ด้าน “เกริกชัย พรหมดวง” ธนารักษ์พื้นที่ตราด กล่าวว่า

กรมธนารักษ์ได้รับมอบที่ดินที่ราชพัสดุบนเกาะช้างตามมติ ครม.ปี 2510 ให้ดูแลพื้นที่ 18,000 ไร่ ซึ่งจัดให้ชาวบ้านเช่าไปแล้ว แต่ปี 2525 กรมอุทยานฯประกาศมีพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งตามระเบียบจำกัดสิทธิ์ชาวบ้านในการประกอบอาชีพ ต้องมีการตรวจสอบเช่นเดียวกับที่ของชาวบ้าน

อ่างเก็บน้ำคลองพร้าวแก้แล้ง

ขณะที่ “วันรุ่ง ขนรกุล” กำนันตำบลเกาะช้าง กล่าวว่า ปี 2560 เกาะช้างมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 1.3 ล้านคน ทำรายได้กว่า 7,000 ล้านบาท และแนวโน้มนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาการขาดแคลนน้ำยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยช่วงฤดูแล้งปัญหารุนแรงต้องซื้อน้ำ ซึ่งท้องถิ่นได้มองเห็นปัญหาและเสนอขอสร้างอ่างเก็บน้ำมาร่วม 16 ปีแล้ว โดยกรมชลประทานออกแบบไว้ขนาด 2.35 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) สามารถรองรับปริมาณการใช้น้ำได้ทั่วทั้งเกาะในระยะยาว 10 ปี ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานฯ 93 ไร่ และเอกชน 13 ไร่ โดยได้ทำข้อตกลงทั้งหมดแล้ว

ทั้งนี้เมื่อปี 2556 กรมชลประทานได้ทำการศึกษา EIA และออกแบบ ใช้งบประมาณ 400 ล้านบาทเศษ แต่ยังไม่สามารถก่อสร้างได้ ล่าสุดกรมอุทยานฯยังไม่อนุมัติเรื่องผลกระทบทางน้ำ (ปะการัง) ซึ่งกรมชลประทานมีมาตรการแก้ไขรองรับแล้ว

“พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ภายหลังนายกรัฐมนตรีรับทราบปัญหาความต้องการของพื้นที่อำเภอเกาะช้าง และได้ให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเกาะช้าง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 จึงได้นัดประชุมหารือร่วมกับส่วนราชการท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อพิจารณาโครงการสร้างถนนเชื่อมรอบเกาะช้าง และอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว ซึ่งทั้งสองโครงการต้องดำเนินการเร่งด่วนและต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลโดยเร็ว ส่วนปัญหาพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินทับซ้อนกับกรมอุทยานฯจะมีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลเพื่อหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนต่อไป

“ปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (ปะการัง) กรมชลประทานได้มีมาตรการแก้ไข โดยต้องเร่งประสานกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯให้เร็วที่สุด และนำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติให้ความเห็นชอบ เพื่อออกพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานและอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ต่อไป น่าจะไม่มีปัญหา ส่วนปัญหาถนนรอบเกาะ จะต้องมีการประสานกรมป่าไม้ และกรมทางหลวงชนบท เพื่อสำรวจเส้นทางที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วนเช่นกัน ส่วนการพิสูจน์สิทธิ์ต้องมีการลงพื้นที่ และจัดตั้งคณะทำงานตามแนวประชารัฐ พูดคุยปรับทัศนคติ ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันได้” พล.อ.สุรศักดิ์กล่าว

