ดูเหมือนฉันจะบอกมาหลายครั้งแล้วว่าค่าครองชีพที่แมดิสันที่ฉัน

ต่ำกว่าเมืองใหญ่อย่าง แอลเอ. หรือนิวยอร์ก เป็นเท่าตัว เพราะเรามีผักผลไม้นมเนยพร้อมมูลจะลำบากกันบ้างก็ช่วงหน้าหนาว เพราะอากาศหนาวจัดอยู่หลายเดือน ช่วงนั้นการผลิตส่วนใหญ่หยุดชะงัก ต้องอาศัยพวกพืชผักและเนื้อสัตว์แช่แข็งกันพักใหญ่

เส้นทางรอยต่อตำบลภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมพระพุทธไสยาสน์ และบ้านโพนคำพุทธคีรี หมู่ที่ 5 ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พื้นที่ทางการเกษตรปลูกพืชไร่ มันสำปะหลัง อ้อย เขตอาศัยน้ำฝน ผลผลิต 1 ครั้ง ต่อปี

คุณถวิล แก้วบุรมย์ อายุ 53 ปี บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 5 บ้านโพนคำพุทธคีรี ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โทร. (062) 485-5892 กล่าวว่า ตนเองได้แนวคิดจากนักสัตวบาล คุณสุรพล เกิดศักดิ์ ปศุสัตว์อำเภอสหัสขันธ์ คุณสายลม จันทขันธ์ เจ้าพนักงานสัตวบาล ส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงโคขุนเงินล้าน หรือโคขุนสร้างชาติ ตนเองมีครอบครัว ลูกชาย 1 คน ทำงานเป็นนายช่างในกรุงเทพฯ

จึงอยู่กับภรรยา ในหมู่บ้านโพนคำพุทธคีรี และตนเองมาสร้างบ้านพักหรือฟาร์มโคขุนที่ดินของตนเองจำนวน 22 ไร่ แบ่งพื้นที่ทำนาข้าว 5 ไร่ ที่ดินแปลงว่างไว้ปล่อยโคแทะเล็ม 5 ไร่ เป็นคอกโค ขุดสระน้ำ 2 ไร่ ปลูกหญ้าเนเปียร์ และหญ้านรกจักรพรรดิ 8 ไร่ พื้นที่มีข้อจำกัดคือ “แห้งแล้ง” เขตอาศัยน้ำฝน ฤดูแล้งอาศัยฟางแห้ง อาหารโคเนื้อ และหญ้าสด ที่ปลูกไว้ เครื่องบดสับหญ้าตัวละ 1 ถุงปุ๋ย และอาหารสำเร็จรูป การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ แต่ไม่อ้วนหรือสมบูรณ์เหมือนฤดูฝนที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์

คุณถวิล เล่าให้ฟังว่า หลังจากตนเองปลูกหญ้าสด “พันธุ์นรกจักรพรรดิ” ต้นสูงกว่า 3-5 เมตร ลำต้นใหญ่อวบ ใบดกหนา แตกกอดี ใช้เครื่องบดสับหญ้าด้วยเครื่องยนต์จากรถไถนาเดินตาม 1 กอ วัวอิ่ม ตนเองเริ่มเลี้ยงวัวจาก วัวแม่สาว 2-5 แม่ พันธุ์พื้นเมือง วัวฮินดูบราซิล (วัวหูยาว) แต่มีข้อเสียคือโครงใหญ่ ให้เนื้อน้อย กินอาหารเยอะมากแต่ไม่อ้วน สู้วัวอเมริกันบราห์มันไม่ได้ เจริญเติบโตดีกว่า ปัจจุบันมีวัว 16 ตัว ตัวผู้ 2 ตัว แบบซื้อมาขายไป…จะไม่พัฒนาสายพันธุ์ คือไม่เลี้ยงเพื่อเลี้ยงลูก แต่จะเลี้ยงแม่โคสาว หรือวัวไทยใหญ่ ผสมเทียมวัวอเมริกันบราห์มันแดง พ่อพันธุ์ดี 1,000-2,000 บาทหากผสมติด ตั้งท้อง 2-3 เดือน ราคาวัวจะเพิ่มขึ้น 5,000-10,000 บาท เรียกว่า ระยะเวลา 90 วัน มีเงินเข้าคอกวัวตนเองเพิ่มขึ้นมาก ส่วนวัวที่เป็นแม่พันธุ์หลักในคอกต้องมี 10 ตัว ให้ลูกตัวผู้ขายออกไปเปลี่ยนเป็นตัวเมีย

