ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี กับการคลุกคลีในอาชีพนี้ทำให้คุณ

ประมวลเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย เธอบอกว่าในยุคเริ่มแรกการผลิตไม้กวาดใช้วัสดุจากธรรมชาติล้วน แต่เมื่อเวลาผ่านไปการผลิตไม้กวาดถูกจำกัดด้วยต้นทุน อีกทั้งวัสดุตามธรรมชาติลดน้อยลง จึงทำให้ผู้ผลิตจำต้องปรับวิธีด้วยการหาวัสดุอื่นมาใช้แทน

ดังนั้น ในปัจจุบันไม้กวาดที่ผลิตขายยังคงใช้ดอกหญ้าอยู่ แต่ที่ปรับเปลี่ยนคือด้ามไม้กวาดซึ่งมีอยู่ 3 แบบ คือเป็นด้ามที่เกิดจากไม้กวาด, เป็นด้ามที่นำไม้เพชร (เป็นต้นไม้ในป่าที่เจริญเติบโตตามโคกหิน มีลำต้นขนาดใหญ่กว่านิ้วโป้ง มีความแข็งแรง) มาทำ และสุดท้ายเป็นด้ามพลาสติกเพราะมีความสะดวก น้ำหนักเบา

ทั้งนี้ ด้ามพลาสติกคุณประมวลสั่งซื้อมาจากแหล่งผลิตที่อยู่แถวเขาคิชฌกูฏ จันทบุรี เพราะตรวจสอบราคาหลายแห่งแล้วพบว่าที่นี่มีราคาถูกที่สุด ใช้วิธีสั่งแล้วมาส่งถึงบ้าน สะดวก และง่าย โดยไม้กวาดราคาขายอันละ 45 บาท ซึ่งหักต้นทุนแล้วเหลือกำไรประมาณครึ่งหนึ่ง

นอกจากไม้กวาดแล้วคุณประมวลยังผลิตงานจักสานต่างๆ อีก ได้แก่ กระติ๊บข้าวเหนียว, หวดนึ่งข้าวเหนียวหรือกระจาด ซึ่งงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบจากไม้ไผ่บงที่ตัดมาจากในป่าแถวไม่ไกลบ้านซึ่งมีจำนวนมาก

สำหรับราคาจำหน่ายสินค้างานจักสาน ถ้าเป็นกระติ๊บราคาอันละ 250-300 บาท มีขนาดเล็ก/กลางและใหญ่ เป็นขนาดที่ได้มาตรฐานการใช้ทั่วไป แต่ถ้าลูกค้าต้องการให้ผลิตขนาดพิเศษสามารถสั่งได้ตามราคาที่ตกลง ส่วนราคากระจาดขายใบละตั้งแต่ 150-200 บาท

พร้อมกับเผยถึงราคาต้นทุนวัสดุที่นำมาใช้ผลิตงานทุกชิ้นว่า วัสดุส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติอย่างดอกไม้กวาด หรือไผ่ราคาจึงไม่ขยับเท่าไร หรือขยับช้าๆ แต่ถ้าเป็นวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ธรรมชาติราคาก็จะขยับเร็วกว่า แต่ในภาพรวมแล้ว ราคาต้นทุนผลิตยังสู้ได้ เพราะมีหน้าร้านขายไม่ต้องเช่า แล้วทำเอง ถือว่าใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ สินค้าสามารถขายได้ตลอดเวลาทุกวัน เพียงแต่ในช่วงเทศกาลนักท่องเที่ยวมากก็อาจขายดีเป็นพิเศษ

คุณประมวลจะใช้เวลาว่างจากการขายของหน้าร้านมานั่งทำไม้กวาดและงานจักสาน ในลักษณะทยอยทำชิ้นส่วนแต่ละอย่างเตรียมไว้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาประกอบรวมกันจนออกมาเป็นไม้กวาดสำเร็จ พอเสร็จแล้วก็นำมาวางขายหน้าร้าน