ด้าน “ดร.ประธาน สุรกิจบวร” รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวถึงทางเลือกการเชื่อมถนนรอบเกาะช้างว่า ในแผนเดิมการเชื่อมถนนมี 3 แนวทางเลือก ซึ่งล่าสุดกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้เสนอเส้นทางที่ไม่ผ่านลุ่มน้ำชั้น 1A แต่ใช้งบประมาณถึง 2,500 ล้านบาท แต่หากใช้แนวถนนดินเดิมของอุทยานที่มีอยู่แล้ว กว้าง 3 เมตร (แนวกั้นถนน 6 เมตร) และทำถนนให้ทะลุไปอีก 3 กิโลเมตร น่าจะใช้งบประมาณไม่มากนักจากที่ประมาณ 300 ล้านบาท แต่ต้องผ่านลุ่มน้ำนานาชาติชั้น 1A หากกรมอุทยานแห่งชาติฯอนุมัติตามมาตรา 19 น่าจะใช้งบประมาณกรมทางหลวงชนบทก่อสร้างได้ ส่วนการบริหารจัดการการใช้เส้นทางช่วงนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานเกาะช้างจะดูแลความปลอดภัยพื้นที่ที่มีความเสี่ยง กำหนดเวลาปิด-เปิด และผ่านได้กรณีฉุกเฉิน ถ้าเป็นแนวทางนี้จะทำให้ก่อสร้างได้เร็วขึ้นเพราะใช้งบประมาณไม่มาก

ในอนาคตประชาชนบนเกาะช้างคงจะสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการท่องเที่ยวที่จะรับอานิสงส์ตามมาด้วย คุณยายท่านนี้หลังจากว่างเว้นจากการทำนาทำเกษตร ก็ออกมาเดินเก็บขี้ตกใต้ต้นยาง เพื่อนำไปขายในชุมชน สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว ขี้ตกคืออะไร ฟังจากคุณยาย

นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ชี้แจงกรณีประเทศจีนได้แจ้งเตือนการตรวจพบแมลงศัตรูพืชติดไปกับทุเรียนที่นำเข้าจากประเทศไทย ว่า ในปี 2560 ประเทศไทยมีการส่งออกทุเรียนไปประเทศจีนจำนวนประมาณ 18,750 ชิปเมนต์ จากผู้ส่งออก 62 ราย มูลค่า 15,280 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ได้รับการแจ้งเตือนจากจีนว่าได้ตรวจพบศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน มดและแมลงทั่วไป โรคผลเน่าทุเรียน และเชื้อรา โดยการแจ้งเตือนดังกล่าวเป็นการรวบรวมข้อมูลทั้งปีภายหลังสิ้นสุดฤดูกาลส่งออกปี 2560 แล้ว

ภายหลังจากได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตรได้ประชุมหารือทบทวนมาตรการที่ผ่านมา เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติงานเพิ่มเติมให้สามารถควบคุมปัญหาการส่งออกทุเรียน โดยสร้างการรับรู้ให้แก่เจ้าของโรงคัดบรรจุต้องมีความเข้าใจและตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ปฏิบัติงานในโรงงานคัดบรรจุให้ดำเนินการและควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด โดยผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบทุเรียนในโรงคัดบรรจุต้องมีความรู้และเข้าใจในการทำงานและวิธีการปฏิบัติที่ดีในการคัดบรรจุเพื่อปลอดศัตรูพืช รวมทั้งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบสุขอนามัยพืช ส่วนเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชต้องเปลี่ยนบทบาท จากผู้ตรวจสอบ เป็นผู้กำกับ ดูแล ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฎิบัติงานในโรงคัดบรรจุด้วยด้วย

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำแผนปฏิบัติการโดยแยกเป็น 3 มาตรการ คือ มาตรการเร่งด่วน จัดประชุมนายตรวจพืชผู้ปฎิบัติหน้าที่ในการตรวจ และออกใบรับรองสุขอนามัยพืชทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติในการตรวจและออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับทุเรียนสดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และจัดประชุมผู้ประกอบการส่งออก รวมทั้งผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุทุเรียน เพื่อทำความเข้าใจในเงื่อนไขข้อกำหนดการส่งออกทุเรียนไปจีน ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของกรมวิชาการเกษตร และประเทศผู้นำเข้า