คุณถวิล กล่าวว่า ผมมีความสุขดีมากๆ ครับ เลี้ยงไก่ให้เป็นตัวกระจายมูลโค ทำให้แห้งเร็ว ผมไม่เลี้ยงสุนัข เพราะเป็นศัตรูกับไก่ จับไก่ขายได้ปีละกว่าหมื่นบาท ขายมูลโค 3 ถุงปุ๋ย 100 บาท ซื้อแม่พันธุ์โคได้ปีละตัวนะครับแค่ขายมูลโค ผมสร้างฟาร์มนอกหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ 500 เมตร ห่างจากพุทธสถานพระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ภูปอ ประมาณ 1 กิโลเมตร ผมนำวิกฤต “โควิด-19” มาเป็นโอกาส

ราคาโคเนื้อช่วงนั้นราคาถูก วัวพื้นเมือง หรือโคสาวไทยพร้อมผสมพันธุ์ ราคาไม่เกิน 30,000 บาท ผสมตั้งท้อง ขายได้ 35,000-40,000 บาท ช่วงนี้ราคาโคสาวสูงขึ้น เราเกษตรกรมีเงิน 5,000 บาท จากรัฐบาล 3 เดือน 15,000 บาท แต่อีกระยะ ราคาจะลดลง จากสาเหตุ เกษตรกรไม่มีที่เลี้ยงวัว ชาวนาทำนาเต็มพื้นที่ หรือการเกษตรอื่น เช่น อ้อย มันสำปะหลัง อีกประการจากการเปิดเทอมของนักเรียน ผู้ปกครองเริ่มหาเงินค่าเทอมบุตรหลาน ชาวโคขุนทั้งหลายเตรียมเงินไว้ซื้อวัว หรือโคมาเลี้ยงดีกว่า เลี้ยงโคไม่ขาดทุนครับ เลี้ยงหมูหรือเลี้ยงสุกร มันกินเงินในกระเป๋าเรา เลี้ยงโคทำงานในฟาร์ม ร่างกายแข็งแรง ผมทำงานรอลูกชายกลับมา มีลูกชายคนเดียวเป็นนายช่าง สั่งห้ามซื้อบ้าน ให้กลับมาอยู่กับพ่อแม่ ลูกสัญญาว่าจะกลับมา เขาชอบงานฟาร์ม มันอิสระดี เป็นอาชีพที่มีเงินล้านต่อปี

ฝรั่ง ผลไม้พื้นบ้านที่รู้จักกันมาช้านาน ฝรั่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนขนาดกลาง เจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่ พบได้ทั่วไปในประเทศไทย มีการทำสวนฝรั่งกันมาก แต่การปลูกฝรั่งในโรงเรือนเป็นเรื่องฉีกแนวจากการทำการเกษตรกรรมทั่วไปและเป็นสิ่งที่ไม่มีใครจะทำกัน เพราะฝรั่งไม่ใช่พืชที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเหมือนกับพืชบางชนิดที่นิยมปลูกกันในโรงเรือน ในไต้หวันแหล่งผลิตฝรั่งพันธุ์ดีก็ไม่ได้ปลูกฝรั่งในโรงเรือน ไม้ผลที่มีปลูกในโรงเรือนตามที่เราเคยทราบกันคือ การปลูกมะม่วงในโรงเรือนของญี่ปุ่น เนื่องจากต้องการควบคุมอุณหภูมิ ส่วนฝรั่งไม่มีความจำเป็นต้องปลูกในโรงเรือน มีเหตุผลอะไรจึงต้องมาปลูกฝรั่งในโรงเรือนที่ประเทศไทยด้วย เป็นการคิดสวนทาง ทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่เขาไม่ทำกัน ชาวสวนฝรั่งได้ยินคงหัวร่อกันท้องคัดท้องแข็งกับเรื่องตลกแบบนี้ บอกว่าเป็นบ้ากันไปแล้วก็ได้

