ด้านนายบัณฑิตย์ ก้องกังวาน อายุ 43 ปี และ น.ส.กิมหลีกรองแก้ว

คู่รักหนุ่ม-สาว กล่าวว่า “ ดูในเฟชบุ๊ก เห็นดงดอกไม้บานแล้วจึงมาชม มาชมแล้วสวยงามประทับใจ มาทุกปี แต่ปีนี้สวยงามมากกว่า มีซุ้มเพิ่มขึ้น และในวันแห่งความรักมีโอกาสจะพาคู่รักมาเที่ยว” นายบัณฑิตย์ และ น.ส.กิมหลี กล่าว

ขณะที่ น.ส. นฤมล เนินโสม อายุ 38 ปี หมู่ 7 ตำบลวังตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี แม่ค้าขายน้ำดื่มกล่าวว่า “จะมาขายเครื่องดื่มกาแฟ – โอวัลติล น้ำอัดลม ช่วงที่ดอกไม้บาน สร้างรายได้ดีมาก นักท่องเที่ยวมาชมความงามทุกวันวันละ 400- 500 คน โดยในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ มีคนมาเที่ยวเยอะ 500 กว่าคน”น.ส. นฤมล กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม สำหรับทุ่งดอกคอสมอส (Comos) หรือ ดงดาวกระจาย ,ดงหงอนไก่ และ ทุ่งทานตะวันดังกล่าว นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าจากถนนสายสุวรรณศร (กบินทร์บุรี-สระแก้ว) หรือ สาย 33 แยกเข้ามาป้อมยามตำรวจชุมชนหนองสังข์ตามถนนสายหนองสังข์-วังท่าช้าง ต.บ่อทองอ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรีประมาณ 3 กม.อยู่ติดริมถนนทางเข้าบริษัท SCG ไทยเคนเปเปอร์จำกัด (มหาชน)

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ตนได้ไปเยี่ยมและร่วมรับฟังข้อคิดจากท้องถิ่น โดยได้รับเชิญจากสภาองค์กรชุมชนของทั้ง 20 จังหวัดภาคอีสาน ซึ่งเคยทำงานแผนแม่บทการเงินการคลังภาคสังคมมาด้วยกัน โดยได้ไปเยี่ยมและให้กำลังใจชุมชนท่องเที่ยวที่อำเภอวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ชมการท่องเที่ยงเชิงเกษตร เยี่ยมหมู่บ้านชุมชนไทยสามัคคี

รวมทั้งเป็นประธานเปิดงานเทศกาลดอกเบญจมาศบานในม่านหมอกที่วังน้ำเขียว หุบเขาที่ได้ชื่อว่ามีโอโซนสูงเป็นอันดับ 7 ของโลก งานเทศกาลดอกไม้นี้จัดโดยองค์กรชุมชนแท้ๆ เป็นความพยายามจัดอีเวนต์ท้องถิ่นโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นออกมาร้อยเป็นซีรีส์ กิจกรรมครั้งนี้จึงย่อมเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืน กระจายการมีส่วนร่วม และคือการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานรากจริงๆ การจัดงานทำด้วยการจ้างเกษตรกรในอำเภอมาช่วยกันลงมือปลูกและแปลงลานอเนกประสงค์ของ อบต.ให้เป็นลานงานแฟร์ที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากพากันมาสัมผัส เป็นไทยนิยมยั่งยืนที่พึ่งตนเองอย่างน่ายกย่องมาก

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์ เขต 6 พล.ต.ชัยเดช สุรวดี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก (มทบ.) ที่ 35 จ.อุตรดิตถ์ พ.ต.อ.ดิษยเดช พัชรภูวดล ผกก.สภ.เมืองอุตรดิตถ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร จ.อุตรดิตถ์ และประมง จ.อุตรดิตถ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยอาหารในตลาดสดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 3 เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน และประชาชนทั่วไป ในช่วงเทศกาลตรุษจีน

