ด้าน คุณณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ รองอธิบดีกรมการข้าว

ข้าวสาลี ธัญพืชเมืองหนาว มีบทบาทต่อคนในสังคมไทยในปัจจุบันมาก เพราะใช้เวลาในการปรุงน้อย แต่ให้คุณค่าทางอาหารสูง อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นของข้าวสาลี ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปเป็นน้ำคั้นจากต้นอ่อน แปรรูปเป็นขนมปัง หรือแม้กระทั่งนำช่อข้าวสาลีมาทำช่อดอกไม้ รวมไปถึงการใช้ฟางมาทำหลอดดูดน้ำ หรืออาหารสัตว์

จึงทำให้ข้าวสาลีเป็นที่นิยมทางด้านการตลาดของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาข้าวสาลีและธัญพืชเมืองหนาวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น นิทรรศการด้านเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมสำหรับการปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน นิทรรศการด้านการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ นิทรรศการด้านเมล็ดพันธุ์และวิทยาการเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

การจัดกิจกรรม “กาดมั่ว คัวฮอม” สาธิต/แสดง/ชิม/จำหน่ายข้าวสาลีและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากธัญพืชเมืองหนาว การจัดทำคู่มือการผลิตธัญพืชเมืองหนาวที่เหมาะสมสำหรับภาคเหนือตอนบน และการจัดทำคู่มือการผลิตและแปรรูปน้ำคั้นต้นอ่อนข้าวสาลี (wheat grass)

นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและเกษตรกรนาแปลงใหญ่ให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับของตลาดข้าวสาลีไทยที่ในอนาคตที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น โดยมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาให้ความร่วมมือ ไม่ใช่เพียงหวังแต่ให้ผลผลิตมีคุณภาพดี แต่เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจอีกด้วย

ในเมื่อเศษอาหารประจำวันที่ดูจะเพิ่มขึ้นทุกวัน กลายเป็นปัญหาปวดหัวของสังคม ทิ้งอย่างไร กำจัดอย่างไรก็ไม่รู้จักหมดสิ้น คงต้องใช้วิธีแบบเกลือจิ้มเกลือด้วยการนำเศษอาหารที่เป็นขยะประจำวันมาแปรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยใช้ปลูกพืชซะเลย งานนี้ประหยัดค่าปุ๋ย แถมได้พืชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทานในบ้านอีกด้วย…

การเปลี่ยนเศษอาหารมาเป็นปุ๋ยให้พืชเป็นหนึ่งในอีกหลายแนวคิดของ คุณสุทน แสนตันเจริญ หนุ่มราชบุรีดีกรีช่างไฟฟ้าจากเทคนิคราชบุรี ที่หันมาเอาดีทางงานพัฒนาชุมชนและสังคม สังกัด SCG

งานที่คุณสุทนทำคือลงพื้นที่เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมด้านต่างๆ ในขณะทำงานหากพบว่าชาวบ้านมีปัญหาอะไรที่แก้ไขไม่ได้ในทางเทคนิค คุณสุทนจะนำปัญหานั้นมาคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือ/อุปกรณ์ เพื่อช่วยเหลือหาทางออกเพื่อตอบโจทย์ปัญหาให้เกษตรกรแต่ละแห่ง แล้วอุปกรณ์เหล่านั้นจะออกแบบง่ายๆ สามารถนำสิ่งของใกล้ตัวในชุมชนมาประดิษฐ์ ตามแบบอย่างจากต้นแบบของคุณสุทน เน้นความประหยัด ใช้งานได้จริง

“ตัวอย่างเช่น ถ้าขยะเป็นปัญหาของชุมชน ก็จะออกแบบถังขยะที่สามารถแปรรูปเป็นปุ๋ยโดยไม่มีกลิ่นเพื่อนำไปใช้บำรุงต้นไม้ หรือบางชุมชน หมู่บ้านที่มีพื้นที่น้อยอยากปลูกต้นไม้ก็จะออกแบบกระถางที่สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดแล้วไม่ต้องรดน้ำบ่อย ทำให้ประหยัดพื้นที่ ประหยัดน้ำ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ต้องคิดค้นนวัตกรรมเพื่อตอบสนองปัญหาของชุมชน ภายใต้หลักคิดคือ ต้องประหยัดพื้นที่ ประหยัดน้ำ สามารถทำให้พืชผักเจริญงอกงามดีอย่างมีคุณภาพ”