ดังนั้น งานของเธอจึงไม่มีนายจ้างหรือลูกจ้าง ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเร่งรีบ สินค้าอย่างไหนที่กำลังจะหมดก็ค่อยผลิตเสริมเข้าไป ทั้งนี้ หากลงมือผลิตจริงจังจะได้วันละประมาณ 10 ด้ามเป็นอย่างน้อย อาชีพนี้จึงเป็นทั้งรายได้หลักและรายได้เสริม เพราะในบางคราวขายดีเหลือเกิน บางคราวก็ขายได้น้อย

ไม่เพียงผลิตไม้กวาดและงานจักสานคนเดียว แต่เธอยังมีชาวบ้านอีกจำนวน 7 คน ที่มีการผลิตร่วมด้วยในนามกลุ่มจักสานบ้านธนิตคำเที่ยง โดยมีคุณประมวลเป็นหัวหน้ากลุ่ม เนื่องจากผลดีของกิจกรรมกลุ่มจะช่วยในเรื่องการหาตลาด การแนะนำส่งเสริมความรู้ทางเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ การออกแบบ ฯลฯ

คุณประมวล เล่าว่า ตอนมาสร้างร้านค้าริมถนนคิดว่าควรจะหาอาชีพหลายอย่างมารวมกันไว้ที่นี่ เพราะไม่ต้องการปล่อยพื้นที่ให้ว่างเปล่า พร้อมกับชี้ว่าอาชีพขายไม้กวาดหรืองานจักสานควรจะมีหน้าร้านของตัวเอง ไม่ควรผลิตอย่างเดียว เพราะหน้าร้านจะช่วยดึงลูกค้าที่แวะมาเที่ยวให้มาซื้อสินค้าเรา ถ้าทำเช่นนี้ก็สามารถอยู่ได้ แล้วขอให้ทำจริงจัง มีความอดทนด้วย

ลูกค้าคุณประมวลมีทุกกลุ่ม ไม่เพียงนักท่องเที่ยวเขาค้ออย่างเดียว คนที่มีธุระเดินทางผ่านถนนเส้นนี้ก็แวะมาซื้อบ่อย ขายได้ทุกอย่าง บางรายซื้อไปใช้แล้วติดใจเพราะทนทานแข็งแรง ราคาไม่แพง แวะกลับมาซื้ออีก แถมยังซื้อติดมือไปฝากคนรู้จักอีก หรือบางรายรู้จักร้านเพราะมีคนแนะนำให้มาซื้อ นอกจากนั้น คนที่ในเมืองเพชรบูรณ์ยังเป็นลูกค้าหลายรายด้วย

สำหรับการเดินทางไปร้านคุณประมวล จะต้องใช้เส้นทางขึ้นเขาค้อทางด้านตำบลนางั่ว แล้วให้ขับมาตามถนนหลักจนถึงกิโลเมตรที่ 13 ทางซ้ายมือจะเห็นร้านคุณประมวลที่หน้าร้านมีไม้กวาดวางอยู่หรือมีอาหารตามสั่งขายด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณประมวล โทรศัพท์ (098) 004-7716

ไม่ว่าการเปลี่ยนในอนาคตจะเป็นอย่างไร ไม้กวาดยังคงเป็นอุปกรณ์เคียงคู่กับความเป็นไทย แล้วหากท่านมีโอกาสเดินทางไปเขาค้อ อย่าลืมแวะเยี่ยมเยียนอุดหนุนไม้กวาดและงานจักสานอีกหลายชนิดที่มีคุณภาพเยี่ยม ราคาไม่แพง จากฝีมือชาวเขาค้ออย่างคุณประมวล อินทร์มูล

จังหวัดแพร่ นอกจากจะมีสินค้าขึ้นชื่อ คือ เสื้อหม้อห้อมแล้วยังมี ผ้าตีนจกเป็นมรดกตกทอดชิ้นสำคัญ ผ้าตีนจกที่ขึ้นชื่อและยังทอกันเป็นล่ำเป็นสันจนถึงวันนี้อยู่ที่อำเภอลอง