การบูรณาการหลายฝ่ายตรวจอาหารครั้งนี้ เป็นการตรวจทุกแผงค้าในตลาดสดเทศบาลทุกแห่งใน จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งภาพรวมได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการ โดยเฉพาะปศุสัตว์ ทั้งหมู ไก่ ที่รับซื้อมาจากโรงฆ่าที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ไม่มีสารเร่งเนื้อแดง ส่วนสินค้าประมง พบการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนในแผงจำหน่ายปลาหมึก 1 ราย แต่เป็นผลตรวจเบื้องต้นจะต้องส่งตรวจซ้ำอีกครั้ง

นายพนม กล่าวว่า จากการสอบถามผู้จำหน่ายพบว่า รับซื้อปลาหมึกแช่แข็งมาจากที่อื่น จึงได้ตักเตือน และสั่งเก็บ ห้ามจำหน่ายแก่ผู้บริโภค แต่หากตรวจพบว่า มีเจตนาดำเนินการเอง ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ผู้บริโภคเองก็ให้เลือกซื้ออาหารสดทั้ง หมู ไก่ ผัก ผลไม้ ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อความปลอดภัยทั้งในเทศกาลตรุษจีน และในชีวิตประจำวัน

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เทศกาล “ตรุษจีน” เป็นประเพณีที่สำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน ในการไหว้สักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู ถือเป็นขนบธรรมเนียมอันดียิ่งของชาวจีน ทำให้ช่วงนี้มีความต้องการสินค้า สุกร ไก่ อาหารทะเล ผัก ผลไม้และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อช่วยลดค่าครองชีพประชาชนผู้บริโภคให้ได้เลือกซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรมจากเกษตรกรและผู้ผลิตโดยตรง และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน จึงจัดงาน “มหกรรมสินค้าเกษตร ต้อนรับเทศกาลตรุษจีน” ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2561 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ลานชั้น 3 กระทรวงพาณิชย์ นนทบุรี

ภายในงานมีการจำหน่ายสินค้าที่นิยมใช้ในเทศกาลตรุษจีน เช่น เนื้อสุกร ไก่สดทั้งตัว เนื้อไก่ เป็ด ไข่ไก่ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ ขนมและอุปกรณ์เซ่นไหว้ สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ข้าวสาร สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) สินค้าจากศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlet)

สินค้ายอดนิยมจากตลาดต้องชม 8 ตลาด 7 จังหวัด ได้แก่ ตลาด ต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล ตลาดลาวเวียง ตลาดวัดป่าเลไลย์ ตลาดถนนคนเดินสระน้ำทิพย์เมืองท่าผา ตลาดโก้งโค้งบ้านแสงโสม ตลาดวัฒนธรรมตำบลบ้านสวน ตลาดน้ำคลองโคมขาม ตลาดน้ำบางคล้า และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพ ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดี จำหน่ายในราคาต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป ประมาณ 10 – 20 % รวม 128 คูหา

นางสาวฐิติมา งามทวีรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร และรักษาการผู้อำนวยการกองส่งเสริมการค้าเกษตร 1 กล่าว่า จากการสำรวจตลาดสดทั่วประเทศ พบว่า ราคาหมู ไก่ ไข่ ผักสด ส่วนใหญ่ยังมีราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อน และบางรายการราคาลดลงเมื่อเทียบช่วงตรุษจีนปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคยังกังวลต่อค่าครองชีพ ทำให้ระมัดระวังการใช้จ่าย

ประกอบกับผลผลิตปีนี้มีมากขึ้นแต่ความต้องการไม่ให้สูงกว่าปีก่อน จึงทำให้ราคาสินค้าส่วนใหญ่ไม่ได้ขยับขึ้นในช่วงตรุษจีน คาด3 วันของการจัดงานจะมีเงินสะพัด 3 ล้านบาท ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน 20-40% หรือประหยัดได้ 9 แสนถึง 1 ล้านบาท

