ด้านนายอรุษนวราช เจ้าของ รร.สามพรานริเวอร์ไซด์ จ.นครปฐม

กล่าวถึง การแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวให้ได้อย่างยั่งยืนว่า ต้องให้เกษตรกร หรือ กลุ่มเกษตรกรลุกขึ้นมาพึ่งพาตัวเองได้ พึ่งพากันเองในกลุ่มได้ และเกษตรกรต้องสวมหมวกขอนักธุรกิจด้วย เมื่อก่อนชาวนาต้องพึ่งพาสารเคมี ต้นทุนสูง สุขภาพแย่ กำหนดราคาเองไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับโรงสี แต่เมื่อเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ ทำปัจจัยการผลิตทำเอ ง ดูเรื่องช่องทางการขายเอง ขายสินค้าโดยตรงกับลูกค้าทุกระดับที่วางไว้ จึงตั้งราคาเองได้ ทำให้พวกเขาไม่ต้องพึ่งโรงสี ไม่ต้องพึ่งภาครัฐในเรื่องของการประกันราคาข้าว

โจทย์ใหญ่ที่ทำให้เกษตรหันมาพึ่งพาตัวเอง จึงเป็นโจทย์ที่ไม่จำเพาะเจาะจงแก้ปัญหาเรื่อง “ข้าว” เท่านั้น แต่เป็นโจทย์สำคัญของเกษตรกรกว่า 20 ล้านคนในประเทศ ทั้งนี้เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ นับเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินงานสอดคล้องกับหลักคิดที่พัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ที่ภาคเกษตรต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming เกษตรกรต้องมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและมีบทบาทเป็นผู้ประกอบการ

นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ภายในงานเสวนาดังกล่าวยังมีการบรรยายจาก ผศ.ดร.ศุภกิตต์ สายสุนทร รองหัวหน้าภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ที่ร่วมให้ข้อมูลเรื่อง “เครื่องต้นแบบสกัดน้ำมันรำข้าวและข้อจำกัดทางนโยบาย” และรศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผอ.สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บรรยายเรื่อง “โอกาสและความท้าทายของการรวมกลุ่ม/สหกรณ์ และข้อเสอนแนะเชิงนโยบาย”

นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ เผยว่า ความคืบหน้าการจัดสรรที่ดินทำกินแบบแปลงรวมให้แก่ผู้ยากไร้โดยไม่มีกรรมสิทธิ์ ตามนโยบายของรัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ว่า กรมป่าไม้ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน จัดสรรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมสภาพแล้ว 122 พื้นที่ 58 จังหวัด รวม 6.25 แสนไร่ จากเป้าหมายรวม 3.4 ล้านไร่ทั่วประเทศ โครงการที่ภูมิใจคือที่บ้านโสกแมว ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในพื้นที่ป่าสงวนฯ ป่าดงหมู เนื้อที่ 1,524 ไร่ ราษฎรได้รับการจัดที่ดิน 168 ราย โดยกระทรวงเกษตรฯ เข้าไปดำเนินการพัฒนาที่ดิน แหล่งน้ำและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎร ได้แก่ การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และส่งเสริมการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรโสกแมว จำกัด

ขณะที่กรมป่าไม้ได้เข้าไปดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ปลูกยางพารา จนราษฎรสามารถอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ของรัฐได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่งออกอาหารทะเลแปรรูป โตสวนกระแสเศรษฐกิจ “ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล” โตพรวด 20% เร่งปั๊มสินค้าป้อนตลาดญี่ปุ่น จีน และยุโรป หลังความต้องการทะลักจนผลิตไม่ทัน ยันกฎหมายแรงงานใหม่ไม่กระทบ กลับส่งผลดีไม่ถูกแย่งงาน มั่นใจสิ้นปีมูลค่าส่งออกทะลุ 1,500 ล้านบาท