อาคารคอนกรีตสีครีมสองชั้นอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนลองวิทยา เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โกมลผ้าโบราณ แหล่งรวบรวมผ้าซิ่นตีนจกเก่าแก่ บางผืนอายุเป็นร้อยปีทีเดียว

คุณโกมล พานิชพันธ์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ที่รักผ้าตีนจกเป็นชีวิตจิตใจแต่ไม่ยักหวง เอามาให้คนอื่นได้เชยชมเป็นขวัญตาหาความรู้ เล่าให้ฟังว่า แรกเริ่มจากช่วยอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ผู้เป็นอา เก็บสะสมผ้าซิ่นตีนจก ผ้าโบราณของอำเภอลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา จากนั้นก็เริ่มศึกษาเกี่ยวกับผ้าตีนจกอย่างจริงจังเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2530 จึงได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้น ใช้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าสำหรับเด็กๆ ในท้องถิ่น และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจหัตถกรรมพื้นบ้าน

ชั้นบนของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผ้าซิ่นตีนจกโบราณพร้อมประวัติความเป็นมาของซิ่นแต่ละผืน ส่วนชั้นล่างมีตู้ที่ใช้เก็บรักษาผ้าเก่ามิให้ชำรุดเสียหายและยังคงลวดลายให้คล้ายกับของเดิม เพื่อเป็นการสืบสานงานทอมิให้สูญหายไป นอกจากนี้ยังมีผ้าทอที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในงานต่างๆ อีกมากมายจัดแสดงไว้อีกมุมหนึ่งด้วย

“คนสมัยก่อนจะไม่นุ่งเพียงผืนเดียว ต้องมีผ้าซิ่นบางๆ นุ่งซ้อนด้านในอีกผืน เรียกว่าซิ่นซ้อน ด้วยเหตุที่ว่ากว่าจะทอซิ่นตีนจกแต่ละผืนสำเร็จนั้นต้องใช้เวลาในการทอนานมาก จึงไม่นิยมนำซิ่นไปซักเหมือนเสื้อผ้าทั่วไป เพราะจะทำให้อายุการใช้งานสั้น ซิ่นตีนจกจะถูกนำมานุ่งเมื่อมีงานพิธีสำคัญๆ เท่านั้น ถ้าเป็นงานใหญ่ๆ ซิ่นเหล่านี้ก็จะถูกหยิบยืมมาจากคนภายในหมู่บ้าน ฉะนั้นผู้เป็นเจ้าของซิ่นจึงต้องทอลายที่เป็นสัญลักษณ์ของตนไว้ด้านข้างของชายผ้า เพื่อกันมิให้ซิ่นของตนสลับกับของคนอื่น การทอเพื่อทำเครื่องหมายนี้เรียกว่าหมายซิ่น” คุณโกมล บอก

ตีนจก 1 ผืน นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ หัวซิ่น คือส่วนที่เป็นผ้าสีพื้น นิยมใช้ผ้าสีขาวกับสีแดง หรือสีดำกับสีแดงมาทำเป็นหัวซิ่น เวลานุ่งก็จะขมวดปมไว้ที่เอว ส่วนที่สองคือตัวซิ่น ส่วนนี้มีความสำคัญไม่น้อย เพราะเป็นส่วนที่มีลายจกเข้าประกอบอยู่ตลอดทั้งเชิง แต่ละส่วนจะไม่ทอในคราวเดียวกันทั้งหมด แต่จะแยกทอทีละส่วนแล้วนำมาเย็บประกอบกัน สาเหตุที่ซิ่นหนึ่งผืนจะต้องมีทั้งหัวซิ่นและตีนซิ่นนั้นก็เพราะว่าหากนุ่ง ซิ่นซึ่งมีแต่ลายขวางเพียงอย่างเดียวจะทำให้ผู้นุ่งดูเตี้ย

