ด้านนายพัฒนะ พลศรี หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3

เขื่อนระบายน้ำฝาย วังยาง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนกลาง เปิดเผยว่า จุดที่พนังแตกเป็นช่วงคุ้งน้ำทำให้น้ำไหลแรงและเซาะผิวใต้ถนนจนขาดมวลน้ำไหลเข้าทุ่งนาข้าวของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำหน้าฝายวังยางลดลงอย่างรวดเร็ว วันนี้ระดับน้ำลดลง 20 ซ.ม. โดยเจ้าหน้าที่ชลประทานและกลุ่มผู้ใช้น้ำเขื่อนระบายน้ำวังยางได้นำรถไถปรับเกรดทางเข้าจุดที่พนังขาด เพื่อเตรียมพร้อมลำเลียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรเข้าไปซ่อมแซมพนังที่ขาดแล้ว หลังปริมาณน้ำจากแม่น้ำชีมีปริมาณสูง ต่อเนื่อง เนื่องจากพนังกั้นแม่น้ำชีขาดประเมินว่าน้ำจะขยายพื้นที่เข้าท่วมนาข้าวเสียหายกว่า 3 หมื่นไร่

ส่วนที่ จ.อำนาจเจริญ ตลอดทั้งวันมีฝนตก และลมกระโชกแรง โดยเฉพาะที่ อ.เสนางค นิคม ได้รับผลกระทบบ้านเรือนของราษฎรได้รับความเสียหาย หลังคาปลิวว่อนกว่า 10 หลังคาเรือน โดยนายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผวจ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า ตนได้สั่งการให้จังหวัด และอำเภอพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหารนำกำลัง ออกให้การช่วยเหลือขนย้ายข้าวของชาวบ้าน ไปเก็บในที่ไม่ถูกฝน

ที่ จ.จันทบุรี เกิดพายุลมกระโชกแรงพัดกระหน่ำในพื้นที่หมู่ 7 และหมู่ 4 ต.บ่อเวฬุ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ทำให้บ้านเรือนประชาชนพังเสียหาย สวนผลไม้ ยางพารา ถูกแรงลมพัดหักโค่นครอบคลุมพื้นที่ 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 400 หลังคาเรือน และยังมีต้นไม้ถูกแรงลมพัดโค่น ล้มทับขวางการจราจรอีกหลายเส้นทาง โดยเฉพาะบ้านพักบนเนินเขาใกล้วัดเขาทอง ถูกแรงลมพัดพังถล่มลงมาทับรถแบ๊กโฮเล็กได้รับความเสียหาย และลมยังได้หอบเอากระเบื้องหลังคาปลิวหายไปเกือบทั้งหลัง โดยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ได้สำรวจข้อมูลความเสียหายก่อนรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยียวยาช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบต่อไป

สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ น.ส.พะเยาว์ เมืองงาม ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ออกประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 20 (128/2560) เรื่องฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย จากหย่อมความกดอากาศกำลังแรง ยังคงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ประกอบ กับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณ จ.นครศรีธรรม ราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส โดยในวันที่ 6-8 พ.ย.นี้มีฝนหนักบางแห่งบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัด ดังกล่าวระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน ปริมาณน้ำฝนสะสม และน้ำป่าไหลหลาก คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ความสูงของคลื่น 2-3 เมตร ประชาชนอาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลระมัด ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ด้านนายประพันธ์ศักดิ์ ใจโพธิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ได้ประกาศปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในเขตพื้นที่น้ำตกทุกแห่งในเขตอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น รวมทั้งหมด 4 แห่ง ในช่วงน้ำหลากเป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1-30 พ.ย.นี้ ได้แก่ น้ำตกดาดฟ้า ต.ลำพูน อ.บ้านนาสาร น้ำตกเพชรพนมวัฒน์ ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ น้ำตกเหมืองทวด ต.เพิ่มพูนทรัพย์ อ.บ้านนาสาร และน้ำตก 357 ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและประชาชน ส่วนบริเวณถ้ำขมิ้นซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ยังสามารถเข้าไปชมได้ ขณะนี้ในพื้นที่ฝนได้หยุดตกมา 2-3 วันบ้างแล้ว แต่ปริมาณน้ำที่สะสมอยู่บนภูเขายังมีมากอยู่ ซึ่งอาจเป็น อันตรายกับประชาชนที่จะเข้าไปในบริเวณพื้นที่น้ำตก โดยจะมีการประกาศปิดปีละครั้ง ในช่วงที่มีฝนตกมากที่สุด ตามประกาศของกรมอุทยานแห่งชาติฯ

