ด้านนายพุทธิศักดิ์ เยาวชนทูตสิ่งแวดล้อมไทย YTEN กล่าวว่า

เยาวชนถือเป็นกลุ่มคนที่นับเป็นข้อต่อที่จะสามารถปลุกพลังคนในวัยเดียวกัน รวมถึงกลุ่มต่างวัยในสังคมไทยให้หันมาตระหนักและให้ความสำคัญถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คืบคลานมาครอบคลุมทุกหย่อมหญ้าบนโลก ถึงเวลาแล้วที่ประชากรโลกรวมถึงประชาชนคนไทยหันมาตระหนักถึงปัญหานี้ โดยตนคาดหวังว่าจะมีการดำเนินการร่วมกันของทุกภาคส่วนในประเทศ เพื่อสร้างการขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาที่ทั่วโลกให้สำคัญและกำลังจับตาอย่างปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนี้อย่างเข้มแข็ง

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ กองทัพบก จัดโครงการ “KUBOTA พลังใจสู้ภัยหนาว” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ลงพื้นที่มอบเสื้อกันหนาว จำนวน 10,000 ตัว มูลค่า 4,000,000 บาท เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ลำปาง แพร่ และน่าน โดยมี นายพิษณุ มิลินทานุช (ที่ 4 จากซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขายและบริการ เป็นผู้มอบเสื้อกันหนาวให้แก่ พลเอกธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ (ที่ 4 จากขวา) เสนาธิการทหารบก เพื่อเป็นศูนย์กลางในการกระจายเสื้อกันหนาวสู่ผู้ประสบภัยในพื้นที่เป้าหมาย ณ กองบัญชาการกองทัพบก โดยปีนี้ สยามคูโบต้า ได้จัดโครงการ “KUBOTA พลังใจสู้ภัยหนาว” ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 19

คุณระเบียบรัตน์ มณีมัย หรือ พี่แดง อยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 5 ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ทำการเกษตรหลากหลาย ทั้งปลูกผักกางมุ้ง เลี้ยงสุกรขุน ทำไร่นาสวนผสม มีรายได้หมุนเวียนจากกิจกรรมที่ทำตลอดทั้งปี และยังให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทำอาชีพเกษตรกรรม โดยสามารถเข้ามาชมที่สวนได้ตลอดเวลาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเกษตรอำเภอเขาพนม ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. ศูนย์เครือข่าย) ซึ่งจะมีทั้งเกษตรกรในพื้นที่และจากจังหวัดใกล้เคียงมาเยี่ยมชมไม่ขาด

จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงไก่ดำนั้น พี่แดง เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนชอบการเกษตรและมักศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จนมาพบข้อมูลไก่ดำ เป็นไก่ที่เลี้ยงง่ายเหมือนไก่บ้านทั่วไป โตเร็ว แต่ขายได้ราคาสูง เนื่องจากยังมีไม่แพร่หลาย จึงทดลองสั่งไก่ดำจากฟาร์มที่เชื่อถือได้ มาทดลองเลี้ยง 1 ชุด เป็นพ่อพันธุ์ 1 ตัว และแม่พันธุ์ 2 ตัว เลี้ยงไป 2 เดือน จึงเริ่มออกไข่และได้ลูกไก่ชุดแรก ก็มีเพื่อนบ้านมาขอซื้อจนหมด จำได้ว่าขายลูกไก่ไป 10 ตัว ได้เงินมา 1,500 บาท จึงมั่นใจว่าไก่ดำน่าจะเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมอีกมาก จึงได้สั่งไก่รุ่นมาอีก 20 ชุด (พ่อพันธุ์ 20 ตัว แม่พันธุ์ 40 ตัว) เพื่อเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นโดยจะสร้างกรงแยกเลี้ยงเป็นสัดส่วน แบ่งเป็นกรงลูกเจี๊ยบ ไก่เล็ก ไก่รุ่น เพื่อให้มีไก่หมุนเวียนจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี

ที่มาไก่ดำเขาดิน…พี่แดงเล่าให้ฟังว่า โดยส่วนตัวต้องการได้ไก่ดำที่โตเร็วเลี้ยงง่ายและมีขนาดใหญ่เพื่อขายได้ราคา จึงได้ทดลองผสมไก่ระหว่างพ่อพันธุ์เก้าชั่งและแม่พันธุ์ไก่ดำมองโกเลียที่ตนเลี้ยงอยู่ ลูกผสมที่ได้รุ่นแรก จะคัดตัวที่มีลักษณะดีมาทำแม่พันธุ์เพื่อใช้ผสมกับพ่อพันธุ์เก้าชั่งอีกครั้งทำแบบนี้อยู่หลายรอบ จนได้ไก่ที่มีเนื้อดำตามตำรา ไก่มีขนาดใหญ่ เนื้อนุ่ม หนังกรอบ ที่สำคัญเลี้ยงง่าย โตเร็ว และไม่ค่อยเป็นโรค น้ำหนักที่พอเหมาะสำหรับทำอาหารจะอยู่ที่ตัวละ 1.6-2 กิโลกรัม สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัดเผ็ดไก่ดำ ลาบไก่ดำ หรือเมนูยอดฮิต ไก่ดำตุ๋นยาจีน

การตลาด…เนื่องจากตนเองเป็นประธาน (ศพก.) ศูนย์เครือข่าย จะได้รับเชิญไปประชุมหรือออกร้านขายผลิตภัณฑ์อยู่เป็นประจำก็จะนำสินค้าไปโชว์และจำหน่ายด้วย จากปากต่อปากจนมีคนรู้จักมากขึ้น ลูกค้าก็จะโทร. มาสั่งซื้อ การขายจะมีทั้งขายไข่ ฟองละ 8-10 บาท ไก่เล็ก อายุ 2 เดือน จำหน่ายตัวละ 150 บาท ส่วนคนที่จะซื้อไปทำพันธุ์ อายุ 8 เดือน ราคาชุดละ 2,000 บาท (พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2 ตัว) เนื่องจากผลผลิตของตนมีน้อย ประกอบกับเพื่อนบ้านก็สนใจต้องการเลี้ยงไก่ดำกันหลายคน จึงได้ตั้งเป็นกลุ่มขึ้น ปัจจุบัน มีสมาชิก 23 ราย โดยตนเองจะเป็นคนรับหน้าที่รวบรวมผลผลิตเพื่อส่งให้กับลูกค้าต่อไป ทุกวันนี้เฉพาะขายไข่ไม่ต่ำกว่า เดือนละ 800-1,000 ฟอง เป็นเงิน 8,000-10,000 บาท ลูกไก่ อายุ 2 เดือน ตัวละ 150 บาท จะขายได้ประมาณ 240 ตัว/เดือน เป็นเงิน 36,000 บาท

อีกรูปแบบของการขายคือทำเป็นอาหารพร้อมรับประทาน เมนูยอดฮิต คือ ไก่ดำตุ๋นยาจีน โดยถ้าใช้ตัวผู้มาทำจะตกตัวละ 800 บาท ส่วนตัวเมียถูกหน่อย ตัวละ 600 บาท และอีกเมนูที่ได้รับความนิยมคือ ผัดเผ็ดไก่ดำ ตัวผู้ 700 บาท ตัวเมีย 500 บาท รวมๆ แล้ว ทั้งของตนเองและสมาชิกขายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100 ตัว นับเป็นรูปแบบการขายที่น่าสนใจไม่น้อย ตนเองและสมาชิกกำลังเตรียมขยายแม่พันธุ์เพิ่มเพื่อรองรับตลาดที่กำลังไปได้สวย กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่คนรักสุขภาพ