นายบุญชู ศัยศักดิ์พงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้สถานการณ์ส่งออกอาหารทะเลสำเร็จรูปแช่แข็ง ทั้งแบบสดและปิ้งย่าง กำลังมีการขยายตัวและเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั่วไปจะดูชะลอตัวลงไปบ้าง แต่การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งยังเติบโตและมีทิศทางการขยายตัวไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศยังมีมาก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ที่ส่งออกไปจำหน่ายถึง 80% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาประเทศจีน 15% ที่เหลืออีก 5% ส่งไปประเทศในยุโรป

นายบุญชู กล่าวอีกว่า สำหรับวัตถุดิบที่นำมาป้อนโรงงานนั้น ถือว่ามีปริมาณที่เพียงพอ มีการนำเข้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยมีวัตถุดิบหลักๆ 3 ชนิด คือ ปลาแซลมอน ปลาซาบะ นำเข้าจากประเทศชิลี นอร์เวย์ รัสเซีย และญี่ปุ่น และกุ้งไทย ที่สั่งซื้อภายในประเทศ ปัจจุบันกำลังการผลิตปลาแซลมอนประมาณ 2,000 ตันต่อปี ปลาซาบะประมาณ 1,000 ตันต่อปี ปลาอื่นๆ 1,000 ตันต่อปี และกุ้งประมาณ 1,000 ตันต่อปี ทั้งนี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 100% จากเดิมที่ผลิตอยู่ในอีกประมาณ 2-3 ปีข้างหน้านี้

“สินค้าเราส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ส่งออกเกือบทั้งหมด ขณะนี้ถือว่ากำลังมีการเติบโตในระดับที่ดี โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปีนี้ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกทั้งหมดไว้ที่ 1,500 ล้านบาท และเมื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเต็มกำลังจะสามารถสร้างมูลค่าการส่งออกได้กว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้บริษัทมีแรงงานมากกว่า 1,500 คน โดยส่วนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่นำเข้าด้วยการทำ MOU กับประเทศต้นสังกัดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้ก็ไม่มีปัญหาการขาดแคลนแรงงานแต่อย่างใด” นายบุญชู กล่าว

นายบุญชู กล่าวว่า ด้านแรงงานนั้นบริษัทมีการวางแผนล่วงหน้าไว้แล้ว ทำให้ไม่มีปัญหาแน่นอน ส่วนกฎหมายแรงงานใหม่ที่ออกมาไม่ส่งผลกระทบต่อแรงงาน กลับกันมองว่าส่งผลดีด้วยซ้ำ เนื่องจากไม่มีการแย่งแรงงานจากบริษัทอื่นๆ ทำให้มั่นใจว่าจะสามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายทุกอย่างที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเป้าหมายด้านมูลค่าการส่งออกปีนี้จะสามารถทำยอดได้เกินเป้า เนื่องจากครึ่งปีผ่านไปมีมูลค่าเกินกว่าครึ่งของเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่แล้ว

“มั่นใจว่าตลาดส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งจะยังคงสดใส เนื่องจากความต้องการสูงมาก โดยเฉพาะญี่ปุ่น ขณะนี้ตลาดมีความต้องการมาก ที่เราส่งออกไปจำหน่ายยังถือว่าเพียงเล็กน้อยของความต้องการเท่านั้น ทำให้ขณะนี้ผลิตออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งนี่คือปัญหาที่เป็นสาเหตุสำคัญที่เราต้องเร่งเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้”