มาตรการระยะกลาง ประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการตรวจสอบศัตรูพืชในทุเรียนส่งออกระหว่างกรมวิชาการเกษตรกับสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคของจีน และช่องทางในการแจ้งเตือน โดยประสานผ่านกงสุลฝ่ายเกษตร ณ นครกวางโจวให้มีความรวดเร็ว พร้อมกับศึกษาดูงานวิธีการควบคุมการนำเข้าทุเรียน ณ เมืองท่าที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน

มาตรการระยะยาว พิจารณาแก้ไขพิธีสารการส่งออกทุเรียนสดไปยังประเทศจีน เนื่องจากปัจจุบันมีหลายฉบับซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติและการควบคุม รวมทั้งจัดทำโครงการตรวจสอบศัตรูพืชทุเรียน เพื่อให้โรงคัดบรรจุทุเรียนมีกลุ่มบุคคลที่สามารถตรวจสอบศัตรูพืช หรือสิ่งปนเปื้อนก่อนส่งออกให้มีมาตรฐานสุขอนามัยพืช และเข้าใจในกฎระเบียบต่างที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและเงื่อนไขการนำเข้าของจีนอย่างถูกต้อง โดยกรมวิชาการเกษตรจะจัดฝึกอบรม ให้คำแนะนำการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานในโรงคัดบรรจุให้สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเบื้องต้นจะนำร่องโครงการดังกล่าวก่อนจำนวน 4 โรงคัดบรรจุ

ทั้งนี้ กรณีได้รับการแจ้งเตือนการตรวจพบศัตรูพืชจากประเทศปลายทาง กรมวิชาการเกษตรจะส่งเจ้าหน้าที่จากด่านตรวจพืชเข้าไปติดตาม และตรวจสอบสาเหตุการปนเปื้อนศัตรูพืช พร้อมกับให้คำแนะนำแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากได้รับการแจ้งเตือนต่อเนื่องถึง 3 ครั้งจะระงับการส่งออกเป็นการชั่วคราว เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานของโรงคัดบรรจุนั้น โดยหากได้รับการแก้ไขและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผ่านเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถดำเนินการส่งออกได้

ผึ้งโพรงไทย แหล่งรายได้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อย ปัจจุบันในจังหวัดพัทลุงมีผึ้งโพรงกว่า 3,000 รัง สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรสูงถึงปีละกว่า 9 ล้านบาท แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด ต้องผลิตเพิ่มอีกปีละ 1,000 กิโลกรัม (กก.) ขณะเดียวกันก็แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายทำยอดขายกระฉูด ทั้งสบู่ก้อน โลชั่น ลิปสติก เครื่องดื่ม ฯลฯ

“วีรยา สมณะ” เลขานุการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงปันแต และนักวิชาการผึ้งโพรงไทย จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีเครือข่ายการเลี้ยงผึ้งโพรงรวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 รัง ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ขณะที่ภาพรวมการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยในจังหวัดพัทลุงยังมีอนาคตสดใส โดยมีผึ้งโพรงกว่า 3,000 รัง ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 18,000 ขวด/ปี หรือ 18,000 กก.

โดยราคาขายต้นทางอยู่ที่ขวดละประมาณ 500 บาท โดย 1 ขวด มีน้ำหนักราว 1 กก. ขณะที่ราคาปลายทางในบางพื้นที่อยู่ที่ขวดละ 800 บาท ซึ่งรวมเบ็ดเสร็จแล้วจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจนี้ไม่ต่ำกว่า 9 ล้านบาท/ปี

ทั้งนี้การเลี้ยงผึ้งโพรงมีทั้งรูปแบบทั่วไป และรูปแบบการเลี้ยงนวัตกรรมซึ่งการเลี้ยงผึ้งแบบนวัตกรรมแตกต่างจากการเลี้ยงแบบทั่วไปตรงที่การเก็บผลผลิตจะทำได้ง่ายกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไป เพราะใช้การขึงรังผึ้งในลังไม้ที่สามารถดึงออกมาจากอุปกรณ์เก็บได้ง่าย ทำให้สามารถเก็บน้ำผึ้งได้โดยตัวรังไม่เสียหาย