พี่แดง บอกว่า ปัจจุบันตนเองมีไก่ดำอยู่หลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นไก่ดำภูพาน ไก่ดำมองโกเลีย รวมถึงตัวเด่นของฟาร์มคือ ไก่ดำเขาดิน และกำลังจะสั่งไก่ดำอินโดมาทดลองเลี้ยงด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีตัวเลือกที่หลากหลายไม่จำเจ ขายได้ตลอด สำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยง เราก็มีพันธุ์ขาย ทั้งไก่เล็ก ไก่รุ่น และจะแนะนำวิธีการเลี้ยงให้ทั้งหมด เพราะต้องการให้ชาวบ้านเลี้ยงกัน เพื่อเป็นรายได้เสริมในช่วงที่ยางพาราและปาล์มน้ำมันมีราคาตกต่ำ

“สำหรับผู้ที่สนใจควรศึกษาวิธีการเลี้ยงและตลาดให้ดีก่อน เลี้ยงแล้วจะขายที่ไหน หรือถ้าไม่คิดมากก็เลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน ส่วนตัวคิดว่าถ้าคนเลี้ยงมากขึ้น ราคาไม่แพง ตลาดก็น่าจะกว้างมากขึ้น” พี่แดง กล่าว

นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร เครือเบทาโกร (ที่ 2 จากซ้าย) นำคณะผู้บริหารรับรางวัล Thailand Corporate Excellence Awards 2018 ใน 4 สาขา ได้แก่ ความเป็นเลิศด้านผู้นำ ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ความเป็นเลิศด้านการตลาด และความเป็นเลิศด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน/ความรับผิดชอบต่อสังคม จัดโดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (กลาง) ร่วมยินดี ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ร่วมมือกับกรมส่งเสริมสหกรณ์สร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ 150 คน นำองค์ความรู้การส่งเสริมสหกรณ์ตามแนวพระราชดำริไปขยายผลทั่วประเทศ

นายประยูร อินสกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์มีแนวนโยบายนำแนวทางพระราชดำริไปใช้พัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรในโครงการพระราชดำริทุกแห่งโดยกำหนดกรอบระยะเวลา 5 ปี มุ่งเน้นจะยกระดับการพัฒนาสหกรณ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์อย่างแท้จริง

ดังนั้น กรมฯ จึงร่วมมือกับปิดทองหลังพระฯ จะนำงานวิจัยการรวมกลุ่มอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริมาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอบรม ตลอดจนทำการอบรมนักสหกรณ์ของกรมฯรุ่นแรก จำนวน 150 คน ซึ่งจะนำเอาความรู้กลับไปสร้างความก้าวหน้า ยั่งยืนให้แก่สหกรณ์ทั่วประเทศ

ในการอบรมดังกล่าว ผู้แทนกรมฯ ทั้ง 150 คน ได้ร่วมกันทบทวนแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตลอดจนกระบวนการพัฒนาตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชนและระดับ การรวมกลุ่มเข้มแข็ง อย่างเป็นขั้นเป็นตอนตามพระราชดำริที่พระราชทานไว้อันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการสหกรณ์ซึ่งทรงให้ความสำคัญ ทั้งได้พระราชทานสหกรณ์ไว้หลายแห่ง

ผศ.ดร. อรพรรณ คงมาลัย อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการขยายผลองค์ความรู้การขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกล่าวว่า งานวิจัยที่ใช้ในการอบรมนี้ได้รับมอบหมายจากสถาบันปิดทองหลังพระฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี

“หลังจากที่ได้หารือกับท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ก็เห็นพ้องกันว่างานวิจัยนี้สามารถสร้างประโยชน์ได้มากในการช่วยให้สกรณ์มีความเข้มแข็ง หากดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามแนวพระราชดำริ ประกอบกับปิดทองหลังพระฯ มีความต้องการนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ให้มาก จึงเกิดความร่วมมือจัดการอบรมนี้ขึ้นมา”

การจัดงานดังกล่าวตลอดหลักสูตร นอกจากผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้แนวทางประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเพื่อพัฒนาสหกรณ์ แล้วยังได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กรณีศึกษาสหกรณ์โครงการพระราชดำริ เช่น สหกรณ์ โคนมวาริชภูมิ จำกัด จังหวัดสกลนคร สหกรณ์ชมรมชาวสวนมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา จำกัด สหกรณ์ชาวบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 จำกัด เป็นต้นด้วย