พิพิธภัณฑ์ โกมลผ้าโบราณ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ส่วน

ส่วนที่ 1 จิตรกรรมเวียงต้า เป็นงานศิลป์พื้นบ้านล้านนาชุดสำคัญที่มีคุณค่ามาก ลักษณะของภาพเขียนเป็นรูปแบบงานจิตรกรรม ของสกุลช่างศิลป์เมืองน่าน หากแต่ว่าเขียนภาพอยู่บนแผ่นไม้กระดานไม้สักประกอบกันหลายแผ่นเป็นฝาผนังของอาคาร และแสดงถึงการแต่งกายของสตรี เมืองลอง อย่างชัดเจน

ส่วนที่ 2 ผ้าโบราณเมืองลอง จัดแสดงผ้าซิ่นตีนจกของกลุ่มไทโยนก “เมืองลอง” ที่มีลวดลายเหมือนกับภาพเขียนจิตรกรรมเวียงต้า ผ้าตีนจกเมืองลอง ประวัติศาสตร์การทอผ้าจอของเมืองลอง ไม่สามารถจะหาหลักฐานอ้างอิงชัดเจนได้ นอกจากตำนานการทอผ้าจากคนโบราณได้เล่าขานกันต่อมาว่า แม่น้ำยมที่ไหลผ่าน เมืองลอง ในอดีตจะมีถ้ำอยู่ใต้น้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง เรียกว่า วังน้ำ (แถบตำบลปากกาง) ไปถึงแหลมลี่ มีคนน้ำคนหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เงือก ขึ้นมายืม ฟืมทอผ้า) (อุปกรณ์ทอผ้าทำด้วยไม้) เมื่อทอผ้าเสร็จมีการเฉลิมฉลองด้วยการบรรเลงดนตรีแล้ว เงือก ก็เอาฟืมมาคืนชาวบ้าน จนชาวบ้านสังเกต ฟืม มีลวดลายบน หัวฟืม ที่มีสีสลับกันสวยงาม ชาวบ้านลองเอาฟืมที่มีลายทอผ้าต่อเนื่องจนเกิดเป็น ตีนซิ่น เรียกว่า ซิ่นตีนจก ที่เห็นในปัจจุบัน

ส่วนที่ 3 จัดแสดงผ้าซิ่นตีนจกจากแหล่งต่างๆ และเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาของชุมชน ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงผ้าจกจากแหล่งต่างๆ ในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รู้และเห็นถึงความแตกต่างกันของผ้าตีนจกจากแหล่ง อื่นๆ เช่น ตีนจกแม่แจ่ม ตีนจกไหล่หิน ตีนจกนาน้อย ตีนจกหาดเสี้ยว ตีนจกราชบุรี ตีนจกลาวครั่งในแหล่งต่างๆ

ส่วนที่ 4 แสดงวิธีการเก็บผ้าโบราณ โดยจัดเก็บผ้าโบราณโดยอาศัยภูมิปัญญาของคนโบราณที่ทำให้ผ้าสามารถอยู่ได้นานกว่า 200 ปี

ส่วนสุดท้าย คือ ส่วนของร้านค้า จัดจำหน่ายผ้าตีนจกลายโบราณ ผ้าโบราณทำใหม่ พร้อมทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปเสื้อหม้อห้อม เสื้อสาลู ผ้าพันคอ เน็คไท เสื้อจากผ้ามุ้งสไตล์แขก เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนักแสดงจากภาพยนตร์ชื่อดังหลายเรื่อง มาจากผ้าที่โกมลผ้าโบราณ ล่า สุดเห็นจะเป็นเรื่อง รอยไหม

หากมีโอกาสมาเที่ยวที่จังหวัดแพร่ก็อย่าลืมแวะมาหาความรู้เพิ่มเติมที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโกมลโบราณกันบ้าง

สนใจเรื่องราวของผ้าซิ่นตีนจก ติดต่อขอเข้าชมได้ที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โกมลผ้าโบราณ เลขที่ 157/2 ตรงข้ามโรงเรียนลองวิทยา อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทรศัพท์ (054) 581532