การปลูกฝรั่งในโรงเรือน ชาวสวนฝรั่งในบ้านเราเขาไม่ทำกัน และจะต้องใช้เงินทุนสูง เสียเงินไปเปล่าๆ ไม่คุ้มกันแน่นอน ฝรั่งไม่ใช่พืชที่ทำเงินให้มากมายจนต้องสร้างโรงเรือนไว้ปลูก

เรื่องการปลูกฝรั่งในโรงเรือนนี้มีความเป็นมาอย่างไร ต้องสอบถาม คุณปิยะ วงศ์จันทร์ แห่งเซฟตี้ ฟาร์ม (Safety Farm) จังหวัดลำปาง คิดอย่างไร จึงหันมาสนใจการปลูกฝรั่งในโรงเรือน คุณปิยะให้เหตุผลว่า ต้องการผลิตฝรั่งดีมีคุณภาพที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงเลย ซึ่งจะต่างจากการปลูกฝรั่งปลอดสารพิษ ที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะเว้นช่วงการใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งผลผลิตที่ได้ยังมีสารเคมีตกค้าง แต่ไม่เกินในปริมาณที่กำหนด ส่วนการปลูกฝรั่งในโรงเรือนนั้น ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง แต่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมน

การเลือกปลูกฝรั่งในโรงเรือน ก็เพราะฝรั่งเป็นผลไม้ที่ให้ผลผลิตได้ตลอดปี ฝรั่งยังเป็นผลไม้ที่ไม่บอบช้ำง่ายระหว่างการขนส่ง ฝรั่งเป็นผลไม้ที่รับประทานได้เรื่อยๆ ไม่เบื่อง่าย และมีรสชาติถูกปาก ไม่ว่าคนระดับไหน ฐานะไหน ก็สามารถหาซื้อมารับประทานได้ ราคาไม่แพงเหมือนกับผลไม้บางชนิดที่คนระดับล่างไม่สามารถหาซื้อมารับประทานได้ แต่ฝรั่งเป็นผลไม้ที่คนจนสามารถจับต้องได้ หาซื้อมารับประทานได้ง่าย

ฝรั่ง ที่ปลูกในโรงเรือน ใช้พันธุ์ฝรั่งจากไต้หวัน เป็นฝรั่งที่อร่อย มีรสชาติดีถูกปากในขณะนี้ รสชาติดีกว่าฝรั่งที่มีอยู่ในประเทศ พันธุ์ฝรั่งที่ใช้ปลูกในโรงเรือนมี หงเป่าซือ เฟิ่นหงมี่ และเจินจู โดยเป็นต้นพันธุ์แท้จากไต้หวันทั้งหมด ซึ่งผลฝรั่งดังกล่าวยังไม่ปรากฏมีจำหน่ายในตลาดผลไม้ทั่วไป อีกเหตุผลหนึ่งของการปลูกฝรั่งในโรงเรือนก็เพื่อต้องการทำให้เป็นธุรกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้วยเหตุผลเพียงแค่นี้ จะสมเหตุสมผลกันหรือไม่ กับการที่จะต้องปลูกฝรั่งในโรงเรือน

คุณปิยะ เสริมว่าการปลูกฝรั่งในโรงเรือนของเขา ทำเพื่อต้องการรองรับตลาดลูกค้าระดับสูงขึ้นมาหน่อย คนที่พอมีเงินจึงเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งลูกค้าบางคนอาจจะไม่สะดวกนักกับการเดินเข้าไปในสวนเหยียบดินเหยียบโคลน เหม็นทั้งกลิ่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก สารเคมีต่างๆ ไม่ชอบแมลงและสัตว์อื่นๆ ที่มีในสวนนั้น การเดินเข้าสวนอาจทำให้เสื้อผ้าเปื้อนได้ หรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมกับการเดินลุยสวน ดังนั้น การเดินในโรงเรือนจึงตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ เพราะในโรงเรือนสะอาด ไม่มีหญ้าหรือดินให้เหยียบ ไม่มีกลิ่นเหม็นของสารเคมี เพียงแต่อุณหภูมิจะสูงกว่าด้านนอกโรงเรือน ลูกค้าจะเข้ามาตัดผลฝรั่งเลือกได้เองตามชอบใจ แต่ราคาผลฝรั่งจะสูงกว่า