จากข้อมูลกรมการค้าภายใน พบว่า ราคาไก่สด(ตัว)กิโลกรัมละ 60-65 บาท เนื้อหมูกิโลกรัมละ 120-125 บาท ไข่ไก่เบอร์3 ฟองละ2.80-2.90 บาท ส้มเขียวหวานเบอร์6 กิโลกรัมละ 70-75 บาท กล้วยหอมทองผลละ 5.50-7 บาท กะหล่ำดอก กิโลกรัมละ 25-28 บาท หัวผักกาดกิโลกรัมละ 15-18 บาท เป็นต้น

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์ เขต 6 พล.ต.ชัยเดช สุรวดี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก (มทบ.) ที่ 35 จ.อุตรดิตถ์ พ.ต.อ.ดิษยเดช พัชรภูวดล ผกก.สภ.เมืองอุตรดิตถ์ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร จ.อุตรดิตถ์ และประมง จ.อุตรดิตถ์ ลงพื้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยอาหารในตลาดสดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 3 เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีน และประชาชนทั่วไป ในช่วงเทศกาลตรุษจีน การบูรณาการหลายฝ่ายตรวจอาหารครั้งนี้ เป็นการตรวจทุกแผงค้าในตลาดสดเทศบาลทุกแห่งใน จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งภาพรวมได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการ โดยเฉพาะปศุสัตว์ ทั้งหมู ไก่ ที่รับซื้อมาจากโรงฆ่าที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ไม่มีสารเร่งเนื้อแดง ส่วนสินค้าประมง พบการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนในแผงจำหน่ายปลาหมึก 1 ราย แต่เป็นผลตรวจเบื้องต้นจะต้องส่งตรวจซ้ำอีกครั้ง

นายพนม กล่าวว่า จากการสอบถามผู้จำหน่ายพบว่า รับซื้อปลาหมึกแช่แข็งมาจากที่อื่น จึงได้ตักเตือน และสั่งเก็บ ห้ามจำหน่ายแก่ผู้บริโภค แต่หากตรวจพบว่า มีเจตนาดำเนินการเอง ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ผู้บริโภคเองก็ให้เลือกซื้ออาหารสดทั้ง หมู ไก่ ผัก ผลไม้ ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อความปลอดภัยทั้งในเทศกาลตรุษจีน และในชีวิตประจำวัน

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)ได้ส่งข้อความผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ถึงผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า

“ผมสังเกตเห็นว่าในปัจจุบันโครงการสำคัญๆของกระทรวงเกษตรฯเริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้น เช่น เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรปลอดสารพิษ หรือการพัฒนากลุ่ม สมาร์คฟาร์มเมอร์ รวมทั้งการที่เริ่มมีภาคเอกชนเข้ามาทำสัญญาซื้อผลผลิตการเกษตรจากเกษตรกรโดยตรงที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ความก้าวหน้าหรือความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ ฯลฯ

ผมขอรบกวนพวกเราช่วยคิดหรือวางระบบรวบรวมข้อมูลผลความก้าวหน้าในแต่ละเรื่องหรือแต่ละโครงการเพื่อ กษ.จะได้รายงานให้ นายกรัฐมนตรีหรือครม.ทราบ รวมทั้งราย
งานต่อสาธารณชนผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชา และประชาชนได้รับทราบผลการทำงานของพวกเรา

ขอให้ท่านปลัดฯช่วยพูดคุยหารือกับท่านอธิบดีกรมต่างๆรวมทั้งผู้บริหารรัฐวิสากิจและองค์กรมหาชนด้วย เพื่อกำหนดรูปแบบการรายงานความก้าวหน้าของงานกระทรวงเกษตรฯโดยจะทำในรูปแบบเป็นทางการทุกๆ3เดือน รวมทั้งการรายงานความเคลื่อนไหวของผลการดำเนินงานแบบไม่เป็นทางการเป็นห้วงๆระหว่างดำเนินการด้วยก็ดี