ระหว่างคนโทกับคนทีน้อยคนนักจะแยกแยะออก

คนทีคือหม้อใส่น้ำขนาดย่อม คล้ายกับกาน้ำที่เราใช้ตามบ้านทั่วไป รูปร่างกลม ก้นมีเชิงสำหรับตั้งวาง คอคอดยาว บริเวณปากกว้าง และผายออก เพื่อสะดวกต่อการใส่น้ำลงไป บริเวณส่วนกลางมีพวยยื่นออกมา เพื่อใช้สำหรับเทน้ำออก สมัยก่อนเราไม่มีตู้เย็น การใส่น้ำในคนทีซึ่งปั้นมาจากดิน ช่วยให้น้ำเย็นลงได้บ้าง นับว่าเป็นภูมิปัญหาของบรรพบุรุษของเราโดยแท้

ถ้าถามว่า คนทีต่างกับคนโทอย่างไร คำตอบอย่างรวบรัด และได้ใจความตรงเผงคือ คนทีมีพวย แต่คนโทไม่มี

ความนิยมในการใช้ คนโทน่าจะมีคนนิยมใช้มากกว่า เพราะไม่มีพวยยื่นออกมาให้รุงรัง เก็บง่าย ดูแลรักษาง่าย หากเป็นคนทีถ้าคนใช้ไม่ระวัง อาจเอาพวยไปเกี่ยวกับสิ่งของใกล้ตัว ตกแตกได้ง่าย

คนทีเรียกอีกชื่อว่า กุณฑี เป็นเครื่องมือของใช้ชาวบ้านมาแต่เก่าก่อน แม้กระทั่งในศิลาจารึกของขอมโบราณก็ยังมีคำกล่าวถึง เมื่อกล่าวถึงการถวายของให้เทวสถาน มักมีหม้อน้ำ คนโท และคนทีรวมอยู่ด้วย แสดงว่าเป็นเครื่องมือของใช้ที่แพร่หลาย และมีคุณค่า

ส่วนในประเทศไทยมีการขุดพบคนทีตามแหล่งโบราณสถานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านปะโอ จังหวัดสงขลา และพื้นที่จังหวัดอื่นๆ อีกหลายแห่ง นับเป็นหลักฐานยืนยันความแพร่หลายของคนทีในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

สมัยก่อนคนทีใช้กันอย่างแพร่หลาย อาจเพราะว่า เป็นเครื่องปั้นดินเผา ช่างสามารถทำขึ้นมาได้ง่าย เพียงหาแหล่งดินที่ทำเครื่องปั้นดินเผาได้ดี มีช่างปั้นก็สามารถปั้นออกมาใช้ได้แล้ว

การปั้นคนที เมื่อขึ้นรูปร่างแล้ว ช่างจะทำลวดลายต่างๆ ประดับประดา ลวดลายที่พบมักเป็นลวดลายง่ายๆ เป็นต้นว่า นำกิ่งไม้มาขีดเป็นเส้นๆ สลับกันไปมา หรือไม่ก็ใช้กิ่งไม้เล็กๆ ทาบลงไป เพื่อให้เกิดเป็นรูปรอยต่างๆ

ลวดลายเหล่านี้เอง นักโบราณคดีนำมาศึกษา ค้นคว้า และสรุปเป็นแนวทางการกำหนดอายุ โดยบอกว่า การสร้างสรรค์ลวดลายยุคแรกๆ จะเป็นลวดลายง่ายๆ หยาบๆ ต่อมามีพัฒนาการมากขึ้น ลวดลายค่อยๆ ซับซ้อน และมีความละเอียด สวยงามมากขึ้นตามลำดับ

สมัยขอมโบราณ คนทีเป็นเครื่องถวายให้กับเทวสถานอย่างหนึ่ง เพื่อให้นักบวช หรือผู้ดูแลใช้ในพิธีกรรม และในชีวิตประจำวัน