นายมงคล พวงทอง ชาวบ้านข่วงเปาใต้ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง พ่อค้าลำไย เผยว่า ช่วงนี้ลำไยในฤดูของจังหวัดเชียงใหม่ กำลังออกสู่ท้องตลาดโดยมีนายทุนชาวจีนเปิดล้งรับซื้อลำไยสดซึ่งต้องใส่ตะกร้ารวมน้ำหนัก 12 กิโลกรัม สถานการณ์ราคาลำไยตอนนี้ราคาถูกมากเฉลี่ย กิโลกรัมละ 15 บาท ต้นเดือนจะเป็นราคานอกฤดูราคาจะอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50-60 บาท ต้องนำคนงานเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ได้มากที่สุดเนื่องจากราคาอาจจะลดลงมากไปกว่านี้ ประกอบกับผลผลิตเริ่มสุกเต็มที่และร่วง ต้องใช้คนงานรวมกว่า 20 คน เก็บเกี่ยวผลผลิตให้เร็วที่สุด จ้างเหมาใส่ตะกร้าลำไยเป็นคู่ 2 คน ตกตะกร้าละ 55 บาท แทนการจ้างเหมาเป็นรายวันเนื่องจากจะได้ผลผลิตน้อย โดยก่อนที่ผลผลิตลำไยจะสุกติดต่อซื้อลำไยเหมายกสวน จากเจ้าของสวนเนื่องจากเจ้าของสวนบอกว่าต้นทุนในการเก็บเกี่ยวลำไยค่อนข้างสูง ทั้งค่าขนส่ง ค่าแรงคนงาน และอาจจะเก็บไม่ทัน หากเก็บผลผลิตเองจะขาดทุนอย่างแน่นอน

สถานการณ์ราคาลำไยแบบใส่ตะกร้า ซึ่งเป็นลำไยรับประทานสด ราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 22 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนราคาต่ำสุดอยู่ที่ 6-7 บาท ต่อกิโลกรัม แล้วแต่ขนาด ราคาเฉลี่ยลำไยทั้งตะกร้า 12 กิโลกรัม จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาท ราคาตกลงมาอย่างมาก จากช่วงต้นเดือนที่เป็นลำไยนอกฤดูซื้อขายกันที่ กิโลกรัมละ 50-60 บาท ส่วนราคาลำไยร่วง ส่วนใหญ่จะมีการนำไปแปรูรูปเป็นลำไยอบแห้ง ราคาที่เกรด AA ราคากิโลกรัมละ 17 บาท A 12 บาท B 7 บาท และถูกสุดเกรด C กิโลกรัมละ 2 บาท ทั้งนี้ ราคาลำไยที่พอจะให้ชาวสวนและพ่อค้าอยู่ได้ประมาณ 30 บาท ต่อกิโลกรัม หากสถานการณ์ราคาลำไยตกลงต่อเนื่อง คาดว่าคงมีการคืนเงินค่ามัดจำซื้อลำไยกับชาวสวน เนื่องจากต้นทุนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตค่อนข้างสูง ถ้าพื้นที่ไกล ค่าขนส่งสูงและต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้คนงานที่ขนส่งลำไยไปที่ล้งรับซื้อ

กรมการค้าภายใน ชง ครม. เคาะมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์รอบใหม่ ปี’61-63 ยึดกรอบเดิมตาม ปี’58-60 ตามความต้องการอาหารสัตว์เพิ่ม 4.5%

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเข้ามาว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน ประชุมพิจารณาแนวทางการกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2561-2563 เฉพาะในวัตถุดิบอาหารสัตว์ 3 รายการ ได้แก่ กากถั่วเหลือง ข้าวโพด ปลาป่น เบื้องต้น สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าวต่างให้ความเห็นตรงกันว่า ผลผลิตข้าวโพด กากถั่วเหลือง ปลาป่น ในประเทศมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องนำเข้าและได้เสนอให้ “คงมาตรการอัตราภาษี และเงื่อนไขการนำเข้า” เช่นเดียวกับแผนเดิม ปี 2558-2560 หลังจากนี้จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบต่อไป