สำหรับพวกเราที่ทำงานประจำอยู่ในต่างประเทศนั้นขอให้ศึกษาหรือสังเกตการจัดทำรายงานด้านการเกษตรในประเทศต่างๆที่เห็นว่าดีเหมาะสมสามารถนำมาใช้ในประเทศไทยก็ให้ส่งรูปแบบหรือเสนอวิธีการรายงานมาให้ท่านปลัดพิจารณาด้วย”

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เพื่อขับเคลื่อนงานของสภาเกษตรแห่งชาติกล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา “เพื่อขับเคลื่อนงานของสภาเกษตรกรแห่งชาติในการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร” ในวันนี้

สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นด้วยความคาดหวังจากเกษตรกร องค์การและหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานในการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง กับเกษตรกรเพื่อให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขปัยหาด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาความต้องการของเกษตรกร นำพาเกษตรกรและภาคเกษตรกรรมของประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืนในระยะยาว

รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตร และแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการผลิตและแปรรูปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยดำเนินการร่วมกันของทุกภาคส่วนในรูปแบบของโครงการประชารัฐ การที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดทำข้อตกลงร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรมม เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมและงานวิจัย ให้กับเกษตรกร และทำข้อตกลงร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการส่งเสริม SME เกษตร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยนี และแหล่งเงินทุนในการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตซึ่งก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ของชุมชน ยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างตวามเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

ด้านนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้รัฐรักษาเสถียรภาพด้านราคา และความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม ทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้จัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (พ.ศ.2560-2564) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและมีมติความเห็นชอบ ซึ่งแผนแม่บทดังกล่าว มุ่งสร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงทรัพยากรในการประกอบอาชีพ พัฒนาภาพของเกษตรด้านการจัดการฟาร์ม พัฒนาศักยภาพของเกษตรกรที่ยากจนให้ยกระดับรายได้ที่สูงขึ้น และสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยรวมตัวในรูปแบบกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมีการเชื่อมโยงเครือข่ายกัน

จังหวัดตาก นับเป็นแหล่งปลูกกุหลาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยพื้นที่ที่ปลูกมากที่สุด คือ อำเภอพบพระ ที่สามารถผลิตดอกกุหลาบส่งจำหน่ายจำนวนมาก โดยตลาดหลักยังคงเป็นปากคลองตลาด ที่จะกระจายส่งออกไปทั่วประเทศ

“อรพินทร์ แสงมณี” เกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เป็นแหล่งปลูกกุหลาบมากที่สุดในประเทศไทย ปี 2560 มีพื้นที่ปลูก 1,847 ไร่ เกษตรกรประมาณ 60 ราย ซึ่งพื้นที่ลดลงกว่าปี 2559 กว่า 1 พันไร่ เกษตรกรผู้ปลูกประมาณ 90 ราย

สำหรับสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สายพันธุ์แกรนด์กาลา โดยสัดส่วนกว่า 90% จำหน่ายในประเทศ ตลาดหลักคือ ตลาดปากคลองตลาด และอีก 10% ส่งจำหน่ายประเทศเมียนมา ส่วนใหญ่จะเป็นกุหลาบแปรรูป เช่น กุหลาบอบแห้ง เป็นต้น

ขณะที่พื้นที่ปลูกที่ลดลงมีสาเหตุมาจากปัจจัย 3 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่องแรงงาน ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานชาวเมียนมา โดย 1 ไร่ จะใช้แรงงานประมาณ 2 คน ในการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตัดแต่งกิ่ง ตัดดอก และถอนหญ้า ซึ่งได้ค่าแรงตามค่าจ้างขั้นต่ำ แม้เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนแรงงานได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่เมื่อแรงงานได้รับบัตรแรงงาน ก็มักจะย้ายไปทำงานที่อื่น จึงสร้างความไม่มั่นใจและความไม่แน่นอนให้กับเกษตรกร

2.เรื่องโรคแมลง ที่เกษตรกรต้องประสบทุกปี เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง ขณะที่ในช่วงฤดูฝนจะประสบโรคใบจุด ใบร่วง ซึ่งขณะนี้เกษตรกรกำลังประสบปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟระบาด ประกอบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทั้งร้อนและเย็นสลับกัน ส่งผลให้ผลผลิตน้อยลง และหากแก้ไขไม่ทันและโรคระบาดไปทั้งแปลง เกษตรกรต้องตัดแต่งกิ่งใหม่ ใช้ระยะเวลาอีก 2-3 เดือน ถึงจะได้ผลผลิต ทั้งนี้ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกกุหลาบได้ 3,000 ต้น สามารถตัดดอกได้ 500 ดอก แต่ช่วงที่ประสบโรคระบาด ผลผลิตจะลดลงเหลือเพียง 300 ดอกเท่านั้น

3.เรื่องราคา กุหลาบสามารถแบ่งเกรดได้ 2 อย่าง คือ ไม้ใหญ่ ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ดอกถึงปลายก้าน 60 เซนติเมตรขึ้นไป และไม้รอง ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยเฉลี่ยราคาทั้งสองเกรดตลอดทั้งปีอยู่ที่ 0.80 บาท/ดอก ซึ่งถือว่าเกษตรกรค่อนข้างแย่ เพราะราคาที่เกษตรกรสามารถอยู่ได้อยู่ที่ประมาณ 1.50-2 บาทขึ้นไป/ดอก แต่ทั้งนี้ราคาของกุหลาบจะขึ้นอยู่กับราคาตลาด ณ วันนั้น ซึ่งเป็นพ่อค้าที่อยู่ปลายทาง เช่น เมื่อพ่อค้ามารับซื้อกุหลาบถึงหน้าสวนในวันนี้ อีก 7 วันข้างหน้าเกษตรกรถึงจะรู้ราคาที่ขายได้

ประกอบกับต้นทุนด้านการขนส่งผลผลิตที่เกษตรกรจะต้องจ่ายด้วย เช่น ในช่วงที่ผ่านมา สมมุติบิลราคากุหลาบอยู่ที่ 0.30 บาท/ดอก เกษตรกรต้องเสียค่าขนส่งไปกว่า 0.10 บาท/ดอก รวมถึงมีดอกกุหลาบจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดไทย เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ลักษณะพรีเมี่ยมกว่า ดอกใหญ่กว่า และสวยกว่าของไทย

ทั้งนี้ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนลดความเสี่ยง และใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า ด้วยการปลูกพืชแซมตามช่องว่าง เช่น ผักชี พริก เป็นต้น และบางส่วนเลิกปลูกกุหลาบและหันไปปลูกไม้ผลแทน ได้แก่ ทุเรียน ส้ม อะโวคาโด

ทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบของกุหลาบอำเภอพบพระในวันข้างหน้า คือ ลดลง กับทรงตัว ตราบใดที่อุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข วันที่ 8 กุมภาพันธ์ กระทรวงพลังงานและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมจัด “งานสัมมนาโครงการพลังงานทดแทนชุมชน ไทย-เยอรมัน ครั้งที่ 3” ซึ่งการจัดงานสัมมนาครั้งนี้จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาโอกาสในการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนมาใช้ในชุมชนไทย ผู้แทนจากกว่า 10 ชุมชนทั่วประเทศไทยเข้าร่วมการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินโครงการด้านพลังงานยั่งยืนในจังหวัดของตนเอง โดยผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติได้มีโอกาสพบกับผู้แทนชุมชนเพื่อแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกริดพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน

นายหร่อหยา จันทรัตนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ประธานงานสัมมนาครั้งนี้ ได้กล่าวว่า “งานสัมมนาโครงการพลังงานทดแทนชุมชน ไทย–เยอรมัน ครั้งที่ 3 จะส่งเสริมชุมชนในการพัฒนาการใช้พลังงานในรูปแบบการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน” และยังได้เน้นย้ำว่าความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงานและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ได้ช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจและแผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทนที่เหมาะสมสำหรับชุมชนของไทย

“เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กระทรวงพลังงานได้ร่วมดำเนินตามเป้าหมายที่ 7 ด้านสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา” ซึ่งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านเทคโนโลยีภายในงานสัมมนาจะสามารถช่วยชุมชนในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น นายหร่อหยา กล่าวเสริม

โทมัส โครเม็ทซ์กา ผู้อำนวยการโครงการพลังงานทดแทน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า “การที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน เป็นหลักการสำคัญสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะในแหล่งชุมชน

งานสัมมนานี้จะช่วยทำให้เกิดการเจรจาและการแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างชุมชนและผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้พลังงานหมุนเวียนให้เป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศไทย” นอกจากนี้ GIZ จะร่วมกับกระทรวงพลังงานในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมชุมชนในด้านการให้คำปรึกษาเชิงเทคนิคโดยเฉพาะในด้านการพัฒนารูปแบบธุรกิจชุมชนต่อไป ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมการลงทุนในโครงการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ผู้แทนกว่า 150 คน ซึ่งมาจากองค์กรระดับชุมชน จังหวัด ภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความท้าทายและร่างแนวความคิดสำหรับโครงการในประเทศไทยให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

โดยมีการจัดสัมมนาแบบแบ่งกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar PV Rooftop Systems) ระบบกริดแบบผสมผสาน (บนเกาะ) (RE-Hybrid Grid Systems) และระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Water Pumping) ซึ่งเปิดพื้นที่ให้ชุมชนได้แบ่งปันประสบการณ์ รวมถึงให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยและเยอรมนีได้ให้ข้อมูลและคำแนะนำในด้านการออกแบบโครงการอย่างเป็นรูปธรรมและแนวทางการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคในปัจจุบันต่อผู้เข้าร่วมงาน

งานสัมมนาโครงการพลังงานทดแทนชุมชน ไทย–เยอรมัน จัดขึ้นครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ณ กรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีงานแรกของโครงการด้านพลังงานทดแทนในชุมชนภายใต้บริบทของโปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน (Project Development Programme – PDP) ซึ่งได้ดำเนินการโดย GIZ ในนามของกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWi) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่

คณะแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางไปพบ นางกอบแก้ว ระวิเรือง ประธานวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพบ้านเหม้า ม.7 ต.สระคู ที่ได้รับการสนับสนุนจากนายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ นางนิรมล ภาสองชั้น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ เป็น ศพก.หรือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เครือข่าย ผู้ผลิตพืชผักเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เครื่องดื่มชาใบข้าวหอมมะลิ คอฟฟี่เมทแป้งข้าวหอมมะลิ ข้าวอินทรีย์ สมาชิกกลุ่ม 71 คน กลุ่มเข้มแข็ง การผลิตเพื่อสุขภาพ ต้นน้ำคือการเกษตรอินทรีย์ กลางการคัดแยกบรรจุภัณฑ์ ปลายน้ำคือผู้บริโภคเพื่อสุขภาพ

สกว.ผนึกกำลัง สวทช. จัดสรรงบประมาณ 75 โครงการ พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร-สมุนไพรและเวชสำอาง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด “วิจัยได้…ขายจริง” พร้อมมอบรางวัล 12 งานวิจัยเด่น ศ.เกียรติคุณ ดร.ภก.จีรเดช มโนสร้อย และคณะ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่น ส่วน “ปอย ตรีชฎา” ได้รางวัลผู้ประกอบการดีเด่น

8 กุมภาพันธ์ 2561 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ — ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจภายใต้โครงการ “การสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 3” โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการสนับสนุนทุนวิจัยแบบบูรณาการ ด้วยการสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสมผ่านกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับการจัดการด้านธุรกิจ การศึกษาข้อมูลทางการตลาดเบื้องต้นและการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ ภายใต้แนวคิด “วิจัยได้…ขายจริง” จากกลไกการทำงานของโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. และชุดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative house ฝ่ายอุตสาหกรรม สกว.