วันเดียวกัน พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบรายงานสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาล่าสุด โดยกรมชลประทานได้ปรับ ลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในภาพรวมลง 300 ลบ.ม./วินาที ทำให้ระดับน้ำในช่วง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท เริ่มลดลง 15-20 ซ.ม. ส่วน จ.สิงห์บุรี และอ่างทอง ลดลง 10 ซ.ม. บริเวณคลองโผงเผงและคลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ลดลง 6-8 ซ.ม. และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำบริเวณปากแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อบังคับน้ำ ให้ไหลลงสู่ทะเลรวดเร็วขึ้น ควบคู่กับการระบายน้ำออกจากทุ่ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้นที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก ตั้งแต่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา และจะดำเนินการต่ออีก 12 ทุ่ง ตอนล่างในวันที่ 15 พ.ย.นี้ โดยย้ำว่าน้ำที่ถูกระบายออกจะเข้าสู่ระบบชลประทานก่อนแล้วจะกระจายออกไปฝั่งซ้ายและขวา ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่น้ำท่วมอยู่แล้ว

นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์การเรียกร้องให้แก้ปัญหาราคายางตกต่ำของเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ปัจจุบันอุณหภูมิร้อนแรงขึ้น สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการด้านยางพารา เมื่อวันที่ 2 พ.ย.60 ณ ห้องประชุม 2 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อพิจารณาโดยฟังเสียงสะท้อนจากเกษตรกร องค์กรเกษตรกร สถาบันเกษตรกร บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการประชุมได้ข้อสรุปตกผลึกเพื่อเสนอแนวทางแก้ไข 5 ข้อ คือ

เสนอให้นายกรัฐมนตรีประกาศใช้ยางพาราในประเทศเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานทุกกระทรวงวางเป็นแผนงานโครงการเพื่อใช้ยางพาราภายในประเทศมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีอาจใช้ ม.44 ประกาศยกเว้น ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสามารถใช้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ภายในปีนี้ได้ทันท่วงทีในปริมาณที่เยอะขึ้น
เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บังคับใช้กฎหมายเพื่อลดปริมาณการส่งออกหรือระงับการส่งออก ด้วย รมต.ก.เกษตรฯเป็นผู้ดูแล พ.ร.บ.ควบคุมยาง หากนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้ก็จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและสถานการณ์ราคายางในสภาวการณ์ปัจจุบันที่ตกต่ำอยู่

เสนอให้สร้างตลาดกลางยางพาราของประเทศไทย หรือไทยคอม ซึ่งจะเป็นตลาดกลางสำหรับซื้อ-ขายจริง เป็นตลาดจับคู่ระหว่างผู้เสนอขายและผู้ต้องการใช้หรือผู้เสนอซื้อ โดยตลาดนี้จะส่งผลให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรรายย่อยและสถาบันเกษตรกร เพราะในระบบตลาดนี้จะมีตลาดท้องถิ่นอยู่ด้วย
เสนอให้ กยท.ยกเลิกบริษัทร่วมทุน เนื่องจากไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกร

เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรเพื่อพัฒนาองค์กรเข้าสู่เกษตรอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและใหญ่เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกษตรกรสวนยาง และเขยิบจากขายวัตถุดิบเป็นขายผลิตภัณฑ์ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มและความเป็นอยู่ที่ดีให้เกษตรกร โดยทั้ง 5 แนวทางจะเสนอประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติลงนามและนำส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