คนทีเป็นเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่ ปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะมีเหยือกน้ำ กาน้ำ ทั้งทันสมัยกว่า และดูแลสะดวกว่า แถมไม่ต้องกลัวตกแตก ร่องรอยการใช้คนทีของเราชาวไทย นอกจากขุดพบตามแหล่งโบราณสถานแล้ว ยังมีชื่อบ้านนามเมืองปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่แห่งนี้ที่เรียกว่า บางคนที เพราะมีคนปั้นคนทีขาย หรือว่ามีการพบคนทีหรือไรไม่ทราบได้ แต่อย่างไรต้องเกี่ยวข้องการมีอยู่จริง และการมีการใช้จริงคนทีจริงอย่างแน่นอน

ในเนื้อเพลง มนต์รักแม่กลอง ท่อนหนึ่ง ศรคีรี ศรีประจวบ คนแม่กลองหวานแว่วประมาณว่า “สาวงามบ้านบางคนที เอื้ออารีเรียกร้อง ให้ดื่มน้ำตาล และรอยยิ้มหวานของนวลละออง…”

ศรคีรี แม้จะนามสกุลจัดตั้งเป็นศรีประจวบ แต่ความจริงแล้ว เป็นคนจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติบอกว่า สมัยเด็กๆ เคยขึ้นมะพร้าวอยู่แม่กลอง ต่อมาไปทำไร่แถวๆ ประจวบคีรีขันธ์ ไปประกวดร้องเพลงเข้าตากรรมการ เลยได้นามสกุลจัดตั้งเป็น ศรีประจวบ เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สมัยนั้นเป็นผู้ตั้งให้

น่าเสียดายที่ ศรคีรีจากมิตรรักแฟนเพลงเร็วเกินไป

คนทีปัจจุบันหาดูได้ยาก เพราะไม่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับของเก่าแก่ที่ขุดค้นพบ กลายเป็นของมีค่า มีราคาสูง ยิ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ นักเล่นของเก่ายิ่งปรารถนา นั่นหมายความว่า ราคาถีบตัวสูงขึ้นไปอย่างช่วยไม่ได้

ของบางอย่างยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า ขณะที่ของบางอย่างยิ่งเก่ายิ่งหมดราคา

สำหรับชีวิตคนเรา ถ้าเรากำหนดได้เองทั้งหมด ยิ่งอายุมากย่อมเหมือนคนทีสมัยเก่าก่อน แต่ถ้ากำหนดตัวเองไม่ได้แล้วยังไหลไปตามกระแสสังคม คงมีแนวโน้มเหมือนสิ่งของอื่นๆ ที่ยิ่งอายุมากยิ่งหมดคุณค่านั่นเอง ปีใหม่ปีใดก็ตาม เราไม่จำเป็นต้องคิดใหม่ทำใหม่ก็ได้ ถ้าคิดแบบเก่า ทำแบบเก่าแล้วดี มีค่าต่อชีวิต สังคม และเพื่อนร่วมโลก

“สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” ลงพื้นที่ติดตามผลดำเนินงานกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดน่าน เป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นถึงพลังและความสามารถของผู้หญิง ลั่นพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจ เป็นแหล่งทุนให้กับสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อเสริมสร้างบทบาทสตรี พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและคุณภาพชีวิต เผยปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนกว่า 12 ล้านคน องค์กรสตรีกว่า 15,000 องค์กร สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่กลุ่มสตรี กว่า 26,000 โครงการ เป็นเงิน 3.1 พันล้านบาท ส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่าย กว่า 5,000 โครงการ เป็นเงิน 339 ล้านบาท