การปลูกฝรั่งในโรงเรือนใช้โรงเรือนขนาด กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร สูง 4 เมตร หลังคาโค้ง 2 หลังคา ต่อกันมุงด้วยพลาสติกใสสำหรับมุงหลังคาโรงเรือนโดยเฉพาะ ด้านข้างติดมุ้งลวดทั้ง 4 ด้าน มีประตู เข้า-ออก 1 ประตู กับประตูพักด้านนอกก่อนเข้าด้านในอีก 1 ประตู วางวงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ได้ 250 วงบ่อ วางติดกันหรือได้ 250 ต้น ระยะห่างระหว่างต้น 80 เซนติเมตร ใส่ดินในวงบ่อละ10 ถุง และคอยเติมดินเป็นระยะๆ พื้นปูด้วยแผ่นคลุมหญ้า ป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้นแต่น้ำซึมลงได้สะดวก

ปลูกมาได้ไม่ถึงปี แต่การเจริญเติบโตเร็วมาก ดังนั้น จึงต้องมีการตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้แต่ละต้นสูงเกิน จะรักษาความสูงไว้เท่าระดับความสูงของคน เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา การตัดแต่งกิ่งไม่ใช่เป็นการตัดกิ่งก้านทิ้งไปเหมือนการตัดแต่งกิ่งทั่วไป แต่จะใช้วิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่งกับกิ่งที่ต้องการตัดออก ทำให้ได้ทรงพุ่มที่ต้องการและได้กิ่งพันธุ์ตามมา การตัดแต่งกิ่งช่วยให้ทรงพุ่มโปร่ง ใบสามารถรับแสงได้ทั่วถึง ส่วนกิ่งที่ยังเล็กจะไว้ให้ติดผลเพียง 1 ผล การปลูกฝรั่งในโรงเรือนจะไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำฝนที่ตกในฤดูฝน ที่จะทำให้ธาตุอาหารเจือจางหายไป และเกิดน้ำท่วมขังเหมือนการปลูกกลางแจ้ง ทำให้สามารถควบคุมให้มีผลผลิตได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูฝน การปลูกฝรั่งหลายพันธุ์ในโรงเรือนเดียวกันจะมีการผสมข้ามพันธุ์กันหรือไม่ ภายในโรงเรือน แมลง ผึ้ง เข้ามาไม่ได้ จึงไม่มีตัวนำละอองเกสรไป และไม่มีลมพัดแรงมาพาละอองเกสรไปเช่นกัน ดังนั้น โอกาสผสมข้ามต้นจึงมีน้อยมาก

ระบบการให้น้ำและปุ๋ย เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด ใช้ถังเก็บน้ำ ขนาด 45,000 ลิตร สามารถใช้ได้ 45 วัน ถังปุ๋ยน้ำขนาด 200 ลิตร ใสปุ๋ยเกล็ด สูตร 13-13-21 จำนวน 1 ถุง 25 กิโลกรัม ผสมกับน้ำในถังปุ๋ย ผลใกล้แก่จะเพิ่มปุ๋ยสูตร 0-0-24 สัปดาห์ละครั้ง ในวันหนึ่งจะใช้น้ำประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร ให้น้ำพร้อมปุ๋ย วันละ 2 ครั้ง เวลา 9 โมงเช้าและบ่าย 3 โมง ใช้น้ำครั้งละ 500 ลิตร เปิด-ปิดตามโปรแกรมที่ตั้งไว้โดยอัตโนมัติ คนจึงไม่ต้องทำอะไร ปัญหาอยู่ที่ไฟฟ้าในหมู่บ้านจะดับบ่อยแค่ไหน คิดคำนวณแล้ว เสียค่าน้ำวันละ 10 บาท