“ถ้าเลี้ยงแบบนวัตกรรม จะได้ผลผลิตรังละประมาณ 20 ขวด หรือ 20 กก./ปี เก็บเกี่ยวทุก 15 วัน ทำให้มีรายได้รังละประมาณ 10,000 บาท/ปี แต่ถ้าเลี้ยงแบบทั่วไปจะเก็บเกี่ยว 1-2 ครั้ง/ปี และได้ผลผลิตรวม 6 ขวด หรือ 6 กก. หรือมีรายได้รังละประมาณ 3,000 บาท/ปี”

ปัจจุบันน้ำผึ้งโพรงไทยมีปริมาณความต้องการของตลาดสูงมาก ดีมานด์เกินกว่าผลผลิตที่ได้ในแต่ละไม่น้อยกว่า 1,000 กก. โดยกลุ่มลูกค้าหลักจะซื้อเพื่อการบริโภค และซื้อเป็นของฝาก ถือได้ว่าลูกค้าในตลาดแทบทุกจังหวัดทั่วประเทศต้องการบริโภค

“ข้อดีของการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย เป็นรูปแบบปลอดสารพิษ และในการเลี้ยงก็ไม่ต้องพึ่งพาอาหาร ลงทุนแค่การผลิตรัง กับเสาสำหรับให้ผึ้งอยู่อาศัยที่สำคัญผึ้งโพรงไทยสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสบู่ก้อน สบู่เหลว โลชั่น ฯลฯ สำหรับสบู่ก้อน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ก้อนละ 100 บาท ไปจนถึง 250 บาท ขณะนี้้ผลิตได้เฉลี่ยเดือนละ 500 ก้อน

“วีระพล ห้วนแจ่ม” ประธานวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงปันแต จังหวัดพัทลุง เผยว่า การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยแบบนวัตกรรมเป็นการเลี้ยงโดยใช้กระบวนการส่งผลให้ได้น้ำผึ้งมากกว่าแบบเดิมถึง 3 เท่า และน้ำผึ้งที่ได้มีคุณภาพสูง จึงจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้นด้วย

“ในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย เกษตรกรจะมีต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะผึ้งโพรงไทยมีอยู่แล้วในธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อและหาให้ผึ้ง ส่วนรังเลี้ยงไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง เก็บน้ำผึ้งครั้งเดียวก็คุ้มทุน”

ในส่วนของอุปกรณ์การเลี้ยงจะใช้รังเลี้ยง และคอนผึ้งที่พัฒนาเพื่อใช้เลี้ยงผึ้งโพรงโดยเฉพาะ สามารถเก็บน้ำผึ้งได้ง่ายและได้น้ำผึ้งที่สะอาด โดยไม่สูญเสียประชากร ผึ้งและลูกอ่อนผึ้ง ทั้งยังสามารถเก็บน้ำผึ้งได้ทันทีไม่ต้องสร้างรังใหม่ ซึ่งถือเป็นการทำการเกษตรแบบเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล

ขณะที่ “ไพรวัลณ์ ชูใหม่” นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ภาพรวมผึ้งโพรงไทยที่เลี้ยงในจังหวัดพัทลุง มีเกษตรกรเลี้ยงกว่า 30 กลุ่ม ประมาณ 3,000 รัง ใน 11 อำเภอ เป็นการทำการเกษตรที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจะเลี้ยงผึ้งโพรงไทยได้นั้น พื้นที่ต้องปลอดสารเคมี เช่น ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง รวมไปถึงการเผาขยะ เนื่องจากผึ้งรับความรู้สึกไวต่อสิ่งแวดล้อมมาก