ยันม่าร์ ผู้คิดค้นและผลิตรถขุดเล็กแบบซีโร่เทลเป็นรายแรกมากว่า 50 ปี เปิดตัวรถขุดยันม่าร์ ViO17 ขนาด 1.7 ตัน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานก่อสร้างในพื้นที่จำกัด เขตเมือง หรือชุมชน ตัวรถแบบซีโร่เทล (True Zero Tail Swing) จึงทำให้รถขุดยันม่าร์ ViO17 มีความคล่องตัวสูงในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึงโดยผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลว่าด้านท้ายของตัวรถจะไปชนสิ่งกีดขวางขณะทำงาน และด้วยความชำนาญด้านเครื่องยนต์และระบบไฮดรอลิกของยันม่าร์ จึงทำให้รถขุดยันม่าร์ ViO17 มีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยม แข็งแกร่ง ทนทาน เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานมาแล้วทั่วโลก

ชุดสายไฮดรอลิกสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง (PTO) ทำให้ รถขุดยันม่าร์ ViO17 สามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการต่อกับชุดหัวเจาะกระแทก (Breaker) สำหรับงานเจาะทำลายคอนกรีต หรือบุ้งกี๋ขนาดแคบ สำหรับงานขุดวางท่อประปา

ระบบเครื่องยนต์ยันม่าร์ TNV Direct Injection ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้จังหวะและปริมาณในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงมีความแม่นยำ พร้อมระบบควบคุมกำลังของเครื่องยนต์ในอัตราคงที่ จึงทำให้ประหยัดน้ำมันได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกฟังก์ชั่นการทำงานแบบประหยัดพลังงาน (Eco Mode) เพื่อประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยสามารถลดอัตราการกินน้ำมันจากการทำงานแบบปกติได้ถึง 15% รวมทั้งยังมีระบบลดรอบการทำงานของเครื่องยนต์แบบอัตโนมัติ เมื่อเครื่องจักรหยุดการทำงาน ยันม่าร์ยังได้ออกแบบวงจรของระบบไฮดรอลิกภายในรถขุดยันม่าร์ทุกรุ่นให้สามารถลดการสูญเสียแรงดัน โดยการทำให้น้ำมันไหลได้โดยไม่มีแรงต้าน และควบคุมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชิ้นส่วนภายในเครื่องจักร เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่น้ำมันไฮดรอลิกจะรั่วซึมในระหว่างการปฏิบัติงาน

ยันม่าร์ ให้ความสำคัญกับคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการผลิตทุกชิ้นส่วน โดยคำนึงถึงความแข็งแรงทนทาน ต้องใช้งานได้ยาวนาน และไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้ เช่น การเลือกใช้วัสดุที่เป็นเหล็กในการผลิตฝาครอบเครื่องยนต์ แทนที่จะใช้พลาสติกเพื่อลดต้นทุนการผลิตเหมือนกับรถขุดทั่วๆ ไป

รถขุดยันม่าร์ Yanmar ViO 17 ผลิตโดย บริษัท ยันม่าร์ คอนสตรัคชั่น อีควิปเม้นต์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น โดยมีฐานการออกแบบและผลิตอยู่ที่เมือง ฟูกุโอกะ บนภูมิภาคคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น โดย Yanmar ViO 17 รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ ราคา 720,000 บาท ทดลองขับได้แล้ววันนี้ ที่ร้านค้าตัวแทนยันม่าร์ใกล้บ้าน สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1638 ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Yanmar Excavator Thailand

เมื่อเร็วๆ นี้ นายประสิทธิ์ หมีดเส็น กรรมการการยางแห่งประเทศไทย พร้อมผู้บริหาร กยท. ลงพื้นที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดพัทลุง มอบเงินช่วยเหลือค่าสินไหมทดแทนการเสียชีวิตให้แก่ทายาทของเกษตรกรชาวสวนยางที่ทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม จำนวน 6 ราย หวังเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางที่จะช่วยเหลือคนในครอบครัวเกษตรกรชาวสวนยางในสถานการณ์ราคายางที่ตกต่ำลง

นายประสิทธิ์ หมีดเส็น กรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกร ชาวสวนยางที่การยางแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการผ่านกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(5) เพื่อเป็นสวัสดิการของเกษตรกรชาวสวนยางมีหลายข้อ ได้แก่ เงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเทาความเดือดร้อนในกรณีสวนยางประสบภัย เงินช่วยเหลือให้แก่ทายาทเกษตรกรในกรณีเกษตรกรชาวสวนยางเสียชีวิต รายละ 3,000 บาท เงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง เงินกู้ยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับประกอบอาชีพชาวสวนยางในด้านการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต การผลิต การแปรรูป และล่าสุดคือการจัดสวัสดิการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้เกษตรกรชาวสวนยาง โดยเป็นการให้เงินช่วยเหลือกับทายาทของเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางจากสถานการณ์ที่ราคายางพาราตกต่ำ เมื่อมีส่วนนี้เข้ามาช่วยก็จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนไปได้ในระดับหนึ่ง

“ทั้งนี้อยากฝากถึงเกษตรกรชาวสวนยางทุกท่านให้ทราบว่า กยท. ได้ดำเนินการภายใต้ภารกิจขององค์กรในการดูแลยางพาราทั้งระบบ รวมไปถึงการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการในหลายโครงการ เช่น โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงการให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางกู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมยางเพื่อขายต่างประเทศ ซึ่งหมายรวมถึงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้อยู่ดี กินดี และสามารถพัฒนาตนเองไปเป็นเกษตรกรที่เข้มแข็งได้ และมีความพยายามในการที่จะหาทางให้ราคายางเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน” นายประสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

นายอภิเดช ชวลิต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการในเรื่องจัดทำประกันอุบัติเหตุกลุ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีจำนวนประมาณ 1,350,000 คน และเริ่มมีผลคุ้มครองมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2561 ถึง 15 สิงหาคม 2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้ กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าจัดงานศพ รายละ 30,000 บาท และค่าสินไหมทดแทน/กรณีอุบัติเหตุทั่วไปหรือการฆาตกรรมจะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายละ 500,000 บาท/กรณีเสียชีวิตโดยรถจักรยานยนต์จะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายละ 250,000 บาท ซึ่ง ณ วันนี้มีผู้เสียชีวิตและมาขอรับเงินสินไหมทดแทนแล้วจำนวน 338 ราย เสียชีวิตเนื่องจากการเจ็บป่วย 309 ราย จากอุบัติเหตุทั่วไป 11 ราย จากรถจักรยานยนต์ 12 ราย และเสียชีวิตจากการฆาตกรรม จำนวน 6 ราย คิดเป็นวงเงินที่ทางบริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน จำนวน 20.9 ล้านบาท ซึ่งการชดเชยค่าสินไหมทดแทนจะได้รับภายใน 15 วัน นับจากวันที่บริษัทฯ ได้รับหลักฐานครบถ้วน

“จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มอบเงินค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทของเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวนทั้งสิ้น 6 ราย โดยจังหวัดกระบี่ มีจำนวน 3 ราย ได้แก่ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วไป จำนวน 1 ราย รับเงิน 530,000 บาท และเสียชีวิตจากโรคทั่วไป จำนวน 2 ราย รับเงินรายละ 30,000 บาท จังหวัดพัทลุง มีจำนวน 3 ราย โดยเสียชีวิตจากโรคทั่วไป รับเงิน 30,000 บาท เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ รับเงิน 280,000 บาท และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วไป รับเงิน 533,000 บาท”

คุณสัญชัย มัดดา วัย 41 ปี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “บังมัด” เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา อยู่บ้านเลขที่41/13 หมู่ที่ 7 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ใช้บริเวณบ้านเลี้ยงกุ้งฝอยนา ขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ มีรายได้หลักหมื่นต่อเดือน โดยส่งขายไปทั่วประเทศผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเขาได้เปิดเพจชื่อ นาวาฟาร์มกุ้งฝอย ไว้คอยบริการลูกค้า