การปลูกฝรั่งในโรงเรือนควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องแมลงจะมาทำความเสียหาย อย่าง เช่น แมลงวันทอง เพลี้ยแป้ง และหนอนเจาะลำต้น แต่ก็พบแมลงชนิดหนึ่งเข้าอยู่ได้คือ แมลงหวี่ขาว ซึ่งอาจติดมากับดินปลูก ไม่ได้ทำความเสียหายอะไร ใช้แผ่นกาวดักจับ เมื่อปราศจากแมลงรบกวนก็ไม่จำเป็นต้องห่อผลฝรั่ง การห่อผลฝรั่งเพื่อป้องกันแสงแดดส่องที่ผิวผลฝรั่ง ช่วยให้ผลฝรั่งมีสีเขียวอ่อนออกเหลือง ผิวสวยน่ารับประทานและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จุดประสงค์หลักของการห่อเพื่อป้องกันแมลงศัตรูตัวฉกาจที่มาเจาะผลฝรั่งคือ แมลงวันทอง การห่อจะห่อด้วยกระดาษและห่อด้วยถุงพลาสติกทับอีกชั้น เพื่อป้องกันน้ำไม่ทำให้กระดาษที่ห่อไว้เปื่อยก่อนผลแก่

ปัญหาจากการห่อผลฝรั่งปิดมิดทั้งผลที่พบคือ การห่อจะเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล แผลจะบุ๋มลงไป ผลเน่าเสียหาย ถ้าเกิดน้อยทำให้ฝรั่งมีตำหนิ คุณภาพลดลง ผลฝรั่งเน่าจึงพบง่ายจากการห่อผล โดยเฉพาะฝรั่งที่มีความหวานมากจะพบบ่อย ผลเน่าเสียจากการห่อจะเกิดกับต้นที่อายุน้อย ไม่ค่อยเกิดกับต้นที่แก่ การปล่อยให้ผลแก่เกินไปจะเกิดผลเน่าได้ การห่อผลมีข้อเสียที่ทำให้ไม่รู้ว่าผลไหนแก่สมควรจะเก็บได้ จะรู้ว่าผลแก่ได้ต่อเมื่อแกะกระดาษหรือถุงที่ห่อออก ถ้าห่อด้วยถุงพลาสติกก่อนแล้วใช้กระดาษหนังสือห่อแบบคลุมบังร่มคือ ไม่ห่อปิดหมดทั้งผล วิธีนี้จะทำให้สามารถดูผลว่าแก่หรือยังไม่แก่ได้ หรือใช้การบีบผล ผลเน่าอาจเกิดจากถุงพลาสติกที่ห่อไม่ได้เจาะหรือตัดเป็นช่องระบายน้ำไว้ การปลูกฝรั่งในโรงเรือนตัดปัญหาเรื่องการห่อออกไป จึงไม่เกิดผลเน่า ผลที่ได้ดูเป็นธรรมชาติ แต่ผิวผลอาจจะไม่สวยเหมือนกับผลที่ห่อ

การลงทุนปลูกฝรั่งในโรงเรือน เจ้าของที่ดินที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ต้องจ่ายเงินค่าสร้างโรงเรือนและระบบการให้น้ำและปุ๋ย ประมาณ 260,000 บาท แบ่งจ่ายชำระเป็น 3 งวด งวดแรก 50 เปอร์เซ็นต์ งวดที่ 2 และงวดที่ 3 ชำระงวดละ 25 เปอร์เซ็นต์ จุดคืนทุนภายใน 3 ปี ทุกอย่างเจ้าของที่ดินไม่ต้องทำอะไร ทีมงานจะไปสร้างโรงเรือนเอง ทั้งต้นพันธุ์และอุปกรณ์อื่นๆ จะนำมาไว้ให้พร้อม

ปัจจุบัน มีเจ้าของที่ดินที่เข้าร่วมโครงการ 5 โรงเรือน ใน 5 พื้นที่ จังหวัดลำปางมี 3 โรง และที่กรุงเทพฯ อีก 2 โรง และฝรั่งที่ไม่ได้ปลูกในโรงเรือนอีกประมาณ 30 ไร่ เป็นฝรั่งพันธุ์ไต้หวันทั้งหมด คุณปิยะจะส่งทีมไปดูทุกเดือน เพื่อติดตามปัญหาและให้คำแนะนำ แก้ไขสิ่งที่บกพร่อง ซ่อมแซมหรือเพิ่มสิ่งที่ต้องเพิ่มเติม เช่น ปุ๋ย ฮอร์โมน โครงการนี้เพิ่งดำเนินการครบ 1 ปี เมื่อเดือนเมษายนนี้ หลังจากปลูกแล้ว ตอนอายุประมาณ 6 เดือน ทรงพุ่มเริ่มใหญ่ ทางคุณปิยะจะส่งทีมไปตัดแต่งด้วยการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง

เมื่อครบเวลาการตอนกิ่งหรือทาบกิ่งจะตัดกิ่งออกเพื่อรักษาทรงพุ่มไม่ให้สูงเกิน พันธุ์เฟิ่นหงมี่เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก ฝรั่งที่ปลูกในโรงเรือนให้ผลผลิตดีไม่ต่างจากฝรั่งที่ปลูกกลางแจ้ง แต่ผลจะดกกว่าผลใหญ่และให้ผลตลอดปี เนื่องจากควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยได้ โดยรับซื้อกิ่งที่ตอนหรือทาบคืน กิ่งละ 80 บาท ส่วนผลฝรั่งจะรับซื้อกิโลกรัมละ 50 บาท จากเจ้าของที่ดิน ผลที่รับซื้อคืนจะส่งไปขายที่บรูไนและดูไบ ส่วนกิ่งพันธุ์จะจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจภายในประเทศ ซึ่งปริมาณยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพียง 8 เดือนแรกเจ้าของพื้นที่ได้ทุนคืน ประมาณ 80,000 บาท จากการขายคืนกิ่งพันธุ์

การปลูกฝรั่งในโรงเรือนอาจเป็นเรื่องแปลกใหม่ในประเทศไทย แต่ถ้าท่านใดชอบสิ่งที่ไม่เหมือนใคร สนใจการปลูกฝรั่งในโรงเรือน ปรึกษาได้ที่ เบอร์โทร. 085-687-8778 หรือเข้าไปที่ Face book: Piya Safety Farm

ผักหวานป่า ถือเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากรสชาติที่อร่อย ยังเป็นพืชพันธุ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นฤดูที่ราคาจำหน่ายจะสูงมาก

ทั้งนี้ มีเคล็ดลับการปลูกผักหวานป่า ที่จะทำให้รอดตายและเจริญเติบโตเร็ว คือเริ่มจากการเตรียมหลุมปลูกและปรับปรุงดินปลูกให้ร่วนซุย นอกจากนี้ยังเตรียมต้นกล้าที่สมบูรณ์และกรีดถุงต้นกล้าลงหลุม ระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกและแปลงปลูกต้องมีพืชร่มเงาให้แสงแดดรำไร รวมถึงในช่วงแล้งปีที่ 1 และ 2 อย่าให้ต้นผักหวานป่าขาดน้ำและร่มเงา โดยเมื่อพ้นแล้งปีที่ 2 จะสังเกตเห็นต้นผักหวานป่าเติบโตได้เร็ว

ขุดหลุม ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดิบ ที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วกลบลงในหลุมปลูก การเตรียมวัสดุปลูกที่ดีจะทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้เร็ว ระยะปลูกสามารถปลูกได้หลายระยะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก ได้ตั้งแต่ 1×1 เมตร หรือ 1.5×1.5 เมตร ซึ่งเป็นการปลูกระยะชิดเพื่อเพิ่มจำนวนต้น ควรมีการตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้นสูงและสร้างทรงพุ่มให้เล็ก เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว หรือจะปลูกแซมพืชเติมในสวนก็ได้

การปลูกผักหวานป่า ข้อควรระวัง อย่าให้รากของผักหวานป่าได้รับการกระทบกระเทือนจนรากขาด ถ้านำออกจากถุงระวังอย่าให้ดินแตก เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต การให้น้ำและการให้ปุ๋ย ผักหวานป่า ในช่วงฤดูแล้งให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง พอดินชื้น อย่าให้ต้นผักหวานป่าขาดน้ำจนยอดแห้งและใบร่วง จะทำให้ต้นผักหวานป่าชะงักการเจริญเติบโต