สำหรับพัทลุงแต่ละครัวเรือนมีผึ้งเพียงแค่ 2 รัง ก็จะมีรายได้เพียงพอในการจ่ายค่าไฟฟ้า ขณะนี้น้ำผึ้งโพรงยังผลิตได้ไม่พอต่อความต้องการตลาด ปัจจัยสำคัญมาจากความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจและถือเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร เพราะผึ้งโพรงเป็นแนวทางทำการเกษตรที่นอกจากจะตอบโจทย์ในเรื่องการสร้างรายได้แล้ว ยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ – วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 รัฐบาลเร่งยกระดับท่องเที่ยวชุมชน หวังเป็นตัวช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืน พร้อมวางกรอบการทำงานให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าในทิศทางเดียวกัน มั่นใจเป็นอีกก้าวย่างสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวผ่านความร่วมมือของทุกภาคส่วน

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ หรือ ท.ท.ช. เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการได้มีการประชุมหารือเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (community based tourism หรือ CBT) ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากไปสู่ความยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไปแล้วเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

โดยมีอนุกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม เช่น กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นเลขานุการ

นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ที่ประชุมดังกล่าวได้ให้ความเห็นชอบประเด็นการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สำคัญ โดยเฉพาะการรับรองแนวปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน รายชื่อชุมชนเป้าหมายเพื่อยกระดับเป็นชุมชนต้นแบบในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวทั่วประเทศและมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนรวมถึงรับรองแนวปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นนโยบายสำคัญที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ท.ท.ช. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมี อพท.เป็นเลขานุการ เร่งผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพราะการท่องเที่ยวของไทยถือเป็นรายได้หลักทางหนึ่งของประเทศและสามารถทำได้เลย โจทย์สำคัญอยู่ที่การกระจายรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวเมืองหลักให้ไปสู่เมืองรอง และให้ลงถึงชุมชนที่เป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาทุกมิติของประเทศ

นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบรายชื่อชุมชนเป้าหมายเพื่อยกระดับเป็นชุมชนต้นแบบใน 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย พร้อมต่อยอดสู่การตลาด นำเสนอเข้าสู่โครงการท่องเที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโตของ ททท. ที่มุ่งเป้าหมายกระจายนักท่องเที่ยวสู่เมืองรองและชุมชนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้เศรษฐกิจฐานรากไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท

รวมถึงเห็นชอบในหลักการ “การจัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน” ของกรมการท่องเที่ยว ร่วมกับ อพท. และ ททท. ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย ซึ่งผลการประชุมของคณะอนุกรรมการในครั้งนี้จะได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ – วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เมื่อประชากรในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มมากขึ้น การสร้างอาคารพาณิชย์หรือที่อยู่อาศัยก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน พื้นที่ทำการเกษตรก็ลดลง การผลิตเกษตรจึงต้องเน้นให้ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นสำคัญ

การเสวนา งานสร้างการรับรู้นโยบายภาครัฐ เพื่อพัฒนาการเกษตร กทม. หรืองานสร้างการรับรู้นโยบายภาครัฐด้านการเกษตรสู่ชุมชน เป็นหนึ่งทิศทางสู่พัฒนาการเกษตรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยการระดมสมองจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน และสื่อมวลชน มาร่วมแสดงแนวคิด วิธีการเหมาะสม เพื่อนำไปสู่พัฒนาการผลิตเกษตรที่ได้คุณภาพ

คุณประเสริฐ สุทธิ์เตนันท์ เกษตรกรุงเทพมหานคร เล่าว่า เป็นโอกาสดีที่ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน เอกชน และสื่อมวลชน มาร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปพัฒนาการเกษตรที่ได้คุณภาพมาตรฐาน

สภาพพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่การเกษตร 120,450 ไร่ เกษตรกร 7,032 ครัวเรือน พืชที่สำคัญได้แก่ พื้นที่ทำนา 87,397 ไร่ เกษตรกร 3,328 ครัวเรือน กล้วยไม้ 1,514 ไร่ เกษตรกร 243 ครัวเรือน ไม้ดอกไม้ประดับรวมสนามหญ้า 488 ไร่ เกษตรกร 94 ครัวเรือน พืชผัก 2,188 ไร่ เกษตรกร 658 ราย และอื่นๆ