คุณสัญชัย มัดดา (บังมัด) เล่าที่มาที่ไปของการเลี้ยงกุ้งฝอยนาให้ฟังว่า ได้แรงจูงใจมาจากคุณพ่อ เพราะตั้งแต่เด็กๆ ตอนอยู่ กทม. เห็นคุณพ่อเลี้ยงปลาสวยงามส่งขายตลาดนัดสวนจตุจักร มีรายได้ ซึ่งตอนนั้นก็ช่วยคุณพ่อเลี้ยงด้วย คุณพ่อจะสอนให้ทำทุกอย่าง จนกระทั่งมีความชอบสัตว์น้ำมาตั้งแต่เด็กๆ พอมาอยู่จังหวัดยะลา การเลี้ยงปลาสวยงามแบบคุณพ่ออาจจะมีปัญหาเรื่องการขนส่ง พี่ชายเลยแนะนำให้เลี้ยงกุ้งฝอย เนื่องจากมองว่ามีความรู้พื้นฐานเรื่องการเลี้ยงสัตว์น้ำอยู่แล้ว และไม่ต้องใช้เวลาดูแลมากนัก จึงเริ่มเลี้ยงเมื่อปีที่แล้ว โดยลงทุนครั้งแรก 3,000 บาท

หลายคนคงสงสัยว่า การเลี้ยงกุ้งฝอยแบบนี้ ใช้น้ำอะไร คุณสัญชัย แจกแจงว่า สามารถใช้ได้ทั้งน้ำบาดาลและน้ำประปา เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ไม่มีปัญหาเหมือนกับกุ้งชนิดอื่น ส่วนพันธุ์กุ้งหาได้ตามแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นตามท้องนา บึง คู คลอง ซึ่งเป็นกุ้งนาแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาเลี้ยง 6 เดือน ก็ขายเป็นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์ได้ แต่ถ้าเป็นกุ้งที่ใช้เป็นอาหารของคน แค่ 3 เดือน จับขายได้แล้ว

อย่างที่คุณสัญชัยเกริ่นไปแล้วว่า กุ้งฝอยเลี้ยงง่าย ขั้นตอนการเลี้ยงจึงไม่มีอะไรยุ่งยาก เริ่มจากการจัดเตรียมหาสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นรอบบ้าน หรือที่ดินว่างในสวน หลังจากนั้นให้ปรับสภาพที่ดิน แล้วจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้เลี้ยง สามารถใช้ได้หมด ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง ลังโฟม วงบ่อปูนซีเมนต์ บ่อพลาสติก หรือบ่อปูนซีเมนต์แบบก่อเอง ซึ่งถ้าเป็นบ่อประเภทปูนซีเมนต์ จะต้องแช่น้ำให้ค่าด่างของปูนซีเมนต์หมดเสียก่อน หลังจากนั้นปล่อยน้ำทิ้ง แล้วใส่น้ำเปล่าอีก 2 วัน ถึงเริ่มที่จะปล่อยแม่พันธุ์กุ้งได้เลย พร้อมกับหาสาหร่าย จอก แหน หรือผักตบชวา มาใส่ในบ่อเพื่อให้กุ้งใช้เป็นที่หลบอาศัย

ในแต่ละบ่อนั้น ควรเลี้ยงกุ้ง ประมาณ 100-150 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร ไม่เช่นนั้นกุ้งจะอยู่กันแน่นจนเกินไป ตอนนี้ที่บ้านของคุณสัญชัยเลี้ยงกุ้งฝอยในหลากหลายรูปแบบ มีทั้งบ่อแบบผ้ายาง ขนาด 2.5×3 เมตร สูง 50 เซนติเมตร จำนวน 1 บ่อ บ่อปูนซีเมนต์ ขนาด 3×7 เมตร สูง 80 เซนติเมตร 1 บ่อ บ่อวงปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร จำนวน 2 บ่อ บ่อล้อยาง 4 บ่อ และกำลังก่อบ่อปูนซีเมนต์ 2.5×3 เมตร สูง 80 เซนติเมตร 1 บ่อ ซึ่งแต่ละบ่อมีกุ้งเป็นหมื่นตัว ส่วนบ่อขนาดเล็กอย่างพวกล้อยางมีเป็นพันตัว