ทั้งนี้ สาระสำคัญของมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ใหม่จะประกอบไปด้วย 1) กากถั่วเหลือง ให้นำเข้าตามกรอบความตกลง WTO มีภาษีในโควต้าอัตรา 2% และนอกโควต้า 119% สำหรับใช้ในการผลิตอาหารสัตว์เท่านั้น โดยมีผู้มีสิทธิ์นำเข้าจำนวน 11 ราย แต่มีเงื่อนไขให้ผู้นำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วในประเทศทั้งหมด ส่วนการนำเข้าตามกรอบ FTA ฉบับอื่น เช่น AFTA, FTA ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, ไทย-ญี่ปุ่น ภาษีในโควต้า 0% นอกโควต้า 119% FTA อาเซียน-เกาหลี ในโควต้า 1.11% นอกโควต้า 119% และประเทศที่ไม่มี FTA ภาษีนำเข้า 6% ค่าธรรมเนียมอีก ตันละ 2,519 บาท จากสถิติล่าสุดในปี 2559 ไทยนำเข้ากากถั่วเหลือง 1.4-1.5 ล้านตัน จากบราซิล 57% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมด รองลงมา สหรัฐ, อาร์เจนตินา ส่วนกากถั่วเหลืองภายในประเทศมีปริมาณ 110,000-140,000 ตัน

2) สินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กำหนดให้ องค์การคลังสินค้า (อคส.) เป็นผู้นำเข้าข้าวโพดในโควตาแต่เพียงผู้เดียว อัตราภาษี WTO ในโควตา 20% นอกโควต้า 73% ปริมาณ 54,700 ตัน จาก FTA ออสเตรเลีย ภาษีในโควต้า 4% และนอกโควต้า 65.70% ปริมาณ 9,823.33 ตัน FTA ไทย-ญี่ปุ่น FTA อาเซียน-เกาหลี, กรอบ AFTA ภาษีในโควต้า 0% นอกโควต้า 73% FTA อาเซียน-ญี่ปุ่น ภาษีในโควต้า 3.6% นอกโควต้า 73% และประเทศที่ไม่มี FTA ภาษี 2.75 บาท ต่อ กิโลกรัม และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 1,000 บาท โดยในปี 2559 ไทยนำเข้า 125,000 ตัน และช่วง 5 เดือน

(มกราคม-พฤษภาคม) ปี 2560 ปริมาณ 24,000 ตัน และ 3) สินค้าปลาป่น กำหนดอัตราภาษีตามกรอบ AFTA และ FTA ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ FTA ญี่ปุ่น FTA อาเซียน-จีน และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อัตราเป็น 0% ขณะที่ FTA อาเซียน-เกาหลีมีอัตราภาษี 5% ส่วนการนำเข้าโดยทั่วไป ถ้าเป็นปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป ภาษี 15% และโปรตีน 60% ลงมาภาษี 6% นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ได้รายงานแนวโน้มความต้องการอาหารสัตว์ปี 2561 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น 4.5% จากปี 2560 แต่การผลิตวัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศ “ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ” ดังนั้น จึงต้องยังคงมาตรการนำเข้าวัตถุดิบ พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อผลผลิตภายในประเทศเช่นเดิม แต่เกษตรกรต้องมีเอกสารสิทธิในที่ดินและไม่มีการรุกป่าเท่านั้น

“ไม่มีการหารือเรื่องข้าวสาลี และ กากข้าวสาลี (DDGS) ในชุดนี้ แต่ทุกภาคส่วนควรคำนึงถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าปศุสัตว์ไทยในตลาดโลก หากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์สูงจะทำให้ไทยแข่งขันได้ยาก ทุกคนต้องมองภาพรวมไม่ใช่หวังผลกำไร”

แหล่งข่าวจากวงการค้าพืชไร่ระบุว่า กลุ่มค้าพืชไร่ได้พยายามเสนอภาครัฐทบทวน “ยกเลิกไม่ให้มีการนำเข้าข้าวสาลี” หรือหากต้องมีการนำเข้าก็เสนอให้ขึ้นภาษีนำเข้าข้าวสาลีอัตรา 27% ตามที่ผูกพันไว้กับ WTO และเพิ่มความเข้มงวดในการดูแล DDGS มาโดยตลอด แต่รัฐบาล “ยังคง” การกำหนดสัดส่วน 3 ต่อ 1 ไว้เหมือนเดิมและยังจะขึ้นทะเบียนพ่อค้าอีก “หากประเด็นนี้ไม่ได้ข้อสรุปจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างแน่นอน”