งานชิ้นแรกเกิดจากเมื่อครั้งลงพื้นที่ชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นช่วงที่ชาวบ้านประสบปัญหาน้ำท่วม อาหารมีแต่เนื้อสัตว์ ไม่มีผักเพราะน้ำท่วม จึงคิดค้นกระป๋องปลูกต้นไม้ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ใช้ชื่อว่า “กระถางปลูกพืชประหยัดน้ำ” เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาในเบื้องต้นได้ระดับหนึ่ง หรืออีกแห่งที่สระบุรี แถวแก่งคอย พบว่าเป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำ มีน้ำน้อยปลูกพืชในครัวเรือนไม่ค่อยได้ผล ก็ไปถ่ายทอดวิธีประดิษฐ์กระป๋องปลูกพืชประหยัดน้ำแบบเดียวกันนี้ให้แก่ชุมชน ทำให้ชาวบ้านมีพืชผักบริโภคได้ทั้งปีแม้จะน้ำน้อยก็ตาม

เมื่อกระถางปลูกพืชประหยัดน้ำเป็นนวัตกรรมชิ้นแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างดี คุณสุทนไม่รอช้าที่จะพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงเพิ่มฟังก์ชั่นให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเพื่อตอบสนองปัญหามากขึ้น อย่างแกลลอนใส่น้ำสีขาวขุ่นที่เก่ามากแล้วใช้งานไม่ได้ก็สามารถนำกลับมาใช้ประดิษฐ์เป็นกระถางประหยัดน้ำสำหรับปลูกต้นไม้ เพียงตัดส่วนด้านบนออกไม่ทิ้ง หงายขึ้นให้รูปากถังอยู่ด้านล่างต่อท่อระบายน้ำเชื่อมกันใช้ทำเป็นที่ปลูกต้นไม้อีกชั้น เรียกว่า “กระถางลูกหนูสู้ภัยแล้ง” สามารถปลูกพืชผักได้สองชั้น รดน้ำครั้งเดียวได้ถึงสองชั้น ช่วยประหยัดน้ำ

ต่อมามองว่ากระป๋องหิ้วพลาสติกเก่าซึ่งมีกันเกือบทุกบ้านที่ไม่ใช้งานแล้ว ควรนำมาสร้างประโยชน์ด้วยการออกแบบเป็นกระถางปลูกผัก โดยเสียบขวดพลาสติกเล็กไว้กลางกระป๋องสำหรับเป็นกลไกการกลั่นไอน้ำให้พืช จึงตั้งชื่อว่า “กระถางไอน้ำหมุนเวียน” เป็นงานคิดค้นที่แทบไม่ต้องใช้น้ำรดต้นไม้ เพราะพืชได้น้ำจากไอที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

อีกชิ้นงานคือ “กระถางแคปซูลเพาะพืชประหยัดน้ำ” ที่ใช้เพียงขวดน้ำพลาสติกทั่วไปจะเป็นขวดใหญ่หรือเล็กก็ได้ เหมาะกับการใช้ปลูกพืชเป็นชิ้นงานที่ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก เด็กๆ สามารถทำได้ โดยชิ้นงานกระถางไอน้ำหมุนเวียนและกระถางแคปซูลเพาะพืชประหยัดน้ำ ช่วยตอบโจทย์ให้แก่เด็กและเยาวชนที่สามารถผลิตเองได้ง่าย

คุณสุทน พบว่าชุมชนเมืองมีปัญหาเรื่องขยะ โดยเฉพาะเศษอาหารจำนวนมาก ที่ผ่านมานิยมใช้น้ำหมักเพื่อย่อยสลายเศษอาหาร แต่พบว่าบางชนิดมีกลิ่นแรง ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อมอย่างในชุมชนเมือง ดังนั้น จึงคิดค้นอุปกรณ์เพื่อย่อยสลายขยะเหล่านั้นแล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ในชื่อ “ถังย่อยสลายขยะอินทรีย์” ซึ่งถังย่อยสลายขยะอินทรีย์จะต้องทำงานควบคู่ไปกับกลไกที่เรียกว่า “สี่สหาย” ที่ประกอบด้วยถังย่อย ถังแยกเศษอาหาร ถังรับน้ำ และถังเก็บน้ำ ประโยชน์ของถังย่อยสลายขยะอินทรีย์จะช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือนให้เป็นปุ๋ยตามธรรมชาติที่เป็นอาหารของต้นไม้ที่ปลูกไว้

อย่างไรก็ตาม ถังย่อยสลายขยะอินทรีย์ ยังคงมีจุดที่ต้องแก้ไข เพราะยังมีกลิ่นเล็ดลอดออกมาบ้าง ดังนั้น เพื่อกำจัดให้กลิ่นหมดไปควรมีกลไกโดยใช้ความร้อนจากแสงแดดสร้างการหมุนเวียนเพื่อช่วยกำจัดกลิ่น จึงนำมาสู่งานชิ้นที่ชื่อ “ถังหมักดักกลิ่น” ซึ่งเป็นผลงานสุดฮ็อตที่ได้รับความนิยมมาก