ทั้งนี้ แนวทางในการแก้ปัญหาตามข้อ 1 และ 2 นั้นถ้ารัฐบาลนำไปใช้เลยก็จะส่งผลต่อการปรับตัวราคายางให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนการบังคับใช้กฎหมายหากภาคเอกชนไม่สามารถผลักดันราคาให้สูงกว่าต้นทุนเกษตรกรได้ก็ไม่ควรส่งออกจะต้องกระเตื้องราคาขึ้นก่อนเพื่อส่งออกได้ ส่วนแนวทางอื่นนั้นต้องใช้เวลา พร้อมหาภาคีหน่วยงานร่วมแนวทางซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างถาวรแท้จริง

“ หากต่างคนต่างอยู่ ต่างทำ ต่างคิด ต่างขาย ก็จะพบกับปัญหาที่ประสบมาจนถึงปัจจุบัน เกษตรกรต้องคิดทบทวนใหม่ ต้องรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งก่อนให้รัฐบาลสนับสนุน ” นายธีรพงศ์ กล่าว

งาน Cake International Bermingham 2017 เป็นงานรวมศิลปินทำเค้กที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปีนี้มีผู้ร่วมแข่งขันกว่า 1,800 ก้อน ทุกๆปี ก็จะมีนักทำเค้กฟองดันท์สัญชาติไทย เข้าร่วมประลองฝีมืออยู่เสมอ ซึ่งในปีนี้คนไทยก็ชนะหลายรายการด้วยกัน อาทิ Cake collaborations Class เค้กขนาดใหญ่ 180cm x 80cm เหรียญทอง ชื่อทีม – Lin Thailand Sweet Creation 1 ชื่องาน:Ancient Temple Fair in Thailand (งานวัดโบราณที่แสดงวิถีชีวิต ศาสนาและวัฒนธรรมในยุคสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9)

เหรียญเงิน ชื่อทีม – Lin Thailand Sweet Creation 2 ผลงาน – Giant King Bird
(เหล่าสัตว์หิมพานต์ส่งเสด็จในหลวงสู่สวรรคาลัย) รางวัลชมเชย ชื่อทีม Siam ผลงาน – Valedictory ceremony for the King Rama IX น้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย (ปวงชนชาวไทย รวมใจส่งเสด็จในหลวงรัชกาลที่9 สู่สวรรคาลัย)

International Class เหรียญทอง ผลงาน มโนราห์ ทิวารัตน์ ศิริปุ เหรียญเงิน ผลงาน พระมหากษัตริย์ปวงชนชาวไทย มัลลิกา เรียนรู้ เหรียญทองแดง ผลงาน ลอยกระทง บุษราภรณ์ ครุธผาสุข
Small decorative exhibit เหรียญเงิน : สุภัตรา พรโชคหิรัณย์ Decorated cookies for Santa เหรียญทองแดง กานดา การไชยแสง ชาวประมงบ้านบาเฆะ อ.เมืองนราธิวาส 36 ครัวเรือน เดือดร้อนหนัก ถูกทรายปิดทางน้ำเค็มเข้าคลอง ติดหยุดเลี้ยงปลาในกระชังนานกว่า 3 ปี และปลาน้ำเค็มสูญหายไม่สามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้ เรียกร้องเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมาดูแลอย่างเร่งด่วน

วันที่ 5พ.ย.60 นายอาแซ อาแว ชาว ม.2 บ้านบาเฆะ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านบาเฆะ ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส ประกอบด้วย หมู่ 2,3,7,8,9 และ 13 จำนวน 36 ครัวเรือน ประกอบอาชีพทำประมง และเลี้ยงปลาในกระชังในคลองโคกเคียนต้องเดือดร้อนอย่างหนัก