สำหรับการใส่ปุ๋ย หลังปลูกผักหวานป่าได้ 3-4 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น ห่างจากโคนต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร โรยทับด้วยปุ๋ยคอกแล้วกลบดิน

ในช่วงปีแรกให้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 4 เดือน ต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ยเพิ่มตามขนาดต้น

ในปีที่ 2 ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และปลายฤดูฝนประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ ต่อต้น โรยทับด้วยปุ๋ยคอก 1-3 บุ้งกี๋ ต่อต้น ความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร

ยอดผักหวานอ่อนที่ปลูกและดูแล จึงเป็นอีกหนึ่งความสุขที่เกิดขึ้นได้ไม่ยากในสวนหลังบ้านของทุกท่าน ฟักแม้ว หรือ ชาโยเต้ (Chayote) เป็นไม้มีลักษณะเถาเลื้อย สามารถเจริญเติบโตข้ามปีได้ ซึ่งลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายแตงกวาผสมฟักเขียว ระบบรากเป็นระบบที่สมบูรณ์ขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นเหลี่ยม เจริญเติบโตเป็นเถายาว 15-30 ฟุต โดยใบมีขอบลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5 เหลี่ยม ยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกของฟักแม้วมีสีขาวปนเขียว ดอกเกิดที่บริเวณข้อระหว่างต้นกับก้านใบ เป็นลักษณะดอกช่อ (Inflorescence)

ดอกของไม้ชนิดนี้เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่คนละดอกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน เมื่อเจริญเติบโตจนให้ผลแล้วจะมีลักษณะเป็นผลเดี่ยว ลักษณะทรงกลมยาวสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีขนาดยาว 7-20 เซนติเมตร กว้าง 5-15 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ย 200-400 กรัม

โดยทั่วไปแล้วฟักแม้วสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย โดยนิยมใช้ทั้ง ผล ใบ และราก แต่สำหรับประเทศไทยนิยมรับประทานยอดเสียมากกว่า โดยนำมาผัดกับน้ำมันหอย หรือจะลวกรับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อยลงตัว จึงเป็นพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาด

คุณทศพร เขมาชะ อยู่บ้านเลขที่ 11 หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสาววัย 26 ปี ที่มีหัวใจรักงานเกษตร ได้เรียนรู้และปลูกฟักแม้วจนประสบผลสำเร็จ นำผลผลิตที่ได้ส่งเข้าโครงการหลวง เป็นอาชีพที่ทำเงินให้กับเธอได้เป็นอย่างดี

คุณทศพร สาวเหนือผู้มากด้วยรอยยิ้ม เล่าให้ฟังว่า เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว ก็ได้มาช่วยทางบ้านทำงานด้านการเกษตร เพราะอาชีพทางด้านนี้เป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงและทำเงินให้กับครอบครัวของเธอ ซึ่งตั้งแต่เธอยังเป็นเด็กก็จะเห็นคุณพ่อกับคุณแม่ทำสวนปลูกพืชผักมาอย่างยาวนาน ต่อมาเมื่อเจริญวัยจนสามารถทำงานได้ สิ่งที่พบเห็นจึงเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือด จึงทำให้ได้มาจับอาชีพทางด้านนี้

“ช่วงนั้นเราก็มีแผนที่จะเรียนต่อ แต่ด้วยความที่ต้องอยู่กับพ่อกับแม่ ก็เลยไม่อยากไปที่ไหนไกลๆ บ้าน เลยคิดว่าอาชีพที่ทำงานอยู่กับบ้าน ก็เป็นอาชีพที่สร้างเงินได้เหมือนกัน และที่สำคัญเรายังสามารถดูแลคนที่เรารักได้ ก็เลยยิ่งไม่อยากจะออกไปทำงานไกลจากที่บ้าน มีบ้างครั้งบางคนถามว่าน้อยใจไหม ก็ตอบอย่างภาคภูมิใจว่า ไม่เสียใจในสิ่งที่เราเลือก เพราะเราอยากทำงานทางด้านนี้มากกว่า มันมีอิสระ ได้เป็นนายตัวเอง และที่สำคัญทำได้มากเราก็ได้เงินมากตามไปด้วย” คุณทศพร เล่าถึงที่มาของการได้ใช้ชีวิตเป็นเกษตร