นายปรีชา กิตติสัตยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เปิดเผยว่า แม้สังคมไทยจะให้ความสาคัญกับบทบาทสตรีในด้านต่าง ๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงมีการยอมรับในความเท่าเทียมกันระหว่างชาย-หญิงมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังคงมีสตรีถูกเลือกปฏิบัติและขาดความเสมอภาคอยู่มาก รัฐบาลจึงมีนโยบาย จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” เพื่อส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีในทุกด้าน รวมทั้งมุ่งลดผลกระทบจาก ปัญหาสตรีที่ถูกกระทาความรุนแรงในครอบครัวหรือขาดโอกาสในสังคม โดยมี สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (สกส.) กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนภารกิจ

“กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นกองทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้สตรีได้เข้าถึงแหล่งทุน หรือ เงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่า วงเงินสูงสุดโครงการละ 200,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี นาไปประกอบอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือพัฒนาอาชีพ ผ่านการรวมกลุ่มของสตรี โดยมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งที่มาจากภายในกลุ่มของสตรีเอง โดยเริ่มต้นจากความต้องการของสตรี บริหารจัดการด้วยสตรี สตรีมีความสุข และสตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 2561 กองทุนฯ จะยังคงก้าวต่อไปในการพัฒนาบทบาทของสตรี โดยได้จัดสรรงบประมาณประเภทเงินทุนหมุนเวียน 1,498,000,000 บาท และประเภทเงินอุดหนุน 295,000,000 บาท แก่กลุ่มสตรีในทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเสริมสร้าง ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้สมาชิกและครอบครัวได้เฉลี่ย 7,000–10,000 บาท

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี รวมทั้งนาเสนอผลงาน กลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีดำเนินโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ กิจกรรม “Inside Product By Thai Womenfund สัญจร” ขึ้น ระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2561 ในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อตรวจเยี่ยมและการติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนงานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ทั้งนี้ปัจจุบัน ในพื้นที่ จังหวัดน่าน มีสมาชิกกองทุนฯ ประเภทบุคคลธรรมดา 139,561 คน และประเภทองค์กร 644 องค์กร โดยมีการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2561 ทั้งสิ้น 18,619,400 บาท แยกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

1. งบบริหารจัดการกองทุนฯ 3,612,700 บาท
2. งบลงทุน 6,700 บาท
3. งบอุดหนุน 3,000,000 บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 48 โครงการ
4. งบทุนหมุนเวียน 12,000,000 บาท มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 74 โครงการ

โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าว นอกจากการเสวนา “Inside Product By Thai Womenfund สัญจร” ในประเด็นการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งให้กับหญิงไทย จากผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และพัฒนาการจังหวัด โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนากว่า 100 คนแล้ว กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้นาคณะลงพื้นที่ชม การดาเนินงานของกลุ่มอาชีพสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 2 แห่ง ได้แก่ กลุ่มไข่เค็มบ้านแสงดาวพัฒนา หมู่ 17 ตาบลฝายแก้ว อาเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตไข่เค็มสมุนไพรที่ประสบความสาเร็จ โดยเริ่มจากการเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ทาการเกษตรน้อย ประสบปัญหาน้าท่วมขังทุกปี และไข่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภค ชาวบ้านจึงมีแนวคิดเรื่องการถนอมอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ก่อนที่ต่อมาจะมีการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านผลิตไข่เค็มสมุนไพรขายเป็นรายได้เสริม จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและได้รับการสนับสนุนเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP

โดยปัจจุบันกลุ่มไข่เค็มบ้านแสงดาวมี นางระเบียบ ปางน้อย เป็นประธาน มีสมาชิกรวม 30 คน ได้รับ การสนับสนุนเงินกู้จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 200,000 บาท มีการผลิตไข่เค็มออกขายทั้งในตลาดชุมชน ตลาดท่องเที่ยว ตลาด OTOP รวมถึงขายส่งให้กับร้านค้าทั้งในและต่างจังหวัด ทาให้เกิดการจ้างงานในชุมชน สมาชิกมีรายได้เสริม และมีคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