นายเลอพงษ์ จั่นทอง รองประธานสหกรณ์เกลือกรุงเทพฯ (สหกรณ์เกลือโคกขาม) ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีปัญหาราคาเกลือตกต่ำมาก เกวียนละ 500-600 บาท เนื่องจากเกลือล้นตลาด ล่าสุดราคาดีขึ้น สามารถขายกันในราคาเฉลี่ยเกวียนละ 1,700-2,000 บาท ตั้งแต่มีโครงการกองทุนกู้ยืมช่วยเหลือชาวนาเกลือ หรือโครงการรับจำนำพยุงราคาในช่วงเกลือตกต่ำเข้ามา ซึ่งสหกรณ์กรุงเทพฯฝากขอบคุณรัฐบาล

“แม้ราคาดีดตัวสูงขึ้น แต่มีปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน แม้มีแสงแดดของหน้าร้อนแต่มีฝนตกบ่อยมาก เป็นเหตุให้ปริมาณการผลิตเกลือในฤดูร้อนปีนี้น้อยมากเป็นประวัติการณ์ โดยลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 45% โดยปี 2557 ผลิตได้เกลือ 280 เกวียน, ปี 2558 ผลิตได้ 310 เกวียน และ ปี 2559 จำนวน 250 เกวียน แต่ปี 2560 ได้ 140 เกวียน ขณะที่เกษตรกรชาวนาเกลือที่สหกรณ์ดูแลเดิมมีประมาณ 150 ราย ปัจจุบันเหลือเพียง 28 ราย ถือว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม หลังมีโครงการรณรงค์ส่งเสริมเดินหน้าแปรรูปเพิ่มมูลค่ารายได้ของผลผลิตรูปเกลือป่นแก่เกษตรกร ทำให้เป็นสินค้าต่างๆ ขายทั้งในและนอกพื้นที่ และมีผู้สนใจเดินทางมาดูงานสหกรณ์นาเกลือโคกขามจำนวนมาก

เป็นวังวนไม่รู้จบกับปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และผันผวน โดยเฉพาะยางพารา ที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ คอมโมดิตี้ (Commodities) ที่นอกจากจะขึ้นอยู่กับหลักดีมานด์ ซัพพลายแล้ว ยังมีปัจจัยตลาดซื้อขายล่วงหน้า ทำให้วันนี้ราคายางพาราตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอน คือ เกษตรกรชาวสวนยางไม่มีหนทางต่อรองได้เลย

เรื่องนี้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายต่างเร่งหาทางออก โดยปีงบประมาณ 2560 รัฐบาลได้เดินหน้าส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐ 9 หน่วยงาน ใช้ยางในประเทศ 2.5 หมื่นตัน หวังลดปริมาณยางเพื่อให้ราคาขยับสูงขึ้น ขณะที่นักวิชาการบางส่วนเร่งให้ความรู้เกษตรกรเรื่องการแปรรูป เพราะเป็นอีกหนทางที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการ เกษตรกร เริ่มขยับหันมาแปรรูปมากขึ้น “ประชาชาติธุรกิจ” รวบรวมบางผลิตภัณฑ์ที่นำมาโชว์ในงานวันสถาปนาการยางแห่งประเทศไทยก้าวสู่ปีที่ 3 มานำเสนอ
ต่อยอดเอกลักษณ์ชุมชน

“จำเนียร นนทะวงษ์” ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจแนวคิดใหม่ในอาเซียน จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ผลิตไส้รองเท้าที่ใช้ไม้ตะกูบดผสมยางพารา กล่าวว่า ได้ไอเดียมาจากรองเท้ายี่ห้อดังที่ขายราคาคู่ละ 3-4 พันบาท แต่ดัดแปลงจากการใช้ไม้ก๊อกมาเป็นไม้ตะกูที่มีปลูกในพื้นที่ โดยมีคุณสมบัติคล้ายกันเรื่องความเบา ขั้นตอนของการผลิต คือ จะใช้ยางแผ่นหรือยางเครปที่รับซื้อในจังหวัดศรีสะเกษ มาผสมกับไม้ตะกูบด โดยแบ่งเป็นสัดส่วนยางพารา 80% ไม้ตะกู 20% และมีส่วนผสมของสารเคมีเล็กน้อย

จากนั้นนำไปประกอบกับชิ้นส่วนอื่นๆ ที่กระจายงานให้กลุ่มซึ่งมีสมาชิกประมาณ 400-500 คน จาก 6 จังหวัด อาทิ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สุรินทร์ โดยแบ่งหน้าที่กันทั้งสายการผลิต ตั้งแต่พื้นรองเท้า ทอผ้าลวดลายอีสาน เย็บผ้า ทุกอย่างเป็นแฮนด์เมด ดังนั้นตลาดจึงยังแข่งขันไม่สูง

จำเนียร บอกว่า คุณสมบัติไส้รองเท้าที่ใช้ไม้ตะกูบดผสมกับยางพารา คือ ความทนทาน และมีความนุ่ม เมื่อนำมาประกอบเป็นรองเท้า จำหน่ายราคาคู่ละ 199 บาท ปัจจุบันมีกำลังการผลิตวันละ 300 คู่ อาจเพิ่มเป็นวันละ 1,000 คู่ โดยรองเท้าคู่หนึ่งใช้ยาง 2 ขีด สำหรับปัญหาราคายาง หากราคาขึ้นก็จะกระทบนิดหน่อย แต่สามารถซื้อได้ เพราะนำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าอยู่แล้ว

“ตลาดคือกลุ่มวัยรุ่นทั่วประเทศ รวมถึงการส่งออกไปกัมพูชามาแล้วครั้งหนึ่งขายดีมาก และตั้งจะไปมาเลเซีย ล่าสุดจีนมาติดต่อ ตอนนี้เราใช้ชื่อแบรนด์ OTOP แต่เราจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่ ใช้แบรนด์ KMY handmade @ Thailand”

ชูคุณภาพสู้หมอนยางจีน

“วีรอนันต์ เกิดสุข” ผู้จัดการ หจก.วี.อาร์.เค และเจ้าของแบรนด์กระบี่ลาเท็กซ์ บริษัทแปรรูปยางแห่งแรกในกระบี่ กล่าวว่า เรียนจบจากภาควิชาเทคโนโลยียาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนตั้งแต่การแปรรูปยาง รวมถึงการเขียนสูตร และออกแบบผลิตภัณฑ์ จากนั้นทำงานที่บริษัทแปรรูปยางสั่งสมประสบการณ์ จนมีกิจการเล็กๆ ของตัวเอง ผลิตหมอนยางพารา ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องจักร และอื่นๆ ตามออเดอร์

สำหรับหมอนยางพารานั้นจะส่งออกจีนทั้งหมด segerpark.net กำลังการผลิตอยู่ที่ 2,000-3,000 ใบ/เดือน ใช้ยางเดือนละประมาณ 5 ตัน ส่วนอุปกรณ์ชนิดอื่นจะเป็นการรับจ้างผลิต OEM โดยสินค้าที่จำหน่ายในจังหวัดกระบี่จะใช้แบรนด์กระบี่ลาเท็กซ์ ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกจะใช้แบรนด์ของลูกค้า โดยจุดเด่นคือ การใช้ยางพาราแท้ 100% ทำให้มีความทนทาน ไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถซักได้ ไม่ยุ่ย โดยสูตรผลิตภัณฑ์เรามีใบรับรองจากมหาวิทยาลัยมหิดล

จากความนิยมหมอนยางทำให้เริ่มมีสินค้าเกรดจีนไม่ใช่ยางแท้เข้ามาตีตลาด จนเกิดปัญหาความเชื่อมั่น อย่างไรก็ตามเจ้าของกระบี่ลาเท็กซ์ได้อธิบายความแตกต่าง เพราะหมอนที่ไม่ได้ทำจากยางแท้ 100% มีการผสมสารเคมี แม้คุณสมบัติจะทำให้ผลิตภัณฑ์เข้ารูปสวยงาม แต่ไม่ทนทาน มีกลิ่นเหม็น ไม่เด้งกลับ อายุการใช้งานน้อย ขณะที่คุณสมบัติของยางพารา 100% นั้นเหนือกว่ามาก ทำให้ลูกค้ายังเชื่อมั่นทำสัญญาซื้อขายกันอยู่

เติมดีไซน์-ฟังก์ชั่นล้ำเพิ่มมูลค่า

“ธีรพล อัตรทิวา” ดีไซเนอร์และไดเร็กเตอร์ ผู้ผลิตกระเป๋าจากยางพาราแบรนด์ least studio กล่าวว่า ในฐานะสถาปนิกมีแนวคิดจะทำแผ่นรองกรีดจากยางพารา โดยให้เอกชนทำวิจัยพัฒนาต่อเนื่องจนสำเร็จ คุณสมบัติเด่น คือ แข็งแรง ทนทาน กรีดไม่ขาด นุ่ม บางเบา และ ทนความร้อนได้ จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นไลฟ์สไตล์โปรดักต์ต่างๆ ได้แก่ กระเป๋า ของใช้งาน คอลเล็กชั่นแรก คือ คัตติ้ง แมทช์ (cutting match) ล่าสุดรับรางวัลดีมาร์ค อวอร์ด ของกระทรวงพาณิชย์

“ผมมองว่าวัสดุยางพาราเป็นข้อโดดเด่นอย่างหนึ่ง แต่ถ้าข้อโดดเด่นนี้ไม่ถูกประกอบกับการดีไซน์ และฟังก์ชั่นที่ดี ก็จะไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค” ปัจจุบัน สินค้าของ least studio โดยเฉพาะกระเป๋า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี สแกนดิเนเวีย เนื่องจากชาวต่างชาติจะชอบเรื่องของแนวคิด และ วัสดุ โดยตลาดส่งออกทำเองทั้งหมด กำลังการผลิตอยู่ที่ 2,000-5,000 ใบ/เดือน ราคาสินค้าอยู่ระหว่าง 400-5,000 บาท ทั้งนี้มีแพลนในการขยายรูปแบบของโปรดักต์ต่างๆ ให้หลากหลาย ปลายปีหน้าอาจจะทำของใช้ในบ้าน โดยเป็นการมิกซ์กับวัสดุอื่นๆ เช่น เซรามิก ไม้ เป็นต้น

“ตลาดตอนนี้เราทำ 2 ส่วน ทั้งออนไลน์ ที่จะให้ข้อมูลของวัสดุ และไลฟ์สไตล์ และออฟไลน์ ซึ่งมีวางจำหน่ายในเครือสยาม เช่น สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และซีเล็กช็อปต่างๆ รวมถึงการออกจำหน่ายในอีเวนต์ต่างๆ” ด้านประธานกลุ่มพัฒนาชุมชนเอื้ออาทรบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ “นริศราวรรณ กุนอก” ผู้ผลิตเครื่องประดับดินสอพองผสมยางพารา กล่าวว่า เริ่มแรกผลิตดอกไม้ประดิษฐ์จากดิน แต่ยังมีข้อด้อย คือ เมื่อโดนน้ำจะละลาย จึงมองหาวัสดุอื่นที่จะใช้แทนกาว จนกระทั่งเมื่อ 2 ปีก่อนมาใช้ยางพารา แต่ก็ยังเกิดปัญหาเรื่องกลิ่น จึงนำสีธรรมชาติมาใช้แทนสีน้ำมัน เช่น ใบเตยแทนสีเขียว

อัญชันแทนสีม่วง เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นยางได้อย่างดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มในเรื่องของความเงาแทนแล็กเกอร์ด้วย เพื่อประโยชน์ของกลุ่มขณะนี้ได้จดทรัพย์สินทางปัญญาไว้มีระยะเวลา 20 ปี