขยะ น้ำเสีย สิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำ บ้านพักนักท่องเที่ยว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น ซึ่งเกณฑ์การประเมินอุทยานฯ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยเกณฑ์ทั้งหมด 17 เกณฑ์ โดยอุทยานฯ ต้องผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 85 ขึ้นไป

แก้ปัญหากันมาช้านานสำหรับเรื่องการบุกรุกถือครองพื้นที่ป่า weareorganizedchaos.com ไม่ว่าจะป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ และเป็นผืนป่ามรดกโลก มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และหน่วยงานของรัฐกับราษฎรมากที่สุด โดยปัญหาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก กลุ่มพื้นที่จัดที่ดินทำกินตามโครงการของรัฐ เนื้อที่ประมาณ 67,876 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำกิน และอยู่อาศัยของราษฎรตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 30 มิถุนายน 2541 ตามโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎรผู้ยากไร้ (คจก.) เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในป่าอนุรักษ์ คือ อุทยานแห่งชาติทับลาน

กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มพื้นที่ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ประมาณ 58,582 ไร่

และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีการบุกรุก และมีการเปลี่ยนมือให้กลุ่มนายทุนเข้ามาครอบครอง เพื่อสร้างรีสอร์ต หรือบ้านพักตากอากาศ เนื้อที่ประมาณ 152,076 ไร่

กลุ่มที่สามารถอยู่ในพื้นที่เดิมในป่าอนุรักษ์ได้ โดยจะมีกฎหมายอุทยานแห่งชาติฉบับใหม่ที่ผ่าน ครม.แล้ว และกำลังเข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภารองรับ เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์หรือป่าอุทยานการจะดำเนินการใดๆ จะต้องมีกฎหมายรองรับ อย่างไรก็ตาม ถ้าพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อุทยาน ไม่ผ่านการพิจารณาของสภา รัฐบาลก็จะมีการแก้ไขปัญหาก๊อก 2 อาจจะมีการเพิกถอนพื้นที่ประมาณ 6.7 หมื่นไร่ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และทำการจัดสรรให้ราษฎรต่อไป เพื่อแก้ปัญหาส่วนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานของรัฐกับรัฐ เช่น กรมอุทยานฯกับ ส.ป.ก.และพื้นที่ที่มีการบุกรุก และเปลี่ยนมือให้กลุ่มนายทุนก็จะมีการแก้ไขเป็นลำดับไป

นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช อธิบายเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า กรมอุทยานฯได้ตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน มี นายเฉลิมชัย ปาปะทา รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นประธานอำนวยการ เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นที่ ลักษณะการถือครอง ครอบครอง และสร้างความเข้าใจแก่ชุมชน ผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจตามแนวทางแก้ปัญหาตามมติ ครม. 30 มิถุนายน 2541

วิธีการดำเนินงานคือ จัดเจ้าหน้าที่แบ่งเป็น 48 ชุด ชุดละ 8 คน ทำการสำรวจ คาดว่าจะได้รายชื่อผู้ครอบครองที่ดิน 15,000 แปลง เนื้อที่กว่า 1 แสนไร่ ใน อ.เสิงสาง และครบุรี ที่จะเป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดิน ในเขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ประมาณ 2,700 ชุมชน พื้นที่กว่า 5.9 ล้านไร่

“แต่ขอทำความเข้าใจว่า กรมอุทยานฯไม่ได้เอาที่ดินจากป่าอนุรักษ์ไปแจกอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะสิ่งที่ชาวบ้านได้รับนั้นไม่ใช่เอกสารสิทธิที่ดิน แต่เป็นสิทธิทำกิน ห้ามมีการซื้อขาย ส่วนผู้ที่มีสิทธิจะได้รับสิทธิดังกล่าว คือชาวบ้านที่อยู่มาก่อนในพื้นที่ โดยอยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิภายใต้มติ ครม.30 มิถุนายน 2541” อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯกล่าว

นายประวัติศาสตร์ จันทรเทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติทับลาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมหาข้อยุติการแก้ไขปัญหา และลงพื้นที่ ชี้แจง ทำความเข้าใจ และตอบข้อซักถาม ถึงแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตามโครงการตรวจพิสูจน์สิทธิฯ ในพื้นที่ที่ยังมิได้เข้าร่วมโครงการและพื้นที่ตกหล่นในการปฏิบัติงาน

“โดยสรุปแล้ว ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคืบหน้าในการดำเนินการพอสมควร โดยกลุ่มที่ 1 พื้นที่ทับซ้อนกับ ส.ป.ก.นั้น ได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ขณะนี้รอผลอยู่ กลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่ทำการเกษตร และชาวบ้านที่อยู่ดั้งเดิม ก่อนหน้านี้ ได้จัดให้กลุ่มนี้เข้าตามหลัก มติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 และอยู่ระหว่างการรังวัดตรวจสอบ ขณะนี้เสร็จเกือบ 100% แล้ว

ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะมีปัญหามากที่สุด เพราะที่ดินหลายแปลงถูกนำไปออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 การตรวจสอบต้องใช้เวลา แต่เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทำงานทุกวัน” นายประวัติศาสตร์ กล่าว