“เนื่องจากแต่เดิมอาหารที่อยู่ในถังจะส่งกลิ่นรบกวน ดังนั้น ใช้ขวดพลาสติกเสียบตรงฝาถังแล้วต่อเข้ากับขวดพลาสติกด้านข้างเพื่อดึงก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มาที่ขวดแล้วใช้ออกซิเจนจากน้ำที่ระเหยมากำจัดซัลเฟอร์ให้น้ำมีความเป็นกรดเพื่อกำจัดกลิ่นให้หายไป แล้วยังไปช่วยย่อยเศษอาหารด้วย ถือเป็นงานต้นแบบล่าสุดที่คิดค้น”

อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่ใช้ถังย่อยสลายขยะอินทรีย์อยู่ก็เพิ่มกลไกด้วยการใส่ขวดพลาสติกเข้าไปเพื่อช่วยดับกลิ่น โดยไม่จำเป็นต้องผลิตถังหมักดักกลิ่น ยกเว้นใครที่ยังไม่เคยใช้ก็ให้ผลิตถังหมักดักกลิ่น สำหรับวัสดุที่ใช้ผลิตถังหมักดักกลิ่นจะใช้อ่างพลาสติกขนาด 1 เมตร หรือหากบ้านใครมีพื้นที่เหลือก็สามารถใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบ่อขนาด 1.5 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วให้ใส่หินอิฐ เศษใบไม้แล้วกลบด้วยดินครึ่งหนึ่ง แล้วจะปลูกพืชอะไรก็ได้ โดยแต่ละวันให้นำเศษอาหารเหลือทิ้ง (ควรเป็นเศษอาหารที่ไม่มีน้ำปน) ใส่ลงในถังแล้วปิดฝา โดยพื้นที่บริเวณรอบถังจะปลูกพืชอะไรก็ได้ ทั้งนี้ บางรายอาจนำไส้เดือนใส่ลงไปที่ปลูกพืชเพื่อช่วยให้กระบวนการย่อยสมบูรณ์โดยเร็ว อีกทั้งมูลไส้เดือนยังเป็นปุ๋ยได้อีก

คุณสุทน ชี้ว่า นวัตกรรมที่ผลิตขึ้นมีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของคนในชุมชน ครัวเรือน ทำให้ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยใส่พืชผัก เพียงนำเศษอาหารที่เหลือใช้ในแต่ละวันมาสร้างประโยชน์เป็นปุ๋ยตามธรรมชาติเพื่อเป็นอาหารให้พืช ถือเป็นแนวคิดเล็กๆ ที่มีคุณค่าในความยิ่งใหญ่เพื่อช่วยเหลือสังคม

คุณสุทน เป็นเพียงผู้คิดค้นแล้วผลิตชิ้นงานต้นแบบขึ้นมาก่อน จากนั้นจะต้องนำไปทดสอบหลายครั้งเพื่อให้มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพ จึงค่อยนำไปถ่ายทอดเผยแพร่ให้สาธารณชนต่อไป จึงไม่ได้ผลิตขาย แต่ถ้าสนใจจะลองทำเองก็ขอคำแนะนำได้ หรือหากต้องการซื้อแบบที่สำเร็จรูปทางคุณสุทนจะแนะนำกลุ่มต่างๆ ที่ผลิตขายให้ไปติดต่อกันเอง

อ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นพันธุ์อ้อยคั้นน้ำ ที่ได้จากการผสมสายพันธุ์ของอ้อยพันธุ์ SP074 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี 2533 เสร็จสิ้นการทดลอง ในปี 2539 ลักษณะประจำพันธุ์ มีใบขนาดใหญ่ ปลายใบโค้ง ลำต้นมีสีเขียวอมเหลือง ปล้องมีรูปร่างทรงกระบอก ค่อนข้างยาว ไม่มีร่องเหนือตา ตามีรูปร่างกลม มีวงเจริญสีเหลืองและนูน ข้อโปน แตกกอดี เจริญเติบโตเร็ว ข้อมูลดังกล่าว อ้างอิงมาจากศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี

คุณสมร รัตนะชัย (คุณหมอน) อายุ 47 ปี บ้านบ่อคู่ 10/3 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี คุณสมร กล่าวว่า ตนเองมีอาชีพเป็นเกษตรกร เริ่มแรกเดิมที ก่อนที่จะมาปลูกอ้อยคั้นน้ำ เคยปลูกอ้อยน้ำตาลส่งโรงงานทำน้ำตาลทรายที่พวกเรารู้จักกัน แต่ด้วยเคยขาดทุนกับการปลูกอ้อยน้ำตาลจนเกือบล้มละลาย ด้วยราคาอ้อยน้ำตาลจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอด และประจวบเหมาะกับช่วงปี พ.ศ. 2553 ที่เกิดอุทกภัย เกิดน้ำท่วมในประเทศไทยหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี ทำให้อ้อยน้ำตาลที่ปลูกไว้จำนวนหลายสิบไร่ถูกน้ำท่วมทั้งหมด ด้วยระดับน้ำที่ท่วมมีความสูงมากและน้ำท่วมไวมาก ทำให้ไม่สามารถตัดอ้อยน้ำตาลได้ทัน เงินที่ลงทุนไปก็หายไปกับตา

คุณสมร กล่าวต่อว่า ยังจำความสูญเสียครั้งนั้นได้ดี รู้สึกท้อมาก ล้มจนรู้สึกว่าตนเองอาจจะกลับมายืนอีกครั้งต่อไม่ไหว แต่ถ้ายิ่งล้มนานกว่านี้ จะลุกเราก็เสียเวลามากขึ้นอีก คุณสมรจึงกลับมาสู้อีกครั้ง แต่ก็ต้องบอกว่าใช้ระยะเวลาพอสมควร ถึงกลับมายืนได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง

จุดเริ่มต้นของการปลูกอ้อยคั้นน้ำ คุณสมร กล่าวว่า เริ่มจากตนเองเป็นคนที่ชอบดื่มน้ำอ้อยคั้นสด ดื่มจนเกิดคำถามกับตนเองว่า ถ้าชอบดื่มน้ำอ้อยขนาดนี้ เราปลูกอ้อยคั้นน้ำและคั้นสดๆ ขายเองเลยดีกว่า เนื่องจากคุณสมรเป็นคนคิดเร็วทำเร็ว และมีความรู้ด้านเกษตรมาอย่างดี ทำให้ในเวลาต่อมาไม่กี่สัปดาห์ คุณสมรปลูกอ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 จำนวน 2 ไร่ ภายใต้ความคิดของคุณสมรที่มีความต้องการอยากปลูกอ้อยคั้นน้ำที่ไร้สารเคมี อยากให้คนที่ได้ดื่มน้ำอ้อยคั้นสดรู้สึกมั่นใจว่าปลอดภัย ไม่มีสารเคมีใดๆ เจือปน คุณสมร กล่าวว่า เหตุผลที่เลือกอ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 เป็นสายพันธุ์ที่สุดยอดที่สุดของอ้อยคั้นน้ำ ด้วยคุณลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้จะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม เป็นเอกลักษณ์ มีสีเหลืองอมเขียว และอ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 ยังให้ปริมาณน้ำอ้อยที่มาก คุณสมร กล่าวว่า อ้อยคั้นน้ำ 1 ลำ สามารถคั้นน้ำได้ถึง 2 ขวด สำหรับการบรรจุขาย เพราะเหตุนี้ทำให้อ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 เป็นที่ชื่นชอบของเกษตรกรที่ปลูกอ้อยคั้นน้ำ

คุณสมร อธิบายถึงขั้นตอนการปลูกพืชไร่ อย่าง อ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 โดยขั้นตอนเริ่มแรกจะเริ่มจากการเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยขี้วัวลงไปในไร่ ก่อนจะไถพรวนดิน หลังจากไถพรวนดินแล้วก็ไถกลบอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ยกร่องดินขึ้นมาด้วยระยะความกว้าง 150 เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างหลุม 120-150 เซนติเมตร เมื่อยกร่องตามระยะดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ก็ใส่ปุ๋ยขี้วัวลงไปอีกครั้งก่อนนำลำอ้อยลงดินปลูก

คุณสมร กล่าวว่า สาเหตุที่ตนเองใช้ปุ๋ยจากขี้วัวแท้ 100% เป็นเพราะตนเองมีฟาร์มวัวนม จึงเป็นการลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย ก็ใช้ขี้วัวในฟาร์มตนเองมาทำเป็นปุ๋ยใส่ไร่พืช และปุ๋ยขี้วัวยังมีคุณสมบัติมากมาย ทั้งสารอาหารให้กับดินแล้ว ยังทำให้เป็นแหล่งอาหารของไส้เดือน เมื่อในดินมีไส้เดือนก็จะทำให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การเพาะปลูกอย่างมาก

กลับมาที่ขั้นตอนในการปลูกอ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 เมื่อใส่ปุ๋ยขี้วัวตามร่องแล้ว นำลำอ้อยที่จะปลูกลงไปในร่อง เมื่อวางลำอ้อยเสร็จแล้วก็ใช้จอบโกยดินด้านข้างร่องกลบลำอ้อย โดยดินที่กลบเป็นเพียงการกลบแบบบางๆ เท่านั้น

ส่วนการรดน้ำ จะเป็นการรดน้ำครั้งแรกเมื่อลงดินปลูก ทางไร่ของคุณสมรจะใช้เป็นแบบสายน้ำหยด โดยเปิดน้ำหยดให้รดตลอดเวลา เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้น ก็รดน้ำ 1 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ก็รดน้ำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งต้นอ้อยเจริญเติบโตมีอายุ 9-10 เดือน โดยระหว่างการปลูกนี้ หากเกิดโรคพืชหรือมีศัตรูพืชมารบกวน ก็จะใช้น้ำหมักชีวภาพในการกำจัดโรคพืชและศัตรูพืช คุณสมรยังยึดหลักการปลูกแบบไร้สารเคมี

เมื่อต้นอ้อย มีอายุ 9-10 เดือน ก็ถึงกำหนดเวลาที่จะตัดอ้อยได้ หากตัดอ้อยก่อนอายุปลูก 9-10 เดือน จะทำให้อ้อยที่ตัดมามีน้ำอ้อยที่สีจะค่อนข้างดำ สีไม่สวย แบบที่ควรจะเป็นสีเขียวอมเหลือง และกลิ่นจะไม่มีความหอมหวานมากนัก รสชาติจะไม่หวานกลมกล่อม

อายุต้นอ้อย 9-10 เดือน จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมในการตัดอ้อย ทางไร่ของคุณสมรจะไม่ลิดใบอ้อยออก เพื่อที่จะให้ใบอ้อยปกคลุมหน้าดิน ป้องกันแสงแดด ให้ดินมีความชุ่มชื้นมากยิ่งขึ้น และทำให้ไม่มีต้นหญ้าขึ้นเพื่อแย่งสารอาหารของต้นอ้อยอีกด้วย

เนื่องจาก อ้อย เป็นพืชไร่ที่นำกลับมาปลูกซ้ำได้ จึงเป็นการลดต้นทุนได้อย่างมาก การตัดอ้อย 1 ลำ จะตัดปลายอ้อยเก็บไว้ เนื่องจากปลายอ้อยไม่มีความหวาน สามารถนำปลายอ้อยที่ตัดไว้มาลงปลูกใหม่ได้

คุณสมร กล่าวว่า การปลูกอ้อยใช้ต้นทุนไม่มาก แต่ทำรายได้ถึงหลักแสน ต่อ 1 ไร่ โดยอ้อยคั้นน้ำ 1 ลำ สามารถให้ปริมาณน้ำอ้อยได้ถึง 2 ขวด โดยประมาณ และส่วนใหญ่คุณสมรทำตลาดน้ำอ้อยที่จังหวัดลพบุรี ราคาย่อมเยา ดื่มได้อย่างสบายใจ เพราะปลอดภัยจากสารเคมี

สำหรับท่านใดที่สนใจต้นอ้อยคั้นน้ำ สุพรรณ 50 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสมร รัตนะชัย (คุณหมอน) บ้านบ่อคู่ 10/3 หมู่ที่ 2 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี โทรศัพท์ 087-915-4135 หรือติดตามความเคลื่อนไหวได้ทางเฟซบุ๊ก กูลสกิจฟาร์ม

ในช่วงหลายเดือนหลังมานี้ หลายท่านคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับราคาของหมากพุ่งสูงแข่งกับราคาน้ำมันกันแล้ว นั่นก็มีสาเหตุมาจากตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการสูงอย่าง อินเดีย จีน เมียนมา ดูไบ เวียดนาม แห่บินมาซื้อทั้งหมากสด-แห้ง ในภาคใต้และตะวันออก ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหากท่านใดสนใจอยากปลูกหมากเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องศึกษาการตลาดในพื้นที่ของตนเอง และวิธีเทคนิคการปลูกให้ดีก่อน

คุณภีระพร จันทรณรงค์ หรือ พี่บรีส อาศัยอยู่เลขที่ 11 หมู่ที่ 10 ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เกษตรกรสาวใต้ ยึดอาชีพปลูกหมากมานานกว่า 7 ปี พร้อมกับทำสวนปาล์มน้ำมันควบคู่กันไป เล่าถึงสถานการณ์หมาก ตลอดระยะที่ทำมาถือว่าการตลาดและราคาดีขึ้นเรื่อยๆ จากตอนที่เริ่มปลูกใหม่ๆ ขายหมากแห้งได้ในราคากิโลกรัมละ 40 บาท และในเวลาต่อมามีการขยับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปลายปีที่ผ่านมาราคาหมากดีดสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 70-100 บาท สามารถสร้างรายได้ถึงหลักล้านต่อปี

พี่บรีส เล่าถึงจุดเริ่มต้นการปลูกหมากสร้างรายได้ว่า เนื่องจากหมากเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย เหมาะปลูกในพื้นที่ภาคใต้ที่มีสภาพอากาศชื้นสูง มีฝนตกประมาณ 2,000 มิลลิเมตรขึ้นไป ไม่ต้องฉีดยาบำรุงอะไรมาก และด้วยความที่เป็นพืชที่ปลูกกันมายาวนานในภาคใต้ การตลาดจึงหาได้ไม่ยาก มีพ่อค้ารับซื้อประจำถึงสวนเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ หรือพ่อค้าจากต่างประเทศก็บินมาซื้อกันถึงที่สวน ทำให้ตนเองตัดสินใจที่จะปลูกหมากเป็นอาชีพ โดยสายพันธุ์ที่เลือกปลูกคือ หมากพันธุ์เกษตรชุมพร ต้นสูง มีจุดเด่นที่ลูกดก เปลือกบาง เนื้อหนา เหมาะกับการทำหมากแห้ง ได้น้ำหนักดี 4 ปีให้ผลผลิต ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน 25 ปี หากมีการดูแลจัดการสวนที่ดี ผลผลิตเก็บได้นานถึง 30 ปี ปัจจุบันปลูกอยู่จำนวน 20 กว่าไร่

“ถ้าหากพูดถึงสายพันธุ์หมากบางคนชอบปลูกหมากเตี้ย บางคนชอบหมากตูดแหลมเพื่อการส่งออกขายไปต่างประเทศ แต่หมากพันธุ์เกษตรชุมพร ต้นสูง ที่สวนพี่ปลูกลักษณะลูกจะคล้ายไข่ไก่ เมื่อผ่าออกมาแล้วจะเห็นได้ชัดว่าเปลือกจะบาง เนื้อเยอะ ทำขายแห้ง โดยการเก็บหมากสุกจากต้น แล้วนำไปตาก และอบทำเป็นหมากแห้งขาย”

เทคนิคการปลูกหมาก สร้างรายได้
เจ้าของบอกว่า ควรปลูกดินที่มีการระบายน้ำได้ดี ร่วนซุย หมากเป็นพืชที่เหมาะปลูกในสภาพพื้นดินร่วนปนทราย หรือเป็นพื้นที่ดินเหนียวก็ได้แต่น้ำต้องไม่ขัง ปลูกแบบไม่ต้องยกร่อง ในระยะห่างระหว่างต้นที่เหมาะสม คือ 2×2, 2×3 เมตร รากหมากได้เดินหาอาหารเต็มที่ 1 ไร่ ปลูกได้ประมาณ 250 ต้น แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่ถ้าหากปลูกในระยะถี่เกินไป จะทำให้เกิดการแย่งอาหารกัน รากจะแน่นเกินไป ส่งผลทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ได้ผลผลิตน้อย

โดยวิธีการปลูกของที่สวนจะนำหมากสุกมาเพาะพันธุ์เอง ใช้เวลาในการเพาะประมาณ 3 เดือน ถึงจะย้ายกล้าลงหลุมปลูกได้ ในการปลูกจะต้องขุดหลุม กว้าง x ลึก 30 เซนติเมตร หมากเป็นพืชที่ทนแล้ง และถ้ารดน้ำ ให้ปุ๋ยตลอด ผลผลิตจะออกตลอดทั้งปี และการปลูกควรปลูกในช่วงหน้าฝน เพราะว่ารากจะได้จับดิน ช่วยทนแล้งด้วย

การดูแลรดน้ำ-ใส่ปุ๋ย
เมื่อปลูกไปได้สักระยะหนึ่งให้ทำการตัดหญ้าทำความสะอาดภายในสวน รดน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ 2-3 วันครั้ง หากเป็นช่วงฤดูฝนก็จะงดการให้น้ำไปก่อน ส่วนการใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปูนขาวป้องกันเชื้อรา โดโลไมท์ลดการเป็นกรด ป้องกันดินเปรี้ยว ทำให้ดินร่วน

จากนั้นรดน้ำดูแลเรื่อยๆ จนได้ระยะเวลา 3 เดือน เริ่มใส่ปุ๋ยครั้งแรก โดยปุ๋ยที่ใส่จะเป็น 1. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ จะช่วยปรับสภาพให้ดินร่วน 2. ให้ปุ๋ยเคมี ใส่ 16-16-16 อัตราครึ่งกิโลกรัมต่อต้น ช่วยบำรุงต้น ขยายผล และใส่ปุ๋ยคอก ต้นละ 1 กิโลกรัม 3. ในระยะสร้างดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 9-24-24 และตอนติดผลแล้วจะใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ปริมาณ 3 กำมือต่อต้น เพื่อบำรุงผลผลิตให้พร้อมเก็บเกี่ยว โดยการโรยปุ๋ยที่บริเวณรอบๆ โคนต้น และขั้นตอนหลังจากเก็บผลผลิตแล้ว จะใส่ปุ๋ยเคมีและอินทรีย์บำรุงสลับกันไปเรื่อยๆ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
หากพูดถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมาก โดยทั่วไปหมากต้นหนึ่งจะออกผลเพียงปีละครั้ง แต่ถ้าหากมีการดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตจะออกมาให้เก็บได้ตลอดทั้งปี อย่างของที่สวน หมากจะออกผลให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่การขายจะเก็บเป็นหมากแห้งส่งขายปีละครั้ง เฉลี่ยผลผลิตต่อปีต่อต้น อยู่ที่ประมาณ 30 กิโลกรัม เป็นอย่างน้อย

“โดยขั้นตอนการทำหมากแห้งส่งออก เริ่มต้นที่การเก็บหมากสุกที่มีสีผลออกส้มแดง แล้วนำไปตากแดดไว้ที่ลานตากประมาณ 10 แดด ลูกก็จะแห้ง แล้วนำเอามาเก็บไว้ในร่มถ้าเรายังไม่ทำแห้ง แต่ถ้าเราจะทำก็จะมีเครื่องหีบผ่าซีก พอผ่าซีกเสร็จแล้วก็นำไปตากแดดอีก 3-4 แดด พอให้หน้าสวย แล้วนำไปใส่เครื่องอบแห้งอีกครั้ง จากนั้นเอาไปเก็บใส่กระสอบสามารถเก็บได้เป็นปี เราก็จะทำสะสมแบบนี้ไปเรื่อยๆ พอช่วงไหนราคาดีเราก็นำออกไปขาย”

ตลาดหมากเติบโตได้ดี ต่างประเทศต้องการต่อเนื่อง
พี่บรีส บอกว่า การตลาดของหมากในพื้นที่ภาคใต้ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าห่วง เพราะคนในพื้นที่สวนใหญ่จะมีพ่อค้าประจำเข้ามารับซื้อถึงสวนอยู่แล้ว ยิ่งในช่วงระยะหลายปีหลังมานี้ต่างประเทศมีความต้องการหมากไทยสูง ส่งผลทำให้ราคาดีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหมากสด หมากแห้ง ก็ส่งออกได้ทั้งหมด โดยส่วนมากหมากของภาคใต้จะส่งไปประเทศอินเดียเป็นหลัก โดยการขนส่งทางเรือ และหมากภาคกลางจะมีตลาดส่งหลักไปที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหมากของแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันออกไป หมากทางใต้หน้าจะขาว เป็นที่ต้องการของคนอินเดีย นำไปแปรรูปเป็นอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์

สำหรับรายได้ของที่สวนคิดราคาเฉลี่ยต่อปีต่อไร่ กิโลกรัมละ 50 บาท จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 50,000-60,000 บาท ต่อไร่ เมื่อหักลบต้นทุนไปแล้วกำไรยังเหลือเกินครึ่ง เนื่องจากการปลูกหมากไม่ยุ่งยาก จัดการดูแลง่าย มีเพียงค่าปุ๋ยและค่าจัดการกำจัดวัชพืช ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพหลักที่สร้างรายได้ดี พร้อมกับทำสวนปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพเสริมควบคู่กันไปอยู่ได้สบายๆ

แนะนำมือใหม่หัดปลูก
“แนะนำมือใหม่หัดปลูกให้ดูองค์ประกอบพื้นที่เป็นหลัก ดินเป็นกรวดก็ไม่เหมาะ ดินเป็นหินก็ไม่เหมาะ ดินที่เหมาะต้องเป็นดินร่วนปนทรายหรือเป็นดินเหนียวก็ยังสามารถปลูกได้ ส่วนเรื่องการตลาดปลูกแล้วไปขายที่ไหน ทางที่ดีผู้ปลูกต้องศึกษาการตลาดให้ดีก่อนปลูกว่าตนเองอยู่ภาคไหน และภาคที่อยู่นั้นมีตลาดรับซื้อที่ไหน ตรงไหนใกล้ที่สุด และต้องศึกษาด้วยว่าในพื้นที่บริเวณนั้นต้องการหมากแบบไหน เพื่อป้องกันปลูกมาแล้วไม่เป็นที่ต้องการของตลาด อย่าปลูกตามกระแส หรือเห็นแก่ราคา เพราะถ้าหากผิดหวังขึ้นมาจะแก้ไขได้ยาก” พี่บรีส กล่าวทิ้งท้าย

จากประสบการณ์ในการปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์ของ คุณไพรัตน์ ไชยนอก เจ้าของสวนเทพพิทักษ์ บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 9 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปัจจุบัน ปลูกทับทิมในพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ศรีปัญญา ในขณะที่เกษตรกรหลายรายปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือต้นทับทิมออกดอกติดผลไม่ดกเท่าที่ควร ประการสำคัญเกิดจากการได้รับแสงไม่ดี