ซึ่งที่บ้านของเธอมีผักหลากหลายชนิดที่ปลูก Royal Online แต่ผักที่รับผิดชอบและทำจนชำนาญหรือเรียกได้ว่าเป็นตัวยงในเรื่องนี้คือ การปลูกฟักแม้ว เพราะเป็นพืชที่ตลาดยังมีความต้องการ จึงทำให้เธอสนใจและปลูกอย่างจริงจังจนเป็นรายได้เลี้ยงตัวเอง หรือเรียกง่ายๆ ว่า อาชีพที่สร้างเงินและเก็บออมให้กับเธอได้อีกด้วย

การปลูกฟักแม้วให้ได้ยอดงามๆ นั้น คุณทศพร บอกว่า ในขั้นตอนแรกจะเตรียมแปลงปลูกด้วยการไถพรวนเสียก่อน จากนั้นยกร่องให้แปลงมีความสูงเล็กน้อย โดยแต่ละสันร่องของแปลงปลูกมีระยะห่างอยู่ที่ 1.50 เมตร จากนั้นนำปุ๋ยคอกและปุ๋ยขี้ไก่มาใส่ลงคลุกเคล้าให้ทั่วแปลง วันต่อมาสามารถนำเมล็ดมาใส่ปลูกได้ทันที

โดยเมล็ดที่ใช้ปลูกจะเป็นเมล็ดที่ได้จากผลแก่ของฟักแม้วที่เก็บไว้ เมื่อเตรียมแปลงพร้อมปลูกแล้ว จึงนำเมล็ดลงมาหยอดภายในแปลง ให้แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 1 คืบ ผ่านไปได้ประมาณ 7 วัน เมล็ดที่ลงปลูกจะเริ่มงอกออกมาให้เห็นใบอ่อน จึงค่อยๆ หาไม้มาปักเพื่อสร้างเป็นร้านให้ฟักแม้วเกาะ จากนั้นเมื่อต้นฟักแม้วมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน จึงใส่ปุ๋ยเม็ดอินทรีย์เพื่อเป็นการบำรุงต้นให้มีการเจริญเติบโตมากขึ้น

“ช่วงแรกที่เริ่มปลูกก็รดน้ำแค่ช่วงเช้าอย่างเดียว เพราะที่นี่อากาศค่อนข้างชื้น ไม่จำเป็นต้องรดน้ำมาก เมื่อฟักแม้วได้อายุประมาณ 1 เดือน ก็จะเริ่มใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุก 2 อาทิตย์ครั้ง ใส่ประมาณ 1 กำมือ ต่อต้น จากนั้นเมื่อเห็นต้นเริ่มเจริญเต็มที่ จะค่อยๆ เปลี่ยนรดน้ำมาเป็นวันเว้นวัน เมื่อฟักแม้วได้อายุอยู่ที่ 2 เดือนก็สามารถเริ่มเก็บผลผลิตขายได้” คุณทศพร บอก

เมื่อสามารถตัดยอดจำหน่ายได้แล้ว คุณทศพร บอกว่า จะเก็บแบบวันเว้นวันเพื่อให้ได้ยอดใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ และช่วงที่ว่างจากการตัดยอดจะหาเวลาว่างมากำจัดวัชพืชออก พร้อมทั้งดูแลเรื่องโรคด้วยการป้องกันฉีดพ่นด้วยชีววิถีคือ การใช้เชื้อราบิวเวอเรีย และไตรโคเดอร์มา เข้ามาช่วย นอกจากจะประหยัดต้นทุนแล้วยังปลอดภัยทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ปลูกอีกด้วย

ต้นฟักแม้วที่ปลูกเมื่ออายุครบประมาณ 1 ปี คุณทศพร บอกว่า จะรื้อทิ้งทั้งหมดและย้ายไปปลูกตรงตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่เดิม ทำหมุนเวียนอยู่อย่างนี้เสมอ เพื่อไม่เป็นการสะสมโรคของพื้นที่ปลูก