สำหรับอาหารกุ้ง คุณสัญชัย บอกว่า จากประสบการณ์ที่เลี้ยงมา 1 ปี อาหารที่ดีที่สุดคือ ข้าวสุก เพราะอาหารแบบอื่นที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ตแบบต่างๆ ลองมาหมดแล้ว แต่ปัญหาคือ น้ำเสียง่าย และจะมีปัญหากับกุ้งที่เลี้ยง ถึงขั้นเคยตายยกฟาร์มมาแล้ว ตอนนี้จึงให้แค่ข้าวสุกอย่างเดียว

ในแต่ละวันจะให้อาหารตอนเย็น หรือตอนกลางคืน ให้วันละ 1 ครั้ง โดยทำเป็นตะกร้าเล็กๆ ลอยอยู่กลางน้ำเป็นจุดๆ ในบ่อ แล้วนำข้าวสุกมาขยี้ที่ฝ่ามือให้แตกละเอียดนิดหน่อย ใส่ลงในตะกร้าที่อยู่ในน้ำเพียงอย่างเดียว ส่วนอาหารอื่นๆ สามารถให้ได้ เช่น อาหารปลาดุกสำเร็จรูป รำข้าว ไข่แดงต้มสุก ไรน้ำ ลูกน้ำ โรติเฟอร์ และปลาป่นเตือนระวัง ช่วงฝนตก

กับคำถามที่ว่า จะต้องเปลี่ยนน้ำหรือไม่นั้น เขาอธิบายว่า ต้องเปลี่ยนน้ำเมื่อน้ำเริ่มเปลี่ยนสี หรือเป็นตะกอนมากขึ้น โดยจะถ่ายน้ำออกจากก้นบ่อ ประมาณ 10% แล้วนำน้ำกลับเข้าไปในรูปแบบน้ำตก เป็นท่อ PVC ที่เจาะรูไว้

ในการเลี้ยง ช่วงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษคือ ช่วงที่ฝนตก โดยเฉพาะบ่อที่อยู่กลางแจ้ง ต้องดูน้ำไม่ให้ล้นเอ่อ และต้องคอยระวังกบที่จะมาไข่ในบ่อที่เลี้ยง เพราะลูกของกบจะกินกุ้ง

เจ้าของนาวาฟาร์มกุ้งฝอย ให้ข้อมูลอีกว่า ในส่วนของการผสมพันธุ์นั้น ไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ เน้นการเลี้ยงแบบอ้างอิงธรรมชาติ คือทำให้บ่อที่เลี้ยงเป็นเหมือนธรรมชาติมากที่สุด แล้วเลี้ยงแบบปล่อยรวม ไม่ได้แยกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

ส่วนวิธีการสังเกตเพศของกุ้งนั้น จะสังเกตว่ากุ้งเป็นตัวเมีย เมื่อมีหัวเป็นสีเขียว คือเริ่มติดไข่ หลังจากนั้น ประมาณ 1 สัปดาห์ ไข่จะลงมาอยู่ที่ท้อง หลังจากนั้น ประมาณ 3 สัปดาห์ ไข่ที่ท้องจะฟักเป็นตัวแล้วออกจากท้องแม่ไป

1 ปี ของการเลี้ยงกุ้งฝอย คุณสัญชัย ให้รายละเอียดว่า ปัญหาที่พบเป็นเรื่องน้ำ ถ้าควบคุมระบบน้ำไม่ดี จะทำให้บ่อน้ำเน่าเสีย ทำให้ลูกกุ้งอาจจะตายได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการขนส่งไปยังลูกค้า อันเกิดจากอากาศ ความร้อน และระยะเวลาในการขนส่ง ซึ่งเป็นปัญหามาก เนื่องจากยะลามีรถทัวร์แค่ 2 สาย คือ ยะลา-กทม. กับ ยะลา-ภูเก็ต