คุณไพรัตน์ บอกว่า เริ่มแรกของการปลูกทับทิมจะต้องปลูกตามตะวัน ปลูกเป็นแถวยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ถ้าปลูกขวางตะวัน คือปลูกเป็นแถวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้จะส่งผลให้ต้นทับทิมออกดอกติดผลเพียงข้างเดียว หรือให้ผลผลิตไม่ดก

ในเรื่องของระยะปลูกสรุปได้จากคุณไพรัตน์ Royal Online V2 ใช้ระยะระหว่างต้น 4 เมตร และระยะระหว่างแถว 7 เมตร จะเหมาะที่สุด เนื่องจากเครื่องจักรหรือรถไถเข้าไปทำงานได้สะดวก และยังช่วยลดปัญหาการสะสมของเชื้อราที่เป็นปัญหาหลักของการปลูกทับทิม แปลงปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างส่องได้ทั่วถึง

ลดต้นทุนปุ๋ยเคมี
ด้วยการใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก
ในการปลูกทับทิมในพื้นที่ 500 ไร่ ของสวนเทพพิทักษ์ เรื่องการจัดการใช้ปุ๋ยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ปริมาณของการใช้ปุ๋ยทางดิน ประมาณ 80% ของปุ๋ยที่ใช้คือ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยคอกที่เลือกใช้ คุณไพรัตน์จะใช้ “ขี้หมู” ซึ่งมีการเลี้ยงหมูไว้เอง และนำขี้หมูที่ได้จากการล้างคอกในแต่ละครั้งนำมาตักราดบริเวณทรงพุ่มต้นทับทิมได้เลย

คุณไพรัตน์ ได้เฝ้าสังเกตจากการใช้ขี้หมูพบว่า ต้นทับทิมแตกใบใหญ่และเขียวเป็นมัน เหตุผลที่ต้องเลี้ยงหมูเอง เนื่องจากถ้าซื้อขี้หมูจากฟาร์มที่ชาวบ้านหรือบริษัทเอกชนเลี้ยงมักจะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อดับกลิ่นเหม็นหรือฆ่าเชื้อราซึ่งมีสารโซดาไฟ เมื่อนำมาใส่ให้กับต้นทับทิมอาจจะเป็นพิษกับต้นทับทิมได้ จะต้องระวังเป็นพิเศษ สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้จะเน้นสูตร 8-24-24 โดยใช้ในปริมาณ 20% ของการใช้ปุ๋ยทั้งหมดจะใส่ในช่วงเตรียมต้นก่อนออกดอก และมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และปรับปรุงคุณภาพของผลบ้าง

การเลือกใช้ ‘สารปราบศัตรูพืช’
ในการปลูกทับทิม
คุณไพรัตน์ บอกว่า สารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารโปรฟีโนฟอส ซึ่งเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงชนิดครอบจักรวาลและเป็นที่นิยมใช้ในการปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด แต่สำหรับต้นทับทิมแล้วไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด ผลคือ จะทำให้ใบทับทิมไหม้และร่วงจนหมดต้น “เพลี้ยหอย” นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งในการทำผลทับทิม

ถ้าจะเลือกใช้สารในกลุ่ม “คลอไพรีฟอส” จะต้องใช้ในอัตราต่ำกว่าปกติ ถ้าใช้ในอัตราสูงจะทำให้ใบทับทิมร่วงเช่นกัน ทางเลือกในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยหอยของสวนเทพพิทักษ์ จะใช้สารไวท์ออยล์ผสมกับสารเมโทมิล (เช่น แบนโจ) จะดีกว่า

สำหรับปัญหาเรื่อง “เพลี้ยไฟ” ที่นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของการปลูกทับทิม คุณไพรัตน์ แนะนำให้เลือกใช้สารโปรวาโด ซึ่งเป็นสารที่มีความปลอดภัยและใช้ในอัตราต่ำมาก โดยใช้โปรวาโด อัตรา 1-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟได้ผลดี

ในขณะที่ในการป้องกันและกำจัดวัชพืชในสวนทับทิม คุณไพรัตน์ บอกว่า ใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชได้ทั้งกลุ่มไกลไฟเสตและพาราควอต แต่ที่สวนเทพพิทักษ์จะประหยัดต้นทุนในการป้องกันและกำจัดวัชพืชด้วยการใช้เกลือแกงผสมร่วมกับสารพาราควอต โดยยกตัวอย่าง ถ้าใช้สารพาราควอต 7 ลิตร ที่สวนเทพพิทักษ์จะลดการใช้สารพาราควอตเหลือเพียง 5 ลิตร และผสมเกลือแกงลงไป อัตรา 2 กิโลกรัม เมื่อนำมาฉีดพ่นเพื่อฆ่าหญ้าได้ผลไม่แพ้กัน