ส่วนกลุ่มที่สอง คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านศรีนาชื่น ตั้งอยู่หมู่ 4 ตาบลทุ่งศรีทอง อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน มี นางเนาวรัตน์ ชุ่มวงศ์ เป็นประธาน มีสมาชิกกลุ่ม 24 คน โดยได้รับการสนับสนุนเงินกู้ยืมจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 100,000 บาท โดยเห็ดที่เปิดออกขาย ได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฏาน เห็ดหูหนู เห็นนางรมดา เห็ดฮังการี เห็ดขอนขาว เห็ดขอนดา รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ด เช่น เห็ดหยอง แหนมเห็ด น้ายาเห็ด ส่งขายไปยัง พื้นที่ต่างๆ ทั่วจังหวัด รวมถึงมีออเดอร์จากต่างจังหวัด และแม่ค้ามารับซื้อถึงในชุมชน

นอกจากนี้กลุ่มยังได้ผลิตก้อนเห็ด หัวเชื้อเห็ด และดอกเห็ด ขายให้กับสมาชิกและผู้สนใจ พร้อมให้คาแนะนาเกี่ยวกับการปรับปรุงสถานที่เพื่อผลิตหัวเชื้อให้ได้มาตรฐาน การลดต้นทุนการผลิตก้อนเห็ด การปรับปรุงและพัฒนา เตานึ่งก้อนเห็ดจากพลังงานชีวมวล ทาให้เกิดการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน

“การดำเนินงานของกลุ่มสตรีทั้ง 2 กลุ่ม ถือเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เห็นถึงพลังและความสามารถของสตรี ซึ่งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ยืนยันที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจของกองทุนฯ ตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นแหล่งทุนในการพัฒนาสตรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพชีวิตสตรีทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องและเต็มความสามารถต่อไป” นายปรีชา กล่าว

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เตรียมพลิกแผ่นดินอีสานสู่ 4.0 คลอด 5 ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาสะสมเริ่มตั้งแต่บริหารจัดการน้ำ แก้จนลดเหลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในเชื่อมโครงข่ายคมนาคมกับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) พัฒนาความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ สอว. แจกไก่ไม่เก๊าท์ – โดรนทางการเกษตร – เนื้อเยื่อกล้วยพันธุ์ตักศิลา 101 – น้ำเชื้อโคพันธุ์ “โคราชวากิว” สร้างอาชีพเกษตรกร

ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการประชุมการดำเนิน “โครงการอีสาน 4.0 พลิกโฉมประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” โดยมีแกนนำเครือข่ายบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แกนนำกลุ่มเกษตรกร แกนนำกลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการเข้าร่วม

ทั้งนี้ ดร.สุวิทย์ กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “อีสาน 4.0 พลิกโฉมประเทศไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ว่า โครงการอีสาน 4.0 เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) ร่วมกับ 4 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ภายใต้สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ที่ดูแลอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่มิติใหม่ของการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาและประเด็นท้าทาย อาทิ การขาดแคลนน้ำทั่วทั้งภาค มีคนจนมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรจึงไม่สามารถหลุดพ้นความยากจนได้ ภาคเกษตรเป็นแบบดั้งเดิม พึ่งธรรมชาติ มีผลิตผลต่ำและมีการใช้สารเคมีสูง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปเกษตรขั้นต้น มูลค่าเพิ่มต่ำ การลงทุนใหม่ๆ มีน้อย ขณะที่เศรษฐกิจของภาคมีขนาดเล็ก มีอัตราการขยายตัวต่ำ ส่วนการค้าชายแดน สินค้าส่งออกผลิตจากนอกภาคไม่สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้กับภาค ทรัพยากรการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนา ขาดสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และ 4 มหาวิทยาลัย จึงได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไว้ 5 ด้าน คือ คือ 1. บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน 2. แก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม 3. สร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ใช้โอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมที่เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภาคกลางและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ ของภาค และ 5. พัฒนาความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและแนวระเบียงเศรษฐกิจ