ด้าน คุณหญิงพรรณทอง มณีศิลป์ เจ้าของบริษัท ข้าวแม่ จำกัด

ผู้สนับสนุนการปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์หอมแดงแสงแรก ที่ให้การประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูก จนเหลือไว้กินในครัวเรือนแล้วทั้งหมด กล่าวว่า เพราะเล็งเห็นสรรพคุณอันโดดเด่นในข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก พร้อมสนับสนุนให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์นี้เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างสุขภาพของเกษตรกรให้แข็งแรง

เพราะข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีจุดเด่นดังกล่าว จึงให้ราคารับซื้อแพงกว่าข้าวชนิดอื่น เฉลี่ยกิโลกรัมข้าวเปลือกละ 19 บาท ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาข้าวในแต่ละปี โดยข้าวเปลือกที่บริษัทรับซื้อไปทั้งหมดจะถูกนำไปแปรรูปเป็นข้าวสารบรรจุถุงวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งขณะนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจากคุณสมบัติเป็นยาและข้าวมีกลิ่นหอมเหมือนดอกลาเวนเดอร์

ผักอินทรีย์ เป็นผักที่ปลอดสารเคมี ในทุกขั้นตอนการผลิตจะมีมาตรฐานกำหนด และต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น และเลือกซื้อผักอินทรีย์ไปบริโภคด้วยหวังว่าจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ

สหกรณ์นิคมชะอำ จำกัด จังหวัดเพชรบุรี เป็นอีกหนึ่งสหกรณ์ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมให้สมาชิกหันมาปลูกผักอินทรีย์เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก หลังจากที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับนโยบายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สนับสนุนสหกรณ์ผลิตผักอินทรีย์ป้อนสู่ตลาด จึงมอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชิญชวนสหกรณ์ต่างๆ เข้าร่วมโครงการและเริ่มลงมือปรับปรุงกระบวนการปลูกพืชผักให้ได้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เมื่อ 4 ปีก่อน โดยทางนิคมสหกรณ์ ชะอำ ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ดูแลพื้นที่นิคมสหกรณ์ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีสหกรณ์นิคมชะอำ จำกัดตั้งอยู่ในพื้นที่และอยู่ในการส่งเสริมดูแลได้เห็นถึงโอกาสของโครงการนี้ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกจึงให้ความร่วมมือสนับสนุนสมาชิกหันมาปลูกผักอินทรีย์

ระยะแรกของโครงการทางนิคมสหกรณ์ชะอำได้ทำแปลงผักอินทรีย์ทดลอง เป็นแปลงตัวอย่างให้สมาชิกมาเรียนรู้และทดลองปลูก และได้ส่งเสริมสมาชิกทำปุ๋ยหมักใช้เอง โดยทางนิคมสหกรณ์ฯได้ทดลองหมักปุ๋ยและแจกจ่ายให้สมาชิกไปใช้ในแปลงผักอินทรีย์ในช่วงเริ่มต้นลงมือปลูกผักอินทรีย์และส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลถึงรายแปลง เนื่องจากในช่วงของการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชแบบที่เคยใช้สารเคมีมาปลูกแบบอินทรีย์ค่อนข้างต้องใช้ความพิถีพิถันและใส่ใจในทุกขั้นตอน ซึ่งทุกคนต้องอาศัยความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ได้

และต้องอาศัยระยะเวลากว่าจะเห็นผลและได้รับความร่วมมือจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และองค์กรเอกชนต่างๆ ที่เข้ามาช่วยส่งเสริม จนทำให้สมาชิกจำนวน 40 ราย เกิดความมั่นใจที่จะยึดอาชีพนี้และรวมกลุ่มกันในนามกลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์ภายใต้สังกัดสหกรณ์นิคม ชะอำ จำกัด ปัจจุบันมีสมาชิก 23 ราย ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมจากกรมส่งเสริมการเกษตร คือ ระบบ PGS และเข้ารับหนังสือรับรองจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา

นางอุษา พุ่มพวง ผู้จัดการสหกรณ์นิคมชะอำ จำกัด เปิดเผยว่า การปลูกผักอินทรีย์เป็นพืชที่สร้างรายได้เร็วให้กับเกษตรกร ผักบางชนิดปลูก 20 วันก็เก็บขาย และสามารถบริหารจัดการผักได้ตรงตามความต้องการตลาดได้เนื่องจากในพื้นที่ 1 แปลง สามารถปลูกผักได้เกิน 20 ชนิด ซึ่งผักที่สมาชิกปลูกส่วนใหญ่เป็นผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง แตงกวา ผักสลัดกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค แต่ละวันสมาชิกจะรวบรวมผักมาส่งที่สหกรณ์ จากนั้นสหกรณ์จะนำเข้าห้องตรวจสอบคุณภาพ มีการตรวจสอบหาสารฆ่าแมลงว่าและสารเคมีต่างๆ จนมั่นใจว่ามีความปลอดภัย 100% จึงคัดเกรดและบรรจุลงถุงที่มีการติดบาร์โค้ตไว้ทุกถุง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถแสกนและตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของผักแต่ละถุงว่ามาจากแปลงของเกษตรกรรายใด ซึ่งทางสหกรณ์ได้เน้นย้ำกับสมาชิกทุกรายในการควบคุมการผลิตและคุณภาพของผักที่จะนำมาส่งขายให้สหกรณ์ ต้องมีความปลอดภัย มีคุณภาพและปริมาณที่สม่ำเสมอ

ตลาดหลักที่สหกรณ์จะนำผักอินทรีย์ไปจำหน่าย อยู่ในพื้นที่ภายในจังหวัดเพชรบุรี เช่น โรงพยาบาลชะอำ ซึ่งจะจำหน่ายทุกวันจันทร์ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า ตลาดเกษตรกรข้างจวนผู้ว่าฯ จำหน่ายทุกเช้าวันอังคาร และมีช่องทางตลาดใหม่คือส่งขายให้กับห้างแมคโคร ซึ่งได้ประสานขอความร่วมมือมายังอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อสั่งซื้อผักอินทรีย์ไปขายในห้างแมคโครสาขาชะอำและหัวหิน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ซึ่งสหกรณ์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจตลาดพบว่าผักของสหกรณ์จะวางอยู่บนชั้นจำหน่ายของสดในห้างแมคโครและสามารถขายหมดภายในเวลาไม่เกิน 2 วัน ซึ่งห้างแมคโครได้ขอให้สหกรณ์เพิ่มปริมาณการ ส่งผักทุกวัน ทำให้สหกรณ์ต้องกลับมาวางแผนเพื่อส่งเสริมสมาชิกขยายพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์ เพื่อส่งให้ทางห้างและยังมีตลาดที่ต้องการสั่งซื้ออีกจำนวนมาก

ด้าน นางสุภาวดี ทับทิม สมาชิกสหกรณ์นิคมชะอำ จำกัด เป็นเกษตรกรตัวอย่างที่หันมายึดอาชีพปลูกผักอินทรีย์อย่างจริงจังจนกลายเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว เล่าถึงที่มาของการปลูกผักอินทรีย์ว่า แต่เดิมทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ อบต. ไม่มีเวลาอยู่กับครอบครัวแบบพร้อมหน้า จึงหันมาลองทำเกษตรตามแนวทางทฤษฏีใหม่ จัดสรรที่ดิน 7 ไร่ ตามสัดส่วน 30-30-30-10 ขุดเป็นบ่อน้ำและเลี้ยงปลา ทำนา 1 ไร่กับ 3 งาน เพื่อมีข้าวไว้บริโภคและยังมีที่ดินอีกส่วนหนึ่งเลี้ยงวัว ที่เหลือได้จึงได้ทำเป็นแปลงผักอินทรีย์ ซึ่งช่วง 4 เดือนแรก ลงมือปลูกผักบุ้งเนื่องจากเห็นว่าปลูกง่ายที่สุดแต่กลับเก็บผลผลิตขายไม่ได้ เนื่องจากดินเค็มและแข็ง ไม่เหมาะกับการปลูกผัก จึงเข้าอบรมกับทางนิคมสหกรณ์ชะอำ ทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักไว้ใช้ในแปลงเกษตร นำใบไม้ใบหญ้าในไร่มาหมักกับขี้วัว กลายเป็นปุ๋ยหมัก แล้วนำไปใส่ในแปลงผัก ตารางเมตรละ 1 คันรถเข็น จนดินเริ่มดีขึ้น มีชีวิต มีไส้เดือน สภาพดินเปลี่ยนแปลงมีความร่วน มีแร่ธาตุและสามารปลูกผักได้ผลผลิตงอกงาม

หลังจากได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ จนเห็นลู่ทางในการสร้างรายได้ และมั่นใจว่าปลูกผักอินทรีย์แล้วจะมีตลาดรองรับและรายได้ที่แน่นอน ทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังจนวันนี้คุณภาพชีวิตของตัวเองและครอบครัวดีขึ้น เก็บผักส่งขายให้สหกรณ์ทุกวันและยังเก็บไว้ทำอาหารแต่ละมื้อไม่ต้องเสียเงินไปซื้อที่ตลาด ปลอดภัยต่อสุขภาพ ไม่มีสารพิษ ส่วนการวางแผนการผลิต จะทำแฟ้มประวัติผักทุกแปลง และเริ่มทดลองขายผักผ่านออนไลน์ โดยได้อบรม Young Smart Farmer มีวิทยากรสอนเกี่ยวกับการทำเว็บเพจ จึงทดลองทำเพจขายผักทางเฟซบุ๊ก ได้ผลตอบรับที่ดีมาก เมื่อผักมีอายุพอที่จะเก็บขายก็จะนำมาโพสต์นำเสนอลูกค้าทางเฟซบุ๊ก หมุนเวียนขายเป็นรอบ แต่ละวันจะใช้เวลาอยู่ในแปลงผัก ดูแลผลผลิต ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย เก็บผักส่งสหกรณ์ ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นและสมาชิกในครอบครัวมีความสุขร่วมกัน

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินโครงการผักอินทรีย์ของสหกรณ์นิคมชะอำ จำกัด พร้อมกล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์เลือกพื้นที่นิคมสหกรณ์ในการส่งเสริมชาวบ้านในพื้นที่หันมาปลูกผักอินทรีย์ เนื่องจากพื้นที่ของนิคมสหกรณ์เป็นพื้นที่ที่กรมฯได้จัดสรรที่ดินทำกินให้สมาชิก และอาศัยอยู่ในจุดเดียวกัน

ทำให้ดูแลได้ง่ายและทั่วถึง จึงได้ผลักดันให้สมาชิกในพื้นที่นิคมสหกรณ์หันมาปลูกผักอินทรีย์ ซึ่งเป็นพืชที่ใช้ระยะเวลาสั้นก็เก็บเกี่ยวผลผลิตและช่วยสร้างรายได้ให้ครอบครัว และผลตอบรับในปัจจุบันค่อนข้างดี ผักอินทรีย์ขายได้ราคาสูงกว่าผักทั่วไปประมาณ 8-10 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์คาดหวังว่าสหกรณ์จะเป็นแหล่งผลิตผักที่มีคุณภาพเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคและปลอดภัยต่อสุขภาพ ระยะต่อจากนี้ไปจะสนับสนุนการรวมกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ให้ผลิตผักอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนที่เป็นห้างโมเดินเทรดได้ยื่นมือเข้ามาเป็นตลาดให้สหกรณ์ รับซื้อผักไปจำหน่ายในห้างและได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ขณะเดียวกันสหกรณ์เองต้องใช้เวลาในการพิสูจน์เรื่องคุณภาพ และทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ QR Code เมื่อสแกนดูแล้วสามารถรู้ได้ว่า ผักถุงนี้ใครปลูกและตัดออกจากแปลงเมื่อไหร่ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ทุกคนต้องช่วยกันและร่วมมือกัน เพื่อผลิตผักอินทรีย์ที่มีคุณภาพและรักษามาตรฐานให้สม่ำเสมอ ซึ่งกรม ส่งเสริมสหกรณ์จะขยายผลโครงการส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ให้กับสหกรณ์ในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้อาชีพปลูกผักอินทรีย์มีความมั่นคงและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับสมาชิกสหกรณ์ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
“พายุ ‘ปาบึก’ (PABUK)”
ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 04 มกราคม 2562
เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (4 ม.ค. 62) พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 200 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่ละติจูด 7.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 102.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็ว 25 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชในช่วงค่ำของวันนี้

(4 ม.ค. 62) โดยมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วง วันที่ 4-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ มีผลกระทบ ดังนี้

ในช่วง วันที่ 4-5 มกราคม 2562 ภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่

กับมีลมแรงบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากลมแรง และคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรงดการเดินเรือจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2562
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับต่อไป ในวันที่ 4 มกราคม 2562 เวลา 11.00 น.สวัสดีครับ…ท่านผู้อ่าน แฟนนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ที่ติดตามอ่านบทความของ…ลุงยศคนเกษตร…ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านสาระดีๆ ที่ได้จากประสบการณ์ตรงของเกษตรกร ในครั้งนี้จะพาท่านไปเยี่ยมชมสวนมะละกอ ที่อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นสวนมะละกอที่มีผลผลิตตลอด 365 วัน เลยทีเดียว

เริ่มต้นจากเส้นทางสายอำเภอพังโคน-บึงกาฬ หมายเลข 227 ถึงสถานีตำรวจภูธรศรีวิชัย เลี้ยวขวาตรงสี่แยกเข้าทางหลวงชนบท หมายเลข 4070 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าสวนเกษตรทอง ที่หมายของการเดินทาง ที่สวนแห่งนี้ปลูกพืชหลายชนิด พืชหลักคือ ยางพารา กล้วย มะละกอ มะนาว พืชไร่ตระกูลแตง เป็นลักษณะการเกษตรแบบผสมผสาน ที่เด่นคือ มะละกอฮอลแลนด์ ที่ปลูกแซมสวนแปลงยางพารา ขณะที่ยางพารายังไม่ถึงอายุการเปิดกรีด

มะละกอฮอลแลนด์ ที่สวนเกษตรทอง ปลูกบนพื้นที่กว่า 300 ไร่ นับแสนต้น ให้ผลผลิตแบบหมุนเวียน คือมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นแปลง ขนาด 10-15 ไร่ มีการจัดการที่ดี ผลผลิตหมุนเวียนออกตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นที่มาของเงินล้าน การจัดการที่ดีย่อมได้เปรียบทางการตลาด ลูกค้าต้องการมีให้ตลอด นับเป็นสวนเกษตรที่พัฒนาได้ครบวงจร

การตอนกิ่งมะละกอก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มผลผลิตออกสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะให้ผลผลิตเร็วแล้ว ยังเก็บผลผลิตได้สะดวก ไม่ต้องใช้บันไดปีนขึ้นเก็บ ที่สำคัญไม่ต้องเสี่ยงเรื่องมะละกอตัวผู้ ตัวเมีย เพราะการตอนกิ่งที่สวนเกษตรทองใช้ต้นพันธุ์ที่เป็นมะละกอกะเทย คือมี 2 เพศ ในดอกเดียวกัน เพียงแต่คัดเลือกต้นที่สมบูรณ์ แข็งแรง ให้ผลผลิตมากก็คุ้มค่าแล้ว มะละกอ ถือว่าเป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคทั้งผลอ่อนและผลแก่สุก แต่มะละกอก็ยังเป็นพืชที่หลายคนสงสัยว่า ทำอย่างไร จึงจะปลูกมะละกอแล้วให้ผลดกเหมือนต้นแม่ เพราะถึงแม้ว่าเราจะปลูกจากเมล็ดที่ต้นแม่เป็นต้นที่สมบูรณ์ไม่มีโรค แต่เมื่อมาปลูกแล้วเมล็ดส่วนมากก็จะกลายพันธุ์ โดยที่ต้นไม่ค่อยจะแข็งแรงและลูกกลมไม่สวยเหมือนต้นแม่ โดยพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกกันมากที่สุดในประเทศไทย เห็นจะมีอยู่ 2 พันธุ์ นั่นก็คือ ฮอลแลนด์ และแขกดำ ส่วนพันธุ์อื่นๆ ก็นิยมปลูกเหมือนกันแต่ไม่มาก

การตอนกิ่งมะละกอ ถือได้ว่าเป็นการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ด เนื่องจากการปลูกมะละกอด้วยเมล็ดจะมีการกลายพันธุ์ถึง 90% เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงมากในการปลูกเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนกับต้นแม่ ผิดกับการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ต้นพันธุ์ที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกอย่าง และการปลูกด้วยการตอนกิ่ง ต้นมะละกอจะเตี้ย ทำให้ไม่หักโค่นล้มง่าย และจะให้ผลเร็ว มีลูกดก

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ในการตอนกิ่งมะละกอมีด ขนาดเล็ก เน้นว่าต้องคมด้วยนะครับ
2. เชือกหรือยางที่มัดได้
3. ถุงพลาสติก ขนาด 3×5 นิ้ว
4. ขุยมะพร้าว
5. ลิ่มไม้เนื้อแข็ง ขนาดเท่าดินสอ หรือใช้เศษอิฐมอญแดง

วิธีการตอนกิ่งมะละกอ

อย่างแรกและถือว่าเป็นส่วนสำคัญมาก นั่นก็คือ คัดเลือกต้นพันธุ์ที่จะตอนให้ดี ต้นพันธุ์ต้องมีความสมบูรณ์ทุกอย่าง ตั้งแต่ลักษณะของต้นและลักษณะของผลที่เป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงการต้านทานโรคด้วย

เมื่อได้ต้นพันธุ์ที่ดีแล้ว เราก็ตัดต้นให้สูงพอประมาณ ต่อมามะละกอที่ตัดก็จะแตกกิ่งออกมา 4-5 กิ่ง ภายใน 2 เดือนครึ่ง กิ่งจะยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตรเฉือนกิ่งพันธุ์ที่แตกกิ่งออกมา จากข้างล่างไปข้างบนเป็นปากฉลาม จากนั้นใช้ลิ่มไม้เล็กๆ ขัดไว้ไม่ให้เนื้อไม้ติดกัน นำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วบีบน้ำออกบรรจุลงถุงพลาสติก มัดให้แน่น ผ่าถุงพลาสติกตรงกลาง รดน้ำให้ชุ่ม แล้วนำไปวางทับรอยแผลที่เฉือนไว้ มัดถุงด้วยเชือกให้แน่น เฉือนท่อน้ำเลี้ยงห่างจากกิ่งตอน ประมาณ 3-5 นิ้ว วิธีนี้จะทำให้รากงอกได้เร็วขึ้นไปอีกภายใน 30-45 วัน รากจะงอกและเดินมาเต็มถุง ถึงช่วงนี้ก็สามารถนำมะละกอตอนกิ่งไปเพาะชำ อนุบาลให้แข็งแรง เพื่อรอการนำไปปลูกต่อไป

ข้อดีของการตอนกิ่งมะละกอมีหลายอย่าง ที่เห็นได้ชัดคือ ต้นเตี้ย ไม่โค่นล้มง่าย ไม่กลายพันธุ์ เก็บง่าย เพิ่มมูลค่า รายได้ดี

สำหรับท่านที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน ติดต่อที่ โทร. (089) 245-1411 ฉบับนี้ขอลาไปก่อน พบกันใหม่นะครับเมืองปากพนังร้าง สำรวจรอบสุดท้ายไม่มีคนตกค้าง พายุคลั่งคลื่นถ่าโถม คาดน้ำขึ้นเช้านี้ ปชช. เศร้าใจ บนบานแคล้วคลาด ฝนตกตลอดคืน ลมเริ่มกรรโชก มทบ.41 ส่ง ทหาร อาสาสมัคร ลงพื้นที่ทำอาหาร

วันที่ 4 มกราคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศในพื้นที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา พบว่า ถูกอพยพมาอยู่ในที่ปลอดภัยยังศูนย์อพยพ โดยรถบรรทุกผู้ชายที่เหลือในแต่ละพื้นที่มาส่งยังศูนย์อพยพในช่วงค่ำ หลังจากที่ ช่วงกลางวันได้ทยอยรับสตรีแม่บ้านออกจากพื้นที่พร้อมข้าวของที่สำคัญ ส่วนคนชรา ผู้สูงอายุ และเด็กได้ออกมาก่อนล่วงหน้าแล้ว เมื่อทุกคนมาเจอกันพร้อมหน้าพร้อมตา ต่างมีสีหน้าที่สดชื่น เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการพลัดพรากจากกัน อย่างไรก็ตาม ทางอำเภอได้จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้าพักอาศัยยังศูนย์อพยพเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

นายผล บ้านอยู่แหลมตะลุมพุก อายุ 60 ปี กล่าวว่า ไม่อยากให้เกิดเหตุเหมือนปี 2505 ตนกลายเป็นเด็กกำพร้า ที่บ้านเสียชีวิตหมด ตนรอดมาได้เนื่องจากอยู่ในโอ่งน้ำ ถูกหลังคาบ้านพัดทับ จึงรอดชีวิตมาได้ ครอบครัวของตนได้ออกมาจากพื้นที่แหลมตะลุมพุก มาอยู่รวมกันรู้สึกอบอุ่นใจ ตลอดคืนลมกรรโชกแรงมาก หลังจากที่เงียบสงบมาหลายวัน เหตุการณ์เหมือนในวันนั้น ยังจำได้ ความเงียบทำลายล้างมากมาย ยอมรับว่าพวกเราทุกคนเริ่มกังวล และกลัวอีกครั้ง

สำหรับบรรยากาศโดยทั่วไปในเช้าวันนี้ พบว่า พื้นที่ อ.ปากพนัง บรรดาร้านค้า ถนนย่านพานิชย์ ปิดหมด ทุกคนมารวมกันอยู่ที่ศูนย์อพยพในทางราชการจัดให้ ทำให้ อ.ปากพนัง กลายเป็นเมืองร้าง ขณะที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พร้อมลมกรรโชกเป็นระยะๆ ส่วนคลื่นลมในทะเลสูง 3-5 เมตร น้ำในทะเลเริ่มท่วมสูงขึ้นตามถนน บริเวณท่าเทียบเรือปากพนังข้ามฟากซึ่งเป็นของเทศบาลเมืองปากพนัง ได้จอดริมฝั่งพร้อมมัดเชือกอย่างแน่นหนา

มีรายงานข่าวว่า เช้าวันนี้ ทางมณฑลทหารบกที่ 41 ได้จัดส่งกำลังทหาร และอาสาสมัครเข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่ อ.ปากพนัง และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อปรุงอาหารแจกจ่ายประชาชนที่ศูนย์อพยพ อย่างไรก็ตาม ได้มีการประกาศเสียงตามสาย และรถเตือนภัยส่งสัญญาณ ออกวิ่งตามถนนเป็นระยะ เนื่องจากเกรงว่าจะมีประชาชนตกค้าง ให้เร่งออกจากที่พักอย่างเร่งด่วน

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2558 โดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นเจ้าภาพหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีการผลิตและใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ลด ละ เลิกการเผา ด้วยการนําเอาวัสดุเหลือใช้จากไร่นามาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรทําการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการ ในความดูแลของสถานีพัฒนาที่ดินในแต่ละจังหวัด รวมถึงหน่วยงานภายในกรมพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพในการผลิตรวม 87 แห่ง โดยเน้นพื้นที่ของเกษตรกรหรือหมอดินอาสาหรือพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นสถานที่ดําเนินการ

การดำเนินโครงการ กรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสอนวิธีการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ให้แก่เกษตรกรที่รวมกลุ่มกันจัดตั้งขึ้นเป็นธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน โดยมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น มูลสัตว์ กากน้ำตาล ยูเรีย ถังหมัก สารเร่ง พด. ปีละครั้ง หลังจากนั้น เกษตรกรก็จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์เองตามศักยภาพของกลุ่ม และเกษตรกรบางรายที่มีความสนใจจะนำความรู้ไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน

จากการประเมินผลการดำเนินโครงการ ปี 2561 ของ สศก. พบว่า มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 3,000 ราย ใน 77 จังหวัด โดยเกษตรกรประมาณ 1,500 ราย นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือน โดยผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง 1.5 ตัน/ครัวเรือน จากเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา อาทิ มูลสัตว์ ฟางข้าว แกลบ รำ ขี้เถ้า กากมัน ใบไม้ หญ้าแห้ง ซังข้าวโพด และสามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพได้เฉลี่ย 300 ลิตร/ครัวเรือน จากเศษอาหาร เศษผัก ปลา หอยเชอรี่ และผลไม้ ทั้งนี้ สามารถคิดเป็นมูลค่าปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพรวมประมาณ 12,000 บาท/ครัวเรือน และคิดเป็นผลประโยชน์สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 7,517 บาท/ครัวเรือน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเกษตรกรที่เหลืออีกประมาณ 1,500 ราย ที่ยังไม่มีการนำความรู้มาปรับใช้ เนื่องจากมีภารกิจมาก อายุมาก และขาดวัสดุที่จำเป็นในการผลิต เช่น มูลสัตว์ กากน้ำตาล และถังหมัก โดยหลังจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีแผนที่จะสนับสนุนให้ธนาคาร/สหกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่ รวบรวมวัสดุที่จำเป็นข้างต้นมาจำหน่ายในราคาขายส่ง หรือให้เกษตรกรยืมโดยมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย

นอกจากนี้ ยังพบว่า เกษตรกรที่ผลิตปุ๋ยหมักใช้เองนั้นจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมโดยลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นาลงถึงเท่าตัว ซึ่งเป็นการลดมลพิษทางอากาศและลดภาวะโลกร้อน ทำให้สภาพแวดล้อมดี เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารในดิน ดินร่วนซุยมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า การทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือนทำให้รู้สึกปลอดภัยขึ้น เป็นผลดีต่อสุขภาพทั้งตัวเอง และผู้บริโภคอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรทุกรายเห็นประโยชน์และหันมาเริ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในครัวเรือนมากขึ้น

แนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร (GDP สินค้าเกษตร) ปี 2562 จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดว่า จะขยายตัว ร้อยละ 2.5-3.5 จัดเป็นการขยายตัวที่ “ชะลอ” ลงจาก ปี 2561 ที่ขยายตัว ร้อยละ 4.6 เป็นผลจาก “GDP ในสาขาพืช” ขยายตัว ร้อยละ 2.7-3.7 จาก ปี 2561 ที่ขยายตัว ร้อยละ 5.4
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า แนวโน้มสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะมีราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ในปี 2562 ได้แก่ ข้าว-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศยังมีต่อเนื่อง ส่วนสินค้าเกษตรที่มีราคาจะใกล้เคียงกับ ปี 2561 ได้แก่ สับปะรดโรงงาน, ยางพารา และน้ำมันปาล์ม สำหรับพืชเกษตรที่คาดว่าผลผลิตจะลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง, อ้อย, สับปะรด เนื่องจากภาครัฐมีโครงการส่งเสริมปลูกพืชหลากหลาย และผลจากราคาที่ปรับลดลงในปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกสับปะรดและอ้อยลง

ในปี 2561 ยางพารา เป็นสินค้าที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำรุนแรง โดยราคาต่ำสุดถึง กก. ละ 40-41 บาท เป็นผลจากความต้องการใช้ยางพาราโลกลดลง “สวนทาง” กับปริมาณการผลิตโลกที่เพิ่มขึ้นจาก 12.14 ล้านตัน เป็น 14.59 ล้านตัน

โดยปัจจัยสำคัญมาจากสงครามการค้า ทำให้กำลังซื้อลดลง ความต้องการใช้ยางล้อในตลาดสำคัญๆ อย่าง จีน ก็ลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะกระตุ้นการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น โดยการออกมาตรการช็อปช่วยชาติให้ซื้อยางเพื่อนำไปใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี แต่ก็ยังไม่สามารถฉุดราคายางกลับขึ้นมาได้

ดังนั้น จึงคาดการณ์แนวโน้มราคายางพารา ในปี 2562 ว่า “ราคายางจะยังทรงตัว” เนื่องจากประเทศผู้ผลิต ได้แก่ เวียดนาม, สปป.ลาว, เมียนมา และกัมพูชา ยังขยายเนื้อที่ปลูกยางเพิ่มขึ้น แต่ภาวะสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ยังคงยืดเยื้อ เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพียง 3.9% ส่งผลให้การใช้ยางพาราของโลกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2561