เนื่องจากทะเลได้ซัดทรายเป็นจำนวนมากมากองปิดเส้นทางเข้าของน้ำทะเลกลายเป็นถนนปิดทับ ทำให้น้ำทะเลกลายสภาพเป็นน้ำกร่อยมานานกว่า 3 ปี ถึงขั้นชาวบ้านที่ทำอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังต้องเก็บอุปกรณ์มาไว้ที่บ้าน เพราะปลาที่เลี้ยงไว้ในกระชังนับพันตัวต้องตายหมดจนสิ้นเนื้อประดาตัวขาดทุนย่อยยับขาดรายได้จนไม่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้

อีกทั้งปลาในลำคลองดังกล่าวกลายสภาพเป็นน้ำกร่อยมีสภาพน้ำกลายเป็นน้ำจืดแทน ทำให้ปลาน้ำเค็มที่อาศัยอยู่ในลำคลองดังกล่าว เช่น หอย ปู ปลากะพง ปลากระบอกตายจากหายไปหมดจนไม่สามารถหาปลามาทำกินในครอบครัวได้อีกต่อไป ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมานานกว่า 3 ปี แล้ว จนต้องเลิกอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังไปโดยปริยาย

โดยเฉพาะชาวบ้าน ม.1,2,3,4,และ 5 ที่หาปลาในลำคลองโคกเคียนเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวในครัวเรือนก็ต้องไปหาปลาในพื้นที่อื่นที่ไกลกว่ามาเลี้ยงครอบครัวแทนการหาปลาในลำคลองแห่งนี้ จึงขอวิงวอนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน หรือทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้น้ำทะเลสามารถเข้ามาผลัดดันน้ำกร่อยให้ออกไปจากลำคลองเพื่อให้กลายสภาพเป็นคลองน้ำเค็มฟื้นมาได้เหมือนเดิมชาวบ้านจะได้ทำมาหากินกับคลองแห่งนี้ต่อไปได้

ส่วนที่บริเวณชายหาดบ้านบาเฆะ ขณะนี้ที่กั้นคลื่นซัดฝั่งเริ่มเตี้ยลง หลังจากคลื่นซัดทรายเข้ามาทับถมชายฝั่งจนบางส่วนเริ่มแตกและเสียหาย อีกทั่งเมื่อคลื่นลมแรงซัดขึ้นฝั่ง น้ำทะเลจะซัดนำพาทรายขึ้นฝั่งจนถนนริมชายหาดทับถนนจนกลายเป็นหาดทรายชาวบ้านจึงขอให้หน่วยงานรีบเข้ามาทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วนอีกเช่นกัน ก่อนที่น่าฝนพายุถล่มจะมาถึงในห้วงสัปดาห์หน้านี้และสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางน้ำ และตรวจสอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำต่างๆ ในพื้นที่ อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี ตามแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายให้กรมชลประทาน ดำเนินการเร่งระบายน้ำให้ออกสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด ซึ่งได้บูรณาการกับกรมทางหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำในจุดที่คลองชลประทานตัดผ่านให้แล้วเสร็จ

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ยังได้มอบให้สำนักงานชลประทานที่ 15 ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองไชยา หมู่ 4 ต.เลม็ด อ.ไชยา 2 เครื่อง และประตูระบายน้ำคลองโพธิ์ หมู่ 2 ต.เลม็ด อ.ไชยา 2 เครื่อง โดยได้พร่องน้ำบางส่วนออกเพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนักอีก และได้มอบโครงการชลประทานจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าสำรวจพื้นที่ในเขตชลประทานเพื่อหาวิธีการตัดยอดน้ำในคลองไชยา

“ โดยอาจขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ขนานไปกับคลองชลประทานเดิม ในส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาวจะได้มอบให้สำนักบริหารโครงการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นต่อไป ”นายทวีศักดิ์ กล่าว

สัตว์น้ำขาดแคลนตลาดสงขลา ผลพวงจากคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยที่ยังคงมีกำลังแรง ยังคงต้องเผชิญกับสภาพอากาศยังปิดจากฝนตกต่อเนื่องและคลื่นลมยังแรงต่อเนื่องไปถึงวันที่ 8 พ.ย.

วันที่ 5 พ.ย. รายงานข่าวว่าจากสถานการณ์คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยที่มีกำลังแรงส่งผลกระทบสินค้าสัตว์น้ำใน จ.สงขลา ที่เริ่มขาดแคลน เนื่องจากเรือประมงนอกน่านน้ำ เรือขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำและเรือประมงพื้นบ้านนับร้อยลำต้องจอดเทียบท่ามาเกือบ 1 สัปดาห์ จากภาวะคลื่นลมแรง แพปลาบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่สงขลาปิดชั่วคราวเพราะไม่มีสัตว์น้ำ

ขณะนี้ทางแพปลาบางแพได้สั่งสินค้าสัตว์น้ำมาจาก จ.ระนอง และ จ.พังงา มาเก็บสต๊อกไว้ในห้องเย็นแล้ว ทยอยส่งให้กับลูกค้าเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

น.ส.พะเยาว์ เมืองงาม ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออกกล่าวว่าพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ยังมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ไปจนถึงวันที่ 8 พ.ย.และคลื่นสูง 2-3 เมตร ให้ระวังเรื่องน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

ในระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2560 สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยนำคณะลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อสำรวจผลผลิตข้าวนาปี ปีการผลิต 2560/2561 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยประชุมร่วมกับตัวแทนเกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด 17 จังหวัดจากทั้งหมด 20 จังหวัด ที่ได้รายงานประเมินความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ปลูกข้าวเบื้องต้น (ยังไม่สิ้นสุด) รวมได้ 2.68 ล้านไร่ จากเนื้อที่ปลูกข้าวทั้งหมดในภูมิภาครวม 36.6 ล้านไร่

หากคิดตามผลผลิตต่อไร่ 400-430 กก.ไร่ จะคิดเป็นข้าวเปลือกเสียหาย 1.0-1.1 ล้านตัน จากปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์จะได้ 7-8 ล้านตัน โดยจังหวัดที่มีความเสียหายมากที่สุด ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด 724,562 ไร่ สกลนคร 377,355 ไร่ ยโสธร 252,288 ไร่ มหาสารคาม 239,848 ไร่ และกาฬสินธุ์ 184,656 ไร่

ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคาดว่าภาพรวมข้าวเปลือกนาปีจะมีปริมาณลดลง โดยข้าวหอมมะลิลดลง 5-6% ข้าวเหนียวลดลง 8% ถือเป็นตัวเลขที่ผิดจากที่คาดการณ์ไว้ สวนทางกับความรู้สึกทุกภาคส่วนที่มองว่า ปกติปริมาณน้ำมากจะส่งผลดีต่อข้าวที่ปลูกในนาดอน ทำให้มีผลผลิตมากขึ้น ทั้งนี้ สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกนาปีขณะนี้เก็บเกี่ยวข้าวไปแล้ว มีระดับราคาเฉลี่ยตันละ 13,000-14,000 บาท สูงขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ราคาตันละ 10,000 บาท

“คาดว่าชาวนาจะนำข้าวมาเก็บในยุ้งฉางตามโครงการรัฐบาล เพื่อชะลอการขายมากถึง 3 ล้านตันข้าวเปลือก จากปีก่อนที่เข้า 1.5 ล้านตันข้าวเปลือก เพราะจากบทเรียนปีก่อนที่ราคา 9,000 บาท พอเก็บไปถึงเดือนพฤษภาคมราคาขึ้นไปถึง 13,000 บาท ชาวนาได้ค่าฝากเก็บ และเมื่อราคาข้าวปรับขึ้นไถ่ถอนมาขายได้กำไรอีก”

นายบู๊เฮียง รุ่งรัชกานนท์ เจ้าของ หจก.โรงสีข้าวเอกไพบูลย์ จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า จากประสบการณ์มองว่าผลผลิตข้าวนาปีจะเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีปัญหาเรื่องราคา เพราะปีนี้รัฐบาลประกาศนโยบายสินเชื่อชะลอการขายยุ้งฉางเร็วกว่าปีก่อน ส่งผลดีทำให้เกษตรกรวางแผนการเก็บทัน และระดับราคาที่ฝากเก็บข้าวหอมมะลิตันละ 10,800 บาท และมีค่าเก็บรักษาข้าวในยุ้งอีกตันละ 1,500 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ยังเหลือเงินบางส่วนไว้ซื้อปัจจัยการผลิตถือเป็นนโยบายที่เดินมาถูกทาง ช่วยเกษตรกรตรงจุด และไม่ทำลายกลไกตลาดข้าวปกติ

นายวิชัย ศรีนวกุล ประธานชมรมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิในนาดอนจะเพิ่มขึ้น ส่วนในนาลุ่มจะเสียหาย เมื่อหักล้างกันแล้วทำให้ภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2559/2560 แต่ไม่มากนัก ไม่กระทบราคา เพราะเกษตรกรน่าจะเก็บข้าวเข้ายุ้งฉางไม่ต่ำกว่า 2 ล้านตัน เพราะรัฐบาลประกาศนโยบายชัดเจนเร็ว ทำให้เกษตรกรวางแผนการเก็บข้าวทัน ส่วนโรงสีจะช่วยซื้อเก็บสต๊อกอีก 2 ล้านตัน รวม 4 ล้านตัน เปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนไว้ช่วยกักไม่ให้ข้าวทะลักออกมา หากชะลอขายอีก 4-5 เดือนจะได้ราคาดีขึ้น

ร.ต.ท.เจริญมั่นใจว่า ปีนี้การส่งออกข้าวไทยจะได้ 11 ล้านตัน เกินกว่าเป้าหมาย 10.5 ล้านตัน โดยตั้งแต่
1 ม.ค.-17 ต.ค. 2560 ส่งออกแล้ว 8.41 ล้านตัน เฉือนกับอินเดียที่ส่งออกได้ 8.87 ล้านตัน เป็นปีที่การส่งออกมีแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ไทยมีโอกาสเป็นแชมป์ แต่ควรรักษาระดับราคาส่งออกข้าวหอมมะลิที่เหมาะสม ประมาณ 750-850 เหรียญสหรัฐต่อตัน ปริมาณการส่งออกจึงจะไม่ลดลง

สาเหตุที่ทำให้ปริมาณส่งออกมากขึ้น shareitforpcfreedownloads.com เพราะต้นปีราคาส่งออกข้าวหอมมะลิไทยลดลงตันละ 600 เหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าคู่แข่งมาก แต่ขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็น ตันละ 750-800 เหรียญสหรัฐ ถือเป็นราคาที่แข่งขันได้ ตลาดอิหร่านกลับมาซื้อข้าวไทย 1 แสนตันจากที่หยุดซื้อไปนาน และเพิ่งจะคำสั่งซื้อข้าวนึ่งแบบรัฐต่อรัฐจากบังกลาเทศอีก 1.5 แสนตัน

สำหรับแนวโน้มการส่งออกข้าวหอมมะลิ ตลาดหลักยังเป็นสหรัฐ 400,000 ตัน ฮ่องกง 200,000 ตัน จีน 100,000 ตัน และแคนาดา 100,000-200,000 ตัน ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง 1-2 สัปดาห์นี้จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลัก หากอากาศเย็นไม่มีฝนตกลงมามาก จะทำให้ข้าวมีคุณภาพดี

และปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่า ซึ่งที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่า 8.5% จาก 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐเป็น 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่เงินด่อง เวียดนามแข็ง 2% ทำให้ราคาข้าวไทยห่างจากเวียดนามถึง 30 เหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ มีความเป็นห่วงว่าข้าวเหนียวในปีนี้มีราคาลดลงจากปีก่อน ดังนั้น รัฐบาลควรผลักดันการส่งออกข้าวเหนียวให้รัฐบาลจีนแทนข้าวขาวในส่วนของการส่งมอบข้าวแบบรัฐต่อรัฐที่ยังเหลือ เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพราคา

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน นายประยูร พรชัยภูมิ อายุ 45 ปี บ้านเลขที่ 94 บ้านเจริญสามัคคี ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ กล่าวว่า ฝนได้ตกกระหน่ำลงมาอย่างหนักทำเอาต้นข้าวกำลังรวงสุกจะเก็บเกี่ยวและที่เกี่ยวแล้วของตนเสียหายระนาว เมื่อนำไปจำหน่ายตามโรงสีก็ไม่รับ โดยเจ้าของโรงสีบอกว่าไม่สามารถซื้อได้เนื่องจากข้าวเปียกความชื้นสูง ตนต้องนำข้าวกลับมาตากและที่นาก็มีน้ำขังเป็นจำนวนมาก ตนอยากให้ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นหน่อยสักกิโลกรัมละ 10-11 บาทก็ยังดี เพราะปีนี้ราคาข้าวต่ำมากไม่ได้ทุน และยิ่งมาโดนฝนตกผิดฤดูอีกด้วยตนวอนให้รัฐช่วยให้ขยับขึ้นอีก เพราะราคาจ้างรถเก็บเกี่ยวก็แพงไร่ละ 600-700 บาท ซ้ำยังมาโดนฝนตกและลมแรงเมล็ดข้าวร่วงหล่นลงพื้นดินหมด ตนต้องเร่งจ้างรถเกี่ยวข้าวมาเก็บเกี่ยวเพราะมีฝนตกโปรยปรายตลอดเวลา

วันที่ 6 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์แม่น้ำท่าจีน ยังมีปริมาณน้ำสูงใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมือง อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง ยังท่วมขังในปริมาณระดับสูง ที่ อ.บางปลาม้า ในพื้นที่ ต.ไผ่กองดิน ต.จระเข้ใหญ่ ต.ตะค่า ต.โคกคราม อ.สองพี่น้อง ต.บ้านช้าง ต.บางตาเถร ต.ย่านซื่อ ตะค่า ริมแม่น้ำท่าจีนหลังมีการผันน้ำลงสู่ทุ่ง ที่สมทบกับการระบายน้ำมาจากประตูระบายน้ำ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพื้นที่ติดกัน โดยปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนสูงมาก ทำให้ล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนและพืชไร่เกษตรกรที่ทำบ่อปลา บ่อกุ้ง มีพื้นที่เสียหายไปแล้วกว่า 10,000 ไร่ บางแห่งสูงประมาณ 1.50 – 1.80 เมตร ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ถนนหลายเส้นทางถูกน้ำท่วมไม่สามารถสัญจรได้ และถนนยังถูกน้ำกัดเซอะจนพังหลายสาย ประชาชนต้องพายเรือออกจากบ้านเพียงอย่างเดียวหวั่นเกิดอันตราย

ด้าน นายธงชัย กล่ำจตุรงค์ สจ.เขต 2 อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี กล่าวว่าสำหรับขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำท่าจีนยังสูงมาก และ มีการผันน้ำลงสู่ทุ่งนา ซึ่งตอนนี้ที่บ้านบึงคา ม.5 ต.สาลี อ.บางปลาม้า ถนนเชื่อมต่อกับ ต.บ้านช้าง ต.ย่านซื่อ อ.สองพี่น้อง ถนนสายบึงคา – ย่างซื่อ ถนนหลายเส้นทางถูกน้ำท่วมไม่สามารถสัญจรได้ และถนนยังถูกน้ำกัดเซอะจนพังหลายสายประชาชนต้องพายเรือออกจากบ้านเพียงอย่างเดียวหวั่นเกิดอันตราย ปีนี้ทางกรมชลประทานปล่อยน้ำลงสู่ทุ่งเข้าในเขตจ.สุพรรณบุรีเกินปริมาณที่จะรับไหว ทำให้ชาวบ้านเดือนร้อนอย่างมาก จึงอยากให้กรมชลประทานเข้ามาตรวจสอบและมาเยียวยาชาวบ้านโดยด่วน