วิถีการเกษตรเปลี่ยนแปลง จึงต้องส่งเสริมทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำกิจกรรมพืช สัตว์ ประมงหรือแปรรูป จะช่วยให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำหรือจัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูกเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นศูนย์รวมการรองรับข้อมูลวิชาการ มีอำนาจต่อรองด้านการตลาด ในด้านสังคมจะเกิดบูรณาการในการทำงานในพื้นที่ระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และเอกชน

ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งการลดรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่มในครัวเรือนเกษตรกร ด้วยการดำเนินการตามศาสตร์พระราชา ที่มุ่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่แบบพึ่งพาตนเองก่อนแล้วจึงเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันกับภายนอก ตามแนวทางพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทางสายกลางคือ : พอประมาณ : มีเหตุผล : มีภูมิคุ้มกันในตัวดี

คุณชวน ชูจันทร์ ผู้แทนสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร เล่าว่า การดำเนินงานของสภาเกษตรกรคือ การรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัด ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของกลุ่มเกษตรกรเพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็ง ประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกษตรกรทุกกลุ่มกิจกรรมได้พัฒนาการเกษตรที่ได้มาตรฐานและยั่งยืน

วิถีชีวิตของประชาชนที่นี่มักอยู่คู่กับน้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเกษตรและยังชีพ การเข้าร่วมในโครงการ 9101 ก็เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมมีความมั่นคง และการเปิดให้มีตลาดน้ำคลองลัดมะยมคือ ความต้องการของชุมชนเพื่อได้นำผลผลิตการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์มาวางขายเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชน เกษตรกร

คุณวิวัฒน์ นุ่มกำเนิด ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เล่าว่า สินค้าเกษตรคุณภาพเป็นความต้องการของตลาด จึงได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) การรวมกลุ่มเกษตรกรทำกิจกรรม เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนและศูนย์กลางให้เกษตรกรได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ มีบริการข้อมูลข่าวสารการเกษตร มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้ก้าวไปสู่ความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม

โครงการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ได้ส่งเสริมการใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมีทำให้ลดต้นทุนการผลิตและได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น การทำไร่นาสวนผสมหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตเหมาะสมให้มีการผลิตด้วยระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP ที่ส่งผลให้ได้สินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานเข้าสู่ตลาด

คุณกิตติศักดิ์ เต้าประเสริฐ ประธานอาสาสมัครเกษตรกรุงเทพมหานคร เล่าว่า อาสาสมัครเกษตรกรก็คือโครงการสร้างความแข็งแกร่งเกษตรกรตั้งแต่ระดับเยาวชนขึ้นไป หรือ Young Smart Farmer และ Smart Farmer ด้วยการสนับสนุนและการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ เสริมสร้าง แลกเปลี่ยน เพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตเกษตรกรที่มีคุณภาพ

การจัดกลุ่มอาสาสมัครเกษตรกรคือ Smart Farmer อายุ 45 ปีขึ้นไปที่มีรายได้มากกว่า 1 แสนบาท มีสมาชิก 1,118 ราย มีการพัฒนาให้ความรู้เพื่อการเป็นต้นแบบ การประเมินผลคุณสมบัติและการสร้างเครือข่ายระดับจังหวัด

ในส่วน Young Smart Farmer อายุ 13-45 ปี มีสมาชิก 78 ราย มีการฝึกอบรมให้ความรู้ เสริมสร้างแรงจูงใจ มีแผนพัฒนาตนเอง ได้ไปศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเกษตร แต่สิ่งที่ควรคำนึงคือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ความมีเหตุผล มีคุณธรรม เพื่อนำไปสู่การยังชีพตามหลักตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พึ่งตนเองได้และมีความมั่นคง

คุณอรสา งามนิยม ตัวแทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ เล่าว่า สิ่งได้รับจากการเข้าร่วม ในโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี ให้มีพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน ชุมชนได้เป็นผู้กำหนดโครงการพัฒนาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน การดำเนินงานได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับหน่วยงานเอกชน ที่มุ่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่ก่อนแล้วจึงเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันกับภายนอก

พัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน สมาชิกได้ดำเนินการโครงการ “การแปรรูปผลไม้” ได้รับงบสนับสนุนจากรัฐ สินค้าที่ผลิต ได้แก่ กล้วยฉาบ มันฉาบ เผือกฉาบ หรือการทำคุกกี้จากกล้วยน้ำว้า ในการพัฒนาการผลิตร่วมกัน ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐาน เป็นที่พึงพอใจของตลาดผู้บริโภค และทำให้เกษตรกรมีรายได้มีความมั่นคงที่ยั่งยืน

คุณพัฒนา นรมาศ ที่ปรึกษานิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เล่าว่า ปัญหาพื้นที่การเกษตรลดลง การทำเกษตรเชิงเดี่ยว การใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม การไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารวิชาการเกษตรจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ที่เพียงพอ จึงผลิตสินค้าเกษตรได้คุณภาพต่ำและส่งผลกระทบกับรายได้ต่อวิถีการยังชีพ

แนวทางแก้ไขคือ ต้องเปลี่ยนไปทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ ภาครัฐ เอกชน ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้เกี่ยวข้องต้องช่วยกันเร่งแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารด้านวิชาการเกษตร การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมหรือด้านการตลาดไปสู่เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ให้ได้เกิดแนวคิดวิธีการเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการผลิตที่ได้สินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานที่ตรงกับความของตลาด ที่จะทำให้เกษตรกรและประชาชนในชุมชนมีรายได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

คุณนิลยา ตรีวรรัตน์ ผู้สื่อข่าวทีวี ช่อง 3 SD ผู้ดำเนินรายการเสวนา เล่าโดยสรุปว่า “งานสร้างการรับรู้นโยบายภาครัฐด้านการเกษตรสู่ชุมชน” เป็นรูปแบบหนึ่งที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มรวมกิจกรรมเกษตรของเกษตรกร การเข้าร่วมในโครงการ 9101 มีผลต่อพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน มีแนวทางการจัดการใช้พื้นที่ เงินทุน แรงงาน ปัจจัยการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมอาสาสมัครเกษตรกร หรือ Young Smart Farmer และ Smart Farmer ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 มีการผลิตด้วยระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ที่ได้ผลผลิตคุณภาพมาตรฐานสู่ตลาด มีโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลผลิตการเกษตร เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนมีความมั่นคง ที่สำคัญต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชน หรือภาคเอกชน ความสำเร็จน่าจะอยู่แค่เอื้อมมือถึงหรือไม่ไกลเกินฝันแน่นอน

การเสวนาทำให้ได้แนวทางที่สนองตอบความต้องการของเกษตรกร กรุงเทพมหานครให้นำไปสู่พัฒนาการผลิตเกษตรที่ได้คุณภาพ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปเป็นแนวทางการยังชีพเพื่อความมั่นคง สอบถามเพิ่มได้ที่ คุณกัลยา เจริญทรัพย์ สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร โทร. (086) 335-3272 ก็ได้ครับ

สระบุรีทุ่ม 60 ล้าน ปั้นโรงงานแปรรูปนมผง-นมอัดเม็ด เริ่มผลิตปลายปี ’61 หวังรับนักท่องเที่ยวจีน

นายไพรัช ประทุมสุวรรณ ปศุสัตว์สระบุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปศุสัตว์สระบุรีได้ร่วมกับคณะกรรมการจังหวัดสระบุรี ก่อสร้างโรงงานแปรรูปนมผงและนมอัดเม็ด บนพื้นที่ 5 ไร่ อ.มวกเหล็ก มูลค่าก่อสร้าง 60 ล้านบาท โรงงานนี้จะเป็นโรงงานขนาดกลาง มีกำลังผลิตนมผง 30 ตัน จากปริมาณน้ำนมดิบ 1 ตัน ซึ่งขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 60% และเตรียมวางแผนการตลาดและสร้างแบรนด์ คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถผลิตล็อตแรกในปลายปี 2561